<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อลี ธมฺมธโร

    วัดอโศการาม
    ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ



    ๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เวลา 21.00 น. เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2449 บ้านเกิดคือบ้านหนองสองห้อง ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านนี้มีบ้านประมาณ 80 หลังคาเรือน แบ่งออกเป็น 3 คุ้ม คือหมู่บ้านน้อยหนึ่ง หมู่บ้านในหนึ่ง และหมู่บ้านนอกหนึ่ง ที่หมู่บ้านนอกนี้มีวัดตั้งอยู่ พระอาจารย์ลี ได้เกิดในหมู่บ้านที่มีวัดตั้งอยู่ บ้านทั้ง 3 คุ้มนี้มีหนองน้ำอยู่ตรงกลาง 3 หนองบริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีต้นยางใหญ่ขึ้นอยู่ล้มอรอบนับเป็นสิบๆ ต้นทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีเนินบ้านเก่า มีพระอุโบสถร้างๆ 2 แห่ง ปรากฏว่าผีดุมาก บางคราวถึงกับมาพาเอาคนไปอยู่ที่ศาลเจ้า สังเกตดูรู้สึกว่าจะเป็นฝีมือของขอมเป็นผู้สร้างขึ้น

    นามเดิมของพระอาจารย์ลี คือ นายชาลี นารีวงศ์ เป็นบุตรของนายปาว และนางพ่วย นารีวงศ์ ปู่ชื่อจันทารี ย่าชื่อนางสีดา ตาชื่อนันทะเสย ยายชื่อนางดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 9 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 4 คน เมื่อเกิดมาได้ 9 วัน เกิดมีอาการรบกวนพ่อแม่เป็นการใหญ่ เช่น ร้องไห้เสมอๆ ถึงกับโยมบิดามารดาทั้งสองได้แตกจากกันไปหลายวัน เมื่อโยมผู้หญิงออกไฟได้ 3 วัน ตัวเองเกิดโรคป่วยบนศีรษะ ไม่กินไม่นอนเป็นเวลาหลายวัน เลี้ยงยากที่สุด โยมบิดามารดาไม่มีใครสามารถจะเลี้ยงให้ถูกใจได้

    ต่อมาอายุได้ 11 ปี มารดาถึงแก่กรรม ยังมีน้องเล็กๆ คนหนึ่งเป็นผู้หญิงได้เลี้ยงดูกันมาส่วนคนอื่นๆ เขาโตแล้วต่างพากันไปทำมาหากิน ยังเหลืออีก 2-3 คน พ่อลูกพากันทำนาเป็นอาชีพพออายุได้ราว 12 ปี ได้เรียนหนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้ สอบชั้นประถมก็ตกเสียอีก ช่างมันแต่จะเรียนไปจนหมดเวลา พอดีอายุ 17 ปี จึงได้ออกจากโรงเรียน

    ต่อจากนั้นมาก็คิดหาแต่เงินกันเท่านั้นในระหว่างนี้เกิดมีการขัดอกขัดใจกับ โยมผู้ชายบ่อยๆ คือโยมต้องการให้ทำการค้าขายของที่ไม่ชอบ เช่น ไปหาซื้อหมูมาขาย ซื้อวัวมาขาย เป็นต้น ถึงเวลาอยากจะไปทำบุญก็คอยขัด การงานก็คอยขัดคอเสมอ บางทีต้องการไปทำบุญกับเขา ก็หายอมให้ไปไม่ กลับบอกให้ไปทำไร่ทำนาเสีย บางวันน้อยใจนั่งร้องไห้อยู่คนเดียวกลางทุ่งนา นึกแต่ในใจว่าเราจักไม่อยู่ในหมู่บ้านนี้ แต่ก็ต้องอดทนอยู่ไปก่อน ต่อมา โยมบิดาได้ภรรยาใหม่คนหนึ่งชื่อ แม่ทิพย์ ตอนนี้ค่อยสบายใจขึ้นหน่อย


    ๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    พอดีอายุครบ 20 ปี ตรงกับปี พ.ศ. 2468 โยมมารดาเลี้ยงถึงแก่ความตาย ขณะนั้นได้ไปอยู่กับญาติที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พอปลายเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้กลับขึ้นไปบ้าน โยมบิดาก็แนะนำให้บวช วันนั้นเงินติดตัวอยู่ประมาณ 160 บาท เมื่อไปถึงบ้านใหม่ๆ พี่ชาย พี่เขย พี่สาว ฯลฯ ก็พากันมากลุ้มรุมเยี่ยมเยือนถามข่าวคราวต่างๆ แล้วขอกู้เงินยืมเงินไปซื้อควายบ้าง ซื้อนาบ้าง ค้าขายบ้าง ก็ยินยอมให้เงินเขาไปตามที่ต้องการ เพราะตัวเองคิดจะบวช ตกลงเงิน 160 บาท ที่มีอยู่คงเหลือเพียง 40 บาท

    ถึงเวลาเทศกาลบวชนาค โยมบิดาก็จัดแจงให้บวชจนสำเร็จ ได้ทำการบวช เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 มีเพื่อนบวชด้วยกันในวันนั้นรวม 9 รูป พอล่วงถึงพรรษาที่ 2 จึงตั้งใจอธิษฐานว่า “เวลานี้ข้าพเจ้ายังมุ่งดีหวังดีต่อพระศาสนาอยู่ในกาลต่อไปนี้ ขอจงให้พบครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบภายใน 3 เดือน”

    ต่อมาเดือนพฤศจิกายนข้างแรม ได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้านโนนรังใหญ่ ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ พอดีไปพบพระกรรมฐานรูปหนึ่งกำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์รู้สึกเกิดแปลกประหลาด ในจิตขึ้นโดยโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใส จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่าท่านองค์นั้นคือใคร มาจากไหน ได้รับตอบว่า “เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่อพระอาจารย์บท” ท่านได้พักอยู่ในป่ายางใหญ่ใกล้บ้านราว 20 เส้น พองานมาหาชาติแล้วเสร็จก็ได้ติดตามไปดู ได้เห็นปฏิปทาความประพฤติของท่านเป็นที่พอใจ จึงถามท่านว่าใครเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านตอบว่า “พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ เวลานี้พระอาจารย์มั่นได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนครไปพักอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี”

    พอได้ความเช่นนั้นก็รีบเดินทางกลับบ้าน นึกแต่ในใจว่า “เราคงสมหวังแน่ๆ” อยู่มาไม่กี่วันจึงได้ลาโยมผู้ชาย ลาพระอุปัชฌาย์ ท่านทั้งสองนี้ก็พูดจาขัดขวางทุกด้านทุกมุม แต่ได้ตัดสินใจเด็ดขาดว่า “เราต้องไปจากบ้านนี้โดยเด็ดขาด จะให้สึกก็ต้องไป จะให้อยู่เป็นพระก็ต้องไป พระอุปัชฌาย์ และโยมผู้ชายไม่มีสิทธิ์ใดๆ ทั้งหมด ถ้าขืนก้าวก่ายสิทธิ์ในตัวเรานาทีใด ต้องลุกหนีไปนาทีนั้น” ได้พูดกับโยมผู้ชายอย่างนี้ ในที่สุดโยมผู้ชายและพระอุปัฌาย์ก็ยอม

    เดือนอ้ายข้างแรม เวลาเพลแล้ว ประมาณ 13.00 น. ได้ออกเดินทางพร้อมด้วยบริขารโดยลำพังรูปเดียว โยมผู้ชายได้ติดตามออกไปส่งถึงกลางทุ่งนา เมื่อได้ร่ำลากันแล้วต่างคนก็ต่างไป วันนั้นเดินทางผ่านอำเภอม่วงสามสิบมุ่งไปสู่จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 10 กิโลเมตรเศษ พอดีพระบริคุตฯ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอม่วงสามสิบถูกปลดออกจากราชการขี่รถยนต์ผ่านมาพบ เรากำลังเดินทางอยู่คนเดียว ท่านผู้นี้ได้นิมนต์ขึ้นรถขนย้ายครอบครัวของท่าน ไปส่งถึงสนามบินจังหวัดอุบลฯ ทางไปบ้านกุดลาด บัดนี้ก็ยังระลึกถึงบุญคุณของท่านผู้นี้อยู่ ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันเลย ประมาณ 5 โมงเย็นเดินทางถึงสำนักวัดป่าบ้านกุดลาด แต่ได้ทราบว่าพระอาจารย์มั่นกลับมาพักอยู่วัดบูรพา

