WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ฺB1

    ธารน้ำแข็ง Greenlandic ที่กรีนแลนด์ ละลายเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

    [​IMG]

    Greenlandic glacier melting faster than expected

    An international team of scientists has discovered that warming in the Arctic region has triggered the accelerated melting of a Greenlandic glacier. Presented in The Cryosphere journal, the findings reveal that the overall mass loss of the Mittivakkat Glacier for 2011 has amounted to 2.45 metres, 0.29 metres higher than what was recorded in 2010. The study was funded in part by the INTERACT ('International network for terrestrial research and monitoring in the Arctic') project, which has clinched EUR 7.3 million under Research Infrastructures of the EU's Seventh Framework Programme (FP7).

    Greenlandic glacier melting faster than expected - Information Centre - Research & Innovation - European Commission

     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ฺB1

    มีพายุที่ทวีปอเมริกา 2 ลูก

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2011
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    อุตุฯเตือนฝนตกหนัก-น้ำท่วมฉับพลันใน 11 จว.

    วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2011 เวลา 20:26 น. สุวิภา บุษยบัณฑูร ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ

    ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16:00 น.  ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนตกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ 

    พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้. 
    ภาคเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
    อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

    ภาคกลาง  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

    ภาคตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด  อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศา ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร 

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา
    ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
     
     

    รายการโปรด Bookmark ส่งให้เพื่ิอน จำนวนผู้เข้าชม: 14
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    สุรินทร์ประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย 2 อำเภอ

    วันที่ 2011-09-23 20:22:28 โดย เนชั่น - Breaking News

    23 กย. 2554 20:02 น.

    นายอำนวย จันทรัฐ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยถึง สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดกลางในเขตจังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 18 แห่ง มีปริมาณน้ำวัดได้ 127.21 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือ ร้อยละ 87.68 ของความจุทั้งหมด ซึ่งในขณะนี้ลำน้ำชี ระดับน้ำล้นตลิ่ง 1.20 เมตร และมีน้ำท่วมขังในนาข้าวบริเวณที่ลุ่มริมลำน้ำชีน้อย ในพื้นที่ตำบลสวาย ตำบลคอโค อำเภอเมืองสุรินทร์เล็กน้อย ส่วนแม่น้ำมูล ระดับน้ำล้นตลิ่ง 0.30 เมตร น้ำได้เอ่อล้นท่วมขังในพื้นที่การเกษตรที่อยู่บริเวณที่ลุ่มติดริมน้ำแม่น้ำมูล มีน้ำท่วมขังในนาข้าว ได้รับความเสียหายบางส่วน ห้วยลำพอก อำเภอศีขรภูมิ ปริมาณน้ำปัจจุบันวัดได้ 8.36 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 74.70 พบว่ามีน้ำท่วมขังในนาข้าวบริเวณที่ลุ่มติดห้วยลำพอก เนื่องจากมีการระบายน้ำออกจากห้วยลำพอก
    สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว อำเภอรัตนบุรี ปริมาณน้ำวัดได้ 6.16 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 125.37 น้ำล้นตลิ่ง 1.25 เมตร มีน้ำท่วมขังในนาข้าวบริเวณที่ลุ่มติดอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ส่วนห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ระดับน้ำล้นตลิ่ง 0.93 เมตร มีน้ำท่วมขังนาข้าวเล็กน้อย ซึ่งเป็นที่ลุ่มติดลำห้วยทับทัน ในพื้นที่ตำบลสำโรงทาบและตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ
    ขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ มีอำเภอที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยจำนวน 2 อำเภอ 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน พื้นที่นาข้าว ได้รับความเสียหาย 350 ไร่ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 130 คน 60 ครัวเรือน โดยอำเภอท่าตูมมีพื้นที่ประสบภัยได้แก่ หมู่ 8 ตำบลบะ พื้นที่นาข้าวเสียหาย 200 ไร่ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 30 คน 30 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประสบภัย 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน และอำเภอสำโรงทาบมีพื้นที่ประสบภัย ได้แก่ หมู่ 7 , 8 ตำบลสำโรงทาบ และ หมู่ 8 ตำบลเกาะแก้ว นาข้าวได้รับความเสียหาย 150 ไร่ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 30 ครัวเรือน 100 คน รวมพื้นที่ประสบภัย 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
    ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้นำเรือท้องแบนจำนวน 13 ลำ พร้อมเครื่องยนต์เรือจำนวน 3 เครื่อง ประจำจุดอำเภอท่าตูม จำนวน 6 ลำ อำเภอชุมพลบุรี จำนวน 6 ลำ และตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ 1 ลำ เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ได้ขอรับการสนับสนุนจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา จำนวน 5 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ไว้ประจำที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2011
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

     น้ำในแม่น้ำบางขามทะลักลพบุรีคันดินเอาไม่อยู่ ท่วมพื้นที่นาปี

    23 กย. 2554 19:36 น.

