อริยสัจน์ ๔ คืออะไร ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปอกระจาย, 8 พฤษภาคม 2011.

  1. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ในส่วนที่ผมพอทำความเข้าใจภาพรวมได้จากการฟังพระท่านเทศน์เรื่องอริยสัจ เป็นดังนี้ครับ

    ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย) เป็นสิ่งแรกที่นักปฏิบัติที่ดีต้องพิจารณาให้เข้าใจทุกครั้งที่เริ่มการปฏิบัติธรรม เพราะถ้าเห็นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ไม่ชัด เราก็จะไม่เข็ดในการแส่หาทุกข์ ใจก็จะแส่อยากหาทุกข์ไปเรื่อย คนที่ใจยังอยากแส่หาทุกข์ก็ย่อมไม่มีกำลังใจจริงที่จะมาตั้งใจทำความดับทุกข์(นิโรธ) ในที่สุดก็ทำให้การปฏิบัติตามวิธีดับทุกข์(มรรคแปดหรือรวบเป็นศีล สมาธิ ปัญญา) เกิดความไม่จริงจัง ไม่สามารถเกิดเป็นผลสำเร็จได้ สรุปว่าการปฏิบัติธรรมที่ไม่บรรลุผลเพราะเราขาดการใคร่ครวญในอริยสัจเป็นสำคัญนั่นเอง

    พูดง่ายๆว่า ถ้าเรายังไม่เห็นว่าทุกข์ภัยจากการเกิดในโลกมนุษย์เป็นปัญหาใหญ่ เป็นเรื่องคอขาดบาดตายของชีวิตเราอย่างจริงจัง(ไม่เพียรพิจารณาให้เห็นทุกข์ ให้เห็นสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์ จนรู้สึกเข็ดในทุกข์) เราก็จะขาดกำลังใจในการเพียรสร้างความดับทุกข์ โดยเพียรเดินจิตตามวิธีการดับทุกข์ (เพียรสร้างนิโรธให้เกิดแก่ใจ เพียรเดินจิตตามแนวมรรคแปดอันมีศีล สมาธิ ปัญญา)
    และเมื่อไม่เพียรสร้างนิโรธและมรรค เราก็จะมีปัญญาก็จะมีไม่พอที่จะเห็นทุกข์และสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ให้ชัดขึ้นจนเข็ดจริงๆ ส่งผลมาทำให้นิโรธกับมรรคอ่อนแอไปด้วยผลกระทบเป็นลูกโซ่แบบนี้
     
  2. คนบ้านสะแก

    คนบ้านสะแก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +432
    ออกความเห็นนะครับ ลองพิจารณาดู
    ตามความเข้าใจของผม เกี่ยวกับอริยสัจ 4

    1. ทุกข์ ความไม่สบายกายใจ
    พระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า เมื่อเกิดทุกข์ จงทำความรู้จักกับมัน ยอมรับมัน
    แทนที่จะหลีกเลี่ยง บ่ายเบียง หรือกลบเกลื่อนมัน

    2. สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์
    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า สาเหตุแห่งทุกข์ เกิดจากการถือมั่นของจิต
    จงมีสติ (ความรู้สึกตัว ) ปล่อยวาง ซึงหมายถึง การนิ่งสงบอยู่กับมัน

    3. นิโรธ หลักการในการดับทุกข์
    หลักการก็คือ การหยุด ความยึดมั่นถือมั่น การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
    ซึ่งทำให้เกิดทุกข์

    4. มรรค วิธีการดับทุกข์
    วิธีการก็คือ การดำเนินชีวิตที่ ทำให้เราลดการยึดมั่นถือมั่น
    ที่เราตัวเองเป็นศูนย์กลาง

    โดยความคิดส่วนตัวผม สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ เราต้องทำความเข้าใจกับ
    คำศัพท์ ที่เราใช้ ผมเองก็เรียนเรื่องอริยสัจสี่ มาตั้งแต่ประถม แต่เพิ่งจะมา
    เข้าใจความหมายก็ อายุ ห้าสิบ

    เพราะคำศัพท์ โดยเฉพาะคำบาลี ที่เราใช้ทับศัพท์นั้น
    บางทีเรารู้คำแปลว่า แปลว่าอะไร แต่เราจะเข้าใจในความหมายนั้นแค่ไหน
    ซึ่งมีทั้งเข้าใจ ตื้นๆ หรือเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

    และที่ร้ายกว่านั้น คือเรารู้คำแปล แต่เข้าใจความหมายผิด
    เพราะถูกสอนให้ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง

    อยากให้มีการสอนธรรมะ ด้วยภาษาที่ง่ายๆ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วย
    ในการดำเนินชีวิตได้จริง คนจะได้มีความทุกข์น้อยลง

    นั่นคือสาเหตุ ที่ผมไม่เข้าวัด เพราะฟังภาษาวัดแล้วไม่เข้าใจความหมาย

    ขอโทษเจ้าของกระทู้ ด้วยนะครับที่ใช้พื้นที่ในการ
    ระบาย ฟาม ในใจ 5555
     
  3. lightmagician

    lightmagician Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +38
    การปติบัติเพื่อจะรู้จักความจริงทั้งสี่ประการนี้ด้วยการฝึกสติ สติปัฐฐาน 4
    เมื่อกำหนดรู้แล้ว ก้จะเบื่อหน่าย เมื่อเบอื่หน่ายก้จะคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดก้จะหลุดพ้น
    การฝึกสติจะทำไห้เกิดการปรับทิฐิหรือความเห็นให้ตรงทางมากขึ้นเรื่อยๆ
    มรรคเป็นหนทางเพื่อการดับทุข แบ่งออกเป้นสามส่วนด้วยกัน ส่วนของปัญญา ส่วนของสมาทิ และส่วนของศิล
    มรรค แสดงโดยพระพุทธเจ้าอย่างละเอียดและดีเยี่ยมแล้ว ลองหาศึกษาและปติบัติดู คงไม่มีใครบอกว่าตรัสรู้ มรรค และอริยสัจเอง

    การศึกษาและปติบัติที่ดีจะทำไห้กำจัดทุขและเข้าสุ่ความดับทุขได้
    อนุโมทนาสาธุ
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พระพุทธองค์ ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    โดยการปฏิบัติ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือเรียกย่อๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔

    จริงๆทั้งหมดที่กล่าวๆกันมาข้างบนนั้น ก็คือ ธรรมะปฏิบัติเรื่องเดียวกัน เป็นทางเดินของจิตเพื่อความพ้นทุกข์ ซึ่งจะศึกษาเทียบเคียงการปฏิบัติได้กับมหาสติปัฏฐานสูตร ทั้งหมดมีอธิบายไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งสิ้น

    มหาสติปัฏฐานสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔

    [๒๙๔]
    ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
    นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ


    ก็สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
    ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
    ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

    สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
    ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

    สัมมาวาจา เป็นไฉน
    การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
    งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ

    สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
    การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
    งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

    สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ
    อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

    สัมมาวายามะ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
    เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
    เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

    สัมมาสติ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
    บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

    ^
    อริยสัจ ๔ ก็คือ สัมมาทิฐิ ความรู้ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    มรรค คือ อริยมรรค ๘
    สัมมาทิฐิ คือ การรู้อริยสัจ ๔ เป็นหนึ่งใน องค์มรรค ๘
    สัมมาสติ คือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เป็นหนึ่งใน องค์มรรค ๘

    จึงกล่าวในข้างต้นว่า ทั้งหมดคือธรรมะปฏิบัติทางจิตเรื่องเดียวกัน
    เป็นทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อบรรลุพระนิพพาน

    (smile)
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อริยมรรค ๘ ย่นย่อลงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้

    ปัญญา
    ๑.สัมมาทิฐิ -รู้อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
    ๒.สัมมาสังกัปปะ -ดำริในการออกจากกาม,ไม่พยาบาท,ไม่เบียดเบียน

    ศีล
    ๓.สัมมาวาจา
    ๔.สัมมากัมมันตะ
    ๕.สัมมาอาชีวะ

    สมาธิ
    ๖.สัมมาวายามะ - เพียรประคองจิต...ฯลฯ...
    ๗.สัมมาสติ - สติปัฏฐาน ๔
    ๘.สัมมาสมาธิ - เจริญฌาน ๔

    ดังนั้นถ้ากล่าวว่า ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ ก็แสดงว่าต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ อยู่
    และถ้ากล่าวว่า ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ก็แสดงว่าปฏิบัติอริยมรรค ๘ อยู่นั่นเอง

    (smile)
     
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    โปรดดูวิธีปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ในมหาสติปัฏฐานสูตร
    ขั้นตอนเริ่มแรกของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ กล่าวไว้ดังนี้
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ...ฯลฯ...