    รุ่งเช้าเมื่อฉันอาหารแล้วได้เดินเท้ากลับมาจังหวัดอุบลฯ ได้ไปนมัสการกราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่น ท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์เป็นที่พอใจสอนคำภาวนาให้ว่า “พุทโธฯ” เพียงคำเดียวเท่านี้ พอดีท่านกำลังอาพาธ ท่านได้แนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหิน ซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงัดวิเวกดี ที่นั่นมีพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น มีพระภิกษุสามเณรราว 40 กว่ารูปพักอยู่ ได้เข้าไปฟังธรรมเทศนาของท่านทุกคืน รู้สึกว่ามีผลเกิดขึ้นในใจ 2 อย่างคือ เมื่อนึกถึงเรื่องเก่าๆ ของตนที่เป็นมาก็ร้อนใจ เมื่อนึกถึงเรื่องใหม่ๆ ที่กำลังประสบอยู่ก็เย็นใจ ทั้ง 2 อารมณ์นี้ติดตนอยู่เสมอ

    พอดีได้พบเพื่อนที่หวังดี 2 รูป ได้ร่วมอยู่ ร่วมฉัน ร่วมศึกษาสนทนากันตลอดมา เพื่อน 2 รูปนั้นคือ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และพระอาจารย์สาม อกิญจโน ได้พากเพียรพยายามภาวนาอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อได้พักอยู่พอสมควรแล้วก็ได้ชวนพระอาจารย์กงมาออกเดินทางไปเรื่อยๆ ไปพักตามศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้านตำบลต่างๆ แล้วได้เดินทางกลับไปถึงบ้านเดิม เพื่อบอกข่าวกุศลให้โยมผู้ชายทราบว่าได้พบพระอาจารย์มั่นเป็นพอใจในชีวิต แล้ว อาตมาจักไม่กลับมาตายบ้านนี้ต่อไป

    คือได้นึกเป็นคติในใจอยู่ว่า “เราเกิดมาเป็นคน ต้องพยายามไต่ขึ้นอยู่บนหัวคน เราบวชเป็นพระ ต้องพยายามให้อยู่บนหัวพระที่เราเคยพบผ่านมา”

    ตอนนี้รู้สึกว่าเกิดสมหวังในความคิด ฉะนั้น จึงกลับบอกเล่าให้โยมฟังว่า “ฉันลาไม่กลับ เงินทองข้าวของใช้ส่วนตัวมอบเสร็จ ทรัพย์สินเงินทองของโยมจักไม่เกี่ยวข้องตลอดชีวิต” แต่ยังไม่เคยตัดสินใจว่าเราบวชแล้วจะไม่ยอมสึก แต่ก็นึกในใจว่า “เราไม่ยอมจนในชีวิต” โยมป้าได้ทราบเรื่องก็มาพูดต่อว่า “ท่านจะเกินไปละกระมัง” จึงได้ตอบไปว่า “ถ้าฉันสึกมา ถ้าฉันมาขอข้าวป้ากิน ขอให้ป้าเรียกฉันว่าสุนัขก็แล้วกัน”

    เมื่อได้ตัดสินใจเด็ดขาดแล้วเช่นนี้ ก็ได้สั่งกับโยมผู้ชายว่า “โยมอย่าเป็นห่วงอาตมาจะบวชอยู่ได้ก็ตาม จะสึกออกมาก็ช่าง อาตมาพอใจแล้วที่ได้สมบัติจากโยม ได้ทรัพย์วิเศษจากโยม คือ ตา 2 ข้าง หู 2 ข้าง จมูก ปาก ครบอาการ 32 จัดเป็นก้อนทรัพย์อย่างสำคัญ แม้โยมจะให้ทรัพย์อย่างอื่น อาตมาก็ไม่อิ่มใจ” เมื่อได้สั่งโยมผู้ชายเสร็จแล้ว ก็ลาโยมผู้ชายเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางไปถึงหมู่บ้านวังถ้ำ ก็ได้พบพระอาจารย์มั่นพักอยู่ในป่าจึงได้เข้าไปพักอาศัยอบรมอยู่กับท่านเป็น เวลาหลายวัน

    ต่อจากนั้นก็ได้ดำริว่า “เราต้องสวดญัตติใหม่ ล้างบาปเก่าเสียที” เมื่อได้หารือพระอาจารย์มั่นแล้วท่านเห็นดีเห็นชอบด้วย จึงได้ทำการหัดขานนาค เมื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ติดตามท่านไปเที่ยวในตำบลต่างๆ ได้รู้สึกมีความเลื่อมใสท่านเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รับความอัศจรรย์จากท่านหลายอย่าง อาทิเช่น บางเรื่องคิดอยู่ในใจของเราไม่เคยแสดงให้ท่านทราบเลย ท่านกลับทักทายถูกต้อง ก็ยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้นทุกที การทำสมาธิก็หนักแน่นหมดความห่วงในอะไรต่ออะไรหลายๆ อย่างได้อบรมอยู่กับท่านเป็นเวลา 4 เดือน ท่านก็ได้นัดหมายให้ไปสวดญัตติใหม่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ มีพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดสระปทุม จังหวัดพระนคร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เพ็ง วัดใต้ จังหวัดอุบลฯ เป็นกรรมวาจาจารย์, พระอาจารย์มั่น เป็นผู้บรรพชาให้เป็นสามเณร ได้อุปสมบทใหม่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 อุปสมบทเสร็จแล้ว 1 วัน ก็ได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัดคือฉันมื้อเดียว ได้พักอยู่วัดบูรพาคืนเดียวก็ได้ออกไปอยู่ป่าบ้านท่าวังหินตามเคย

    เที่ยวจาริกสัญจร ไปในระหว่างเวลาออกพรรษาทุกปี การทำเช่นนี้ ก็เพราะได้คิดเห็นว่าการที่จะอยู่ประจำวัดเฉยๆ ก็เปรียบเหมือนรถไฟที่จอดนิ่งอยู่ที่สถานีหัวลำโพงประโยชน์ของรถไฟที่จอด อยู่กับที่มีอะไรบ้าง ทุกคนคงตอบได้ ฉะนั้น ตัวเราเองจะมานั่งอยู่ที่เดียวนั้น เป็นไปไม่ได้จำเป็นจะต้องออกสัญจรอยู่อย่างนี้ตลอดชาติในภาวะที่ยังบวชอยู่ การประพฤติเช่นนี้ บางครั้งหมู่คณะก็ตำหนิโทษ บางคราวก็ได้รับคำชมเชย แต่ตนเองเห็นว่าได้ผลทั้งนั้น เพราะได้รู้จักภูมิประเทศเหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของพระศาสนาในที่ต่างๆ บางอย่างชนิดเราอาจโง่กว่าเขา บางอย่าง บางหมู่คณะ บางสถานที่เขาอาจดีกว่าเรา ฉะนั้น การสัญจรไปจึงไม่ขาดทุน นั่งอยู่นิ่งๆ ในป่าก็ได้ประโยชน์ ถ้าถิ่นไหนเขาโง่กว่าเรา เราก็เป็นอาจารย์ให้เขา หมู่ไหนฉลาดกว่าเรา เราก็ยอมตนเป็นศิษย์เขา ฉะนั้น การสัญจรไปมาจึงไม่เสียประโยชน์ อีกประการหนึ่งที่เราชอบไปอยู่ตามป่าดงนั้น ได้เกิดความคิดหลายอย่าง คือ

    (1) ให้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แสดงตนเป็นผู้ขอ แต่พระองค์ไม่ให้แสดงตนเป็นคนยากจน เช่น เขาให้เท่าไร ก็ยินดีเท่านั้น

