ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย spyderco, 27 มกราคม 2014.

  1. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34

    "ปฏิบัติแล้วต้องคอยถาม เหมือนคนมีคู่มือประกอบคอมพิวเตอร์ในมือ แต่อ่านแล้ว
    ประกอบคอมฯไม่เป็น ต้องคอยถาม
    "

    ประโยคนี้ไงครับ คือ คำเฉลย ว่า ต้องลองปฏิบัติดู อย่างที่ จขกท.ยกตัวอย่างนั่นแหละครับ..
    ผมเองเด็กๆ คอมพิวเตอร์เสีย ไม่อยากยกไปที่ร้านคอม กลัวเปลืองเงิน ก็ไปซื้อหนังสือ
    "ซ่อมประกอบคอม" มาอ่าน อ่านแล้วก็ รื้อเครื่องของตัวเองเลย ลองผิดลองถูกดู รื้อออกมา
    ประกอบเข้าไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ ก็ชำนาญไปเอง พอเสียอีกก็รู้ ว่าทำอย่างไรกับมัน ...
    เปรียบกับการที่ศึกษาธรรมะ มีความรู้อยู่มากมาย แต่ไม่ได้ลองปฏิบัติดู ก็ไม่มีทาง
    จะพิสูจน์ได้เลยว่า สิ่งที่เราอ่าน เราศึกษามา เป็นจริงตามนั้นหรือไม่



    อ่านมาจนจบ จริตนิสัยคล้ายผมเลย ตอนที่ผมไปปฏิบัติธรรมครั้งแรก สติมันพร่าเลือน
    ต้องจ้องเพ่ง มากๆ เดินจงกรม ก็ต้องช้ามาก กว่าจะก้าวแต่ละก้าว สติยังตามแทบไม่ทัน
    แต่ จขกท.ยังดี สามารถรู้ว่า "สติไม่ค่อยทัน" รู้สึกว่า "เพ่ง" แต่ตอนนั้นผมคิดว่า ทุกคนก็
    คงเหมือนผม.. ไม่รู้ว่าคนที่เขามีสติเป็นอย่างไร เรียกว่า จินตนาไม่ถูกเลย ...
    เรื่องความขี้เกียจ ผมก็เป็น คือ ปฏิบัติเอาจริง เอาจัง แค่ตอนไปวัด ในชีวิตประจำวัน
    ก็ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง แล้วก็ไม่ทำไปเลย เหมือนไม่มีจุดมุ่งหมาย ทำแล้วก็คิดว่า จะเอาแต่บุญ
    ผมปฏิบัติแบบคนไม่เอาจริง อยู่นาน จนเมื่อตั้งจุดมุ่งหมายว่า จะปฏิบัติให้ตนพ้นทุกข์
    ก็ถึงเริ่มเอาจริง... จขกท.ก็ควรหาจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติไว้ ไม่งั้น อาจจะเป็นเหมือนผมได้
    ตั้งเอาไว้ว่า จะพ้นทุกข์ให้ได้ในชาตินี้ หรือ ถึงโสดาบันในชาตินี้ เพื่อให้เกิดความเพียรชอบ
    เกิดสัมมาวายามะ ต้องเอาสิ่งนี้มาล่อก่อน ธรรมดาของมนุษย์ กระทำทุกอย่างไปด้วยอยาก
    ไม่ว่าจะอยากดี หรือ อยากไม่ดีก็ตาม แม้สุดท้ายจะต้องปล่อยก็ตาม

