หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. Jokky

    Jokky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +154
    อ้างอิง:ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ xx-x บริจาคเงินสร้างภูดานไหทุกกิจการงานทั้งหมด จำนวน 30,000.00 บาท โอนเงินผ่านธนาคารกรุงไทย สาขากุฉินารายณ์ วันที่ 3 เม.ย. 2555 เวลา 13.46 น.ชื่อบัญชี นางบุญชม ยางธิสาร อนุโมทนาสาธุกับบุญของท่านในทุกประการด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2012
  2. Jokky

    Jokky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +154
    -โมทนาในบุญกุศลที่ท่านดร.นนต์ได้ทำแล้วทุกประการครับ..... -ขออนุโมทนาบุญในการไปบำเพ็ญกับพ่อแม่ครูอาจารย์ของท่านพิเชฐและครอบครัวครับในวาระจะถึงนี้..........
     
  3. wanchai99

    wanchai99 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้กระทำในทุกเรื่องด้วยครับ
     
  4. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    โลกเขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่ จิตใจจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน
    แต่ธรรมเอาสุขทางใจเป็นใหญ่ เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง

    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
     
  5. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2012
  6. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    สงกรานต์
    [​IMG]

    สงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน ยิ่งไปกว่านั้นยังในการเล่นน้ำบางสถานที่ยังมุ่งเน้นในเรื่องเพศ ทำให้ความงดงามของประเพณีนี้สูญหายไปตามกาลเวลา
    พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
    การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

    วันในเทศกาลสงกรานต์
    ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์"<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP> วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"

    [​IMG]


    การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP> จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก (และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่าอัตตาเถลิงศก) ทุก ๆ ปี ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 (วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ตามปฏิทินเกรกอเรียน) ซึ่งเป็นวันเถลิงศกในปีนั้นมาเรื่อย ๆ จนถึงวันเถลิงศกของปีที่ต้องการ โดยมีวิธีการคือ
    • ตั้งเกณฑ์ 292207 (เวลาเป็นกัมมัชในหนึ่งปี โดยที่ 1 กัมมัช = 108 วินาที และ 800 กัมมัช = 1 วัน) ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์เอา 1 บวก เป็นหรคุณเถลิงศก
    • เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ กัมมัชพลเถลิงศก (หมายถึงเวลาที่เหลือจนกระทั่งสิ้นวันเถลิงศก หน่วยเป็นกัมมัช)
    เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็๋น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน(Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร

    <DL><DD><CODE>JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) +373)/800] + 1954167.5</CODE></DD></DL>สำหรับวันมหาสงกรานต์ สามารถประมาณได้จากหรคุณเถลิงศก โดยให้ถอยหรคุณเถลิงศกไป 2 วัน 3 ชั่วโมง 57 นาที 36 วินาที (2.165 วัน หรือ 1732 กัมมัช) หรืออาจจะคำนวณตำแหน่งที่สังเกตได้จริง (สมผุส) ของดวงอาทิตย์ว่ายกเข้าสู่ราศีเมษ ณ วันเวลาใด ทำให้ได้สูตรหาหรคุณจูเลียนของวันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) เป็น
    <DL><DD><CODE>JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5</CODE></DD></DL>จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน<SUP class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</SUP> (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง

    ตารางวันสงกรานต์
    จากหลักการที่แสดงไว้ข้างต้น ทำให้สามารถคำนวณวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกในแต่ละปีได้ ตารางต่อไปนี้เป็นวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกของปีนี้ และปีก่อนหน้าห้าปี และปีถัดไปอีกห้าปี สังเกตว่าบางปีจะมีเทศกาลสงกรานต์ตามที่คำนวณได้อยู่ทั้งหมดสี่วัน
    <TABLE style="TEXT-ALIGN: center" class=wikitable><CAPTION>ตารางแสดงวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกในแต่ละปี<SUP id=cite_ref-1 class=reference>[2]</SUP></CAPTION><TBODY><TR><TH rowSpan=3 width=50>พ.ศ.</TH><TH rowSpan=3 width=50>จ.ศ.</TH><TH colSpan=5>วันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ)</TH><TH colSpan=5>วันเถลิงศก</TH></TR><TR><TH rowSpan=2 width=50>วันที่</TH><TH rowSpan=2 width=50>เดือน</TH><TH width=150 colSpan=3>เวลา</TH><TH rowSpan=2 width=50>วันที่</TH><TH rowSpan=2 width=50>เดือน</TH><TH width=150 colSpan=3>เวลา</TH></TR><TR><TH width=50>นาฬิกา</TH><TH width=50>นาที</TH><TH width=50>วินาที</TH><TH width=50>นาฬิกา</TH><TH width=50>นาที</TH><TH width=50>วินาที</TH></TR><TR><TD>2550</TD><TD>1369</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>12</TD><TD>43</TD><TD>12</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>16</TD><TD>40</TD><TD>48</TD></TR><TR><TD>2551</TD><TD>1370</TD><TD>13</TD><TD>เมษายน</TD><TD>18</TD><TD>55</TD><TD>48</TD><TD>15</TD><TD>เมษายน</TD><TD>22</TD><TD>53</TD><TD>24</TD></TR><TR><TD>2552</TD><TD>1371</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>01</TD><TD>08</TD><TD>24</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>05</TD><TD>06</TD><TD>00</TD></TR><TR><TD>2553</TD><TD>1372</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>07</TD><TD>21</TD><TD>00</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>11</TD><TD>18</TD><TD>36</TD></TR><TR><TD>2554</TD><TD>1373</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>13</TD><TD>33</TD><TD>36</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>17</TD><TD>31</TD><TD>12</TD></TR><TR><TH>2555</TH><TH>1374</TH><TH>13</TH><TH>เมษายน</TH><TH>19</TH><TH>46</TH><TH>12</TH><TH>15</TH><TH>เมษายน</TH><TH>23</TH><TH>43</TH><TH>48</TH></TR><TR><TD>2556</TD><TD>1375</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>01</TD><TD>58</TD><TD>48</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>05</TD><TD>56</TD><TD>24</TD></TR><TR><TD>2557</TD><TD>1376</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>08</TD><TD>11</TD><TD>24</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>12</TD><TD>09</TD><TD>00</TD></TR><TR><TD>2558</TD><TD>1377</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>14</TD><TD>24</TD><TD>00</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>18</TD><TD>21</TD><TD>36</TD></TR><TR><TD>2559</TD><TD>1378</TD><TD>13</TD><TD>เมษายน</TD><TD>20</TD><TD>36</TD><TD>36</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>00</TD><TD>34</TD><TD>12</TD></TR><TR><TD>2560</TD><TD>1379</TD><TD>14</TD><TD>เมษายน</TD><TD>02</TD><TD>49</TD><TD>12</TD><TD>16</TD><TD>เมษายน</TD><TD>06</TD><TD>46</TD><TD>48</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ตำนานนางสงกรานต์
    ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP> กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
    ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
    ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
    ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ


    จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
    1. ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
    2. ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
    3. ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต (เลือด) พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังพระยาวราหะ (หมู)
    4. ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มัณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
    5. ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังพระยาคชสาร (ช้าง)
    6. ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
    7. ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
    สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า
    1. วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
    2. วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
    3. วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
    4. วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
    5. วันพฤหัส ชื่อ นางกัญญาเทพ
    6. วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
    7. วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2012
  7. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    [​IMG]
    กิจกรรมในวันสงกรานต์
    • การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
    [​IMG][​IMG]

    การสรงน้ำพระ


    • การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
    • การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
    • บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
    • การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
    • การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
    • การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
    • การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด
    [​IMG]

    [แก้] สงกรานต์ในแต่ละท้องที่


    แม้สงกรานต์จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีนแต่สงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในสายตาชาวโลกคือสงกรานต์ในประเทศไทย จึงทำให้เทศกาลสงกรานต์ของไทยติดอันดับเทศกาลที่มีสีสันที่สุด 1 ใน 5 ของเอเชีย<SUP id=cite_ref-3 class=reference>[4]</SUP>
    ส่วนในต่างประเทศ ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจี่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน <SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP>โดยเรียกว่างานเทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย<SUP id=cite_ref-5 class=reference>[6]</SUP>
    [แก้] รูปแบบทั่วไป

    • สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ"ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่"วันสังขารล่อง"(13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา"หรือ"วันเน่า"(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี "วันพญาวัน"หรือ"วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย"วันปากปี"(16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ และ"วันปากเดือน"(17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา
    • สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" บางพื้นที่จะเรียกว่า “เนา”และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
    • สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น"วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน"วันว่าง"(14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น"วันรับเจ้าเมืองใหม่"(15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
    • สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" วันที่ 14 เป็น"วันกลาง"หรือ"วันเนา" วันที่ 15 เป็นวัน"วันเถลิงศก" ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
    [แก้] รูปแบบที่แตกต่าง


    • สงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อ.เมือง และ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
    • สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำเกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จ.ชลบุรี ภายในงานมีกิจกรรมเช่น พิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำดำหัว การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งขันเรือกระทะ เรือชักกะเย่อ มวยตับจาก ปาลูกดอก แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การแสดงดนตรี และประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ
    • สงกรานต์นางดาน หรือเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลสงกรานต์เมืองนครนี้ จะมีมหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ นั่งสามล้มโบราณชมเมืองเก่า พิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 6 แหล่ง จตุคามรุ่นสรงน้ำ 50 เป็นต้น
    • สงกรานต์ปาร์ตี้โฟม มีพื้นที่ปาร์ตี้โฟมที่ปิดล้อมด้วยพลาสติกใส
    • สงกรานต์ล่องเรือสาดน้ำ เช่นที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน นักท่องเที่ยวสามารถพบความสนุกสนานจากการนั่งเรือหางยาวสาดน้ำสงกรานต์กับชุมชนริมสองฟากฝั่งคลอง และยังได้ชมสวนกล้วยไม้ ทำบุญให้อาหารปลา หรือแวะซื้อขนมหวาน ผลไม้จากแพ และมีไกด์คอยบรรยายและอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง
    • หาดใหญ่ มิดไนท์ สงกรานต์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดกิจกรรมสงกรานต์และการสาดน้ำในยามค่ำคืน ณ ถนนเสน่หานุสรณ์ และถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. โดยเทศกาลนี้ได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
    [แก้] พื้นที่เด่นในการจัดงานสงกรานต์ในประเทศไทย


    [แก้] ภาคเหนือ

    [แก้] ภาคอีสาน


    [แก้] ภาคกลาง


    [แก้] ภาคใต้


    แม่งานใหญ่ของงานเทศกาลตามพื้นที่เหล่านี้ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และทางจังหวัด
    [​IMG]
     
  8. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    [​IMG]
    [​IMG]
    โลหิตธาตุของพระโมคคัลลานเถระ : เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์
    [FONT=Verdana, sans-serif]พระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]คู่กับ[/FONT][FONT=Verdana, sans-serif]พระสารีบุตร[/FONT][FONT=Verdana, sans-serif] ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา[/FONT]​
    [​IMG]
    พระธาตุส่วนศรีษะของพระสารีบุตรเถระ : พระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เป็นเลิศด้านสติปัญญา
    พระสารีบุตร (สันสกฤต: Sariputra) หรือพระสารีบุตต์ (บาลี: Sariputta) เป็นชื่อของพระภิกษุรูปหนึ่งในพุทธศาสนา
    มีชีวิตอยู่ในพุทธกาลโดยเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระสงฆ์ทั้งปวงในด้านสติปัญญา
    นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย
    จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1_P1140575.jpg
      1_P1140575.jpg
      ขนาดไฟล์:
      184 KB
      เปิดดู:
      10,430
    • 1_P1140576.jpg
      1_P1140576.jpg
      ขนาดไฟล์:
      215.8 KB
      เปิดดู:
      11,054
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  9. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    กราบเรียน นรธ.และญาติธรรมที่เคารพ,
    เรื่อง เรียนเชิญร่วมสรงน้ำองค์พระในภูดานไหและร่วมบุญกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์

    ระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2555

    เนื่องในวาระเทศกาลวันหยุดสงกรานต์ปี 55 นี้ เหล่านักรบธรรมแห่งภูดานไห จะได้เดินทางไปสรงน้ำ...
    องค์พระในพุทธสถานภูดานไห โดยจักทยอยเดินทางมาปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันที่ 7-16 เม.ย. 55

    จึงขอเชิญชวนท่านมาร่วมบำเพ็ญกุศลในวาระโอกาสนี้

    จากนั้น วันที่ 16-17-18 เม.ย. 55 องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ได้รับอาราธนานิมนต์ เพื่อร่วมพิธีทางสงฆ์ 2 พิธีดังนี้
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปทรงยืน ปางประทานพรขนาดใหญ่ ที่วัดหลวงพิสัยเจติยาราม อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
    โดยมีองค์พระอุปัชฌาจารย์ขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดและเป็นเจ้าคณะอำเภอฯ นิมนต์ครับ

    ภาพองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ถวายผ้าไตรจีวรพระอุปัชฌาจารย์เมื่อ 24 ก.ค.54
    [​IMG]
    พระพุทธนาคาศรีสุทโธ
    [​IMG]
    พระอุปัชฌาจารย์กับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์
    [​IMG]
    คุณแม่ชม เป็นตัวแทนน้อมถวายผ้าไตรจีวรและเครื่องไทยทาน
    [​IMG]
    พระพุทธปางประทานพร ที่พึ่งสร้างเสร็จ
    [​IMG]
    ด้านหน้าวัดหลวงฯ

    2. พิธีสร้างวัดป่าสายพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว แห่งใหม่ใน อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
    โดยมีหลวงตาจ่า (ทราบมาว่า...ชิ้นส่วนสังขารของท่านกลายเป็นแก้วแล้ว) ท่านนิมนต์ไปร่วมงานสร้างวัดสาขาฯแห่งใหม่นี้
    เมื่อสมัยองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านอายุ 18-19 ปี ได้เดินทางไปจังหวัดเลย เพื่อถือศีลเป็นผ้าขาวกับหลวงตาจ่ารูปนี้หล่ะครับ

    ดังนั้นผมจึงขอบอกบุญญาติธรรมทุกท่านได้ร่วมบุญกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งองค์ท่านได้บอกผมมาว่า
    "ได้ปัจจัยร่วมทำบุญมาเท่าไหร่ ก็จักแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน แล้วก็จะถวายร่วมบุญทั้งหมด"
    ผมขอบริจาคปัจจัยน้อมถวายแด่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ตามแต่จะเรียกใช้ 3,000 บาท โดยโอนปัจจัยไปที่:

    ชื่อบัญชี : นางบุญชม ยางธิสาร
    เลขที่บัญชี: 4160396194
    ธนาคาร : กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์
    ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์


    และจักขออนุญาตฯ น้อมนำพระพุทธปฐวีธาตุออกมาประมูลเพื่อหาปัจจัยร่วมบุญมา ณ โอกาสนี้จำนวน 3 องค์

    ขอโมทนาสาธุในกุศลนี้ทุกประการ
    IT Man/05.04.55
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1_P1000241.jpg
      1_P1000241.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.4 KB
      เปิดดู:
      2,558
    • 1_P1000231.jpg
      1_P1000231.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178.8 KB
      เปิดดู:
      2,302
    • 1_P1000271.jpg
      1_P1000271.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.8 KB
      เปิดดู:
      9,978
    • 1_P1000264.jpg
      1_P1000264.jpg
      ขนาดไฟล์:
      252.6 KB
      เปิดดู:
      2,331
    • 1_P1000266.jpg
      1_P1000266.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.3 KB
      เปิดดู:
      2,067
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  10. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    อนุโมทนาบุญกับความตั้งใจของท่านพิเชฐ เนื่องในวาระเวลาที่ครบรอบ(อีกครา)ในเดือนปีนี้ ขอให้เจริญในธรรมสมดังความตั้งใจในการชำระจิต รื้อถอนกิเลส กองทุกข์ทั้งหลายด้วยนะครับ
     
