สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ....ผู้ที่เข้าถึงดวงธรรมใดๆ หรือ กายภายในใดๆ

    ให้หมั่นดับหยาบไปหาละเอียด เสมอๆ หยดการปรุงแต่งใดๆ ปล่อยวิถีใจเข้าศูนย์กลางเสมอ

    เป็นการเจริญธรรม ปหานอกุศลธรรม ที่ท่านคาดไม่ถึง


     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว ?

    
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?


    ------------------------------------------



    ตอบ:

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข

    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ

    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน

    ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด 18 กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา 18 กาย รวมเรียกว่ากายเถา

    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด 18 กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ

    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละ



    ที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน

    ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว

    ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา

    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ 8 ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน



    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ



    เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง

    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ 8 ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2014
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ............... เพราะ จิต-ใจ ของผู้เจริญวิชชาฯ ยังเป็นโลกียะ


    หากแค่เพียง ซ้อนเข้ากลางของกลางกายธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอรหัตต์ได้
    แต่ .....ไม่อาศัยญาณของพระธรรมกายมาช่วยชำระล้างกิเลส อาสวะ
    ไปจนถึงดับอวิชชาของตนได้.......... ก็ย่อมเป็นเพียง โคตรภูบุคคล

    ไม่ได้เป็นอริยะบุคคล


    ความเสื่อมจากฌาณ และ ญาณ อันเป็นสัมมาทิฐิ ย่อมเกิดได้อยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ...การอาศัยญาณพระธรรมกาย เห็น ทุกข์ สมทัย ที่กลางกายมนุษย์ และ กลางกายต่างๆ ที่่เป็นโลกิียะ ( กายมนุษย์มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด).........ไม่ว่าจะเห็นคร่าวๆคือ ดวงทุกข์ และดวงสมุทัย หรือ เห็นละเอียดคือ ดวงทุกข์มีสี่ดวงซ้อนอยุ่ข้างในและดวงสมุทัยมีสามดวงซ็อนกัน


    .......เห็นแล้วให้ธรรมกายพิสดารกายซ้อนสับทับทวี ผ่านทุกดวงดำ( ทุกข์&สมุทัย)

    เมื่อทุกข์ดับ เพราะสมุทัยดับ ก็จะถึงดวงนิโรธ ผ่านกลางนิโรธจะพบดวงมรรค



    .......เสร็จแล้วพิสดารซ้อนสับทับทวี ไปจนสุดละเอียด ปล่อยวางอุปาทานความยินดีในขันธ์ห้า(โลกียะขันธ์) และความยินดีในฌาณสมาบัติ ธรรมกายจะตกศูนย์
    เป็นธรรมกายที่ปรากฏในพระนิพพาน


    ให้เป็นพระนิพพานในพระนิพพาน สุดละเอียดต่อไป
    นิ่งในนิ่ง เกิดญาณปัญญาหยั่งรู้ธรรมที่ควรรู้ต่อไป
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ....เนื่องจาก การพิจารณา รู้ เห็น องค์วิปัสสนา เช่น ธาตุสี่ ขันธ์ห้า อายตนะ ปฏิจสมุปบาท อินทรีย์ ฯลฯ ยังไม่ครบถ้วน

    ....ยังต้องกระทำองค์อริยมรรคมีองค์แปดให้สมบูรณ์

    ( สัมมาทิฐิ ไปจนถึงสัมมาสมาธิ ครบ8)

    หรือ เพราะ สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์ถึงระดับที่ดับตัณหาได้ขาดสะบั้น


    หรือ ยังดับอวิชชาไม่สมบูรณ์จนเป็นสมุทเฉทปหาน


    .....ก็ต้อง หมั่นเจริญสมถะวิปัสสนา พิจารณาอริยสัจจ์สี่บ่อยๆเนืองๆไป

    เพื่อให้องค์มรรคสมบูรณ์เต็มรอบ จนกว่าจะเป็นนิโรธที่ไม่ย้อนกลับสู่โลกียะอีก

    -------------------------------------------------------------------------




    ...สามารถตรวจสอบ ดวงบารมีทั้งสิบ ของตนได้ เมื่อเจริญวิชชาฯละเอียดขึ้นไป

    เพื่อให้ทราบว่า บารมีทั้งสิบ ตนยังบำเพ็ญบกพร่องด้านใด

    ถ้าโตเต็มส่วน ก็สามารถสำเร็จมรรคผลในเวลาอันใกล้ชาตินี้ได้
    ( กรณี ตั้งเจตนาเพียง ปกติสาวก )















    ...รายละเอียดจะกล่าวในวาระต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ...การเข้าไปสอบถาม ขอความเมตตาให้ครูบาอาจารย์โดยเฉพาะสายพระ เช่น หลวงปู่วีระ หลวงป๋า( พรเทพญาณมงคล) ท่านช่วยตรวจสอบและตรวจวิชชาฯให้ จะดีที่สุด


    ........ไม่ควรประมาท....... ไม่ลืมครูที่ท่านยังอยู่ รอช่วยเหลือเราด้วยมหาเมตตากรุณา




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    [​IMG]



    โอวาทธรรม...หลวงป๋า

    ความโกรธนั้นมีโทษมากแก่บุคคลผู้มักโกรธ เจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียว เป็นต้นว่า คนมักโกรธย่อมมีผิวกายเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
    กล่าวคือ บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมเป็นคนขาดสติปัญญา รอบคอบ จึงกลายเป็นคนไร้เหตุผล สามารถที่จะพูด หรือกระทำความประทุษร้ายผู้อื่น แม้แต่พ่อ-แม่ ผู้มีพระคุณ และ/หรือแม้แต่ตนเอง ก็ประทุษร้ายได้