    เมื่ออยากปฏิบัติ มีกำลังใจแล้ว คราวนี้ต้องต้องหาวิธีการปฏิบัติที่ถูกตรง ถ้ามีวิธีการอยู่แล้ว
    ก็ปฏิบัติไปตามนั้น แต่ต้องไม่ลืมปฏิบัติตามทางมรรคมีองค์8 ด้วยนะครับ ถ้าศีลสมบูรณ์อยู่แล้ว
    การปฏิบัติ จิตเกิดสติ และสมาธิได้ง่าย ต้องจำไว้ว่า การปฏิบัติที่ก้าวหน้าเร็วสุด คือ ต้องใส่
    ไปในชีวิตประจำวัน เราสามารถสร้างเหตุแห่งสติได้ ยกตัวอย่างผมเองนะครับ.. ผมมีสติได้บ่อย
    ที่สุดขณะขับรถ เมื่อมีรถตัดหน้า หรือเสียบมาด้านหน้า จะเกิดอาการกระเพื่อมขึ้นในจิต ...
    พอจิตกระเพื่อม(จิตมีโทสะ) ผมกลับมาระลึกที่ลมทันที... ขับๆไปเห็นผู้หญิงสวย จิตกระเพื่อมอีก
    (จิตมีราคะ) ผมกลับมาระลึกที่ลมอีก ... ปฏิบัติไป เมื่อจิตเกิด ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นอีกสติจะระลึก
    ได้บ่อยขึ้น อย่างนี้เป็นการสร้างเหตุให้สติ แล้วเป็นการตัด อาหารของกิเลสด้วย... จิตพระอรหันต์
    ก็เป็นอย่างนี้ เราเดินตามจิตท่าน คือ เมื่อผัสสะกระทบ ก็ไม่เกิด กิเลสขึ้นในใจ อย่างพระอรหันต์
    ส่วนเรายังต้องจงใจตัด จงใจละ แต่เมื่อละไปอย่างนี้ กิเลสที่อยู่ในจิต จะกระเพื่อมน้อยลง บางครั้ง
    เกิดเหตุการณ์คล้ายๆกันอีก ใจก็ไม่ไหว หรือไหวไม่แรง กิเลสจะ น้อยลงไปเอง เหมือนรอยสึกที่
    ด้ามขวานของช่างไม้ มันสึกไปทุกวัน ตราบใดที่เรายังมีความเพียรในการละอารมณ์ (ตามคำพระพุทธเจ้า)
    ... เมื่อเราเพียรละอารมณ์ที่เป็นอกุศล เช่น โกรธ ไม่พอใจ ลำดับต่อไปอารมณ์ที่เป็น กุศล ก็ต้องละ
    เช่น เกิดความสุข ดีใจ เพื่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิต มันสร้างภพ การเกิดต่อไป ... เกิดเกิดขึ้นแห่งภพ
    (ในจิต) พระพุทธเจ้าตรัสว่า น่ารังเกียจดั่ง คูถ จึงควรละไม่ให้มีอยู่ที่จิต.. ทุกการปฏิบัตินั้น
    ตัวเราเท่านั้น ต้องเป็นผู้ทำเอง เป็นผู้รู้เอง และเป็นผู้รับผลเอง
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พอทราบไหมครับ ว่าส่วนไหนคือขันธ์ ส่วนไหนคือ อุปาทานในขันธ์ ครับ?
     
  3. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34
    ที่แนะนำไปการละอาหารของอวิชชา ไม่ให้วิญญาณมีที่ตั้ง ไม่ให้ ภพ ชาติ ..ฯลฯ เกิดต่อครับ
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    รบกวนขอขยายความเพิ่มเติม ตรงไหนในข้อความด้านบนนั้น เป็นอวิชชาครับ?
     
  5. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34

    ขยายความ ตอบคุณ อินทรบุตร นะครับ

    ตัวอย่าง 3 มรรควิธี พอให้เห็นแนวทาง หากสงสัยตรงไหนเดี๋ยวผมขยายความต่ออีกที เดี๋ยวยาวไป
    ให้ได้ลองเทียบเคียงดูครับ ว่าสอดรับกับ คำพระพุทธเจ้าหรือไม่

    **** สัญลักษณ์ = คือ "ผลลัพธ์"

    ตัวอย่างที่ยกนี้ มรรควิธีทุกอย่าง ปฏิบัติบนมรรคมีองค์8


    1.อานาปานสติ หลัก ปฏิบัติ ย่อๆดังนี้
    1.1 พยายามระลึกที่ลมหายใจ , สร้างสัญญาให้เกิดสติมารู้ที่ฐานกาย จนเกิดสติที่ปราศจากการจงใจ
    1.2 พิจารณาลมหายใจว่า หายใจเข้า-ออก ยาวหรือสั้น = สติ ไม่ไหลไปรวม กับลมหายใจ
    1.3 เมื่อเกิด สัมมาสติ ในข้างต้น จิตที่มีสติ ... ก็จะได้สมาธิที่พอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป = จิตตั้งมั่น
    1.4 จิตที่ตั้งมั่น จะเห็น การเกิด-ดับ ของ ขันธ์5 ในภายใน มากพอ = เกิด นิโรธ คือ โสดาบัติผล
    1.5 โสดาบัติผล (ไม่หากไม่ปฏิบัติต่อ)
    1.6 ปฏิบัติต่อ เห็นมรรคที่เดินต่อ = สกิทาคามีมรรค
    1.7 ปฏิบัติอย่างนี้ เห็น ความไม่เที่ยง ในภายใน จนเบื่อหน่าย คลายอุปาทานที่ยึด = อรหันตผล อวิชชาดับ.

