><ย้ายกระทู้แล้วครับ พบกับของดีๆได้ที่ กระทู้ใหม่(4) ครับ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 11 พฤษภาคม 2011.

  1. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,517
    ค่าพลัง:
    +30,849
    หวัดดียามเช้าครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  2. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2016
  3. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการนี้ปิดแล้วครับผม




    3039.พระพุทโธน้อยรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม
    มวลสารสุดวิเศษผสมอัฐิธาตุคุณแม่บุญเรือน

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    พระพุทโธน้อยรุ่นแรก หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด ฐาน ส. เนื้อดินผสมผงมหาพุทธคุณ และอัฐิธาตุคุณแม่บุญเรือน หลังปั้มยันต์พุทโธ ดำเนินการจัดสร้างเมื่ออปี พ.ศ.2526 วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนในการดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถวัดทุ่งสามัคคีธรรม

    ประวัติการสร้างพระพุทโธ รุ่นแรก หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก
    ย้อนหลังไปประมาณปี 2526 ในขณะนั้นพระอุโบสถวัดทุ่งสามัคคีธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ได้ปรึกษาหารือกับสหธรรมมิก ของท่านคือหลวงพ่อสุวรรณ ปภัสโร (สุวรรณ ทองนาค วัดอาวุธ โดยท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมมาตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะบวชเป็นพระ ) ถึงการหาจตุปัจจัยที่จะมาดำเนินการให้แล้วเสร็จ
    หลวงพ่อสุวรรณ จึงให้ความเห็นว่าควรจะสร้างวัตถุมงคลเป็นพระพุทโธ แบบอย่างคุณแม่บุญเรือนเพื่อสมนาคุณแด่ผู้ที่มาร่วมถวายจตุปัจจัย ซึ่งหลวงพ่อสังวาลย์ท่านก็เห็นสมควรด้วย หลวงพ่อสุวรรณท่านจึงรับอาสาจัดสร้างพระพิมพ์พุทโธนี้เพื่อถวายแด่หลวงพ่อสังวาลย์โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ท่านหวังเพียงเพื่อร่วมรับอานิสงค์ในการจัดสร้างพระอุโบสถ วัดทุ่งสามัคคีธรรมในครั้งนี้เท่านั้น
    การจัดสร้างนั้นกินเวลาค่อนข้างนานเนื่องจากหลวงพ่อสุวรรณท่านไม่มีความชำนาญในการสร้าง ได้ทำการลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ มีการเปลี่ยนและแก้ไขแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและหลังหลายครั้ง จนส่งผลให้พระชุดนี้มีความหลากหลายทั้งพิมพ์ทรง และเนื้อหา แต่หากสังเกตดีๆแล้ว พระทั้งชุดจะมีความเกี่ยวเนื่องกันในแต่ละองค์ ไม่มากก็น้อย และพระที่สร้างเสร็จในแต่ละคราวก็จะทยอยนำมาที่วัดทุ่งสามัคคีธรรม โดยทั้งที่หลวงพ่อสังวาลย์ท่านลงมารับเองและที่หลวงพ่อสุวรรณท่านนำขึ้นไปถวาย
    โดยในช่วงนั้นหลวงพ่อสังวาลย์ท่านขึ้นๆ ลงๆ มาที่วัดอาวุธถึงเดือนละ 4 รอบเลยทีเดียว และหลังจากที่ได้พระมาในแต่ละครั้งหลวงพ่อสังวาลย์ท่านจะทำการอธิษฐานจิตด้วยตัวท่านเองเงียบๆ โดยไม่มีพิธีรีตองใดๆทั้งสิ้น จนบางครั้งพระ ชี ในวัดยังไม่ทราบเลยว่าท่านกำลังทำอะไรอยู่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งให้พระรุ่นนี้ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเท่าที่ควร หรือได้รับรู้ข้อมูลกันมาแบบผิดๆ จึงทำให้พระชุดนี้เป็นของดีที่ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย เพราะทั้งผู้สร้างและผู้เสกล้วนแล้วแต่เป็นพระผู้ทรงคุณทั้งสององค์


    มวลสารการจัดสร้างพระพุทโธ
    - ดินนิมิต จากวัดเขาสารพัดดี หลวงพ่อสังวาลย์ท่านนั่งเห็นดินที่มีคุณวิเศษในตัวอยู่ในสระน้ำของวัดเขาสารพัดดี โดยท่านได้นำหลวงพ่อบุญลือและคณะศิษย์ ไปชี้ตำแหน่งและขุดขึ้นมาโดยปั้นเป็นก้อนกลมๆขนาดกำปั้นผู้ใหญ่ โดยเอาผ้าห่อเอาไว้แล้วขนกลับมาที่วัด เมื่อมาถึงที่วัดแล้วท่านก็นำบาตรของหลวงพ่อป้อง ที่ได้ได้รับการถวายมาจากกำนันวงษ์ ( พี่ชายหลวงพ่อสุวรรณ ) มาใส่น้ำแล้วอธิษฐานขอบารมีหลวงพ่อป้อง ให้ท่านช่วยปลุกเสกดินให้เป็นรอบแรก แล้วจึงนำดินที่เป็นปั้นนั้นลงไปละลายในบาตรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้าง ( หลวงพ่อป้องเป็นพระที่หลวงพ่อสังวาลย์ให้ความเคารพนับถือมากอีกรูปหนึ่ง โดยในปัจจุบันกะโหลกส่วนศรีษะท่านที่เผาไม่ไหม้ หลวงพ่อสังวาลย์ท่านได้นำมาใส่ไว้ในโกศ แล้วเอาสายสิจญ์พันรอบหลายๆชั้นด้วยตัวท่านเอง เพื่อป้องกันการเปิดออก โดยในปัจจุบันโกศนั้นตั้งวางให้บูชาอยู่บนเรือนไทย ที่วัดสังฆทาน กทม)
    - พระพุทโธน้อยคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม แตกหัก ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่กุฏิ พระเทพเมธากร เจ้าอาวาสวัดอาวุธในสมัยนั้น หลวงพ่อสุวรรณท่านได้ถวายปัจจัยทำบุญ 20,000 บาทแล้วนำมาทั้งหมด โดยได้พระพุทโธแตกหัก และผงมวลสารเก่าๆสมัยคุณแม่บุญเรือนประมาณ 2 ถังใหญ่ สาเหตุหลักที่หลวงพ่อสุวรรณท่านเจาะจงมวลสารนี้ เพราะท่านได้รับคำสั่งสอนมาจากคุณแม่บุญเรือนว่า ? ฉันอธิษฐานพระให้เพียงหนเดียวเท่านั้น และพระฉันถึงแตกหักอย่างไร เมื่อนำมาบดแล้วสร้างใหม่ ก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิมเช่นที่ฉันอธิษฐานให้ ? ซึ่งหลังจากการอธิษฐานพระพุทโธน้อยแล้วคุณแม่ก็ไม่ได้อธิษฐานพระที่ใดอีกเลย
    - ศิลาน้ำ คุณแม่บุญเรือน หลวงพ่อสุวรรณท่านได้รับมาจากคุณแม่บุญเรือนเป็นจำนวนมาก ได้นำมาตำจนละเอียด
    - ข้าวตอกพระร่วง คุณแม่บุญเรือน หลวงพ่อสุวรรณท่านได้รับมาจากคุณแม่บุญเรือนเป็นจำนวนมาก ได้นำมาตำจนละเอียด ในส่วนผสมนี้หากใช้กล้องส่องจะพบว่าเป็นเม็ดดำๆคล้ายๆนิลอยู่ในเนื้อพระ
    - ปูนแดงเสก คุณแม่บุญเรือน
    - และส่วนผสมที่สำคัญที่สุดในพระชุดนี้คือ อัฐิธาตุ และ ผงอังคารธาตุ ของคุณแม่บุญเรือน จำนวนมากที่หลวงพ่อสุวรรณท่านได้เก็บรักษาไว้ โดยหลวงพ่อสุวรรณท่านได้บอกกล่าวขออนุญาตคุณแม่ แล้วนำมาบดใส่ทั้งหมดที่ท่านมีอยู่ซึ่งท่านที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนใส่บอกว่า ท่านกำอัฐิธาตุ และผงอังคารธาตุที่บดแล้วใส่ในการผสมเนื้อในแต่ละครั้งละเป็นกำๆเลยที่เดียว

    หมายเหตุ
    - น้ำที่ใช้ประสานเนื้อในพระชุดนี้เป็นน้ำที่ได้มาจากการทำพิธีเสกน้ำ จากศิลาน้ำของคุณแม่บุญเรือนทั้งสิ้น และยังมีน้ำเสกที่คุณแม่เคยเสกไว้ให้ รวมทั้งน้ำที่ได้จากการล้างบาตรหลวงพ่อป้อง (ล้างเพื่อเอาดินที่ติดอยู่ออก) ในการปั๊มพระแต่ละครั้งแป้งที่ใช้โรยเพื่อไม่ให้พระติดพิมพ์นั้นก็เป็นแป้งอธิษฐานของหลวงปู่บุดดา ทั้งสิ้น โดยหลวงพ่อสุวรรณได้ไปเช่าบูชา มาเป็นลังๆ (แป้งสปริงซอง)
    - ส่วนแม่พิมพ์นั้น หลวงพ่อสุวรรณท่านและศิษย์ที่เป็นหมอฟัน ได้ช่วยกันแกะและถอดพิมพ์ โดยใช้ต้นแบบเค้าโครงจากพระพุทโธน้อยของคุณแม่บุญเรือน โดยแม่พิมพ์นั้นได้ทำขึ้นมาหลายพิมพ์
    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : ประวัติการสร้างพระพุทโธ รุ่นแรก หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก

    สภาพสวยเดิมไม่หักไม่ซ่อม เก่าเก็บไม่ได้ใช้ เนื้อดีมวลสารสุดวิเศษ พระอริยเจ้าเมตตาอธิษฐานจิต เรื่องพุทธคุณครอบครบทุกทาง ปัจจัยไม่พร้อมพระพุทธโธของคุณแม่บุญเรือน บูชารุ่นนี้แทนได้สบายครับ แบ่งให้บูชา 1,400บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณcalamuz จองแล้วครับ)




    [FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff]คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=5][SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/FONT][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][EMAIL="Engineer0206nu@gmail.com"][FONT=Arial][SIZE=5][COLOR=green]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR][/SIZE][/FONT][/EMAIL][/FONT][/FONT][/FONT]
    [SIZE=5][COLOR=magenta]*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***[/COLOR][/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2014
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการนี้ปิดแล้วครับผม


    3040.พระกริ่งยุคกึ่งพุทธกาล พระกริ่งนะโภคทรัพย์
    หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง ชนวนยอดเยี่ยมพุทธคุณโภคทรัพย์ดีนักแล

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    พระกริ่งนะโภคทรัพย์ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี เนื้อทองผสม ผสมชนวนเก่า ดำเนินการจัดสร้างราวปีพ.ศ.2495 - 2500 พุทธศิลป์สวยงามแต่งเก่าโดยการตอกเครื่องมือ "ตุ๊ดตู่" ที่บริเวณเม็ดพระศกและไข่ปลาที่ฐานบัว องค์พระกริ่งในมือถือน้ำเต้าลูกใหญ่ ด้านหลังประทับยันต์ "นะโภคทรัพย์" นั่งบานฐานบัว2ชั้น ใต้ฐานบรรจุกริ่งงานเนียบงานปราณีต เนื้อหาโลหะวรรณะอมเหลือง ผิวออกพรายเงินนิดๆ ใต้ฐานมีสนิมโลหะปกคลุม จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งยุคกลางค่อนไปถึงยุคท้ายของท่าน

    ประวัติหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธ.ค. 2428 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นบุตรของนายสิน นางขลิบ รัตนบุญสิน บรรพชาเมื่อ อายุ 12 ปี และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
    หลวงพ่อแฉ่ง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความสำคัญในอดีต ด้วยความที่มีอาคมขลัง มีพลังทางจิตแก่กล้ายิ่ง เป็นพระปฏิบัติเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้คงแก่เรียนจนทำให้ชื่อเสียงระบือไกล
    หลวงพ่อแฉ่ง เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมขลังมาจากเกจิชื่อดังต่าง ๆ หลายรูปและได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชามาอย่างหมดใส้หมดพุง ทั้ง หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน) หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน หลวงปู่ฉาย วัดพนัญเชิง คณาจารย์สาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นต้น
    อย่างไรก็ตามหลวงพ่อแฉ่งให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค จ.อยุธยา มากเป็นพิเศษ ในฐานะลูกศิษย์และสหายธรรมรุ่นน้อง จึงได้รับอิทธิพลพระพิมพ์ทรงสัตว์ต่าง ๆ มาจากหลวงพ่อปานด้วย ซึ่งท่านได้นำมาพิมพ์แจกจ่ายญาติโยม ได้รับความนิยมเช่าบูชากันมาก
    สมัยหลวงพ่อแฉ่งยังมีชีวิตอยู่ วัดบางพังในอดีตคึกคักกว่าวัดอื่น ๆ ในระแวกใกล้เคียง แต่ละวันมีผู้คนมากหน้าหลายตาเดินทางมาจากถิ่นต่าง ๆ มาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงพ่อแฉ่งจนรับไม่หวาดไหว บางคนก็มาขอวัตถุมงคล บางคนก็มารักษาโรค บางคนก็มาปรึกษาขอความช่วยเหลือสารพัด เพราะทุกคนเชื่อมั่นว่าหลวงพ่อแฉ่งท่านช่วยได้
    ผู้ที่ไปขอเรียนคาถาอาคม หลวงพ่อแฉ่งจะให้หัดนั่งสมถวิปัสนากรรมฐานก่อน เมื่อเห็นว่าพอไปได้ จึงจะให้รับนิสัยธรรมข้อหนึ่งที่หลวงพ่อจะอบรมสั่งสอนให้จำขึ้นใจ (เข้าใจว่าเป็นคุณธรรมประจำใจหรือธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง) จากนั้นจึงจะบอกตัวคาถาและเคล็ดวิชาต่าง ๆ ให้ การเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อแฉ่ง ท่านสอนยศิษย์ทั้งเรียนผูกและเรียนแก้ เพื่อป้องกันแก้ไขและช่วยเหลือคนที่มีทุกข์ถูกคุณไสยให้พ้นภัย เรียกว่าครบเครื่องเลยทีเดียว
    หลวงพ่อแฉ่ง มรณภาพ วันที่ 26 ก.ค. 2500 รวมสิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา สังขารของท่าน สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฎกษัตริยาราม โปรดให้เคลื่อนไป พระราชทานเพลิงอย่างสมเกียรติ เมื่อ 11 พ.ค. 2501 ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ โดยในงานศพของหลวงพ่อแฉ่ง มีการปั้มเหรียญรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแจกเป็นที่ระลึกด้วย

