::: วรวุฒิคุณอนุสรณ์ ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาอิน อินโท ครูบาฟ้าหลั่ง :::

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย wannabexcite, 19 มกราคม 2009.

  1. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    (deejai)..อีกสักหนึ่งเหรียญ ขอบอกว่า พระพิธีใหญ่มากๆ ทั้งเสกเดี่ยวและเสกหมู่เพียบเลยนะครับ..
    ..แกะพิมพ์บล็อคจากกองกษาปณ์เชียวนะครับ..(deejai)(deejai)
















    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  2. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ คุณชัยณรงค์

    ขอขอบคุณและอนุโมทนาด้วยครับ ที่นำเอาพระหลวงปู่มาโพสแบ่งกันชม
    พูดถึงเหรียญ และพระเครื่องของคุณสุธันย์ ผมเองก็เก็บไว้หลายรายการ
    เหตุผลหลักเลย ก็เพราะหลวงปู่ครูบาอินท่านได้เสก...
    ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ พระคุณสุธันย์สร้างจากมวลสาร "สุดยอด"
    ที่ผมเชื่อว่าใช้เวลารวบรวมกันมานานเป็นสิบๆ ปีแน่นอน

    เวลาที่บูชาวัตถุมงคลจากคุณสุธันย์
    สิ่งที่มักจะตามมาด้วยก็คือ ประวัติการสร้าง ประวัติมวลสาร และการปลุกเสก
    ที่ผมชอบมากก็คือแผ่นยันต์ และตะกรุด เก่าๆ ที่นำมาหลอมรวมกัน
    ตะกรุด หรือแผ่นยันต์บางรายการ มาจากครูบาอาจารย์ยุคเก่า
    ที่ผมเคยแต่ได้ยินชื่อ แต่ไม่ทันท่าน และรู้ว่าท่าน "ไม่สร้างเหรียญ"
    อาจจะมีแต่ตะกรุด... ซึ่งถ้าจะให้มาหาตอนนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะแท้หรือเปล่า

    ยกตัวอย่าง...
    อย่างแผ่นยันต์ครูบาน้อย สุวณฺโณ วัดร้องสร้าน วัดบ้านผมเอง
    ก็วัดบ้านเราเอง เรากอยากได้ไว้สักการะบูชาสักแผ่น หรือไม่ก็ตะกรุดสักดอก
    ถามใครก็บอกว่าเคยได้ แต่ให้คนนั้นคนนี้ไป ตกหายไปบ้าง ชำรุดไปบ้าง
    ที่ยังมีอยู่ก็หวงกันเหลือเกิน... จีบๆ กันมาเปนสิบปียังไม่เคยได้เลย

    ตอนหลังผมเลยบูชาพระคุณสุธันย์แทน
    เพราะตามประวัติบอกว่ามีแผ่นยันต์ที่ครูบาน้อยท่านจารให้ด้วย
    พอทดแทนไปได้ (สำหรับตอนนี้..... )

    สำหรับเหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย
    มีอยู่หลายๆ รุ่นที่หลวงปู่ครูบาอินท่านได้ร่วมปลุกเสก
    รุ่นดังๆ ก็อย่างที่เคยเล่าให้ฟังไปแล้ว รุ่น สิริวิชโย 115, รุ่น 115, รุ่น 700 ปี เชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวง, รุ่นเสาร์ 5 วัดพระสิงห์, รุ่นศาลสร้าง, รุ่นบรรจุอัฐิธาตุบ้านปาง, ... น่าจะมีอีก แต่คิดได้เท่านี้ก่อน....
    ส่วนรุ่นที่อาจจะไม่ค่อยดัง ถ้าสร้างยุคปี 2530-40 น่าจะมีครูบาอินเสกเกือบทุกงานครับ


    ขอขอบคุณ คุณชัยณรงค์อีกครั้งนะครับ ที่นำภาพมาแบ่งกันชม

    ธีระยุทธ




     
  3. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    ..สวัสดีครับ..คุณธีระยุทธ..และทุกๆ ท่านที่ผ่านเข้ามาชมกระทู้ ลป.ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งครับ..;aa40
    ..ขอลงโชว์ต่อเลยนะครับ..เหรียญที่คุณสุธันย์ จัดสร้าง และนำไปให้ ท่าน ลป.ครูบาอิน ปลุกเสก พร้อมเหรียญพระชนะมาร คือ เหรียญพระแก้วหมดห่วงรุ่นสอง หลังยันต์จักรแก้วพระพุทธเจ้า และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก พระแก้วมรกต ปี 2475 ครับ..สร้างน้อยมากๆ หายากสุดๆ ชนวนดี พิธีดีมากๆ ครับ.. catt7



    ...เหรียญแรก เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่นสอง เนื้อเงินหลังยันต์จักรแก้วพระพุทธเจ้า สร้าง 181 เหรียญครับ..หายากมากๆ เหรียญนี้ได้มานานแล้วครับ..(ลองชมกันดู เหรียญสวยงามมากๆ );aa40




















    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  4. กริด99

    กริด99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    754
    ค่าพลัง:
    +558
    ขออนุญาตคุณธีระยุทธโพสโบรชัวร์ล็อกเก็ตอีกทีครับ คนที่เข้ามาใหม่จะได้เห็นครับ

    [​IMG]


    [​IMG]

    ขอบารมีหลวงปู่ครูบาอิน คุ้มครองทุกท่าน ให้มีโชควัน โชคเดือน โชคปี ทุกคนนะครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    ...ประวัติการจัดสร้างและปลุกเสก...
    เหรียญพระแก้วมรกต หลังยันต์จักรแก้วพระพุทธเจ้า
    การถวายนาม
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า
    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อเป็นพุทธานุสสติหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง ตามพุทธฎีกา และเป็นมหากุศลสืบต่ออายุพระศาสนาต่อไปในอนาคต
    2. เพื่อต้องการสร้างเหรียญพระแก้วมรกตที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยพิธีกรรมแต่โบราณ
    พุทธลักษณะ
    เป็นเหรียญกลม ไม่มีห่วง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 ซ.ม.ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระแก้วมรกต ทรงเครื่องฤดูฝนประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์บัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและรายล้อมด้วยดอกไม้ โดยเลียนแบบจากรูปลักษณ์จากเหรียญพระแก้ว มรกต รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
    ด้านหลัง เป็นยันต์มหาจักร ซึ่งผูกจากพระคาถาจักรแก้วพระพุทธเจ้า
    “ อิติปิโสภควา เอกจกกํ มารเปตวา พุทธจกโก เวหาสคนตวา”
    หมุนออกจากแกนกลางวนแบบทักษิณาวัตร (หมุนวนขวามือ)

