ใครกราบไหว้พระพุทธรูปเรียนเชิญ...ครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 15 ธันวาคม 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ท่านกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปผมไม่ได้กล่าวโทษล่วงเกินท่านทั้งหลาย เพียงแต่ยกพระไตรปิฏกมาให้อ่านว่าพระพุทธรูปในความหมายตามพระธรรมของพระพุทธจ้าหมายถึงรูปกาย

    ท่านกราบไหว้พระพุทธรูป แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ก็ดี รักษาศีล กระทำกรรมขาวไม่กระทำกรรมดำก็ดี แต่ถ้าจะให้เข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วไม่ศึกษาพระธรรม ก็จะเป็นการส่งเสริมให้พระสงฆ์ทุศีลใช้เป็นเป็นเครื่องมือหากิน ทำเรื่องผิดศีล ละเมิดพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระสงฆ์ต้องการรับเงินต้องการใช้เงิน คณะสงฆ์ก็ไปประชุมกัน ทำมติออกมาว่าต่อไปนี้พระสงฆ์สามารถรับเงินได้ไม่ผิดวินัยสงฆ์ ผมจะยอมรับ แต่ระวังนะครับ พระพุทธเจ้าทรงให้ยกเลิกศีลข้อเล็กน้อยได้ ข้อไหนเป็นข้อเล็กน้อยยกเลิกได้หรือไม่ได้ ก็ไม่ใช่หน้าที่ผม ไม่ใช่หน้าที่ของท่านทั้งหลาย แต่เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ไปพิจารณากันเองเถอะครับ
     
  2. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    พระพุทธเจ้าทรงทราบ พิจารณาดูตามด้วยอำนาจพุทธญาณก็ทรงทราบว่า ถ้าตถาคตไปที่นั่น ถ้าเราไปที่นั่น นึกในใจนะ ไปถึงแล้ว
    ฝนจะตกหนัก จะชะสิ่งโสโครกทั้งหมดให้ไหลลง แม่น้ำคงคา ความสะอาดของพื้นที่จะเกิดขึ้น หนึ่ง โรคจะบางเพราะความสกปรกก็
    เริ่มหายไป แล้วก็ประการที่ 2 ถ้าเราแสดงพระธรรมเทศนา รัตนสูตร ยานีธ ภูตานิ (ในเจ็ดตำนาน)
    ผลจะเกิดมหันต์ เป็นมหันต์ให้คนเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ อยู่ในศีลห้า ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ จะมีความสุขกัน คือ ไม่เบียดเบียนกัน
    โดย ทางกาย ไม่ฆ่ากันบ้าง ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายร่างกายกันบ้าง ไม่ลักไม่ขโมยกัน ไม่แย่งคนรักกัน ไม่โกหกมดเท็จ ไม่พูดส่อ
    ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด เพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่นินทาชาวบ้าน แล้วก็
    ไม่เมาเกินไป อันนี้โลก เมืองไพสาลี จะมีความสุขขึ้นกว่าเดิม แต่ว่าจะให้หมดไปทีเดียวไม่ได้ เพราะความเลวของคนมันมีอยู่ ดูแต่
    สมัยนี้เถอะ อย่าว่าแต่คนนุ่งกางเกงเลย คนนุ่งสบงมันยังเลว
    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยอำนาจพุทธญาณ ก็ทรงรับว่าตถาคตจะไป ต่อมาเมื่อ พระเจ้า พิมพิสาร ทรงทราบ ก็เข้าไปกราบทูล
    ถามองคฺสมเด็จพระจอมไตรว่า จะเสด็จไปเมืองไพสาลี หรือ พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าไป ตถาคตจะไปสงเคราะห์ แต่ว่า
    จะไปไม่นาน จะต้องกลับมาเข้าพรรษาที่พระเวฬุวัน
    เวลานี้ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน 10 วันกว่า ๆ จะเข้าพรรษา พระเจ้าพิมพิสาร ได้กลาบทูลว่า ก่อนที่พระองค์เสด็จไป
    รอข้าพระพุทธเจ้าก่อน ขอให้ปรับพื้นที่ให้ดีเสียก่อน พื้นที่ยังไม่ ราบเรียบ จึงได้ทรงสั่งให้พนักงานปรับพื้นที่ให้เรียบเดินสะดวก ๆ
    สำหรับพระพุทธเจ้ากับบรรดา พระสงฆ์ 500 รูป ระยะทางสิ้นทางไกล 5 โยชน์ แล้วก็จัดดอกไม้ 5 สี โปรยปรายด้วยทุกทางสูง แค่
    เข่า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า เมื่อเสร็จแล้วก็กราบทูลให้เสด็จพระพุทธดำเนิน
    เวลานั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ จะเอาร่มเอาฉัตร 2 ชั้นกั้นให้พระพุทธเจ้า ฉัตรชั้นเดียวกั้นให้ พระสงฆ์ 500 รูป คือ 1 รูป 1 องค์ ต่อ
    ฉัตร 1 คัน ก็หลังจากนั้นไปถึงแม่น้ำแล้วต้องข้ามฟาก ก็เอาเรือ 2 ลำเข้ามาเทียบกัน ทำเป็นเรือกัญญา ประดับประดาสวยสดงดงาม
    เวลาที่เรือถอยออกไป สำหรับพระพุทธเจ้าเรือพระพุทธเจ้าเรือต้องใช้มาก 500 องค์ แต่เรือของพระพุทธเจ้านี่ประดับประดาสวยงาม
    พระเจ้าพิมพิสารไปส่งเรือถึงน้ำแค่คอ เรือถอยออกไป ท่านก็เดินตามเรือไป มือพนมไป ไหว้พระพุทธเจ้าลงทั้งเครื่องทรง ไม่ใช่มี
    แต่ผ้าขาวม้า น้ำแค่คอ ก็กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระองค์ยังไม่เสด็จกลับเพียงใด ข้าพระพุทธเจ้าก็จะคอยพระองค์อยู่ที่นี่จนกว่า
    จะเสด็จกลับพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จไปทางเรือ ซึ่งระยะทาง 3 โยชน์ แล้วก็จึงขึ้นฝั่ง ที่ฝั่งโน้นก็เหมือนกัน เมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้า
    พิมพิสาร ทำอย่างนั้น พระราชาเมืองไพสาลี
    ก็ลงมารับแค่คอเหมือนกัน น้ำแค่คอเหมือนกัน จัดที่ให้เรียบเป็นระยะทาง 3 โยชน์ ถึงเมืองแล้วก็เอาดอกไม้โปรยปรายเช่นเดียวกัน
    แต่ว่าทางโน้นจัดหนักของพระพุทธเจ้า ฝั่งนี้จัดฉัตร 2 ชั้น ฝั่งโน้นจัดฉัตร 4 ชั้นรับพระพุทธเจ้า ฝั่งพระเจ้าพิมพิสาร จัดฉัตร 1 ชั้น
    กั้นให้แก่บรรดาพระสงฆ์ ฉัตรคือร่ม ฉัตรแปลว่าร่ม แต่ฝั่งโน้นเอาร่ม 2 ชั้น ฝั่งนี้เอาร่ม 1 ชั้น ทำให้เกินกัน
    พอพระพุทธเจ้าทรงเหยียบพื้นดินฝั่งโน้นของเมืองไพสาลี มหาเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ฝนตกหนักไม่ลืมหูลืมตานับเป็นชั่วโมง ๆ นาบางแห่ง
    น้ำท่วมแค่เข่าบ้าง บางแห่งน้ำท่วมแค่อก น้ำก็พัดพาเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ ลงในแม่น้ำคงคา ทำให้บ้านเมืองสะอาดขึ้นมาเยอะ และ
    ไอ้สิ่งปฎิกูลพวกซากศพทั้งหลายเหล่านั้น
    ก็หล่นไหลลงมาในแม่น้ำลำคลองหมด ส่วนเลอะเทอะต่าง ๆ ก็มาตามพื้นดินสะอาด ความ ชุ่มชื่นก็ปรากฎ คนก็เริ่มมีความสบาย
    เพราะฝนไม่ตกนานครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารเสด็จเข้าไปในเขตเมืองไพสาลี เข้าไปในเขตพระราชฐาน แล้วองค์สมเด็จพระ
    ทีปแก้วก็ทรงเรียก พระอานนท์ ว่าอานันทะ ดูกร อานนท์ จงมานี่ เธอจงไปเรียน รัตนสูตร รัตนสูตร คือบท ยานีธ ภูตานิ เรียน รัตน
    สูตร ไป แล้วก็ไปเดินไปบริกรรมรอบ ๆ เขตของ เมืองไพสาลี ทั้ง 4 ทิศ
    พระอานนท์ เรียน รัตนสูตร แล้ว หลังจากนั้นก็เอาบาตรขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำเห็นไหม