    อนึ่ง คนมักโกรธย่อมเป็นทุกข์ มักฟุ้งซ่านมาก นอนไม่หลับ

    บุคคลผู้มักโกรธย่อมเสื่อมจากคุณธรรม คือเมตตากรุณาธรรม และขันติธรรม

    และเสื่อมจากปัญญาอันเห็นชอบ อันจะนำไปสู่ความประพฤติที่ไม่ดี
    ให้ต้องเสื่อมเสียทรััพย์ เสื่อมเสียเกียรติยศ และเสื่อมจากญาติมิตร
    เพราะไม่มีใครอยากเข้าใกล้ คบค้าสมาคมด้วย

    เพราะคนมักโกรธแล้ว ชอบอาระวาดเกะกะระราน ย่อมพูดคำที่ไม่ควรพูด
    เช่นพูดจาหยาบคาย ด่าว่าผู้อื่น
    ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่นทะเลาะวิวาท ชกต่อยทุบตีผู้อื่น
    รวมความว่า คนโกรธแล้วย่อมกระทำความฉิบหาย ให้แก่ตนเอง และผู้อื่นได้มาก





    ........................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมังคโล
    จากหนังสือ
    หลักธรรมาภิบาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ปฏิบัติแนวพุทโธ ยุบหนอ ไม่ได้เข้าศูนย์กลางกาย บรรลุนิพพานไม่ได้ ใช่ไหม ?

    
    ที่ว่าวิชชาธรรมกายเป็นทางสายเอก อย่างนี้การปฏิบัติในแนวทางอื่น เช่น พุทโธ ยุบหนอพองหนอ ซึ่งไม่ได้เข้าทางศูนย์กลางกายก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ใช่ไหมครับ ? หรือว่ากระผมเข้าใจผิด
    ----------------------------------------------------------




    ตอบ:


    การบรรลุมรรคผล บรรลุจากธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ณ ภายในนะครับไม่ใช่ภายนอก และธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือใจ นั้นอยู่ตรงกลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม ใจอยู่ที่ไหน? นั้นท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดบอกแล้วว่า“ใจ” มันทำหน้าที่ตาม โรงงานต่าง ๆ โรงงานกาย โรงงานหู โรงงานตา โรงงานลิ้น แล้วก็โรงงานหัวใจก็มี พอไปทำงาน โรงงานต่าง ๆ เสร็จตามออฟฟิซเหล่านั้นแล้วกลับมานอนบ้าน ตื่นเช้าก็ออกจากบ้าน บ้านอยู่ ตรงไหน? อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ภาษาบาลีว่าคุหาสยํ “อยู่ในถ้ำ” ถ้ำก็อยู่ตรงนั้นแหละ ตรงกลางกายกลางพระนาภี เพราะฉะนั้นใจมันอยู่ตรงนั้น เมื่อใจอยู่ตรงนั้น การเปลี่ยนวาระจิต เปลี่ยนภูมิธรรม มันเปลี่ยนที่ไหน? ก็เปลี่ยนที่ใจ ใจอยู่ตรงไหน? ก็อยู่ตรงศูนย์กลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม การเปลี่ยนวาระจิตตามภูมิธรรมก็เปลี่ยนตรงนั้น จะดีจะชั่วก็ตรงนั้น จะไป นิพพานก็ตรงนั้น

    หลวงพ่อวัดปากน้ำน่ะท่านจึงรู้ว่าตรงศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายเอก จะทำอะไร จะถือศีลกี่ร้อยกี่พันข้อ จะนั่งสมาธิ วิปัสสนา จะยุบหนอพองหนอ พุทโธ อะไรก็ตาม มันไป เป็นอยู่ตรงนั้น ใจมันเกิดดับตรงนั้น ไปจนถึงนิพพานก็เป็นตรงนั้น คุณธรรมจะสูงขึ้น ก็เปลี่ยนที่ตรงศูนย์กลางกายนั้นแหละอาตมาจะพูดง่าย ๆ “ใจ” นั้นตั้งอยู่ตรงกลางธาตุ ธาตุเป็น ที่ตั้งของธรรม เมื่อใจสะอาดด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ธรรมก็สะอาด ธรรมคือบุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี อันเป็นธรรมชาติเครื่องชำระจิตใจที่อยู่กับใจและอยู่ในธาตุนั้นก็ เป็นธรรมสะอาด และเมื่อธรรมสะอาด ธาตุนั้นจะสกปรกได้ไหม? มัวหมองได้ไหม? ไม่ได้ เมื่อไม่ได้มันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปเท่าไหร่ ธาตุที่ละเอียดสุดละเอียดนั่นแหละ สุดท้าย เมื่อพ้นจากความบริสุทธิ์ของกายในภพ 3 จึงถึงธรรมกายไม่ว่าจะทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล หรือบารมีสิบ มันไปกลั่นไปชำระกันตรงธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ จากสุดหยาบ ไปสุดละเอียด ถึงธรรมกาย ณ ที่ตรงนั้น เมื่อเป็นตรงนั้นอาตมาจึงกล่าวว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน ก็บรรลุด้วยธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรม ธาตุที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า “วิสังขาร”

    ใจของสัตว์ในโลกในภพ 3 ชื่อว่า “ใจ” ได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบ มาจาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ถ้าสุดละเอียด เป็นใจของธาตุล้วนธรรมหรือ วิสังขารแล้ว ไม่เรียกว่า “วิญญาณ” ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่เรียกว่า “ญาณ” คือความหยั่งรู้ หรือ ความรู้แจ้ง ด้วยการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น