    พิธีกรรมการจัดสร้าง ได้ยึดรูปแบบที่พระโบราณจารย์ ถือปฏิบัติสืบต่อมาคือ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ วัน เริ่มเวลา ๐๘.๐๙ น. ตั้งแต่การบวงสรวงครูบาอาจารย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์ หลอมทองชนวน การรีดแผ่นโลหะ และการปั๊มเหรียญ ทั้ง ๓ ชนิด คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะกลับดำ แล้วเสร็จในเวลา ๒๓.๐๙ น. ได้เหรียญรวมทั้งสิ้นรวม ๒,๒๒๒ เหรียญ แยกเป็นเนื้อทองคำ ๕ เหรียญ เนื้อเงิน ๑๘๑ เหรียญ และเหรียญนวโลหะกลับดำ ๒,๐๓๖ เหรียญ
    จำนวนการสร้าง รวมทั้งสิ้น 2,222 เหรียญ
    แยกตามเนื้อโลหะดังนี้
    * เนื้อโลหะทองคำ 5 เหรียญ
    * เนื้อเงิน 181 เหรียญ
    * เนื้อนวโลหะ 2,036 เหรียญ
    การดำเนินการสร้าง
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า เนื้อนวโลหะนี้
    โดยคณะผู้จัดสร้างได้รวบรวมโลหะทองชนวน พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ หลายวาระ
    ทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และครอบน้ำมนต์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก,ตะกรุดและแผ่นยันต์ของพระอริยสงฆ์
    และพระอภิญญาจารย์เจ้าทุกภาคทั่วประเทศและโลหะบริสุทธิ์ 9 ชนิดได้แก่ รวมทั้งแผ่นพระยันต์ 108 ดวง และนะปัถมัง 14
    นะอันเป็นพระยันต์บังคับตามตำราการสร้าง พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระพันรัตน์วัดป่าแก้ว กรุงเก่า ดังรายละเอียดดังนี้
    1.ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    1.1 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2482 (หน้าอินเดีย)
    1.2 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2483 (ฉลองพระชนม์)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2484 (พุทธนิมิตร)
    1.4 พิธีวันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 (น้ำท่วม)
    1.5 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2486 (เชียงตุง)
    1.6 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2487 (หลักชัย)
    1.7 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2489 (จาตุรงคมุนี)
    1.8 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (นวโลกุตรญาณมุนี)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (เทโว)
    1.10 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2495 (ทองทิพย์)
    1.11 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2506 ( หลังปิ )

    2. ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์
    2.1ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมเด็จย่า90” วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ
    2.2 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เศวตฉัตร” วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ
    2.3 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สังวรวิมลเถร”วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    2.4 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “บวรรังสี” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.5 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปวเรศ” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.6 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “นเรศวรเมืองงาย” วัดราชนัดดากรุงเทพฯ
    2.7 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อู่ทอง” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.8 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธปริต” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.9 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อโยธยา” วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    2.10 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ติสสเทว” วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
    2.11 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรสรณาคม” วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    2.12 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปรโม” วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    2.13 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินบัญชร” วัดละหารไร่ ระยอง
    2.14 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรโลกนาถ” วัดวังหว้า ระยอง
    2.15 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เงินล้าน” วัดบางพระ นครปฐม
    2.16 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ฐิตคุโณ” วัดบางพระ นครปฐม
    2.17 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธรัตนะ” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.18 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินวํโส” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.19 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “จักรพรรดิอุตตมะ” วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    2.20 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชุติมนโต” วัดใหม่กลอ นครราชสีมา
    2.21 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ธาตุมหาชัย” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.22 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมปรารถนา” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.23 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรลักษณ์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.24 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมโกมุนี” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.25 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมนันท์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.26 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อรหัง” วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    2.27 ทองชนวนพระกริ่ง “นิมมานโกวิท” วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    2.28 ทองชนวนพระกริ่ง “สุริยะวรมัน” วัดมงคลคีรีเขตต์ ตาก
    2.29 ทองชนวนพระกริ่ง “สุจิตโต” วัดมะปริง สุราษฎร์ธานี
    2.30 ทองชนวนพระกริ่ง “ทักษิณชินวโร” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.31 ทองชนวนพระกริ่ง “มหามงคล” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.32 ทองชนวนพระกริ่ง “ศรีเพชรรัตน์” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.33 ทองชนวนพระกริ่ง “อนันตคุณ” กรุงเทพฯ
    2.34 ทองชนวนพระกริ่ง “นวโลกุตรญาณมุนี” กรุงเทพฯ
    2.35 ทองชนวนพระกริ่ง “สามภพพ่าย” กรุงเทพฯ
    2.36 ทองชนวนพระกริ่ง “วัฒนะ” กรุงเทพฯ
    2.37 ทองชนวนพระกริ่ง “ธนบดี” กรุงเทพฯ

    3. ทองชนวนพระชัยวัฒน์
    3.1 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
    3.2 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    3.3 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดหนัง กรุงเทพฯ
    4. ทองชนวนพระพุทธชินสีห์ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    5. ทองชนวนพระศาสดา ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    6. ทองชนวนพระไพรีพินาศ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    7. ทองชนวนพระนาคปรก สธ (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    8. ทองชนวนพระพุทธชินราชจำลอง 2485 วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    9. ทองชนวนพระกลางลาน วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    10. ทองชนวนพระปิดตามหาอุตตโม วัดท่าแหน ลำปาง
    11. ทองชนวนพระปิดตาราชาอุตตโม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    12. ทองชนวนพระปิดตาพุทธคง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพ
    13. ทองชนวนพระปิดตาราเมศวร วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    14. ทองชนวนพระปิดตามหามงคล วัดดอนศาลา พัทลุง
    15. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    16. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (ใหญ่) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    17. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (เล็ก) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    18. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    19. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    20. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดช้างไห้ ปัตตานี
    21. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (สัตตโลหะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    22. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (เบญจโลหะ) วัดทรายขาว ปัตตานี
    23.ทองชนวนเหรียญพระประทานพร 25 ปี ธนาคารศรีนคร กรุงเทพฯ