    รายงานข่าวจากจังหวัดลพบุรีแจ้งว่าน้ำในแม่น้ำบางขาม ที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลบ่ามาจากประตูน้ำบางโฉมศรี เข้าท่วมใหญ่ 4 ตำบลฝั่งตะวันตกของอำเภอบ้านหมี่ ตำบลบางพึ่ง ตำบลมหาสอน ตำบลบางขาม ตำบลบ้านชี ขณะนี้คันดินที่ประชาชนกั้นบนถนนสายบ้านหมี่ -บางงา ทางหลวงหมายเลข 3028 คันดินที่กั้นพังทลายหมดตลอดกว่า 10 ก.ม. น้ำไหลบ่าเข้าท่วมนาที่กำลังแตกก่อยังไม่สามารถเกี่ยวได้ และบางแปลงก็เกี่ยวได้บ้าง จึงรีบใช้รถเกี่ยวหนีน้ำอย่างเร่งรีบ
    นายนพพร ชัยพิชิต ผู้ อำนวยกา สำนักชลประทานที่ 10 กล่าวว่า น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทะลักเข้ามาในแม่น้ำบางขาม จะสูงขึ้น เพราะน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ ยังเพิ่มขึ้นมาตลอด และในรอบ 50 ปี น้ำปีนี้มากที่สุด ฉะนั้นพื้นที่ ตำบลหนองเต่า ตำบลสนามแจง และเขตเทศบาลเมืองบ้านหมี่ ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก เพราะน้ำไหลมาจากทางเหนือยังไม่มีที่ท่าจะลดลงเลย ขณะนี้น้ำในแม่น้ำบางขามไหลบ่าเข้าท่วมหลายตำบลในเขตอำเภอท่าวุ้งแล้ว และขณะนี้ได้สั่งให้เปิดประตูน้ำที่มโนรมย์ เพื่อระบายน้ำเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก เพราะปัจจุบันน้ำในคลองลดลงไปกว่า 80-90 .ซ.ม.อีกทั้งในทุ่งตะวันออกน้ำก็ลดลงแล้วเป็นการช่วยระบายน้ำในแม่น้ำเจ้า พระยา
    นายกิตติศักดิ์ ศุภพงษ์ กำนันตำบลบ้านชี กล่าวว่าคันกั้นน้ำบน ถนนสายบ้านหมี่- บางงา พัง หมดยาวกว่า 15 ก.ม. ทำท่าจะท่วมใหญ่อีกหลายหมู่บ้าน เพราะไม่อยู่ ไม่มีใครต้องการที่จะปล่อยให้น้ำท่วมในพื้นที่นาน การที่คันดินพังเพราะน้ำแรงมาก อีกทั้งชาวบ้านหวั่นว่าน้ำจะทำให้บ้านพัง เมื่อคตันดินพังก็เท่ากับระบายน้ำใน 4 ตำบลลงบ้าง
    รายงานข่าวแจ้งว่า น้ำที่ไหลบ่าเข้าในเขตอำเภอบ้านหมี่ จะมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ซึ่งเป็นการบอกเล่าของคนในชลประทาน มีเสียงร่ำลือกันว่า ตลาดเทศบาลเมืองบ้านหมี่ ตำบลสนามแจง ตำบลหนองเต่า กว่า 5,000 หลังคา เรือน พื้นที่ทำนากว่า 6 หมื่นไร่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวจะท่วมทั้งหมด และพื้นที่ดังกล่าวน้ำไม่เคยท่วมเลยสักปี แต่ ปีนี้ จะต้องเฝ้าระวังน้ำจะเข้าท่วมใหญ่



      
     
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    อ่างทองยังอ่วม! โจรซ้ำเติมทุกข์ รมยาสลบลักทรัพย์


    [​IMG]

    อ่างทองยังจมบาดาลทั้งเมือง คนร้ายรมยาสลบลักทรัพย์ผู้ประสบภัย ไก่กว่า 1.5 หมื่นตัวจมน้ำตาย ขณะที่น้ำพัดพาสารเคมีและน้ำเน่าลงคลองทำปลาลอยตาย ชาวบ้านจับมาทำอาหาร...

    เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่ จ.อ่างทอง ถึงแม้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังทรงตัว แต่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสองฝั่งในพื้นที่ อ.ไชโย อ.เมือง และ อ.ป่าโมก ต้องทนต่อสู้กับความทุกข์ ขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพที่เคยทำ และยังเรื่องอาหาร เรื่องที่พักอาศัย ซึ่งถูกน้ำท่วมจมมิดต้องออกมาอาศัยนอนตามริมถนน ส่วนที่แม่น้ำน้อยระดับน้ำยังคงมีระดับเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่สร้างความเสียหายขยายวงกว้างออกไปอีก นอกจากนั้น กระแสน้ำที่ไหลทะลักมาจากประตูระบายน้ำพระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ที่ยังไม่ได้ซ่อมเพราะความขัดแย้งของประชาชน จ.สิงห์บุรี ได้ไหลบ่าลงมาท่วมในพื้นที่ จ.อ่างทอง ตั้งแต่ อ.ไชโย โพธิ์ทอง และ วิเศษชัยชาญ อย่างรวดเร็ว และมีระดับสูงขึ้นตลอดเวลาเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยไม่มีทางป้องกันได้