    1.1 และ 1.2 เป็นการฝึกสติ และตัดอาหารของอวิชชา และไม่เพลินไปในอารมณ์ ไม่ว่าจะ อกุศล หรือ กุศล



    2. จิตตานุปัสสนา (เฝ้าดูเฝ้ารู้จิต)
    2.1 พยายามระลึกรู้ ถึง อารมณ์ที่อยู่ภายใน เช่น โลภ โกรธ หลง จนเกิดสติที่ปราศจากการจงใจ
    2.2 จิตที่ตั้งมั่น จะเห็น การเกิด-ดับ ของ ขันธ์5 ในภายใน มากพอ = เกิด นิโรธ คือ โสดาบัติผล
    2.3 โสดาบัติผล (ไม่หากไม่ปฏิบัติต่อ)
    2.4 ปฏิบัติต่อ เห็นมรรคที่เดินต่อ = สกิทาคามีมรรค
    2.5 ปฏิบัติต่อ จะเห็นตัณหาที่เป็นอุปาทาน (ก่อนที่เกิด โลภ โกรธ หลง) มีอาการเข้าไปยึด เห็นอย่างนี้
    เห็นทุกข์มากพอ จนคลายความยึดมั่นในขันธ์ลง = อรหันตผล อวิชชาดับ.

    *ข้อสังเกตุ 2.1 หากเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่เกิดสัมมาสติ เมื่อเข้าไปรู้อารมณ์แล้วไม่มีหลักยึดไว้(เช่น ลมหายใจ)
    ก็มีโอกาส ที่จิตจะไหล ไปในอารมณ์ เกิด ราคะ ตัณหา ภพ ชาติ ฯลฯ ได้ เติมเชื้อ เติมอาหารให้อวิชชา
    เมื่อมีการเกิดขึ้นของตัวใดตัวหนึ่ง จิตก็ไม่ตั้งมั่น เมื่อไม่จิตตั้งมั่น การเห็น ความเกิด-ดับ ที่เห็นอารมณ์
    ดับไปนั้น ก็แค่เพียงเห็น ผู้ปฏิบัติบางคนจะเกิดปัญญา แต่ก็ไม่อาจจะเกิดนิโรธได้
    ในลำดับที่จะวางอุปาทาน(อรหัตผล) วิญญาณผู้เป็นตัวรู้ จะแข็งแรงมาก ยึดแรงมาก... ปฏิบัติจนเห็นว่า
    อันนี้เข้าไปยึด เกิดทุกข์มากพอ จึงจะคลายอุปาทานในขันธ์ลง



    3.ละนันทิ (ตัดอาหารอวิชชา)
    3.1 พยายามระลึกรู้ อารมณ์ที่อยู่ภายใน ที่เป็นอกุศล จนเกิดสติที่ปราศจากการจงใจ
    3.2 พยายามระลึกรู้ อารมณ์ที่อยู่ภายใน ที่เป็นกุศล จนเกิดสติที่ปราศจากการจงใจ
    3.3 เมื่อเกิดสติที่ปราศจากการจงใจ แล้วเกิดอารมณ์ กุศล หรือ อกุศล ขึ้น ละอารมณ์นั้นซะกลับมาอยู่ที่
    ลมหายใจ(รูป ในขันธ์ 5) = จิตจะตั้งมั่น
    3.4 จิตที่ตั้งมั่น จะเห็น การเกิด-ดับ ของ ขันธ์5 ในภายใน มากพอ = เกิด นิโรธ คือ โสดาบัติผล หรือ
    อรหันตผล

    ข้อ 3.1 อาหารอวิชชาที่ถูกตัดไปทุกครั้งที่ละอารมณ์ วิญญาณจะตั้งอยู่ที่ฐานกาย เกิดเป็นอุเบกขา
    วิญญาณที่จะไม่ตั้งอยู่ที่ ขันธ์ทั้ง3 คือ เวทนา สัญญา สังขาร ... สุดท้ายมาแจ้งถึงความไม่เที่ยงในรูป
    (การเห็น เกิด-ดับ ด้วยจิตตั้งมั่น) วิญญานก็ไม่มีที่ตั้ง ... เมื่อไม่มีที่ตั้งจิตก็หลุดพ้น ผลที่สุด คือ อรหัตผล




