สโมสรนักบุญภูเหล่าเงินฮาง ร่วมสร้างสรรกับ คณะเบิกบาน บันเทิงบุญ(อดีตรำลึกของบุญกุศล)

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย Nar, 8 กรกฎาคม 2006.

  1. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    ถ้างั้นผมขอเป็นคนที่สามละกัน ขอสามแผ่นเพราะมีสามฝ่ายครับ..แฮ่ม..
    อาจจะได้เห็นผมในวีดีโอบ้างก็ได้นะครับ เพราะจะไปเที่ยวอุบลด้วย.
     
  2. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    ผมเป็นคนที่สี่ นะขอรับ
    วิ่งออกจากห้องน้ำช้าไปหน่อย[​IMG]
     
  3. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    งานบุญวัดภูเหล่าเงินฮาง
    จริงๆจากส่วนลึกของใจ อยากไปร่วมงานมาก
    เห็นภาพสมเด็จองค์ปฐมแล้ว รู้สึกประทับใจ
    เป็นมโนภาพที่ยากจะลบเลือน

    อย่างไรก็ตาม ผมอยากฝากรูปในหลวง
    ชุดฉลองสิริราช ครบ 60 ปี
    ขนาด 5" คูณ 7"
    ขนาด 8" ." 10"
    จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 ใบ
    สงสัยต้องรบกวนฝากคุณนักเดินทาง
    นำติดไปแจกในงานด้วย นะครับ

     
  4. ck16th

    ck16th เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +342
    ก่อนอื่นขอโมทนากับทุกท่านครับ[​IMG]

    วันนี้ได้โอนเงินรวม 10239 บาท ร่วมทำบุญทุกประการของวัดภูเหล่าเงินฮางครับ
    รายชื่อผู้ร่วมบุญด้วยอยู่ด้านล่างนะครับ

    1 น.ส. กมลทิพย์ เครืออารีย์ และครอบครัว 230 บาท
    2 น.ส. กิตติพร พรหมเทศน์ 40 บาท
    3 นายกิตติ กาฝาก และครอบครัว 230 บาท
    4 นางบุญยืน ทองบัณฑิต 445 บาท
    5 นายอนุพงษ์ ทองบัณฑิต 444 บาท
    6 นางสาวมัลลิกา ธีรถกล 223 บาท
    7 คุณปิยะนาถ มหาโพธิ์ และ ครอบครัว 2,230 บาท
    8 คุณวิทยา, ด.ญ.พรชนก ด.ช.พชรกร ศรีตะ และครอบครัว 446 บาท
    9 คุณประสิทธิ์, คุณดลใจ, คุณอภิรดา จิตธรรมมา 223 บาท
    10 คุณลา – คุณสิมมา ศรีตะ และครอบครัว 223 บาท
    11 คุณย่าสอ จิตธรรมมา 223 บาท
    12 น.ส.พัสวี แซ่ตั๊น - นายโสภณ โตประเสริฐ 230 บาท
    13 นางกมลพร จัยพงษ์ และบุตรธิดา 230 บาท
    14 นายชูพงษ์ - นางนันทนีย์ - บุตร - ธิดา อึ๊งเจริญ 230 บาท
    15 นางณีรนุช ไชยนิวัตร 225 บาท
    16 นายชลัตพันธ์ ตันติราพันธ์ 50 บาท
    17 นางซู้เฮ็ง แซ่เบ๊ 100 บาท
    18 นายชูชาติ เสนาะล้ำ,น.ส.สิริพร คงทัพ,นางสัน เสนาะล้ำ 1,000 บาท
    19 นายสราวุธ,นางทิพวรรณ,ด.ช.สิริวรรธน์ จิระอานนท์ 500 บาท
    20 คุณ วิโรจน์ เวียนศรี 223 บาท
    21 คุณแดง 225 บาท
    22 คุณเชวง รอดทรัพย์ 200 บาท
    23 คุณหมูและคุณแม่ 1,120.00 บาท
    24 คุณทัศน์ 248 บาท
    25 คุณอ้อม 248 บาท
    26 คุณณัฐภรณ์ สอนโกษา 223 บาท
    27 คุณเจี๊ยบ 230 บาท

