เหตุการณ์ใน-นอกโลก VS ภัยธรรมชาติ และupdate พายุสุริยะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 มกราคม 2011.

  1. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    ในวันที่ 9 และ 11 พฤศจิกายน นี้ จะเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลกและดวงอาทิตย์ คือมีการเรียงตัวกันระหว่างดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ในวันที่ 9 และระหว่าง โลก ดาวศุกร์ และ ดาวเสาร์ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นที่ดวงอาทิตย์ และโลกในช่วงวันดังกล่าว สำหรับที่ดวงอาทิตย์นั้นให้สังเกตปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และปริมาณจุดดับว่าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้าง ในขณะที่โลกนั้นให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และปฏิกริยาใต้ผิวโลก รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจว่าจะสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อเจริญสติและการรู้ทันภัยธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่ๆแตกตา่งกันตามภูมิศาสตร์ในอนาคตครับ
     
  2. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    หลายท่านคงสังเกตเห็นรูปภาพที่ผมใช้ที่เพจนี้ตั้งแต่ปี พศ 2555 เป็นต้นมา ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พศ 2557 เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วในการเปิดเผยความหมายของภาพนี้ เนื่องจากมีการถ่ายภาพนี้ในอวกาศเป็นข่าวให้ทุกท่านได้ทราบอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก
    http://www.theatlantic.com/…/alma-telescope-photogr…/382459/

    ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายได้โดยทฤษฏี Resonance (Resonance - Wikipedia, the free encyclopedia)
    ซึ่งเป็นปรากฏการณ์การสั่นฟ้องของคลื่นในอวกาศ โดยมีดาวเคราะห์เป็นจุดอ้างอิงในแนวระนาบของการสั่นเป็นวงแหวนเหล่านี้ และมีดวงอาทิตย์ (ดาวฤกษ์) เป็นจุดศูนย์กลางของระบบ ทฤษฏีนี้สามารถอธิบายได้ว่าทำไมดาวเคราะห์จึงไม่ถูกดูดไปรวมกับดวงอาทิตย์ตามทฤษฏีแรงโน้มถ่วงปกติ ทำไมวงโคจรดาวเคราะห์ทุกดวงจึงอยู่ในแนวระนาบ และสามารถอธิบายว่าทำไมปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงตัวจึงสัมพันธ์กับปฏิกริยาดวงอาทิตย์ หรือการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ(เช่นบนโลก)ในช่วงที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าว ทั้งๆ ที่ดาวเหล่านี้อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากเกินกว่าอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงปกติจะส่งผลได้ครับ

    ในระหว่างปลายเดือนธันวาคม ถึงต้นเดือนมกราคมนี้ ผมจะมีกำหนดการณ์บรรยายเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ให้กับทุกท่านที่สนใจได้รับฟัง ส่วนเวลาและสถานที่นั้นผมจะแจ้งให้ทุกท่านทราบในภายหลังครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 22 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้าง โดยมีทิศทางตรงกับโลกทางทิศตะวันออก เหตุการณ์ครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับรังสี X-ray ในระดับ X1.6 ซึ่งมีค่าสูงสุดในเดือนนี้ จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 10 พฤศจิกายน เวลา 0 UT +/- 7 ชั่วโมง ทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์นี้กับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่มากกว่าปกติบนโลก โปรดติดตามได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายนครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - เวปเก็บข้อมูลของเหตุการณ์นี้โดยละเอียด EVENT LOG
    - วิดิโอภาพถ่ายมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์ มุมมองจากโลก CACTUS CME Details
    - วิดิโอภาพถ่ายที่ผิวดวงอาทิตย์ http://sdowww.lmsal.com/sdomedia/h2...1648-20141107T1810_AIA_131-193-171_N17E39.mov
    - โมเดลจำลองการเปลี่ยนแปลงของลมสุริยะรอบๆโลกในช่วงนี้ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=747354854
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=747248041
     