    (2) พระองค์ทรงสอนให้ไปอยู่ในที่สงัด ที่เรียกว่า "รุกขมูลเสนาเสนะ" มีบ้านร้าง สัญญาคาร หิมมิยัง เงื้อมผา คูหาถ้ำ สถานที่ต่างๆ เหล่านี้ มีปัญหาว่าพระองค์ทรงเห็นประโยชน์อะไรหรือ จึงได้สอนเช่นนั้น แต่ตัวเองก็นึกเชื่อยู่ในใจว่า ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ พระองค์คงไม่สอน ถึงกระนั้นก็ยังมีความรู้สึกลังเลใจอยู่ จนเป็นเหตุให้สนใจในเรื่องนี้

    (3) พระองค์สอนให้ถือผ้าบังสุกุลเป็นเครื่องใช้สอย ตลอดจนให้ถือเอาผ้าพันผีตายมาใช้นุ่งห่ม ก็เป็นเหตุให้ตัวเองนึกถึงเรื่องตายว่าการนุ่งห่มผ้าพันผีตายมีประโยชน์อะไร บ้าง ข้อนี้พอได้ความง่ายๆ คิดดูโดยหลักธรรมดาก็จะเห็นได้ว่า ของตายนั้นไม่มีใครต้องการอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือของตายเป็นของไม่มีพิษไม่มีโทษในข้อนี้พอจะน้อมนึกตรึก ตรองได้อยู่บ้าง ว่าพระองค์ได้สอนไม่ให้เป็นผู้ทะนงตัวในปัจจัยลาภ

    (4) พระองค์สอนให้บริโภคยารักษาโรคที่หาได้อย่างง่ายๆ เช่น ให้ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คำสอนต่างๆ ของพระองค์ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เมื่อเราได้รับฟังเข้าแล้วเป็นเหตุให้เกิดความสนใจแต่เมื่อสรุปแล้วจะได้รับ ผลหรือไม่ได้รับผลก็ตาม แต่เรามีความเชื่อมั่นอยู่อย่างหนึ่งว่าพระองค์ไม่ใช่บุคคลที่งมงาย เรื่องใดที่ไม่มีเหตุผลพระองค์คงไม่ทรงสั่งสอนเป็นอันขาด

    ฉะนั้น จึงได้มาระลึกนึกคิดว่า ถ้าเราไม่เชื่อในคำสอนของพระองค์ เราก็ควรยอมรับถือตามโอวาท หรือถ้าเราไม่เชื่อความสามารถของผู้สอนเรา เราก็ควรทำตามไปก่อนโดยฐานะที่ทดลองดูเพื่อเป็นการรักษาสังฆประเพณี ระเบียบแบบแผนของผู้ที่เราเคารพนับถือกราบไหว้เอาไว้ก่อนอีกประการหนึ่ง ได้ระลึกถึงคำพูดของพระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นผู้ถือเคร่งครัดในธุดงค์ เช่น ถือการอยู่ป่า ฉันอาหารแต่มื้อเดียว ถ้าผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ท่านได้ขอปฏิบัติตัวของท่านอย่างนี้ตลอดชีพในเรื่องนี้พระองค์ได้ทรงซักถาม พระมหากัสสปะว่า "ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ท่านขวนขวายเพื่อเหตุอะไร"

    พระมหากัสสปะตอบว่า "ข้าพระองค์มุ่งประโยชน์ของกุลบุตรผู้จะเกิดตามสุดท้ายภายหลังไม่ได้มุ่ง ประโยชน์ส่วนตัว เมื่อข้าพระองค์ไม่ทำ จะเอาใครเป็นตัวอย่าง เพราะการสอนคนนั้นถ้ามีตัวอย่างสอนได้ง่าย เปรียบเสมือนการสอนภาษาหนังสือเขาทำแบบหรือรูปภาพ ประกอบการสอน เป็นเหตุให้ผู้เรียน เรียนได้สะดวกขึ้นอีกมาก ข้าพระองค์ประพฤติเช่นนี้ฉันใดก็ฉันนั้น"

    เมื่อได้ระลึกถึงคำพูดของพระมหากัสสปะ ซึ่งได้ทูลตอบพระบรมศาสดาเช่นนี้ ก็สงสารพระมหากัสสปะ ท่านอุตส่าห์ตรากตรำทรมาน ถ้าเปรียบในทางโลกท่านก็เป็นถึงมหาเศรษฐีควรได้นอนที่นอนที่ดีๆ กินอาหารที่ประณีต ตรงกันข้าม ท่านกลับสู้อุตส่าห์มาทนลำบากนอนกลางดินกินกลางหญ้า ฉันอาหารก็ไม่ประณีต เปรียบเทียบตัวเราเสมอเพียงแค่นี้ จะมาหาแต่ความสุขใส่ตัวแค่อามิส ก็บังเกิดความละอายใจ สำหรับพระมหากัสสปะ เวลานั้นท่านจะบริโภคอาหาร นั่ง นอน ในที่สวยงามเท่าไรก็ตาม ย่อมไม่มีปัญหาใดๆ ที่จะเป็นไปเพื่ออาสวะกิเลสเสียแล้ว แต่ว่าเป็นของไม่แปลก ท่านกลับเห็นประโยชน์ที่จะเกิดแก่บรรดาสานุศิษย์

    ฉะนั้น เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นข้อสะกิดใจเรามานับตั้งแต่เริ่มบวชในครั้งแรก

    เมื่อพูดถึงเรื่องการอยู่ป่า ก็เป็นของแปลกประหลาดเตือนใจเราอยู่มาก เช่น บางคราวได้มองเห็นความตายอย่างใกล้ชิด และได้รับคำเตือนใจหลายอย่าง บางคราวก็เกิดจากคนในป่า บางคราวก็เห็นพฤติการณ์ของสัตว์ในป่า สมัยหนึ่ง มีตาแก่ยายแก่สองคนผัวเมียพากันไปตักน้ำมันยางในกลางดงใหญ่ เผอิญไปพบหมีใหญ่ตัวหนึ่ง ได้เกิดการต่อสู้กันขึ้น เมียหนีขึ้นต้นไม่ทัน แล้วร้องตะโกนบอกผัวว่า "ถ้าสู้มันไม่ไหว ให้ลงนอนหงายนิ่งๆ ทำเหมือนคนตายอย่ากระดุกกระดิก ฝ่ายผัวพอได้ยินเมียร้องบอกดังนั้นก็ได้สติ แกจึงแกล้งล้มนอนแผ่ลงกลางพื้นดิน และนอนนิ่งๆ ไม่ไหวตัว เมื่อหมีเห็นดังนั้นก็ขึ้นคร่อมตัวตาแก่ไว้ ปล่อยมือปล่อยตีน ไม่ตะปบตาแก่อีก เป็นแต่มองดูตาแก่ที่กำลังนอนหงายอยู่นั้น

    ตาแก่ก็ได้แต่นอนบริกรรมภาวนาได้คำเดียวว่า "พุทโธ พุทโธ" พร้อมทั้งนึกในใจว่า "เราไม่ตาย" หมีก็ดึงขา ดึงศีรษะแก แล้วใช้ปากดันตัวแกทางซ้ายทางขวา แกก็ทำเป็นนอนตัวอ่อนไปอ่อนมาไม่ยอมฟื้น หมีเห็นดังนั้นก็คิดว่าตาแก่คงตายแล้ว มันจึงหนีไป ต่อจากนั้นสักครู่หนึ่งแกก็ลุกขึ้น เดินกลับบ้านกับเมีย บาดแผลที่แกได้รับคือหัวถลอกปอกเปิกแต่ไม่ตาย แกก็สรุปให้ฟังว่า "สัตว์ป่าต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าเราเห็นว่าจะสู้ไม่ไหว ต้องทำตัวเหมือนคนตาย"

    เมื่อเราได้ฟังแกเล่าแล้ว ก็ได้ความรู้ขึ้นอีกอย่างหนึ่งว่า คนตายไม่มีใครต้องการเราอยู่ในป่าเราก็ควรทำตนเหมือนคนตาย ฉะนั้นใครจะว่าดีหรือชั่วประการใด เราต้องนิ่งสงบกาย วาจา ใจ จึงจะรอดตาย เป็นอุทาหรณ์เตือนใจได้อีกอย่างหนึ่งในทางธรรมะว่า "คนที่จะพ้นตาย ต้องทำตนเหมือนคนตาย" ก็เป็นมรณัสสติเตือนใจได้เป็นอย่างดี