    เริ่มทำน้ำมนต์ วิธีทำน้ำมนต์ของพระอานนท์ก็คือ




    1. อาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้า 30 ทัศ คือบารมีปกติที่เรียกว่าบารมีเฉย ๆ 10 ทัศ อุปบารมี 10 ทัศ ปรมัตถบารมี 10 ทัศ แล้วก็



    2. มหาความดีของพระพุทธเจ้าอีกอันหนึ่ง คือ มหาบริจาค * 5 ประการ แล้วก็



    3. จริยา 3 ประการ คือโลกัตถจริยา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่โลก ญาตัตถจริยา ที่พระ พุทธเจ้าทรงประพฤติ
    ให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติ พุทธัตจริยา ทรงประพฤติให้เป็นประโยชน์ในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้า
    คือสอนคนให้บรรลุมรรคผล แล้วก็

    4. อาราธนาความดีขององค์สมเด็จพระชินศรี ในการก้าวลงสู่พระครรภ์ในภพที่สุด คือชาติ สุดท้าย แล้วการความดีของการประสูติ
    ความดีในการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระพุทธเจ้า
    แม้พระพุทธเจ้าทรงทำความเพียรถึง 6 ปี ต่อมาความดีของพระองค์ บารมีช่วยให้ขณะที่ ตลอดจนอาราธนาความดีที่แทงตลอด สัพ
    พัญญุตญาณ เหนือโพธิบัลลังก์เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ การยังธรรมจักรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมจักร ให้เป็นไปกับ
    ปัญจวัคคีย์ฤาษี ทั้ง 5 ให้เป็นไปในโลก
    * มหาบริจาค การสละอย่างใหญ่ของพระโพธิสัตว์ 5 อย่างคือ
    1. ธนบริจาค สละทรัพย์สมบัติเป็นทาน

    2. อังคบริจาค สละอวัยวะเป็นทาน

    3. ชีวิตบริจาค สละชีวิตเป็นทาน

    4. บุตรบริจาค สละลูกเป็นทาน

    5. ทารบริจาค สละเมียเป็นทาน
    5. แล้วก็อาราธนา โลกุตตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ได้แก่ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
    อรหัตมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล พระอรหัตผล แล้วก็นิพพาน อีก 1 เป็น 9