  4. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาซึ่งมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ ในรูปแบบดาวล้อมเดือน http://en.wikipedia.org/wiki/Conjunction_(astronomy) พบว่า ปริมาณจุดดับที่ดวงอาทิตย์ได้ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ในช่วงดังกล่าว ESA Daily Sun Spot Number

    วันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์กับโลกและดวงอาทิตย์อีกครั้ง คือมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ ในรูปแบบ (http://en.wikipedia.org/wiki/Opposition_(planets)) ซึ่งตรงกันข้ามกับที่เกิดในวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสที่จะได้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ กับปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และการเปลี่ยนแปลงบนโลกอีกครับ ทุกท่านที่สนใจปรากฏการณ์นี้สามารถได้ในช่วงดังกล่าวครับว่าจะออกมาในรูปแบบใด เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาครับ
     
  5. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 16 พฤศจิกายน เวลา 17:48 UT เกิดปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ ส่งพลังงานเป็นแสง X-ray ออกมาในระดับ M5 และในช่วงเดียวกันนั้นพบปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 12 วัน เหตุการณ์ครั้งนี้ยังไม่ตรวจพบเปลวพลังงานพลาสม่าที่ออกมากกว่าปกติ แต่พบแนวสนามแม่เหล็กเปิดขนาดใหญ่ที่ผิวดวงอาทิตย์ (บริเวณสีดำถึบจากภาพข้างล่าง)ในแนวเดียวกับโลก ซึ่งเป็นแนวที่ลมสุริยะความเร็วสูงจะพัดมาที่โลก จากการคำนวณคาดว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ซึ่งในช่วงนี้เองยังพบการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกที่มากกว่าปกติตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นมา ท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะสัมพันธ์กับเหตุการณ์นี้ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายนครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - วิดิโอปฏิริยาที่ผิวดวงอาทิตย์ http://sdowww.lmsal.com/sdomedia/h2...1730-20141116T1812_AIA_131-193-171_S12E46.mov
    - ปริมาณจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number
    - กราฟดัชนีการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็กโลก 3-day Estimated Planetary Kp-index Monitor
    วันที่ 16 พฤศจิกายน เวลา 17:48 UT เกิดปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ ส่งพลังงานเป็นแสง X-ray ออกมาในระดับ M5 และในช่วงเดียวกันนั้นพบปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 12 วัน เหตุการณ์ครั้งนี้ยังไม่ตรวจพบเปลวพลังงานพลาสม่าที่ออกมากกว่าปกติ แต่พบแนวสนามแม่เหล็กเปิดขนาดใหญ่ที่ผิวดวงอาทิตย์ (บริเวณสีดำถึบจากภาพข้างล่าง)ในแนวเดียวกับโลก ซึ่งเป็นแนวที่ลมสุริยะความเร็วสูงจะพัดมาที่โลก จากการคำนวณคาดว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ซึ่งในช่วงนี้เองยังพบการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกที่มากกว่าปกติตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นมา ท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะสัมพันธ์กับเหตุการณ์นี้ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายนครับ ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้ - วิดิโอปฏิริยาที่ผิวดวงอาทิตย์ http://sdowww.lmsal.com/sdomedia/h2...1730-20141116T1812_AIA_131-193-171_S12E46.mov - ปริมาณจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number - กราฟดัชนีการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็กโลก 3-day Estimated Planetary Kp-index Monitor
     
  6. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    ในวันที่ 20-21 พฤศจิกายน จะพบว่าโลกประสบภัยธรรมชาติมากกว่าปกติ
    ่่เช่น

    - เกิดการแกว่งตัวของกระแสไฟฟ้าใต้ดินบริเวณขั้วโลกเหนือ Magnetic Activity

    - เกิดแผ่นดินไหวในระดับที่ผิดปกติหลายแห่งทั่วโลกเช่น ในประเทศอินโดนีเซีย Earthquake - Magnitude 6.6 - MOLUCCA SEA - 2014 November 21, 10:10:21 UTC