    นครินทร์ ตันติราพันธ์ [​IMG]
    บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด มหาชน
    72 หมู่1 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
    โทร 081-8626618

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2006
  5. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
     
  6. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    เอาไว้ให้จบงานนี้อย่างเสร็จสมบูรณ์ คือมีรูปถ่ายวันงานมาโพสต์ให้ดู ผมจะนำบุญที่ผมทำแล้วเป็นรายเดือนมาให้สาธุชนทุกท่านได้อนุโมทนากัน อานิสงส์ใดที่ผมทำไว้ดีแล้ว ก็ขอให้ได้แก่ท่านทั้งหลายโดยถ้วนหน้ากันเทอญ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมว่ากระทู้ในเว็บพลังจิต กระทู้ที่เปลี่ยนหน้าเร็วมากๆ ก็มีกระทู้เรื่องราววัดภูเหล่าเงินฮาง จ.อุบล กับการสร้างองค์ปฐม สมปราถนาได้ทันใจ&กฐิน14-15 ตค.49 ชื่อบัญชี พระอ่อนสา ฐิติคุโณ ธนาคาร กรุงเทพฯ จำกัด สาขา กิโลศูนย์ เลขบัญชี 340-4-11629-9 นี้แหละ ถ้าจะจัดว่ากระทู้ไหนที่มีผุ้post เยอะ กระทู้นี้แหละผมรับรองติดอันดับท๊อบไฟว์แน่นอน

    .
     
  9. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>การทอดกฐิน นับว่าเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีช่วงเวลาจำกัดเพียงปีละ 1 เดือน คือระหว่าง แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น จึงถือกันว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก
    คำว่า "กฐิน" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้กว้างขวาง โดยรวมถึงกรรมวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฐินตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนี้

    "กฐิน น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร, คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาล เรียกว่า กฐินกาล (กะถินนะกาน) คือ ระยะเวลาตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง เดือน 11 ถึง กลางเดือน 12 ระยะเวลานี้ เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน (เทดสะกานกะถิน) ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาล ผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใด จะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า "จองกฐิน" การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เ รียกว่า ผู้ครองกฐิน ผู้กรานกฐิน หรือองค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือบริวารกฐิน (บอริวานกะถิน) เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธี อนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ กรานกฐิน (กรานกะถิน) ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัย สิทธิพิเศษ 5 ประการ ซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน"

    ในหนังสือ "ศาสนาสากล" แบบเรียนศาสนาสากล ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เขียนเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการทอดกฐินไว้ดังนี้

    "คำว่า "กฐิน" หมายถึง กรอบสำหรับขึงผ้าเย็บจีวรซึ่งเรียกว่า สะดึง ฉะนั้นผ้ากฐินก็หมายถึงผ้าที่สำเร็จออกมาโดยการขึงตรึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บ ความจริงไม้สะดึงนั้นเขาใช้เฉพาะผู้ที่ยังไม่สันทัดในการเย็บจีวรเท่านั้น สมัยนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องเอาผ้ามาขึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บให้เป็นจีวรแล้ว อาจหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไป เพราะมีผู้เย็บจีวรขายโดยเฉพาะมากมาย นับว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในด้านนี้ไปได้อย่างมากทีเดียว การทอดกฐิน ก็คือการเอาผ้าที่เป็นจีวรแล้วนั้นไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมี 5 รูป แล้วออกปากถวายสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่งแล้วแต่พระท่านจะมอบหมายกันเอง แม้สมัยนี้เราจะไม่ต้องใช้สะดึงมาขึงผ้าเย็บจีวรก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่นั่นเอง

    การทอดกฐินมีกำหนดระยะเวลาไว้ 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะทอดก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้