    หลังจากอาราธนาบารมีทั้งหมดเสร็จ พระอานนท์ก็เข้าไปยังเขตของเมืองในพระนคร เที่ยวทำ พระปริต คือสวด ยานีธ ภูตานิ เรื่อย

    ไปในกำแพงทั้ง 3 ด้าน คือเดินกำแพง 3 ด้าน ตลอด 3 ยาม ในราตรีนั้น เดินไปเดินมาก็สวด รัตนสูตร ยานีธ ภูมินิ สมาคตนิ ภุมมา
    นิ วา ยานิว อันตลิกเข ท่านรู้ แต่ท่านบอกว่า
    เมื่อพระอานนท์ใช้ศัพท์คำว่า ยังกิญจิ เท่านั้นล่ะ เป็นต้น เป็นอันว่าพระเถระกล่าวเท่านั้น น้ำที่สาดท่านก็สาดน้ำไปด้วยน้ำมนต์


    อย่าลืมนะ ทำน้ำมนต์น่ะบทนี้นะ

    เมื่อสาดน้ำขึ้นไปเบื้องบน น้ำขึ้นไปลอยเบื้องบนตกลงมากระหม่อม กระหม่อมของอมนุษย์ทั้งหลายคือเปรต อสุรกาย เป็นต้น พวก
    นั้นทนไม่ไหว วิ่งกันพล่านไปหมด จำเดิมแต่การกล่าวคาถา ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น หยาดน้ำเป็นราวกับว่า เทริดเงิน คือชฎาพุ่งขึ้นไป
    ในอากาศ แล้วตกลงมาเบื้องบน ตกลงมาบนหัวของบรรดามนุษย์
    ทั้งหลายผู้ป่วย บรรดาคนป่วยทั้งหลาย หายโรคทันทีทันใด นั้นเองเห็นไหมล่ะ แล้วก็ลุกขึ้นแวดล้อมพระเถระ
    หนังสือท่านว่าอย่างนี้นะ ท่านบอกจำเดิมแต่บทว่า ยังกิญจิ เป็นต้น อันพระเถระกล่าวแล้ว บรรดาอมนุษย์คือพวกเปรต อสุรกาย
    สัมภเวสีทั้งหลาย ถูกเมล็ดน้ำกระทบแล้วทนไม่ไหว รีบวิ่งกันหนีกันพล่านไปก่อน คนที่อาศัยที่กองหยากเยื่อก็ดี ส่วนแห่งฝาเรือน
    เป็นต้นก็ดี ก็หนี หนีไปแล้วโดยประตู ออกประตูนั้นบ้าง ประตูนี้บ้าง เท่าที่มีประตู
    ท่านบอกบรรดาประตูทั้งหลายไม่มีช่องว่างเลย พวกนี้มันดันกันหมด เบียดกันออกไป บรรดาอมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อไม่ได้
    โอกาสก็ทำลายกำแพงหนีไป มหาชนประพรมท้องพระโรงในท่ามกลางแห่งพระนคร ด้วยของหอมต่าง ๆ แล้วก็ผูกผ้าเพดานอัน
    วิจิตรนั้นด้วยดาวทอง เป็นต้น ตกแต่งพุทธอาสน์นำเสด็จสมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไป

    อ่านซะ พุทธประวัติ แกไม่ไหว้พระทำน้ำมนต์

    งั้นแกก็ไม่ต้องไกราบไหว้ พระพุทธเจ้า กับพระอานนท์

    เพราะพระท่านทั้งสององค์นี่ต้นตำรับน้ำมนต์เลย

    (เพี้ยนไม่เลิก)
     
  3. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    ตำนานรัตนสูตร

    รัตน สูตร เป็นสูตรที่ ๒ ในเจ็ดตำนาน ที่เรียกว่า รัตนสูตร ก็เพราะว่า สูตรนี้ เป็นพระบาลีที่ประกาศอานุภาพของพระรัตนตรัยสิ้นเชิง อยู่ในรูปประเภทร้อยกรอง แบบฉันทลักษณะ คาถาวรรณพฤติล้วน และดูเหมือนจะเป็นแบบตัวอย่างแต่งฉันท์ภาษาไทย แบบนี้ว่า กาพย์ยานี บ้าง ยานีลำนำ บ้าง เพราะบาลีสูตรนี้ขึ้นต้นบทว่า ยานี เป็นฉันท์ที่ไพเราะ และแต่งง่าย หากแต่บาลีนิยม ครุ ลหุ ไม่นิยมสัมผัส ทั้งครุ ลหุ บางแห่งก็ทิ้งครุ ลหุ เหมือนกัน ดังนั้น จึงไปยุติที่ตรงว่า ถ้าแต่งฉันท์จึงรักษาครุ ลหุ ให้เป็นแบบฉันท์ ถ้าแต่งกาพย์ไม่ต้องรักษา ครุ ลหุ รักษาแต่สัมผัส ถือเอาความเป็นเกณฑ์ เรียกว่า ยานี ๑๑ บ้าง ขอเทียบเคียงให้ดู ดังนี้

    ยานีธ ภูตา - นิ สมาคตานิ

    ภูมานิ วายา - นิว อนฺตลิกฺเข

    ตัวอย่าง ยานี ๑๑ ภาษาไทย

    ขึ้นกกตกทุกข์ยาก แสนลำบากจากเวียงไชย

    มันเผือกเลือกเผาไฟ กินผลไม้ได้เป็นแรง.