    และ ในประเทศจีน Earthquake - Magnitude 6.0 - WESTERN SICHUAN, CHINA - 2014 November 22, 08:55:27 UTC

    ถ้าเราได้สังเกตถึงลางบอกเหตุจากภายนอกโลกจะพบว่า ช่วงวันดังกล่าวเป็น วันสำคัญทางดาราศาสตร์ที่สำคัญอีกวันหนึ่ง โดยเป็นวันที่มีการเรียงตัวระหว่าง โลก ดวงอาทิตย์ ดาวเสาร์ และ ดวงจันทร์ โดย มีดาวพุธ และ ดาวศุกร์ อยู่ในแนวเรียงตัวเช่นกันโดยประมาณ ซึ่งแนวเรียงตัวนี้จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่อใช้ โลกเป็นจุดศูนย์กลาง อย่างที่เห็นดังภาพที่แนบมาข้างล่างครับ

    (อ้างอิงจาก The Planets Today : A live view of the solar system )

    ทาง Spaceweather.com ยังได้รายงานถึงพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่เข้ามากระทบโลกในช่วงระหว่างวันดังกล่าวเช่นกัน
    Spaceweather.com Time Machine

    ดังนั้นทุกท่านที่สนใจ สามารถใช้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นกรณีศึกษา และเป็นสิ่งบอกเหตุถึงภัยธรรมชาติในอนาคตได้ครับ
     
  7. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 24 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 20 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติโดยพบว่าปริมาณจุดดับได้เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่รังสี X-ray อยู่ในระดับ C4 จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจากดวงอาทิตย์จะเดินทางมาถึงในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 27 พฤศจิกายน เวลา 12 UT +/- 7 ชั่วโมง

    และในช่วงระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน ยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาตร์อีกครั้งหนึ่งคือมีการเรียงตัวระหว่าง ดาวเสาร์ ดาวพุธ และ โลก เป็นเส้นตรง และระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวพฤหัส ในแนวตั้งฉาก นอกจากนั้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน จะเป็นวันที่ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์จะเรียงกันเป็นแนวตั้งฉาก (ดวงจันทร์ข้างขึ้น) ท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติรอบๆโลก และปฏิกริยดวงอาทิตย์ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายนครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - ปริมาณจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของปฏิกริยาดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ CACTUS CME Details
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ในช่วงนี้ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=760567181
    - ภาพถ่ายมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2014/11/25/ahead_20141125_cor2_512.mpg
     
  8. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน เวลา 12:37 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์ มากกว่าปกติ โดยมีทิศทางตรงกับโลก และในวันที่ 1 ธันวาคม เวลา 6:41 UT พบปริมาณรังสี X-ray จากดวงอาทิตย์ในระดับ M1 จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานบางส่วน จะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 2-3 ธันวาคม (http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=716916792)

    ในช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยามากกว่าปกตินี้ ก็ยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ คือมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวเสาร์ เป็นเส้นตรง Solar System Scope

    และในวันที่ 1 ธันวาคม บนโลกได้พบพายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก RSOE EDIS - Tropical Storm Information
    และเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.6 ในวันที่ 2 ธันวาคม เวลา 5:11 UT ที่ประเทศฟิลิปปินส์ บริเวณใกล้เคียงกับที่มีพายุก่อตัวขึ้น Latest Earthquakes in the world

    ทุกท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกที่จะสัมพันธ์กับเหตุการณ์นอกโลกครั้งนี้ ได้ถึงวันที่ 4 ธันวาคมครับ
     
  9. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    มีหลายท่านถามผมถึงกระแสข่าวลือจากนาซ่าว่าโลกจะมืดเป็นเวลา 6 วัน ระหว่างวันที่ 16-22 ธันวาคม เนื่องจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และฝุ่นละอองที่จะเข้ามาในชั้นบรรยากาศนั้น ตามความเห็นส่วนตัวผมนั้น