    ถ้าลองสังเกตุกัน จุดสำคัญ คือ จิตตั้งมั่น เมื่อใดจิตไม่ตั้งมั่น (ไม่เกิดสัมมาสมาธิ) ไม่มีทางเกิดนิโรธ ได้เลย
    จะเห็นก็แต่การ เกิด-ดับ ของขันธ์เท่านั้น ปฏิบัติด้วยมรรควิธีใดก็ได้ คนที่ปฏิบัติเองต้องลองเทียบเคียง
    ว่ามรรควิธีที่ตนปฏิบัติอยู่ ทำองค์ ของมรรคมีองค์8 ครบไหม ... มรรคมีองค์8 มาสุดที่ สัมมาสมาธิ คือจิต
    ตั้งมั่น พร้อมที่จะรู้ธรรมภายใน ... จะเห็นมรรควิธีทุกอย่าง เป็น อุบายให้เจริญมรรคมีองค์8 ให้ครบเท่านั้น
    ต้องอ่านบทขยายในมรรคมีองค์จะเห็นความลึกซึ้ง ของ มรรคที่พระพุทธค้นพบ ทางออกจากทุกข์นี้ และก็
    ไม่มีมรรควิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่มีมรรควิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนๆหนึ่งแน่ๆครับ
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ผมถามแค่ว่า ในข้อความด้านบนที่อ้างอิงถึงนั้น ตรงไหนเป็นอวิชชา
    ไม่น่าตอบนอกคำถามนะครับ
     
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    ขยันนั้น ดี แต่ขยันมันต้องมาพร้อมกับความพอใจ "ฉันทะ"
    ถ้าขยันแล้วฟุ้งซ่าน แสดงว่าขาดฉันทะ
    แสดงว่า ไม่ใช่ขยัน แต่เป็น การบังคับ หรือกะเกณฑ์ ตนเอง
    เหนื่อยก็พักเถิด

    "เดินตามทางสายกลาง"
    "กลางแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน"
    "ปฏิบัติให้ดี ต้องปฏิบัติเหมือนไม่ได้ปฏิบัติ"
     
  8. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ถ้ามีขันติ สะสมมา
    ผู้รู้เนียะ ตอนที่ไม่ยอมรับว่ารู้น่ากลัวสุด กลัวคืออวิชาของผม

    เพราะความจริง จะประกอบ้ป็นทุกข์ไปทุกเรื่อง
    พอเราภาวนาเราจะเข้าใใกล้ความจรอง คือทุกข์
    และเรา ก็กลัว ที่จะพ้นไปจากทุกข์ เหมือนกลัวที่จะตายจากกัน

    จิตผู้รู้อันเนียะ ถ้ามองถึงปรงได้ จะพบความสุข
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    สำหรับผมปู้รู้ที่มองไม้รู้ทุกข์ อันนี้คิดว่าน่าจะจดจ่อสุด
    ความคิดที่จะจเจ่อ จะทำตัวเป็นอาหาร และเป็นคนกิน
    เมื่อเกิดการกิน ตัวเอง ข้างในข้างนอก จะคล้ายกะกมดำป

    เป็นกีฬาสมาธิ
    เมือในนอกหมดไปคือกินตัวเิเอง ผัสสะหมดไแ
     
  10. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    ขออนุญาติถามนะครับ สมมุติว่าขาดฉันทะ จะเป็นไปได้มั้ยที่จะสร้างเริ่มสร้างฉันทะจากวิริยะจนเกิดเป็นจิตตะและกลายเป็นฉันทะต่อมา
    หรือว่าเริ่มจากวิมังสาซึ่งคือการคิดวิเคราะห์แล้วพอใจในสิ่งนั้นจึงเกิดเป็นฉันทะตามมา
     
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    จิตตัวที่ไม่มีสติ จะโดนจิตที่มีสติกิน
    ถ้าเป็นมหาสติ จิตที่มีสติจะยอมให้จิตไม่มีสติกินแทน
    เช่นเราจินตนาการว่าจิตดวงหนึ่งในที่คุยกันัอง
    พูดเองเออเองเป็นจิตดี เกมือนพระเอก
    เราจะยึดจิตนี้ไว้ เพราะปลอดภัยเป็นมิ่งขวัญ

    แต่ความจริงแล้วจิตที่มาทำร้ายจิตพระเอก ก็คือเรา
    นี่เหละตัวรู้ ถ้าเข้าไม่ถึงมรรคผล
    จะรู้ แต่จะทำ และจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนิจนิรันดร์
    จนว่กว่าจะเข้าถึงมรรคผล ไม่มีใครกนีพ้น
    พระพุทธองค์โปรดองคุลีมาน อย่างนี้เลย
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    อย่างคนถือพระโพธิญาณมานานๆ
    จะเข้าใจไปเอง คือเค้าต้องเข้าใจไปเองกนะถูกสำหรับพระโพธิญาณ นะครับ
    และผู้ตาม ก็จะมาหาอาหารที่เค้า
    เค้าจัะเชื่อว่าการสละเลือดเนื้อได้บุญ