    ภาษาไทยที่ยกมานี้ ไม่มีลหุเลย เป็นครุล้วน แต่อาศัยสัมผัส ก็ฟังไพเราะเหมือนกัน

    โดย เฉพาะบาลีมี ๒๒ คาถา เดิมพระสวดกันหมด จะเป็นในวัดก็ตาม ในบ้านก็ตาม ใช้เวลาสวดมาก ครั้นมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเห็นว่า ในพระราชพิธี ในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะสวดจบทั้งสูตร ใช้เวลามาก จึงโปรดให้เลือกสวดแต่บทสำคัญๆ เพียง ๗ คาถาครึ่ง เลยถือเป็นเนติสืบมาจนบัดนี้ เว้นแต่สวดในวัด พระจึงจะสวดจบทั้งสูตร

    อีก อย่างหนึ่ง พระสูตรนี้ นิยมเรียกว่า สูตรน้ำมนต์ ก็มี เพราะเหตุว่า ถ้าพระจะทำน้ำมนต์ จะข้ามบทนี้ไปเสียไม่ได้ ทั้งมีแบบนิยมให้พระเถระหยดเทียนน้ำมนต์ในพระสูตรนี้ และเมื่อจะดับเทียนน้ำมนต์ ก็ให้ดับที่ท้ายสูตรนี้ด้วย ดังนั้น สูตรนี้ จึงเป็นพระสูตรที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์พระสูตรหนึ่ง ตามที่ผู้รู้นิยมไว้

    พระสูตรนี้มีตำนานเล่าไว้ว่า

    สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระนครนี้นิยมเรียกว่า “ เบญจคีรีนคร” อีกชื่อหนึ่ง เพราะมีภูเขา ๕ ลูก แวดล้อมเป็นราชสีมามณฑลอยู่ในอาณาจักรมคธรัฐ

    ครั้ง นั้น พระนครไพศาลี แห่งแคว้นวัชชี เกิดทุพภิกขภัยพิบัติ คือ ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาตาย เพราะไม่มีน้ำเป็นส่วนมาก ข้าวปลาหายากในชั้นแรกคนยากจน คนเกียจคร้าน ต้องอดอาหารตายมาก เมื่อตายแล้วหาญาติที่จะอนุเคราะห์ศพไม่มี คนมีกำลังก็ไม่มีความสงสารศพ มัววุ่นแต่งานของตัว เห็นไปว่า ธุระไม่ใช่ ไม่ใส่ใจ ตกลงคนตายที่ไหน ศพก็ทอดทิ้งที่นั่น ยิ่งกว่านั้นอหิวาตกโรคก็เข้าคุกคาม เพราะโทษที่ศพปฏิกูลในถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง เพราะความสกปรกนานาประการ ดังกล่าวแล้ว มนุษย์ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรคเป็นอันมาก ครั้นเมื่อภาคพื้นปฏิกูลด้วยศพมากเข้า ปีศาจจำพวกที่กินซากศพเป็นอาหาร ก็พากันเข้าพระนคร กินซากศพ ยิ่งกว่านั้น ยังหันเข้าใส่คนป่วยไข้ ชิมรสเนื้อมนุษย์ที่ยังไม่เปื่อยเน่าดูบ้าง และแล้วก็เลยถามไปถึงมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก เช่น ตื่นมาไม่ล้างหน้า นอนไม่ล้างเท้า น้ำไม่อาบ กินข้าวแล้วไม่บ้วนปาก ผ้าผ่อนไม่ซัก และบ้านเรือนไม่กวาดไม่ถู เป็นต้น ในที่สุดมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก ก็เริ่มถูกปีศาจเข้าสิงสู่ดูดโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์เริ่มตายลงเพราะปีศาจอีกประเภทหนึ่ง ชาวเมืองไพสาลีประสบภัยร้ายกาจ ๓ ประการ คือ ฝืดเคือง๑ อวิหาตกโรค ๑ ปีศาจ ๑ พากันอพยพไปอยู่ในเมืองอื่นก็ไม่น้อย

    ครั้ง นั้น ชาวเมืองพากันโจทก์กล่าวโทษพระราชา ที่ประตูพระราชวังว่า “ พระเจ้าข้า ภัยพิบัติ ๓ ประการ ได้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองแล้ว ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี พระราชาจักประพฤติผิดพระราชประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” แม้เมื่อพระมหากษัตริย์ จะโปรดให้ตั้งกรรมการพิจารณาหาความผิดของพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่า พระมหากษัตริย์ทรงประพฤติบกพร่องแต่ประการใด ในที่สุด ก็พากันบนเจ้า บวงสรวง เทพยดาอารักษ์ และวิงวอนครูอาจารย์ที่ตนนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ สุดแต่ใครจะเล็งเห็นใครให้ช่วยปลดเปลื้อง แต่ก็ไม่สามารถจะบรรเทาภัยนั้นได้

    ครั้ง นั้น อำมาตย์ผู้หนึ่ง ได้กราบทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์จากสรรพกิเลส มีพระหฤทัยประกอบด้วยพระมหากรุณาเสมอด้วยมหาสมุทร ตรัสรู้สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประกาศพระธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสักการะบำรุงอยู่ พระองค์ทรงมีอภินิหารบารมีสูงยิ่งนัก ถ้าจะได้กราบทูลอัญเชิญให้เสด็จมายังพระนครนี้ ข้าพระองค์เชื่อเหลือเกินว่า ภัย ๓ ประการนี้ จะต้องสงบเพราะอานุภาพของพระองค์แท้

