สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30



    #เข้าใจแบบนี้ ก็ได้ชื่อว่าทำความเห็นได้ถูกต้องดีแล้ว!
    #น่าชื่นชมปัญญาธรรม
     
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    [ภาษาบาลี]

    โย ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ. โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ.
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา

    - พระไตรปิฎกบาลี พระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ วักกลิสูตร

    .

    [ภาษาสันสกฤต]

    โย ภิกฺษวะ ปฺรตีตฺยสมุตฺปาทํ ปศฺยติ, ส ธรฺมํ ปศฺยติ ฯ โย ธรฺมํ ปศฺยติ, ส พุทฺธํ ปศฺยติ ฯ
    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุตปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม, ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพุทธะ

    - ศาลิสตัมพสูตร (พระสูตรมหายาน – ภาษาสันสกฤต)

    .

    [ภาษาจีน]

    若比丘見緣起為見法。已見法為見我。
    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุตปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

    - ศาลิสตัมพสูตร สำนวนแปลโดยอุบาสกจือเชียน (222-252 CE)

    汝等苾芻若見緣生即是見法。若見法即見佛。
    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุตปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพุทธะ

    - ศาลิสตัมพสูตร สำนวนแปลโดยพระอโมฆวัชระมหาเถระ (705-774 CE)

    .

    [ภาษาทิเบต]

    རྣམ་པར་ཞི་བ་མ་ཡིན་པའི་རང་བཞིན་དུ་མཐོང་བ་དེས་འཕགས་པའི་ཆོས་མངོན་པར་རྟོགས་ཏེ། ཡང་དག་པའི་ཡེ་ཤེས་དང་ལྡན་པས་བླ་ན་མེད་པའི་ཆོས་ཀྱི་སྐུར་སངས་རྒྱས་མཐོང་ངོ་ཞེས་གསུངས་སོ།

    - འཕགས་པ་སཱ་ལུའི་ལྗང་པ་ཞེས་བྱ་བ་ཐེག་པ་ཆེན་པོའི་མདོ། : F.117.a, volume 62, Degé Kangyur

    IMG_8515.jpeg
     
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    น.13.39
    ผู้ที่จะแปล พระไตรปิฏก ก็ต้องอาศัย อรรถกถาทั้งนั้น ไม่งั้นไม่มีทางเข้าถึง ไม่รู้จะแปลยังไงเลย

    น..15.42
    #แม้แต่ผู้ที่พูดว่าไม่เชื่ออรรถกถา
    ตัวเองก็ไม่รู้ว่าตัวเองเนี่ยะ เอาอรรถกถามาอ้าง
    เพราะอะไรรู้มั้ย
    เพราะว่าหลายท่านเนี่ยะ
    ก็ไม่ได้ใช้พระไตรปิฏกบาลี
    #ไปใช้พระไตรปิฏกภาษาไทย
    #ทีนี้คนแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย
    #แปลตามอรรถกถา

    #แล้วคนที่อ้างพระไตรปิฏกบอกว่าฉันเอาแต่พระไตรปิฏก
    #ไม่รู้ตัวหรอกว่าไอ้ที่ตัวเอาพระไตรปิฏกภาษาไทยมานั้นเอาอรรถกถานั่นเอง

    .#แปลพระไตรปิฏกแล้วแปลไม่ออกก็ต้องไปปรึกษาอรรถกถา

    ก็หมายความว่า แปลตาม อรรถกถา
    ข้อความนี้พระบาลีพระไตรปิฏกว่าอย่างนี้ ....
    ก็ไปดูอรรถกถา อรรถกถาแปลว่าอย่างนี้ และก็บอกให้เข้าใจว่าแปลว่าอย่างนี้ ...
    พระไตรปิฏกแปล ก็แปลตามอรรถกถา

    #คนที่ไม่เชื่ออรรถกถาแล้วไปอ้างพระไตรปิฏกภาษาไทย
    #ไม่รู้ตัวว่าอ้างอรรถกถาอยู่เต็มที่เลย
    น...17.01
    #ถ้าคุณไม่ศึกษาพระไตรปิฏกบาลี
    #แล้วคุณจะไปอ้างว่าคุณไม่เชื่ออรรถกถา
    #แล้วคุณไปอ้างพระไตรปิฏกภาษาไทยเนี่ยะคุณพูดเท็จ

    ธรรมบรรยายชุด
    ถ้ารู้ขั้นนี้ได้ ก็เริ่มถึงเนื้อในของพระพุทธศาสนา:สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    อรรถกถานั้นเริ่มกำเนิดแล้วสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า คือเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาแล้วพระเถระผู้ใหญ่ก็นำมาสอนลูกศิษย์
    เมื่อสอนลูกศิษย์ก็ต้องอธิบาย ลูกศิษย์ก็มีความรู้มากบ้าง ไม่มากบ้าง

    พระอาจารย์ก็อธิบายว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างนี้
    คำนั้นมีความหมายว่าอย่างนี้

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

    https://pantip.com/topic/32540857

    https://www.watnyanaves.net/th/album_detail/buddhism-inside

    IMG_9363.jpeg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ผู้มีปฏิภาณเป็นอย่างไร?

    บทว่า พหุสฺสุตํ คือ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ พวก

    คือผู้เป็นพหูสูตในปริยัติ ในพระไตรปิฎกโดยเนื้อความทั้งสิ้น ๑

    และผู้เป็นพหูสูตในปฏิเวธ เพราะแทงตลอดมรรคผล วิชชาและอภิญญา ๑.