    ที่นี้นี่แหละบรรลุมรรคผลด้วยคุณธรรมตั้งแต่หยาบ เราไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ มันไปเป็นผลที่ธาตุที่ธรรมในที่สุดละเอียดแล้วเบิกบานขึ้น จึงชื่อว่า “พุทโธ” เบิกบาน ตื่น นั่นเบิกบานขึ้นมาธรรมกายก็ดี หรือกายที่ละเอียด ๆ นี่มันโตใหญ่ เพราะไม่ถูกหุ้มด้วยกิเลส อวิชชา ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ ไม่ถูกหุ้ม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำดีอะไร จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มันเป็นอยู่ตรงนั้น นี่แหละตรงนี้แหละที่คนไม่รู้เคล็ดลับ คุณธรรมจะดี เป็นคุณธรรมที่ดี ที่สูง ที่สะอาดบริสุทธิ์ ก็เป็นที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ เพราะฉะนั้นแหละตรงศูนย์กลางกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายและพระนิพพานถึงเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายเอก แม้จะยุบหนอพองหนอ พอใจสะอาดมันก็ไปสะอาดตรงนั้น แต่ผู้ปฏิบัติยุบหนอพองหนอที่ไม่เคย รู้จุดตรงนั้น ก็อาจจะไม่ทราบว่าใจของตนไปสะอาดตรงนั้น หรือจะพุทโธก็แล้วแต่พระอริยเจ้า จริง ๆ แล้วท่านรู้ ไม่ใช่ไม่รู้ รู้ครับ แต่ว่าผู้อื่นที่ยังไม่ถึงอริยเจ้า ท่านไม่รู้ เป็นได้ มีได้ หรือที่รู้ ก็มี เพราะฉะนั้นไม่ว่าปฏิบัติสายไหนนะครับ มันเป็นเรื่องเดียวกัน จึงไม่ต้องมาว่ากัน ดีด้วยกันทุกสาย เพราะมันไปสะอาดที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” เหมือนกัน จะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงมีสิทธิ์บรรลุมรรคผลได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ามรรคผล มันเกิดตรงนั้น ธรรมกายมรรค ผล และนิพพาน เบิกบานขึ้นมาจากตรงนั้น ตื่นขึ้นมาจาก ตรงนั้น เท่านั้นเอง แต่ว่าผู้เป็นพระอริยเจ้าท่านรู้ทุกองค์ ต้องรู้ รู้มากอย่างละเอียดหรือว่า ผู้พอเข้าใจแจ่มแจ้งพอสมควรเท่านั้นเองครับเพราะฉะนั้นไม่ต้องกังขา ปฏิบัติสายไหนดีทั้งสิ้น เป็นทางไปมรรค ผล นิพพาน ได้ทั้งนั้นถ้าใครปฏิบัติไปแล้ว กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ สะอาดบริสุทธิ์ ใจสะอาดบริสุทธิ์ ปัญญาก็บริสุทธิ์ ที่สุดใจก็หมดกิเลสแล้ว ก็ไปหมดกันตรงนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันเพียงแต่จะรู้ หรือไม่รู้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติยังไม่ถึง หมายความว่ายังไม่เป็นมรรคเป็นผลที่แท้จริง ก็อาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ผู้ที่ถึงมรรคผล และพระนิพพานแล้วเชื่อแน่ว่าต้องรู้แน่นอนครับ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    โอวาทธรรม...หลวงปู่สด จันทสโร

    ศีล ๕ สิกขาบท สุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะเป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นสำคัญ เพราะเหตุนี้ สุรานี้เป็นตัวประมาททีเดียว

    ธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎก มากน้อยเท่าใด สรุปลงในความไม่ประมาททั้งนั้น

    ถ้าว่าประมาทแล้ว ออกนอกธรรมทีเดียว ไม่อยู่ในธรรมเสียแล้ว

    ถ้าประมาทละก็ออกนอกธรรม ไม่อยู่ในธรรมทีเดียว

    ถ้าว่าไม่ประมาทละก็ อยู่ในธรรมที่เป็นกุศลทีเดียว

    ถ้าประมาทขึ้นแล้ว อยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลทีเดียว ตรงกันข้าม



    เพราะฉะนั้น สุรานี่เป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าเลิกสุราเสียได้ ก็เป็นเหตุของความไม่เป็นที่ตั้งของความประมาท ศีล ๕ สิกขาบท ก็รวมอยู่ในสุรานั่น อยู่ในความประมาทนั่น นี่เป็นตัวสำคัญ
    ........................



    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จันทสโร

    [​IMG]





    จากเทศนาธรรมเรื่อง
    ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง
    ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    [​IMG]




    " การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ มิได้มาตัวเปล่า
    ต่างมีบุญและบาปที่ทำไว้ในอดีตติดมาทุกคน
    ต่างกันแต่มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ช้าเราก็ต้องตายดอก
    อย่ามาแบกเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย
    ลาภสักการะอันหมุนลงได้เป็นราคาเงินนั้น
    เป็นสมบัตินอกกายตายแล้วเอาไปไม่ได้ดอก
    มันเป็นของใช้สอยประจำโลก
    เราตายแล้วก็ตกเป็นของคนอื่น เขาอาศัยใช้ต่อไป
    ใครจะว่าเป็นของใครไม่ได้ทั้งนั้น
    โลกมนุษย์เป็นแหล่งกลางสำหรับอาศัยสร้างบุญ สร้างบาป "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    [​IMG]



    " คนเช่นเรา ไม่ใช่ไร้ปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น
    เราจะฆ่าตังเองเพราะความปรารถนาทำไม
    ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น
    บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร
    เขาอาศัยความไม่รู้ มาว่าเรา ผู้ตั้งใจปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
    เมื่อผู้ไม่รู้ มาติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขา
    จะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร
    ถ้าจะกลบ ก็กลบได้เพียงชั่วคราว
    ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนา ก็จะเปล่งรัศมี
    ให้ผู้มีปัญญา เห็นด้วยสายตาของตนเอง
    ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ
    เราไม่ต้องเดือดร้อนใจ
    เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้
    ไม่ใช้ของเก๊หรือของเทียม
    ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม
    เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"




    .................................[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    [​IMG]



    เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา

    เที่ยงแท้แน่หนักหนา ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ

    จุติและปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น

    สังขาราไม่ยืนยิน ราคีสิ้นเป็นตัวมา ฯ




    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    หลวงพ่อสดท่านสอนว่า ต้องหมั่นเอาใจจดจ่ออยู่ที่กลางกั๊ก
    อันเป็นศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ให้หมั่นเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นเสมอ
    ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม
    จะทำ จะพูด แม้แต่อุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดอยู่ตรงนั้นเสมอ
    จรดหนักเข้า ๆ ๆ ๆ พอชินหนักเข้า ก็ชำนาญหนักเข้าๆ ๆ ๆ ๆ ก็หยุดได้

    พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ
    ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติฉินนินทา ทุกข์
    ไม่มีทางกระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้ว ถ้าทำจิตให้ได้ขนาดนี้แล้ว
    บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า ถึงซึ่งมงคลสูงสุดแล้ว

    ถ้ายังอาดูรเดือดร้อนไปตามอนิฎฐารมณ์ เป็นอัปมงคลแท้ ๆ
    หลวงพ่อย้ำว่า อัปมงคลมิใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาส หญิง ชายเท่านั้น
    ภิกษุสามเณรก็เป็นได้เหมือนกัน
    พอสงบไม่ลง ทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เป็นอัปมงคล

    หลวงพ่อท่านเคยสอนพระสงฆ์ สามเณรว่า

    ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา พอบวชแล้วไม่ต้องทำอะไร
    ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละเป็นใช้ได้
    ถ้าใจไม่ใส ภิกษุ สามเณรนั้นใช้ไม่ได้
    ยังเป็นภิกษุ สามเณรแต่ภายนอก ภายในเป็นไม่ได้
    พอทำใจให้ใสได้เท่านั้นก็เป็นที่บูชาของมหาชนทีเดียว
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ จริงหรือไม่ ?

    
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ

    ตอบ:

    เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร  เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต 

    และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้  พระคุณเจ้าโปรดทราบ  โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป 

    กระผมอยากจะเรียนถามว่า มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า  ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม !   ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ   ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก   พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย   นี่  หลักทำนิพพานให้แจ้ง

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น   ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว  จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ  เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น  ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว  จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”




    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต  มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต   มันเป็นฐานสำคัญ  นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด   เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน   จะให้ใจหยุด   ถึงได้สอนกัน   บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว   เท่านี้ก็พอแล้ว     ความจริงพอหรือไม่พอ   ให้ดูอริยมรรคมีองค์ 8 : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต   อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5  ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 อยู่ที่ไหน ?   ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน  เพราะฉะนั้น  ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย   มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา  นขา ทันตา ตโจ   ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่   ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ   เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย   จะไปปฏิเสธได้ยังไง  นิมิตมันต้องเกิดด้วย   และถ้านิมิตไม่เกิด   หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร   นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย  ไปเปิดดูได้ทุกท่าน   เป็นพระพุทธวจนะด้วย  ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น  นิมิตนี่เป็นของต้องมี  สมถภูมิ 40 น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ 10 นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่   จริงๆ แล้ว  แม้ อนุสสติ 10 อสุภะ 10 ก็ต้องเห็นนิมิต   แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้   แปลว่า พิจารณาจริงๆ  จะเอาแน่ๆ เช่น   เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน  ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน   แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น   แต่ไม่เห็นก็ได้   ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี   เขาทำกุศลสำคัญ  มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น  เลยไปเกิดเป็นเทพยดา  มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร  กระผมว่าสงบได้นิดเดียว   แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้  โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก   อันนั้นล่ะดีที่สุด  เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ  รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร   อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา   ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ  เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน  ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ 10 อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด   ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย   กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น   ท่านสูดลมหายใจเข้าออก  ท่องพุทโธๆ ไป  พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ  ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ   กระผมเชื่อแน่และรับรอง 100% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส   แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น  กลางของกลางดวงนั้น   แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก   ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง  แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน  พิจารณาเช่นนี้ครับ   ทิพพจักขุ ทิพพโสต  เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น  ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ  นั่งภาวนาก็เห็นครับ   ทำไมจะไม่เห็น  เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป  ไปถามดูก็ได้  แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม   ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม  นึกออกไปเห็น  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ  เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น  แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ?   ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา  มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง 2 คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ  อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์  อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง 2 

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ  วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก   สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน    แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ      ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน  ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง 2 คือ จิตละเอียดหนัก  พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ 3 ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว  แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ   เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย  ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก   แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต   
    ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ทำไมจึงได้ธรรมกายกันมาก ? 

    ทำไม ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย

    หรือวััดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี จึงได้ธรรมกายกันมาก ?



    -------------------------------------------



    ตอบ:

    เหตุปัจจัยที่ผู้เข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และในโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) ปฏิบัติได้ผลในอัตราที่ค่อนข้างสูง ก็เพราะว่า

    ผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมในสำนักนี้ เป็นผู้มีธาตุธรรมที่แก่กล้าดีพอสมควรเอง ด้วยบุญบารมีที่เขาได้สั่งสมอบรมมาดีแล้วพอสมควร (ปุพฺเพกตปุญฺญตา) เอง  จึงได้เข้ามาสู่สำนักปฏิบัติธรรมที่มีนโยบาย วิธีการฝึกอบรม อุปกรณ์การศึกษาอบรม และสิ่งแวดล้อมที่สัปปายะ และได้พบกับครูอาจารย์ เพื่อนสหธรรมิก ที่เป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริง อันเอื้ออำนวย และช่วยประคับประคองเกื้อหนุนให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีในอัตราที่สูง

    สำนักปฏิบัติธรรมนี้คือสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการทั้ง 2 นี้ ได้มีนโยบายหลักที่จะ “สร้างพระในใจคน” และ “สร้างพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ” อย่างจริงจังมาตั้งแต่เริ่มสร้างสถาบันแห่งนี้ขึ้น  จึงกำหนดและพัฒนาวิธีการฝึกอบรมแก่ผู้มาเข้ารับการศึกษาและฝึกปฏิบัติธรรมที่สำนักนี้ ให้ได้ผลตามนโยบายที่กำหนดไว้อยู่เสมอ