    ล่าสุด พบว่ามีวายร้ายตัวแสบออกมาซ้ำเติมผู้ประสบภัยแล้ว โดยนายบุญสม ศรีบุปผา ชาวบ้านหมู่ 3 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เปิดเผยว่า ต.โผงเผง รวม 10 หมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมมานานร่วม 2 เดือนคนที่อาศัยอยู่ในบ้านไม่ได้ก็ต้องออกมาพักอยู่ริมถนนแต่ปรากฏว่า มีคนร้ายออกโจรกรรมทรัพย์สินโดยใช้วิธีรมยาสลบ โดยการโรยสารเคมีบางอย่างลงไปในกองไฟเมื่อเจ้าของทรัพย์สูดดมเข้าไปฤทธิ์ยาจะกดประสาท ทำให้หมดสติ พอตื่นขึ้นมา จึงพบว่าเงินที่เก็บซ่อนไว้ถูกลักสูญหายไปแล้วทำให้พวกตนหวาดผวา จึงได้ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและตำรวจ ให้ช่วยจับกุมตัวมาดำเนินคดี จนขณะนี้พอได้เค้าของคนร้ายแก๊งนี้แล้ว ขณะเดียวกันที่ ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ก็มีวายร้ายแก๊งมิจฉาชีพออกอาละวาดลักทรัพย์สินของผู้ประสบภัยที่ขนย้ายหนีน้ำออกมาวางไว้บนถนนเช่นกัน ซึ่งนายวิศว ศะศิสมิต ผวจ.อ่างทอง กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โพธิ์ทอง เร่งจับกุมคนร้ายโดยเร็ว พร้อมทั้งให้เพิ่มความเข้มและความถี่ในการออกตรวจตราด้วย

    ที่คลองชลประทานริมถนนสายบ้านบางพลับ-บ้านไชโย บริเวณหน้าวัดป่ามุนี ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง มีชาวบ้านกว่า 100 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นำฉมวกออกมาไล่แทงปลาเบญจพรรณที่ลอยหัวริมคลองซึ่งกำลังถูกน้ำไหลบ่าลงมาจนล้นคลอง สภาพน้ำมีสีดำและมีกลิ่นเหม็นเหมือนสารเคมีปราบศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลง แต่ละคนได้ปลาไปประกอบอาหารจำนวนมาก เบื้องต้นคาดว่ากระแสน้ำที่ไหลบ่าลงมาได้พักพาสารเคมีจากนาข้าว และพื้นที่การเกษตร รวมทั้งน้ำเน่าที่ขังอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆลงมาด้วย จึงทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง จนปลาต้องลอยหัวขึ้นมาหายใจ จึงถูกจับไปทำอาหาร บางรายได้ปลามาก จึงนำออกไปขายสร้างรายได้อย่างงาม


    ขณะเดียวกัน ที่ฟาร์มไก่เนื้อของนางอำไพ จุนเจิม เลขที่ 53 หมู่ 2 ต.บางระกำ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ได้ถูกกระแสน้ำกัดเซาะคันดินที่ล้อมไว้ไหลเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ไก่จำนวน 1.5 หมื่นตัว จมน้ำตายและไหลไปกับกระแสน้ำจนหมด นางอำไพเปิดเผยว่า ได้สร้างคันดินล้อมรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันไก่จำนวนดังกล่าว เนื่องจากไม่รู้จะขนย้ายไปไว้ที่ไหน แต่กระแสน้ำไหลแรงจึงกัดเซาะคันดินจนพังทลายเข้าท่วมทันทีโดยไม่สามารถช่วยเหลือได้ ทำให้ไก่ของตน 1.5 หมื่นตัว มูลค่า 5 แสนบาท จมน้ำตายหมด ขณะเดียวกันเกษตรกรที่เลี้ยงตะพาบน้ำในพื้นที่ ต.คลองขนาก ต.บางจัก ต.สี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ที่กำลังถูกน้ำไหลเข้าท่วม ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการซื้อตาข่ายมาล้อมบ่อตะพาบให้สูงขึ้น และขอให้ทางการช่วยทำคันดินกั้นน้ำไว้ เพื่อป้องกันความเสียหาย

    นายวิศว ศะศิสมิต ผวจ.อ่างทอง เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทองว่า วันนี้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณการระบายน้ำ ลดลง 9 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนประตูน้ำบางแก้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง ระบายน้ำเท่าเดิม 188.14 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะนี้จังหวัดอ่างทองถูกน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีก 3 ตำบล 62 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัยเพิ่มขึ้นกว่า 614 ครัวเรือน จำนวน 8,293 คน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย คือ นางนันทพัฒน์ เรืองรัตน์ อายุ 44 ปี อยู่หมู่ที่ 1 ต.ชัยฤทธิ์ อ.ไชโย ตกน้ำเสียชีวิต และ นางสุภาพร นรสิงห์ อายุ 63 ปี อยู่ถนนเทศบาล 5 ต.บางแก้ว อ.เมือง เสียชีวิตจากถูกกระแสไฟฟ้าดูดขณะทำอาหารในบ้านที่ถูกน้ำท่วม ด้านการช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย วันนี้นายวิศิษฐ์ คชสิทธิ์ และคณะ ตัวแทนจากบริษัทในเครือทัสโก้กรุ๊ป จ.สมุทรปราการ นำสิ่งของบริจาคมอบให้จังหวัดอ่างทอง จำนวน 500 ชุด และบริษัท สหฟาร์ม นำไก่ทอดสุก 1 ตัน มามอบให้แก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดอ่างทอง.


