วัตถุมงคลพระพิราพ พ่อแก่ ฤๅษี พระอาจารย์ศิริพงศ์ ต้นตำหรับวัตถุมงคลพระพิราพ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ariyachot, 7 เมษายน 2008.

  1. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ไปชมนิทรรศการกันแล้วยังครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • gifs.gif
      gifs.gif
      ขนาดไฟล์:
      71.5 KB
      เปิดดู:
      436
  2. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
    ในวันที่ 27 ธันวาคม 2551 เป็นวันแจกวัตถุรูปเคารพครบ 1 ปี มนต์นัทธ์ โดยวันนั้นพ่อครูได้เมตตามอบเหรียญพระภรตมุนีและหนังสือองค์พระพิราพกับท่านสมาชิกที่ได้มารับวัตถุรูปเคารพ
    คุณศิรชัช ได้เล่ากับทางคุณวีระว่าหลังจากที่ได้รับวัตถุมงคล หนังสือองค์พระพิราพและได้บูชาวัตถุมงคลองค์พระพิราพ รุ่นสมบูรณ์พูนสุข ไปในวันนั้นเมื่อกลับไปถึงบ้าน เมื่ออยู่ที่หน้าประตูบ้าน ลูกสาวชองคุณศิรชัช อายุประมาณ 2 ขวบเศษ ได้ตะโกนว่า "ยักษ์ อยู่หน้าบ้าน" ทางคุณศิรชัชก็แปลกใจว่าลูกของตนเองพูดอะไร นึกขึ้นได้ว่าพึ่งไปกราบปูองค์พระพิราพที่หอสมุดมา รวมถึงยังได้หนังสือองค์พระพิราพและวัตถุมงคล สมบูรณ์พูนสุข จากพ่อครูมา จึงได้นำหน้าปกหนังสือมาให้ลูกสาวดูว่าที่เห็นเหมือนในรูปนี้หรือไม่ ลูกน้อย ตอบว่า "ใช่ๆ"
    โดยเรื่องราวนี้เป็นเรื่องจริงที่ทาง คุณศิรชัช บอกเล่า จึงนำมาเล่าสู่กันฟังกับสมาชิกเหล่าศิษญ์พ่อครูครับ
    [​IMG]
     
  3. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ตรุษจีนนี้ ไปกราบองค์ปู่พระพิราพ และชมนิทรรศการ เพื่อ
    เพิ่มความเป็นสิริมงคล สวัสดีมีชัยกันนะครับ
     
  4. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
  5. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
    สืบเนื่องจากปี ๒๕๕๒ นักพยากรณ์หลายท่านได้กล่าวตรงกันว่าต้องบูชาพระฤๅษีจึงถูกโฉลก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้แสวงหาเครื่องรางฤๅษีเป็นจำนวนมาก เครื่องรางฤๅษีที่จะมีสิริมงคลสูงสุดนั้น สมควรที่จะมีรูปประทับของพระเป็นเจ้าทั้งสามอยู่ร่วมด้วย ดังเช่นเหรียญพระฤๅษีที่แจกเนื่องในงานครบรอบ ๑ ของเว็ปมนต์นัทธ์ ซึ่งด้านหน้าทำเป็นรูปหน้าพ่อแก่ฤๅษี ในขณะที่ด้านหลังเป็นรูปพระเป็นจ้าทั้งสามคือ พระพรหมทรงหงส์ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ ลักษณะเด่นของเหรียญนี้ยังอยู่ที่พระเป็นเจ้าทั้งสามประทับสัตว์พาหนะ ซึ่งหาได้ยากสำหรับเครื่องรางหรือเหรียญอื่นๆที่มีอยู่ในปัจจุบันffice:eek:ffice" /><o>:p></o>:p>
    ด้วยองค์ประกอบของเหรียญทั้งด้านหน้าป็นพระฤๅษีอันเป็นตัวแทนของครูและด้านหลังเป็นรูปพระเป็นเจ้าทรงสัตว์พาหนะ เรียกได้ว่าสมบูรณ์ครบถ้วน มีทั้งบารมีแห่งองค์พระฤๅษี และบารมีแห่งพระเป็นเจ้าพร้อมทั้งสัตว์พาหนะ จึงเรียกได้ว่าสมบูรณ์ท้งรูปแบบและสมบูรณ์ด้วยสิริมงคลอันหาได้ยากยิ่ง<o>:p></o>:p>
    [​IMG]