    สภาพสวยเดิมผิวเปิดบ้างบางส่วน พิมพ์คมชัดลึก เนื้อดีปีลึก พุทธคุณเมตตา แลโภคทรพัย์อย่างสูงสุด และศิริมงคลเป็นที่ประจักษ์ พระดีพระเก่าราคาถูกกว่าพระใหม่ๆปัจจุบันอีกครับ เอาเป็นว่าได้ไปไม่เก่าไม่เอาตังค์ครับ แบ่งให้บูชา 4,000บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณImpurity จองแล้วครับ)



    [SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff]คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/FONT][/SIZE][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff][B][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/B][/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff][B][COLOR=black][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=5][SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][SIZE=5][B][FONT=Tahoma][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][EMAIL="Engineer0206nu@gmail.com"][FONT=Arial][SIZE=5][COLOR=magenta]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR][/SIZE][/FONT][/EMAIL][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/COLOR][/B][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=Tahoma][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=green]*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***[/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/B]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  5. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,517
    ค่าพลัง:
    +30,849
    หวัดดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  6. calamuz

    calamuz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +363
    จองครับ

    3039.พระพุทโธน้อยรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม
    มวลสารสุดวิเศษผสมอัฐิธาตุคุณแม่บุญเรือน
     
  7. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,517
    ค่าพลัง:
    +30,849
    หวัดดียามบ่ายครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  8. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการนี้ปิดแล้วครับผม



    3041.พระพุทธชินราช โรงพยาบาลสงฆ์ 2โค๊ด
    มหาพิธีกึ่งพุทธกาลปี2500 ลพ.จง,ลพ.แฉ่ง,ลพ.เต๋,ลป.สุข ร่วมเสกพิธีใหญ่

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    พระพุทธชินราช โรงพยาบาลสงฆ์ พิมพ์ใหญ่เนื้อผงผสมดินเผา 2โค๊ดหายากมากๆ จัดสร้างเมื่อพ.ศ.2500 โดยคณะกรรมการแพทย์ได้มีศรัทธาบำเพ็ญกุศลเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยได้ดำริร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลล พระพุทธรูปชนิดต่างๆ รวมทั้งพระเครื่องอีกหลายประเภท โดยจัดพิธีสมโภชน์ และมหาพุทธาภิเศกอย่างศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างมีดังนี้
    1.เพื่อเป็นอนุสรณ์ในมงคลสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญมาได้ครบ 2,500 ปี
    2.เพื่อได้รวบรวมทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธรูปต่างๆในครั้งนี้ สำหรับตั้งเป็นทุนเพื่อวินิจฉัยค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการของแพทย์เพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ชนทั่วไป

    ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์
    มีการรวมรวมชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆโดยให้นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในแต่ละจังหวัด ได้ขอผงศักดิ์สิทธิ์จากพระคณาอาจารย์ พระเกจิอาจารย์ต่างๆทั่วประเทศ อาทิเช่น ผงพระสมเด็จ วัดระฆัง, ผงพระสมเด็จ วัดไชโย, ผงพระรอดวัดจามเทวี, ผงอิธิเจ, ผงปถมัง, ผงมหาราช, ผงตรีนิสิงเห, ผงพุทธคุณและมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆของคณาจารย์ในยุคนั้นมากมายกว่า 709 องค์, ดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง หลังจากนั้นนำชนวนมวลสารที่ได้ทั้งหมดมาผสมรวมกัน ณ พระวิหารโรงพยาบาลสงฆ์

    โดยคณะกรรมการได้กำหนดพิมพ์พระเป็น 3 พิมพ์คือ
    1.พระพุทธชินราช สำหรับประจำตัวชาย
    2.พระนางพญา สำหรับประจำตัวหญิง
    3.พระรอด สำหรับประจำตัวเด็ก

    พิธีพุทธาภิเษก วาระที่1
    โดยได้แยกทำ 2 แห่ง คือ 1.พระพุทธชินราชและพระนางพญา ประกอบพิธีสร้างที่พระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ประกอบพิธีสร้าง เมื่อ 30 และ 31 มกราคม 2500. ในวันที่ 30 ม.ค. 2500 ได้มีการนำพิมพ์พระ และผงศักดิ์สิทธิ์มาตั้งไว้ภายในพระวิหาร วงสายสิญจน์จากองค์พระหลวงพ่อพระพุทธชินราช ลงล้อมสิ่งของเครื่องพิธีทั้งปวง โดยเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.00 น. มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานเจริญพระพุทธมนตร์และมีพระสงฆ์นั่งปรกบริกรรมปลุกเศกทั้งคืนโดยมีหลวงพ่อไซ้ วัดช่องลม จ.อุตรดิตถ์เป็นประธาน.รุ่งขึ้นเวลาเช้าได้ปฐมฤกษ์ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดพระเชตุพน ได้พิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้วดับเทียนชัย แล้วทำการพิมพ์พระจนได้ครบจำนวน

    วาระที่ 2
    ประกอบพิธีพุทธาภิเษก และฉลองสมโภชน์ที่โรงพยาบาลสงฆ์ ในวันที่ 1-2 พ.ค. ปี พ.ศ.2500
    รายนามพระเกจิอาจารย์ที่อธิษฐานปลุกเสก พระสงฆ์ 108 รูป อาทิ
    สมเด็จพระวันรัต เป็นองค์ประธาน
    1.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสระเกศ
    2.ท่านเจ้าคุณราชโมลี วัดระฆังโฆสิตาราม
    3.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    4.ท่านเจ้าคุณปภัสสรมุนี วัดมิ่งเมือง
    5.หลวงพ่อเมี้ยน วัดพระเชตุพน
    6.หลวงพ่อหลาย วัดราษฎร์บำรุง
    7.ท่านเจ้าคุณโสภณสมาจาร วัดหนองบัว
    8.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    9.หลวงพ่อสุข วัดโตนดหลวง
    10.ท่านพระครูปลัดบุญรอด
    11.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
    12.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    13.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    14.หลวงพ่อแสวง วัดกลางสวน
    15.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์
    16.ท่านพระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิต
    17.ท่านพระครูวิริยกิติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    18.ท่านพระครูปลัดเกียรติ วัดมหาธาตุ
    19. พระครูกัลยาณวิสุทธิคุณ วัดดอนยานนาวา
    20. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน เป็นต้น
    พระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2500 (นิยมเรียกกันว่าพระพุทธชินราชโรงพยาบาลสงฆ์) สุดยอดวัตถุมงคลแย่งยุคกึ่งพุทธกาล ที่เปี่ยมไปด้วยพลังความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง พุทธคุณสูงครบถ้วนดีทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดป้องกันภัย พระดีทรงคุณค่ายอดพระเถระอาจารย์ยุคกึ่งพุทธกาลอธิษฐานจิตปลุกเสกให้อย่างสุดเข้มขลัง

    พระพุทธชินราช องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ กดโค๊ด 2โค๊ดหายากมากๆ สภาพสวยเดิมเก่าเก็บไม่ได้ใช้ ไม่หักไม่ซ่อม เนื้อพระที่แห้งมันวับ พุทธคุณล้นฟ้าราคหลักร้อย แบ่งให้บูชา 1,200บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณjaru จองแล้วครับ)





    [COLOR=#0000ff][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff]คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/COLOR][COLOR=#0000ff][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/COLOR][B][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/B]
    [B][COLOR=black][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=5][SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][SIZE=5][B][FONT=Tahoma][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][EMAIL="Engineer0206nu@gmail.com"][FONT=Arial][SIZE=5][COLOR=magenta]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR][/SIZE][/FONT][/EMAIL][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/COLOR][/B]
    [FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=green]*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***[/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2014
  9. jaru

    jaru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +710
    ขอจองไว้ก่อนครับ
     
  10. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,517
    ค่าพลัง:
    +30,849
    หวัดดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  11. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117


    ปิดรายการแล้วครับผม




    3042.พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อฝักไม้ขาว วัดสุนทรประดิษฐ์
    ลป.บุดดา,ลพ.ดี,ลป.เมฆ,ลป.มี,ลป.แขก ร่วมเสกรุ่นนี้ผสมผงกรุเก่า

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อฝักไม้ขาว วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เนื้อผงพุทธคุณฝักไม้ดำ ผสมผงพุทธคุณต่างๆ, ผงลบของหลวงปู่ และผสมผงกรุฝักไม้ขาวฝักไม้ดำปี2482 ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2534 โดยหลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์

    ลักษณะพระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ
    ด้านหน้า : พระประธานแสดงปางลีลา ล้อมรอบด้วยอักขระขอมที่แสดงถึงพระพุทธคุณมากมาย มุมทั้ง 4 ขององค์พระอ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ"
    ด้านหลัง : ด้านบนมีอักขระขอมว่า "มะ อุ อะ" ตอนกลางมีพระประทับนั่ง 3 องค์ ซ้ายสุดปางสมาธิ องค์กลางปางมารวิชัย และขวาสุดประทับนั่งประนมมือ ถัดลงมาเป็นอักขระขอมว่า "นะ ปะ ทะ อะ ระ หัง" ล่างสุดเป็นรูปสิงห์ป้อนเหยื่อให้เสือ

    พิธีพุทธาภิเษก
    วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2534 ณ วัดสุนทรประดิษฐ์ โดยมีพระคณาจารย์ 21รูปร่วมอธิษฐานจิต ดังรายนามต่อไปนี้
    1. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    2. หลงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    3. หลวงพ่อห้อม วัดคูหาสรรค์
    4. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญ
    5. หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
    6. หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
    7. หลวงปู่ดี วัดพระรูป
    8. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    9. หลวงพิมพา วัดหนองตางู
    10. หลวงพ่อช่อ(ฤาษีลิงขาว) วัดฤกษ์บุญมี
    11. หลวงปู่มี วัดมารวิชัย
    12. หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน
    13. หลวงพ่อมหาพันธ์ วัดเนรมิตรวิปัสสนา
    14. หลวงพ่อจิตร วัดวังแดง
    15. หลวงพ่อโถม วัดธรรมปัญญาราม
    16. หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม
    17. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดชากนิมิตวิทยา
    18. หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก
    19. หลวงพ่อตุ๊เจ้าป่า วัดรวมเทพ
    20. หลวงพ่อบุญจันทร์ วัดในห้วย
    21. หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์
    พิจารณาจากอักขระขอมที่ผู้สร้างบรรจงสร้างสรรค์ลงในองค์พระ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ถึงความเพียบพร้อมครบครันของ "ฝักไม้ดำ" และ "ฝักไม้ขาว" ทั้งเจริญรุ่งเรือง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แม้ราชสีห์ที่ว่าโหดร้ายยังศิโรราบต่อเมตตาธรรมยอมป้อนเหยื่อให้กับเสือซึ่งเป็นศัตรู จึงนับเป็นที่แสวงหาของนักนิยมสะสมอย่างมาก พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อรุ่นปี34นี้ ทางวัดได้ออกให้บูชาไปแล้วเมื่อปี34 หลังจากนั้นเมื่อปีพ.ศ.2553 หลวงปู่แขก ได้นำส่วนที่ท่านเก็บไว้ส่วนหนึ่งจากพิธี นำออกมาให้บูชาอย่างละ 1,000องค์ ให้บูชาองค์ละ 500บาท เพื่อนำปัจจัยไปบูรณะอาคารหลวงปู่แขก ท่านใดสนใจเรียนเชิญร่วมทำบุญที่วัดได้นะครับ แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าของจะหมดหรือยังนะครับ
    ข้อมูลและภาพในพิธีพุทธาภิเษก สุดยอด :
    - http://www.banmung.go.th/webboard_detail.php?hd=1&id=1962

    สภาพสวยเดิมจากวัด เนื้อผงเก่าเพียบ ออกกันเบาๆบูชามาจากวัด ก็500แล้วครับ เจตานาการจัดสร้างอันบริสุทธิ์พิธีที่ดีรวมถึงมวลสารสุดยอด และพระคณาจารย์ที่ปรกล้วนไม่เป็นรองใคร ไม่มีเสริมไม่มีเก๊ ปลอดภัยหายห่วงครับ ใช่บูชาแทนฝักไม้ดำแบบกรุได้เลยครับ แบ่งให้บูชา 499 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณdorn3698 จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [SIZE=5][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/SIZE]Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2015
  12. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117

    ปิดรายการแล้วครับผม



    3043.สวยเดิมๆ เหรียญรุ่น53 พระอาจารย์วัน อุตฺโม(๑)
    พระอรหันต์เจ้าแห่งภูผาเหล็ก ศิษย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    [​IMG]


    เหรียญรุ่น53 พระอาจารย์วัน อุตฺโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จังหวัดสกลนคร เนื้อทองแดงรมมันปู ตอกโค๊ด ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2521

    สร้างถวายโดย :
    พล.ต.ท.แสวง หงษ์นคร ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 2 จ.นครราชสีมา(ผู้สร้างพระกริ่งมัญจาคีรีหลวงพ่อผางและครูบาอาจารย์สายพระอาจารย์มั่นอีกหลายท่านอาทิ เหรียยฉลุหลวงปู่ดุลย์,หลวงปู่ขาว)


    ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    พระอาจารย์วัน เกิดวัน ๑ ฯ ๖ ๙ ปีจอ (วันอาทิตย์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๙) ตรงกับวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ บ้านตาลโกน ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
    บิดาชื่อ นายแหลม สีลารักษ์ และมารดาชื่อ นางจันทร์ (มาริชิน) สีลารักษ์
    นายแหลมและนางจันทร์ มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ
    ๑. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    ๒. นายผัน สีลารักษ์

    ๏ สมัยออกบรรพชา
    เมื่อ สิ้นร่มโพธิ์ร่มไทรลงแล้วพระอาจารย์วัน ก็เริ่มมีชีวิตอยู่อย่างว้าเหว่ แม้ว่าตระกูลของปู่เป็นพระกลที่พอมีอันจะกินตามฐานะของชาวชนบท แต่ความรู้สึกภายในที่ประสบกับความพลัดพรากจากไปของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ผู้เอาอกเอาใจ ผู้ให้ความอบอุ่น ผู้ปกป้อรักษาในทุกๆ ด้าน ก็คงมีสภาพไม่ผิดอะไรกับคนที่มีบ้านใหญ่โต แต่ถูกพายุหนุนหอบไปกับสายลม แม้จะมีหน่วยสงเคราะห์ให้ความเมตตาก็ไม่สามารถูกดแทนความอาลัยนั้นได้ จึงทำให้เด็กชายวันคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะขณะที่บิดาของท่านกำลังเจ็บหนัก ได้สั่งเสียไว้ว่า