    ไทยรัฐออนไลน์
    โดย ทีมข่าวภูมิภาค
    23 กันยายน 2554, 18:12 น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2011
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    พนมเปญฝนถล่มน้ำท่วมตาย 58 ราย

    วันศุกร์ ที่ 23 กันยายน 2554 เวลา 19:38 น

    [​IMG]


    กัมพูชา ระทมฝนตกหนักแม่น้ำโขงเอ่อล้นฝั่งตายแล้ว 58 รายไร่นาเสียหายหลายหมื่นไร่ กว่า 5,000 ครอบครัวไร้ที่อยู่

    สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ว่า จากภาวะฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค. และกระแสน้ำในแม่น้ำโขงเอ่อล้นฝั่ง ทำให้กัมพูชาเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ล่าสุดมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 58 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 31 ราย นายเขียว ไว เจ้าหน้าที่คณะกรรมการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติกัมพูชา เผยเมื่อว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศถูกน้ำท่วม รวมถึงนาข้าวหลายหมื่นไร่ ประชาชนอย่างน้อย 5,633 ครอบครัว ถูกอพยพไปสู่ที่ปลอดภัย และเมื่อวานนี้ (22 ก.ย.) นักท่องเที่ยวเกือบ 200 คน รวมถึงชาวต่างชาติ ได้รับการอพยพโดยเครื่องบิน จากปราสาทนครวัต เนื่องจากถนนสายหลักถูกกระแสน้ำตัดขาด.
     
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    “เขื่อนป่าสักฯ”วิกฤต!!!น้ำใกล้เต็มความจุ-เตือนจังหวัดภาคกลางรับมือด่วน

    ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 23 กันยายน 2554 17:52:10 น.
    วันนี้(23 ก.ย.) ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมจังหวัดลพบุรี รายงานว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณ 940.75 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 119.84 % ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักปกติ จึงต้องเริ่มระบายน้ำออกจากอ่าง 51.85 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในขณะที่มีน้ำไหลเข้าอ่าง 81.32 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำ 3,715 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที


    ผลจากการระบายน้ำดังกล่าวจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่ามีผลต่อระดับน้ำที่ท่วมขังอยู่แล้วที่ จ.สระบุรี  ลพบุรี  อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี อย่างแน่นอน จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวทำการป้องกันและเสริมกระสอบทรายพื้นที่ลุ่มต่ำ พร้อมขนย้ายสิ่งของขึ้นบนที่สูงหรือที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

    ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลพบุรี ขณะนี้ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอยู่ที่ 50 — 250 เซนติเมตร และครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมไม่น้อยกว่า 160,000 ไร่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2011
  9. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มปริมาณการระบายน้ำอีก

    นายบุญชอบ หอมเกษร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิดเผยว่า จะเพิ่มการระบายน้ำจากเมื่อวานนี้ที่ระบายอยู่ที่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และอำเภอท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา มีปัญหาน้ำล้นตลิ่งได้ สำหรับปริมาณน้ำที่เขื่อนกักเก็บไว้ขณะนี้อยู่ที่ 966 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความจุสูงสุดที่อ่างเก็บสามารถรับได้ 900 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงถือว่าปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ตอนนี้เกินความจุของอ่างร้อยละ 123 แต่ผู้อำนวยการโครงการฯยืนยันว่าเขื่อนมีความแข็งแรง ซึ่งสถานการณ์น้ำปีที่แล้วสามารถรองรับน้ำได้มากถึง 1,120 ล้านลูกบาศก์เมตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    เขื่อนอุบลรัตน์เริ่มวิกฤติเตรียมระบายน้ำ



    นายพิพัฒน์ คงศิลป์ทวีกุล หัวหน้าฝ่ายเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ กล่าวว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนขณะนี้ สามารถที่จะรองรับน้ำได้เพียง ร้อยละ 10 เท่านั้น หลังมีปริมาณน้ำมากถึง 2,189 ล้าน ลบ.ม. ของความจุอ่าง โดยปริมาณน้ำหนุนจาก จ.เลย หนองบัวลำภู และ เพชรบูรณ์ ยังคงไหลลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เขื่อนสามารถที่จะรองรับปริมาณน้ำได้อีกเพียง 242 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น

    นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัด มีมติในการพิจารณาระบายน้ำออกจากเขื่อนได้เพียงวันละ 34 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น เพื่อป้องกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจำนวนการปล่อยน้ำ อาจจะส่งผลกระทบให้เขตพื้นที่ชั้นในของจังหวัด ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร และที่พักอาศัย ในช่วง 1-2 วันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2011
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    คันกั้นน้ำแตก!น้ำทะลักท่วมชัยนาท