    ผู้มีอาคมอันมาแล้ว โดยการทรงจำไว้ได้ ชื่อว่าผู้ทรงธรรม.
    ส่วนท่านผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมอันโอฬาร ชื่อว่าผู้มีคุณยิ่ง.
    ท่านผู้มีปฏิภาณอันประกอบแล้ว ผู้มีปฏิภาณอันพ้นแล้ว และผู้มีปฏิภาณทั้งประกอบแล้วทั้งพ้นแล้ว ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ พวก คือปริยัตติปฏิภาณ ๑ ปริปุจฉาปฏิภาณ ๑ อธิคมปฏิภาณ ๑.
    ผู้แจ่มแจ้งในปริยัติ ชื่อว่าปริยัตติปฏิภาณ
    #ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ.
    ผู้แจ่มแจ้งคำสอบถาม เมื่อเขาถามถึงอรรถ ไญยธรรม ลักษณะ ฐานะ อฐานะ ชื่อว่าปริปุจฉาปฏิภาณ
    #ผู้มีปฏิภาณในการสอบถาม.
    ผู้แทงตลอดคุณวิเศษทั้งหลายมีมรรคเป็นต้น ชื่อว่าปฏิเวธปฏิภาณ
    #ผู้มีปฏิภาณในปฏิเวธ.

    อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทสขัคควิสาณสุตตนิทเทส


    บุคคลพึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้นยามามีอยู่ เทวดาชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิตสวัสดีมีอยู่ เทวดาชั้นพรหมกายมีอยู่ เทวดาชั้นที่สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศีลเช่นนั้น

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆแม้เราก็มีสุตะเช่นนั้น

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีจาคะเช่นนั้น

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น

    เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนกับของเทวดาเหล่านั้นอยู่

    #จิตย่อมผ่องใสเกิดความปราโมทย์ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

    อนุสสติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที ๒๘๐ หน้า ๒๖๓

    เทวตานุสสติกถา

    เจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน

    ก็แหละ โยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น อันสำเร็จมาด้วยอำนาจอริยมรรค แต่นั้นพึงไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควร พึงระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นของตน โดยตั้งเทวดาทั้งหลาย ไว้ในฐานะเป็นพยานอย่างนี้ว่า –
    เทวดาชาวจาตุมหาราชิกา มีอยู่จริง เทวดาชาวดาวดึงส์ มีอยู่จริง เทวดาชาวยามา มีอยู่จริง เทวดาชาวดุสิต มีอยู่จริง เทวดาชาวนิมมานรดี มีอยู่จริง เทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดี มีอยู่จริง เทวดาชั้นพรหมกายิกา มีอยู่จริง เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น ก็มีอยู่จริง เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาชนิดใด ครั้นจุติจากโลกนี้แล้วจึงไปบังเกิดในภพนั้น ๆ ศรัทธาชนิดนั้นแม้ในเราก็มี

    เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลชนิดใด ประกอบด้วยสุตะชนิดใด ประกอบด้วยจาคะชนิดใด ประกอบด้วยปัญญาชนิดใด ครั้นจุติจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปบังเกิดในภพนั้น ๆ ศีล, สุตะ, จาคะ และปัญญาชนิดนั้น ๆ แม้ในเราก็มีอยู่ ฉะนี้

    แต่ว่าในพระสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนมหานามะ ในสมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกเนือง ๆ ถึงศรัทธา, ศีล, จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น ในสมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ดังนี้ ถึงจะตรัสไว้ดังนั้นก็ตาม แต่นักศึกษา

    พึงทราบว่า พระพุทธพจน์นั้นตรัสไว้เพื่อประสงค์จะทรงแสดงถึงคุณอันเสมอกัน ทั้งของเทวดาที่ตั้งไว้ในฐานะเป็นพยาน ทั้งของตน โดยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น จริงอยู่ ในอรรถกถาท่านก็กล่าวไว้อย่างมั่นเหมาะว่า ย่อมระลึกเนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายของตน โดยตั้งเทวดาทั้งหลายในฐานะเป็นพยาน

    องค์ฌาน ๕ เกิด

    เพราะเหตุนั้น เมื่อโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายของเหล่าเทวดา ในภาคต้นแล้ว จึงระลึกเนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นอันมีอยู่ของตนในภายหลังในสมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน จะไม่ถูกโทสะรบกวน จะไม่ถูกโมหะรบกวน ในสมัยนั้น จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงเทวดาทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ องค์ฌานทั้งหลายย่อมบังเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน โดยนัยก่อนนั่นแล ก็แหละ เพราะเหตุที่คุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นเป็นสภาพที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ฌานจึงขึ้นไม่ถึงขั้นอัปปนา ขึ้นถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ฌานนี้นั้นย่อมถึงซึ่งอันนับว่า เทวานุสสติฌาน ก็โดยที่ระลึกถึงคุณมีศรัทธาเป็นต้นเช่นเดียวกับคุณของเทวดาทั้งหลายนั่นเอง

    อานิสงส์การเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน

    ก็แหละ ภิกษุผู้ประกอบเทวตานุสสติกัมมัฏฐานนี้อยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นที่รักใคร่เป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ย่อมจะประสบความไพบูลย์ด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น โดยประมาณยิ่ง เป็นผู้มากล้นด้วยปีติและปราโมทย์ ก็แหละ

    #เมื่อยังไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษชั้นสูงขึ้นไป (ในชาตินี้ ) #ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเพราะเหตุฉะนั้นแล โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในเทวตานุสสติภาวนา ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดังพรรณนามานี้ ในกาลทุกเมื่อ เทอญ

    กถามุขพิศดารในเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน
    ยุติลงเพียงเท่านี้

    อานาปานสติ วิปัสสนาญาณ

    วิธีกำหนดนามรูป

    ก็ภิกษุทำฌาน ๔ และฌาน ๕ ให้บังเกิดแล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐาน ด้วยสามารถแห่งสัลลักขณา (คือวิปัสสนา) และวิวัฏฏนา (คือมรรค) และบรรลุความบริสุทธิ์ (คือผล) ในอานาปานสติภาวนานี้ ย่อมทำฌานนั้นแล ให้ถึงภาวะเป็นวสีด้วยอาการ ๕ ให้คล่องแคล่ว

    #แล้วกำหนดนามรูปเริ่มตั้งแต่วิปัสสนาอย่างไร?