    “เมื่อออกโรงเรียนแล้ว ขอให้ลูกบวชให้พ่อ ก่อนจะคิดเรื่องอื่นๆ จะอยู่ได้ในศาสนานานเท่าไรไม่บังคับ”

    คำ สั่งเสียนี้แหละเป็นเครื่องกระตุ้นอันสำคัญอีกแรงหนึ่งที่ทำให้เด็กชายวัน ตัดสินใจออกบวช วันหนึ่งจึงเข้าไปกราบลาปู่โดยกล่าวสั้นๆ ว่า “ขอไปบวช” ปู่ได้ยินหลานมาออกปากกราบลาอยู่ซึ่งหน้าเช่นนั้น ถึงกับพูดไม่ออก เพราะความรักความอาลัยในหลาน แต่พระอาจารย์วันก็ไม่ลดละความพยายาม ผลสุดท้ายปู่ก็จำต้องอนุญาตให้บวชด้วยความอาลัย
    เมื่อตัดสินใจบวชแน่นอนแล้วพระอาจารย์วัน ได้ถูกนำตัวไปฝากไว้กับ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านตาลโกนไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ในการไปบวชครั้งนี้ก็ได้ให้เงินติดตัวไปด้วย ๑ บาท เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นในการใช้จ่ายมากนัก เมื่อไปอยู่วัดระยะแรกๆ ก็ยังไม่รีบร้อนอะไร เพราะตามธรรมดาเด็กที่ไปอยู่วัดกรรมฐาน จะต้องได้รับการฝึกให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ให้เป็นเสียก่อน หมายความว่าเด็กจะได้รับการอบรมในข้อวัตรต่างๆ เช่นการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสามเณร ต่อบุคคลโดยทั่วไป รวมทั้งกิริยามารยาทในอิริยาบถต่างๆ ตลอดจนการฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนาไปด้วยเป็นเวลาหลายเดือน บางคนเป็นปีหรือหลายปี แล้วแต่อาจารย์จะเห็นเหมาะสม เพราะถ้าหากได้รับการฝึกหัดดีแต่เบื้องต้น เมื่อบวชเข้ามาแล้ว อาจารย์ก็ไม่ต้องยุ่งยากลำบากในการแนะนำสั่งสอนบ่อยๆ

    สำหรับ พระอาจารย์วัน พอไปอยู่วัดไม่นาน ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ก็บอกให้ท่องคำขอบรรพชา ประจวบกับโอกาสอำนวย กล่าวคือขณะที่กำลังท่องคำขอบรรพชาอยู่นั้นพอดี ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) กลับจากไปงานผูกพัทธสีมาที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี แวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์วัง จึงนำไปบวช ณ วัดศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ (ขณะนั้นพระอาจารย์วันมีอายุ ๑๕ ปี) โดยมีพระราชกวี เป็นพระอุปัชฌายะ

    เมื่อ ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พระอาจารย์วัน ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาส 2 พรรษา จากนั้นท่านพระอาจารย์วังก็พาท่านออกเที่ยววิเวกตามสถานที่ต่างๆ เมื่อใกล้เข้าพรรษาพระอาจารย์ก็พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอท่าบ่อศรีสงคราม อีก ๒ พรรษา รวมเป็นเวลา ๔ พรรษา ที่ได้อบรมในทางปฏิบัติอยู่กับท่านพระอาจารย์วัง พอย่างเข้าพรรษาที่ ๕ จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรมที่วัดสุทธาวาส อันที่จริงวัดสุทธาวาสในสมัยนั้นก็เป็นวัดป่า ฉันอาหารมื้อเดียว ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ก็เหมือนวัดป่าทุกอย่าง เพียงแต่เพิ่มการศึกษาปริยัติธรรมเข้าไปเท่านั้น

    การศึกษาด้าน ปริยัติธรรมของพระอาจารย์วัน ได้เริ่มต้นเรียนนักธรรมชั้นตรีที่วัดสุทธาวาสนี้ ระหว่างสอบนักธรรม ฝรั่งได้เอาเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองสกลนคร ชาวเมืองต้องหลบภัยหนีไปอยู่นอกเมือง ปล่อยให้เป็นเมืองร้างไประยะหนึ่ง แต่ญาติโยมก็ได้จัดอาหารแห้งไปมอบให้สามเณรทำอาหารถวายพระ โดยเฉพาะ คุณโยมนุ่ม ชุวานนท์ พร้อมด้วยคณะญาติ ได้มอบอาหารไว้สำหรับทำถวายพระเณรทุกๆ เช้า

    ในขณะที่บ้านเมืองกำลัง ประสบภัยสงครามคล้ายบ้านแตกสาแหรกขาดเพราะอำนาจลูกระเบิดฝรั่ง ดูเป็นภัยที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหนึ่งในสมัยนั้น จึงมีเรื่องแปลกๆ ขำๆ มาเล่าสู่กันฟังในภายหลังได้เสมอแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับพระอาจารย์วันก็มี เช่นกัน กล่าวคือ ภิกษุสามเณรต่างก็ขุดหลุมหลบภัยกันตามคำแนะนำของทางราชการบ้านเมือง พระอาจารย์วัน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสามเณรก็ขุดหลุมหลบภัยกับเขาเช่นกัน แต่แทนที่จะขุดเป็นหลุมใหญ่เช่นคนอื่นๆ กลับขุดเป็นหลุมเล็กๆ ลงไปได้เฉพาะคนเดียว

    วันหนึ่งขณะที่เครื่องบินกำลังบ่ายโฉมหน้าจะมา ทิ้งระเบิดเช่นเคย เสียงเตือนภัยทางอากาศก็ดังกังวานขึ้น ประชาชนพลเมืองพระเณรต่างก็วิ่งเข้าที่หลบภัยกันจ้าละหวั่นด้วยความตกใจ พระสงฆ์บางองค์วิ่งไปลงหลุมของคนอื่นเลยถือโอกาสหลบอยู่เลยก็มีหลุมหลบภัย ของสามเณรวันขณะที่ต่างคนต่างเอาตัวรอดนั้นปรากฏว่ามีพระสงฆ์โจนลงไปหลบภัย อยู่ก่อนแล้วสามองค์ สามเณรวันจึงลงไปอัดอยู่เป็นองค์ที่สี่ หลุมหลบภัยที่ทำไว้เฉพาะคนเดียวเมื่ออัดเข้าไปถึงสี่ ท่านผู้อ่านก็นึกภาพเอาเองก็แล้วกันว่าจะอยู่กันในสภาพเช่นไรที่ร้ายไปกว่า นั้นบางองค์วิ่งเข้าไปในกอไผ่พอเครื่องบินกลับไปแล้วออกมาไม่ได้ ต้องร้อนถึงพระสงฆ์องค์อื่นต้องใช้มีดถางให้ออกมาก็มีสัญชาตญาณการหนีภัยโดย เฉพาะมรณภัยนั้น สัตว์ทุกหมู่เหล่ากลัวกันทั่วทุกชีวิต เพราะจะกลัวอะไรก็แล้วแต่ ย่อมมาสรุปรวมลงที่กลัวตายนั่นเอง

    เมื่อ เสร็จจากการสอบนักธรรมแล้ว พระสิงห์ ธนปาโล ที่เคยอยู่ด้วยกันกับท่านอาจารย์ยังได้ไปแวะเยี่ยม และชวนพระอาจารย์วัน ไปด้วย เพื่อไปศึกษาอบรมกับ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน แล้วในที่สุดพระอาจารย์วัน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าบ้านท่าฆ้องเหล็ก ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองอุบลราชธานี ขณะที่ไปอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ นั้นยังท่องหลักสูตรนักธรรมชั้นโทไปด้วย พระอาจารย์เสาร์ ได้กำชับว่าสามเณรที่มีอายุ ๑๙ ปี ต้องท่องปาติโมกข์ให้ได้ จึงจะให้ไปเรียนนักธรรม พระอาจารย์วัน ก็ท่องปาติโมกข์อยู่ประมาณ ๒๐ วัน จึงขึ้นใจ

    ต่อจากนั้นจึงกราบลาพระอาจารย์เสาร์ ไปเข้าเรียนนักธรรมต่อที่วัดพระแก้วรังษี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระพิบูลสมณกิจ (เก้า) เป็นเจ้าอาวาส พระอาจารย์วัน อาศัยอยู่กับท่านพระครูบุณฑริกบรรหาร (ทองดำ) เมื่อถึงเวลาสอบนักธรรมต้องเดินทางไปสอบที่ กิ่งอำเภอบุณฑริก ซึ่งปัจจุบันทางราชการได้ยกขึ้นเป็นอำเภอบุณฑริกแล้ว พอเสร็จจากการสอบนักธรรมกลับไปที่อำเภอพิบูลมังสาหารได้ไม่กี่วันก็เป็นไข้ มาเลเรีย เพราะในยุคนั้นไข้มาเลเรียชุกชุมมาก ยาควินินก็หาซื้อได้ยากเพราะอยู่ในระยะสงครามโลกครั้งที่ ๒

    ต่อจาก นั้น พระสิงห์ ธนปาโล ได้พาไปเยี่ยมญาติของท่านที่บ้านโนนยาง อำเภอยโสธร ระหว่างที่พักอยู่ราวป่าใกล้บ้านนั้นเอง พระสิงห์ได้ขอร้องพระอาจารย์วัน ให้บวชเป็นพระ โดยให้ญาติผู้ใหญ่ของพระสิงห์เป็นผู้จัดบริขาร ตามความรู้สึกของพระอาจารย์วัน ต้องการที่จะอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๕-๒๖ ปี คือไม่ปรารถนาจะแก่พรรษากว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน จึงเรียนความขัดข้องในใจของท่านเองต่อพระสิงห์ แต่พระสิงห์ไม่เห็นด้วย พระอาจารย์วัน จึงเสนอวิธีใหม่คือขอลาสิกขาไปเที่ยวสนุกก่อนประมาณ ๑๕ วัน จึงค่อยบวชเป็นพระ ฝ่ายพระสิงห์ท่านก็ไม่ยอมเช่นเคย ญาติพี่น้องทางบ้านก็ไม่ได้ข่าว

    ผลสุดท้ายจึงต้องตัดสินใจบวชเป็นพระ สนองเจตนาดีของพระสิงห์ท่าน โดยเดินทางไปอุปสมบท ที่วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม ในปัจจุบัน) อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เวลา ๑๖.๑๐ น. โดยมีพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌายะ และพระมหาคล้าย วิสารโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    บวช เสร็จแล้วกลับไปที่อยู่เดิม ต่อมาไม่นานนักก็ได้ทราบข่าวการมรณภาพของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล จึงได้พากันเดินทางไปนมัสการศพของท่านที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี

    ระหว่าง เดือน ๔ คณะของพระอาจารย์วัน ได้เดินทางกลับจังหวัดสกลนคร ขึ้นรถยนต์บ้าง เดินเท้าบ้าง ในระหว่างเดินทางนั้นต่างก็เป็นไข้จับสั่นกันทั่วหน้า เวลาไข้จะห่มผ้าหนาเท่าไรก็ไม่อุ่น ต้องนั่งชันเข่าก้มศีรษะลงหายใจให้กระทบหน้าอก จึงจะรู้สึกค่อยยังชั่วขึ้นบ้าง

    พ.ศ. ๒๔๘๕ พระอาจารย์วัน พักจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในปีนั้น พระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโญ มาพักจำพรรษาปกครองพระเณรพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้พักอยู่กุฏิใกล้ท่านจึงได้มีโอกาสอุปัฏฐากและรับโอวาทจากท่าน วันหนึ่งพระอาจารย์พรหมถามท่านว่าจะเรียนไปถึงไหน พระอาจารย์วัน ก็กราบเรียนท่านว่า สำหรับฝ่ายปริยัติธรรมจะเรียนให้จบนักธรรมชั้นเอก ฝ่ายบาลีถ้าสอบได้ประโยค ป.ธ. ๓ แล้วจะเรียนต่อให้ได้ถึงประโยค ป.ธ. ๙ เพราะการเล่าเรียนของฝ่ายพระจัดหลักสูตรไว้ ๒ แผนก นอกจากนี้เป็นการศึกษาเพิ่มเติมพิเศษพระอาจารย์พรหม จึงถามว่า ถ้าเรียนไม่ได้ตามความตั้งใจจะทำอย่างไร พระอาจารย์วัน ก็ยังยืนยันกับท่านพระอาจารย์พรหม ว่า จะเรียนให้สอบได้ปีละชั้น เพราะยังเชื่อมั่นในมันสมองของท่านเอง พระอาจารย์พรหมถามต่อไปอีกว่า เมื่อหยุดการเรียนแล้วจะทำอะไรต่อไป พระอาจารย์วันก็กราบเรียนต่อท่านว่าจะตั้งใจปฏิบัติเหมือนอย่างท่านอาจารย์ ทุกประการ พระอาจารย์พรหมก็หัวเราะ

    เมื่อออกพรรษาแล้วพระอาจารย์วัน ได้เดินทางไปรับใบคัดเลือกทหารที่อำเภอสว่างแดนดิน แล้วเดินทางลงไปสอบนักธรรมเอกที่กิ่งอำเภอบุณฑริกจังหวัดอุบลราชธานี สอบเสร็จแล้วได้ออกมาพักที่วัดภูเขาแก้วอำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งที่นั่นท่านพระครูบุณฑริกได้ล้มป่วยเป็นไข้จับสั่นอย่างแรง ท่านจึงมอบภาระให้พระอาจารย์วันทำบัญชีนักธรรมแทนท่าน ทั้งยังให้เป็นกรรมการดำเนินการสอบนักธรรมแทนท่านด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้วจึงเดินทางกลับสกลนครเพื่อคัดเลือกทหารในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ครั้งนั้นการคัดเลือกทหารกระทำกัน ๒ ครั้ง การคัดเลือกครั้งแรกพระอาจารย์วัน อยู่ในประเภทดีหนึ่งประเภทสอง ต่อเมื่อกัดเลือกครั้งที่ ๒ จึงได้เอาใบประกาศนักธรรมชั้นโทไปขอยกเว้น