    24.ทองชนวนเหรียญหล่อสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    25. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    26. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา กรุงเทพฯ
    27. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์หลวงพ่ออบ อินทวิริโย วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี

    28. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    29. ทองสัมฤทธิ์จากองค์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา
    30. ทองสัมฤทธิ์พระเกศมาลาของพระศรีศากยทศพลญาณ พุทธมณฑล นครปฐม
    31. ทองสัมฤทธิ์จากเทวรูปขอมโบราณ
    32. ทองสัมฤทธิ์ยอดปราสาท
    33. ทองสัมฤทธิ์ยอดเจดีย์
    34. โลหะชินลูกแก้ว วัดญาณเสน พระนครศรีอยุธยา
    35. โลหะทองระฆัง วัดช่องแค นครสวรรค์
    36. โลหะทองจังโก วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
    37. เงินพดด้วงสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์
    38. เงินบาท สมันรัชกาลที่ 4,5 และ6
    39. สตางค์แดง พ.ศ. 2466 – 2484
    40. แผ่นยันต์มหาจักรพรรดิ์ตราธิราช หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ปลุกเสก
    41. แผ่นยันต์ตามตำราวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท โดยท่านพระอาจารย์มหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรณโคตมาราม อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาทเป็นผู้ลงและปลุกเสก
    42. แผ่นพระคาถาชินบัญชร ลงและปลุกเสกโดยพระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร) วัดดวงแข เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    43. แผ่นพระคาถามหาธรณีสาร ลงและปลุกเสกโดยพระครูจันทสมานคุณ (หล้า) วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่
    ตะกรุดสำคัญของพระเถราจารย์เจ้า
    1 ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช- พระวิสุทธาจารย์เถร (เทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงพ่อสละ เถรปัญโญ วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงพ่อเฉลิม เขมทสสี วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา
    2 ตะกรุดโสฬสมหามงคล
    - พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    - พระครูนนทกิจโสภณ (ทองสุข) วัดสะพานสูง ปทุมธานี
    - พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา พัทลุง
    3 ตะกรุดเกราะเพชร
    - พระมงคลวราจารย์ (เชิญ) วัดโคกทอง พระนครศรีอยุธยา
    - พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรโคตมาราม ชัยนาท
    - พระปฐมเจติยาธร (บูญธรรม) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    - พระราชพรหมยานเถร (วีระ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
    4 ตะกรุดตรีนิสิงเห
    - พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    - พระครูบริรักษ์ธรรมกร (บุญเทียม) วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี
    5 ตะกรุดโทน
    - พระครูสุชัยบุญญาคม (เชื้อ) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    - พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง
    6 ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์
    - พระครูเวชคามบริรักษ์ (ตาบ) วัดมะขามเรียง สระบุรี
    - พระครูบรรหารศีลคุณ (แร่) วัดเชิดสำราญ ชลบุรี
    - พระครูสุนทรธรรมานุศาสตร์ (รวย) วัดท่าเรือแกลง ระยอง
    -พระครูศีลกิตติวัฒน์ (หนู) วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
    7 ตะกรุดลูกอม
    - พระวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) วัดไชยชนะชุมพล กาญจนบุรี
    - พระมงคลเทพรังษี (ดี) วัดเทวสังฆราม กาญจนบุรี
    - พระโสภณคณาจารย์ (เหรียญ) วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี
    - พระมงคลราชวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    - พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    8 ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ พระครูสุชาติเมธาจารย์ (กุน) วัดพระนอน เพชรบุรี
    9 ตะกรุดมหาปราบ หลวงพ่อคง ธมมโชโต วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
    10 ตะกรุดมหาปราบ พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง)วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    11 ตะกรุดมหาคงคา หลวงพ่อบ่าย ธมมโชโต วัดช่องลม สมุทรสงคราม
    12 ตะกรุดปราบทาสามหาระงับ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ)วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    13 ตะกรุดฟ้าลั่น พระครูศรีฉฬงคสังวรเถร (เริ่ม) วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    14 ตะกรุดมหานิทรา พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง
    15 ตะกรุดแม่ทัพ พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง
    16 ตะกรุดชิงกรุง พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง
    17 ตะกรุดมหากำบัง พระครูสรรค์การวิชิต (พิมพ์) วัดสนามชัย ชัยนาท
    18 ตะกรุดฝนแสนห่า พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดคลองมอญ ชัยนาท
    19 ตะกรุดเทพรัญจวร พระครูอุทัยธรรมกิจ (ตี๋) วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
    20 ตะกรุดมหาเถร 108 พระครูวิมลศีลาภรณ์(สุรินทร์) วัดศรีเตี้ย ลำพูน
    21 ตะกรุดสลีกัญชัย พระครูอุดมขันติธรรม(ขันแก้ว) วัดป่ายาง ลำพูน
    22 ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป พระครูธรรมกิจโกศล(นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
    23 ตะกรุดจันทร์เพ็ญ (ทองคำ) หลวงปู่ผูก จันทโชโต วัดเกาะ เพชรบุรี