    ประเพณีการทอดกฐินนี้ ประชาชนชาวไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงส์แรง เพราะทำในเวลาจำกัด ในปัจจุบันนี้มักทำกันเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางทีก็มีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวารซึ่งจัดทำกันไว้อยางประณีตบรรจง บางทีก็มีการฉลององค์กฐินกันก่อนที่จะแห่ไปวัด ในการแห่งแหนนั้น บางทีก็ทำกันอย่างสนุกสนาน ครึกครื้น มีทั้งทางบกและทางน้ำ ในสมัยนี้ก็มีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่จะนำผ้ากฐินไปทอดจะสะดวกทางใด ก็ไปทางนั้น

    เหตุที่จะเกิดมีการทอดกฐินกันนั้น เรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป (คือ พระภัททวัคคีย์ 30 นั่นเอง) ได้เดินทางจากเมืองปาฐา เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่พอมาถึงเมืองสาเกต ก็เป็นฤดูฝน เลยต้องพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางต่อไปยังเมืองสาวัตถี ต้องกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง จีวรต่างชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กัน พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุได้รับกฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า แม้จะออกพรรษาแล้ว แต่ฝนก็ยังไม่ขาดเสียทีเดียว ถ้าหากจะรั้งรอไปอีกเดือนหนึ่ง พอฤดูฝนหายขาดแล้ว พื้นดินก็จะไม่เป็นเปือกตมอีก การเดินทางย่อมสะดวกสบาย ฉะนั้น พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุจำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว ได้ยับยั้งอยู่เพื่อรับกฐินเสียก่อน จะได้ไม่ต้องได้รับความลำบากในการเดินทางอีกต่อไป ต่อมาเมื่อมีปัญหาว่า ผ้าที่ทายกนำมาถวายนั้น ไม่พอกับจำนวนภิกษุที่จำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อนและฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้รับกฐินและให้ภิกษุนอกนั้นเป็นผู้อนุโมทนา ก็จะได้อานิสงส์ในด้านพระวินัยเท่ากัน.

    ความเป็นมาของการทอดกฐิน

    การทอดกฐิน เป็นการบำเพ็ญบุญที่ได้กระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งมีที่มาแตกต่างกว่าการถวายทานโดยทั่วไปอยู่ตรงที่การถวายทานอย่างอื่นมักเกิดขึ้น โดยมีผู้ทูลขอให้พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ส่วนกฐินทานนี้เป็น พุทธานุญาตโดยตรง นับเป็นทานอันเกิดจากพุทธประสงค์โดยแท้

    ความหมายของคำว่า "กฐิน"
    คำว่า "กฐิน" มีความหมายโดยนัยต่างๆ ถึง 4 ประการ คือ
    1. เป็นชื่อของกรอบไม้ หรือ สะดึง อันเป็นแม่แบบสำหรับขึงผ้าเพื่อความสะดวกในการ ปะ - ตัด - เย็บ ทำจีวร เนื่องจากในสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้ยากจึงต้องมีกรอบไม้สำเร็จรูป ไว้เป็นอุปกรณ์ในการทำ แม้ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องอาศัยไม้ สะดึง เช่นนี้อีกแล้ว แต่ก็ยังคงเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่อย่างเดิม

    2.เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้นตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตต้องมีขนาด กว้างและยาวเพียงพอสำหรับตัดเย็บทำเป็นผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน มักนิยมนำผ้าไตร ที่ตัดเย็บและย้อมเป็นผ้าสบง จีวรและสังฆาฏิสำเร็จรูป แล้วไปถวายเป็นผ้ากฐินเพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องลำบากในการ ที่จะต้องนำไปตัดเย็บและย้อมอีก

    3. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การบำเพ็ญบุญในการถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ครบไตรมาส เพื่อให้ท่านได้มีผ้านุ่งห่มใหม่ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือชำรุดแล้วส่วนที่นิยมใช้คำว่า "ทอดกฐิน" แทนคำว่า "ถวายกฐิน" ก็เพราะเวลาที่ถวายนั้น ผู้ถวายจะกล่าว คำถวาย แล้วนำผ้ากฐินวางไว้เบื้องหน้าคณะสงฆ์ โดยมิได้ เจาะจงถวายจำเพาะรูปใดรูปหนึ่งซึ่งเป็นการทอดธุระหมดความกังวลหรือเสียดาย ไม่แสดงความเป็นเจ้าของในผ้า ผืนนั้นโดยยกให้เป็นธุระของพระสงฆ์สุดแต่ท่านจะพิจารณาผู้ที่เหมาะสม