    เพราะพระโยคาวจรนั้นออกจากสมาบัติแล้ว
    ย่อมเห็นได้ว่า กรัชกายและจิตเป็นแดนเกิดแห่งลมหายใจออกหายใจเข้า เปรียบเหมือนอย่างว่าอาศัยหลอดแห่งสูบของนายช่างทองที่กำลังพ่นอยู่ และความพยายามอันเหมาะสมแก่หลอดสูบนั้นของบุรุษ ลมจึงสัญจรไปได้ ฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า

    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องอาศัยกายและจิตจึงสัญจรไปได้ ลำดับนั้นพระโยคาวจร

    #ย่อมกำหนดลมหายใจออกเข้าและกายว่าเป็นรูป
    #และกำหนดจิตและธรรมอันสัมปยุตกับจิตนั้นว่าเป็นนาม

    นี้เป็นความสังเขปในการกำหนดนามรูปซึ่งจักมีแจ้งข้างหน้า

    ครั้นกำหนดนามรูปอย่างนี้แล้ว จึงแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั้น และเมื่อแสวงหาก็เห็นนามรูปนั้น ปรารภความเป็นไปแห่งนามรูป ข้ามความสงสัยในกาลทั้ง ๓ เสียได้ เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้

    #แล้วยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์โดยพิจารณาเป็นกลาปะ
    ละวิปัสสนูกิเลส ๑๐ ประการมีโอภาสเป็นต้น

    อันเกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพยานุปัสสนาญาณ กำหนดปฏิปทาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสแล้วว่าเป็นมรรค ละนามรูปที่เกิดขึ้น บรรลุการตามเห็น ความดับแห่งนามรูป แล้วเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงที่ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะเห็นแต่นามรูปที่ดับไปหาระหว่างคั่นมิได้ บรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ดำรงอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ประการ เป็นพระทักขิไณยผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก

    ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันจบการเจริญอานาปานสติสมาธิแห่งพระโยคาวจรนั้น นับตั้งต้นแต่การนับจนมีปัจจเวกขณะเป็นที่สุด ฉะนี้แล

    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๘ อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ หน้าที่ ๖๖ - ๗๐


    #รีบสั่งสมสุตตะ! อย่าอยู่อย่างขาดทุน

    #ผู้สั่งสมสุตตะแบบปริยัติงูพิษ สั่งสมสุตตะกับสัทธรรมปฎิรูป สั่งสมการสร้างสัทธรรมปฎิรูป มีทุคคติภูมิมีอบายเป็นที่ไป

    IMG_9364.jpeg
     
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    #พิจารณาให้ดีๆ

    การตรัสรู้สัจจะ 2/3
    จักษุ ๕
    วิมุตติ ๕
    สากัจฉสูตร ๕
    ปริยัติวาระ
    พระมหาปกรณ์
    บัญญัติ ๒
    พระโพธิสัตว์บัญญัติ
    อินทรีย์ ๕
    พละ ๕

    ฯลฯ

    เรื่อง ความเกี่ยวเนื่องสืบต่อ!
    IMG_0566.png
     
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ภาคพิเศษ เจาะลึกลงไปด้านนี้ แบบพิสูจน์ได้


    **#อภิญญาฤทธิ์***

    ฤทธิ์ในโลกนี้มีหลายประเภท แต่ฤทธิ์ที่มาจากการปฏิบัติภาวนาในพระพุทธศาสนา จะมีได้ก็โดยสืบเนื่องมาจากการเจริญ #สมถภาวนา หมวด #กสิณ๑๐ เป็นบาท จนบรรลุฌานขั้นสูงสุด แล้วอาศัยฌานนั้นเป็นบาท ฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ จน #บรรลุอภิญญา

    นอกจากวิธีนี้ พระอรหันต์ประเภท #ฌานลาภี (ได้ฌาน) ที่เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็อาจได้อภิญญามาด้วยได้ เรียกว่า #มัคคสิทธิฌาน (ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมรรค) เช่น พระจูฬปันถก

    #อภิญญา คือ จิตที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งเกิดในรูปปัญจมฌาน

    อภิญญา ๖ (หรือเรียกว่า วิชชา ๖) ได้แก่
    ๑. #ปุพเพนิวาสานุสติยาณ ระลึกชาติได้
    ๒. #ทิพพจักขุญาณ / #จุตูปปาตญาณ
    มีตาทิพย์ / รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
    ๓. #อาสวักขยญาณ สิ้นอาสวกิเลส (เฉพาะกรณีพระอรหันต์จึงจะมีญาณนี้)
    ๔. #ปริจิตตวิชานนะ / #เจโตปริยญาณ รู้จิตผู้อื่นได้
    ๕. #ทิพพโสตญาณ มีหูทิพย์
    ๖. #อิทธิวิธะ สำแดงฤทธิ์ได้
    *อีกนัยหนึ่ง
    อภิญญา ๓ (หรือวิชชา ๓) ก็คือนับแค่ ๓ ข้อแรก

    #ฤทธิ์ที่ได้จากกสิณ ๑๐ แต่ละอย่าง
    ๑. #ปฐวีกสิณ (ดิน) เนรมิตคนเดียวให้เป็นหลายคน, เนรมิตแผ่นดินในอากาศหรือน้ำแล้วไปนั่ง ยืน เดินได้ เป็นต้น

    ๒. #อาโปกสิณ (น้ำ) ดำดินได้, บันดาลให้ฝนตกได้, เนรมิตให้เป็นแม่น้ำหรือทะเลได้, บันดาลให้แผ่นดิน ภูเขา หรือปราสาทไหวได้ เป็นต้น

    ๓. #เตโชกสิณ (ไฟ) บังหวนควันได้, ปล่อยไฟได้, ทำให้ฝนถ่านเพลิงตกได้, ปราบฤทธิ์ของผู้อื่นได้, เผาผลาญสิ่งที่ต้องการได้, ทำแสงสว่างเพื่อเห็นรูปด้วยตาทิพย์ได้, ใช้เตโชธาตุเผาสรีระในคราวปรินิพพานได้ เป็นต้น