    การบรรจุอิทธิ – พุทธานุภาพ
    1). พิธีมหาพุทธาภิเษก


    1. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระบรมรูป ร.5 4 ตุลาคม 2540
    2. วัดสุทัศฯเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีทรัพย์เพิ่มพูน 7 พฤศจิกายน 2540
    3. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พิธีพระเศรษฐีนวโกฏิ 15 พฤศจิกายน 2540
    4. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระพิฆเณศวร ศิลปากร 8 มกราคม 2541
    5. วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี พิธีเหรียญพระรูป ร.5 23 ตุลาคม 2541
    6. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธปัญญา 30 สิงหาคม 2542
    7. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีพระกริ่งอัตตรักโข 23 ตุลาคม 2542
    8. วัดยางงาม ราชบุรี พิธี 100 ปี ปากท่อ 27 ตุลาคม 2542
    9. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธสุขสิริ 6 พฤศจิกายน 2542
    10. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    11. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    12. วัดช้าง นครนายก พิธีพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ “สาธารณสุข” 9 มิถุนายน 2543
    13. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรามัย 27 มิถุนายน 2543
    14. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีสมโภชรูปเหมือนหลวงพ่อจ่าง 23 ตุลาคม 2543
    15. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีวันเพ็ญ เดือน 12 พฤศจิกายน 2543
    16. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีพระกริ่งเพชรกลับ วชิรเวท 7 ธันวาคม 2543
    17. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธยอดฟ้า 31 ธันวาคม 2543
    18. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีรูปเหมือนสะดุ้งกลับ หลวงพ่อพูล 18 มกราคม 2544
    19. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งจอมไทย 19-27 มกราคม 2544
    20. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีมงคลอายุวัฒน์ 90 10 กุมภาพันธ์ 2544
    21. วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม พิธีชัยมังคลาภิเษก 25 เมษายน 2545
    22. วัดเลา กรุงเทพฯ ….………………. 27 เมษายน 2545
    23. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีหลวงปู่ทวด กระทรวงกลาโหม 10 พฤศจิกายน 2545
    24. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรโรคันตราย 11 พฤศจิกายน 2545
    25. วัดเลา กรุงเทพฯ ….……………….. 13 พฤศจิกายน 2545
    26. วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ พิธีหลวงพ่อทวด 19 พฤศจิกายน 2545




    2) การปลุกเสก – อธิษฐานจิตเดี่ยว

    1. พระครูภัทรธรรมรัติ (ภัทร) วัดโคกสูง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 6-7 กันยายน 2540
    2. พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (เจริญ) วัดธัญญวารี อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 22 กันยายน 2540
    3. พระครูวิทิตพัฒนาทร (จ้อย) วัดหนองน้ำเขียว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 28 มกราคม 2540
    4. พระครูปราสาทพรหมคุณ (หงส์) วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 1 กุมภาพันธ์ 2540
    5. พระธรรมมุนี (แพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 12 เมษายน 2541
    6. พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 12 เมษายน 2541
    4 มกราคม – 31 มีนาคม 2542
    7. พระภาวนานุสิชฌ์เถร (หรุ่ม) วัดบางจักร อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
    12 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2541,27 มกราคม 2544,3 มีนาคม 2544
    8. พระนิมมานโกวิท (ทองคำ) วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 5 พฤษภาคม 2541และ13 – 14 พฤษภาคม 2547
    9. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์(วงศา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน 6 พฤษภาคม 2541
    10. พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 6 พฤษภาคม 2541
    11. พระครูวรวุฒิคุณ (อิน) วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    12. พระครูพิศิษฐสังฆการ (ผัด) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    13. พระครูสิริศีลสังวร (น้อย) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    14. พระครูชัยยะวงศ์วิวัฒน์ (หน่อย) วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    15. ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    16. พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม) วัดคูหาสุวรรณ อ.เมืองฯ จ.สุโขทัย 8 พฤษภาคม 2541
    17. พระครูศีลสารสัมปัน (อ่อน) วัดเนินมะเกลือ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 8 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2541
    18. พระครูสุนทรวชิรเวท (จ่าง) วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 8 กรกฎาคม – 5 ตุลาคม 2541
    (ไตรมาส 2541 )
    19. พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี 18 ธันวาคม 2541,13 พฤษภาคม 2542 ,และ 14 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2542
    20. พระครูสถิตย์โชติคุณ (ไสว) วัดปรีดาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม 3 – 21 มิถุนายน 2542
    21. พระครูสุนทรจริยวัตร (ม่วง) วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 22 มิถุนายน – 23 ตุลาคม 2542
    ( พรรษา 2542 )
    22. พระครูสังวรานุโยค (ช่อ) วัดโคกเกตุ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 11 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2542,1 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2544และ1 มกราคม – 30 เมษายน 2547
    23. พระครูปุริมานุรักษ์(พูล) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม 8 เมษายน 2543 (เสาร์5) 15 กรกฎาคม – 13 ตุลาคม 2543(ไตรมาส 2543 )
    24. พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวัฒฑโน วัดมณีชลขันธุ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี 27 มกราคม – 2 มีนาคม 2544
    25. พระอาจารย์ใย สัญญาโม วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 2 มีนาคม – 5 พฤษภาคม 2544
    26. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 3 มีนาคม 2544,6 พฤษภาคม 2544และ24 มิถุนายน 2545
    27. พระครูวินัยวชิรกิจ (อุ้น) วัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 1 กรกฎาคม – ตุลาคม 2544(ไตรมาส 2544)
    28. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (สมโภช) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 14 กุมภาพันธ์ – 20 เมษายน 2545
    29. พระราชวิทยาคมเถร (คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (ไตรมาส 2545 ) 22 กรกฎาคม – 21 ตุลาคม 2545และ 23 ตุลาคม 2545
    30. พระครูวิชัยกิจอารักษ์ (อุดม) วัดพิชัยสงคราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 17 มีนาคม – 10 กรกฎาคม 2546
    31. พระอาจารย์เมือง พลวัฒทโณ วัดป่ามัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (ไตรมาส 2546) 13 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 2546
    32. พระอาจารย์สมบูรณ์ กนตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาตตระการ จ.พิษณุโลก 14 พฤษภาคม – 27 ตุลาคม 2547( ไตรมาส 2547 )

    เหรียญนี้ เข้าพิธีมานานถึง 7 ปี



    ..ขอขอบคุณ ท่านเจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ...