    วิธีการฝึกอบรมธรรมปฏิบัติที่กำหนดขึ้นไว้และได้รับการพัฒนาจนพิสูจน์ได้ว่า เอื้ออำนวยให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีมากก็คือ
    เมื่อมีผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมเริ่มได้ผลดีพอสมควรที่จะให้ได้รับคำแนะนำต่อวิชชาให้สูงขึ้นได้เพียงใด ก็จะรีบช่วยให้คำแนะนำ  ต่อธรรมให้ได้ถึงธรรมกาย  และต่อวิชชาชั้นสูง ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้เต็มขีดความสามารถหรือตามระดับภูมิธรรมที่เขาสามารถปฏิบัติได้ โดยไม่ชักช้า และอย่างต่อเนื่อง      เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้ปฏิบัติได้ถึงดวงปฐมมรรคหรือกายในกายที่ละเอียดๆ บ้างตามสมควร  ก็จะรีบช่วยแนะนำต่อวิชชาให้ได้ถึงธรรมกายและให้ได้ถึง 18 กาย แล้วให้ฝึกพิสดารกายซ้อนสับทับทวีสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระธาตุธรรมให้ใสสะอาดอยู่เสมอ      เมื่อผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ปฏิบัติจนชำนาญดีพอสมควรแล้ว ก็ให้คำแนะนำให้ฝึกวิธีการเจริญสติปัฏฐาน 4 พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้ง ณ ภายในและทั้ง ณ ภายนอก ทั้งโดยหลักปริยัติและหลักปฏิบัติ ทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพื่อให้รู้วิธีรักษาใจ และรักษาธรรมของตนอย่างถูกวิธี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญแก่การฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอีกต่อไป     เมื่อเห็นสมควรที่จะให้ฝึกต่อวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ก็ให้เข้ารับการฝึกต่อไปให้ถึงที่สุดตามระดับภูมิธรรมของแต่ละท่าน เพื่อสะสางธาตุธรรมของตนให้สะอาดบริสุทธิ์จากธาตุธรรมของภาคมารหรืออกุสลาธัมมา และยังจะมีผลในการช่วยผู้อื่นได้อีกด้วย
    ผู้ที่ฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลพอสมควรแล้ว ที่มีอุปนิสัยในการแนะนำสั่งสอน ก็จะมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยทำหน้าที่เป็นวิทยากรอีกต่อไป เพื่อช่วยแนะนำและควบคุมพระกัมมัฏฐานแก่ผู้มาเข้ารับการอบรมรายอื่นๆ ที่ยังล้าหลังอยู่หรือเพิ่งเข้ามาใหม่    โดยจะแยกผู้มาเข้ารับการอบรมตามระดับต่างๆ เป็นกลุ่มย่อยๆ   เพื่อให้วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำและควบคุมพระกัมมัฏฐานเป็นกลุ่มๆ โดยใกล้ชิด  เป็นการช่วยเพิ่มพูนบุญบารมีแก่ผู้ทำหน้าที่วิทยากรนั้นเองอีกด้วย
    ส่วนผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมที่ได้ผลดี  แต่ไม่มีอุปนิสัยในการแนะนำสั่งสอน  หรือยังเป็นเด็ก ก็จะได้รับมอบหมายให้เจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่ตามกลุ่มต่างๆ เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระการทำวิชชาสะสางธาตุธรรม ณ ภายในของวิทยากรที่กำลังทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะต้องถอยจิตหยาบออกมาเพื่อให้คำแนะนำลูกกลุ่มอีกทีหนึ่ง -- เป็นการเพิ่มพูนบุญบารมีของผู้ทำวิชชาชั้นสูงเองด้วยอีกโสดหนึ่ง
    โดยวิธีนี้ ยิ่งมีผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงใด ก็ย่อมจะยิ่งให้ผลดีทั้งในส่วนของการช่วยตนเองและช่วยผู้อื่นได้มากเพียงนั้น --  นี้ก็เป็นบุญต่อบุญบารมีต่อบารมี  ธรรมกายต่อธรรมกาย

    อุปกรณ์การฝึกอบรมและสิ่งแวดล้อมอันสัปปายะ ที่เอื้ออำนวยแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมให้ได้ผลสูง  ก็คือสำนักปฏิบัติแห่งนี้ คือสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย  อำเภอดำเนินสะดวก  จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ   และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญ วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) เป็นที่รวมสรรพตำราธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายทุกระดับ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ถ่ายทอดไว้ให้แก่ศิษยานุศิษย์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมายัง พระเดชพระคุณ พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกคือเป็นศิษย์ผู้รับการบรรพชาอุปสมบทโดยตรงจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ในฐานะผู้ถือนิสสัย และในฐานะผู้เรียนธรรมจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมาอย่างใกล้ชิด (ท่านได้รับความกรุณาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้จัดที่จำวัดให้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน เพื่อสะดวกแก่การสั่งและสอนวิชชาธรรมกายชั้นสูงมาโดยตลอด) จึงทำให้ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักนี้ ได้มีโอกาสศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายทุกระดับอย่างกว้างขวางละเอียดลออ ให้สามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องและเที่ยงตรง  ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ และสอดคล้องกันทั้งหลักปริยัติและวิธีการปฏิบัติ    ช่วยขจัดความลังเลสงสัยได้เป็นอันมาก ด้วยว่าได้มีตำรับตำราคอยเป็นครูอยู่ใกล้ชิดและผู้ช่วยแนะนำที่เป็นกัลยาณมิตรคู่ใจ ยากที่จะได้รับจากที่อื่นใดในโลก
    เมื่อผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมนี้ ปราศจากความลังเลสงสัยทั้งในหลักปริยัติและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ย่อมมีโอกาสใช้เวลาที่ได้เสียสละมาเข้ารับการอบรมด้วยวิธีการอันถูกต้องได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาในการคลำหาทางเปะๆ ปะๆ ไปเองโดยเปล่าประโยชน์   ก็ย่อมจะมีกำลังใจ มีสติปัญญาปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดีกันเป็นส่วนมากเป็นธรรมดา