    4. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ พิธีกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบในการมอบผ้า กฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปครอง ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพิธีที่เรียกว่า "กรานกฐิน" หลังจากที่ได้รับผ้ากฐิน แล้วในวันเดียวกันนั้นการที่คณะสงฆ์พร้อมใจยกผ้ากฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดก็เนื่องจากได้พิจารณาเห็นแล้วว่า ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันนี้ พระภิกษุรูปนั้นมีคุณสมบัติอันสมควรจะได้รับผ้ากฐิน เช่น เป็นผู้บำเพ็ญสมณธรรมดีเยี่ยม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่าที่สุด เป็นต้น พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนี้เรียกว่า "ผู้กรานกฐิน" หรือ "ผู้ครองกฐิน"

    สำหรับพระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ร่วมในพิธีได้อนุโมทนาต่อผู้กรานกฐินและเจ้าภาพผู้ทอดกฐินแล้วนั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้กรานกฐินและพลอยได้รับอานิสงส์กฐินด้วย การรับผ้ากฐินและกรานกฐินนี้นอกจาก จะเป็นการแสดงออกถึง การรู้สามัคคีในหมู่สงฆ์แล้ว ยังแสดงถึงความมีน้ำใจและยกย่องเชิดชูผู้กระทำความดีอีกด้วย

    ประเภทของกฐิน
    การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แยกกฐินออกเป็น 2 ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์
    กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำพิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
    1) กฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกฐินหลวงที่พระแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปทอดถวายแทน
    2) กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระราชทานแก่วัดใด วัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้
    3) กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชน ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง

    กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป กฐินราษฎร์นี้นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1) มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่างๆ มากมาย
    1) จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย นิยมทอดกันในวันเพ็ญ กลางเดือน 11 อันเป็นวัดสุดท้ายของระยะเวลาการทอดกฐิน


    อานิสงส์กฐิน
    กฐินทานนี้มีอานิสงส์มาก เพราะเป็นทานที่พิเศษยิ่งกว่าทานอื่นใด ด้วยเป็นทั้ง "กาลทาน" และ "สังฆทาน" นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้และผู้รับได้อานิสงส์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์ ) และฝ่ายผู้ให้ (คฤหัสถ์)

    ฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์)ครั้นรับกฐินแล้วย่อมได้รับ อานิสงส์ตามพระวินัย 5 ประการ คือ
    o เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    o ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
    o ฉันโภชนะเป็นหมู่เป็นคณะได้ และฉันโภชนะที่รับถวายภายหลังได้ ไม่เป็นอาบัติ
    o เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ตลอดกาล 4 เดือน
    o ขยายเขตจีวรกาลออกไปได้ถึงกลางเดือน 4


    ฝ่ายผู้ให้ (ทายกผู้ถวายกฐินทานและผู้มีส่วนร่วมในงานบุญนี้ด้วยการบริจาคทรัพย์ก็ดี ด้วยการบริจาควัตถุ สิ่งของก็ดี หรือด้วยการขวนขวายช่วยงานก็ดี ) ย่อมได้อานิสงส์อันไพบูลย์ทั้งในภพนี้และภพชาติต่อๆ ไป อาทิ
    - ทำให้เป็นผู้มีความมั่งคั่ง
    - มั่นคงในโภคทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงาน
    - เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
    - เป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นในสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย แม้ละโลก แล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์


    คำถวายกฐิน

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
    ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


    คำแปล

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ


    หมายเหตุ
    ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

    1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

    "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)

    2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ

    1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด คงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

    2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

    คัดจาก http://www.navy22.com
     
  10. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
     
  11. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
    เข้ามาทีไรมีความสุขใจจริงนะที่แห่งนี้ โมทนากับคุณ khomeraya ที่นำบุญต่างๆมาลง ผมเห็นผมก็จะได้โมทนาด้วย และความรู้ต่างๆด้วย มีความสุขครับ อีกทั้งเอาบุญที่ทำไว้ดีแล้วมาลงให้โมทนาด้วยก็ยิ่งดีครับ