    ..ครูบาอิน ท่านปลุกเสกเดี่ยว ให้ ตามลำดับที่ 11 นะครับ..catt7








    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.3 KB
      เปิดดู:
      1,423
    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      119.5 KB
      เปิดดู:
      1,434
    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129 KB
      เปิดดู:
      1,612
    • 004.jpg
      004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.2 KB
      เปิดดู:
      1,413
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  6. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ คุณชัยณรงค์

    เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่นนี้ ถือเป็นรุ่น 2 ที่คุณสุธันย์สร้าง
    อย่างที่คุณชัยณรงค์ว่า ถูกต้องแล้ว
    ผมทันได้บูชาจากคุณสุธันย์มาเหมือนกันครับ
    มีประวัติการสร้างเป็นเล่มเล็กๆ แนบมาตามระเบียบ

    ตอนเข้าไปดูกระทู้ในเวปสวนขลัง (เวปเก่า) เห็นพูดกันว่ารุ่นแรก
    ราคาปาเข้าไปหลายพันบาทแล้ว...

    พักหลังนี้ไม่ค่อยเห็นคุณสุธันย์สร้างพระอะไรอีก
    เมื่อก่อน พอมีพระอะไรใหม่ๆ ก็จะเอามาลงประชาสัมพันธ์ในศักดิ์สิทธิ์
    บางทีผมก็เจอข้อมูลในศักดิ์สิทธิ์เล่มเก่าๆ ที่ไปเดินซื้อมาจากร้านหนังสือมือสอง
    พอเห็นรายละเอียด ก็พาลให้ต้องตามหา ตามเก็บ สนุกไปอย่าง

    คุณชัยณรงค์ยังคงเก็บพระของหลวงปู่ครูบาอินได้อยู่เรื่อยๆ ใช่ไหมครับ

    ผมมีรูปหล่อหลวงปู่ครูบาอินมานำเสนอ...
    เป็นรูปหล่อที่ผมเคยบอกไว้ว่า อยากเอามาขอแลกพระขุนแผนตะกรุดคู่ของคุณชัยณรงค์

    รูปหล่อรุ่นนี้ สร้างเมื่อปี 2541 ผู้สร้างคือพระอาจารย์สุเจริญ วัดมักกะสัน กทม.
    สร้างถวายจำนวน 700 องค์ เป็นเนื้อนาก ตอนออกจากวัดสมัยนั้นองค์ละ 300 บาท
    ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงพอสมควร... สำหรับพระของหลวงปู่
    แต่เพียงไม่นานก็หมดไปจากวัด...

    รูปหล่อรุ่นนี้ ไม่ค่อยพบเห็นตามแผงพระ
    อาจจะเพราะจำนวนการสร้างน้อย... ผู้บูชาไป ก็เป็นการบูชาไปเก็บเสียเป็นส่วนใหญ่

    ชมรูปก่อนตัดสินใจนะครับ แฮะๆๆๆ

    [​IMG]


    ธีระยุทธ









     
  7. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ คุณชัยณรงค์

    เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่นนี้ ถือเป็นรุ่น 2 ที่คุณสุธันย์สร้าง
    อย่างที่คุณชัยณรงค์ว่า ถูกต้องแล้ว
    ผมทันได้บูชาจากคุณสุธันย์มาเหมือนกันครับ
    มีประวัติการสร้างเป็นเล่มเล็กๆ แนบมาตามระเบียบ

    ตอนเข้าไปดูกระทู้ในเวปสวนขลัง (เวปเก่า) เห็นพูดกันว่ารุ่นแรก
    ราคาปาเข้าไปหลายพันบาทแล้ว...

    พักหลังนี้ไม่ค่อยเห็นคุณสุธันย์สร้างพระอะไรอีก
    เมื่อก่อน พอมีพระอะไรใหม่ๆ ก็จะเอามาลงประชาสัมพันธ์ในศักดิ์สิทธิ์
    บางทีผมก็เจอข้อมูลในศักดิ์สิทธิ์เล่มเก่าๆ ที่ไปเดินซื้อมาจากร้านหนังสือมือสอง
    พอเห็นรายละเอียด ก็พาลให้ต้องตามหา ตามเก็บ สนุกไปอย่าง

    คุณชัยณรงค์ยังคงเก็บพระของหลวงปู่ครูบาอินได้อยู่เรื่อยๆ ใช่ไหมครับ

    ผมมีรูปหล่อหลวงปู่ครูบาอินมานำเสนอ...
    เป็นรูปหล่อที่ผมเคยบอกไว้ว่า อยากเอามาขอแลกพระขุนแผนตะกรุดคู่ของคุณชัยณรงค์

    รูปหล่อรุ่นนี้ สร้างเมื่อปี 2541 ผู้สร้างคือพระอาจารย์สุเจริญ วัดมักกะสัน กทม.
    สร้างถวายจำนวน 700 องค์ เป็นเนื้อนาก ตอนออกจากวัดสมัยนั้นองค์ละ 300 บาท
    ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงพอสมควร... สำหรับพระของหลวงปู่
    แต่เพียงไม่นานก็หมดไปจากวัด...

    รูปหล่อรุ่นนี้ ไม่ค่อยพบเห็นตามแผงพระ
    อาจจะเพราะจำนวนการสร้างน้อย... ผู้บูชาไป ก็เป็นการบูชาไปเก็บเสียเป็นส่วนใหญ่

    ชมรูปก่อนตัดสินใจนะครับ แฮะๆๆๆ

    [​IMG]


    ธีระยุทธ









     
  8. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    ..สวัสดีครับ..คุณธีระยุทธ..
    ..เวปล่มทั้งวันเลย เข้ายากจริงๆ ครับ..
    ..พระรูปหล่อองค์นี้ เป็นเนื้อนาคแท้ๆ ทั้งองค์เลยหรือครับ..หรือว่าชุบนาคครับ..เพราะว่าปี 41 ถ้ารูปหล่อเนื้อนาคทั้งองค์และราคา 300 บาทนี่ ผมว่าราคาถูกมากๆ เลยนะครับ..แต่ถ้าชุบนาค ผมก็ว่าราคาพอประมาณครับ..
    ..ขอถามตรงๆ นะครับ..พระขุนแผนตะกรุดคู่ ฝังของพิเศษ สร้างจำนวนเท่าไหร่ครับ..มีดีอย่างไรครับ..ขอบคุณมาล่วงหน้านะครับ..
    ..เพราะเพื่อนของผมเค้าก็ถามหามา และจะมาหักคอเอาเหมือนกันครับ..
    ..เราต่างก็เดินหาตามแผงพระ แผงจรทั่วไป ก็ไม่เคยเจอเลยครับ..
    ..ขอความรู้เกี่ยวกับ เรื่องพระขุนแผน ครูบาอิน ด้วยนะครับ..และผมเพิ่งได้เนื้อธรรมดา มาเพิ่มอีกหนึ่งองค์ครับ..ถ้ามีเวลาจะถ่ายรูปมาลงให้ได้ชมกันครับ..