    ครู อาจารย์ และเพื่อนสหธรรมิกสำนักนี้   ต่างมีใจเอื้อเฟื้อแก่ผู้มาเข้ารับการอบรมโดยทั่วหน้ากันว่า จะช่วยกันถ่ายทอดธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายนี้แก่ผู้อื่น  จนเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ ตามระดับภูมิธรรมของผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด ด้วยความมุ่งหมายเพื่อที่จะให้สาธุชนผู้มาเข้ารับการอบรมทุกท่าน สามารถช่วยทั้งตนเองและผู้อื่นได้ด้วย โดยไม่ปิดบังวิชชา  และไม่หวั่นวิตกว่าจะมีผู้อื่นใดเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในธรรมยิ่งกว่าตน เพราะนั่นเป็นความปรารถนาของเราทุกคน ที่มุ่งจะเผยแพร่พระสัทธรรมนี้ให้กว้างไกลออกไปทั่วประเทศและแม้ในต่างประเทศ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขแก่สาธุชนโดยส่วนรวมร่วมกัน
    ทั้งหมดนี้แหละคือเหตุปัจจัยที่สำคัญ อันเอื้ออำนวยให้ผู้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติภาวนาธรรมที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย  อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) จึงปฏิบัติได้ผลดีในอัตราที่สูง

    บัณฑิตผู้มีปัญญาใด รู้จักเหตุและได้สังเกตผลตามที่เป็นจริง  และกอปรด้วยมุทิตาธรรม  ย่อมจักเข้าใจได้ดี   และท่านที่เป็นผู้มีอุปการะแก่กิจกรรมเผยแพร่ธรรมปฏิบัติของสำนักนี้ และทั้งอนุโมทนาในมหากุศลธรรมทานแห่งสำนักนี้ด้วย ย่อมเป็นมหานิสงส์ บุญราศีทับทวีแก่ท่านผู้นั้นแต่ส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2014
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    อาศัยญาณพระธรรมกาย***** ตรวจอรูปาวจรภูมิ 4 ******

    อรูปาวจรภูมิ 4
     
     
     

    อรูปาวจรภูมิ 4 คือ ที่สถิตอยู่ของอรูปพรหม 4 ชั้น ทั้งอรูปพรหมที่เป็นปุถุชนและที่เป็นอริยบุคคล

    เป็นที่เกิดของติเหตุกปุถุชน 1 และอริยบุคคล 7 (เว้นพระโสดาปัตติมัคคบุคคล)

    ผู้ที่ในอดีตชาติได้เจริญอรูปฌานแล้ว ขณะกำลังจะจุติ (เคลื่อนจากภพเก่า คือตาย) จิตยังไม่เสื่อมจากอรูปฌานชั้นใด ก็จะได้มาเกิดเป็นอรูปพรหมในชั้นนั้น

    อรูปพรหมปุถุชน นั้น เมื่อสิ้นอายุแล้ว ก็มีโอกาสไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่าตามกรรมเก่าที่กำลังรอให้ผลอยู่ได้เสมอ

    ส่วนอรูปพรหมอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระอนาคามีบุคคลลงมา ที่สถิตอยู่ในอรูปภพชั้นที่ 1-2-3 เมื่อสิ้นอายุก็มีโอกาสไปเกิดในภูมิที่สูงกว่าได้ แต่จะไม่ไปเกิดในภูมิที่ต่ำกว่าเดิมอีก จนกว่าจะบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ก็จะปรินิพพานในชั้นนั้น

    เฉพาะอรูปพรหมอนาคามีบุคคลลงมา ที่สถิตอยู่ในอรูปภูมิชั้นที่ 4 (ชั้นสูงสุด) คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นั้น เมื่อสิ้นอายุลงก็จะเกิดในภพภูมิเดิมนี้ จนถึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ก็จะปรินิพพานในชั้นนี้

    ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ได้ปฏิบัติตามวิธีเจริญภาวนาที่กล่าวข้างต้นแล้ว น้อมเอาอรูปภพมาเป็นกสิณ คือมาตั้งตรงศูนย์กลางธรรมกาย ธรรมกายเจริญฌานสมาบัติในกสิณ หรือพิสดารกาย ดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียด แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกาย ให้เห็นสุดอรูปภพ ตรวจดูความเป็นไปในแต่ละอรูปภพจากสูงสุด ถึงต่ำสุด คือตั้งแต่ชั้นที่ 4 ลงไปถึงชั้นที่ 1 เป็นชั้นๆ ไป ดังต่อไปนี้

    ชั้นที่ 4 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหมที่เมื่อชาติก่อนได้เจริญอรูปฌาน 4 (รวมรูปฌาน 4 เป็นสมาบัติ 8) แล้วขณะเมื่อก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จึงได้มาเกิดในภพหรือภูมินี้ อรูปพรหมในภูมินี้มีอายุ 84,000 มหากัป

    อุทกดาบส (ที่พระมหาบุรุษคือพระโพธิสัตว์ของเราได้เคยมาเรียนในสำนักของท่านและได้บรรลุสมาบัติ 8 แต่ทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้บรรลุโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกจากสำนักนี้ไปบำเพ็ญสมณธรรมโดยลำพังพระองค์เอง จนได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ) จุติจากมนุษย์โลกแล้วก็ได้มาอุบัติคือเกิดในภพนี้ ก่อนวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่นาน

    ชั้นที่ 3 อากิญจัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ซึ่งเมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากอากิญจัญญายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในภูมินี้มีอายุ 60,000 มหากัป