    ๔. #วาโยกสิณ (ลม) เหาะได้เร็วเหมือนลมพัด, บันดาลให้เกิดพายุได้ เป็นต้น

    ๕. #นีลกสิณ (สีเขียว) เนรมิตรูปสีเขียวได้, บันดาลให้มืดได้ เป็นต้น

    ๖. #ปีตกสิณ (สีเหลือง) เนรมิตรูปสีเหลืองได้, อธิษฐานให้เป็นทองคำได้ เป็นต้น

    ๗. #โลหิตกสิณ (สีแดง) เนรมิตรูปสีแดงได้ เป็นต้น

    ๘. #โอทาตกสิณ (สีขาว) เนรมิตรูปสีขาวได้, ขจัดถีนมิทธะได้, บันดาลความมืดให้หายไปได้, ทำแสงสว่างเพื่อให้เห็นรูปด้วยตาทิพย์ได้ เป็นต้น

    ๙. #อาโลกกสิณ (แสงสว่าง) เนรมิตรูปมีแสงสว่างได้, ขจัดถีนมิทธะได้, ทำแสงสว่างเพื่อให้เห็นรูปด้วยตาทิพย์ได้ เป็นต้น

    ๑๐. #อากาสกสิณ (ช่องว่าง) ทำสิ่งที่ถูกปกปิดให้เปิดเผยได้, เนรมิตช่องว่างแล้วทำอิริยาบทต่างๆ ภายในแผ่นดินหรือภูเขาเป็นต้นได้, เดินทะลุออกไปนอกฝาเป็นต้นได้ เป็นต้น
    (เรื่องกสิณนี้มีรายละเอียดมาก ศึกษาได้จากวิสุทธิมรรค ปฐวีกสิณนิเทศและเสสกสิณนิเทศ)

    ***ถ้าหากเชื่อเรื่องบุคคลปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแล้วสามารถกำจัดกิเลสบรรลุเป็นพระโสดาบันเป็นต้นได้ ก็ควรเชื่อเรื่องบุคคลปฏิบัติสมถภาวนาแล้วเป็นผู้ได้ฌาน ใช้ฌานเป็นบาทจนบรรลุอภิญญาสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้นี้ด้วย เพราะต่างก็เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

    พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท IMG_0568.jpeg
     
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    #เรียนและทำความเข้าใจในความหมายโดยย่อเพื่อประโยชน์ตนและส่วนรวม

    #อุตริมนุสธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะทำ/) หรือ อุตริมนุษยธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะยะทำ/) แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว
    อุตริมนุสธรรมหมายถึง ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล

    การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม

    ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ

    พระพุทธองค์ และพระองค์ได้ทรงบัญญัติอนุบัญญัติเพิ่มเติมอีกว่า …..เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ…ดังนี้
    ความหมาย อุตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนเองถือว่ามีโทษหนักขั้นอุกกฤษฎ์ คือ ขาดจากความเป็นภิกษุทันที ไม่สามารถขอกลับเข้ามาบวชใหม่อีกได้ต่อไป เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกขึ้นมาใหม่ได้ฉันนั้น

    คำว่าอุตริมนุสสธรรมในสิกขาบทนี้ หมายถึงคุณวิเศษที่ภิกษุเจริญกรรมฐานหรือเจริญสมาธิจิตจนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ อันได้แก่ ฌาน เช่น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ฌาน (เช่น วิชชา ๓อภิญญา ๖) มรรคภาวนา มรรคผล (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล) วิมุตติ ปิติ หรือความยินดีในฌาน เป็นต้น
    ภิกษุอวดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในตน ต้องปาราชิกเหมือนกัน เช่น ภิกษุประกาศตนว่าได้บรรลุอรหันต์หรือบรรลุอนาคามี เป็นต้น ต้องอาบัติแล้ว อนึ่ง การอวดคุณวิเศษนี้ เมื่อภิกษุกล่าวอวดอ้างไปแล้ว ผู้อื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ถือเป็นสำคัญ เมื่อมีเจตนาที่จะอวด และผู้ฟังได้ฟังรู้เรื่อง ก็ถือว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ถ้าหากพูดแล้วผู้ฟัง ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความหมายของคำพูดนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย และถ้าภิกษุรูปนั้นพูดบอกคุณวิเศษซึ่งไม่มีในตนของภิกษุรูปอื่นให้แก่บุคคลอื่น ถ้าเขาเข้าใจคำพูดของภิกษุนั้นว่าหมายถึงภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฎ
    ภิกษุผู้พูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงและต้องอาบัตินั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ คือ
    ๑. เบื้องต้นเธอรู้ว่าตนเองจักกล่าวเท็จ
    ๒. กำลังกล่าวเท็จอยู่ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
    ๓. ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่าตนกล่าวเท็จแล้ว
    IMG_0569.jpeg
     
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    *ขอมอบองค์ความรู้นี้เป็นธรรมทานและวิทยาทาน*

    ฝันก็คือการนอนหลับไปแล้วจึงฝัน

    แต่นิมิตภาคปาฎิหาริย์ ก็คือนิมิต การรู้ การทำให้รู้แจ้งขึ้น โดยการปราถนาเอง หรือมีผู้มีฤทธิ์บันดาล เป็นต้น (อุคคหนิมิต(อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกําหนดจนแม่นใจ หรือเพ่งดูจนติดตา)
    ไม่เกี่ยวกับการนอนหลับฝัน
    คนละเรื่องกัน

    การฝันก็ยังแยกออกไปอีกหลายแขนง

    ฝันที่มิสติควบคุมตนเองได้รู้ตนเองว่าฝันอยู่มีความรู้สึกนึกคิด

    หรือ ฝันที่ไม่สามารถควบคุมได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวประกอบ อาจเป็นตัวเอกก็ได้
    เป็นต้น ต่างจากนี้ยังมีอีก


    (พระอรหันต์ย่อมไม่ฝัน)