    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.8 KB
      เปิดดู:
      1,308
    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96 KB
      เปิดดู:
      1,315
    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66 KB
      เปิดดู:
      1,263
    • 004.jpg
      004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99 KB
      เปิดดู:
      1,265
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  9. K_P

    K_P เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +3,536
    กราบหลวงปู่ครูบาอินโทครับ

    พี่ครับถ้าผมจะเช่าล็อคเก็ตมหามงคล 108 ไม่ทราบว่าหมดหรือยังครับ

    แล้วโอนทางไหนได้บ้างครับ แล้วกระผมต้องโอนก่อนวันไหนครับพี่

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2009
  10. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    ..ขอลงโชว์กันต่อนะครับ..
    ..เหรียญครูบาศรีวิชัย เนื้อทองแดงหลังยันต์ รุ่น ๑๑๕ มีโค้ดครับ...
    ..พระพิธีใหญ่ ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ร่วมปลุกเสกครับ..(ถ่ายรูปมาลงให้ดูกันใหม่นะครับ)







    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.3 KB
      เปิดดู:
      1,514
    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.3 KB
      เปิดดู:
      1,295
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  11. กริด99

    กริด99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    754
    ค่าพลัง:
    +558

    ตอบคุณคุณK_P

    ล็อคเกตยังมีให้บูชาครับตามรายการ
    ::: ร่วมทำบุญ :::

    ๑. ชุดประธานอุปถัมภ์ จำนวน ๑๙ ชุด ร่วมทำบุญชุดละ ๓,๐๐๐.- บาท

    *** ตอนนี้มีผู้สั่งจองแล้ว จำนวน ๑๕ ชุด เหลือเพียง ๔ ชุดเท่านั้นครับ

    ๒. ชุดกรรมการ จำนวน ๑๐๘ ชุด ร่วมทำบุญชุดละ ๙๙๙.- บาท

    ๓. ล็อคเกตรูปไข่ ครึ่งองค์ จำนวน ๕๒๕ องค์ ร่วมทำบุญองค์ละ ๒๙๙.- บาท
    ๔. ล็อกเกตรูปไข่ เต็มองค์ จำนวน ๕๒๕ องค์ ร่วมทำบุญองค์ละ ๒๙๙.- บาท
    ๕. ล็อกเกตเล็กรูปไข่ ครึ่งองค์ จำนวน ๒๕๐ องค์ ร่วมทำบุญองค์ละ ๑๙๙.- บาท
    ๖. ล็อกเกตเล็กรูปไข่ เต็มองค์ จำนวน ๒๕๐ องค์ ร่วมทำบุญองค์ละ ๑๙๙.- บาท



    สนใจร่วมทำบุญ กรุณาติดต่อ...
    พระครูสังวรยติกิจ (พระอาจารย์อินทร จิตฺตสํวโร) เจ้าอาวาสวัดใหม่หนองหอย
    หมู่ที่ ๖ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๖๐ โทร. ๐๘-๑๙๙๒-๐๔๐๗ โทรสาร. ๐-๕๓๓๖-๗๙๗๑
    หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาทุ่งเสี้ยว (สันป่าตอง)
    ชื่อบัญชี กองบุญครูบาอิน อินโท เลขที่บัญชี ๖๖๑-๒-๒-๓๐๐๔๗
    กรุณาเพิ่มค่าจัดส่ง ๕๐.- บาทด้วยครับ

    รับพระได้หลังออกพรรษาเป็นต้นไป...

    สุโข ปุญฺญสฺสํ อุจฺจโย การสะสมบุญนำมาซึ่งความสุข
     
  12. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    ..เหรียญครูบาศรีวิชัย เนื้อทองแดงหลังยันต์ รุ่น ๑๑๕ มีโค้ด เหรียญที่สองครับ...;aa40







    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103 KB
      เปิดดู:
      1,626
    • 004.jpg
      004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.9 KB
      เปิดดู:
      1,414
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  13. chainont

    chainont เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,017
    ค่าพลัง:
    +2,173
    ..เหรียญครูบาศรีวิชัย เนื้อทองฝาบาตรหลังยันต์ รุ่นสิริวิชโย ๑๑๕ มีโค้ดครับ...
    ..ตามที่คุณธีระยุทธบอกครับ..
    ..แบ่งเป็นสองแบบ คือ สิริวิชโย ๑๑๕ และ ๑๑๕ ไม่มีสิริวิชโยน่ะครับ..;36







    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 005.jpg
      005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.7 KB
      เปิดดู:
      1,600
    • 006.jpg
      006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104.4 KB
      เปิดดู:
      1,455
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  14. K_P

    K_P เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +3,536
    กราบหลวงปู่ครูบาอินโทครับ

    ผมอยากสอบถามพี่ๆว่า ทุกล็อกเก็ตจะมีอังคารของหลวงปู่ผสมอยู่ใช่ไหมครับแล้วก็มีเกศาด้วยหรือเปล่าครับ

    ถ้าผมจะส่งธนาณัติผมขอที่อยู่ของวัดด้วยครับ

    ขอโทษด้วยนะครับถ้ากระผมเข้าใจอะไรผิด

    ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่ช่วยตอบนะครับ
     
  15. กริด99

    กริด99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    754
    ค่าพลัง:
    +558

    เรื่องอังคารธาตุหลวงปู่รอคุณธีระยุทธมาตอบนะครับ

    ส่วนที่อยู่วัดอยู่ด้านบนที่ 1696 ที่ผมตอบคุณK_P แล้วครับ ติดต่อโดยตรงได้ที่พระอาจารย์อินทรเลยครับ
     
  16. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805


    สวัสดีครับ...