    อาฬารดาบส (ที่พระมหาบุรุษของเราได้เคยมาเรียนในสำนักของท่านและได้บรรลุอรูปฌาน 3 (รวมรูปฌาน 4 เป็นสมาบัติ 7) แต่ทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้บรรลุโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกจากสำนักนี้ ไปศึกษาต่อยังสำนักอุทกดาบส) จุติจากมนุษย์โลกแล้วก็ได้มาอุบัติในภพนี้ ในระยะเวลาไม่นาน ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ชั้นที่ 2 วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ที่เมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากวิญญาณัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในชั้นนี้มีอายุ 40,000 มหากัป

    ชั้นที่ 1 อากาสานัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ที่เมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากอากาสานัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในชั้นนี้มีอายุ 20,000 มหากัป

    มีข้อสังเกตที่สำคัญว่า เมื่อผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายได้ปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวข้างต้นแล้ว น้อมอรูปภพมาเป็นกสิณ ธรรมกายเจริญสมาบัติในกสิณ แล้วใช้ตาหรือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภูมิ โดยขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้เต็มอรูปภพ พิจารณาดูแต่ละภูมินั้น ต่างได้เห็นอรูปพรหมมีรูปร่างสวยงามมาก วรกายใหญ่ มีเครื่องประดับที่สวยงาม ละเอียดประณีตยิ่งนัก และมีรัศมีสว่างกว่ารูปพรหมทั่วๆ ไป ละเอียดมากจนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันก็ไม่เห็นรูปกายของซึ่งกันและกัน คงติดต่อกันรู้กันได้ด้วยจิต มีแต่ตาหรือญาณพระธรรมกายเท่านั้นที่ละเอียดกว่า และสามารถเห็นรูปกายของอรูปพรหมได้ตามที่เป็นจริง และได้เห็นว่ารัศมีของอรูปพรหมปุถุชนแม้จะมีรัศมีสว่างไสว แต่ก็ยังไม่สว่างไสวเท่ารัศมีของอรูปพรหมอริยบุคคล และแม้เท่ารัศมีรูปพรหมในชั้นสุทธาวาส ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี ผู้ตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้หมดแล้ว และชั้นพระอรหันต์ ผู้ตัดสัญโญชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการได้หมดสิ้นแล้ว เพราะอรูปพรหมอริยบุคคลในอรูปาวจรภูมิและพรหมอริยบุคคลในชั้นสุทธาวาส เป็นพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองกว่าอรูปพรหมปุถุชน จึงมีรัศมีสว่างไสวกว่า ด้วยประการฉะนี้

    มีอาจารย์บางท่านได้แสดงว่า อรูปพรหมเป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ 4 ดังเช่น

    "อธิบายว่า ในอรูปภูมิทั้ง 4 ถึงแม้จะเรียกว่าภูมิก็จริง แต่ภูมินี้ไม่ปรากฏว่ามีรูปร่างสัณฐานอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะเป็นภูมิที่มีแต่อากาศว่างเปล่าอยู่เท่านั้น สำหรับอรูปพรหมนี้ ก็เป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ 4 เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่นนับตั้งแต่ปฏิสนธิมา" (พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่มที่ 1: สนองการพิมพ์, พ.ศ.2535, หน้า 167.)

    นี้เป็นคำอธิบายความหมายของอรูปพรหมตามความเข้าใจในตัวอักษรว่า "อรูป" ซึ่งท่านเข้าใจและอธิบายว่าดังนี้

    "ความจริงนั้น อรูปพรหมทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของภาวนาที่ปราศจากความยินดีในรูป (รูปวิราคภาวนา) เพราะเหตุนี้ สถานที่อยู่ของอรูปพรหมจึงไม่มีรูปร่างปรากฏเลย" (อ้างแล้ว  หน้า 169.)

    แต่ผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกาย ต่างได้เห็นอรูปพรหมด้วยญาณพระธรรมกายว่า มีรูปกายที่ละเอียดนัก จนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันเอง ก็ยังมิอาจเห็นรูปกายซึ่งกันและกัน เพราะอรูปาวจรวิบากที่เมื่อเจริญอรูปฌานไม่ยินดีในรูป แต่รูปขันธ์ย่อมต้องเกิดมีพร้อมกับนามขันธ์ 4 ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป (สฬายตนะ ผัสสะ ฯลฯ) เพียงแต่รูปกายของอรูปพรหมนั้นละเอียดนัก เพราะอรูปาวจรวิบาก จนไม่อาจเห็นได้แม้ด้วยจักษุของอรูปพรหมด้วยกัน หรือด้วยจักษุของสัตว์โลกในภูมิที่ต่ำกว่าเท่านั้น

    ถ้าสัตว์โลกที่เกิดด้วยอำนาจของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เกิดขึ้นแต่เฉพาะนามขันธ์ โดย ปราศจากรูปขันธ์ ได้ พระพุทธดำรัสว่าด้วย "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" ก็ไร้ความหมาย และ พระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า

    "ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา."
       "ผู้ใด จักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายเป็นที่อาศัย ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกของมารได้." (ขุ.ธ.25/13/19-20)
    ก็ไม่จริง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่สัตว์โลกจะมีแต่จิตใจ โดยไม่มีรูปกายเป็นที่ตั้งที่อาศัย และเป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธพจน์จะเป็นอื่น (คือไม่จริง) พระพุทธพจน์ย่อมเป็นธรรมที่แท้จริงเสมอ

    จึงควรที่นักศึกษาจะพึงปฏิบัติไตรสิกขา อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 ให้ดี ให้ได้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถรู้-เห็น ด้วยตนเองตามที่เป็นจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2014
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    [​IMG]






    ผู้ปฏิบัติที่ได้ถึงธรรมกาย ต่างได้เห็นอรูปพรหมด้วยญาณพระธรรมกายว่า มีรูปกายที่ละเอียดนัก จนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันเอง ก็ยังมิอาจเห็นรูปกายซึ่งกันและกัน เพราะอรูปาวจรวิบากที่เมื่อเจริญอรูปฌานไม่ยินดีในรูป แต่รูปขันธ์ย่อมต้องเกิดมีพร้อมกับนามขันธ์ 4 ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป (สฬายตนะ ผัสสะ ฯลฯ) เพียงแต่รูปกายของอรูปพรหมนั้นละเอียดนัก เพราะอรูปาวจรวิบาก จนไม่อาจเห็นได้แม้ด้วยจักษุของอรูปพรหมด้วยกัน หรือด้วยจักษุของสัตว์โลกในภูมิที่ต่ำกว่าเท่านั้น