    เพราะบุญเป็นความคิดชนิดหนึ่ง ที่ว่าสะเบียง
    มันจะออกหาอาหาร

    แต่ถ้าไม่ได้ป็นพระโพธิญาณ ก็ไม่ต้องไปให้อหารหรอก
    ไม่กินกันก็ได้

    กินเป็นความหลงชนิดหนึ่ง เกมือนง่วง

    อันนี้หังพระเทศมา ไม่ได้รู้เอง
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    การชมมกรสพจิตจะชิน เป็นฌาน กับการทานอาหาร
    คือกินมกรสะนั้นไ ผมว่าสมาทานศีลแปดแต่เอาทีละข้อก็พอได้
    เพื่อปลูกถ่ายอาการชนิดใหม่ให้จิต
    เช่นไหนๆ ก็ต้องอยู่ในที่ห้าทชมมหรสพเลย
    ก็ฉวยโอกาสถือศีลข้อไม่ดูมหรสพ
    เวลาใครดูหนังฟังเพลงลองแกล้งๆรังเกียจดู

    แต่ต้องมีสติรู้ว่าเราเนียอยู่ข้างในกรือข้างนอกศีล
    ศีลก็เป็นอายตนะได มีข้างในข้างนอก
    จะไดไม่สงสัยอีกว่าอะไรคือ ปิด ศีล
    อะไรคือ ไม่ปิดศีล
     
  14. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    ก่อนจะรู้ว่ามีทุกข์ มันก็ทุกข์แต่ไม่ค่อยรู้ตัว เหมือนไม่มีตัวตน
    พอเริ่มรู้ว่ามีทุกข์ มันก็รู้ตัวอยู่ตลอดว่าเป็นทุกข์ ตัวตนเด่นชัด
    พอรู้ไปซักพัก ตัวตนก็กลับเหมือนจะไม่มี มันก็ยังคงรู้ตัวอยู่ตลอดว่าทุกข์แถมมันยิ่งเห็นหลายๆอย่างของกระบวนการทำงานของจิตและสมองแล้วเราไม่สามรถไปควบคุมมันได้มันก็ยิ่งทุกข์
    รู้ก็ทุกข์ ไม่รู้ก็ทุกข์ แล้วจะรู้ไปทำไม
     
  15. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34
    ขออภัยด้วยครับ ที่แสดงเส้นทางไปปฏิบัติไป พอดีคิดว่าน่าเป็นประโยชน์ กับคุณอินทรบุตร
    หรือสมาชิกท่านอื่น เผื่อจะได้แชร์กัน ว่า เราปฏิบัติอะไรอยู่ และรู้หรือไม่ว่า ต้องเจออะไร
    วิธีที่ปฏิบัติอยู่ ต้องรู้อะไร ตัดอะไร ต้องวางอะไร... ที่ยกตัวอย่างมาทั้ง3 จะได้เกิดการเทียบเคียง
    คำตอบอยู่ในนั้น ขันธ์ อุปาทานขันธ์ หรือ อวิชชา.. ยกมาให้ลองมองอีกแง่ การปฏิบัติสุดท้าย
    ไม่ใช่แค่ การวางอุปาทานในขันธ์ เพียงอย่างเดียว แต่อย่างการที่วิญญาณไม่มีที่ตั้ง ก็เป็น
    ที่สุดแห่งทุกข์ได้เช่นเดียวกัน... แต่สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ คงจะไม่อ่าน หรือยังไม่สนใจ อาจจะ
    สนใจเรื่องการ "ทำสมาธิ"... แต่ผู้ที่ปฏิบัติมาพอสมควร ที่อาจจะยังงง หรือยังไม่เห็นทาง
    ปฏิบัติอยู่ อาจยังไม่แน่ใจว่าถูกทางหรือไม่ จะได้ลองเทียบเคียงกันดู... จากที่ดูคุณอินทรบุตร
    ตอบคอมเม้นท์ต่างๆ ก็เห็นว่า เป็นคนมีปัญญา เลยอยากให้ลองแชร์ ประสบการณ์การปฏิบัติว่า
    ปฏิบัติอย่างไร เส้นทางข้างหน้าจะเจออะไร และจะทำอย่างไร เผื่อผู้ปฏิบัติท่านอื่นจะได้เห็น
    อาจจะได้แนวทางปฏิบัติด้วยครับ



    ขอยกพระสูตรนะครับ

    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มี
    ตัณหา ใน อาหารคือคำข้าว ก็ดี ใน อาหารคือผัสสะ
    ก็ดี ใน อาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี ใน อาหารคือ
    วิญญาณ ก็ดี แล้วไซร้, วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้
    เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้นๆ. วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้
    เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด, การก้าวลงแห่งนามรูป
    ย่อมไม่มีในที่นั้น; การก้าวลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด,
    ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น; ความเจริญ
    แห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่
    ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น; การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป
    ไม่มีในที่ใด, ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด, ภิกษุทั้งหลาย !
    เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มี
    ความคับแค้น” ดังนี้.