    ลำดับ นั้น พระเจ้าลิจฉวี จึงโปรดให้เจ้าชายมหาลี พร้อมด้วยอำมาตย์ ๕ นาย เป็นราชทูต เชิญเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารมหาราช ณ กรุงราชคฤห์ กราบทูลขอประทานโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปบำบัดภัยพิบัติในพระนครไพสาลี โดยเวลาเพียง ๓ วัน คณะราชทูตนั้น ก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารยังพระนครราชคฤห์ ทูลขอพระราชทานพระกรุณาตามพระราชบัญชาของพระเจ้าลิจฉวี

    พระ เจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งว่า “ ฉันเห็นใจพวกท่าน และยินดีสนับสนุนในเรื่องนี้ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงกรุณาเสด็จ ขอให้พวกท่านไปทูลอัญเชิญดู ความจริง เจ้าชายมหาลี ก็ทรงรู้จักพระองค์ท่านมาก่อน ฉันคิดว่าการเข้าเฝ้าจะไม่ลำบากหรือหนักใจแต่ประการใด หากพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการเสด็จแล้ว จะทรงพระกรุณาอนุเคราะห์เป็นแน่ การมาของเจ้าชายจะไม่ไร้ผลเลย” ครั้งแล้วก็โปรดให้ราชบุรุษนำคณะราชทูตนครไพสาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร

    พระ ผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า “ มหาลี ตถาคตรับปฏิญญาของพระเจ้ากรุงราชคฤห์ เพื่ออยู่ในที่นี้เสียแล้ว ถ้าพระเจ้ากรุงราชคฤห์ จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสเธอ ตถาคตก็จะไป”

    “ข้าพระองค์ได้รับพระราชทานโอกาสแล้ว พระเจ้าข้า” เจ้าชายมหาลีกราบทูล

    “แม้เช่นนั้น มหาลี ก็ควรจะทูลให้พระองค์ทรงทราบเสียก่อนที่จะออกเดินทาง” พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง

    เมื่อ พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งมคธรัฐ ทรงทราบจากเจ้าชายมหาลีว่า พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาเสด็จ จึงรีบเสด็จมาเฝ้า ทูลขอให้ยับยั้งสัก ๓ วัน เพื่อตกแต่งทางเสด็จ ตลอดที่พักแรม ตามระยะทางจนถึงแม่น้ำคงคา สุดพระราชอาณาเขต

    ครั้ง ได้เวลากำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป ก็เสด็จพระนครไพสาลีโดยมรรคานั้น ด้วยพระเกียรติยศอันสูง ซึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทูลถวายโดยระยะทาง ๕ โยชน์ กำหนดวันละ ๑ โยชน์ ทรงประทับแรมตามระยะทางรวม ๕ วัน ก็ถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เสด็จลงเรือพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าพิมพิสารจัดถวาย งดงามสมพระเกียรติยศยิ่งนัก และเป็นครั้งแรกที่เสด็จทางน้ำด้วยพระเกียรติยศอันสูงเช่นนี้

    พระ เจ้าพิมพิสารทรงตามเสด็จพระพุทธดำเนินตลอดทาง และเสด็จลงประคองเรือพระที่นั่งให้เคลื่อนจากท่าแม่น้ำคงคา ทรงตามเรือพระที่นั่งไปในน้ำเพียงพระศอ ก็ประทับหยุดยืน ทูลว่า “หม่อมฉันจะมารับเสด็จพระองค์คราวเสด็จกลับ ณ ที่นี้อีก” เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นไปตามแม่น้ำจนลับทิวไม้แล้ว จึงเสด็จกลับพระนคร

    พระ ผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จจากชลมารคสิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ ก็ถึงท่าพระราชอาณาเขตพระนครไพสาลี จึงเสด็จขึ้นจากเรือรับสักการะปฏิสันถารซึ่งเจ้าชายมหาลี หัวหน้าคณะราชทูตกราบทูลให้พระเจ้าลิจฉวีจัดถวายให้โอฬาร ยิ่งกว่าพระนครราชคฤห์จัดเสด็จตามระยะทาง ๓ โยชน์ สิ้นเวลา ๓ วัน ก็ถึงชานพระนครไพสาลี ขณะที่เสด็จเหยียบภาคพื้นพระนครไพสาลีก้าวแรกก็ประทับยืน จ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญมาแต่ปุเรชาติ ในทันใดนั้นมหาเมฆก็ตั้งขึ้นดังแผ่นผาสีครามผืนยาวเหยียดในด้านปัจฉิมทิศ แล้วเคลื่อนลงมาปกคลุมพระนครไพสาลี พร้อมกับส่งเสียงคำราม กระหึ่มครืมครวญ เปรี้ยงๆ ดังสนั่น ด้วยสายฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วห่าฝนใหญ่ก็หลั่งลงจั่กๆ ดังเทน้ำ เสมือนหนึ่งดังจงใจจะล้างพื้นแผ่นดินให้สะอาด ต้อนรับพระบรมศาสดา

    ความ จริง ก็ดูสมจริงดังกล่าว ด้วยพอฝนซัดลงมากมายเช่นนั้นแล้ว ไม่ช้าน้ำฝนก็ไหลลงท่อ ธาร และท่วมท้นบ่าเข้าพระนคร พัดเอาซากศพมนุษย์และสัตว์ซึ่งปฏิกูลพื้นแผ่นดินอยู่ ให้ไหลไปสู่ทะเลใหญ่สิ้นเชิง ดังนั้น พอฝนขาดเม็ดแล้ว ภาคพื้นก็สะอาด ความอบอ้าวเร่าร้อนของอากาศก็สงบ บรรเทาโรคได้ถึงครึ่ง ด้วยพุทธานุภาพ