    ใน ปีนั้นอาการป่วยเป็นไข้มาเลเรียของพระอาจารย์วัน ได้ทวีความรุนแรงขึ้น จึงจำเป็นต้องพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน อันเป็นมาตุภูมิ เพื่อรักษาสุขภาพ ก่อนเข้าพรรษาได้ถูกขอร้องไปเป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสุทธาวาสและ วัดชัยมงคลเพราะในสมัยนั้นหาพระที่มีภูมินักธรรมเอกได้ยากมาก แต่พระอาจารย์วัน ก็ไปไม่ได้เพราะสุขภาพไม่อำนวย อาการป่วยก็สามวันดีสี่วันร้าย ถึงกับมีอาการของความจำเสื่อมเป็นบางครั้ง

    ขณะ ที่ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าคามวาสี ๒ พรรษานี้ ตามที่ได้ยินจากพระผู้ใกล้ชิดและจากบันทึกของท่านเอง ปรากฏว่าในระหว่างนั้น ท่านต้องต่อสู้กับความคิดของตนเองอย่างหนักที่สุดในชีวิตพรหมจรรย์ เพราะล่วงมาถึงขณะนี้ความรู้ก็มีพอที่จะไปเป็นตำรวจหรือเป็นอะไรได้ หลายอย่าง สำหรับชีวิตทางฆราวาส อีกอย่างหนึ่งในขณะนั้นอายุท่านก็ยังน้อย คือมีอายุเพียง 22 ปีเท่านั้น ความคิดจึงโลดแล่นไม่ผิดอะไรกับวิหคที่โผผินอยู่ในอากาศ หาจุดหมายปลายทางได้ยากยิ่ง จิตของท่านจึงผันแปรไปตามอารมณ์ ถ้าจะเรียนบาลีต่อก็คงไปได้ไกล หรือจะตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมก็จะเป็นกำลังของหมู่คณะได้ดีหรือจะตั้งใจออก ประพฤติปฏิบัติทางกรรมฐานก็มีทางเลือกได้หลายทาง

    จากบันทึกของท่าน เองท่านมีความคิดอีกประการหนึ่งว่าการที่จะเรียนบาลีต่อ สุขภาพก็ไม่อำนวย และการเรียนบาลีท่านก็เคยเรียนมาแล้วแต่ครูสอนไม่จบ
    แต่ทางด้าน ฆราวาส ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นบ่อนแห่งการทำความชั่วนานาประการ ผู้จะตั้งตัวเป็นฆราวาสอย่างสมบูรณ์มีน้อยมาก คิดดูแล้วชีวิตนี้คงทนไปได้ไม่นานเท่าไรก็ถึงวันตาย ความดีที่จะสร้างขึ้นแก่ตนมีน้อยที่สุด ครั้นหันมาพิจารณาทางเพศนักบวช ถ้าจะครองตนอยู่อย่างงูๆ ปลาๆ โดยไม่ถูกกิจของสมณเพศแล้วท่านก็ได้ว่าเป็นฆราวาสเสียดีกว่า แต่เมื่อคิดถึงประวัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายในปางก่อน สมัยพุทธกาลผู้บวชเข้ามาล้วนแล้วแต่บวชเพื่อปฏิบัติตนให้พ้นไปจากวัฏทุกข์ ทั้งสิ้น ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจศึกษาหาทางปฏิบัติต่อไป

    ๏ สมัยศึกษาทางปฏิบัติ
    ระหว่างเดือน 3 พระอาจารย์วัน ได้ไปบ้านม่วงไข่ คือบ้านที่ไปมอบตัวเป็นนาคครั้งแรก ท่านได้ไปชวนพระที่คุ้นเคยกันคือ พระบานิต สุรปญฺโญ (ต่อมาเป็นพระครูญาณวิจิตร) เพื่อออกไปเที่ยววิเวกเจริญสมณธรรม พระบานิตก็มีความยินดีด้วยทุกประการ หลายวันต่อมาพระบานิตก็ได้มาหาพระอาจารย์วัน ที่วัดป่าคามวาสี แล้วออกเดินทางไปด้วยกันแต่เพียง 2 รูป โดยไม่ยอมให้ใครติดตามไปด้วยเพราะกลัวว่าจะทำให้เกิดความยุ่งยากในภายหลัง ดังนั้นจึงต้องเลือกผู้ที่มีอัธยาศัยเด็ดเดี่ยว อดทนต่อความทุกข์ยากลำบากต่างๆ ที่จะเกิดเฉพาะหน้าทุกสภาวะ เนื่องจากเป็นการไปโดยไม่มีกำหนดกลับ ทั้งยังไม่กำหนดสถานที่ไปอันแน่นอนด้วย

    ครั้งแรกออกเดินทางไปพักที่ วัดโชติการาม บ้านประทุมวาปี วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมที่พระอาจารย์วัน สร้างขึ้นภายหลังมากนัก สมัยนั้นพระอาจารย์สีลา เทวมิตฺโต ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันกับพระอาจารย์วันมาก่อน ได้ถามถึงที่ที่จะไป แต่ท่านก็บอกไม่ได้ พักที่วัดนั้น 1 คืน รุ่งเช้าฉันเสร็จแล้วก็ออกเดินทางไปพักที่วัดธาตุฝุ่น บ้านคำเจริญ พักอยู่ที่นั้นได้ 3-4 คืนจึงปรึกษาทางที่จะไปข้างหน้ากับพระบานิตที่มาด้วยกัน แต่ระหว่างนั้นสงครามอินโดจีนตามชายแดนยังไม่สงบดี จึงตัดสินใจเดินทางกลับมาพักที่วัดโชติการามอีก 1 คืน แล้วออกเดินทางไปแวะพักที่ภูลอมข้าว บ้านนาเชือก ในวันต่อมาลุถึงวัดป่าบ้านหนองผือ หรือปัจจุบันเรียกว่า วัดป่าภูริทัตถิราวาส ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ ท่านพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร เป็นประธาน พระแสง และสามเณรบุญจันทร์ พร้อมทั้งชาวบ้านทำลังทำสถานที่คอยรับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งชาวบ้านบางส่วนกำลังไปรับท่านอยู่ และจะมาถึงในไม่กี่วันนี้ จึงนับเป็นโชคลาภอันยิ่งใหญ่ เพราะพระอาจารย์วัน ได้ตั้งประณิธานไว้ว่าจะพยายามถวายตัวเป็นอุปัฏฐากท่านเพื่อเป็นบุญนิธิแก่ ตน

    ปณิธานนี้ พระอาจารย์วัน ได้เคยปรารภกับเพื่อนพระภิกษุเป็นเวลาหลายปีล่วงมาแล้ว เมื่อพักช่วยทำงานอยู่ที่นั้นเป็นเวลา 3-4 คืน พระอาจารย์หลุย ได้ปรารภกับพระอาจารย์วันว่า สำหรับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นนั้น เมื่อท่านไปพักสถานที่ใดถ้ามีพระมากท่านมักจะพักอยู่ไม่นานท่านพระอาจารย์ หลุย จึงบอกให้พระอาจารย์วัน และพระบานิต ที่มาใหม่ออกไปพักเสียที่อื่น เรื่องนี้จึงเป็นความผิดหวังของพระอาจารย์วัน และพระบานิตเป็นอย่างมาก รุ่งเช้าฉันเสร็จพระอาจารย์วัน กับพระบานิตจึงออกเดินทางไปพักที่บ้านนาใน เมื่อฉันจังหันเสร็จแล้วก็กลับไปช่วยงานท่านพระอาจารย์หลุย ทุกๆ วัน จนถึงวันที่ท่านพระอาจารย์มั่นมาถึง ครั้นท่านมาถึงแล้วก็ได้ไปฟังคำอบรมจากท่านเสมอ

    ต่อมาท่านพระอาจารย์ มั่น ได้รับฟังจากคณะอุบาสกอุบาสิกาว่าทางเจ้าคณะอำเภอพรรณานิคมเคยหวงห้ามไม่ให้ พระทางวัดป่าไปพักในวัดนั้น เรื่องนี้คล้ายๆ กับว่าบุญได้ช่วยพระอาจารย์วัน กับพระบานิต เพราะท่านพระอาจารย์มั่น ได้จัดให้ พระแสงและอุบาสกอีกคนหนึ่งชื่ออาจารย์เสนอไปรับเอาพระอาจารย์วัน และพระบานิต เข้าไปอยู่ด้วย พระอาจารย์วันก็ได้ถือนิสัยอาศัยอยู่กับท่านมาเรื่อย ๆ ต่อมาพระบานิตเป็นห่วงเรื่องการสอบนักธรรมจึงได้กลับไปบ้านม่วงไข่พระ อาจารย์วัน กับพระบานิต จึงจากกันตั้งแต่วันนั้น

    พ.ศ. 2488 พระอาจารย์วัน ได้อยู่จำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์มั่น ที่วัดภูริทัตถิราวาส บ้านหนองผือ การอยู่ก็อยู่ด้วยการหวั่นวิตกในตนอยู่เสมอจนแทบหายใจไม่เต็มปอด เพราะความกลัวในท่านอาจารย์ใหญ่มีมากเหลือเกิน ไม่ทราบว่าท่านจะขับไล่ให้ออกจากสำนักของท่านในวันไหน เบื้องต้นพระอาจารย์วัน ต้องอาศัยคำแนะนำจากพระคำไพ สุสิกฺขิโต ซึ่งเป็นผู้ติดตามอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์มั่นมาแต่บ้านห้วยแคนและพระอาจารย์ มนูในการทำข้อวัตรอุปัฏฐากครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์วัน ได้เคยฝึกมาบ้างแล้วตั้งแต่ครั้งยังอยู่กับพระอาจารย์วังผู้เป็นอาจารย์ดั้ง เดิม แต่ถึงกระนั้นก็ยังงงอยู่มาก เพราะการปฏิบัติพระอาจารย์ผู้ใหญ่กับการปฏิบัติพระอาจารย์ผู้น้อยย่อมต่าง กันสำหรับพระอาจารย์ผู้ใหญ่ สิ่งที่จะพึงปฏิบัติต่อท่านมีมาก ต้องสังเกตไปศึกษาไป และอาศัยเพื่อนที่เคยอุปัฎฐากท่านมาก่อน ระหว่างก่อนเข้าพรรษา มีพระเณรเข้ามาหาท่านพระอาจารย์มั่นแทบทุกวัน เมื่อมารวมกันมากเข้า ท่านก็บอกให้ขยายออกไป เหตุการณ์เป็นอยู่อย่างนี้เสมอ

    วันหนึ่งเหตุการณ์ที่หวั่นวิตกได้เกิดขึ้นแก่พระอาจารย์วัน และพระภิกษุสามเณรอื่น ๆ กล่าวคือเมื่อท่านให้การอบรมแล้วท่านสั่งให้ขยายกันออกไป ไม่ควรอยู่รวมกันมากๆ เพราะไม่ได้ความวิเวกการบำเพ็ญเพียรก็ไม่สะดวก มาอยู่กันมากๆ ก็เหมือนกับหมู่แร้งหมู่กาที่อึงคนึงรุมกินซากสัตว์

    พอรุ่งเช้าฉันจังหันเสร็จท่านได้ถามพระอาจารย์หลุยว่า ใครบ้างจะออกไปวันนี้ พระอาจารย์หลุย ก็รายงานให้ท่านทราบว่าองค์นั้นๆ จะออกไปโดยมีรายชื่อพระอาจารย์วัน อยู่ด้วยองค์หนึ่ง ครั้งนี้ทำให้พระอาจารย์วัน เกือบสิ้นท่าเหมือนกัน เพราะพระอาจารย์วัน ก็ยังไม่ได้ตกลงอะไรเลยกับพระอาจารย์หลุย ระหว่างนั้นพระคำไพได้ถูกออกไปแล้ว ได้พระอาจารย์เนตร กนฺตสีโล มาทำหน้าที่อุปัฏฐากแทน ขณะนั้นพระอาจารย์มั่นกำลังไปห้องน้ำอยู่ พระอาจารย์วัน จึงปรึกษากับพระอาจารย์เนตร ท่านให้ความเห็นว่า ควรกราบเรียนท่านอาจารย์ใหญ่ตามความประสงค์ของเรานั่นแหละดี เมื่อมีผู้ให้กำลังใจอย่างนี้ ถึงแม้ว่าพระอาจารย์วัน จะมีความสะทกสะท้านเกรงกลัวในท่านสักปานใดก็ต้องกล้าเพราะความจำเป็น

    ดัง นั้นเมื่อพระอาจารย์มั่นกลับออกมาจากห้องน้ำ นั่งลงบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์วัน จึงเข้าไปกราบเรียนให้ท่านทราบถึงความจริงใจทุกประการ ท่านพระอาจารย์มั่นนิ่งอยู่ครู่หนึ่งจึงพูดว่า “ตามใจของคุณ” เมื่อพระอาจารย์วันได้รับมธุรสอย่างนี้แล้วก็บังเกิดความปิติยินดีเป็นล้น พ้น ท่านมีความปลื้มใจอย่างสุดซึ้ง ไม่ผิดอะไรกับได้ถอนดาบที่เสียบแทงอยู่ที่อกออกได้ฉันนั้น

    วันหนึ่ง เวลากลางคืน พระอาจารย์วัน กับพระอาจารย์เนตร ได้เข้านวดถวายท่านพระอาจารย์มั่น การถวายการนวดได้ล่วงเลยเวลาไปจนถึงตี 3 ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเข้าห้อง ท่านจะทดลองน้ำใจของพระอาจารย์วันหรืออย่างไรไม่ทราบ แต่พระอาจารย์วันก็มีความยินดีต่อการอุปัฏฐาก อย่างไรก็ดีในวันต่อมาก็เป็นการนวดธรรมดา คงแปลกไปแต่ดังกล่าวเพียงวันเดียวเท่านั้น

    ปีนั้น พระที่อยู่จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ มีพระอาจารย์หลุย พระอาจารย์มนู พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์เนตร กนฺตสีโล พระอาจารย์วัน อุตตโม สามเณรดวง และผ้าขาวเถิง เมื่อได้อธิษฐานพรรษาแล้วพระอาจารย์วัน เกิดความมั่นใจขึ้นมาเป็นอันมาก บรรดาพระที่จำพรรษาด้วยกันในปีนั้นพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นผู้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นพระอาจารย์วัน จึงต้องทำหน้าที่อย่างหนักทุกประการ คือ

    1. ทำข้อวัตรอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น เพื่อช่วยพระอาจารย์เนตรอีกแรงหนึ่ง
    2. รักษาความสะอาดและจัดแจงศาลาโรงฉัน
    3. ตักน้ำ
    4. ดูแลน้ำร้อน
    5. ควบคุมดูแลสิ่งของที่จะจัดถวายครูบาอาจารย์
    6. ต้อนรับแขกที่มาหาครูบาอาจารย์