    อีกครั้งหนึ่ง ได้ไปพักอยู่ในดงใหญ่แห่งหนึ่ง วันหนึ่งเวลาเช้าสายๆ ได้พาลูกศิษย์ออกบิณฑบาต พอเดินผ่านดงไป ได้ยินเสียงแม่ไก่ร้อง "กะต๊ากๆ" ฟังเสียงดูเป็นเสียงไก่แม่ลูกอ่อน เพราะเมื่อส่งเสียงร้องแล้ว ไม่ยอมบิน จึงให้ลูกศิษย์วิ่งไปดูแม่ไก่ตกใจก็บินข้ามต้นไม้สูงหนีไป เห็นลูกไก่วิ่งอยู่หลายตัว มันพากันวิ่งหนีเข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในกองใบไม้ร่วง แล้วทุกตัวก็นิ่งเงียบ ไม่ยอมไหวตัวไม่ยอมกระดุกกระดิก แม้จะเอาไม้คุ้ยเขี่ยดู ก็ไม่ยอมกระดุกกระดิก เด็กลูกศิษย์ไปหาอยู่พักหนึ่ง ไม่ได้พบลูกไก่เลยแม้แต่ตัวเดียว แต่เรานึกในใจว่ามันไม่ได้หนีไปไหนแต่มันทำตัวเหมือนใบไม้ร่วง ในที่สุดลูกไก่ตัวนิดๆ จับไม่ได้สักตัวเดียว เรื่องนี้ก็เป็นเหตุให้นึกถึงสัญชาติญาณการป้องกันภัยของสัตว์ ว่ามันก็มีวิธีการที่ฉลาด มันทำตัวของมันให้สงบ ไม่มีเสียงในกองใบไม้ร่วง

    จึงได้เกิดการนึกเปรียบเทียบขึ้นในใจตนเองว่า "ถ้าเราอยู่ในป่า ทำจิตให้สงบไม่ไหวตัวเช่นเดียวกับลูกไก่ เราก็ต้องได้รับความปลอดภัย พ้นความตายแน่นอน" ก็เป็นคตติเตือนใจได้อีกเรื่องหนึ่ง นอกจากนี้ เมื่อนึกถึงธรรมชาติอื่นๆ เช่น ต้นไม้ เถาวัลย์ สัตว์ป่า แต่ละอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องปลุกใจได้เป็นอย่างดี เช่น เถาวัลย์บางชนิดพันต้นไม้ไม่มีเลี้ยวไปทางทิศทางอื่น ต้องพันเลี้ยวไปทางทักษิณาวัตรเสมอ สังเกตเห็นเช่นนี้ก็มาระลึกถึงตัว หากเราจะทำจิตให้ก้าวไปสู่ความดีอันยิ่งยวด เราต้องเอาอย่างเถาวัลย์คือเดินทางทักษิณาวัตร เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงว่า "กายกมฺม" วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ ปทกฺขิณ"

    ฉะนั้น เราต้องทักษิณาวัตร คือเวียนไปทางทักษิณเสมอ นั่นคือเราต้องทำตนให้เหนือกิเลสที่จะลุกลามใจมิฉะนั้น เราก็สู้เถาวัลย์ไม่ได้ ต้นไม้บางชนิดแสดงความสงบให้เราเห็นด้วยตา ที่เราเรียกกันว่า "ต้นไม้นอน" ถึงเวลากลางคืนมันหุบใบ หุ้บก้าน เมื่อเราไปนอนอยู่ใต้ร่มไม้ต้นนั้น จะมองเห็นดาวเดือนอย่างถนัดในเวลากลางคืน แต่พอถึงเวลากลางวันแผ่ก้านแผ่ใบมืดทึบอย่างนี้ก็มี เรื่องเหล่านี้ก็ล้วนเป็นคติเตือนใจว่า ขณะเรานั่งสมาธิหลับตาภาวนานั่น ก็ให้หลับตา ส่วนใจเราต้องให้สว่างไสว เหมือนต้นไม้นอนในเวลากลางคืน ซึ่งใบไม้ปิดตาเรา เมื่อระลึกนึกคิดได้อย่างนี้ ก็ได้แลเห็นประโยชน์ของการอยู่ป่า จิตใจก็เกิดความห้าวหาญธรรมะธรรมโมที่ได้เรียนมาหรือที่ยังไม่ได้เรียนรู้ ก็ได้ผุดมีขึ้น เพราะธรรมชาติเป็นผู้สอน

    จึงได้มานึกถึงหลักวิทยาศาสตร์ของโลกที่ทุกประเทศพากันทำฤทธิ์ทำเดชต่างๆ นานา และทำได้อย่างสูงๆ น่ามหัศจรรย์ ล้วนแต่ไม่ปรากฏว่ามีตำราในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมาแต่ก่อน นักวิทยาศาสตร์พากันคิดได้จากหลักธรรมชาติ ซึ่งปรากฏมีอยู่ในโลกนี้ทั้งสิ้น เรามาหวนคิดถึงธรรมะก็มีอยู่ตามธรรมชาติเหมือนวิทยาศาสตร์นั่นเอง เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็หมดห่วงในเรื่องการเรียนแล้วมาระลึกถึงพระพุทธเจ้าและ พระสาวกทั้งหลาย ล้วนแต่ได้เรียนสำเร็จจากหลักธรรมชาติทั้งนั้นไม่ปรากฏว่าเคยมีตำรับตำรามา แต่ก่อน

    ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ตัวเราจึงยอมโง่ทางแบบ และตำราต้นไม้บางชนิดมันนอนกลางคืนแต่ตื่นกลางวัน บางชนิดก็นอนกลางวันแต่ตื่นกลางคืน สัตว์ป่าก็เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังได้ความรู้จากพฤกษชาติ ซึ่งมันคลายรสในตัวของมันออก บางชนิดก็เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย บางชนิดก็เป็นโทษแก่ร่างกาย อาทิเช่น บางคราวเราเป็นไข้เมื่อเข้าไปอยู่ใต้ต้นไม้บางชนิดอาการไข้ก็หายไป บางคราวเราสบายดี แต่พอเข้าไปอยู่ใต้ต้นไม้บางชนิด ธาตุก็เกิดแปรปรวน บางคราวเราหิวข้าวหิวน้ำ แต่พอเข้าไปอยู่ใต้ต้นไม้บางชนิด อาการหิวเหล่านั้นก็หายไป การได้ความรู้ต่างๆ จากพฤกษชาติเช่นนี้ เป็นเหตุให้นึกถึงแพทย์แผนโบราณ ซึ่งนิยมสร้างรูปฤาษีไว้เป็นที่เคารพบูชา ฤาษีนั้นไม่เคยได้เรียนตำรายามาแต่ก่อน แต่มีความสามารถสอนแพทย์แผนโบราณให้รู้จักยารักษาโรคได้ โดยวิธีการเรียนธรรมชาติโดยทางจิตเหมือนอย่างตัวเรานี้เอง น้ำ พื้นแผ่นดินหรืออากาศธาตุก็เช่นเดียวกัน

    ฉะนั้น เมื่อทราบเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ เราก็ไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องยารักษาโรค คือเห็นว่ามันมีอยู่ทั่วไป ส่วนที่ว่าเรารู้หรือไม่รู้ อันนี้เป็นเรื่องของตัวเราเอง นอกจากนั้นยังมีคุณความดีอย่างอื่นที่จะต้องบริหารตัวเอง นั่นคืออำนาจแห่งดวงจิตที่สามารถทำให้สงบระงับลงได้เท่าไร ก็ยื่งมีคุณภาพสูงขึ้นไปยิ่งกว่านี้อีกหลายสิบเท่า ซึ่งเรียกว่า "ธรรมโอสถ"

    สรุปแล้ว คุณประโยชน์ที่ได้รับในเรื่องการอยู่ป่าที่สงัดเพื่อปฏิบัติทางจิตนี้ เห็นจริงตัดข้อสงสัยในคำสอนของพระตถาคตได้เป็นข้อๆ ด้วยเหตุนี้ เราจึงยอมปฏิบัติตนเพื่อ "วิปัสสนาธุระ" ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่

    ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องในการได้ปฏิบัติทางจิตนี้ ถ้าจะนำมาพรรณนาก็มีอยู่มากมายแต่จะขอกล่าวแต่เพียงสั้นๆ เสมอเพียงเท่านี้
     