    ใน เวลาเย็นวันนั้นเอง พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า “ อานนท์ เธอจงเรียนเอารัตนสูตรนี้ไป แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองไพสาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เพื่อความสวัสดีจากภัยอันใหญ่ของประชาชนเถิด”

    ใน ราตรีนั้น พระอานนท์ เรียนเอารัตนสูตรจากพระบรมศาสดาแล้วก็ประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา ซึ่งเต็มด้วยน้ำ ตั้งกัลยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ซึ่งทรงบำเพ็ญมา และบารมีในปัจฉิมชาตินี้ จำเดิมแต่เสด็จลงสู่พระครรภ์ เป็นต้น จนตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศโลกุตตรธรรม ๙ ประการ เป็นที่สุดเจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เที่ยวจาริกไปยังภายในกำแพงเมือง พร้อมด้วยพระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อมเดินพลางพรมน้ำมนต์พลางจนรอบ พระนคร มนุษย์ที่กำลังประสบภัยแต่ปีศาจและโรค พอถูกหยดน้ำมนต์ที่พระเถรเจ้าพรมเท่านั้น ก็หายจากโรคภัย มีกำลัง สดชื่น ติดตามแวดล้อมพระเถรเจ้า โห่ร้องแซ่ซ้องสาธุการดังสนั่น มวลภูตผีปีศาจที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์ ครั้นได้ยินเสียงมนุษย์ก็สะดุ้ง ตกใจกลัว พากันเลี่ยงออก ที่ยังดื้อแอบหลบอยู่ตามแง้มฝาเรือนและประตูเมื่อถูกหยาดน้ำมนต์ของพระเถร เจ้า ก็เจ็บปวดแทบดับจิต ประดุจสุนัขถูกฟาดหลังด้วยแส้เหล็ก พากันเพ่นหนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยความกลัวสยองเกล้า ตั้งหน้าวิ่งหนีออกจากเมืองโดยไม่เหลียวหลัง ครั้นไปประดังแน่นยัดเยียดที่ประตูเมือง และเมื่อไม่สามารถจะทนรออยู่ได้ ก็พากันพังบานประตูหนีไปจนสิ้นเชิง

    ครั้ง พระเถรเจ้าจาริกเจริญรัตนสูตร ประพรมน้ำมนต์รอบพระนครแล้ว ก็พามหาชนซึ่งติดตามมาเป็นอันมากเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้น จนประกาศจตุราริยสัจ ให้มหาชนชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์เกิดศรัทธากล้าหาญ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นอันมาก พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาอยู่ถึง ๗ วัน ครั้นทรงทราบว่า ภัย ๓ ประการสงบลงแล้ว และประชาชนมีความผาสุขดีแล้ว ก็ทรงอำลาพระเจ้าลิจฉวี เสด็จพระพุทธดำเนินกลับพระนครราชคฤห์ ด้วยพระเกียรติยศซึ่งพระเจ้าลิจฉวีและมหาชนพร้อมกันจัดบูชาอย่างมโหฬาร แม้พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร ตลอดชาวพระนครราชคฤห์ก็มีความยินดีพากันไปต้อนรับพระบรมศาสดาริมฝั่งแม่น้ำ คงคา ให้เสร็จกลับมาประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้นั้นแล ฯ.


    พระพุทธเจ้า กับพระอานนท์ ต้นตำรับของการทำมนต์เลย

    แกไม่ต้องกราบไหว้นะ ไปตั้งศาสานาไหม่ไป

    เป้นศาสานดาเองเลย เชิญ!!!!!

    เพราะแกบอกว่าพระที่ประพรมน้ำมนต์คือพระทุศีล

    พูดแล้วอย่า อย่ากลืนน้ำลายตัวเองล่ะ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคหน้าที่ ๑๐๐/๓๘๓ ข้อที่ ๑๖๓

    ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกระเทย
    ให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์
    รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยา
    แก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา
    ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    หน้าที่ ๒๘๓/๔๑๘ ข้อที่ ๓๑๔
    รตนสูตรที่ ๑
    [๓๑๔] ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด
    ประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี และ
    ขอจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่าน
    ทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด
    นำพลีกรรมไปทั้งกลางคืนกลางวัน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจง
    เป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใด
    อย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์
    ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็น
    รัตนะอันประณีต ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
    พระศากยมุนีผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส
    เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีตธรรมชาติอะไรๆ อัน
    สมควรด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มีธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
    ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
    สุดทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาดบัณฑิต
    ทั้งหลายกล่าวสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับสมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น
    ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอ
    ความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษ
    ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวก
    ของพระสุคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก
    สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี
    จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระโคดม
    ประกอบด้วยดีแล้ว(ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์) มี
    ใจมั่นคงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย (ในกายและชีวิต) พระอริยบุคคล
    เหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพานได้ซึ่งความ
    ดับกิเลส โดยเปล่าเสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
    ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน
    ไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย
    เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมา
    ฉันนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอ
    ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้ง
    ซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง
    พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริงถึงกระนั้น
    ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย
    สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฐิและวิจิกิจฉา
    หรือแม้สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้นอัน
    พระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น
    (นิพพาน) ทีเดียว อนึ่งพระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้ง
    ไม่ควรเพื่อทำอภิฐานทั้ง ๖ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด)
    สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความ
    สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลนั้น ยังทำบาปกรรมด้วยกาย
    ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็จริง ถึงกระนั้น ท่านก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาป
    กรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องนิพพานอันตนเห็นแล้ว เป็น
    ผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะ
    แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
    เหล่านี้ พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึง
    นิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูล มีอุปมาฉันนั้น พุทธรัตนะแม้นี้
    เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
    เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรง
    ประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่ง
    ไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ
    อันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระ
    อริยบุคคลเหล่าใด ผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว
    ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีพืชอันสิ้นแล้ว มี
    ความพอใจไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ย่อมนิพพาน เหมือนประทีป
    อันดับไปฉะนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจา
    นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วใน
    ประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เรา
    ทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุม
    กันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด ประชุมกันแล้วใน
    อากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันไปแล้วอย่างนั้น อัน
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
    ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด
    ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้ว
    อย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี
    แก่สัตว์เหล่านี้ ฯ
    จบรัตนสูตรที่ ๑