    ทีมา http://www.monnut.com/index.php
     
  6. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    MV กิจกรรมคณะศิษย์เรือนพระภรตมุนี
    ปี 2551

    [VDO]http://palungjit.org/attachments/a.513709/[/VDO]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. radiophone

    radiophone สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +18
    ได้มีโอกาสไปชมงานนี้แล้วนะคะ บอกได้เลยว่าศิลปะไทยนั้นสุดยอดจริงๆ
    เคยแต่ได้ยินจากพี่ๆ ที่อยู่ในสำนักพระราชวังเล่าถึงการทำหัวโขน เป็นเรื่องยากเพราะต้องมีพิธีบวงสรวงอะไรมากมาย ย่งถ้าเป็นองค์พระพิราพแล้วยิ่งยากมากๆ ผู้ใหญ่ที่นับถือท่านหนึ่งเคยเปรียบเปรยให้ฟังว่าท่านเป็นครูที่ ดี ดุ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก้อเพราะอยากเห็นลูกศิษย์ได้ดี เป็นคนดี พี่ๆ ที่ไปงานนิทรรศการนี้ บอกว่าที่วัดสุทธา จะมีสวดมนต์เป็นประจำทุกวันเสาร์ ยังไงถ้ามีใครสนใจลองโทรไปสอบถามดูได้นะคะ (ตัวเองยังไม่มีโอกาสไปเลย เสาร์บ่ายติดทำงานอ่ะค่ะ) ถ้าใครไปมาแล้ว มาเล่าให้ทราบหน่อยนะคะ เป็นไงบ้าง
     
  8. Unique_Angel

    Unique_Angel ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +6,546
    ยอดเยี่ยมมากๆ เลยค่ะพี่เม้าท์ ^^V
     
  9. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ขอบคุณครับ
    เป็นแรงใจ..เพื่อจะได้มีชุด 2 อีกต่อไปครับ

    ;aa37
     
  10. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
    ด่วนพิเศษ แจกฟรีพระพิราพ

    วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ แจกฟรีวัตถุรูปเคารพสัญลักษณ์แทนครู พระพิราพเนื้อผง จำนวนจำกัด ๓๐๐ องค์
    ผู้เคารพศรัทธา เชิญนำพวงมาลัย ธูปเทียน เข้าขอรับได้ (กรุณาตรงต่อเวลา)


    http://palungjit.org/showthread.php?t=122318&page=26
     
  11. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
    ลองคลิ้กลิ้งค์เข้าไปชมภาพบรรยากาศสวดมนต์บ่ายวันเสาร์ ณ ศาลาการเปรียญวัดสุทธาราม ครับ

    http://www.monnut.com/board/index.php?topic=225.0
     
  12. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    [​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. wasukub

    wasukub สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +7
    สอบถามเพิ่มคับ

    สวัสดีครับทุกๆคน พอดีผมพึ่งเคยเข้าในเวปนี้ครั้งแรกครับ และเห็นหัวข้อที่แจกวัตถุมงคลบูชาครูพระพิราพ สงสัยว่าคนบุคคลภายนอกแบบผมสามารถไปรับได้บ้างไหมครับ ถ้าได้ต้องนำ สิ่งใดไปบูชาครูด้วยไหมครับ หรือ ไปรับได้เลยคับ เช่นดอกไม้ ธูป เทียน หรือการเตรียมตัวอื่นๆๆ ขอบคุณมากคับ
     
  14. Unique_Angel

    Unique_Angel ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +6,546

    นำพวงมาลัยไปบูชาด้วยก็ดีค่ะ

    หรือถ้าจะเตรียม ธูป เทียน และดอกไม้ เพิ่มเติม
    เพื่อไปสักการะหน้าองค์พระพิราพที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยก็ยิ่งดี (เสริมสิริมงคลแก่ตัวคุณเอง) ค่ะ
     