    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือ
    ศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็น
    เรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก. ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา
    แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว
    จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั้นเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
    จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตก
    ไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
    จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่ง
    ดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
    จักปรากฏในน้ำพระเจ้าข้า !”.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่ง
    ดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
    ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า !”.



    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล :
    ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือ
    คำข้าวก็ดี ในอาหารคือผัสสะก็ดี ในอาหารคือมโนสัญเจตนา
    ก็ดี ในอาหารคือวิญญาณก็ดี แล้วไซร้, วิญญาณก็เป็นสิ่ง
    ที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในอาหารคือคำข้าว
    เป็นต้นนั้นๆ.
    วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด,
    การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การก้าวลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด, ความเจริญ
    แห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด,
    การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด, ชาติชรา
    และมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ชาติชรามรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด, ภิกษุทั้งหลาย !
    เราเรียก “ที่” นั้น ว่าเป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มี
    ความคับแค้น” ดังนี้.

    นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๔-๑๒๖/๒๔๘-๒๔๙.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2014
  16. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    รู้แล้วยังทำ กับ ทำเป็นไม่รู้ ก็คือตัวรู้
    ถ้าดูตัวรู้เราไปตามกินจิตพระเอก เราจะไม่ยอมกินตัวอจฉา

    ทั้งๆ ที่มันก็คือตัวรู้ ที่เรา ที่ไม่เข้ามรรคผลทุกคน
    จะไม่อยากรับรู้

    จริงๆ ทรงฌานลึก ตัวไม่รับรู้นี้แหนะ มันคือตัวรู้
     
  17. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    คือผมยังมองไม่ชัด แล้วพอดูไอ้ตัวไม่รับรู้เนี่ยต่อไปเรื่อยๆจะเป็นยังไงครับ
     
  18. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ครับ เอาของคุณก่อนนะครับ
    ตัวคุณเอง คุณยังไม่เห็นว่า "อวิชชา" เป็นอย่างไร
    แต่คุณมีศรัทธาในพระพุทธองค์มาก มีความหวังดีต่อสรรพสัตว์มาก

    ถึงแม้ตนเองยังไม่รู้แจ้ง แต่ก็อยากจะช่วยให้สรรพสัตว์คลายทุกข์ลงไปได้ จึงพยายามใช้ความคิดพิจารณาตามคำสอนพระพุทธองค์ และใช้ความเชื่อ จากที่ได้ยินมา บวกกับจากการปฏิบัติส่วนหนึ่ง แล้วพบว่า ความทุกข์มันคลายลงไป ถึงจะยังไม่แจ้ง แต่มันเบาลงไป จึงใช้ความคิด สรุปเอาว่า วิธีที่ตนเองปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นวิธีที่จะทำให้ถึงอวิชชา และทำให้อวิชชาสิ้นไปได้

    แต่จุดนี้อันตรายครับ ผมจะบอกว่า การที่เอาจิตมาผูกกับลมหายใจตลอดเวลา แล้วกิเลสต่างๆ มันสลายไปเร็ว อันนี้เป็นเรื่องปกติธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ฤาษีปฏิบัติกันมาก่อน นี่คือการปฏิบัติแบบฝึกขันธ์ ให้ขันธ์มันมีนิสัยอยู่กับสมาธิแนบแน่น นี่เป็นการฝึกเพื่อไปเป็นพรหม ครับ

    ถามว่าเป็นพรหม แล้วกิเลสลดลงไหม? ตอบว่า ลดลงเยอะมากครับ อย่างเรื่อง อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ที่เมื่อพระพุทธองค์ท่านตรัสรู้แล้ว ท่านพิจารณาว่าจะไปโปรดผู้ใดได้บ้าง ก็นึกถึงอาจารย์ทั้งสองท่านก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นผู้มีกิเลสเบาบางมาก

    แต่ การปฏิบัติโดยที่ยังไม่เห็นอวิชชา ยังไม่ได้ทำลายอวิชชาลงไป ก็เป็นการเปลี่ยนแค่ในส่วนของขันธ์ ตัวที่พาไปเกิดนั้น ยังอยู่เหมือนเดิมทุกประการนะครับ

    ในการฝึกปฏิบัติ ที่คุณบอกว่า เป็นการละนันทิ ตัดอาหารอวิชชา พอรู้สภาวะใดๆ แล้วให้กลับมาอยู่กับลมหายใจ ตรงนี้แหละครับ ให้พิจารณาดีๆ ว่าคุณปฏิบัติ แตกต่างจากฤาษี ผู้ทรงฌาน หรือเปล่า?