    ท่านเอาจากไหน ใครแต่งก็ไม่รู้ผมบอกให้นะถ้าเป็นอาจารย์รุ่นหลังแต่งผมไม่อ่าน มันมีแต่น้ำครับผมอ่านแต่พระไตรปิฏกครับ
     
  6. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ผมนักเรียนนักธรรมเอกขอยืนยัน

    โง่ไม่เลิกอีก พุทธประวัติใครจะแต่งละ

    ก็เอามาจากพระไตรปิฏกนะสิ

    หนังสือสวดมนต์เจ็ดตำนานไช้กันทั่วทุกวัด เล่มใหญ่หน่อยก็มนต์พิธี

    เจ็ดตำนานพระบาลี ก็เอามาจากพระไตรปิฏก

    ไปเรียน นักธรรมแข่งกับเณรไป

    ผมจบนักธรรมเอกแล้ว ใบประกาศติดอยุ่ข้างฝา

    พวกเรียนนักธรรมจะเรียนตรงจากพระไตรปิฏก
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคหน้าที่ ๑๐๐/๓๘๓ ข้อที่ ๑๖๓

    ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

    เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกระเทย
    ให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์
    รดน้ำมนต์
    ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยา
    แก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา
    ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
     
  8. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85


    โง่เรื่อยๆ แถไม่เลิก

    รัตตนสุตร ก็มาจากพระไตรปิฏก หมวดพุทธประวัติ

    อ่านพระไตรปิฏก ตีความหมายไห้ออกด้วย
     
  9. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    อุรุเวลา<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5505148", true); </SCRIPT>
    สมาชิก


    วันที่สมัคร: Dec 2011
    ข้อความ: 222
    พลังการให้คะแนน: 23
    [​IMG]

    ไอ่เลว ค้านกระทั่งคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

    เล่าไว้เป็นพุทธประวัติ เลวได้อีก

    มีอยู่ในหนังสือรียน หลักสูตรนักธรรมตรี

    หมวดสุตันตะปิฏก หรือพุทธประวัติ

    สำหรับนักเรียน ภิษุสมเณร ที่บวชใหม่

    เดียรถีย์ตัวจริงเลยนะ
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมคนปัญญาน้อยครับ หนังสือมนต์พิธี ผมก็บวชพระมาแล้วครับ ผมรู้ผมเคยอ่านครับ แต่ตอนนี้ผมอ่านแต่พระไตรปิฏกครับ หนังสือมนต์พิธีแต่งขึ้นทั้งนั้น ไปดูชื่ออาจารย์ผู้แต่งได้ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าครับ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้แต่งเติมหรือแก้ไขคำของพระองค์ ไปหาอ่านกันเองในพระไตรปิฏกครับ
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ขอบคุณครับ ผมคนปัญญาน้อยครับ ถ้าอะไรไม่ตรงกับพระไตรปิฏกผมไม่ศีกษาครับ เสียเวลา ของอาจารย์ไหนแต่งผมไม่สนใจ
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝน
    ในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
    ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา ย่อมเห็น
    สัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารเป็น
    ตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือ
    เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ
    คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์
    คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ
    เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

    พระธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องมีสำนวนแบบนี้ เป็นคำไพเราะ ไม่ใช่คำที่อาจารย์ยุคหลังแต่งขึ้นใหม่ ผมไม่อ่านครับมันมีแต่น้ำครับ
     
  13. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85

    พระไตรปิกฏ เขาต้องเรียน แล้วมีการสอบ

    และมีใบรับรองกัน เพราะเป็นภาษาบาลี

    ไอ่ที่แกยกมานี่ อรรถาจารย์เขาแปรไว้ทั้งนั้นแล้วล่ะไอ่ฟาย

    เขาแปรผิด แปรถูก ก็ก็เชื่อว่างั้น

    ถ้าไห้ดีจริง แกต้องไปเรียน ปธ๑ ถึงปธ๙

    แกต้องแปรภาษาลี สันสกฤษ ไห้ออกก่อน

    แปรไห้ได้ก่อน แล้วแกจึงจะไปย้อนอ่านพระไตรปิฏกต้นฉบับ

    ก็คือภาษาบาลี และสันสกฤษ นั่นละแหละแกถึงจะไม่ถูกหลอก

    ไอ้ที่แกยกมานี่ อรรถจารย์เขาแปรไว้เฟ้ย ไอ่กระบือ
     
  14. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ผมมาทวงคำถามคุณอุรุเวลา

    ภาพถ่ายบรรพบุรุษของคุณที่คุณกราบไหว้
    รูปพระพุทธเจ้า คุณกลับไม่สักการะกราบไหว้