    ภาระ ทั้งหลายเหล่านี้ถึงแม้ไม่ใช่เป็นภาระของพระอาจารย์วัน แต่ผู้เดียว แต่พระอาจารย์วัน ก็เป็นผู้รับทำมากกว่าเพื่อน โดยเฉพาะเรื่องการอยู่ปฏิบัติอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่นนั้น พระอาจารย์วันได้อาศัยท่านพระอาจารย์มนู พระอาจารย์มหาบัว และพระอาจารย์เนตร เป็นผู้แนะนำอยู่ตลอดเวลาจึงไม่บังเกิดความผิดพลาด ซึ่งต่อมาต่างก็ได้อาศัยซึ่งกันและกันในภายหลัง

    ๏ ความหวังต่อการศึกษาอบรม
    พระ อาจารย์วัน ได้อบรมศึกษาจากท่านอาจารย์ใหญ่ ท่านตั้งใจศึกษาทุกวิถีทาง โดยตั้งใจประกอบความเพียรไปพร้อมๆ กันด้วย เคลือบแคลงสงสัยอะไร ไม่เข้าใจอะไร ก็ไต่ถามท่านเสมอมา ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ความเลื่อมใสเพิ่มทวียิ่งขึ้น ทั้งยังเกิดความซาบซึ้งในใจอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นอันว่าความปรารถนาของพระอาจารย์วัน ที่ต้องการอยากอยู่ร่วมสำนักกับท่านอาจารย์ผู้ใหญ่และความหวังที่จะได้ อุปัฏฐากพระอาจารย์ใหญ่ก็ได้สมความปรารถนา แต่ภายในพรรษาต้องเป็นผู้ช่วยพระอาจารย์เนตรไปก่อนเพราะเป็นผู้มาใหม่ เมื่อออกพรรษาแล้วพระอาจารย์เนตรได้ลาไปวิเวกที่อื่น จึงได้มอบหน้าที่อุปัฏฐากให้พระอาจารย์วันทำแทน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พระอาจารย์วัน จะทำรูปเดียว เพราะการปฏิบัติอุปัฏฐากพระอาจารย์ใหญ่ต้องมีผู้ช่วยกันหลายรูป ส่วนการปฏิบัติทำอะไรบ้าง ผู้ปฏิบัติอุปัฎฐากควรวางตัวอย่างไร ทั้งทางด้านจิตใจ ทางกายทางวาจา และมารยาทอย่างอื่นๆ จะศึกษารายละเอียดได้จากปันทึกส่วนตัวซึ่งพระอาจารย์วัน ได้เขียนไว้อย่างละเอียดน่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

    การทำหน้าที่ อุปัฏฐากนั้นไม่ค่อยมีเวลาออกไปบำเพ็ญเพียรทางอื่น การหาตัวแทนก็ยากยิ่ง ฉะนั้นการผลัดเปลี่ยนหน้าที่อุปัฏฐากจึงต้องกราบเรียนให้ท่านทราบก่อนเมื่อ ท่านอนุญาตแล้วก็ต้องมอบหมายหน้าที่เป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพระคำไพ สุสิกฺขิโต ที่เคยเป็นอุปัฏฐากมาก่อพระอาจารย์วัน ไปจำพรรษาที่อื่นกลับมา พระอาจารย์วัน ได้พูดตกลงกันเรียบร้อยแล้วจึงเข้าไปกราบเรียนท่านอาจารย์ใหญ่ในเรื่องการ ผลัดเปลี่ยนกันออกไปบำเพ็ญเพียร ท่านอาจารย์ใหญ่ก็ไม่ขัดข้อง

    พระ อาจารย์วัน จึงมอบหมายหน้าที่ต่างๆ ให้แล้วจึงเข้าไปทำขมาโทษกราบลาท่าน การออกไปครั้งนี้เป็นการไปเพื่อฝึกตนให้มีความกล้าหาญด้วยการพึ่งตนเอง จึงออกไปรูปเดียวโดยไปพักที่ราวป่าใกล้บ้านบัว ระหว่างที่พักอยู่ที่นั้น วันหนึ่งตอนหัวค่ำได้เดินจงกรมพอสมควรแล้วก็ขึ้นไปพักเพื่อนั่งสมาธิต่อ ปรากฏว่าท่านได้ปวดท้องอย่างหนักถึงขนาดท้องเดินอย่างแรงและอาเจียนไปด้วยใน ขณะเดียวกัน ถ่ายได้เพียง 3 ครั้ง เกิดหมดกำลัง ร่างกายมีเหงื่อออกโชกเปียกหมดทั้งตัว จึงพยายามรวบรวมสติระลึกถึงธรรม ว่าถึงคราวที่จะพึ่งตัวเองจริงๆ เพราะเพื่อนฝูงญาติโยมในที่นั้นไม่มีเลย ท่านได้หยิบยาขี้ผึ้งตราพระมาฉัน แต่ไม่ได้ผล จึงเอาเกลือที่เหลือจากฉันมะขามป้อม ที่เอามาจากท่านพระอาจารย์มหาบัว มาทดลองฉันดู ปรากฏว่าอาการถ่ายและอาเจียนได้หายไปอย่างปลิดทิ้ง ยังเหลืออยู่แต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น รุ่งเช้าพอเข้าไปบิณฑบาตได้แต่ไม่บอกให้ผู้ใดรู้เลย

    วันต่อมาอีกเป็น เวลากลางวัน ขณะที่พระอาจารย์วัน เข้าไปเดินจงกรมอยู่ในป่าอันรกทึบ ไกลจากที่พักประมาณ 3 เส้น มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเคยมาใส่บาตรทุกวัน ได้ร้องรำเข้าไปสู่ที่พักของพระอาจารย์วัน และไปนั่งร้องรำฮัมเพลงเบาๆ อยู่ที่ฉันข้าวของท่าน พระอาจารย์วันได้รวบรวมสมาธิเพ่งดูทางจงกรมอยู่ที่เดียวแทบไม่หายใจ หญิงสาวคนนี้ร้องรำอยู่ ณ ที่พักของท่านเกือบชั่วโมง สังเกตถึงพฤติการณ์ของเธอแล้วย่อมเป็นไปในทางเกิดอันตรายแก่พรหมจรรย์ได้มาก แต่เพราะกำลังใจของท่านแน่วแน่กว่า ในที่สุดหญิงสาวผู้นั้นก็เดินออกไปอย่างเงียบๆ

    เหตุการณ์ครั้งนั้น พระอาจารย์วัน อดภูมิใจในตัวเองไม่ได้ เพราะสามารถรักษาพรหมจรรย์ให้ผ่านพ้นจากอันตรายไปได้ตลอดรอดฝั่ง พุทธภาษิตที่ได้เล่าเรียนมาว่า อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส ซึ่งแปลว่า หญิงเป็นมลทินแห่งพรหมจรรย์นั้น เป็นพุทธภาษิตที่ท่านตระหนักและยึดมั่นตลอดมาตราบชั่วอายุขัย

    เป็น อันว่าสมความตั้งใจในการออกไปวิเวกเพื่อฝึกความกล้าและพึ่งตนเอง หากเป็นพระที่ไม่มั่นคงคงเอาตัวไม่รอดอย่างแน่นอน เมื่อพระอาจารย์วัน พิจารณาดูแล้วเห็นว่าสถานที่นั้นเสี่ยงอันตรายมากจึงทนอยู่เพียง 9 คืน แล้วเดินทางต่อไป แต่หาที่ใดก็ไม่เหมาะจึงไปร่วมกับท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ที่ดงใกล้กับบ้านงิ้ว ต่อมาเมื่อใกล้วันวิสาขบูชา จึงได้เดินทางกลับวัดป่าบ้านหนองผือเพื่อเข้าปฏิบัติพระอาจารย์มั่นตามเดิม พระอาจารย์มั่น ได้ถามถึงการไปวิเวกของท่าน ท่านก็ได้กราบเรียนไปตามความเป็นจริง พระอาจารย์มั่น จึงให้กำลังใจ และให้โอวาทต่อไปว่า การเจริญอานาปาณสติก็เป็นทางที่ดีเหมือนกัน เพราะการเจริญกรรมฐานแต่ละอย่าง เมื่อจิตจะรวมลงเป็นสมาธินั้น ย่อมน้อมลงสู่คลองอานาปาณสติเสียก่อนจึงรวมลงเป็นสมาธิ พระอาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้ว่า “กรรมฐาน 40 ห้องเป็นน้องของอานาปาณะ” ดังนี้

    เรื่องการใช้กรรมฐานอะไรเป็นบริกรรม พระอาจารย์วัน ไม่ได้บอกท่านแต่ท่านรู้เรื่องภายในจิตใจของพระอาจารย์วันตลอด ดังนั้นการที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระอาจารย์ที่สำคัญ จึงเป็นคุณประโยชน์แกลูกศิษย์เหลือที่จะพรรณนา

    ในปีต่อมา พระอาจารย์วัน ก็ได้กราบลาพระอาจารย์มั่นออกไปบำเพ็ญอีก ออกไปคราวนี้มีสามเณรเพ็งติดตามไปด้วย ไปพักเสนาสนะป่าใกล้บ้านห้วยบุ่น ตั้งใจว่า พักผ่อนเอากำลังสุขภาพพอสมควรแล้วก็จะเร่งความเพียรอย่างใจหวัง เมื่อไม่ได้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ภาระทุกอย่างก็มีน้อย ครั้นออกไปพักได้เพียงคืนที่ 7 ท่านก็ฝันว่าได้เข้าปฏิบัติพระอาจารย์มั่นเช่นเคยปฏิบัติมา ในฝันปรากฏว่าท่านนอนอยู่บนเตียงแห่งหนึ่งซึ่งมองดูแล้วท่านไม่ค่อยสบาย แต่ไม่ทราบว่าท่านอาพาธด้วยโรคอะไร เพราะตั้งแต่พระอาจารย์วันได้เข้าอยู่ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่น เวลานอนหลับไปทุกครั้งจะต้องฝันเกี่ยวกับท่านเสมอ ถ้าพระอาจารย์มั่นไม่สบายจะต้องฝันเกี่ยวถึงความไม่สบายของท่านทุกครั้ง ฉะนั้นคืนวันนั้น เมื่อพระอาจารย์วันตื่นนอนขึ้นแล้วจึงคิดวิตกอยู่ แต่ไม่พูดให้ใครฟัง

    พอฉันจังหันจวนจะเสร็จ โยมพุทธผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็ไปถึง พระอาจารย์วันก็รีบถามด้วยความเป็นห่วงอยากจะทราบความเป็นไปของท่านอาจารย์ ใหญ่ โยมพุทธก็ตอบว่า ท่านทองคำเข้ามาบิณฑบาตถึงที่บ้านแจ้งให้กระผมตามครูบากลับไป ท่านอาจารย์ป่วยเมื่อคืนนี้ไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไร หนักเบาอย่างไรก็ไม่ทราบเพราะแกรีบร้อนเดินทางมา พอฉันเสร็จพระอาจารย์วัน ก็รีบเดินทางกลับไปหาท่านอาจารย์ใหญ่ เมื่อไปถึงแล้วเห็นอาการของท่านหนัก พระอาจารย์วันจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติท่านต่อไป ได้จัดให้คนไปนำเอาบริขารจากที่พักมาให้ จึงไม่มีโอกาสออกไปวิเวกอีก

    พระ อาจารย์วัน ได้อยู่อุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จนถึงวันมรณภาพและฌาปนกิจเสร็จ รวมเวลาที่ได้อยู่อุปัฏฐากจนถึงวันที่ท่านอาจารย์ใหญ่มรณภาพเป็นเวลา 5 ปี นับว่าได้อยู่อุปัฏฐากยาวนาน เพราะพระอาจารย์มั่นมักไม่ได้อยู่จำพรรษาในสถานที่ใดติดต่อกันนานนักเพราะ ท่านเป็นนักปฏิบัติ จึงเปลี่ยนสถานที่บำเพ็ญไปเรื่อยๆ

    พ.ศ. 2493 หลังจากทำฌาปนกิจ พระอาจารย์ใหญ่เสร็จแล้วท่านได้กลับไปจำพรรษาที่วัดภูริทัตถิราวาส หรือวัดป่าบ้านหนองผืออีกเพื่อสนองพระคุณของครูบาอาจารย์และฉลองศรัทธาของ ญาติโยมที่ได้สูญเสียร่มโพธิ์ร่มไทรที่เขาเคารพบูชาอย่างสูงสุด เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์วันก็ได้แสวงหาที่วิเวกไปในที่ต่างๆ ตามปฏิปทาของพระธุดงค์ เพราะการเที่ยวธุดงค์หรือออกวิเวกในสมัยนั้นยังไม่ลำบากนัก เนื่องจากบ้านเมืองยังมีความสงบ จะไปวิเวกในสถานที่ใด ภูเขาลูกไหนก็ยังไปได้ พอจวนจะเข้าพรรษาจึงแสวงหาที่จำพรรษาที่เห็นว่าเหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมณธรรม สถานที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยสัปปายะ 4 คือ

    1. บุคคลเป็นที่สบาย ไม่เป็นมิจฉาทิฐิ มีศรัทธาพอที่จะอาศัยบิณฑบาตได้ ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติ
    2. เสนาสนะที่อยู่อาศัยเป็นที่สบาย พออาศัยเป็นที่บำเพ็ญเพียรกันฝนบังแดดได้
    3. อาหารที่ชาวบ้านบริโภคเองและที่เขาถวายไม่เป็นของแสลงโรค คำว่า อาหารสัปปายะ มิได้หมายความว่า เป็นสถานที่มีอาหารเหลือเฟือ คือมีฉันพอเลี้ยงอัตภาพไปวันๆ เท่านั้น
    4. อากาศเป็นที่สบาย เพราะสถานที่บางแห่งในระหว่างฤดูฝน จะทำให้เกิดไข้ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการบำเพ็ญสมณธรรม

    พ.ศ. 2494 พระอาจารย์วัน จึงเปลี่ยนสถานที่ไปจำพรรษาที่วัดป่าพระสถิตย์ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    พ.ศ. 2495 กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี ซึ่งเป็นมาตุภูมิ ในระหว่างนั้นพระอาจารย์เทสก์หรือในปัจจุบันคือ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ และหมู่คณะหลายรูปลงไปจำพรรษาที่ภาคใต้ พระอาจารย์วัน จึงติดตามลงไปด้วยเพราะมีความเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์เทสก์เป็นทุนเดิม อยู่แล้วโดยได้จำพรรษาที่วัดเหล่านี้คือ
    พ.ศ. 2496 จำพรรษาที่วัดราษฎร์โยธี บ้านโคกกลอย ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
    พ.ศ. 2497 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
    พ.ศ. 2498 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
    พ.ศ. 2499 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
    พ.ศ. 2500 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