    ในเชิงของการเสนอข่าวนั้น ผมยังไม่เคยเห็นการแจ้งข่าวอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่บอกวันที่ช่วงเวลาที่จะเกิดเหตุได้อย่างเที่ยงตรง โดยใช้องค์ความรู้ทางฟิสิกส์และสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในปัจจุบัน แม้ว่าผู้นำองค์กรนาซ่าได้เคยรณรงค์ให้ทุกคนเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับภัยพิบัติแบบทั่วไปแล้วก็ตาม ส่วนมากเป็นรูปแบบของปฏิกริยาใต้ผิวโลกหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน หรือมีไฟฟ้าดับ ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่จะไม่มีการแถลงการในรูปแบบอย่างที่เป็นข่าวในขณะนี้

    ในเชิงองค์ความรู้ทางวิชาการที่ผมศึกษามาตลอดด้วยตนเองนั้น ซึ่งยังไม่มีเขียนในตำราเรียน แม้ว่าเราจะพอคาดการณ์ความรุนแรงของปฏฺิกริยาดวงอาทิตย์แบบบอกช่วงเวลาได้ แต่ก็เห็นว่าเป็นเรื่องยากในขณะนี้ที่จะคาดการณ์ปฏิกริยาดวงอาทิตย์ได้อย่างแม่นยำว่าจะเกิดอย่างรุนแรงมากที่สุดในรอบ 250 ปีในวันไหม ส่วนในเรื่องผลกระทบต่อโลกนั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบด้วยกันในแง่มุมของภัยธรรมชาติที่หลากหลาย และได้มีกรณีศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จากเฟสบุกแห่งนี้ครับ

    จากกรณีศึกษาทั้งหมดยังไม่พบว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะมีผลเพียงพอที่จะทำให้โลกมืดได้ถึง 6 วันอย่างที่ข่าวได้กล่าวอ้าง ยกเว้นว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยบันทึกในประวัติศาสตร์โลกในปัจจุบัน และควรมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลกอย่างรุนแรง ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากว่าจะเกิดขึ้นในช่วงวันดังกล่าวครับ แต่ถ้าเกิดขึ้นจริงทุกคนก็สามารถรับรู้ล่วงหน้าและสังเกตเห็นในช่วงเวลานั้นได้ด้วยตนเอง

    ตามหลักกาลามสูตรแล้ว (กาลามสูตร - วิกิพีเดีย) ควรฟังเพื่อรับรู้ไว้ว่าเป็นข่าวลือที่ไม่มีการยืนยันความจริงจากแหล่งข่าว ไม่ควรปักใจเชื่อในข่าวดังกล่าว จนเกิดความตื่นตระหนก แต่ควรรับฟังข่าวสารแจ้งเตือนต่างๆจากกรมอุตุนิยมวิทยา หรือจากทางราชการอย่างสม่ำเสมอตามปกติ เช่นเดียวกับวันอื่นๆ

    สำหรับทุกท่านที่ได้ติดตามข่าวสารจากที่นี่มาโดยตลอดจะทราบว่า เหตุการณ์ความแปรปรวนทางธรรมชาติ นั้นเกิดขึ้นและก็ดับไปเป็นชั่วขณะไป ตามเหตุปัจจัยที่หลากหลาย ส่วนมากไม่ได้เกิดยาวนานต่อเนื่องถึง 6 วัน แต่ก็อาจมีบางกรณีที่จะส่งผลกระทบที่ยาวนานได้ เรารับรู้อย่างที่มันเป็น และใช้เป็นเครื่องเตือนสติให้ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทครับ

    NASA Confirms Earth Will Experience 6 Days of Total Darkness in December 2014!
    https://www.youtube.com/watch?v=oc2agtAmKNE
     