    และดูคำจำกัดความของสัมมาสมาธิเป็นไฉน กับสัมมาสติเป็นไฉน ดังนี้

    --สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ...คือ การเจริญฌาน ๔ นั่นเอง...
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ...บรรลุจตุตถฌาน ...ฯลฯ...
    --สัมมาสติ เป็นไฉน...คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง...
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ...ฯลฯ...


    ขั้นตอนเริ่มแรกของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ

    ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติ สมาธิ (นั่งสมาธิ) เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
    ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ (สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ) จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
    ก็ย่อมได้ศึกษารู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง
    เกิดญาณรู้ตามความเป็นจริง (ปัญญา) คือ รู้อริยสัจ ๔ (สัมมาทิฐิ)
    และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางความยึดถืออารมณ์ต่างๆออกไปจากจิตได้ตามลำดับ (สัมมาสังกัปปะ)

    อนึ่ง ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
    ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล)ด้วย

    ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ดังนั้นจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง
    เป็นธรรมะปฏิบัติทางจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์

    (smile)
     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อาจมีข้อสงสัยว่า แล้วจะมีความรู้ในทุกข์ สมทุัย นิโรธ มรรค อย่างไร?
    ขออรรถาธิบายดังนี้ :

    ตามที่กล่าวข้างต้นว่า ต้องเริ่มต้นด้วยการนั่งสมาธินั้น
    อันนี้เราว่ากันจากขั้นพื้นฐานนะ

    องค์แห่งสมาธิ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    คือ ต้องมีสติระลึกรู้ที่ฐาน (สัมมาสติ)
    ประคองจิตให้อยู่ที่ฐาน ไม่แวบออกไปหาอารมณ์ (สัะมมาวายามะ)
    ถ้าประคองสำเร็จ จิตก็สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ (สัมมาสมาธิ)

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว
    จิตก็จะเกิดปัญญา สัมมาทิฐิ คือ เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้

    เห็นว่าการที่จิตแลบออกจากฐานที่ตั้งสติ ไปยึดถืออารมณ์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์..สมุทัย
    จิตเมื่อแลบออกไปหาอารมณ์แล้ว ที่จะไม่ทุกข์เป็นไม่มี

    เห็นอาการกระสับกระส่ายของจิตเพราะเข้าไปยึดถืออารมณ์ เป็นทุกข์

    เห็นว่าการดึงจิตกลับเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติ (การปฏิบัติสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘)
    ทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่กระสับกระส่ายไปตามอารมณ์ เป็นมรรค

    เห็นว่าการที่จิตมีพลังปล่อยวางอารมณ์ออกไปได้
    ทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่กระสับกระส่ายไปตามอารมณ์ เป็นนิโรธ

    (smile) ขออนุโมทนา ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2011
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนา สาธุฯครับ

    เมื่อไม่รู้จักกายในกาย(อนาปานสติ) ก็จะไม่รู้ว่าเวทนานั้นว่าเป็นของใคร

    เมื่อไม่รู้ว่าเวทนานั้นว่าเป็นของใคร ก็จะไม่รู้จักจิตที่ปล่อยวางเวทนานั้นได้

    เมื่อไม่รู้จักจิตที่ปล่อยวางเวทนานั้นได้ ก็จะไม่ได้สัมผัสกับธรรมอันเอกที่ผุดขึ้นมา(ธรรมในธรรม)..

    เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
     
  9. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การ รู้ตัว ยอมรับ และเตือนตน ในอาการปัจจุบันว่า มีอาการเป็นทุกข์ ไม่สบายตัว ไม่สบายใจ เช่น ตอนนี้ให้ถามตัวเองว่า มีอาการทุกข์ใจ หรือ สุขใจ หรือไม่ ถามตัวเองบ่อยๆ ในปัจจุบันขณะนั้นแหละ
    ทีนี้ บางคนบอกว่า ไม่เห็นทุกข์อะไรเลย สบายอกสบายใจ แบบนี้ก็ถือว่า ทุกข์ที่เราเห็น ยังเป็นทุกข์หยาบๆ
    และ เรายังไม่เห็นทุกข์ชัดเจน เราจึงควรค่อยๆ ศึกษาว่า สภาวะทุกข์ที่ละเอียดขึ้นไปนั้น แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร

    นี่เรื่องของกองทุกข์ โดย เราจะต้องฝึก มหาสติปัฎฐาน 4 ให้ดี เพื่อที่เราจะได้สังเกตุเห็นกองทุกข์ ที่อยู่ในตัวเรามากขึ้น