  11. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    <DL><DT><TABLE border=0 width=735 height=1144><TBODY><TR><TD height=208 colSpan=2>[​IMG]
    วันจักรี (Chakri Day)

    </TD></TR><TR><TD height=18 width=179></TD><TD width=546></TD></TR><TR><TD height=900 colSpan=2>ประวัติวันจักรี

    วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี

    วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีสืบทอดต่อจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย

    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ (ร.1-4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวาย บังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ย้าย พระบรมรูปทั้ง 4 (ร.1-4) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกนาถ

    จนกระทั่ง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มี พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า “วันจักรี”

    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </DT></DL>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  12. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308
    เสียดายครับที่เวลาแต่ละท่านไม่ตรงกัน.....ต่างภาระกิจกันแต่เมื่อว่างมีเวลาก็จักต้องมุ่งเป้าหมายไปณ.สถานที่เดียวกันคือพุทธสถานภูดานไหแหล่งกำเนิดต้นธารธรรมของเหล่านักรบธรรม.....แหล่งรวมศรัทธาของญาติธรรมในอนาคตอันใกล้นี้

    ขอเจริญในธรรมยิ่งขี้นไปทุกท่านครับ
    สมาชิกธรรม
     
  13. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308
    ด้วยความยินดีครับ.....ผมรอเจอท่านทั้งสองอยู่นะ หวังว่าคงได้พบกันพร้อมหน้าในเร็วๆนี้ งานนี้อาจเงียบเหงาหน่อยเพราะบินเดี่ยว(นรธ)อาจต้องขอแรงท่านร่วมชาติมาร่วมแจมในยามค่ำคืนอันเงียบสงัดและวังเวง.....หึหึ(ในฐานะเจ้าของพื้นที่)

    ขอเจริญในธรรมทุกท่านครับ
    สมาชิกธรรม
     
  14. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ประมูลพระพุทธปฐวีธาตุ เพื่อร่วมบุญฯกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช
    ::: ในวาระสรงน้ำองค์พระในภูดานไห (สงกรานต์ปี 2555) :::

    เนื่องจากวันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ปีนักษัตรที่ 5 (มะโรง)
    จึงขออนุญาตนำเสนอรายการประมูลดังนี้

    1. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 1 : ประมูลเริ่มต้นที่ 5,555 บาท
    2. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 2 : ประมูลเริ่มต้นที่ 4,555 บาท
    3. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 3 : ประมูลเริ่มต้นที่ 3,555 บาท
    (ทุกรายการจะพิจารณามอบพระพิมพ์สายวังฯให้ 1 องค์)

    เริ่มประมูลร่วมบุญฯระหว่างวันที่ : 6 เม.ย. 55 สิ้นสุด 15 เม.ย. 55 (เวลาพลังจิต 09:05)
    โดยการประมูลผ่าน 4 ช่องทางคือ
    1. ผ่านเวปบอร์ด : หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต[.131/COLOR]
    2. ผ่านทาง e-mail : it.man@hotmail.co.th
    3. ผ่านทางเบอร์มือถือ : 087 683 2992
    4. ผ่าน PM : IT Man


    โอนปัจจัยร่วมบุญหลังทราบผลการประมูลที่:
    ชื่อบัญชี : นางบุญชม ยางธิสาร
    เลขที่บัญชี: 4160396194
    ธนาคาร : กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์
    ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์

    รับพระพุทธปฐวีธาตุหลังวันที่ : 20 เม.ย.55
    ขอกราบขอบพระคุณและโมทนาสาธุในบุญกุศลนี้ทุกประการ
    IT Man/06.04.55

    ภาพรายการพระพุทธปฐวีธาตุเรียงตามลำดับดังนี้
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1_P1280601.jpg
      1_P1280601.jpg
      ขนาดไฟล์:
      106.6 KB
      เปิดดู:
      6,279
    • 1_P1280602.jpg
      1_P1280602.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109 KB
      เปิดดู:
      6,249
    • 1_P1280606.jpg
      1_P1280606.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.1 KB
      เปิดดู:
      6,414
    • 1_P1280607.jpg
      1_P1280607.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.8 KB
      เปิดดู:
      6,281
    • 1_P1280608.jpg
      1_P1280608.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142.9 KB
      เปิดดู:
      6,217
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  15. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    ขอร่วมบุญกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ตามแต่ท่านประสงค์จะเรียกใช้ 2,000บาทครับ