  15. wasukub

    wasukub สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +7
    ขอบคุณครับคุณ Unique_Angel ที่ช่วยตอบ ถ้ามีวาสนาพอคงได้ไปร่วมงานด้วยนะครับ ขอฝากตัวด้วยนะครับ แล้วจะเข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมครับ เพราะไม่ค่อยรู้ประสีประสาอะไรเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2009
  16. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
    วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ แจกฟรีวัตถุรูปเคารพสัญลักษณ์แทนครู พระพิราพเนื้อผง จำนวนจำกัด ๓๐๐ องค์
    ผู้เคารพศรัทธา เชิญนำพวงมาลัย ธูปเทียน เข้าขอรับได้ (กรุณาตรงต่อเวลา)

    http://www.monnut.com/board/index.php?topic=759.0
     
  17. ธรรมจักร

    ธรรมจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +4,151
    คัดลอกมาจากเวปอื่นครับ

    พระพิราพ : อสูรเทพผู้มีฤทธิ์ขลัง
    บทความโดย George

    พระพิราพเป็นอสูรตนหนึ่งที่มีบทบาทสั้นๆในเรื่องรามเกียรติ์ ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ฉบับรัชกาลที่ ๑ ซึ่งกล่าวว่า

    “พิราพเป็นอสูรที่มีฤทธิ์มาก เพราะได้กำลังจากพระเพลิงและพระสมุทร พระอิศวรกำหนดให้อยู่ในป่าเขตเชิงเขาอัศกรรณ
    มีหน้าที่ดูแลรักษาสวน ที่ปลูกต้นชมพู่พวาทองเอาไว้ บรรดาสิงสาราสัตว์ที่พลัดหลงเข้ามาในบริเวณนั้นถือเป็นกรรมสิทธิ์ที่อสูรพิราพสามารถจับกินได้ ครั้งหนึ่งพิราพขึ้นไปเที่ยวเล่นบนสวรรค์ได้ฝากสวนไว้กับบรรดาบริวาร กำชับไว้ว่าอย่าให้ใครเข้ามาบุกรุกได้ และตนจะมาตรวจตราอีกเจ็ดวัน
    ต่อมาพระลักษมณ์ พระราม และนางสีดา เสด็จผ่านมาเห็นสวนงดงามจึงเข้าไปพำนัก และเก็บผลไม้เสวย
    บรรดารากษส บริวารพิราพอสูรเห็นเข้าจึงเข้าขับไล่ทำร้ายแต่ก็แพ้พระลักษมณ์ ล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อพิราพกลับมาพบเข้าจึงตามไปสู้รบ พระรามจึงแผลงศรพรหมมาศถูกอกอสูรพิราพสิ้นชีวิต”



    บทบาทของพระพิราพตามบทพระราชนิพนธ์นั้นดูเหมือนจะน้อยนิดและไม่ได้สลักสำคัญอะไร
    แต่ทว่าในความจริงแล้วกลับตรงกันข้าม องค์พระพิราพในระบบความเชื่อของฝ่ายดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ไทยนั้น
    ล้วนแต่เป็นที่เคารพยำเกรงและถือว่าท่านเป็นบรมครูในด้าน นาฏดุริยางคศิลป์ ที่ทรงมหิทธิฤทธิ์สูงสุด
    ดังปรากฏในพิธีกรรมการไหว้ครู ครอบครู ดนตรีและนาฏศิลป์ไทยที่มีมาแต่ช้านาน



    พิธีกรรมการไหว้ครู ครอบครู เป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ศิลปินทั้งดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ ให้ความเชื่อมั่นศรัทธา
    ด้วยต่างถือคุณธรรมข้อความกตัญญูไว้เป็นที่ตั้งและเป็นความเชื่อและจารีตโบราณที่สืบต่อกันว่าสรรพวิชาความรู้ในโลกนี้ ล้วนแต่มีครูเป็นต้นเค้าทั้งสิ้น


    ในผญาภาษิตอีสานยังกล่าวไว้ว่า “ปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาท” อันหมายถึง วิชาการใดๆจะน้อยใหญ่ก็ดีล้วนแต่มีครู เป็นผู้คิดค้นเอาไว้

    ครูในที่นี้ มิได้หมายแต่ครูผู้ประสิทธิประสาทวิชาในปัจจุบันนี้เท่านั้น ยังหมายรวมไปถึงครูผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือที่เรียกกันว่า “บูรพาจารย์” ตลอดจนเทพเจ้าทั้งหลายที่เชื่อถือกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดสรรพวิชาในสาขาต่างๆ

    ในทางศิลปะการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฏศิลป์ไทย มีความเคร่งครัดอย่างยิ่งในการแสดงความเคารพครูบาอาจารย์ ด้วยถือว่าวิชาการเหล่านี้ได้มาแต่องค์พระเป็นเจ้าสูดสุดในศาสนาพราหมณ์ คือองค์พระอิศวรเป็นเจ้าตลอดจนครูเทพองค์อื่นๆ อย่างน้อยก่อนจะออกโรงต้องยกมือขึ้นนบไหว้เหนือเศียรเกล้าขอครูปกปักรักษาอำนวยอวยพรให้การแสดงสำเร็จลุล่วง ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง
    ในการแสดงโขน ละครแต่ละครั้งจึงต้องจัดมณฑลพิธีที่บูชา และอัญเชิญเศียรพระพิราพและพระภรตฤษี ตั้งคู่กันไว้บนที่บูชาเสมอ

    ในพิธีไหว้ครูครอบครูนาฏศิลป์หรือดุริยางคศิลป์ ก็เฉกเช่นเดียวกัน องค์พระพิราพเป็นเทพเจ้าที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ต้องมีการเชิญเศียรองค์พระพิราพมาประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูอย่างขาดไม่ได้
    ดังปรากฏเป็นหลักฐานที่มีการบันทึกในพระตำราครอบโขนละคอน ฉบับหลวงตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ สืบมาจนถึงปัจจุบัน ที่ครูผู้ประกอบพิธีจะทำการอ่านโองการเชิญองค์พระพิราพมารับเครื่องสังเวย ปี่พาทย์จะทำเพลงองค์พระพิราพ ซึ่งเป็นเพลงประจำองค์ท่าน
    เสมือนว่าท่านได้ในมณฑลพิธีไหว้ครูนี้ ครั้นในลำดับขั้นตอนของพิธีครอบซึ่งหมายถึงการที่รับเข้าเป็นเครือของศิลปิน หรือเพื่อประสิทธิ์ประสาทความเป็นครูแก่ผู้จะนำวิชาไปสั่งสอนศิษย์สืบไป ครูผู้อ่านโองการจะทำการครอบเทริดโนรา
    เศียรพระภรตฤษี และเศียรพระพิราพ ในลำดับสุดท้ายแก่ผู้เข้าร่วมพิธี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำคัญของครูอสูรเทพตนนี้ได้เป็นอย่างดี

    ทางฝ่ายนาฏศิลป์ยังถือกันว่า ท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นท่ารำสูงสุด ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีระเบียบแบบแผนเคล็ดลางที่ซับซ้อนมากมาย เป็นต้นว่า การจะต่อเพลงและท่ารำนั้นต้องมีพิธีมอบให้แก่ศิลปินที่เลือกสรรไว้แล้ว คือต้องเป็นศิลปินอาวุโส
    มีความสามารถเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินด้วยกันเอง ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว และมีกำลังมากเนื่องจากเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่มีความยาว ในปัจจุบันครูที่รำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพได้มีจำนวนน้อยจนนับตัวได้ ท่านเหล่านั้นล้วนแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานครอบองค์พระพิราพมาแล้วทั้งสิ้น ส่วนสถานที่ต่อท่ารำก็จะต้องเป็น วัง หรือ วัด เท่านั้นจะไม่ต่อท่ารำตามบ้านเป็นอันขาด
    ดังที่ปรากฏหลักฐานว่ามีการต่อท่ารำ ณ ระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี ๒๔๗๐ และในปีพ.ศ.๒๕๒๗ ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส
    หรือวัดพระแก้ววังหน้า บริเวณที่เป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน

    เมื่อจะจัดการแสดงโขนชุดพระพิราพเข้าสวน ก็ต้องมีพิธีกรรมขั้นตอนคือ พิธีกรรมก่อนการแสดงการรำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ
    จะต้องจัดเครื่องบวงสรวงสังเวย อัญเชิญดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ที่ สถิต ณ ทิพยวิมาน ให้ลงมาประทับร่างศิลปินผู้จะแสดงซึ่งแต่งกายยืนเครื่องช่วงล่าง เปลือยท่อนบน ตามร่างกายวงด้วยปูนกินหมากเป็นวงทักษิณาวัฎทั่วทั้งตัวตลอดจนแขนทั้งสองข้างโดยครูผู้ใหญ่หรือพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ
    ขณะที่คาดปูนก็จะสาธยายอาคมกำกับไปโดยตลอด การคาดปูนนี้ นอกจากเพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะองค์พระพิราพในเรื่องรามเกียรติ์ที่มีขนขดเป็นวงทักษิณาวัฏทั่วร่างกายแล้ว ยังเชื่อว่าเป็นการป้องกันเสนียดจัญไร สิ่งอัปมงคลมิให้เข้าสู่ร่างกายอีกด้วย ผู้แสดงจะสวมพวงมาลัยที่ข้อมือ ข้อเท้า และที่คอ ตามขนบโบราณนิยมใช้พวงมาลัยดอกเข็มสีแดงล้วน ซึ่งเป็นการสื่อถึงความน่าเกรงขาม ตรงกับตำรานาฏยศาสตร์ที่ระบุว่า สีแดงให้ เราทระรส หรือรสของความดุร้าย ซึ่งเราทระรสนั้นก็คือพระรุทธเทพหรือพระอิศวรนั่นเอง สอดคล้องกับการที่พระพิราพมีความมหิทธิฤทธิ์ น่าเกรงขามและมีความเกี่ยวพันกับพระอิศวรเป็นเจ้าดังจะได้อธิบายในลำดับต่อไป

    เมื่อถึงการแสดงจะมีการรำหน้าพาทย์ “องค์พระ” เป็นการรำเบิกโรง ที่มือขวาของศิลปินผู้แสดงจะถือหอกยาวเป็นอาวุธ ส่วนมือซ้ายถือก้านใบมะยม
    ซึ่งเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีนามพ้องกับ ไม้ยมทัณฑ์ของพระยม และในพิธีกรรมทางศาสนามักใช้ก้านใบมะยมในการประพรมน้ำมนต์
    นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) ศิลปินแห่งชาติ บรมครูผู้ถ่ายทอดการรำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ อธิบายว่า
    “พระพิราพถือกำก้านใบมะยมเป็นการประพรมน้ำมนต์ให้กับศิษย์ ส่วนมือขวาถือหอก เป็นการขับไล่ภูตผีปีศาจ”

    การรำหน้าพาทย์องค์พระนี้ เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์มาประทับร่างผู้แสดง
    เสมือนว่าองค์พระพิราพผู้ทรงมหิทธานุภาพได้มาขจัดเสนียดจัญไร แผ่บารมีคุ้มครองพร้อมทั้งประสิทธิ์ประสาทพรชัยมงคลให้แก่บรรดาสานุศิษย์
    ตลอดจนผู้ชมที่อยู่ในที่แสดง เมื่อจบแล้วจึงจับเข้าเรื่อง โดยเริ่มแต่พระพิราพนำต้นพวาทองไปปลูกในสวน จนกระทั่งสู้รบและพ่ายแพ้ต่อศรพระราม
    ในการแสดงนี้มีข้อห้ามว่าเมื่อผู้แสดงสวมศีรษะพระพิราพ ถือกำใบมะยมและหอกแล้วห้ามผู้ใดแตะต้องตัวและอาวุธเป็นอันขาด
    ด้วยเชื่อว่าในขณะนั้นผู้แสดงได้กลายสภาพเป็นองค์พระพิราพอสูรเทพแล้ว การที่สามัญชนจะไปสัมผัสถูกต้องตัวย่อมเป็นการไม่บังควรและย่อมเกิดเสนียดจัญไรแก่ตน แม้ขณะฝึกซ้อมท่ารำก็ห้ามสัมผัสตัวและอาวุธ ซึ่งกันและกันอีกด้วย

    ขณะที่ในด้านดุริยางคศิลป์ ก็ถือว่า เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดเช่นกัน เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ครูอาจารย์จะถ่ายทอดให้กับศิษย์ที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิที่เหมาะสม ครูอาจารย์มักจะเตือนลูกศิษย์ทุกคนว่า
    แม้ขณะได้ยินเสียงเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ก็ให้มีสมาธิตั้งใจสดับรับฟัง ประนมมือคารวะจนกระทั่งจบเพลง และห้ามส่งเสียงอึกทึก
    หรือออกจากพิธีกลางคันเมื่อยังไม่จบเพลง เวลาปี่พาทย์ทำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ
    ผู้ที่มีจิตใจไม่เข้มแข็งบางคน มักจะมีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้หรือที่เรียกกันว่า “ครูลง” ไปต่างๆนานา