  10. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วันที่ 4-5 ธันวาคม เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์ที่มากกว่าปกติ โดยส่งรังสี X-ray ออกมาสูงสุดในระดับ M6.1 ในวันที่ 5 ธันวาคม เวลา 13:50 UT พบเปลวพลังงานออกมามากกว่าปกติจากดวงอาทิตย์ทางทิศตะวันออกด้านเดียวกับโลก จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกประมาณวันที่ 8 ธันวาคมนี้

    ในช่วงวันที่ 8 ธันวาคม ยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ คือมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ และดาวพุธ เป็นเส้นตรง และเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง

    ดังนั้นผู้ที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะสัมพันธ์กับเหตุการณ์นอกโลกครั้งนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 9 ธันวาคมครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - ภาพถ่ายดาวเทียมที่ผิวดวงอาทิตย์ที่ช่วงที่มีปริมาณ X-ray สูง http://www.solarham.net/pictures/archive/dec4_2014_m6.1.jpg
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/…/StreamByDataIdServlet…
    - วิดิโอภาพถ่ายมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือของภาพhttp://stereo.gsfc.nasa.gov/…/05/ahead_20141205_cor2_512.mpg
     
  11. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วันที่ 9 ธันวาคม เวลา 10:24 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์ มากกว่าปกติโดยส่งรังสี X-ray ออกมาในระดับ C8 และในวันที่ 10 ธันวาคม เวลา 21:58 UT เกิดปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์มากกว่าปกติอีกครั้ง โดยส่งพลังงานออกมาทางทิศตะวันออก ไม่ตรงกับโลก และเป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับอยู่ในช่วงขยายตัวสูงขึ้น จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางเข้ามาในวงโคจรของโลกในวันที่ 12 ธันวาคม เวลา 12 UT +/- 7 ชั่วโมง

    และในวันที่ 10 ธันวาคมที่โลกเรา สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวที่มากกว่าปกติขนาด 6.1 เวลา 21:03 UT ที่ประเทศใต้หวัน Earthquake - Magnitude 6.1 - TAIWAN REGION - 2014 December 10, 21:03:39 UTC

    ทุกท่านที่สนใจสามารถติตตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกที่จะสัมพันธ์กันได้ระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคมครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - ภาพถ่ายที่ผิวดวงอาทิตย์วันที่ 9 ธันวาคม http://www.solarham.net/pictures/update/dec9_2014.jpg
    - วิดิโอภาพถ่ายมุมกว้างของปฏิกริยาดวงอาทิตย์ในวันที่ 9 ธันวาคม CACTUS CME Details
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=774089760
    - ปริมาณจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ในช่วงนี้ ESA Daily Sun Spot Number
     
  12. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วันที่ 13 ธันวาคม เวลา 15:30 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ เป็นมุมกว้างรอบทิศทาง โดยมีทิศทางหลักไปทางด้านตรงข้ามกับโลก เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งรังสี X-ray ออกมาสูงสุดในระดับ M1 ในขณะที่ปริมาณจุดดับได้เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 วัน จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงในแนววงโคจรของโลกในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 18 UT +/- 10 ชั่วโมงเป็นต้นไป ท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกที่จะสัมพันธ์กันได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 17 ธันวาคมครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - วิดิโอภาพถ่ายมุมกว้างของปฏิกริยาในครั้งนี้ CACTUS CME Details
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=777901591
    - ปริมาณจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number
    - ปริมาณรังสี X-ray ที่วัดได้จากนอกโลก http://services.swpc.noaa.gov/images/goes-xray-flux.gif
     