    จุดนี้ ต้องระวังให้ดีๆ เพราะมันคือทางแยกสุดท้ายแล้ว ระหว่างการปฏิบัติแบบ "ทรงฌานในชีวิตประจำวัน" กับ "ปฏิบัติเพื่อไม่เกิด" และมันเป็นชั้นละเอียด เพราะการปฏิบัติแบบทรงฌาน เมื่อทรงอารมณ์ไว้ได้ มันก็ทำให้ละจากกิเลสหยาบๆ ละ โลภ โกรธ หลง ไปได้ ในระหว่างช่วงเวลาที่ทรงอารมณ์ไว้

    จากตรงนี้ สิ่งที่คุณควรลองทำดู คือ การมีสติรู้ ในทุกกิริยาของจิต
    การละจากอารมณ์ กุศล อกุศล ที่เกิดขึ้น แล้วกลับไปอยู่กับลมหายใจ ตรงนี้ จะเกิด "กิริยาจิต" ขึ้นทุกครั้ง และ ถ้าเอาสติคอยดูให้ดี จะเห็น อาการกระเพื่อม ของจิต ที่เกิดจาก กิริยาจิตนี้แหละ
    ให้คอยดู กิริยาจิต ตรงนี้ไปด้วย ตามรอยมันไป แต่ไม่ถือเอามันเป็นตัวเรา เมื่อตามรอยมันไปเรื่อยๆ คุณจะได้เจอตัว "ผู้รู้" ตัวนี้แหละ คืออวิชชา การทำลายมันได้ ก็คือการทำลายอวิชชา
    (หมายเหตุ 1: ฟังคำเทศน์ของหลวงตามหาบัวประกอบ ที่ท่านเทศน์ว่า "ถ้ามีจุดมีต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหน นั้นแลคือตัวภพ")
    (หมายเหตุ 2: ส่วนเรื่องของการเจอผู้รู้ อันนี้เป็นส่วนที่อาจารย์ผมสอน ตัวผมเองยังไม่ถึงตรงนี้)

    ในปัจจุบันนี้ คุณยังไม่เห็นอาการกระเพื่อมตรงนี้ และยังถือเอา "กิริยาจิต" เป็นตัวตน ของตนเองอยู่ ผู้ที่ยังถือเอา กิริยาจิต เป็นตัวตน ก็ยังต้องไปเกิดอยู่เรื่อยๆ ตามที่กิริยาจิต มันกำหนดพาไป

    แต่ในชั้นของการปฏิบัติ ที่อยู่กับการทรงอารมณ์ฌาน ได้เป็นปกติแล้ว กิริยาจิตมันจะทำงานเพื่อเข้าไปเกาะกับสภาวะของสมาธิ ที่พ้น รัก โลภ โกรธ หลง แต่สภาวะนั้น ยังมีสภาวะแห่งการยึดอารมณ์สมาธิอยู่ ผมจึงได้บอกว่า นี่คือวิธีการไปพรหม

    ดังนั้น คุณน่าจะลองกำหนดสติรู้ ให้มันละเอียดลงไป และคอยดูการทำงานตามธรรมชาติของมัน โดยไม่บังคับ เพื่อตามรอย "กิริยาจิต" จนกลับไปเจอผู้รู้ ให้ได้

    การปฏิบัติตรงนี้ ไม่แตกต่างอะไรกับของผู้ที่ฝึก บริกรรมพุทโธ ตามลมหายใจเข้าออกจนชินนะครับ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติได้ถึงตรงนี้ ทุกลมหายใจเข้าออก มีพุทโธแล้ว ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น จะสอนต่อว่า "จากนี้ไป ให้ค้นหาว่า ใครเป็นผู้บริกรรม พุทโธ"

    ของคุณ ก็เป็นกรณีเดียวกันนะครับ ผมขอตั้งคำถามไว้ ลองค้นหาดูว่า "ใครเป็นผู้วางอารมณ์กุศล วางอารมณ์อกุศล แล้วกลับเข้าไปจับลมหายใจ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2014
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]

    ตัวไม่รับรู้ มันมี หลายรส แล้วแต่ จะอุมามิ

    รู้ " ไม่รู้ " ถ้ามี เจตนาเจือ นิดๆ จะมีอาการ แชๆเชือนๆ ตาจะกระตุกขึ้นจินึง
    มองแล้วเหมือนคน ตาหลุกหลิก