    ลักษณะของกองทุกข์ ที่อยู่ในตัวเรา ที่บางคนอาจจะบอกว่า ไม่เห็นทุกข์ใจอะไร ก็ให้เราพยายามตั้งใจดูให้ดีว่า ลองไม่ขยับตัวไม่ขยับอะไรเลยซิ เอานิ่งๆ ให้นิ่งที่สุด ดูซิว่า มันตั้งอยู่ได้นานเท่าไร

    ถ้าไม่นาน นั่นก็หมายความว่า แท้จริงเรากอดกองทุกข์เอาไว้ แต่ว่า เราโอนอ่อนผ่อนตามมัน เราจึงไม่เห็นสภาพทุกข์ ที่ละเอียด เพราะเราลืมมองตามความจริงว่า แท้จริง เราต้องปรนเปรอ จิตใจ ร่างกายตลอด มันจึงไม่มีทุกข์ แต่ลองไม่ปรนเปรอมันนิดเดียว มันก็แสดงอาการ ทุกข์ ให้เราเห็น

    นี่ให้กำหนดดู บ่อยๆ แล้วเราจะเห็นทุกข์ละเอียดขึ้น ไปจนถึง นามธรรม แล้วเราจึงค่อยๆ วิจัยธรรม ให้เห็น สมุทัย ที่โยงใย กองทุกข์นั้น ให้เห็นเหตุที่แท้จริง

    ก็ขอแนะนำให้ กำหนดดูตัวทุกข์ ให้เป็นเสียก่อน ให้รู้ตัว ว่าอะไรที่เป็น นิสัย ที่เป็นทุกข์ของเรา
    เมื่อรู้แล้ว หาทาง ละทิ้งมันไป อย่าให้มันกำเริบได้อีก โดยตั้งคำถามว่า ทำไมจะต้องมีอาการ ทุกข์ นี้ปรากฎ
    สิ่งต่างๆ มันเกิดกับใจเรา ทำไมมันต้องทุกข์ เห็นคนตายแล้ว สุขได้ไหม
    เมื่อเจอสิ่งที่ผิด แล้ว สุขได้ไหม แต่ทำไมมันต้องทุกข์ ใครไปกำหนดกฎเกณฑ์มัน

    นั่นแหละ แล้วเราจะเห็น สภาพทุกข์ ที่แท้จริงของตนเอง เรียกว่า อริยสัจข้อที่ 1
     
  11. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117


    การปฏิบัิติ ศีล สมาธิ ปัญญา ของคุณ

    ใช่ตามอริยะมรรคมี องค์ 8 แล้วครับ

    1. ที่ว่่าปฏิบัติในศึลนั้น คุณปฏิบัติครบตามนี้ไหม?

    - ไม่ทำลายศึีลด้วยตัวเอง

    - ไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำลายศีล

    - ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นทำลายศีลแล้ว

    ลองตรวจสอบดูดีๆนะครับ ถ้าทำได้ครบคุณจะได้รับความสบายใจจากการที่คุณ

    รักษาศีลได้อย่างไม่บกพร่อง จะเกิดธรรมะปีติ ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย

    2. ที่ว่าคุณปฏิบัติในสมาธินั้น คุณจะทำสมาธิแบบไหนอยู่ก็ตาม คุณได้สมาธิ

    ในระหว่างปฏิบัติประมาณไหนก็ตาม คุณจะต้องไม่ทิ้งสมาธิที่ได้นั้น คุณต้อง

    พยามยามประคองสมาธิที่ได้นั้นไว้ทุกอิริยาบถ ไม่ใช่พอเลิกทำสมาธิแล้วก็ทิ้ง

    ไป พอจะปฏิบัติใหม่ก็ตั้งใหม่ อย่างนี้จะยังไกลจากปัญญา ถ้าคุณนั่งสมาธิอยู่

    เวลาจะไปทำอย่างอื่น คุณต้องประคองอารมณ์นั้นไว้อย่าให้สลายตัว พยายาม

    ประคองสติ ประคองสมาธิ ให้อยู่ทุกอิริยาบทไปเรื่อยๆ แรกๆมันก็จะอยู่ได้ช่วง

    สั้นๆ แล้วก็สลายตัวไป ถ้าทำบ่อยๆมันจะอยู่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆเอง จะมีสติอยู่ทุก

    อิริยาบท จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน คู้เหยียดเคลื่อนไหวมันจะมีสติรู้ คุณไม่