    *ความ ฝัน มัน เป็น แบบ นี้ จึงไม่ถือเป็นนิมิต*
    ผู้ที่จะแยกแยะได้จะต้อง ผ่านความฝันมาทุกแบบ?
    เป็นผู้ระลึกชาติได้
    เป็นผู้ได้รับนิมิตจากผู้มีฤทธิ์บันดาล
    เป็นผู้เข้าถึงนิมิตด้วยการเจริญภาวนา
    และเป็นผู้เข้าถึงวิมุตติ

    เมื่อแยกแยะได้ก็จะไม่มีความผิดเพี้ยน
    หรือทึกทักเอาอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า จึงชัดเจนเชื่อถือได้


    ฝันที่บังคับตนเองต่อให้เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ก็ตีบทแตก ไม่แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง เพราะรู้ว่าฝันอยู่ตื่นอยู่
    กับ
    ฝันที่บังคับตนเองต่อให้เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ก็ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง โดยไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและต้องแสดงไปตามเนื้อเรื่อง ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง แม้จะรู้ว่าฝันอยู่ตื่นอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและต้องแสดงไปตามเนื้อเรื่อง ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง โดยไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและไปแสดงออกนอกเนื้อเรื่อง ตีบทไม่แตก แสดงไม่รู้เรื่องเพราะจำบทในสคริปไม่ได้ แม้จะรู้ว่าฝันอยู่ตื่นอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและต้องแสดงไปตามเนื้อเรื่อง ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง โดยไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่

    ฯลฯ เป็นต้น


    ถ้าไม่รู้ตรงนี้ก็เป็นเพียงฝันกลางวันแสกๆเท่านั้น

    พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึง สาเหตุแห่งความฝันไว้ ๔ ประการ คือ
    ๑. กรรมนิมิต [บุพพนิมิต ] กรรมดีหรือชั่วในอดีต จะมาให้ผล
    ๒. จิตอาวรณ์ [อนุภูติบุพพะ] จิตไปผูกพันอยู่กับสิ่งใดมากๆ ก็อาจฝันถึงสิ่งนั้นได้
    ๓. เทพสังหรณ์ [เทวโตปสังหรณ์] เทวดานำข่าวมาบอก อาจเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายก็ได้
    ๔. ธาตุกำเริบ [ธาตุโขก] ร่างกายไม่ปกติ อาจทำให้ฝันไปได้แปลกๆ

    อ้างอิงจาก...เหตุแห่งความฝัน (สุปินสูตร)

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๓๕

    อรรถกถา
    พึงทราบวินิจฉัยในสุปินสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
    บทว่า มหาสุปินา ความว่า ชื่อว่า มหาสุบิน เพราะบุรุษผู้ใหญ่
    พึงฝัน และเพราะความเป็นนิมิตแห่งประโยชน์อันใหญ่. บทว่า ปาตุรเหสุ
    แปลว่า ได้ปรากฏแล้ว.
    ในบทนั้น ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
    เพราะธาตุกำเริบ ๑
    เพราะเคยเป็นมาก่อน ๑
    เพราะเทวดาดลใจ ๑
    เพราะบุรพนิมิต ๑

    ในฝันเหล่านั้น คนธาตุกำเริบ เพราะ(น้ำ)ดีเป็นต้น เป็นเหตุทำให้กำเริบย่อมฝัน เพราะธาตุกำเริบ และเมื่อฝัน ย่อมฝันหลายอย่าง เช่น ฝันว่าตกจากภูเขา ว่าไปทางอากาศว่าถูกเนื้อร้าย ช้างและโจรเป็นต้นไล่ตาม.

    เมื่อฝันโดยเคยเป็นมาก่อน ย่อมฝันถึงอารมณ์เป็นมาแล้วในกาลก่อน.

    สำหรับผู้ฝันโดยเทวดาดลใจ ทวยเทพย่อมบรรดาลอารมณ์หลายอย่างเพราะประสงค์ดีก็มี เพราะประสงค์ร้ายก็มี ผู้นั้นย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอานุภาพของทวยเทพเหล่านั้น.

    เมื่อฝันโดยบุรพนิมิต (ลางบอกล่วงหน้า) ย่อมฝัน อันเป็นบุรพนิมิต
    ของประโยชน์หรือของความพินาศที่ประสงค์จะเกิดด้วยอำนาจบุญและบาปดุจพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ได้นิมิตในการได้พระโอรส
    ดุจพระเจ้าโกศล ทรงฝันเห็นสุบิน ๑๖และดุจพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้และครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงฝันเห็นมหาสุบิน ๕ ประการนี้.

    ในฝันเหล่านั้น ฝันเพราะธาตุกำเริบ และเพราะเคยเป็นมาก่อน ไม่จริง.

    ฝันเพราะเทวดาดลใจ จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย
    โกรธขึ้นมา ประสงค์จะให้ถึงความพินาศด้วยอุบาย จึงแสร้งทำให้ผิดปกติ.

    แต่ฝันเพราะบุรพนิมิต เป็นจริงโดยส่วนเดียวแท้.

    แม้เพราะความเกี่ยวข้องของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไปฝันแม้ทั้ง ๔ นั้นพระเสกขะและปุถุชน ย่อมฝัน
    เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้
    พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.