    รายการแผ่น วีดีโอ สมควรแล้วครับที่เป็นของคุณ เจ้าคุณ เพราะท่านเข้ามาสม่ำเสมอ รักษาระยะความถี่และเวลาแม่นยำเที่ยงตรง กว่าใครเพื่อน จะบอกว่าเป็นบุคคลที่มีความสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นจนปัจจุบันเลยทีเดียวก็ไม่ผิด

    อันดับที่สองคุณ khomฯ มัวแต่ไปขนเอาบุญบ้างเรื่องราวบ้างก็เลยพลาดไปสำหรับที่หนึ่ง

    คุณขุณแผนฯนี่ ผมถือว่าเป็นขั้วบวก ส่วนคุณพัฒนานี่ขั้วลบเพราะแอนตี้เมีย (ถ้าเปรียบเทียบกับแม่เหล็ก) ท่านขุนแผนฯนี่บวกอย่างเดียว เดี๋ยวก็ได้สะดุดเมียล้มสักวัน

    คุณเม้านี้ขอแนะนำให้ออนไลในห้องน้ำด้วยนะครับจะได้ทันเหตุการ

    ความจริงกระทู้นี้น่าจะอนุรักษ์ไว้นะครับ แม้จบงานบุญก็ยังสามารถมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นกระทู้ที่ทุกคนเป็นเจ้าของใช้ได้ตามสบายแล้วแต่จะเอาอะไรมาโพส ผมว่าดีนะครับ

    กราบโมทนากับทุกท่านด้วยครับ
     
  12. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    โอ้โฮ...เอาขนาดนั้นเลยหรือครับ...เริ่มตั้งแต่จำความได้เลยหรือเปล่าตรับ อิ..อิ..ผมมีเป็นกระบุงเลยครับ..อยากฟังของผมมั่งหรือเปล่า..ฮิ..ฮิ..
    ผมเคยบวชเณรสี่ครั้ง...บวชพระหนึ่งครั้ง...บวชชี...ยังไม่เคยครับ..ฮ่า..ฮ่า.
    (b-oneeye)
     
  13. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    จะไม่ให้เปลี่ยนหน้าเร็วได้อย่างไรละครับ เพราะแต่ละท่านลายเซ็นต์ยาวเฟื้อย...ยยยย....เวลาอ้างอิงข้อความเดิมก็ลอกเอามาทั้งดุ้น......ไม่มีการเซ็นเซอร์เล้ย....บางทีก็โพสซ้ำแล้วซ้ำอีก..ๆๆ แล้วก็....ขอโทษนะครับถ้ากระเทือนถึงใครบางคน...ล้อกันเล่น...คงไม่ถือสานะครับ...เพราะถ้าถือ....ท่านก็จะหนักเปล่าๆ...ควรจะวางบ้าง..แล้วจะสบาย...ผมว่าเว็ปนี้ดีนะครับ
    ไม่ค่อยจำกัดอะไร ใครจะโพสยาวยังไงก็ได้ ใส่รูปกี่อันก็ได้ อ้างอิงของเก่ากี่อันก็ได้ เขียนอะไรก็ได้ (ถ้าไม่ไปพาดพิงถึงบุคคลอื่นหรือใช้ข้อความหยาบคาย)
    ผมเข้ามาแล้วรู้สึกพอใจมาก ได้เพื่อนใหม่ที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตาหลายคน
    ต้องขอขอบคุณเจ้าของเว็ปและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านครับ แล้วจะช่วยบริจากเงินซื้อ Server ตัวใหม่ให้นะครับ เด๋ยวรอให้หมดหน้ากฐินก่อน...
    (verygood)
     
  14. edtaro

    edtaro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +618
    ผมขอด้วยครับ ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมงานก็ขอให้ได้ชมภาพบรรยากาศบ้างก็ยังดี ขอบพระคุณล่วงหน้าครับผม
     
  15. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369

    สาธุ อยากฟังมั่กๆครับ นำมาลงเถอะครับ จริงๆผมเริ่มทำบุญเป็นจริงเป็นจังเมื่อต้นมกราคม ปีนี้เองครับ