    ต้องทำอะไร ให้มีสติอยู่อย่างนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆๆๆ แล้วอารมณ์อะไรเกิดขึ้น

    คุณก็จะเห็น อารมณ์พอใจ ไม่พอใจ เป็นสุข เป็นทุกข์ ตั้งสติเห็นไปเรื่อยๆ

    อย่างต่อเนื่องอีก คุณก็จะเห็นว่า ทุกอย่างมันเกิดขึ้น จะเ้ป็นอารมณ์สุขโสมนัส

    ทุกขโทมนัส อารมณ์อุเบกขา ก็ตาม มันจะเกิดขึ้น ดำเนินไปคือตั้งอยู่ระยะหนึ่ง

    แล้วมันก็จะสลายไป แล้วมันก็เกิดใหม่อีกตามเหตุตามปัจจัย ตั้งอยู่ตามเหตุตาม

    ปัจจัยระยะหนึ่ง แล้วก็สลายไป เป็นอยู่อย่างนี้ ขอเพียงแต่คุณมีสติที่ตั้งมั่นรู้อยู่

    กับปัจจุบันไปเรื่อยๆๆ คุณก็จะเห็นอริยะสัจ คือทุกข์ เหตุของความทุกข์นั้น และ

    ถ้าเหตุแห่งทุกข์นั้นดับ ทุกข์ก็ดับ แล้วคุณก็จะรู้ว่า การมีสติรู้อยู่กับปัจจุบันนี้

    อย่างต่อเนื่องเรื่อยๆไปนั่นแหละ คือ มรรคหรือทาง ที่จะทำให้คุณพ้นทุกข์ได้ที

    ละเล็กละน้อยไปตามลำดับๆ จนกระทั่ง ความมั่นใจจะเกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเรา

    บำเพ็ญอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เราสามารถถอนตัณหาขึ้นกระทั่งรากได้แน่นอน ทำ

    ไปๆมัีนจะเกิดความมั่นใจในการปฏิบัิติขึ้นมาเอง ลองทำจริงๆจังๆดูสักตั้งนะครับ

    แล้วการเห็นธรรมก็จะปรากฏแก่คุณ จากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องนี้



    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ

    ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ

    วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง

    นิโรธะธัมมันติ ฯ


    ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรม

    อย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณ

    ทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่

    พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความ

    เป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้น

    เหตุปัจจัย


    มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า สิ่ง

    ใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับ

    ไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย


    ( สิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ถ้าเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับ)


    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมบูรณ์)
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.74331/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 พฤษภาคม 2011
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เอกวีร์*, ธรรมะสวนัง , ธรรมภูติ(อายิโนะทาการะ) </TD></TR></TBODY></TABLE>


    วู้ วู้ "กบฏศาสนา" วันนี้ ถอดถอน อภิธรรมปิฏก ได้กี่บทแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2011
  13. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ความทุกข์เกิดได้ทั้ง รูป และ นาม ดับรูปและนามได้ทุกข์จะไม่เกิด (ดับที่ว่านี้ใช้ ปัญญาดับ อย่างใช้ ขันธ์ 5ดับ)
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถึงจะทราบจากใครก็ตามในตอนนี้
    ก็ยังเป็นความจริงไม่ได้ครับ
    ถึงจะรู้จักอริยสัจ ก็รู้ได้แต่เพียงความจดความจำเท่านั้น

    เร่งปฏิบัติความเพียรด้วย
    ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
    จนธรรมเหล่านี้ปรากฎกับใจเราแล้ว

    เมื่อนั้นจิตเราจะหมุนตัวเข้าสู่วงอริยสัจ
    แล้วอริยสัจ จะแสดงตัวขึ้นประจักษ์กับใจเราขึ้นมา
    โดยไม่ต้องรอถามใคร ในเวลานั้น

    เราจะรู้เองว่าอ๋อพิจารณาเช่นนี้หรือถึงเห็นทุกข์
    สมุทัยที่ท่านว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์รู้ได้อย่างนี้เหรอ
    แล้วมรรคที่ใช้ในการดับสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์
    และใช้ดับทุกข์ใช้อย่างนี้เหรอ
    แล้วความดับแห่งสมุทัย และทุกข์ อันเป็นนิโรธดับอย่างนี้เหรอ

    สร้างเหตุของการปฏิบัติให้ถึงพร้อม
    ผลจะปรากฎขึ้นมาเอง จากเหตุที่ถึงพร้อมนั่นแหละครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...