    ถ้าสัตว์โลกที่เกิดด้วยอำนาจของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เกิดขึ้นแต่เฉพาะนามขันธ์ โดย ปราศจากรูปขันธ์ ได้ พระพุทธดำรัสว่าด้วย "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" ก็ไร้ความหมาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      878
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    วัตถุประสงค์ ของการตรวจจักรวาล ภพสาม( กามภพ รูปภพ อรุปภพ) และโลกันต์


    ก็เพื่อให้รู้เห็นธรรมชาติที่เป็นไปในภพ 3 และโลกันต์ ว่า เป็นสภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) อย่างไร ได้แก่ปรุงแต่งด้วยบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ปรุงแต่งด้วยบาป (อปุญญาภิสังขาร) และปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว (อเนญชาภิสังขาร)


    และเพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสามัญญลักษณะคือสภาวะที่เป็นเองเสมอกันหมดของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อย่างไร


    ให้เห็นสัจจธรรม คือ ทุกขสัจ และ สมุทัยสัจ ตามที่เป็นจริง และพัฒนาขึ้นเป็นความเห็นแจ้งรู้แจ้งในอีก 2 สัจจธรรมที่เหลือ คือ นิโรธสัจ และ มรรคสัจ


    อันเป็นการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรม ตามที่เป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นหนทางให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์



    -----------------------------------------



    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติพร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยว ให้ใสละเอียดหมดทุกกาย

    หากประสงค์จะตรวจดูความเป็นไปในภพ 3 ก็ให้น้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แล้วใช้ตาคือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภพ เริ่มตั้งแต่ อรูปภพ 4 ชั้น รูปภพ 9 ชั้น (16 ภูมิจิต) ตลอดไปจนถึงกามภพ ทั้งสวรรค์ 16 ชั้น และ นรก 8 ขุมใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้เขาพระสุเมรุลงไป ให้รู้เห็นความเป็นไปโดยตลอด หากประสงค์จะทราบบุพพกรรมคือกรรมเก่าที่กระทำไว้ในภพก่อนอย่างไร จึงได้มาเสวยผลบุญหรือผลบาปอยู่ในขณะนี้ ก็ไต่ถามดูได้
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    ตอบคำถามภาคปฏิบัติ--ทำอย่างไรเมื่อเห็นสิ่งต่างๆ เช่นสิ่งนอกจักรวาล นอกศูนย์กลางกาย

    หลวงป๋า ตอบคำถามจากการปฏิบัติของผู้เจริญวิชชาฯ

    ซึ่งผู้เข้าถึงธรรมกาย แล้วจะได้เคล็ดวิชชาฯ บางประการ เป็นการตอบแบบทำให้คำศัพท์ยากๆ กลายเป็นวิธีปฏิบัติง่ายๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,503
    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส.

    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส( ตามแนววิชชาธรรมกาย )




    -----------------------------------------------------------------

     "อนุสัยกิเลส" หมายถึงกิเลสละเอียดที่นอนเนืองอยู่ในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๗ อย่าง
     
    ๑. กามราคานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความยินดี พอใจ ติดใจ อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย กิเลสประเภทนี้ เมื่อมีสิ่งที่ก่ออารมณ์จากภายนอกมากระทบ หรือจิตสร้างอารมณ์ขึ้นมาเอง ก็จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิต ในรูปของราคะ โลภะ หรืออภิชฌา-วิสมะโลภะ ซึ่งเป็นกิเลสในระดับกลางและหยาบตามลำดับ
     
    ๒. ทิฏฐานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความเห็นผิดซึ่งจะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโมหะ หรือมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับอกุศลจิต ในฐานะเป็นเหตุนำหรือเหตุหนุนแล้วแต่กรณี
     
    ๓. ปฏิฆานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความขัดเคืองใจ ไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็จะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโทสะ คือความโกรธอย่างรุนแรง ในรูปของโกธะ คือความโกรธอย่างบางเบา หรืออุปนาทะ คือความผูกใจเจ็บ ผูกพยาบาทหรือจองเวร
     
    ๔. ภวราคานุสัย คือ ความยินดีในความเป็นอยู่ในภพ
     
    ๕. มานานุสัย คือ ความอวดดื้อถือดี ไม่ยอมใคร ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าตนดี หรือถือว่าตนด้อย ซึ่งแสดงออกมาในรูปของมานะทิฏฐิ อันเป็นปมด้อยหรือปมเด่นทางใจต่างๆ
     
    ๖. วิจิกิจฉานุสัย คือ ความลังเลสงสัยในสภาวะธรรมต่างๆ
     
    ๗. อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้แจ้งสัจธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ ความไม่รู้ในลักษณะของทุกข์ทั้งลับและเปิดเผย ทั้งที่เห็นง่ายและเห็นยาก, ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์, ความไม่รู้ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ,ความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร, ความไม่รู้อดีต, ความไม่รู้อนาคต, ความไม่รู้ทั้งในอดีตและในอนาคต, และความไม่รู้เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" อวิชชานุสัยนี้จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิตในฐานะที่เป็นทั้งเหตุนำและเหตุหนุนกิเลสอื่น ในลักษณะโมหะหรือมิจฉาทิฏฐิ
     
    อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ นี้ ความจริงก็มีอนุสัยหลักอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย
    ส่วนอนุสัยกิเลสอื่นนอกจากนี้ ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดแยกย่อยออกไปจากอนุสัยหลัก ในการพิจารณาสภาวะธรรมจึงจะยกมากล่าวแต่เพียง ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย


    ( มีต่อ ).............
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...