  13. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วันที่ 17 ธันวาคม เวลา 4:51 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติเป็นมุมกว้างในทิศทางตรงกับโลกทางทิศใต้ เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งรังสี X-ray ออกมาในระดับ M8.7 และเป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 19 ธันวาคม เวลา 15 UT +/- 7 ชั่วโมง ท่านที่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่จะสัมพันธ์กับเหตุการณ์ดังกล่าว โปรดติดตามสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่วันนื้ถึงวันที่ 20 ธันวาคม ครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานดวงอาทิตย์ SOLARHAM.com - CME Tracker
    - ภาพถ่ายที่ผิวดวงอาทิตย์ช่วงที่มีปริมาณรังสี X-ray ระดับสูง http://www.solarham.net/pictures/archive/dec17_2014_m8.7.jpg
    - วิดิโอภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์ มุมมองจากโลก CACTUS CME Details
    - ปริมาณรังสี X-ray ที่วัดได้จากนอกโลกในช่วงนี้ http://services.swpc.noaa.gov/images/goes-xray-flux.gif
    - ปริมาณจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number
     
  14. iamprateep

    iamprateep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    448
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,685
    น่าสงสารชาวญี่ปุ่นมาก

    ที่มา : รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2557 | เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com
    รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2557
    Posted on 19/12/2014
    เหตุการณ์วันนี้
    12:00 พายุหิมะถล่มตอนเหนือของญี่ปุ่น ตายแล้ว 11 ราย ภาพ BBC

    [​IMG]

    ส่วนผมกับความหนาวนี่ไม่ถูกกันเลย ... ขอให้ผ่านพ้นไปด้วยดีเทอญ ...
     
  15. iamprateep

    iamprateep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    448
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,685
    (ขออนุญาติลงข้อมูลครับท่าน Jingjoknayork และทุกท่าน พอดีตื่นมาเจอ)
    รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2557
    Posted on 20/12/2014
    ที่มา : รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2557 | เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com

    เหตุการณ์วันนี้

    07:30 เกิดสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุในบางโซนของโลก ในความแรงขนาด R3 จากการปะทุของดวงอาทิตย์เมื่อครู่นี้ SWPC-20141220-0700
    [​IMG]

    07:27 เกิดการปะทุขนาด X1.8 จากบริเวณจุดดับหมายเลข 2242 บนดวงอาทิตย์
    (ไม่ได้เกี่่ยวอะไรกับเมืองไทยหรือทุกประเทศในบริเวณเส้นศูนย์สูตร)
    [​IMG]

    ---------------------------------------------------------------------------

    ด้านล่างมาจาก SpaceWeather.com -- News and information about meteor showers, solar flares, auroras, and near-Earth asteroids (Saturday, Dec. 20, 2014)

    What's up in space

    Learn to photograph Northern Lights like a pro. Sign up for Peter Rosen's Aurora Photo Courses in Abisko National Park.

    Lapland tours

    X-FLARE: Big sunspot AR2242 erupted on Saturday, Dec. 20th @ 00:27 UT, producing an intense X1.8-class solar flare. Extreme UV radiation from the flare ionized Earth's upper atmosphere and blacked out HF radio communications over Australia and the South Pacific. Stay tuned for updates about a possible Earth-directed CME. Solar flare alerts: text, voice

    ---------------------------------------------------------------------------

    ... ^^ ...
     
  16. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 20 ธันวาคม เวลา 0:27 UT เกิดปฏิกริยา X-ray ระดับสูงที่ดวงอาทิตย์ระดับ X2 และส่งพลังงานออกมาแนวหลักทางทิศใต้ ไม่ตรงกับโลก จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางเข้ามาในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 23 ธันวาคม เวลา 0 UT +/- 10 ชั่วโมง เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นช่วงที่ปริมาณจุดดับมีค่าเฉลี่ยสูงในรอบสองสัปดาห์

    สำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง X-ray และภัยธรรมชาติบนโลก โดยใช้มุมมองจากดวงอาทิตย์นั้น โดยปกติความเข้มของรังสี X-ray จะทำให้โมเลกุลในชั้นบรรยากาศแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า จึงทำให้อากาศมีความไวต่อการแกว่งตัวของสนามไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่บนโลกที่ตรงกับดวงอาทิตย์ช่วงที่ X-ray ระดับสูงเกิดขึ้น ดังนั้น X-ray จะเป็นตัวเร่งปฏิกริยาในการก่อตัวของพายุฝน หรือคลื่นลมแรงได้ง่าย และในบางบริเวณบนโลกจะส่งผลให้เกิด Heat wave หรือ Cold wave ในช่วงวันดังกล่าว ส่วนการแกว่งตัวของสนามไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย เช่นจากการเหนี่ยวนำมาจากสนามไฟฟ้าจากนอกโลก การกระแสไหลวนของลมรอบโลก

    ส่วนความรุนแรงของสภาพอากาศในช่วงดังกล่าวนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยเสริมอีก เช่น ความรุนแรงของพายุสุริยะ และทิศทางของพลังงานของพายุสุริยะว่าตรงกับโลกหรือไม่

    ท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงบนโลก ในสามารถใช้เหตุการณ์นี้เป็นกรณีศึกษาหนึ่งได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 24 ธันวาคมครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
    - วิดิโอภาพถ่ายที่ผิวดวงอาทิตย์ช่วงที่มีปฏิกริยาสุง
    http://youtu.be/CEqrR4oE98U
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/…/StreamByDataIdServlet…
    - ภาพถ่ายมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์ มุมมองจากโลก CACTUS CME Details
    - ปริมาณ X-ray ที่วัดได้จากนอกโลกในช่วงนี้ http://services.swpc.noaa.gov/images/goes-xray-flux.gif
     
  17. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    คือผมไม่ใช่ ผู้ริเริ่มน่ะครับ เป็น อ.Falkman

    และเชื่อว่า หากเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนสมาชิก ตรวจสอบแล้ว ก็นำมาลงได้เลยครับ

    ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ
     
  18. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 26-28 ธันวาคม นี้จะเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ที่ควรติดตาม คือมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัส เป็นเส้นตรง โดยในวันที่ 29 ธันวาคม นั้น ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์ เรียงตัวกันเป็นแนวตัวฉาก

    ในการสังเุกตการณ์ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยต่างๆในระบบสุริยะนั้น ให้สังเกตปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นหลัก เช่น พายุสริยะ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณจุดดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน ในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และปฏิกริยาใต้ผิวโลกครับ
     
  19. iamprateep

    iamprateep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    448
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,685
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
    ผมจะจับตาคืนวันที่ 27 ธ.ค. 57 เอาใว้เพื่อเฝ้าระวัง! โดยเฉพาะแถวๆชายทะเล <<
    ช่วงนี้ที่ชลบุรีหนาวมากทีเดียว นอนไม่ค่อยจะหลับครับ
    สำหรับผมคืนวันที่ 27 ธ.ค. นั้น ผมคงกำลังเตรียมงานผ้าป่า ฯลฯ กับทีมงานทำบายศรีอยู่
    รุ่งเช้า 28 ธ.ค. จะมีงานบุญย้ายหลักชัย ฯลฯ ที่ จ.ปราจีนฯ ... อนุโมทนาบุญกันนะครับ ... ^^ ...

    ปล. ร่วมติดตามข่าวสาร และวิเคราะห์ข้อมูลทางดาราศาสตร์ที่สืบเนื่องกับปรากฏการณ์ทางโลกกันต่อไป ด้วยสติ เพื่อความไม่ประมาท ... ขอบคุงท่าน Jingjoknayork และทุกๆท่านหลายๆ ...
     
  20. iamprateep

    iamprateep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    448
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,685
    รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 ธันวาคม 2557
    Posted on 22/12/2014
    เหตุการณ์วันนี้

    ที่มา : รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 ธันวาคม 2557 | เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com

    - 10:00 เกิดพายุแม่เหล็กโลกระดับ G2 ในเวลานี้ ผลจากการปะทุขนาด X1.8 จากบริเวณจุดดับ

    [​IMG]


    ... ^^ ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...