    23 กันยายน 2554 เวลา 18:15 น. |เปิดอ่าน 111 | ความคิดเห็น 0

    ผอ.ชลประทานที่ 12 เผย คันกั้นน้ำจ.ชัยนาท แตก ล่าสุด น้ำทะลักท่วมหมู่บ้านแล้ว

    นายฎรงค์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท แจ้งว่า ตามที่ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คันกั้นน้ำที่หมู่บ้านคะนน ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ไม่สามารถรับแรงดันน้ำได้ และเกิดชำรุดเสียหาย มีความยาวประมาณ 20 เมตร อัตราการไหลประมาณ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณ ต.ธรรมมูล ต.คุ้งสำเภา ต.หางน้ำสาคร ต.เสือโฮก ต.ลุก ต.หาดอาษา ต.เขาแก้ว และ ต.โพนางดำออก ใน จ.ชัยนาท ต.ชีน้ำร้าย จ.สิงห์บุรี ซึ่งปริมาณน้ำที่ไหลมาจะสมทบกับทางระบายน้ำล้นของเขื่อนเจ้าพระยา และปริมาณน้ำดังกล่าวไหลมารวมกับปริมาณน้ำที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ที่ขาดอยู่ก่อนแล้ว โดยได้ส่งผลกระทบพื้นที่ตั้งแต่ อ.บ้านหมี่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อ.ไชโย จ.อ่างทอง และ อ.มหาราช อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

    จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว ให้ป้องกันและเสริมกระสอบทรายนที่ลุ่มต่ำ พร้อมขนย้ายสิ่งของขึ้นบนที่สูง หรือที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    โคราช - เพิ่มสันบานประตูระบายน้ำเขื่อนลำตะคองรองรับน้ำ

    posted on 23 Sep 2011 23:00 by oknews  in Regional

    [​IMG]

    ฝนตกชุกที่โคราชลำตะคองพร่องน้ำ ต่อเนื่องทุกวันรับน้ำใหม่เข้าอ่างฯ ขณะที่ ผอ.ชป.8 สั่งเพิ่มสันบานประตูระบายน้ำทั้ง 7 บานแล้วเพื่อรับน้ำกักเก็บได้เพิ่มขึ้น 60 ล้าน ลบ.ม.

    ฝนตกชุกที่โคราชลำตะคองพร่องน้ำ ต่อเนื่องทุกวันรับน้ำใหม่เข้าอ่างฯ ขณะที่ ผอ.ชป.8 สั่งเพิ่มสันบานประตูระบายน้ำทั้ง 7 บานแล้วเพื่อรับน้ำกักเก็บได้เพิ่มขึ้น 60 ล้าน ลบ.ม.

    เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกในช่วงนี้ และจะเกิดฝนตกต่อเนื่องไปอีกหลายวันในพื้นที่ จ.นครราชสีมา โดยเฉพาะฝนที่ตกเหนือเขื่อนลำตะคอง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ อ.ปากช่อง ทำให้จำเป็นต้องดำเนินการเชื่อมต่อแผ่นเหล็กเพื่อเพิ่มสันบานประตูระบายน้ำ เพื่อเตรียมการรับมือกับปริมาณน้ำจากพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่อาจจะไหลลงมาสมทบเพิ่มเติมอีกในช่วง 1-2 วันนี้ หลังจากมีการคาดหมายจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าจะเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคอีสาน และ จ.นครราชสีมา ในห้วงเวลานี้อีกระยะ ทำให้เกรงว่าหากไม่มีการปรับสันบานประตูระบายน้ำเพิ่ม อาจจะทำให้ปริมาณน้ำ ภายในอ่างเก็บน้ำลำตะคองล้นไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่าง และจะไปสมทบกับปริมาณน้ำในลำน้ำลำตะคองที่อาจจะมีปริมาณมาก หากมีน้ำหลากในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำในช่วงเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการน้ำทำได้ลำบาก และอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำขึ้นได้

    สำหรับสันบานประตู ได้ดำเนินการติดตั้งได้เสร็จสิ้นภายในวันนี้ ส่วนระดับน้ำในขณะที่ปริมาณน้ำกักเก็บภายในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 253.440 ล้าน ลบ.ม. จากความจุทั้งหมด 314.49 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80.59%

    ม.ล.อนุมาศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้แผนการจัดการน้ำในลำน้ำลำตะคอง นอกจากที่จะมีการเพิ่มสันบานประตูระบายน้ำแล้ว ทางสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ยังได้สั่งการให้ดำเนินการพร่องน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำลำตะคองวันละ 2.6 ล้าน ลบ.ม. และเร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่ด้านล่างโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ลำน้ำลำตะคองมี ช่องว่างเพื่อรองรับมวลน้ำที่จะหลากลงมาสมทบเพิ่มเติมในช่วง 1-3 วันนี้ ป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำลำตะคอง โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ม.ล.อนุมาศ กล่าว