    โอนเข้าบัญชี คุณแม่ชม ยางธิสาร
    ธ.กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์ เลขบัญชี 4160396194

    เป็นที่เรียบร้อยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0009.jpg
      IMG_0009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.4 KB
      เปิดดู:
      64
  16. ซึ้งบน

    ซึ้งบน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +377
    ผมขอบริจาคปัจจัยน้อมถวาย พ่อแม่ครูอาจารย์ ตามแต่จะเรียกใช้จำนวน 3,000 บาท โอนเข้า บ/ช แม่ชม เรียบร้อยแล้วครับ
     
  17. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    ท่านที่มีจิตศรัทธาจะร่วมบุญกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ระหว่างวันที่ 6เม.ย.-15เม.ย.นี้
    ในส่วนของผม จะขอมอบ
    พระปิดตาสี่กร หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร วังหน้า ทารักชาด โรยผงตะไบทอง ให้กับท่าน 1องค์ เพื่อเป็นนิมิตหมายที่ดีในวาระปีใหม่ไทยนี้
    ทั้งนี้ตามแต่จิตศรัทธาที่จะร่วมบุญครับ


    โอนปัจจัยร่วมบุญที่:
    ชื่อบัญชี : นางบุญชม ยางธิสาร
    เลขที่บัญชี: 4160396194
    ธนาคาร : กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์
    ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์

    ส่ง mail แจ้งให้ผมทราบที่ phoobes@gmail.com พร้อมที่อยู่ที่จะให้จัดส่งครับ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ ท่านที่ร่วมทำบุญ

    -คุณรุ่งเรือง สารวิจิตร ร่วมทำบุญ 355บาท (6เม.ย.)

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2012
  18. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    โมทนาสาธุในบุญกุศลร่วมฯกับทุกท่านครับ
    ขอเจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  19. Jokky

    Jokky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +154
    อ้างอิง:ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Phoobes ขอร่วมบุญกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ตามแต่ท่านประสงค์จะเรียกใช้ 2,000บาทครับโอนเข้าบัญชี คุณแม่ชม ยางธิสารธ.กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์ เลขบัญชี 4160396194เป็นที่เรียบร้อยครับ อ้างอิง:ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ซึ้งบน ผมขอบริจาคปัจจัยน้อมถวาย พ่อแม่ครูอาจารย์ ตามแต่จะเรียกใช้จำนวน 3,000 บาท โอนเข้า บ/ช แม่ชม เรียบร้อยแล้วครับ อ้างอิง:ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Phoobes ท่านที่มีจิตศรัทธาจะร่วมบุญกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ระหว่างวันที่ 6เม.ย.-15เม.ย.นี้ในส่วนของผม จะขอมอบพระปิดตาสี่กร หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร วังหน้า ทารักชาด โรยผงตะไบทอง ให้กับท่าน 1องค์ เพื่อเป็นนิมิตหมายที่ดีในวาระปีใหม่ไทยนี้ ทั้งนี้ตามแต่จิตศรัทธาที่จะร่วมบุญครับโอนปัจจัยร่วมบุญที่:ชื่อบัญชี : นางบุญชม ยางธิสารเลขที่บัญชี: 4160396194ธนาคาร : กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์ส่ง mail แจ้งให้ผมทราบที่ phoobes@gmail.com พร้อมที่อยู่ที่จะให้จัดส่งครับขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ .......อนุโมทนาสาธุในบุญกุศลร่วมฯกับทุกๆท่านด้วยครับ......
     
  20. ckj_tong

    ckj_tong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +869
    ขออนุโมทนาสาธุในผลบุญที่ท่านได้กระทำแล้วครับ

    ขอให้ท่านมีความสว่างไสวทั้งทางโลกและทางธรรม

    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...