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)


    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]พระสามเหลี่ยม เนื้อผงเกษร [FONT=&quot]108 ผสมผงสมเด็จวัดระฆัง พิธี 25 ศตวรรษ ท่านพ่อลี วัด อโศการาม[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot] ([FONT=&quot]สุดยอดหายากสุดๆ พุทธคุณสูงมากๆ มหาลาภ มหาโภคทรัพย์ เจริญรุ่งเรือง เสริมดวงชะตาราศรี ป้องกันภัย เมตตามหานิยม[/FONT][FONT=&quot])[/FONT][FONT=&quot]

    มีคำนิยามว่า " ทองคำ หาง่ายกว่าพระของท่านพ่อลี คง จะไม่กล่าวเกินไปใน พ.ศ. นี้ครับ"
    รุ่นนี้ สร้างจากผงมวลสารล้วนๆ ที่สำคัญๆ มากมาย...เช่น ผงเกษรดอกไม้ 108 ผงธูปอธิษฐาน ผงโยคีฮาเล็บ(ผงสำคัญใน"พระมงคลมหาลาภ"
    [/FONT]ดังบันทึกดังนี้ เมื่อโยคีโยฮาเล็บ เจ้าพิธี สร้างผงวิเศษด้วยวิธีประยุกต์ของท่านแล้วอัญเชิญพรหมชั้นโสฬสมาทำการปลุกเสก ผง เสร็จพิธีแล้ว ท่านพ่อลี วัดอโศการามเข้าไปเดินดูในโบสถ์ว่าทำอะไรกัน ก็ยื่นมือไปหมายผัสสะดูก็สะดุ้งโหยง” เฮ้ยหยังแรงจังซี้ “ก็เลยขอผงไป 1 บาตร เพื่อสร้างพระพุทธจักรของท่านที่วัดอโศการาม
    [/FONT][FONT=&quot]) ผงพระธาตุ ผงว่าน ผงพุทธคุณต่างๆ มากมาย..
    โดยเฉพาะ ผงสมเด็จวัดระฆัง จำนวนมากที่ท่านพ่อลี เก็บรักษาไว้ ท่านได้นำมาผสมในพระสามเหลี่ยมนี้จนหมดสิ้น..
    หายากสุดๆ ....สร้างไม่กี่ร้อยองค์
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    สร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๐ พิธีใหญ่ฉลอง ๒๕ ศตวรรษของทางสายวัดป่าฯ จัดขึ้นที่วัดอโศกราม จ.สมุทรปราการ
    งานนี้กว่าจะเกิดขึ้นได้และทำสำเร็จมีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านพ่อลี มากมายและใช้เงินเป็นล้านได้ในสมัยก่อนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เพราะบารมี ของท่านพ่อลีงานนี้จึงสำเร็จ
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ท่านพ่อลี เป็นพระอริยะเจ้าที่บรรลุธรรมชั้นสูงมากๆ เป็นพระที่มีบุญฤทธิ์สูงมากๆ สามารถอธิษฐานขอพระบรมสารีริกธาตุ จนพระธาตุเสด็จมาโปรดท่าน เป็นจำนวนมาก ...ในประเทศไทย ไม่ปรากฏว่ามีพระอริยเจ้าองค์ใดทำได้อย่างท่านเลยครับ..
    หลวงตามหาบัว เล่าให้ฟังว่า ท่านพ่อลี เป็นพระรูปเดียวที่หลวงปู่มั่น ไม่เคยตำหนิอะไรเลย หากแต่หลวงปู่มั่น ยังยกย่องในคุณธรรมว่าท่านพ่อลี เป็นพระที่บริสุทธิ์จริงๆ ...
    ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมานี้ จะหาผู้ที่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงอย่างท่านพ่อลีนี้ มีไม่เกิน 10 ท่านครับ..
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ท่านพ่อลีท่านเป็นพระที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ทั้งภูมิธรรม
    ของท่านก็สูงน่าเคารพท่านเป็นพระที่ปฏิบัติอย่าง
    เข้มแข็งโดยท่านหลวงปู่มั่นท่านรับรองการปฏิบัติ
    ของท่านอย่างชัดเจนและท่านเป็นพระที่มีพลังจิต
    เข้มแข็งตามบุญวาสนาของท่านที่สั่งสมมาโดย
    ท่านหลวงปู่มั่นท่านเคยกล่าวว่า ในยุคสมัยนี้จะหาผู้มีพลังจิตเข้มแข็งเท่าท่านลี และ ท่านฝั้นไม่มีอีกแล้ว ท่านพ่อลีท่านยังสามารถอัญเชิญพระบรมธาตุ และพระธาตุมาได้ดังใจปารถนาจนเป็นที่เลื่องชื่อ..
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    เคย มีพวกทหารลองดีกับพ่อท่านลี เกิดจากความคิดบ้าๆว่า พระอรหันต์จะยิงไม่เข้า เลยพากันเอาปืนไปยิงพ่อท่านลี ปรากฏว่ายิงไม่เข้า แล้วพวกทหารก็เริ่มมีอันเป็นไปทีละคน จนพวกที่เหลือต้องกราบขอขมา..
    มี คนไปขอให้พ่อท่านลีเสกพระให้ ท่านก็ไม่ว่าอาไรยิ้มๆๆ แล้วเอาพระจุ่มในน้ำมนต์ แล้วส่งให้ ไอ่คนนั้นก็ไม่เชื่อ เอาไปให้หลวงปู่แหวนเสก หลวงปู่บอก โอ้ นี่.....เสกมาละนะบารมีเยี่ยมเลย เอามาให้เราเสกอีกทำไม ?
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    บาง คนก็ไปขอมวลสารทำพระ ท่านก็ตักทรายแถวๆกุฏิแล้วก็เป่าๆๆยืนให้ คนที่ไปขอก็โมโห ที่ได้แต่ทรายมา เลยจะเททิ้งปรากฏว่าเทแล้วทรายไม่หล่นมาสักเม็ดเลย..
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    เป็น พิธีใหญ่อีกพิธีที่รวบรวมสายกรรมฐานของท่านอาจารย์ใหญ่มั่น มาชุมนุมกันเพียบ...ถ้าใครเคยไปวัดอโศการามจะเห็นเป็นภาพวาดบนฝาผนังโบถ์ใน งานนี้

    สำหรับพระที่มาในพิธีนี้ ล้วนแล้วแต่เป็น เพชรในยอดฉัตร ทั้งนั้น เป็นพิธีที่สมบูรณ์ที่สุด ของวัดอโศการาม ยิ่งใหญ่มากๆ

    ปลุกเสกกัน 7 วัน 7 คืน...
    ดังรายนามต่อไปนี้ ..
    1. พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาโม วัดป่าสาละวัน โคราช
    2. หลวงพ่อลี วัดอโศการาม
    3. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม สกลนคร
    4. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า นครพนม
    5. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ วังสพุง เลย
    6. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
    7. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

    8. หลวงตามหาบัว วัดบ้านตาด
    9. หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาบิ้ง
    10. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
    11. หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา
    12. ท่านพ่อเฟื่อง วัดธรรมสถิต
    13. หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตฯ
    14. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    15. เจ้าคุณแดง วัดป่าประชานิยม
    16. หลวงปู่ดูล วัดบูรพาราม
    17. หลวงปู่อ่อน ญานสิริ
    18. หลวงปู่แว่น วัดถ้ำพระสบาย
    19. พระอาจารย์จวน
    ฯลฯ
    ทั้งหมดนี้เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถรทั้งสิ้นเรียกว่าเป็นพระคณาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานล้วนๆ
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พิเศษพระองค์นี้เป็นพระที่บรรจุอยู่ในกรุของวัดอโศการาม เพิ่งแตกกรุเมื่อหลายปีที่ผ่านมา จึงปรากฏคราบกรุสวยงาม ดูเก่ามีเสน่ห์มากๆ[FONT=&quot]
    ปัจจุบันเป็นที่แสวงหากันมาก เพราะปรากฏพุทธคุณอย่างเอกอุ ศักดิ์สิทธิ์มากๆ