    ที่คุณไม่กราบไหว้ นั่นคุณเห็นเป็นเพียงสสารวัตถุ
    แล้วภาพถ่าย ทำไมคุณถึงยังได้กราบไหว้หละครับ
    หรือว่า มันเป็นสสารที่ไม่เหมือนกัน
    หรือว่ารูปนั้นไม่ใช่บรรพบุรุษของคุณ
    หรือว่าอะไรหละครับ ....
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส
    มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต
    ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
    กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?
    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
    ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี
    อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ
    โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
    คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ
    กันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้
    ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี
    กำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
    ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่
    เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย
    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา
    ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ
    ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ
    วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก
    กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ
    อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
    เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี
    งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ
    ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก
    เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
    เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น
    ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา
    ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา
    ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป
    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก
    ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว
    มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก
    ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ
    เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
    บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่
    พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด
    ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ
    อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว
    นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย
    ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ
    ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว
    ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ
    นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
    กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร
    ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก
    ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
    โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน
    ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ
    อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว
    ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ
    ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ
    ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
    พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน
    อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
    จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่
    ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.
    ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
    ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
    ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้
    ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
    มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล
    ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน
    ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่
    ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ
    ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.

    ผมเป็นปัญญาน้อยเป็นคนส่วนน้อย ขอเชิญท่านนักธรรมตริพิจารณาคำของพระคถาคตเถิดครับ
     
  16. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,669
    ค่าพลัง:
    +3,460
    กินข้าวมื้อเดียว ไม่ได้แสดงว่าคุณเป็นคนดีกว่าคนอื่น
    งูเหลือมกินอาหารเดือนละครั้ง จระเข้กินอาหาร สองวันครั้ง

    แปลกที่ไม่ยึดถือพระพุทธรูป ไม่ยึดคัมภีร์ แต่ดันไปยึดพระสงฆ์

    สรุปจะยึดถือไม่ยึดถือ เอาให้แน่
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมปัญญาน้อยครับ แต่ผมไม่เห็นต้องแปลเลยครับ ผมอ่านผมก็เข้าใจนะครับ ถ้าคำไหนไม่เข้าใจผมก็ไปหาคำแปลจากพจณานุกรม จากท่าน GOOGLE ท่านรู้หมดครับ
     
  18. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85


    ถึงแม้จะมาเป็นภาษาไทยแล้ว แกก้ต้องเรียนอยู่ดี

    ไม่งั้นการตีความของแกคลาดเคลื่อน อย่างที่แกเป็นอยู่

    เพราะเป็นภาษาไทยสมัยเก่า และก็จะมีภาษาบาลีปรนอยู่ด้วย

    ไม่ไช่แกไปหาพี่กรู ไห้พี่กรูช่วย พอเจอแล้วก็เอามาแปะ

    แล้วก่ว่านี่แหละไช่ ยังงี้ สิบคนก้สิบความหมาย

    งั้นเขาจะมีมหาลัยสงฆ์จุฬาลงกรณ์ไว้ทำเลกืออะไรล่ะ

    หลักใหญ่ๆก็เพื่อนเรียนรู้พระไตรปิฏก ไห้ตรงกับความหมายที่แท้จริงมากท่สุด

    เท่าที่จะเป็นได้

    เพราะอะไรจึงพูดเช่นนี้ ก็เพาะว่า คำในพระไตรปิฏก คำสอนก็ดี

    พระสูตรก็ดี พระวินัยก็ดี เป้นคำสอนของผูหมดกิเลส

    เป้นคำสอนของพระอรหันต์ ยากท่ที่ปุถุชน คนหนาแน่นไหด้วยกิเลส

    แลลเองๆข้าๆ จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้ไง

    ไม่ไช่เอะ ก็เอามาแปะ

    ความหมายรู้จริงไม่จริงมั่งว่าไปเรื่อย

    อบ่างน้อยแกต้องฟังพระหรือท่านที่จบมา

    จบบาลี และสันกฤษมา ไม่ไช่แกอยู่ๆอ่านแล้วรู้เลย

    แกก็ซุปเปอร์ฮีโร่เลยนะนั่น

    เกิดแล้วรู้เลย

    โรงเรียนไม่ต้องไป มหาลัยไม่ต้องเข้า

    ไม่ต้องมีครูบาอาจารย์

    ซื้อหนังสือมาอ่านแล้วรู้เองเลย

    ไอ่กระบือเอ้ย:boo:







     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมไม่ได้ดีกว่าคนอื่นหรอกครับ แต่ผมรักษาศีลแปดครับ ที่แปลกกว่าคนอื่นก็คือ เขากินสองมื้อ แต่ผมกินมื้อเดียวเหมือนพระอรหันต์

    กลับอ่านตั้งแต่หน้าแรกแล้วจะรู้ว่าผมยึดถืออะไร ผมบอกให้ก็ได้ผมยึดมั่นอย่างมั่นคงในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระอรหันต์ในสมัยพระพุทธกาล ฟังพระสูตรของพระพุทธเจ้าแค่พระสูตรเดียวก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ พระภิกษุบางองค์บรรลุธรรมใน เจ็ดวันบ้าง สิบห้าวันบ้าง หนึ่งเดือนบ้าง บางองค์ก็บรรลุตอนตาย ในพระไตรปิฏกบัญญัติไว้ท่านลองไปศึกษาเอาเถิด
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...