    จากความเชื่อและความศรัทธาของศิลปินไทยต่อองค์พระพิราพนั้น จึงเป็นที่น่าตั้งคำถามเอาว่าเหตุไฉนครูอสูรเทพผู้มีนามว่าพระพิราพ จึงมีความสำคัญต่อศาสตร์ในด้านนาฏดุริยางคศิลป์ถึงเพียงนั้น ทั้งๆที่บทบาทในเรื่องรามเกียรติ์กลับมีอยู่เพียงน้อยนิด
    สำหรับเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ดร.มัทนี รัตนิน ได้ค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับพระพิราพไว้ใน บทความเรื่อง “ข้อสันนิษฐานความเป็นมาของพระพิราพ” มีความโดยสรุปดังนี้

    พระไภราวะหรือไภรพ หรือไภราพ เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งนับถือว่าเป็น นาฏราช คือผู้ให้กำเนิดนาฏศิลป์แก่มนุษย์
    แล้วยังถือกันว่าพระไภราพนี้เองเป็นต้นกำเนิดแห่งท่ารำ “วิจิตรตาณฑวะ” ซึ่งเป็นท่ารำที่วิจิตรพิสดารหนึ่งใน ๑๐๘ ท่า ของพระศิวะ พระไภราวะ เป็นที่นับถือเคารพบูชาและเกรงกลัวยิ่งในหมู่นาฏศิลปินอินเดีย แถบลุ่มน้ำคงคา โอริสา มหานที และจันทรภาค โดยเฉพาะที่เมืองพาราณสี เชื่อว่าการบูชาเทวรูปนี้ตามบ้านจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ขจัดเสนียดจัญไรและประทานพรให้ด้วย

    สอดคล้องกับที่ ไมเคิล ไรท์ ระบุว่าชาวเมืองพาราณสีมีรูปเคารพที่ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “กาศีลิงคพิราปฺปา”
    มีลักษณะเป็นเสาหลักมียอดเป็นหัวยักษ์ผู้คนนิยมเซ่นสังเวยด้วยเนื้อดิบและเหล้า “เป็นตำรวจ แทนองค์พระอิศวรวิศวนารถผู้เป็นประธานในพาราณสี, คอยฟาดฟันผู้บังอาจกระทำความชั่วในเมืองนั้น” และยังได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่าพิราพป่า ในภาษาไทย คงมาจากคำว่า “พิราปฺปา” ในภาษาพื้นเมืองพาราณสีนั่นเอง
    ส่วนในประเทศเนปาล พระไภราพ หรือกาโลไภราพ เป็นเทพเจ้าที่มีผู้นับถือและเกรงกลัวมาก ด้วยว่าเป็นเพทแห่งสงครามและความตาย ขณะเดียวกันก็เป็นเทพผู้ประทานพรและขจัดโรคภัยไข้เจ็บด้วยเช่นกัน

    ความเชื่อด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยส่วนหนึ่งคงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโดยผ่านมาทางชวาและขอม แล้วไทยคงจะรับจากขอมอีกทอดหนึ่ง ดังเช่นความเชื่อในการบูชาพระไภราวะหรือพระพิราพนี้ ซึ่งปรับประยุกต์เข้ากันได้กับความเชื่อเดิมของคนไทยที่นับถือผี
    และเซ่นสรวงสังเวยด้วยเนื้อดิบ และเหล้าอยู่แล้วได้อย่างแนบสนิท อ.ประเมษฐ์ บุณยะชัย แห่งสถาบันนาฏ ดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร ได้ตั้งข้อสังเกตว่านาฏศิลป์ชั้นสูงมักเกี่ยวกับชีวิตและความตาย การสร้างสรรค์และการทำลายซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามกัน แต่รักษาดุลยภาพของกันและกันไว้ได้ การร่ายรำของพระศิวะนาฏราชนั้นเป็นการสร้างสรรค์และการทำลายอยู่ในตัว รูปพระศิวะปางนาฏราชในทางปฏิมานวิทยามักจะทำเป็นรูปทรงเหยียบอสูรไว้ด้วยพระบาทขวาหมายถึงการทำลายความชั่ว
    พระบาทซ้ายยกขึ้นทำท่ารำงดงามเป็นการสร้างสรรค์ศิลป์ รอบๆ เป็นวงเปลวเพลิงหมายถึงการหมุนเวียนของจักรวาล
    การบูชาเทพเจ้าฝ่ายนาฏศิลป์ปางดุร้ายก็คงเข้าในคตินี้เช่นกัน