    พระ อาจารย์วัน คิดทบทวนถึงผลได้ผลเสีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่ภูเก็ต-พังงา เป็นเวลา 5 พรรษา คิดเห็นว่าพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธา ให้ทานการบริจาคดี อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรดี แต่มีผู้ออกบวชน้อยมาก ถึงออกบวชก็อยู่ได้ไม่นานเพราะติดข้องอยู่ในทรัพย์สมบัติ เนื่องจากสองจังหวัดดังกล่าวมีฐานะทางเศรษฐกิจดี การนิยมบวชจึงมีน้อย ขาดศาสนทายาทผู้สืบทอด โดยเฉพาะบุคคลในท้องถิ่น พูดถึงความดำรงมั่นของศาสนาก็คือผู้สืบทอดโดยเฉพาะนักบวช ถ้าขาดผู้บวชแล้วก็ทำให้ขาดบริษัทภายใน เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญในการเผยแพร่พระศาลนา และอีกเรื่องหนึ่งก็คือภูมิอากาศทางภาคใต้ ฤดูกาลไม่อำนวยในการออกรุกขมูล เพราะฝนตกบ่อย ขัดข้องในการที่พระจะออกไปวิเวก ไม่เหมือนทางภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งฤดูกาลต่างๆ แน่นอน พระอาจารย์วัน ดำริถึงเหตุ 2 ประการ ดังกล่าวแล้วจึงอำลาอุบาสกอุบาสิกาชาวภูเก็ต-พังงาที่อุปถัมภ์บำรุง เดินทางกลับมาตุภูมิ

    พระอาจารย์วันเดินทางจากภาคใต้ วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ถึงวัดคามวาสี ตอนบ่าย4 โมงเศษ ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 พักอยู่ไม่นานพวกญาติใกล้ชิดได้มาปรารภถึงเรื่องทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย และรื้อบ้านมาทำกุฎีถวายวัดคามวาสี เสร็จแล้วไปพักที่วัดสุวรรณาราม (วัดพุฒารามปัจจุบัน)

    วันที่ 14 เมษายน เดินทางไปวิเวกที่ถ้ำตีนเป็ด พักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 23 วัน ต่อมาทางญาติโยม บ้านดำตานา ได้อาราธนานิมนต์ให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดสุวรรณาราม หรือวัดพุฒาราม ใน พ.ศ. 2501-2503 เนื่องจากพระอาจารย์วัน อยู่วัดที่เป็นพื้นราบไม่ค่อยสบายเกี่ยวกับสุขภาพ ท่านจึงดำริหาที่อยู่บนภูเขาหรือเชิงเขา ประจวบกับในขณะนั้นพระอาจารย์สีลา เทวมิตฺโต ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโชติการาม บ้านหนองบัว-โพนสวาง มรณภาพลง เมื่อจัดการฌาปนกิจแล้วญาติโยมชาวบ้านหนองบัว-โพนสวาง ซึ่งมีกำนันตา แสงลี เป็นประธาน จึงนิมนต์ให้พระอาจารย์วัน ขึ้นไปเลือกดูสถานที่เมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2503 ตรงกับแรม 2 ค่ำ เดือน 12

    พระ อาจารย์วัน พร้อมด้วยหลวงพ่อม่าน พระอาจารย์เต็ม หลวงพ่อใคร หลวงพ่ออุสาห์ พร้อมด้วยญาติโยมบ้านประทุมวาปี-โพนสวาง อีกบางคนได้ขึ้นไป เลือกดูสถานที่ ในที่สุดก็เห็นว่า บริเวณเหล่าสร้างแก้วเหมาะสมเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมกว่าแห่งอื่น พระอาจารย์วัน จึงได้ถามกำนันตาและชาวบ้านถึงเรื่องที่ดิน ได้รับแจ้งว่าเป็นที่ดินสงวนไว้เป็นที่พักสงฆ์ เรียกว่าหวายสะนอย โดยที่ดินบริเวณนี้เคยมีครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานได้มาพักบำเพ็ญบ่อยๆ เช่น พระอาจารย์ขาว อนาลโย ก็เคยมาพักจำพรรษา เมื่อไม่มีความขัดข้องเรื่องที่ดิน พระอาจารย์วัน พร้อมด้วยหมู่คณะ 8 รูป จึงได้เตรียมบริขารขึ้นไปพักที่เหล่าสร้างแก้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2503 ตรงกับแรม 3 ค่ำ เดือน 12 โดยมีกำนันและชาวบ้านติดตามไปทำที่พักชั่วคราวให้ น่าสังเกตว่าอาณาบริเวณหวายสะนอยและภูถ้ำพวงเคยเป็นสถานที่ที่ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เคยไปพักบำเพ็ญระหว่าง พ.ศ. 2465-2466 มาแล้ว ซึ่งครั้งนั้นพระคุณท่านทั้งสองได้เทศนาอบรมให้ชาวบ้านเลิกการนับถือภูตผี ปีศาจมาจนกระทั่งปัจจุบัน

    สำหรับถ้ำอภัยดำรงธรรม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำพ่อคำพานั้นเป็นถ้ำเล็กๆ เมื่อพระอาจารย์วัน ไปพบเข้าก็เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะที่จะปรับปรุงต่อไปในอนาคต ปรึกษากำนันและชาวบ้านดูแล้วต่างก็เห็นชอบด้วย ท่านจึงเปลี่ยนชื่อถ้ำพ่อคำพาไปเป็นถ้ำอภัยดำรงธรรม ด้วยมูลเหตุ 2 ประการคือ

    1. พระอาจารย์วันอยู่ตามสถานที่เป็นพื้นราบมักไม่ค่อยสบายทางสุขภาพ ฉันยาก็ไม่ค่อยได้ผล ถ้าได้พักอยู่บนภูเขาที่มีอากาศปลอดโปร่งจะได้รับความผาสุกทางด้านสุขภาพ ยิ่งกว่า เมื่อพระอาจารย์วันดำริจะขึ้นไปอยู่บนภูเขา ทางฝ่ายบริหารการคณะสงฆ์ก็ไม่ขัดข้องให้อภัย และทางฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่ชัดข้องให้อภัย
    2. สถานที่ดังกล่าวมีสัตว์ป่าหลายจำพวก ซึ่งเป็นธรรมดาของพระต้องเจริญเมตตาต่อสัตว์ทุกชีวิต ไม่เลือกว่ามนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉาน พระอาจารย์วัน จึงบอกกล่าวไม่ให้ผู้ใดมาทำร้ายสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณสถานแห่งนี้ เป็นการให้อภัยแก่ชีวิตสัตว์ และตั้งชื่อถ้ำเสียใหม่ว่า “ถ้ำอภัย” และอีกประการหนึ่งท่านดำริด้วยว่าหากอำนาจแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธเจ้าเข้าไปประดิษฐานอยู่ในจิตของสรรพสัตว์แล้วโลกนี้ย่อมจะมีแต่ความร่ม เย็นเป็นสุขชั่วนิรันดร์ พระอาจารย์วัน จึงเพิ่มคำว่า “ดำรงธรรม” ต่อท้ายรวมกันเข้าเป็น “ถ้ำอภัยดำรงธรรม” แต่คนส่วนมากชอบเรียกตามนิยมว่า วัดดอย เพราะอยู่บนภูเขา พูดถึงความต่อเนื่องของสถานที่ ถ้ำอภัยดำรงธรรม อยู่ในเขตหวายสะนอยๆ อยู่ในเขตถ้ำพวงๆ อยู่ในอาณาบริเวณของภูเหล็ก และภูเหล็กรวมอยู่ในเทือกเขาแห่งภูพาน

    ๏ ความมุ่งหมายในการมาอยู่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
    พระอาจารย์วัน ได้บันทึกไว้ในประวัติวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมว่า การที่ท่านตัดสินใจมาอยู่ที่ถ้ำนี้มีความมุ่งหมาย 4 ประการ คือ

    1. เพื่อรักษาสุขภาพ เนื่องจากสุขภาพของท่านไม่ปกติดี สู้ภาระหนักไม่ไหว และสู้กับดินฟ้าอากาศในบางแห่งไม่ได้ เคยรักษาด้วยการเปลี่ยนสถานที่บ้าง ปรากฏว่าได้รับความผาสุกจากการอยู่บนภูเขา เมื่อพักอยู่บนภูเขาแต่ละครั้งนั้นยาก็เกิดมีคุณภาพและมีคุณแก่สุขภาพขึ้น อาหารก็ฉันได้ เรี่ยวแรงก็ดีขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้นท่านจึงแสวงหาที่พักบนภูเขาเพื่อจะรักษาสุขภาพให้เป็นไปตามกรรมวิบาก ของตน
    2. เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เนื่องด้วยผู้เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาต้องบำเพ็ญธุระ 2 ประการคือต้องศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นจดจำพระปริยัติธรรม และบอกสอนผู้อื่นเรียกว่า คันถธุระ เมื่อศึกษาพอประมาณแล้วตั้งใจบำเพ็ญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเรียกว่า วิปัสสนาธุระ แต่สำหรับผู้ประสงค์จะบำเพ็ญทางด้านวิปัสสนาธุระนั้น ตามแบบอย่างของพระโยคาวจรเจ้าในปางก่อน ต้องแสวงหาสถานที่อันสงัดวิเวกปราศจากความคลุกคลีด้วยหมู่คณะและฝูงชนทั้ง หลาย เป็นสถานที่เปล่าเปลี่ยวไม่มีการพลุกพล่านไปมาแห่งฝูงชน ไม่อื้ออึงคะนึงเซ็งแช่ไปด้วยเสียงมนุษย์ มีธุระการงานพอประมาณจึงจักยังสมถวิปัสสนาให้เกิดขึ้นในจิตได้ และจักยังคุณธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปไม่เสื่อมถอย ฉะนั้น พระอาจารย์วันจึงเลือกเอาสถานที่นี้เป็นสถานที่บำเพ็ญประโยชน์ส่วนตัวในด้าน วิปัสสนาธุระ
    3. เพื่อประโยชน์ของหมู่คณะ เมื่อท่านปฏิบัติตัวของตนไปในปฏิปทาใด ก็ได้อบรมสั่งสอนหมู่คณะให้ดำเนินรอยในปฏิปทานั้น ประโยชน์ที่จะพึงได้ย่อมอยู่ที่ตัวบุคคลแต่ละคนเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้ แต่สถานที่นี้ แต่ก่อนเป็นสถานที่เปล่าเปลี่ยว ห่างจากหมู่บ้านมากประมาณ 4 กิโลเมตร ที่มาอาศัยอยู่จะต้องต้องสู้กับความลำบากหลายประการ ความสามารถก็ดี ความอดทนก็ดีความเพียรก็ดี ความขยันก็ดี ย่อมเกิดมีขึ้นโดยธรรมชาติบังคับ อาศัยสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือธรรมะปฏิบัติของแต่ละบุคคล ประโยชน์จึงเป็นของพลอยได้เอง พระอาจารย์วันมีความเห็นด้วยว่าคนเราจะดีได้เพราะการสร้างความดี มิใช่จะเกิดดีด้วยการเสกสรรหรือการนึกน้อมปรารถนาเอาเอง
    4. เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน คนไทยถือว่าวัดเป็นจุดเด่นของบ้านเมือง ตั้งแต่สมัยโบราณมาตลอดถึงปัจจุบัน ชอบสร้างวัดขึ้นไว้เป็นคู่บ้านเมือง เช่นในกรุงเทพมหานครเป็นอาทิ ซึ่งมีวัดพระแก้วเป็นจุดเด่น สามารถอวดแขกต่างประเทศได้ และวัดยังเป็นแหล่งแห่งวัฒนธรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม ตลอดถึงขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่ดีงามของพลเมือง ประชาชนคนไทยเคยได้รับความอุปการะจากวัดมาแล้วโดยลำดับ จึงเจริญวัฒนาก้าวหน้ามาได้ เช่นการศึกษาหนังสือไทยเป็นต้น

    ใน เบื้องต้นได้ถือเอาวัดเป็นจุดแรกแห่งการขยายการศึกษาออกไปต่างจังหวัดจนถึง ชนบท โดยมีพระเป็นผู้นำ ฝ่ายบ้านเมืองเป็นผู้รับรองและสนับสนุนให้ความอุปถัมภ์ เพราะฉะนั้นคนไทยจึงนิยมสร้างวัดไว้เป็นเกียรติของบ้านเมือง เมื่อสร้างวัดจึงนิยมสร้างให้เด่นสะดุดตาเท่าที่สามารถจะให้เด่นได้ถึงกับ สร้างวัดไว้บนภูเขาเพื่อความเด่นนั้นเอง เช่นจังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น เท่าที่พระอาจารย์วันมาตกแต่งสถานที่นี้ขึ้นไว้ในรูปลักษณะของวัดก็เพื่อให้ เป็นจุดเด่นประดับเกียรติท้องถิ่นนี้ ชาวอำเภอสว่างแผ่นดินก็จะได้เป็นผู้มีเกียรติเท่าเทียมกับจังหวัดอื่น ที่เขามีมาก่อนแล้วจะเป็นอำเภอที่ไม่ด้อยกว่าเขาในอนาคตนอกจากนั้น ท่านยังดำริจะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อบรมศีลธรรมโดยเฉพาะอีกด้วย เพื่อให้ผู้สนใจต่อการอบรมเป็นกัลยาณชนต่อไป

    พ.ศ. 2504 เป็นปีแรกที่พระอาจารย์วันขึ้นมาจำพรรษาที่ถ้ำอภัยดำรงธรรม มีพระภิกษุ 7 รูปสามเณร 3 รูป เสนาสนะที่อยู่อาศัยก็ทำขึ้นไว้เพียงชั่วคราว ปรากฏว่าการอยู่จำพรรษาปีนั้นท่านถูกไข้ป่าเล่นงานอย่างหนัก เพราะในยุคนั้นไข้มาเลเรียยังมีชุมมาก ต่อมาได้ทำบริเวณให้โล่งเตียนขึ้นบ้าง ไข้ป่าก็ลดน้อยลงตามลำดับ