    [/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธคุณ สุดๆ ไปเลยครับ เพราะแค่พ่อท่านลีองค์เดียวก็เหลือล้นสุดๆ แล้ว แต่นี่ได้พระอริยะเจ้าสายหลวงปู่มั่น มากันครบถ้วนขนาดนี้ ก็คิดกันเองว่าจะขนาดไหน...[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT]
    [/FONT]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [FONT=&quot]

    [/FONT]*ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • tpl1.jpg
      tpl1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.1 KB
      เปิดดู:
      97
    • tpl2.jpg
      tpl2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.2 KB
      เปิดดู:
      80
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2011
  3. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    เข้ามาทีลัยน้ำลายยัยทุกทีซิอ่ะ
     
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    น้ำลายยัยอย่างนี้ต้องจัดไปอย่าให้เหลือครับท่าน(kiss) ​
     
  5. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    อะจึ๋ย อย่างงี้เค้าม่ายเรียกว่าน้ำลายยัย เค้าเรียกว่าน้ำลายยืดตะหาก อิอิ
     
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]
     
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    รายการใหม่ เดินทางแล้วนะครับเช้านี้ 10/8/54

    พุทธนิรันดร์: EH862010132TH<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)


    [FONT=&quot]พระสามเหลี่ยม เนื้อผงเกษร [FONT=&quot]108 ผสมผงสมเด็จวัดระฆัง พิธี 25 ศตวรรษ ท่านพ่อลี วัด อโศการาม[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]([FONT=&quot]สุดยอดหายากสุดๆ พุทธคุณสูงมากๆ มหาลาภ มหาโภคทรัพย์ เจริญรุ่งเรือง เสริมดวงชะตาราศรี ป้องกันภัย เมตตามหานิยม[/FONT][FONT=&quot])[/FONT][FONT=&quot]

    มีคำนิยามว่า " ทองคำ หาง่ายกว่าพระของท่านพ่อลี คง จะไม่กล่าวเกินไปใน พ.ศ. นี้ครับ"
    รุ่นนี้ สร้างจากผงมวลสารล้วนๆ ที่สำคัญๆ มากมาย...เช่น ผงเกษรดอกไม้ 108 ผงธูปอธิษฐาน ผงโยคีฮาเล็บ(ผงสำคัญใน"พระมงคลมหาลาภ"
    [/FONT]ดังบันทึกดังนี้ เมื่อโยคีโยฮาเล็บ เจ้าพิธี สร้างผงวิเศษด้วยวิธีประยุกต์ของท่านแล้วอัญเชิญพรหมชั้นโสฬสมาทำการปลุกเสก ผง เสร็จพิธีแล้ว ท่านพ่อลี วัดอโศการามเข้าไปเดินดูในโบสถ์ว่าทำอะไรกัน ก็ยื่นมือไปหมายผัสสะดูก็สะดุ้งโหยง” เฮ้ยหยังแรงจังซี้ “ก็เลยขอผงไป 1 บาตร เพื่อสร้างพระพุทธจักรของท่านที่วัดอโศการาม
    [/FONT][FONT=&quot]) ผงพระธาตุ ผงว่าน ผงพุทธคุณต่างๆ มากมาย..
    โดยเฉพาะ ผงสมเด็จวัดระฆัง จำนวนมากที่ท่านพ่อลี เก็บรักษาไว้ ท่านได้นำมาผสมในพระสามเหลี่ยมนี้จนหมดสิ้น..
    หายากสุดๆ ....สร้างไม่กี่ร้อยองค์
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    สร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๐ พิธีใหญ่ฉลอง ๒๕ ศตวรรษของทางสายวัดป่าฯ จัดขึ้นที่วัดอโศกราม จ.สมุทรปราการ
    งานนี้กว่าจะเกิดขึ้นได้และทำสำเร็จมีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านพ่อลี มากมายและใช้เงินเป็นล้านได้ในสมัยก่อนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เพราะบารมี ของท่านพ่อลีงานนี้จึงสำเร็จ
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ท่านพ่อลี เป็นพระอริยะเจ้าที่บรรลุธรรมชั้นสูงมากๆ เป็นพระที่มีบุญฤทธิ์สูงมากๆ สามารถอธิษฐานขอพระบรมสารีริกธาตุ จนพระธาตุเสด็จมาโปรดท่าน เป็นจำนวนมาก ...ในประเทศไทย ไม่ปรากฏว่ามีพระอริยเจ้าองค์ใดทำได้อย่างท่านเลยครับ..
    หลวงตามหาบัว เล่าให้ฟังว่า ท่านพ่อลี เป็นพระรูปเดียวที่หลวงปู่มั่น ไม่เคยตำหนิอะไรเลย หากแต่หลวงปู่มั่น ยังยกย่องในคุณธรรมว่าท่านพ่อลี เป็นพระที่บริสุทธิ์จริงๆ ...
    ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมานี้ จะหาผู้ที่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงอย่างท่านพ่อลีนี้ มีไม่เกิน 10 ท่านครับ..
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ท่านพ่อลีท่านเป็นพระที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ทั้งภูมิธรรม
    ของท่านก็สูงน่าเคารพท่านเป็นพระที่ปฏิบัติอย่าง
    เข้มแข็งโดยท่านหลวงปู่มั่นท่านรับรองการปฏิบัติ
    ของท่านอย่างชัดเจนและท่านเป็นพระที่มีพลังจิต
    เข้มแข็งตามบุญวาสนาของท่านที่สั่งสมมาโดย
    ท่านหลวงปู่มั่นท่านเคยกล่าวว่า ในยุคสมัยนี้จะหาผู้มีพลังจิตเข้มแข็งเท่าท่านลี และ ท่านฝั้นไม่มีอีกแล้ว ท่านพ่อลีท่านยังสามารถอัญเชิญพระบรมธาตุ และพระธาตุมาได้ดังใจปารถนาจนเป็นที่เลื่องชื่อ..
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    เคย มีพวกทหารลองดีกับพ่อท่านลี เกิดจากความคิดบ้าๆว่า พระอรหันต์จะยิงไม่เข้า เลยพากันเอาปืนไปยิงพ่อท่านลี ปรากฏว่ายิงไม่เข้า แล้วพวกทหารก็เริ่มมีอันเป็นไปทีละคน จนพวกที่เหลือต้องกราบขอขมา..
    มี คนไปขอให้พ่อท่านลีเสกพระให้ ท่านก็ไม่ว่าอาไรยิ้มๆๆ แล้วเอาพระจุ่มในน้ำมนต์ แล้วส่งให้ ไอ่คนนั้นก็ไม่เชื่อ เอาไปให้หลวงปู่แหวนเสก หลวงปู่บอก โอ้ นี่.....เสกมาละนะบารมีเยี่ยมเลย เอามาให้เราเสกอีกทำไม ?
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    บาง คนก็ไปขอมวลสารทำพระ ท่านก็ตักทรายแถวๆกุฏิแล้วก็เป่าๆๆยืนให้ คนที่ไปขอก็โมโห ที่ได้แต่ทรายมา เลยจะเททิ้งปรากฏว่าเทแล้วทรายไม่หล่นมาสักเม็ดเลย..
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    เป็น พิธีใหญ่อีกพิธีที่รวบรวมสายกรรมฐานของท่านอาจารย์ใหญ่มั่น มาชุมนุมกันเพียบ...ถ้าใครเคยไปวัดอโศการามจะเห็นเป็นภาพวาดบนฝาผนังโบถ์ใน งานนี้

    สำหรับพระที่มาในพิธีนี้ ล้วนแล้วแต่เป็น เพชรในยอดฉัตร ทั้งนั้น เป็นพิธีที่สมบูรณ์ที่สุด ของวัดอโศการาม ยิ่งใหญ่มากๆ

    ปลุกเสกกัน 7 วัน 7 คืน...
    ดังรายนามต่อไปนี้ ..
    1. พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาโม วัดป่าสาละวัน โคราช
    2. หลวงพ่อลี วัดอโศการาม
    3. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม สกลนคร
    4. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า นครพนม
    5. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ วังสพุง เลย
    6. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
    7. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