    ล็อกเกตรุ่น ๑๐๘ ปี มีมวลสารหลักที่อุดด้านหลังล็อกเกต เป็น "ผงอังคารธาตุ และอัฐิธาตุ"
    นำมาผสมกับผงว่าน และผงมวลสารอื่นๆ อีกจำนวนมาก
    แล้วนำมาอุดด้านหลัง ทุกองค์จะมีเกศา และจีวรของหลวงปู่ครับ
    ส่วน "มงคลวัตถุอื่นๆ" เช่น ประคำ ตะกรุด ...ฯ จะอุดแตกต่างกันไปครับ

    ดังนั้น ยืนยันได้เลยครับว่า ล็อกเกตทุกองค์ ทุกแบบ จะมีผงอังคารธาตุ และเกศาของหลวงปุ่ แน่นอนครับ

    ธีระยุทธ
     
  17. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    ขอขอบคุณคุณชัยณรงค์ ที่กรุณานำภาพวัตถุมงคลมาลงแบ่งกันชมครับ
    ขณะนี้เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชย ทั้งสองรุ่น (สิริวิชโย ๑๑๕/ ๑๑๕)
    เป็นเหรียญครูบาเจ้ายุคหลัง ที่กำลังได้รับความนิยม "เก็บ" กันเรื่อยๆ ครับ
    เป็นเหรียญดี อนาคตไกลอีกเหรียญหนึ่งครับ

    สำหรับเรื่องรูปหล่อปี ๔๑...
    ตอนแรก ผมก็คิดเหมือนคุณชัยณรงค์ว่า ถ้าเป็นรูปหล่อเนื้อนากอย่างที่ว่า
    ราคาน่าจะแพงกว่านี้ .. ดังนั้น น่าจะเป็นเนื้ออะไรสักอย่างแล้วกาไหล่นากเสียมากกว่า

    แต่เมื่อได้สอบถามไปยังพระเลขาของหลวงปู่เมื่อตอนนั้น
    คือพระอาจารย์ไพบูลย์ อินทปัญโญ ท่านก็ยืนยันว่าเป็นเนื้อนาก
    ถามเลยไปอีกถึงผู้สร้างถวาย ซึ่งก็คือืพระอาจารย์สุเจริญ วัดมักกะสัน
    (ตอนนี้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอยู่ที่อยุธยา)
    ท่านก็บอกว่าเป็นเนื้อนาก ผสมโลหะอื่นๆ นิดหน่อย เพียงให้เนื้อแข็ง
    และท่านเป็นคนออกทุนสร้างเอง พร้อมกับเหรียญหยดน้ำรูปใบโพธิ์
    (พระอาจารย์สุเจริญ เป็นน้องชายของ คุณ ป.ประตูน้ำ)
    มีจำนวนสร้างแค่ 700 องค์เท่านั้น

    พระที่พระอาจารย์สุเจริญสร้างมาถวายหลวงปู่ ส่วนใหญ่แล้วสร้างมาให้ "แจก"
    แต่ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่า วัดก็มีค่าใช้จ่าย ค่าน้ำค่าไฟ ดูแลรักษาเสนาสนะ
    บางครั้งก็จำเป็นต้องขอแบ่งมาใส่ตู้ให้คนบูชาบ้าง
    การตั้งราคาจึงไม่ได้คำนึงถึง "ต้นทุน" ราคาพระสักเท่าไหร่
    กำหนดราคาเพียงเพื่อให้คนสามารมีกำลังบูชาได้เท่านั้น
    อย่างเหรียญต่างๆ ราคาแค่ 59 บาท พระผงก็ 39
    ซึ่งเป็นราคาที่ชาวบ้าน ลูกศิษย์ลูกหาทั่วไปสามารถบูชากันได้
    หากรูปหล่อจะขยับมาที่ 300 ผมว่าราคาก็พอสมน้ำสมเนื้อ
    แม้ต้นทุนการสร้างอาจจะสูงกว่านี้ก็ตาม

    อย่างไรก็ดี... ทางเดียวที่จะทราบได้ก็คือ ต้องลอง "ปอกผิว" พระดู
    หมายถึงการลอกอากาไหล่ ลอกเราโลหะที่ชุบองค์พระออก ดูเนื้อแท้ของพระ
    อย่างเช่น รูปหล่อห่มคลุม รมดำ... ถ้าปอกผิวออกก็จะเห็นว่าเป็นเนื้อโลหะผสม
    พระที่ปอกผิวแล้ว ก็จะเป็นพระที่เสียไปเลย

    ผมเสียดาย เลยยังไม่ได้ลองปอกผิวรูปหล่อปี ๔๑ ดูสักที
    แต่ก็เชื่อตามคำยืนยันของผู้สร้างว่าเป็นเนื้อนาก

    รูปหล่อรุ่นนี้ แทบจะไม่เคยเห็นตามแผงพระเลยครับ
    อาจจะเพราะจำนวนการสร้างน้อย และน่าจะไหลไปอยู่กับลูกศิษย์ในจังหวัดอื่นๆ
    และทางกรุงเทพ เสียเป็นส่วนใหญ่

    ......

    เรื่องพระขุนแผน...

    ผมไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับขุนแผนรุ่นนี้สักเท่าไหร่ครับ
    พอทราบว่า ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงปู่สร้างถวาย
    มีทั้งแบบธรรมดา และแบบฝังตะกรุด
    ตอนที่ผมไปบูชาที่วัด ผมเห็นมีแต่แบบธรรมดา
    เข้าใจว่าแบบฝังตะกรุดคงจะสร้างน้อย และหมดไปแล้ว

    เรื่องราวหายไปหลายปี
    ก็เพิ่งมาเจอองค์นี้ ที่คุณชัยณรงค์ไปปิดมาในกระทู้ของ uamulet ครับ

    ธีระยุทธ
     
  18. แมวขาว

    แมวขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +241
    กลับมาแล้วครับ หายไปหลายวัน /.......ไหว้สาหลวงปู่ครับ.....คิดว่าเสร็จสลากย้อมที่บ้านคงไปนมัสการหลวงปู่/กราบครูบาตั๋นทางดอยหล่อบ้าง.....คิดถึงหลวงปู่ครูบาตั๋นครับตอนนี้ท่านเป็นไงบ้างครับพี่ไก่....
     