    พระ อาจารย์วันได้อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมติดต่อกันเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504-2517 ก็ได้รับความวิเวกดีในระยะสั้นเพราะการไปมาไม่สะดวกผู้ที่จะเดินทางมาหาต้อง เป็นผู้ที่เคารพเลื่อมใสจริงๆ พระเณรที่จะมาอยู่ด้วยก็ต้องเป็นผู้ที่อดทนต่อสู้กับความลำบากหลายด้าน จึงเป็นสถานที่สำหรับคัดเลือกคนและคัดเลือกพระเณรที่จะเข้ามาหาโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังเป็นความลำบากแก่ตัวพระอาจารย์วันเองด้วย เพราะต้องเดินทางไกลเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร บางแห่งต้องเดินทางถึง 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตรเพื่อไปฉลองศรัทธาญาติโยมที่เขามานิมนต์ ระยะต่อมาทางการได้ตัดทาง ร.พ.ช.สายหนองหลวง-คำบิด ซึ่งเส้นทางสายนี้ห่างจากวัดถ้ำดำรงธรรม ประมาณ 7 กิโลเมตร ภายหลังพระอาจารย์วันจึงคิดตัดถนนจากวัดออกมาบรรจบทางของ ร.พ.ช. เพื่อสะดวกในการไปมา

    เมื่อทางวัดออกมาได้สะดวกประชาชนจึงเข้าไปรับ การอบรมธรรมะมากขึ้นตามลำดับ มีประชาชนจากใกล้และไกลเข้าไปนมัสการพระอาจารย์วัน จนกระทั่งเป็นที่เพ่งเล็งจากบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา เมื่อลัทธิการเมืองฝ่ายตรงข้ามเริ่มขยายตัว ท่านก็ยิ่งถูกเพ่งมองจากบุคคลหลายฝ่ายมากยิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลบางคนก็เพ่งมองท่านว่าเป็นแหล่งส่งกำลังบำรุงให้พวก ป่า ทางพวกป่าก็จับตามองว่าท่านเป็นสายสืบให้ทางราชการ โดยที่ท่านอาจารย์วันก็ปฏิบัติตนตามปกติ ตามพระธรรมวินัย ตามประเพณีของพระธุดงคกรรมฐาน ไม่มีความฝักใฝ่ในทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่ใช่หน้าที่ของพระที่จะทำเช่นนั้น พระเจ้าพระสงฆ์จะทรงตัวอยู่ได้ก็ต้องอาศัยชาวบ้านเป็นผู้อุปถัมภ์ด้วยความ เคารพ บูชา เพราะการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระสงฆ์

    ข่าวเรื่องการ เพ่งมองและการปองร้ายนี้ ทำให้พวกญาติและสานุศิษย์ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาคิดจะนิมนต์ให้ ท่านลงจากวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ไปอยู่ที่บ้านคำตานา วัดพุฒาราม ซึ่งท่านเคยอยู่จำพรรษาก่อนที่จะขึ้นมาอยู่ที่ถ้ำอภัยดำรงธรรมแต่ท่านปฏิเสธ เพราะเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว และเรื่องความตายก็ไม่มีใครจะหลบหลีกได้ จะอยู่ในน้ำ บนบก บนอากาศ หรือในซอกเขาที่ไหนก็ตาม มัจจุราชย่อมตามทันเสมอ

    อีก เรื่องหนึ่งที่เป็นข่าวใหญ่ก็คือเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2513 พระอาจารย์วันได้รับนิมนต์ให้ไปเจริญูพระพุทธมนต์เนื่องในงานแต่งงานที่บ้าน ส่องดาว ตำบลส่องดาว กิ่งอำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ธรรมเนียมของประชาชนในถิ่นนั้นมักนิยมอาราธนานิมนต์พระไปเจริญพระพุทธมนต์ และฟังพระธรรมเทศนาในตอนเย็นด้วย

    ตอนเช้าของวันใหม่ ทางเจ้าภาพได้ถวายอาหารบิณฑบาตท่านพระอาจารย์วัน พร้อมด้วยพระสงฆ์และสามเณรรวม 7 รูป หลังจากเจริญพระพุทธมนต์เสร็จก็มีการแสดงพระธรรมเทศนา กว่าจะออกจากบ้านงานกลับวัดก็มืดค่ำ ซ้ำยังต้องเดินเท้าไปตามถนน ร.พ.ช. ซึ่งตัดผ่านทุ่งนาจากหมู่บ้านส่องดาวผ่านไปข้างวัดโนนสะอาด พอเดินมาได้ประมาณ 4-5 เส้นจากหมู่บ้านก็โดนยิงจากทหารด้วยปืนเอ็ม 16 แต่พระอาจารย์วันและหมู่คณะก็ยังคงเดินกลับมาตามปรกติโดยไม่ได้ใส่ใจว่าเขา ยิงคณะของท่านหรือยิงใคร เพราะในยุคนั้นเขตกิ่งอำเภอส่องดาวอยู่ในภาวะที่ทางการห้ามประชาชนออกนอก บ้านในเวลาค่ำคืน ทางราชการได้ส่งทหารกองร้อยเคลื่อนที่ไปลาดตะเวน จึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายทหารที่ยิง เพราะทางราชการได้ประกาศห้ามไว้แล้ว แต่ก็เป็นความจำเป็นที่พระสงฆ์จะต้องกลับวัดหลังจากเสร็จพิธี เหตุการณ์เรื่องนี้พระอาจารย์วัน ผู้เป็นหัวหน้าก็ไม่ติดใจร้องเรียนต่อทางการแต่อย่างไร และภายหลังผู้บังคับบัญชาทหารก็ได้ไปขอขมาโทษ

    พ.ศ. 2518 พระอาจารย์วันได้ไปจำพรรษาที่วัดปาบ้านใหม่ท่าขันทอง ตำบลแชว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และในวันที่ 13 ตุลาคม ของปีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมพระอาจารย์วัน ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เพื่อทรงสนทนาธรรมะเป็นการส่วนพระองค์และทรงเยี่ยมประชาชนในถิ่นนั้นด้วย หลังจากออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์วันจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมตามเดิม

    พ.ศ. 2519 ได้มีลูกศิษย์ไปที่วัดของท่าน เพื่อทาบทามให้ท่านรับสมณศักดิ์ ท่านก็ได้ชี้แจงความเหมาะสม ไม่เหมาะสมให้ฟังว่า ท่านเองเป็นพระป่า ไม่เหมาะสมกับยศศักดิ์ที่สูงส่งเช่นนั้นท่านจึงปฏิเสธ

    พ.ศ. 2520 วันที่ 5 ธันวาคม องค์พระประมุขทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นพระราชาคณะที่ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร เป็นกรณีพิเศษ โดยที่ท่านไม่รู้ตัวมาก่อน แต่ท่านก็ต้องยอมรับเพราะพระสงฆ์ก็อยู่ภายใต้บรมโพธิสมภารของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงเป็นศาสนูปถัมภกด้วย

    พ.ศ. 2521-2522 พระอุดมสังวรวิสุทธิเถรหรือพระอาจารย์วัน ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมอย่างปรกติสุข

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เดือนเมษายน พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้รับอาราธนาจากทางสำนักพระราชวัง กรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระคณาจารย์อื่นๆ อีกจำนวน ๔ รูป คือ
    หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม พระคณาจารย์ทั้งหมดจึงได้ไปรวมกันที่จังหวัดอุดรธานีเพื่อขึ้นเครื่องบิน เพราะลูกศิษย์ลูกหาต้องการถวายความสะดวกและเพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง โดยได้ขึ้นเครื่องบินที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓

    ครั้น เมื่อเครื่องบินมาถึงท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ ๔ ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เหลือระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายุหมุนและประกอบกับฝนตกหนัก จึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาทุ่งรังสิต พระอาจารย์วันและคณะจึงได้ถึงแก่มรณภาพ พร้อมด้วยผู้โดยสารอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกา

    ผู้ โดยสารที่รอดชีวิตเป็นผู้ที่นั่งทางส่วนหางของเครื่องบิน เพราะส่วนหางของเครื่องบินยังอยู่ในสภาพดี เมื่อพระอาจารย์วันและคณะได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว มีการนำศพไปตกแต่งบาดแผลที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช แล้วนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพฯ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ทั้ง ๗ วัน วันแรกพระราชทานหีบทองทึบ วันต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ รับสั่งให้เปลี่ยนใหม่เพราะทรงเห็นว่าไม่สวยงาม จึงได้เปลี่ยนเป็นหีบลายทอง

    หลังจาก ๗ วันแล้ว ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทรงเป็นเจ้าภาพ และในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ คณะรัฐบาลซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์ของพระคณาจารย์ที่มรณภาพดังกล่าวซึ่งอยู่ใน กรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพ นับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่พระอาจารย์วันและคณะที่จากไปอย่างยิ่งยวด ยังความปลื้มปิติยินดีแก่ญาติพี่น้อง เพื่อนสหธรรมิก คณะศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือของพระอาจารย์วันและคณะอย่างหาที่สุดมิได้

    เมื่อ ครบกำหนดการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายที่วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน แล้วก็ได้อัญเชิญศพพระอาจารย์วันและพระคณาจารย์อื่นๆ อีกจำนวน ๔ รูป กลับไปสู่ยังวัดเดิมของแต่ละท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัวหน้าแผนกพระราชพิธีเป็นผู้ดูแลโดยตลอด

    สำหรับรถยนต์ที่เชิญศพ พระคณาจารย์ต่างๆ คุณหมอปัญญา ส่งสัมพันธ์ แห่งโรงพยาบาลแพทย์ปัญญา เป็นผู้จัดหา และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลต่างๆ เป็นอย่างดียิ่ง

    ต่อ มาเมื่อวันพุธที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ขบวนรถเชิญศพได้เคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน โดยมีรถตำรวจทางหลวงนำขบวน ถัดมาเป็นรถหลวง รถพระอาจารย์สมชาย ฐิติวิริโย และรถเชิญศพพระอาจารย์วันและคณะ ตามลำดับ เมื่อเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกาเศษ ขบวนรถเชิญศพได้มาถึงยังจังหวัดนครราชสีมา มีคณะพระภิกษุ-สามเณรโดยการนำของ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระชินวงศาจารย์ และ พระเทพสุทธาจารย์ (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูคุณสารสัมปัน พร้อมด้วยอุบาสก-อุบาสิกา ได้นำข้าวห่อมาต้อนรับคณะเชิญศพและมาเคารพศพกันเป็นจำนวนมาก

    หลัง จากพระฉันอาหารและเจ้าหน้าที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว ขบวนรถเชิญศพได้ออกเดินทางต่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อเวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ทางวัดโพธิสมภรณ์และชาวอุดรธานีได้จัดต้อนรับเป็นอย่างดี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้นำประชาชนหลายจังหวัดมารอเคารพศพ ซึ่งแล้วเสร็จเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกาเศษ รถเชิญศพจึงได้แยกย้ายกันไปยังวัดต่างๆ สำหรับศพพระอาจารย์วันก็ได้ไปถึงวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) นับว่าการเชิญศพถึงวัดได้รับความสะดวกสบายปลอดภัยทุกประการ

    เมื่อ เชิญศพไปถึงวัดแล้วได้ตั้งบำเพ็ญกุศล อุทิศถวาย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นเจ้าภาพ ต่อจากนั้นก็มีหน่วยงานต่างๆ รับเป็นเจ้าภาพติดต่อมาอีกหลายรายประชาชนทั้งใกล้และไกลได้มาคารวะศพและเป็น เจ้าภาพสวดพระอภิธรรมจนถึงปัญญาสมวาร (50 วัน) และสตมวาร (100 วัน) โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปเป็นประธาน นับว่าเป็นมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ หลังจาก 100 วันแล้วก็ยังเปิดให้ประชาชนได้บำเพ็ญกุศลเรื่อยมาเพื่อสนองความต้องการของ ประชาชน

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2523 เวลาประมาณ 18.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมคารวะศพและทรงเยี่ยมประชาชนที่มาถวายการต้อน รับ ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว เป็นการส่วนพระองค์

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2523 เวลาประมาณ 18.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมคารวะศพ ทรงวางพวงมาลาและทรงจัดดอกไม้ถวายเป็นการส่วนพระองค์
    พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้มรณภาพเมื่อสิริรวมอายุได้ ๕๖ ปี พรรษา ๓๖ โดยท่านได้มรณภาพลงพร้อมกันกับพระคณาจารย์อื่นๆ อีกจำนวน ๔ รูป ท่าม กลางความเศร้าสลดอาลัยของคณะสงฆ์ เพื่อนสหธรรมิก คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก ที่ต้องสูญเสียครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไปพร้อมกันทีเดียวถึง ๕ รูปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียของวงการสงฆ์ครั้งใหญ่มากอีกครั้งหนึ่งของเมืองไทย

    ๏ ปฏิปทาพระอาจารย์วัน
    พระ อาจารย์วัน เป็นผู้ที่โชคดีมากในการเข้ามาสู่พระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า เพราะก่อนจะออกบรรพชาเป็นสามเณรก็มียายออกบวชเป็นชีอยู่ก่อนแล้วในสำนัก ปฏิบัติ เมื่อท่านออกบรรพซาก็ไปอยู่ในสำนักที่ยายบวชอยู่ และได้รับการอบรมในทางปฏิบัติตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะไปรับการศึกษานักธรรม และบาลี ในขณะที่เรียนนักธรรมและบาลีก็อยู่ในสำนักปฏิบัติ แต่เพิ่มการเรียนเข้ามาเท่านั้น เพื่ออนุวัตตามทางการคณะสงฆ์เพราะฉะนั้นท่านจึงยึดมั่นในหลักปฏิบัติมาโดย ตลอด และได้เข้าศึกษาอบรมจากครูบาอาจารย์ที่สำคัญๆ ในสายปฏิบัติเช่น พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโญ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และอาจารย์องค์สำคัญอื่นอีกเป็นอันมาก

    พระ อาจารย์วัน จึงได้ยึดแนวทางในการปฏิบัติมาโดยตลอดของชีวิตพรหมจรรย์ พูดถึงอุปนิสัยท่านเป็นผู้ที่พูดน้อยแต่พูดจริงทำจริง อ่อนน้อมต่อผู้ที่มีอายุพรรษามากกว่า.เป็นผู้ที่หนักในคารวะ ชอบความเป็นระเบียบ ให้ความอนุเคราะห์แก่สหธรรมิกที่อ่อนกว่า การวางตัวของท่านเสมอต้นเสมอปลายจึงได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากพระเถระ ผู้ใหญ่ และเป็นที่เคารพนับลือของผู้น้อย ผู้ที่ได้เคยอยู่ร่วมสำนักหรือคบหาสมาคมกับท่านทุกคนคงทราบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์วันเป็นผู้ที่ฝึกตนได้ดี เรียบร้อยงดงามในทุกอิริยาบถ ทั้งยืนเดิน นั่ง นอน มีผู้วิจารณ์ว่า ท่านพระอาจารย์วันเป็นผู้ที่พอดี ไม่ช้า ไม่เร็ว พอเหมาะเสมอในทุกโอกาส