    ก็เมื่อฝันนั้น หลับฝัน ตื่นฝัน หรือว่าไม่หลับไม่ตื่นฝัน. ในข้อนี้มี
    อธิบายไว้อย่างไร ผิว่าหลับฝันก็ผิดอภิธรรม ด้วยว่าสัตว์ย่อมหลับด้วยภวังคจิต ภวังคจิตนั้นหามีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์ หรือสัมปยุตด้วยราคะเป็นต้นไม่ จิตเช่นนี้ย่อมเกิดแก่ผู้ฝัน หากตื่นฝันก็ผิดวินัย เพราะว่าฝันที่ตื่นฝันด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก (เห็นเหมือนไม่เห็น) จะไม่เป็นอาบัติไม่ได้ เพราะล่วงละเมิดด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก เพราะแม้ผู้ฝันทำล่วงละเมิดก็ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียวเท่านั้น เมื่อไม่หลับ ไม่ตื่นฝัน ชื่อว่าไม่ฝัน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงไม่มีฝันและจะไม่มีก็ไม่ใช่. เพราะเหตุไร เพราะผู้ฝันเข้าสู่ความหลับดุจลิง. IMG_0552.jpeg
     
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    IMG_0571.jpeg วิปัลลาส หรือ วิปลาส 4 (ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน, ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง - distortion)
    วิปลาส มี 3 ระดับ คือ
    1. สัญญาวิปลาส (สัญญาคลาดเคลื่อน, หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู - distortion of perception)
    2. จิตตวิปลาส (จิตคลาดเคลื่อน, ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร - distortion of thought)
    3. ทิฏฐิวิปลาส (ทิฏฐิคลาดเคลื่อน, ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล - distortion of views)

    วิปลาส 3 ระดับนี้ ที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ
    1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (to regard what is impermanent as permanent)
    2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (to regard what is painful as pleasant)
    3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (to regard what is non-self as a self)
    4.. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม (to regard what is foul as beautiful)

    สมดังที่พระนาคเสนกล่าวไว้ว่า มหาบพิตรผู้ที่หลับดุจลิงแลย่อมฝัน. บทว่า กปิมิทฺธปเรโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยการหลับของลิง. เหมือนอย่างว่า การหลับของลิงเป็นไปเร็วฉันใด การหลับที่ชื่อว่า เป็นไปเร็ว เพราะแทรกแซงด้วยจิตมีกุศลจิตเป็นต้นบ่อย ๆ ก็ฉันนั้น ในความเป็นไปของการหลับใด จิตย่อมขึ้นจากภวังค์บ่อย ๆ ผู้ประกอบแล้วด้วยการหลับนั้น ย่อมฝัน.

    ด้วยเหตุนั้น ฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง.
    ในฝันนั้นพึงทราบว่า เป็นกุศลแก่ผู้กระทำการไหว้เจดีย์ ฟังธรรม และ
    แสดงธรรมเป็นต้น เป็นอกุศลแก่ผู้ทำปาณาติบาตเป็นต้น พ้นจากสองอย่างนั้นเป็น อัพยากฤตในขณะอาวัชชนจิตนึก และขณะตทาลัมพนจิตยึดฝันนั้นเป็นอารมณ์. ฝันนี้นั้นเพราะมีวัตถุเป็นทุรพล จึงไม่สามารถจะชักปฏิสนธิของเจตนามาได้ ก็เมื่อเป็นไปแล้ว ฝันอันกุศลและอกุศลอื่นอุปถัมภ์ไว้ย่อมให้วิบาก ให้วิบากก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาในฝันก็เป็นอัพโพหาริก คือกล่าวอ้างไม่ได้เลยเพราะเกิดในที่อันมิใช่วิสัย.

    ก็สุบินนี้นั้น แม้ว่า โดยเวลาฝันในเวลากลางวัน ย่อมไม่จริง ใน
    ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ก็เหมือนกัน. แต่ตอนใกล้รุ่ง เมื่อ
    อาหารที่กิน ดื่ม และเคี้ยวย่อยดีแล้ว โอชะอยู่ตามที่ในร่างกาย พออรุณขึ้นความฝันย่อมจริง เมื่อฝันอันมีอิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อิฏฐารมณ์ เมื่อฝันมีอนิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อนิฏฐารมณ์.

    ก็มหาสุบิน ๕ เหล่านี้โลกิยมหาชนไม่ฝัน มหาราชาทั้งหลายไม่ฝัน พระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลายไม่ฝันอัครสาวกทั้งหลายไม่ฝัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ฝัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ฝัน พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้นย่อมฝัน.


    สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับคำทำนายฝัน
    มูลเหตุแห่งความฝัน
    ในคัมภีร์สารัตถสังคหะในพระพุทธศาสนา ได้ให้มูลเหตุแห่งความฝันไว้อย่างมีเหตุผลที่ดี คือกล่าวว่า คนที่มีความฝันนั้น มักจะเนื่องจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    ๑. ฝันเนื่องจากธาตุในร่างกายไม่ปกติ เช่น กินอิ่ม ท้องเสีย หรือเจ็บป่วยแล้วฝันประการหนึ่ง
    ๒. เนื่องจากจิตใจผูกพันประหวัดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งประการหนึ่ง
    ๓. ฝันเนื่องจากเทวดาปรารถนา จะสังหรณ์ให้ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าและ
    ๔. ฝันอันเนื่องจากอำนาจแห่งกุศลกรรม และอกุศลกรรมบันดาล ให้เป็นเรื่องดีหรือร้าย ที่เรียกว่า บุพนิมิต อีกอย่างหนึ่ง
    ความฝันในข้อ ๑ หรือ ๒ ย่อมเป็นความฝันที่ไม่แน่นอน เมื่อพิจารณาคำทำนายฝัน จะต้องดูสาเหตุเหล่านี้ว่า มีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วย

    เวลาที่ฝัน
    นอกจากนั้นยังต้องดูเวลาที่ฝันที่เรียกว่ายามประกอบด้วย โดยความฝันในเวลากลางวันหรือปฐมยาม คือช่วงเวลา ๐๖.๐๐ - ๒๒.๐๐น. เป็นความฝันที่ไม่ควรเอามาทำนายฝันเนื่องจากอาหารที่กินเข้าไปยังไม่ย่อยหมดร่างกายไม่เป็นปกติ ส่วนมัชฌิมยาม เวลา ๒๒.๐๐-๐๒.๐๐ น. เป็นความฝันที่ไม่ค่อยแน่นอนเนื่องจากบางคนร่างกายปกติแล้วแต่อีกบางคนยังไม่ปกติ ส่วนความฝันในช่วงปัจฉิมยามคือเวลา ๐๒.๐๑-๐๖.๐๐ น. ร่างกายและจิตใจเป็นปกติแล้ว ฝันนั้นมักจะเป็นจริงเที่ยงแท้คือฝันดีคงได้ดี ส่วนฝันร้ายอาจจะร้าย อนึ่งท่านว่า
    ถ้าฝันในปฐมยามฝันดีหรือฝันร้ายจะเห็นผลภายใน ๘ เดือน
    ถ้าฝันในมัชฌิมยาม จะรู้เหตุภายใน ๔ เดือน
    ถ้าฝันในปัจฉิมยาม จะรู้เหตุในวันหรือ ๒ วัน เปิดดูไฟล์ 6487326
     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    [กำหนดความตายด้วยเหตุ ๔ อย่าง]