    ความชาญฉลาดของโบราณจารย์ไทยประการหนึ่งคือการสามารถประยุกต์และผนวกเอาความเชื่อพระพิราพในรูปแบบเทพเจ้าและตัวโขน
    เข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแนบเนียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า หน้าพาทย์หรือท่ารำองค์พระพิราพ เป็นหน้าพาทย์ชั้นสูงสุด
    เป็นหน้าพาทย์เฉพาะองค์พระพิราพในฐานะเทพเจ้า ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะใช้กับการแสดงอื่นๆ หากไม่มีการแสดงย่อมเกิดการสูญหายได้ด้วยว่าไม่มีผู้สืบทอด ประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้โบราณจารย์จึงได้นำมาบรรจุไว้ในการแสดงโขนตอนพระรามเข้าสวนพิราพ ซึ่งมีนามพ้องกับ พระไภราพหรือพิราพ ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระอิศวรนั่นเอง โดยท่ารำและเพลงที่แสดงถึงภาวะความเป็นเทพเจ้านั้นจะปรากฏในตอนออกท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ
    ที่ศิลปินผู้รับบทจะต้องถือกำก้านใบมะยมด้วยมือซ้ายและถือหอกด้วยมือขวานั่นเอง เป็นการแสดงเบิกโรงต้นเรื่องที่มีความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อสิ้นกระบวนรำจึงเป็นการดำเนินเรื่องตามบทบาทของพิราพอสูรในเรื่องรามเกียรติ์ต่อไป

    ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพระพิราพนั้นแท้จริงแล้วคือปางดุร้ายปางหนึ่งของพระอิศวรเป็นเจ้า ทำนองเดียวกับเจ้าแม่กาลี หรือ ทุรคา ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระอุมา นั่นเอง

    ศิลปินไทยจึงเคารพบูชาองค์พระพิราพอย่างยิ่ง และนิยมตั้งบูชาเศียรพระภรตฤษีและเศียรพระพิราพคู่กัน สำหรับองค์พระภรตฤษีนั้นมีหลายสำนักได้จัดสร้างขึ้นในรูปลักษณ์ของวัตถุมงคลอย่างแพร่หลาย แต่ในส่วนของวัตถุมงคลองค์พระพิราพนั้น ยังปรากฏแต่เพียงในวงจำกัด สำนักแรกๆที่สร้างวัตถุมงคลรูปองค์พระพิราพ เห็นจะเป็นวัดสุทธาราม ธนบุรี โดยท่านอาจารย์พระครูสังฆรักษ์ศิริพงศ์ ติสฺสภรโณ เป็นผู้จัดสร้าง ที่ทำได้งดงามในหลายทรงพิมพ์ และของสำนักวัดบางพระ นครปฐม ที่ผ่านการปลุกเสกจากพระอุดมประชานารถ (เปิ่น ฐิตคุโณ) ซึ่งบัดนี้ก็หาบูชากันค่อนข้างยากเสียแล้ว


    ผู้เขียนเป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งมีความศรัทธาในองค์พระพิราพเป็นเบื้องปฐมอยู่แล้ว ทั้งยังได้มีโอกาสผ่านการไหว้ครูครอบครูทั้งในฝ่ายดนตรีและนาฏศิลป์
    ได้ถือตนว่าเป็นผู้มีครูบาอาจารย์เช่นกัน จึงมีจิตศรัทธาที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลองค์พระพิราพขึ้น เพื่อหมายจะไว้แจกเป็นมิตรพลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงศิลปะการแสดงและดนตรีทั้งหลายจะได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและระลึกถึงว่าตนนั้นมีครูอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชา
    จะได้มีสติปัญญาอันเข้มแข็ง และดำเนินการแสดงไปได้อย่างลุล่วงสำเร็จ หรือผู้ที่อยู่นอกเหนือจากแวดวงจะบูชาตามคติว่าท่านเป็นเทพผู้ขจัดเสนียดจัญไร และประทานพรตามแบบอินเดียก็ไม่น่าจะผิด จึงได้นำเรื่องนี้เรียนปรึกษากับอาจารย์อำพล เจน ที่ผู้เขียนให้ความนับถือ ซึ่งท่านก็รับเป็นธุระจัดการออกแบบและแกะพิมพ์ ตลอดจนจัดหามวลสารศักดิ์สิทธิ์ประดามี เป็นต้นว่า