    8. หลวงตามหาบัว วัดบ้านตาด
    9. หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาบิ้ง
    10. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
    11. หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา
    12. ท่านพ่อเฟื่อง วัดธรรมสถิต
    13. หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตฯ
    14. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    15. เจ้าคุณแดง วัดป่าประชานิยม
    16. หลวงปู่ดูล วัดบูรพาราม
    17. หลวงปู่อ่อน ญานสิริ
    18. หลวงปู่แว่น วัดถ้ำพระสบาย
    19. พระอาจารย์จวน
    ฯลฯ
    ทั้งหมดนี้เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถรทั้งสิ้นเรียกว่าเป็นพระคณาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานล้วนๆ
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พิเศษพระองค์นี้เป็นพระที่บรรจุอยู่ในกรุของวัดอโศการาม เพิ่งแตกกรุเมื่อหลายปีที่ผ่านมา จึงปรากฏคราบกรุสวยงาม ดูเก่ามีเสน่ห์มากๆ[FONT=&quot]
    ปัจจุบันเป็นที่แสวงหากันมาก เพราะปรากฏพุทธคุณอย่างเอกอุ ศักดิ์สิทธิ์มากๆ

    [/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธคุณ สุดๆ ไปเลยครับ เพราะแค่พ่อท่านลีองค์เดียวก็เหลือล้นสุดๆ แล้ว แต่นี่ได้พระอริยะเจ้าสายหลวงปู่มั่น มากันครบถ้วนขนาดนี้ ก็คิดกันเองว่าจะขนาดไหน...[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT]
    [/FONT]
    [​IMG]
    [​IMG]


    [FONT=&quot]

    [/FONT]องค์ที่2 *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ppp3.jpg
      ppp3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.9 KB
      เปิดดู:
      835
    • ppp4.jpg
      ppp4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.4 KB
      เปิดดู:
      863
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
    ทรงประทับ ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
    พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

    แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    พระเมตตาคุณและพระเกียรติคุณ


    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช
    ทรงเจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม ทรงเป็นครุฐานียอภิปูชนียบุคคล เป็นที่รักเป็นที่เคารพบูชาสักการะอย่างยิ่งแห่งปวงบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทรงได้รับยกย่องพระเกียรติคุณเป็นอย่างสูง จนมีพระนามที่ชาวไทยต่างเรียกเป็นพิเศษว่า “สมเด็จป๋า” เพราะมีพระทัยเมตตากรุณาแก่ทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ เปรียบประดุจบิดามีเมตตาต่อบุตร ห่วงใยเอื้ออาทรรักใคร่เสมอหน้า

    พระเครื่องและเหรียญพระรูป ที่ทรงสร้างขึ้นในวาระต่างๆ

    หรือที่มีผู้มาขออนุญาตพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกุศล
    ปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันมาก

    พระเครื่อง
    “สมเด็จแสน” ทรงพิมพ์พระองค์แรกเป็นปฐมฤกษ์ มีจำนวน ๑๗๐,๐๐๐ องค์ แจกในงานบำเพ็ญกุศลพระชนม์ ๗๒ ปี มีเส้นเกษาทั้ง 2องค์ มีแตกซ่อมเก่า1องค์(องค์ขวามือท่านผู้ชมครับ) แต่ติดแน่นมากลองพิจารณาดูครับ พระมีคลาบกรุครับ


    [​IMG]


    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ss1-vert.jpg
      ss1-vert.jpg
      ขนาดไฟล์:
      339.2 KB
      เปิดดู:
      4,833
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2011
  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    เหรียญหลวงพ่อสมภพ วัดสาลีโขภิตาราม หลังสิงห์ ปีพศ.2514