    ชื่อว่าความเกิดแห่งมรณะ (คือความเกิดตาย) มี ๔ อย่าง คือ เพราะสิ้นอายุ ๑ เพราะสิ้นกรรม ๑ เพราะสิ้นทั้ง ๒ อย่าง ๑ เพราะกรรมเข้าไปตัดรอน ๑

    [อธิบายความสิ้นอายุของสรรพสัตว์ ๔ อย่าง]

    วินิจฉัยในคำว่า "อายุกฺขเยน" เป็นต้น ดังต่อไปนี้ แม้เมื่อยังมีกรรมานุภาพ ความตายเพราะความสิ้นไปแห่งอายุ ตามที่กำหนดไว้ในคตินั้นๆ ชื่อว่าอายุกขยมรณะ (ความตายเพราะสิ้นอายุ) ฯแม้เมื่ออายุตามที่กำหนดไว้ในคตินั้นๆ ยังเหลืออยู่ และเมื่อความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยมีคติและกาลเป็นต้นยังมีอยู่ ความตายเพราะกรรมที่ให้สำเร็จภพนั้นๆ ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ชื่อว่ากัมมักขยมรณะ (ความตายเพราะความสิ้นกรรม) ฯ ความตาย เพราะอายุและกรรมสิ้นไปพร้อมๆ กันทีเดียว ชื่อว่าอุภยักขยมรณะ (ตายเพราะสิ้นไปทั้ง ๒ อย่าง) ฯ แม้เมื่ออายุและกรรมทั้ง ๒ อย่างนั้นยังมีอยู่ ความตายของบุคคลทั้งหลาย ผู้มีสันดานที่ขาดลงด้วยความพยายามทั้งหลาย มีการนำศัสตรามาเป็นต้น ซึ่งเป็นไปด้วยกำลังกรรมที่เข้าไปตัดรอนบางอย่างที่สำเร็จแล้วในภพก่อนก็ดี ความตายที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจให้เคลื่อนจากฐานในทันใดนั่นเอง ดุจความตายของพระเจ้าทุสิมารราช และพระเจ้ากลาพุราชเป็นต้น เพราะกรรมที่มีความสามารถถูกอุปัจเฉทก-กรรมซึ่งประมวลมา ด้วยความพยายามบางอย่าง อันตนทำไว้ในเหล่าชนผู้มีคุณมากขัดขวางแล้ว เป็นกรรมไม่สามารถในการยังอัตภาพนั้นๆ ให้เป็นไปได้ก็ดี ชื่อว่าอุปัจเฉทกมรณะ (ความตายเพราะกรรมเข้าไปตัดรอน) ฯ ก็อุปัทเฉทกมรณะนี้ ไม่มีแก่พวกสัตว์นรก พวกชนชาวอุตตตรกุรุทวีป และพวกเทพบางเหล่า ฯ

    เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า "ความตาย พึงมีแก่สัตว์บางพวก เพราะความ พยายามบ้าง เพราะอุปัจเฉทกกรรมบ้าง " ดังนี้ ฯ ความเกิดขึ้น คือความเป็นไปแห่งมรณะ ชื่อว่ามรณุปปัตติ (ความเกิดขึ้นแห่งความตาย)

    IMG_0572.jpeg
     
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    พื้นฐานที่ต้องพิจารณา คร่าวๆ ก่อนพิจารณา เรื่องอภิญญา ฤทธิ์

    (เป็นการพิจารณาของจขกท.)

    #แม้แต่ในเรื่อง โรค 3 ได้ยาจึงหาย ไม่ได้ยาไม่หาย ได้ยาก็ช่างไม่ได้ก็ช่างก็หาย และต่อให้ได้ยาก็ไม่หายฯ

    กรรมจัดสรร !


     
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    บันทึกน้ำจิ้มตอนที่1 IMG_0573.jpeg IMG_0574.jpeg IMG_0575.jpeg IMG_0576.jpeg
     
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    บันทึกน้ำจิ้มตอนที่2

    IMG_0577.jpeg IMG_0578.jpeg
     
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    IMG_0579.jpeg



    #อาบน้ำว่านมาเหมือนกัน แต่เป็นน้ำว่านที่ บาบอสูงสุดที่สตูล ทำบ่อว่าน เพื่อล้างคุณน้ำแค่ดันเจอพระยูไล (ส่องเจอในถาดน้ำแล้วบอกสู้ไม่ได้)
     
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ค่อยๆลง บันทึกน้ำจิ้ม อีกหลายเรื่อง จนอัพเดทล่าสุด

    Comming soon
     
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ภาคผนวก พื้นฐาน จขกท.