    รู้ " ไม่รู้ " ถ้าไม่มี เจตนาเจือ แต่ยังมีทิฏฐิแทรก ตาขาวจะปรากฏมากกว่า
    ตาดำแว็บนึง หรือไม่ก็ หลับตาบ่อยๆ โดยการหลับตาไม่ใช่ อาการจากการ
    กระพริบตาปรกติของกาย

    รู้ " ไม่รู้ " ถ้าเป็นการปักจิตในกุศลเพื่อหนีอกุศลธรรม จะมีการดุนเพดานปาก
    กดไว้ อาจจะเม้มปากด้วย เล็กน้อย ถึง ปากเบี้ยว

    รู้ " ไม่รู้ " ที่ไม่มี " ทิฏฐิ " ครอบงำจิต จะ คล้ายๆเห็นแสงสว่าง จะคล้ายๆ
    เห็นความมีน้ำมีนวล เย็นใจ ใจสงัด ใจสงบจาก "อามิสจากสัญญา" คือ
    ไม่มี บัญญัติใดจะทำให้ใจแล่นไปสู่การตรึกเลย อาจจะได้ยิน เสียงกล่าว
    คำศัพท์พยางค์หนึ่งบ้าง สองพยางบ้าง เป็นประโยคบ้าง เป็นเรื่องราวบ้าง
    แต่ ความหมายเหล่านั้น ผ่านมา แล้ว ก็ดับไป ไม่ได้ทำให้เรา แล่นไปสู่
    การตรึก การจมความคิด การเผลอจากการรู้กาย รู้ใจ อันนี้ เป็น รู้ไม่รู้
    ที่เป็น สุดยอดของ ......[ พูดอีกแง่หนึ่ง คือ จิตไม่ห่างจากปฐมฌาณ
    ไม่โดน นิวรณ์กุ้มรุม แต่จะ เห็น นิวรณ์มาแหยม มาแหย่ มาชักจูง ได้อยู่ ]
     
  20. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34
    ตอบคุณอินทรบุตร
    "อย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จริงสิ่งอื่นเปล่า" นะครับ อย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งที่ตนรู้และปฏิบัตินั้น เป็นวิธีการที่ใช่
    เพียงวิธีเดียว.. การเข้าถึงพระนิพพานพระพุทธเจ้าตรัสว่า " สามารถเข้าถึงได้โดยรอบ " ในโพส
    ข้างต้นผมจึงไม่มีการกล่าวถึงว่า " วิธีนี้ดี กว่า วิธีนี้เลย " จึงพยายามแสดงให้ดู 3 วิธี


    งั้นขอถามกลับเป็นข้อๆนะครับ
    1.การจะทำลาย "อวิชชา" จำเป็นต้องเข้าไปรู้ไปเห็นเพียงอย่างเดียวหรือครับ?... รู้แล้วไปทำอะไรกับอวิชชาครับ?

    2.การเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น "อวิชชา" แล้วทำลาย กับ ทำลายต้นตอ สิ่งที่หล่อเลี้ยงของ "อวิชชา" ตรงๆเลย ผลลัพธ์เท่ากันไหมครับ?

    3.การเอาสติมาระลึกอยู่ที่ฐาน "กาย" (ลมหายใจ)ก่อน เจริญอานาปานสติ อย่างนี้เป็นวิธีขอฤาษี หรือไม่ครับ ?

    4."ทรงฌานในชีวิตประจำวัน" กับ "ปฏิบัติเพื่อไม่เกิด" วิธีการละนันทิ ละอารมณ์ เป็นการทรงฌาน หรือไม่ครับ ?

    ถ้าตอบเป็นข้อๆก็ดีครับ

    " จากตรงนี้ สิ่งที่คุณควรลองทำดู คือ การมีสติรู้ ในทุกกิริยาของจิต " ข้อความของคุณอินทรบุตร
    อย่างที่บอกในตอนต้นครับที่คุณอินทรบุตรบอกว่า "ต้องรู้" "ต้องตามรอย" .... ที่สุดรู้แล้วก็ต้องวาง ต้องตัด ต้องทำลาย
    ผลของมันเท่ากันครับ และโอกาสที่ที่จะหลงไปก่อภพ อื่นๆต่อไปก็มากด้วยครับ... ส่วนเรื่องการปฏิบัติ
    ของผมมีการสร้างตัวตนหรือไม่ คุณอินทรบุตรอย่าเพิ่งประมาณในผู้อื่นครับ.. สุดท้าย คุณอินทรบุตรปฏิบัติอย่างไร
    อยู่ครับ อยากรู้จะได้เห็นแนวทาง จะได้มีเรื่องคุยกันต่อครับ ... ส่วนตัวผม ก่อนหน้านี้ปฏิบัติแบบอานาปานสติมา
    แต่ตอนนี้ต่อด้วย วิธีละนันทะอยู่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...