  19. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    [​IMG]
    พระมงคลวิสุต หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี อายุ ๑๐๔ ปี


    ขอนำพี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน กลับสู่รายละเอียดการอธิษฐานจิตปลุกเสกอีกครั้งครับ

    ผมมีภาพที่หลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี
    อธิษฐานจิตล็อกเกตรุ่นนี้ให้ ในห้องนอนของท่าน
    หลังๆ นี้ "ครูบาหม่อน" ท่านสุขภาพไม่ค่อยดี
    เวลาไปกราบท่านที่วัด ท่านก็มักจะไม่ค่อยได้ออกมารับแขก
    หรือถ้าออกมาก็จะเพียงแค่ไม่นาน


    เรื่องนี้ต้องเข้าใจครับ...
    การออกมารับแขกแต่ละครั้ง อธิษฐานจิตวัตถุมงคลแต่ละหน
    ผมเชื่อว่าท่านต้องใช้แรง ใช้พลังไม่ใช่น้อย
    และแน่นอนว่า เวลาพักผ่อนของท่านก็จะต้องลดลงไปด้วย
    คิดดูเถิดครับ ครูบาอาจารย์ อายุ ๑๐๓-๑๐๔ ปี ถือว่าอายุไม่น้อยเลย
    สุขภาพร่างกายจะให้เต็มร้อยเปรอ์เซน๖เหมือนเมื่อก่อนคงไม่ได้


    ถ้าเป็นท่านเอง ปู่ย่าตาทวด อายุร้อยกว่าปี ท่านคงอยากให้ญาติผู้ใหญ่พักผ่อน
    มากกว่าจะมานั่งต้อนรับลูกหลาน แม้ท่านจะเต็มใจก็ตามที


    ปกติแล้ว ครูบาหม่อนท่านก็จะรับนิมนต์อยู่เสมอ
    ผมเองยังเคยนึกตำหนิ ลูกศิษย์ที่ดูแลหลวงปู่อยู่ในใจ
    ว่าทำไมปล่อยให้หลวงปู่รับนิมนต์ พาไปนู่นไปนี่อยู่เรื่อยๆ


    ตอนหลังจึงได้มาทราบว่า เป็นความต้องการของหลวงปู่ท่านเองครับ
    ท่านพูดถึงขนาดว่า "กูอยู่วัดมาเป๋นร้อยปีแล้ว ขอกูไปแอ่วพ่องเต๊อะ"
    แปลความได้ว่า "กูอยู่วัดมาจะร้อยปีแล้ว ขอกูไปเที่ยวบ้างเถอะ"
    และการออกนอกวัดแของท่านแต่ละครั้ง
    ก็เป็นโอกาสที่ท่านจะได้โปรดญาติโยมตามที่ต่างๆ นั่นเอง


    การที่คณะขอเราได้มีโอกาสนำพระไปให้ครูบาหม่อนท่านเสกถึงในห้อง
    เพราะได้การนำของลุงหนานปัน ไวยาวัจกรของวัดใหม่หนองหอย เป็นผู้พาเข้าไป
    ลุงหนานปัน เคยบวชอยู่กับครูบาหม่อนดวงดี
    หัวนะ ที่เรานำมาอุดด้านหลังล็อกเกตรุ่นมหามงคล ๑๐๘
    ก็ได้รับมอบจากครูบาหม่อนมาเมื่อหลายสิบปีก่อน สมัยที่ลุงหนานยังอยู่กับท่าน
    ก่อนนำมาขอให้หลวงปู่ครูบาอินอธิษฐานจิตให้อีกหลายวาระ


    เรียกว่า เล่นเส้นกันนิดหน่อย... ถึงได้เข้าไป

    จะว่าไปแล้ว วัตถุมงคลรุ่นนี้ ได้รับการอธิษฐานจิตจากหลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดีถึง 3 ครั้งแล้วครับ
    ครั้งแรก คือการอธิษฐานจิตมวลสาร
    ครั้งที่สอง ตอนที่นำมวลสารนี้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก "พระผงอังคารธาตุ" หลวงปู่ครูบาอิน
    ซึ่งมีครูบาหม่อนดวงดี เป็นประธานจุดเทียนชัย
    ครั้งที่สาม ก็คือการอธิษฐานจิตเดี่ยว หลังจากเอามาอุดหลังล็อกเกตแล้ว
    ดังนั้น .... ถ้าจะว่า "ดวงดี ยกกำลัง 3" ก็คงจะไม่เกินไป


    เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว... มีข่าวน่าตกใจเกี่ยวกับครูบาหม่อน
    ผม scan มาให้อ่านกัน สำหรับท่านที่อาจจะพลาดข่าว
    ตอนนี้ (21-09-09) คิดว่าท่านยังคงอยู่ที่โรงพยาบาล
    ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าอาการของท่านเป็นยังไงบ้าง จะคอยติดตามข่าวครับ

    [​IMG]
     
  20. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (วันอังคาร) ผมเอาพระไปถวายหลวงปู่ตั๋น
    เป็นพระที่น้องโต้งสายครูบาสร้างถวาย แต่ไม่สะดวกเอาไปถวายเอง
    ผมจะไปวัดอยู่แล้ว ก็เลยอาสาเอาไปถวายหลวงปู่ให้
    ทราบมาว่าหลวงปู่ตั๋นท่านเข้าโรงพยาบาล เพราะท่านอาเจียน
    ไม่ได้เป็นหนักครับ... พักแค่คืนเดียว ท่านก็รบเร้ากลับวัด
    ตอนนี้อาการปกติ แข็งแรงดีแล้วครับ

    คุณโหน่ง.. ไปกราบท่านเมื่อไหร่แวะมาทักทายกันหน่อยนะครับ

    ธีระยุทธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...