    จากประสบการณ์จากกายทิพย์ จิตหรือญาน ของข้าพเจ้าที่สงเคราะห์มาตามเหตุและปัจจัย

    ๑.ว่าด้วยดวงสุญญตธรรม มีดวงสุญญตโปร่งใส เป็นที่ห่อหุ้มร่างกายทิพย์ นำไป มีรู้สึกตัวโดยตลอด มีสัญญาสามารถควบคุมร่างได้ทั้ง ๒ ร่างมีความรู้สึกนึกคิด มีความตื่นตัว มีสัญญา ความจำได้หมายรู้ ร่างต้นหากปรารถนาจะได้ยินหรือไม่ปรารถนาจะได้ยิน ในขณะที่กายทิพย์แยกออกไป ร่างกายทิพย์ ก็มีความคิด พินิจพิจารณา ความปรารถนาพร้อม ที่จะทำกิจแห่งการความเจริญเบื้องหน้าในพระสัทธรรม (สมัยยังเป็นภิกษุ)

    ๒.ว่าด้วยการปรากฎการณ์ในมหาวิปัสสนาญาน เคลื่อนร่างหลักและจิตว่าด้วยญานหายไป เพียง๑ เดียว มีสัญญา สู่อนาคตกาล หายไปจากกาลเวลา จะไม่มีความรู้สึกสัมพันธ์กับร่างต้น ไม่อยู่ในสภาวะกายทิพย์ จิตหรือญานมีความรู้ มีปัญญาในพิจารณา รับรู้ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า อากาศธาตุ บรรยากาศ ลมหายใจเข้าออก ปรากฎ ณ เบื่องหน้า และปรากฎเวทนา เมื่อพิจารณาโดยรวมครุ่นคิดเสร็จกิจ จิตและร่างจะเคลื่อนตัดกลับที่เดิม และลืมตาขึ้นมา เพื่อจดจำและใคร่ครวญ(ลาสิกขามาแล้วใหม่ ปฎิบัติต่อเนื่อง)

    ๓.ว่าด้วยการทำสมาธิถอดกายทิพย์ โดยมิตั้งใจว่าจะไปที่ใด เพียง มีสัญญาจิตรู้ว่า ตนออกไปจากร่าง ไป ปรากฎในสถานที่ภพภูมิอื่น มีสติความนึกคิด พิจารณา มีความสงสัย มีความปรารถนาเพื่อที่จะให้แน่ใจ ในสิ่งที่พบเห็น และจะทำการสำรวจ พิจารณายังเหตุและปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ( กลับไปที่ปราสาทมุกสวรรค์ สมัยบวชเป็นภิกษุ)

    ๔.ว่าด้วยการทำสมาธิ โดยมิได้ตั้งใจและกำหนดว่าจะไปสถานที่ใด มีสัญญา สามารถเป็นไปด้วยตนเอง และโดยมากจะมีสารถีเป็นผู้พาเดินทางข้ามไป โดยใช้ญาน พาหนะชนิดต่างๆ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ข้ามมิติ พาไปทัศนศึกษา บางครั้งคราว เมื่อพอไปถึงก็หายไป

    ๕.ว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาน มีลักษณะ เหมือนกับข้อ ที่ ๓ แต่ มีสัญญา มีการรับรู้ เวทนา สัญญา อันปรากฎ ที่รุนแรงทางความคิด ความรู้สึก เป็น กายเก่า ขันธ์เก่า มีเรื่องมีราว ที่ตัดออกจากภพปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง มีผัสสะ อายตนะ รู้ชัดรับรู้ทุกข์ สุข แห่งธรรมารมณ์ สิ่งที่มากระทบ และหากเป็นเรื่องที่แย่ๆกระทบกับความรู้สึก ก็จะเห็นภัยของการระลึกชาติ ทันที จนไม่ปรารถนาจะระลึกสิ่งใดๆในอดีตชาติได้อีก เพราะมีสัญญาแห่งความสุขทุกข์ เจ็บปวดและทรมาน (ลาสิกขามาใหม่แล้วปฎิบัติต่อ ในเวลาใกล้เคียงกันกับข้อ ๒ “อดีตพระราชปาล”)

    ๖.ว่าด้วย นิมิต ที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากการทำสมาธิ รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง แต่ว่ามี สัญญา ความจำได้ หมายรู้ แบ่งเป็น เรื่องราว ภาพความทรงจำในอดีต ประกอบเวทนาในอดีตชาติก็ดี ในปัจจุบันชาติก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี แต่เป็นไปด้วยกิจแห่ง ญาน คือเครื่องรู้ ในกรณีนี้ ไม่เกี่ยวพันกับร่างหลัก

    ๗.ว่าด้วยสัญญาและสัญญาวิปลาส เป็นการฝันทั่วๆไป เป็นเรื่องที่รู้สึกตัวว่าฝันบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ในความฝันบ้าง(ห้วงจิตแข็ง การปฎิบัติดี) เป็นเหยื่อในความฝันบ้าง บอกเหตุบ้าง เพ้อเจ้อบ้าง อยู่ในระดับปกติที่คนทั่วไป ที่สามารถเข้าถึง

    ๘.ว่าด้วยสัญชาตญาณ เครื่องกำหนดรู้ ไม่มีกายทิพย์ ไม่มีความฝัน อยู่ในสถานการณ์ การเผชิญหน้ากับความเป็นจริง เป็นไปด้วยกิจแห่งญานและคุณวิเศษ (อ้างอิงจาก การกำหนดจุด การจับ การติดตาม การดัก กำหนดทิศทาง ซุ่มโจมตีในจุดที่แม่นยำ )

    ๙. ว่าด้วยการตั้งใจว่าจะถอดจิต หรือกายทิพย์ จะไปสถานที่ใด ก็ถอดไปได้ ตามใจปรารถนา (อยากทำได้ แต่ยังไม่สามารถทำให้ปรากฎ)

    #อดีตพระนวกะ(Outstanding )โครงการบวชเฉลิมพระเกียรติ ปี ๕๔


     
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    #เคสปี62

    #การตรวจจับจิตสังหาร การดักใจ ข้ามขอบเขตพื้นที่ จนเข้าไปในใจกลางศัตรู เพียงลำพัง 1 ต่อ 5 อาวุธครบมือ ยิงปะทะกัน ในระยะห่าง 15-50 เมตร แบบคาวบอย อาวุธสงครามครบมือ โดยไม่ใส่เกราะเครื่องป้องกันใดๆ [จขกท.มีความมุ่งมั่นในการพลีชีพเพื่อปกป้องสถาบันหลักทั้ง 3 สถาบันของชาติ]


    https://www.thaipost.net/main/detail/26901#


    IMG_0580.jpeg

     

แชร์หน้านี้

Loading...