    ด้านนายสุรศักดิ์ มีแสงนิล นายช่างเครื่องกลอาวุโส ส่วนเครื่องจักรกล สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ช่างกลในสังกัดกว่า 50 นาย ได้เร่งต่อเชื่อมเหล็ก เพื่อสร้างเป็นสันบานประตูน้ำขนาดใหญ่เพื่อนำไปติดตั้งที่เหนือช่องบานประตูระบายน้ำเติมของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง เพื่อเพิ่มพื้นที่การกักเก็บปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองให้สูงขึ้น โดยสันบานประตูระบายน้ำนี้จะถูกน้ำไปติดตั้งไว้เหนือ 7 บานประตูระบายน้ำเติมของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง เพื่อเพิ่มความสูงของสันบานประตูระบายน้ำขึ้นมาอีก 1 เมตร ซึ่งจะทำให้อ่างเก็บน้ำลำตะคองแห่งนี้สามารถจุปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างน้อย 60 ล้าน ลบ.ม. ทำให้อ่างเก็บน้ำลำตะคองจะมีระดับการกักเก็บปริมาณน้ำก่อนที่จะล้นสันบานประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 353 ล้าน ลบ.ม. จากเดิม 314.49 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเป็นการรองรับปริมาณน้ำที่อาจจะมีเพิ่มมากขึ้นในช่วง 1-3 วันนี้ตามที่มีการคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011
  13. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    กทม.เตรียมรับมือน้ำท่วมฝั่งตะวันออก

    [​IMG]

    กรุงเทพฯเตรียมรับมือน้ำท่วมฝั่งตะวันออก หลังประสบปัญหาบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ และอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ

    วันนี้ (23ก.ย.54) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสาเหตุที่มีความกังวลและเป็นห่วงน้ำบริเวณกรุงเทพฯ ตะวันออก ที่ต้องรองรับน้ำเหนือจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และจังหวัดปทุมธานี และมีการคาดการณ์ว่า ในวันที่ 20-24 กันยายนนี้ จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง บวกกับปริมาณน้ำเหนือจะทยอยเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออกเพิ่มขึ้น โดยระบุว่า สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ กทม.ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ประมาณ 450 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตหนองจอก คลองสามวา มีนบุรี และลาดกระบัง ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ดังกล่าว มีสาเหตุหลักมาจากน้ำเหนือหลาก น้ำทะเลหนุน และฝนตกหนักในพื้นที่ ทาง กทม.จึงได้ดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของกรมชลประทาน เพื่อป้องกันน้ำจากภายนอกไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสร้างทำนบกั้นน้ำตามแนวคลองแยกคลองนครเนื่องเขต จำนวน 6 แห่ง สร้างทำนบกั้นน้ำตามแนวคลองแยกคลองหลวงแพ่ง จำนวน 5 แห่ง พร้อมทำคันดินกั้นน้ำ

    สำหรับประตูระบายน้ำคลองแสนแสบ ตอนถนนประชาร่วมใจ จะใช้การปิดเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำ โดยระดับน้ำในคลองควบคุมไว้ที่ระดับ +0.50 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) และระดับน้ำที่วิกฤต +0.90 ม.รทก. ส่วนระดับน้ำด้านนอกควบคุมที่ +1.20 ม.รทก. นอกจากนี้ ยังได้ขุดลอกคลองระบายน้ำสายหลักตามแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างคลองแสนแสบกับคลองประเวศบุรีรมย์ และคลองตามแนวตะวันออก และตะวันตก

       

    ที่มา: TNNThailand 
     
     
     
     
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    :+: น้ำท่วมต้องสร้างเขื่อน...ใช่ทางแก้ปัญหาน้ำท่วมจริงหรือไม่???:+:

    หมวด » เรื่องนี้ต้องขยาย » เรื่องเด่นประเด็นดัง » :+: น้ำท่วมต้องสร้างเขื่อน...ใช่ทางแก้ปัญหาน้ำท่วมจริงหรือไม่???:+:

    [​IMG]

    นับจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างมาจนถึงภาคกลาง ประกอบด้วยแม่น้ำสายหลักๆ หลายสาย ได้แค่แม่เจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง

     

    โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่ประกอบไปด้วยแม่น้ำสายใหญ่หลายสายเช่น ปิง วัง ยม น่าน

     

    แม่น้ำทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีเพียงสายเดียวคือแม่น้ำแม่กลอง ที่ไม่มีการสร้างเขื่อนมากีดขวางทางน้ำตามธรรมชาติแต่แปลกหรือไม่ที่เราไม่เคยได้ยินว่าชาวบ้านที่อยู่สองฝั่งของลุ่มน้ำแม่กลองเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมเลย นั่นเพราะแม่น้ำแม่กลองมีพื้นที่ต้นน้ำคือทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นผืนป่าตะวันตกที่อุดมสมบูรณ์ และป่าผืนนี้เองที่ซับกลืนน้ำและค่อยๆคายมาในปริมาณที่เหมาะสม

     

     

    ทั้งการที่ไม่มีเขื่อนมาขวางกั้นตะกอนที่จะไหลจากที่สูงลงสู่ทะเลจึงทำให้แม่น้ำสายนี้มีตะกอนอินทรีย์สารที่อุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ปากน้ำแม่กลองมีอาหารทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากๆเนื่องจากตะกอนได้อินทรีย์สารต่างๆที่เป็นอาหารของแพลงตอนในทะเลซึ่งเป็นอาหารหลักของสัตว์น้ำจำนวนมากในอ่าวไทย

     

    ทั้งๆที่ป่าตะวันตกที่เป็นต้นน้ำแม่กลองไม่มีเขื่อน แต่ทำไมน้ำถึงไม่เคยท่วมในระดับที่ทำให้ชาวบ้านริมสองฝั่งลุ่มน้ำแม่กลองต้องลำบากเดือดร้อน อะไรเป็นสาเหตุสำคัญ เขื่อนใช่ทางออกของปัญหาน้ำท่วมเสมอไปหรือไม่???