    ผงเสกหลวงปู่คำพันธ์ ผง ๓๐๐ อาจารย์ ผงเสกหลวงปู่เปลี้ย วัดชอนสารเดช ผงพระนาคเกี้ยวหลวงปู่คำพันธ์ ผงใบโพธิ์จากประเทศอินเดีย ชานหมากหลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี ทรายเสกหลวงปู่ฤทธิ์ วัดประทานราชดำริ ทรายเสกหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย ผงมหาฤษีชอนสารเดช ผงใบโพธิ์สมเด็จลุน ที่ใช้อุดก้นกัสปฤษีหลวงปู่ทองสา รุ่นแรก ผงชานหมากหลวงพ่อฤทธิ์ ที่ใช้สร้างรูปเหมือนเนื้อชาน หมากทั้งสองรุ่น เป็นอาทิ มาจัดสร้างเป็นพระพิราพเนื้อผง โดยจำลองตามแบบเศียรองค์พระพิราพ คือเป็นยักษ์เศียรโล้น สีม่วงแก่หรือสีน้ำรัก สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจระเข้ หน้ากาง คางออก หรือที่เรียกว่าหน้าจาวตาล ส่วนด้านหลังประทับเป็นรูปเศียรพระภรตมุณีมหาฤษี จำนวน ๕,๑๔๐ องค์ และเนื้อพิเศษอีก ๖๙ องค์ รวมทั้งสิ้น ๕,๒๐๙ องค์




    พระพิราพทั้งหมดได้นำไปน้อมขออาราธนาหลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม แห่งสำนักวัดป่าจิตวิทยาราม อ.ปากคาด จ.หนองคาย ให้ทำการปลุกเสก ณ ที่พักสงฆ์ทิพยเนตรบรรพต (สภาบุญ) จังหวัดอุบลราชธานี คราวที่ท่านลงมาพำนัก เมื่อวันที่ ๗ และ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าท่านเสกให้อย่างเต็มที่ถึงขนาดเสกและจำวัดอยู่หน้ากองวัตถุมงคลนั้นเลยทีเดียว

    ส่วนใหญ่พระพิราพชุดนี้จะตกอยู่กับคนใกล้ชิด ด้วยมิได้มีการประชาสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้น มีการแจกที่เป็นกิจจะลักษณะก็เมื่อคราวจัดพิธีไหว้ครูจารึก ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) ในปีพ.ศ.๒๕๔๘ และในพิธีไหว้ครู ครอบครู นาฏศิลป์ และไหว้สมเด็จครู สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ณ ท้องพระโรงวังท่าพระ ปีพ.ศ. 2550


    ท้ายที่สุดขอนำคำสวดบูชาองค์พระพิราพ ที่คัดจาก สมุดพระตำรา พิธีไหว้ครู และพิธีครอบโขน ละคร ของ พระยานัฏการุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เพื่อเป็นเทวตานุสติระลึกถึงองค์พระพิราพ บรมครูด้านนาฏดุริยางคศิลป์ ผู้ขจัดเสียดจัญไร และประทานพร แก่ผู้เคารพบูชา



    ๏ อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา

    ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา

    สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา

    พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ

    สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ

    สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต

    พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย

    อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ ๚๛

    http://www.suankhlang.com/ipb//index.php?showforum=12
     
  18. DILONG

    DILONG สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +23
    รับมาแล้วครับสวยงามมาก และเป็นบุญอย่างยิ่งครับ
     
  19. DILONG

    DILONG สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +23
    อยากเห็นภาพวันที่รับวัตถุมงคลอะครับ ท่านใดที่ได้ถ่ายภาพไว้ ขอชมหน่อยครับ
     
  20. ariyachot

    ariyachot เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,335
    ค่าพลัง:
    +4,422
    จัดให้เลยครับ
    ที่มา http://www.monnut.com/board/index.php?topic=782.0
    วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ประมาณ ๑๓.๓๐ก่อนเวลาแจก๓๐นาทีครับ
    [​IMG]
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...