    ในปี 2514 หลวงพ่อสมภพ นำมวลสารทำวัตถุมงคล รุ่น 2
    ปี พ.ศ.2514 หลวงปู่เผือก พระปรมาจารย์แห่งวัดสาลีโขภิตาราม ได้คำนวณฤกษ์เห็นควรประกอบมหาพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด สืบเนื่องมาแต่ “มหาฤกษ์” ที่ยากจะเกิดขึ้นในแต่ละคราว นั่นคือ "ฤกษ์มหาจักรจตุรงคสันนิบาต”
    อันได้แก่ ดาวจันทร์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวราหู ต่างเคลื่อนเข้าสถิตอยู่ในองค์เกณท์ราศีอันเป็น “มหาจักร” แห่งตน และจะปรากฎถึง 4 วาระด้วยกันตลอดไตรมาสพรรษาปี 2514 ซึ่งเหตุการณ์นี้ ทุก 200 ปีจะเกิดมีขึ้นครั้งหนึ่ง
    วาระมหามงคลที่จะ ถึงนั้น บรรดาผู้รู้ทั้งหลายไม่อาจปล่อยให้หลุดลอยได้ หลวงพ่อสาลีโขจึงกำหนดการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สมเวลาที่รอคอย ทั้งยังปรารถนาให้เป็น “ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต” ของท่านทีเดียว
    การสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อสาลีโขนั้นไม่เลยแม้สัก ครั้งเดียวที่จะใช้โลหะเปล่า ท่านเพียรพยายามยิ่งในการจารอักขระเลขยันต์สำคัญครอบคลุมสรรพวิชาทั้งมวลลง ในแผ่นโลหะ เน้นหนักในทุกๆสายวิชาทั้งคงกระพัน มหาอุด ชาตรี กำบังตน มหาลาภ มหานิยม เมตตา แคล้วคลาด กันภัยกันคุณไสย กันภูตผี
    วิชาเหล่านี้ท่าน เพียรจารเสกเป่า แต่ละอักขระแต่ละพระยันต์ ท่านจะบรรจงเขียนอย่างสวยงาม ปลุกเสกและลงถม นำไปหลอมเอามาลงใหม่ ซับซ้อนเช่นนี้อย่างน้อย ถึง 3 วาระด้วยกัน กระทั่งคราวหลอมเพื่อรีดปั๊มเหรียญ ช่างถึงกับตะลึงเมื่อแผ่นทองวิ่งวนอยู่ในเบ้าหลอม ไม่ยอมละลาย ได้ตักเก็บไว้เป็นหลักฐานจำนวนหลายสิบแผ่น
    แผ่นทองชนวนนับสิบกิโล แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และวิริยะอุตสาหะ อันหาได้ยากในพระอาจารย์สมัยปัจจุบัน ไม่ควรแปลกใจเลยที่บังเกิดปาฏิหาริย์แผ่นทองไม่ละลายเพราะ “ปราณ” ที่ท่านเป่าประจุย่อมสถิตแนบแน่นอยู่ในทุกอณูแผ่นทอง จนโลหะธาตุธรรมชาติทั้งมวลถูกแปรสภาพเป็น “ธาตุสำเร็จ” จากการตั้งธาตุ ปรุงธาตุ และหนุนธาตุทั้ง 4 ขึ้นมาจากจิตที่ทรงอภิญญา เฉพาะ “เตโชกสิณ” นั้น ท่านเชี่ยวชาญถึงขีดสุด
    มงคล วัตถุที่สร้างประกอบด้วย พระพุทธรูปสุโขทัย หน้านาง ขนาด 9 และ 5 นิ้ว พระพุทธนาคปรก ขนาด 9, 5 นิ้ว, พระสังกัจจายน์ ขนาด 9 นิ้ว, รูปหล่อหลวงปู่เผือก ขนาด 9 , 5 นิ้ว , พระนาคปรกแขวนคอ, รูปหล่อหลวงปู่เผือกขนาดแขวนคอ, เหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 พิมพ์ใหญ่ – เล็ก, เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อสาลีโข รุ่น 2 ชนวนมวลสารทั้งหมดถูกนำมาประกอบพิธีปลุกเสกในวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 18.00 น. โดยพระคณาจารย์มากมาย มีหลวงปู่เผือกประทับทรง หลวงพ่อสาลีโขเป็นประธาน เมื่อแล้วเสร็จได้จุณเจิมสรรพวัสดุด้วยกระแจะหอม และสวดหนุนด้วยพระพุทธมนต์พิเศษ คือ บทยานี , บทภาณวาร , บทคาถาพัน และอิติปิโสรัตนมาลา ก่อนจะนำแผ่นโลหะทั้งปวงมาหล่อหลอมเป็นชนวนสัมฤทธิ์เพื่อนำไปสร้างเป็นองค์ พระต่อไป
    วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 10.08 น. เป็นกำหนดจุดเทียนชัยในพิธีเททอง และเริ่มทำพิธีพุทธาภิเษก วันนี้หลวงพ่อสาลีโขถือเป็นวันสำคัญที่สุดของงาน เพราะเป็นการเชิญชนวนสัมฤทธิ์เข้าสู่เบ้าหลอมหล่อรวมกับโลหะมงคลอื่นๆ แล้วเททองลงหุ่นให้สำเร็จเป็นองค์พระ จากนั้นจึงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ยังเบ้าหลอม
    ครั้นทุบหุ่นดินออกก็ อัญเชิญพระปฏิมาลงชุบน้ำศักดิ์สิทธ์จากสถานที่สำคัญเช่น น้ำสรงพระบรมธาตุ , น้ำเมืองเพชร, น้ำสระแก้ว, น้ำบ้านบางปืน ฯลฯ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพานเชิงใบใหญ่เคล้าคละประโปรบด้วยเครื่องหอม กระแจะจันทน์ พร้อมด้วยการเรียกสูตรตั้งนามให้เป็นสิริ ท่ามกลางพิธีมหาพุทธปรมาภิเษก พระมหานาคทั้งสี่เจริญบทมหาจักรพรรดิราช และบทพุทธาภิเษก โดยมีรายนามพระมหาเถระผู้ทรงรัตตัญญู ภาพเข้าร่วมพิธี ดังนี้
    1. พระภัทรมุกมุนี (ชิต) วัดเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์
    2. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย สุพรรณบุรี
    3. หลวงพ่อกุหลาบ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ นนทบุรี
    4. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
    5. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
    6. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ พระนคร
    7. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    8. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
    9. หลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
    10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    11. หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ ธนบุรี
    12. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
    13. หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย สุโขทัย
    14. หลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
    15. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
    16. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    17. พระครูเมธีวรานุวัตร วัดมหาธาตุ พระนคร
    18. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
    19. หลวงพ่อจัน วัดสระเกษ พระนคร
    20. หลวงพ่อสั้น วัดท่าอิฐ นนทบุรี
    21. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา
    22. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    23. หลวงพ่อจันทร์ วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา
    24. หลวงปู่เส็ง วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี
    25. หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
    วัน พฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2514 เวลา 16.00 น. พิธีมหามงคลสรงองค์พระให้สำเร็จเป็น “พระเครื่อง” โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ ปราศจากมลทินโทษใดๆ พระคณาจารย์ในงานเจริญบทมงคลจักรวาล , ชัยมงคลคาถา และทิพยมนต์
    วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2514 เวลา 09.00 น. ตรงกับวันมหาจักรจตุรงคสันนิบาตวันสุดท้าย เป็นวาระนัดผู้สั่งจองอิทธิวัตถุให้มารับการประสิทธิเมจากมือหลวงพ่อสาลีโข ด้วยตนเองจนถ้วนทั่วทุกตัวคน
    แลหาพิธีกรรมที่จัดทำอย่างมโหฬาร มหากาฬเยี่ยงนี้ในปัจจุบันแล้วใจหาย ด้วยหาไม่เจอยังไม่เท่าไร กลับประสบเพียงสุกเอาเผากินหลอกขายหลอกแขวนกันไปวันๆ ซึมเศร้าจนต้องมองหาเหรียญนี้มาแขวนแทนพระสมัยอินเตอร์เนต ค่อยอุ่นใจหน่อย
    ใคร หนาวใจแล้วอยากอุ่นอย่างผมต้องดิ้นรนหน่อยละ ที่ว่าหน่อยก็เพราะเหรียญหลวงปู่เผือกรุ่นสองนี้ยังพอหาได้ตามสนามทั่วไปใน ราคาเบาๆ ของปลอมผมยังไม่เคยเจอ แต่เขียนไปแล้วอาจเจอก็ได้ฉะนั้นให้รีบหา
    การันตี ด้วยหัวหลิมๆ (ที่เพื่อนชอบล้อ) ได้เลยว่าผมแขวนพระมาก็มาก ประทับใจจริงๆกับประสบการณ์ไม่กี่ชิ้น ยอมให้หมดใจว่าหลวงปู่เผือก เป็น 1 ในนั้นไม่สงสัยเพื่อนที่แขวนก็ยกนิ้วให้ว่าเยี่ยม
    แถมนิดนึงว่าเหรียญ รุ่นนี้ทุกเหรียญ จะมีคราบแป้งสีขาวอันเกิดจากผงวิเศษเกาะติดอยู่ ถ้ามีตกค้างอย่าไปแกะทิ้งเพราะเป็นของดี หากหลุดไปแล้ว เหลือคราบขาวไว้ ก็อย่าตกใจ มีทุกเหรียญแหละครับ
    เหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 หรือ รุ่นปี 14 ได้ขอให้หลวงพ่อสมภพ สร้างเหรียญและเนื้อผงมาให้ประชาชนและลูกศิษย์ต่างมาบูชากัน เหรียญและพระผงที่ท่านสร้าง คือ เหรียญหลวงปู่เผือกนั่งฐานสิงห์ เป็นรุ่น 2 หรือเรียกกันติดปากว่า รุ่นปี 14 เพราะสร้างปี 2514 จะเล็กกว่ารุ่นแรกเพียงเล็กน้อยพิธีใหญ่ พิธีนี้ทางวัดสาลีโขได้อันเชิญพระกิจิอาจารย์ต่างที่ดังรวมสมัยนั้นมาปลุก เสก ก็ปลุกกันกว่าจะให้ลกศิษย์เช่าหากันไป


    ประสบการณ์ล่าสุดเหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 (วัดสาลีโขฯ)
    ชาย คนหนึ่งโดนยิงจากอริแต่ปืนไม่ลั่น3นัดซ้อนทีนี้เจ้าของปืน เห็นดังนั้น แต่ยังไม่ถอดใจจึงดิ่งตรงมาพร้อมด้วยมีดดาบมาฟันอีกแต่ คมนั้นหาได้ระบายตัวเขาไม่ทีนี้คนเริ่มมากันเยอะ คู่อรินั่น จึงเริ่มเผ่นหนีออกไปจากที่เกิดเหตุคนในเหตุการณ์ต่างสงสัยกันว่า ห้อยพระอะไร หรือมีของดีอะไรติดตัวปรากฏออกมาว่า "เขาได้ห้อยเหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น๒ใหญ่ (นั่งบนอาสนะ)" เพียงองค์เดียวเท่านั้น นี่เป็นเพียงประสบการณ์บางส่วนของผู้ที่บูชาเหรียญหลวงปู่เพียงส่วนหนึ่งนะ ครับ


    ข้อมูลจาก กรุสยาม ครับ

    [​IMG]



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้[FONT=&quot]ครับ[/FONT][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • spppp1-horz.jpg
      spppp1-horz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      437.8 KB
      เปิดดู:
      801
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2011
  11. Bugmann

    Bugmann เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +159
    สวัสดีครับคุณMomo ผมเพิ่มรายการนี้อีกหนึ่งนะครับ ขอตัวนอนก่อนตื่นแล้วจะรีบรายงานตัวครับ:boo:
     
  12. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    รับทราบครับท่าน.........
     
  13. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    วันนี้ได้รับพระแล้วครับพระอยู่ในสภาพสวย สมบูรณ์ดีครับ
     
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ครับ รวดเร็วทันใจถูกใจนะครับ<!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end -->
     
  15. Bugmann

    Bugmann เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +159
    สวัสดีครับ... ผมแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งไปทาง PM แล้วนะครับไม่ทราบว่าได้รับหรือยัง.... รบกวนด้วยครับ
     
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458

    แพ็คเรียบร้อยพร้อมส่งครับ เมื่อวานไปถึงหน้าไปรษณีย์ เขาปิดลืมไปวันหยุดราชการ(12สค.) เดียวเสาร์เช้านี้จะรีบจัดส่งให้ครับ
     
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    รายการใหม่ เดินทางแล้วนะครับเช้านี้ 13/8/54

    Bugmann : EI209532333TH
     
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
  19. Bugmann

    Bugmann เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +159
    ได้รับพระแล้วครับ สวยถูกใจครับ มีอะไรเพิ่มเติมอย่าลืมแนะนำอีกนะครับ คุณMomo
     
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ได้รับแล้วนะครับ ยินดีรับใช้อีกนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...