    การนำส่วนบุญมาให้คนอนุโมทนา ถือว่าเป็น 1 ในบุญกิริยา 10

    ก็คือ การกระทำที่ทำให้เกิดบุญ 10 อย่าง คือ

    <TABLE class=tao cellSpacing=3 cellPadding=2 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>1. บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    </TD></TR><TR><TD>2. บุญสำเร็จด้วยการรักษา ศีล
    </TD></TR><TR><TD>3. บุญสำเร็จด้วยการเจริญ ภาวนา
    </TD></TR><TR><TD>4. บุญสำเร็จด้วยการประพฤติ ถ่อมตน ต่อผู้ใหญ่
    </TD></TR><TR><TD>5. บุญสำเร็จด้วยการ ขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
    </TD></TR><TR><TD>6. บุญสำเร็จด้วยการ ให้ส่วนบุญ
    </TD></TR><TR><TD>7. บุญสำเร็จด้วยการ อนุโมทนา ส่วนบุญ
    </TD></TR><TR><TD>8. บุญสำเร็จด้วยการ ฟังธรรม
    </TD></TR><TR><TD>9. บุญสำเร็จด้วยการ แสดงธรรม
    </TD></TR><TR><TD>10. บุญสำเร็จด้วยการทำ ความเห็นให้ตรง

    ทำบุญด้วยตัวเองด้วย ชักชวนคนอื่นทำบุญด้วย อนุโมทนาบุญของคนอื่นด้วย นำบุญมาให้คนอื่นอนุโมทนาด้วย จะดียิ่งกว่าทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จริงไหมครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ดีครับ โมทนาสาธุครับ


    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่ต้องใช้ลายเซ็นยาวๆนี่ เป็นการชักชวนท่านผู้ใจบุญให้มาทำบุญกันแถมแจ้งเบอร์บัญชีไว้เสร็จสัพ จะได้ไม่ต้องตามหาเบอร์บัญชีในกระทู้ครับ ผมตอบแทนทุกท่านที่ใช้ลายเซ็นยาวๆครับ อิอิอิ
     
  18. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ก็เห็นด้วยกับคุณณรงค์นะครับ กระทู้นี้คงไว้ ใครมีอะไรมาโพสก็มาโพสได้ แบบ free style แต่ขอให้อยู่ในศีลในธรรม และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ตลอดจนเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดประเด็นความขัดแย้ง เหมือนเป็นการพบปะสังสรรค์กัน

    เหมือนอย่างกระทู้พระวังหน้า คุณ Sithiphong อนุญาตให้นำเรื่องอะไรมาลงก็ได้

    ไอ้ผมก็พาเซ่อ เกือบแซวให้คุณ Sithiphong นำรูป ผบ.ทบ. ของคุณ Sithiphong มาลงซะแหล่ว เพราะเคยได้ยินแต่เสียงนาง.... ถ้านำมาลงจริง ก็ถือว่าเป็นบุญตาของเหล่าเพื่อนๆ ขออย่างเดียว อย่าตัดต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2006
  19. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    หลวงตาย้า นี่สุดยอด
    เวลาเข้ามาโพสเรื่อง มีหลายรส
    อ่านแล้ว ได้อนุโมทนา ได้ความรู้
    ได้ขำๆ
    ผมขอเสนอให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูป เอ๊ย..
    หัวหน้าคณะเบิกบานบันเทิงบุญ นะครับ

    ส่วนคุณณรงค์ เล่าเรื่องบุญ
    ได้สะดุดใจดีครับ แถมมีมุกหักมุมทิ้งท้าย
    ให้ได้ฮา เบิกบานบันเทิงบุญ ตัวจริงเสียงจริง
    ส่วนห้องน้ำคงต้องออนไลด์เอาไว้
    ไม่งั้นไม่ทันท่านเจ้าคุณสิทธิประสานศาสน์สถาพรขจรไกล

    สาธุๆๆ

     
  20. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ก๊วนนี้ไม่มีหัวหน้า ไม่มีหางหน้าครับ มีแต่ญาติธรรม อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...