     

    แม่น้ำสายหลักหลายสาย ไม่ว่าจะเป็นปิง
    วัง น่าน ป่าสัก มีการสร้างเขื่อนมาเก็บกักน้ำทั้งสิ้น แต่เรากลับทราบจากข่าวอยู่เสมอว่าพื้นที่ลุ่มน้ำที่กล่าวมานี้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำแทบทุกปี ...เขื่อนยังใช่ทางออกของการแก้ปัญหาน้ำท่วมอยู่หรือไม่???

     

    ในทางกลับกันเขื่อนอาจกลายเป็นมหันตภัยที่น่ากลัวเสียยิ่งกว่าน้ำท่วม เรามักจะเคยได้ยินข่าวลืออยู่เสมอในช่วงเวลาฤดูน้ำหลากน้ำท่วมของทุกปีว่าเขื่อนนั้นเขื่อนนี้จะแตก...และทุกครั้งที่เกิดข่าวลือทำนองนี้สิ่งที่ตามมาคือความวิตกกังวลของชาวบ้านประชาชนริมสองฝั่งของลุ่มน้ำนั้นๆว่า หากเขื่อนเหล่าแตกจริงดังเสียงเล่าลืออื้ออึง สิ่งที่ตามมาย่อมเป็นหายนะแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านบริเวณนั้นอย่างแน่นอน...เช่นนี้แล้วเขื่อนยังเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาน้ำท่วมอยู่หรือไม่???

     

    แปลกแต่จริงที่ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับเริ่มมีการทบทวนถึงผลกระทบได้เสียจากการสร้างเขื่อนจนบางประเทศถึงกับลงทุนทำลายเขื่อนที่มีอยู่ลง ข้อมูลการยกเลิกรื้อถอนเขื่อนในหลายประเทศเหล่านี้ปรากฎทั่วไปตามสื่อออนไลน์ เช่นนี้แล้ว เขื่อนยังจะใช่ทางออกของการแก้ปัญหาน้ำท่วมอยู่หรือไม่???

     

    แม้จะเป็นเรื่องจริงที่เขื่อนนั้นมีอรรถประโยชน์อยู่นานานับประการ เช่นการกักเก็บน้ำไว้สำรองใช้เพื่อการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ...แต่ประโยชน์เหล่านี้เราสามารถทดแทนได้ด้วยสิ่งอื่นที่ยั่งยืนกว่าหรือไม่???

     

     

    ลองคิดกันอย่างจริงจังว่า...แทนที่เราจะอาศัยเฉพาะเขื่อนในการเก็บน้ำจำนวนมากไว้เพื่อการชลประทาน เพื่อหล่อเลี้ยงภาคการเกษตร หากเราเปลี่ยนเป็นการสร้างแหล่งเก็บน้ำแบบแก้มลิงย่อยๆขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ทั่วทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด แทนการสร้างเขื่อนเพิ่มเติมจากเขื่อนที่เรามีอยู่นั้น อย่างไหนเล่าที่จะทำให้เรามีน้ำใช้อุปโภค บริโภคอย่างยั่งยืนมากกว่ากัน

     

     

     

    ลองคิดกันอย่างจริงจังว่า...หากปัจจุบันนี้เขื่อนทั้งหมดที่เรามีอยู่นั้นผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงร้อยละสิบของที่เราใช้อยู่ทั้งประเทศ ทั้งยังไม่เสถียรในฤดูแล้งบางปีที่น้ำในเขื่อนมีปริมาณไม่มากพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย

     

     

    แทนที่เราจะอาศัยเฉพาะเขื่อนในการเก็บน้ำจำนวนมากไว้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า หากเราน้ำพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลจากสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นมูลสัตว์หรือสารที่ให้พลังงานที่สกัดจากพืชในการผลิตกระแสไฟฟ้ากันเองในท้องถิ่น

     

     

     

    หรือการใช้ประโยชน์จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นที่อุดมไปด้วยแสงแดดจัดแทบจะตลอดทั้งปี โดยการที่รัฐสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไว้ใช้ในครัวเรือน

     

     

    ด้วยการสนับสนุนทุนการวิจัยพัฒนาการผลิตพลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในประเทศ ลดภาษีวัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

     

     

    และท้ายที่สุดให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในระยะยาวแก่ประชาชนที่สนใจนำแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไปติดตั้งบนหลังคาของทุกครัวเรือนในประเทศไทย

     

    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้นอกจากจะทำให้เราใช้ต้นทุนตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิมในการลดการใช้พลังงาน และสร้างพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาดขึ้นมาได้แล้ว เราจะยังได้แหล่งพลังงานจำนวนมากเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย

     

    เช่นนี้แล้ว ...เขื่อนยังจะใช่ทางออกของการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนหรือไม่???

    http://talk.mthai.com/topic/317150
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    Good night na ja

    sleeping_rb
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1 - good morning :z2

    ดาวเทียมนาซา 6.5 ตัน ถึงโลกอีก 12-18 ชั่วโมง โอกาสตกใส่หัว 1 ในล้านล้าน

    [​IMG]

    Picture : mashable

    ดาวเทียมหมดสภาพการใช้งานของนาซา กำลังร่วงลงมาสู่โลกแล้ว คาดตกถึงพื้นดินภายใน 12-18 ชั่วโมงข้างหน้า เชื่อมุ่งหน้าสหรัฐฯแต่ยังไม่มีจุดชัดเจน โอกาสตกใส่หัวคนน้อยกว่า 1 ในล้านล้าน...

    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 24 ก.ย. ว่า ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ (ยูเออาร์เอส) ขององค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ที่หมดอายุการใช้งาน น้ำหนัก 6.5 ตัน กำลังร่วงลงมาสู่โลกแล้ว ขณะที่องค์การอวกาศเผยล่าสุดว่า อาจตกลงมาในพื้นที่ของสหรัฐฯแต่ยังไม่มีจุดที่แน่ชัด โดยอาจถึงพื้นราววันเสาร์นี้ (ตามเวลาอีสเทิร์นไทม์)

    นาซา ระบุว่า "ทิศทางของดาวเทียม หรือ โครงร่าง อาจมีการเปลี่ยนแปลง และเป็นการร่วงลงมาแบบช้าๆ ซึ่งในตอนแรกมีการคาดการณ์ว่าอาจถึงพื้นโลกในวันพุธแต่ก็ถูกเลื่อนออกไป องค์การยังไม่สามารถปักหมุดสถานที่ที่แน่ชัดได้ แต่ทำนายว่าอาจเป็นเวลาภายใน 12-18 ชั่วโมงข้างหน้านี้"

    แต่อย่างไรก็ดี นาซา เผยว่า ดาวเทียมจะถูกเผาไหม้เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศจนเหลือขนาดเพียงครึ่งตัน และกระจายตัวออกเป็น 26 ชิ้นส่วนเล็กๆ ซึ่งบางชิ้นอาจตกลงในมหาสมุทร และไม่ต้องกังวลใจว่าจะก่อให้เกิดอันตราย เพราะคำนวณไว้ว่า มีโอกาสน้อยกว่า 1 ในล้านล้าน ที่จะตกใส่หัวมนุษย์.

    ไทยรัฐออนไลน์
    โดย ไทยรัฐออนไลน์
    24 กันยายน 2554, 06:00 น.
     
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    sun ยังระเบิดเรื่อยๆ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    แผนที่ศักยภาพน้ำท่วมใน 24 ชม - เวียดนามอ่วมเลย

    [​IMG]

    รายงานสภาพอากาศล่่สุด


     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    สภาพอากาศบริเวณมหาสมุทรแปรซิฟิก

    [​IMG]
     
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    B1

    ช่วงนี้หย่อมความกดอากาศสูง (H) เริ่มเคลื่อนลงมาตอนล่างมากขึ้น มันคืออะไร

    [​IMG]

    บริเวณความกดอากาศสูง (H) หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียง มีการหมุนเวียนของลมออกจากศูนย์กลางในทิศตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

    บริเวณความกดอากาศสูงชนิดเย็น (Cold High) เป็นบริเวณความกดอากาศสูงที่มีอุณหภูมิที่ศูนย์กลางของมวลอากาศ หนาวเย็นกว่าบริเวณที่อยู่รอบ ๆ มักเกิดขึ้นบนพื้นทวีปหรือแผ่นดิน มีคุณสมบัติหนาวเย็นจัด และแห้งแล้ง ตัวอย่างเช่น บริเวณความกดอากาศสูงแถบไซบีเรีย (Siberian High) ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อประเทศไทยในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างประมาณปลายเดือนตุลาคม ถึง ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์

    บริเวณความกดอากาศสูงชนิดร้อน (Warm High) เป็นบริเวณความกดอากาศสูงที่มีอุณหภูมิที่ศูนย์กลางของมวลอากาศ อุ่นกว่าบริเวณที่อยู่รอบ ๆ มักเกิดขึ้นบนพื้นน้ำหรือมหาสมุทร มีคุณสมบัติร้อน และมีความชื้นมาก ตัวอย่างเช่น บริเวณความกดอากาศสูงแถบโซนร้อนตอนบนของมหาสมุทรแปซิฟิก (Subtropical High) ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อประเทศไทยในช่วงการเปลี่ยนฤดูจากหนาวเป็นร้อน ระหว่างประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ประมาณกลางเดือนเมษายน

    หย่อมความกดอากาศต่ำ (L) หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง มีการหมุนเวียนของลมเข้าหาศูนย์กลางในทิศทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ มีคุณสมบัติโดยทั่วไปคือร้อน ชื้น เป็นสถานะตั้งต้นที่จะรุนแรงขึ้นเป็นพายุหมุน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...