    กล่าว ถึงทางวาจา ไม่เคยได้ยินท่านใช้คำพูดที่เป็น ผรุสวาจา เมื่อลูกศิษย์ทำผิดหรือล่วงเกินในบางกรณีก็ไม่ใช้คำด่า แต่เป็นคำเทศน์ให้สติ และผู้ที่ถูกเทศน์ก็มีความกลัว จนบางคนถึงกับตัวลั่น ลักษณะของท่านพระอาจารย์วันลูกศิษย์ฝ่ายบรรพชิตก็ดี ญาติโยมที่อยู่ใกล้ชิดก็ดูจะมีความเคารพนับถือ เกรงกลัวท่านมากกว่าผู้ที่อยู่ห่าง มิใช่กลัวถูกด่า แต่กลัวในลักษณะที่ยำเกรง เพราะความเคารพในตัวท่าน

    พระอาจารย์วัน เป็นผู้ที่ทำตัวของท่านให้เป็นตัวอย่างที่ดี แก่ศิษย์หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นผู้ที่ “ทำให้ดูมากกว่าบอกให้ทำ” จึงเป็นที่เคารพรักของศิษย์ทั่วไป
    กิจวัตรส่วนตัวของท่าน ที่ท่านถือปฏิบัติเมื่อเวลาประจำอยู่ที่วัดคือ

    1. พอสว่างเข้าสู่ทางเดินจงกรมเมื่อเวลา 6.00 น.
    2. ลงไปศาลาการเปรียญทำกิจวัตรและออกบิณฑบาต เวลา 7.00 น.
    3. ฉันเสร็จเรียบร้อยขึ้นกุฏิทำความเพียรจนถึง เวลา 12.00 น.
    4. พักผ่อนจนถึง เวลา 14.00 น
    5. ทำความเพียรจนถึง เวลา 16.00 น.
    จากเวลา 16.00 น. เป็นต้นไปเป็นเวลาที่รับแขกและทำกิจอย่างอื่น เช่น กวาดลานวัด และทำการงานด้านอื่นๆ ภายในวัด
    6. อบรมพระภิกษุสามเณร เวลา 19.00 น.
    7. พักผ่อนร่างกาย เวลา 22.00 น
    8. ตื่นนอน เวลา 2.00 น. แล้วทำความเพียร
    กิจวัตร ส่วนตัวดังกล่าว ในสมัยที่ท่านขึ้นไปอยู่ล้ำอภัยดำรงธรรมตอนต้นๆ รู้สึกว่าสะดวกสบายดีเพราะประชาชนยังไปมาหาสู่ไม่มากนัก ต่อมาเมื่อมีประชาชนไปหามากจึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามเหตุการณ์ แต่เรื่องการนอนท่านเคยฝึกมาแล้วสมัยที่ท่านปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่น ท่านบันทึกไว้ว่า พักผ่อนคืนหนึ่งอย่างมากที่สุดไม่เกิน 4 ชั่วโมง

    ๏ ปฏิปทาทางมักน้อยสันโดษ
    พระ อาจารย์วัน เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไม่มักใหญ่ใฝ่สูงมาตั้งแต่เป็นสามเณร ตามที่ท่านบันทึกไว้ จะเห็นได้ว่าท่านมีความตั้งใจจะอุปสมบทเป็นพระก็ต่อเมื่อมีอายุ 25-26 ปี คือต้องการเป็นผู้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเพื่อนพระภิกษุที่มีอายุรุ่นเดียวกัน แต่เหตุการณ์ก็ไม่เป็นไปดั่งคิด การสะสมลาภสักการะก็ไม่มี มีแต่การเฉลี่ยอนุเคราะห์เพื่อนสหธรรมิก ถ้ามีผู้บริจาคเป็นการส่วนตัวก็ได้อนุเคราะห์ไปยังวัดต่างๆ ที่ขาดแคลน แต่ท่านอนุเคราะห์ไปมากก็มีผู้ถวายมาก เข้าในลักษณะที่ว่า มีทางไหลเข้า ก็มีทางไหลออก พระอาจารย์วัน จึงไม่มีสมบัติอะไรนอกจากสมณบริขาร บางท่านอาจจะเข้าใจว่า พระอาจารย์วันเป็นพระที่ร่ำรวย จะว่ารวยก็ถูกอยู่เหมือนกัน เพียงแต่รวยในทางสงเคราะห์ จนบางทีไม่มีอะไรจะให้ เพราะฉะนั้นอะไรจะมีเหลือ เพราะไม่ได้สะสม

    ปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความอดทน ไม่เคยได้ยินท่านบ่นว่าร้อนมาก หนาวมาก ท่านคงคิดว่าพูดออกไปแล้วก็ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้กระมังจึงเงียบ เลีย และคำว่าเหนื่อยมาก หิวมาก กระหายมาก ก็ไม่เคยได้ยิน ท่านคงคิดในลักษณะที่ว่า พูดไปแล้วก็คงไม่หายเหนื่อย พูดไปแล้วคงไม่หายหิวหายกระหาย นอกจากจะพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหนื่อย และรับประทานเสีย หรือ ดื่มเสียเพื่อแก้หิว แก้กระหาย และเวลาพระเณรถวายการนวดหรือจับเส้นก็ไม่เคยได้ยินท่านบ่นว่า นวดหนักไปหรือเบาไป มีแต่ถึงเวลาสมควรก็บอกให้เลิก นับว่าท่านเป็นผู้ที่อดได้และทนได้จริงๆ

    สำหรับ ปฏิปทาที่เป็นส่วนภายในท่านก็ไม่เคยนำมาเล่า นอกจากผู้เป็นศิษย์จะเรียนถามเมื่อมีความขัดข้องทางภาวนา หรือเวลาท่านแสดงธรรม ผู้เขียนไม่สามารถที่จะอาจเอื้อมนำมาเขียนว่า ท่านพระอาจารย์วัน มีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้เพราะเป็นการเหลือวิสัยของผู้เขียน จึงขอมอบให้สานุศิษย์ทั้งหลายนำไปพิจารณาไตร่ตรองเองเถิด และอีกประการหนึ่งในการเขียนประวัตินี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงจะผิดหวังที่ไม่ได้เขียนเรื่องปาฏิหาริย์ ลงในหนังสือเล่มนี้ เพราะผู้เขียนได้ยินคำพูดที่ท่านพระอาจารย์วันพูดไว้ว่า การเขียนประวัติ ถ้าให้บุคคลอื่นเขียน มีทางเสียอยู่ 2 ทางคือมากเกินไป หมายความว่ายกย่องเกินไป และน้อยเกินไปคือขาดตกบกพร่อง ผู้เขียนจึงนำมาเล่าสู่กันฟังเฉพาะในเรื่องที่มองเห็นกันง่ายๆ เท่านั้น

    คุณลักษณะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การวางตัว ท่านไม่แสดงออกให้เห็นเลยว่า โปรดคนนั้นคนนี้ในบรรดาสานุศิษย์ ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์หรือแม้แต่พระเณรที่เป็นผู้อุปัฏฐาก เพื่อความเข้าใจดีของทุกฝ่าย ผู้เขียนจึงขอคัดจากลายมือของพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) ที่ท่านเขียนไว้มาให้พิจารณาเอง ดังนี้
    “จะเป็นด้วยกรรม อะไรของข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ เมื่อมาอยู่ในสถานที่ถ้ำอภัยดำรงธรรมแห่งนี้ ทำให้อยู่ได้นานกว่าสถานที่แห่งอื่นทั้งหมด ทั้งยังคิดวางโครงการอยากจะปรับปรุงให้มีความเจริญเกิดขึ้นในท้องถิ่นนี้ ถึงกับนำญาติโยมทำทางจากบ้านมาหาที่พัก และยังคิดสร้างพระพุทธรูปไว้ที่ถ้ำพวง เพื่อเปลี่ยนพิธีกรรมเซ่นสรวงผีสางในภูเขาประจำปีของชาวบ้าน ให้หันมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแทน ซึ่งยังจะได้มีส่วนแห่งบุญของตนเท่าที่ควร จึงได้มีการทำทางขึ้นหลังเขาสู่ถ้ำพวง และเลยลงไปถึงหมู่บ้านภูตะคาม ตามที่พวกชาวบ้านนั้นขอร้อง งานการก่อสร้างยังต้องทำต่อไปเรื่อยๆ และจัดให้มีงานนมัสการปูชนียวัตถุองค์พระปฏิมากร พระมงคลมุจจลินท์เป็นประจำทุกปีไป แม้ว่าการเงินในการก่อสร้างจะร้างจะไม่มีตัวเงินงบประมาณก็ตาม คงจัดทำการก่อสร้างไปตามได้ตามมี เท่าที่ท่านสาธุชนทั้งหลายมีศรัทธานำมาบริจาค

    ข้าพเจ้า คิดว่า เมื่อคนส่วนมากยังยินดีพอใจสนับสนุนการก่อสร้างอยู่แล้ว ต้องพยายามทำตามโครงการที่วางไว้แล้วนั้นจนเป็นผลสำเร็จ เพราะทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และทำไว้เพื่อเป็นสมบัติของบ้านเมือง ไม่ได้หวังกอบโกยเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนจำพวกไม่พอใจ ไม่มองเห็นผลประโยชน์ด้วยมีเพียงจำนวนน้อย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแต่บางคนอาจจะเพ่งมองข้าพเจ้าในแง่ผิดบ้างก็มี เช่นหวังเพื่ออำนาจ อิทธิพลยากดัง อยากใหญ่ อยากเด่น อยากรวย อยากปฏิวัติอะไรทำนองนี้ ท่านผู้ปัญญามีจิตเป็นธรรม ปราศจากอคติ จงพิสูจน์หาความจริงได้ทุกโอกาส อย่าหลับตามองดู จงลืมตามองดูแบบคนตาดีอย่าอุดหูฟัง จงเงี่ยหูทั้งสองฟังเหมือนคนมีหูทิพย์ อย่าคิดเหมือนคนวิกลจริต จงใช้ความคิดให้ลึกซึ้งต่อเหตุผลเหมือนนักปราชญ์บัณฑิต”

    เมื่อท่าน ผู้อ่านได้อ่านบันทึกของพระอาจารย์วัน ที่ยกมานี้ คงจะเข้าใจปฏิปทาของท่านได้เป็นอย่างดีผู้เขียนขอสรุปลงอย่างสั้นๆ ว่า พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร หรือพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นพระที่ประกอบด้วยองค์คุณของพระสงฆ์ คือ

    สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดี
    อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
    ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
    สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ

    ท่าน จึงเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพนับถือ บูชา กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจรูปหนึ่งอย่างแน่นอน หากมีความบกพร่องผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอประทานอภัย และขอรับผิดเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากมีความดีใดๆ อันจะพึงบังเกิดเพื่อน้อมบูชาพระคุณของพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยคารวะ

    สภาพสวยผิวน้ำยารมน้ำตาลเดิมๆ พิมพ์สวยคมโค๊ดชัด เหรียญสภาพสวยมาก พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมาก แบ่งให้บูชา 650บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    [FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff]คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=5][SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/FONT][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][EMAIL="Engineer0206nu@gmail.com"][FONT=Arial][SIZE=5][COLOR=green]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR][/SIZE][/FONT][/EMAIL][/FONT][/FONT][/FONT]
    [SIZE=5][COLOR=magenta]*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***[/COLOR][/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2015
  13. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,517
    ค่าพลัง:
    +30,849
    หวัดดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  14. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการนี้ปิดแล้วครับผม




    3044.เก็บตกสุดท้ายจบข่าว ของฝากเทศการวิ่งควาย พระสมเด็จพิมพ์หูจรดบ่า วัดบ่อวิน
    ลป.ฝั้น,ลป.สิม + ลป.ทิม เศกอีก9เดือน และอีกหลายวาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    ภาพพิธีบางส่วนที่รวบรวมได้ครับ แต่ยังไม่ครบนะครับ
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    พระสมเด็จ พิมพ์หูจรดบ่า หลังยันต์น้ำเต้า วัดบ่อวิน อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อผงวิเศษเนื้อมวลสารก้นครก(การนำผงมวลสารที่เหลือจากการผสมทำพิมพ์พระของแต่ละครกที่เหลือ นำมาผสมรวมกัน) องค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษชุดเดียวกับ พระขุนแผนหลังตะแกรง, พระปิดตา หลังตะแกรง, พระสมเด็จหูจรดบ่า หลังตะแกรง เป็นพระพิมพ์ที่สำคัญหายากมีน้อย ส่วนใหญ่อยู่กับกรรมการผู้ช่วยงาน และผู้ใหญ่ในสายนี้ครับ

    จัดสร้างโดยพระอาจารย์กิม ชาตรูโป เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีมหาราชา ซึ่งหลวงปู่ทิมได้มอบมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ให้คุณมาโนช เหล่าขวัญสถิตย์ เจ้าของร้านนาวาชายหาด ศิษย์ก้นกุฎิเป็นผู้ดำเนินการ จัดสร้างเมื่อราวปี พ.ศ.2515-2516

    มวลสารที่ใช้ในการจัดสร้าง
    เนื้อผงพุทธคุณต่างๆ, ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม, จีวร, เกศาของหลวงปู่ทิม, หมอนหนุนหัว ของหลวงปู่ทิม (หมอนที่ใช้หนุนมาตั้งแต่บวชใหม่ๆ และบอกว่า นี่แหละของดี เพราะหมอนมีความหมายถึงการหนุนดวง สำหรับคนดวงตก หมายถึงการค้ำดวง จากคำบอกเล่า ของครูดุก พัทยา ผู้เคยบวชร่วมสมัยกับพระอาจารย์กิม ซึ่งมีศักดิ์เป็นพ่อตาของคุณมาโนช ผู้สร้างพระชุดนี้ครับ)

    เมื่อแล้วเสร็จคุณมาโนช ได้นำไปถวายให้พระอาจารย์สายกรรมฐาน เมตตาอธิษฐานจิตในวาระแรก
    รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกพระชุดวัดบ่อวิน
    1.หลวงปู่ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
    2.หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
    3.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    4.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    5.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
    6.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั่ง
    7.หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม
    8.หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก
    หลังจากนั้นก็นำเข้าพิธีต่างๆ ในแถบภาคตะวันออกอีกไม่ต่ำกว่า 9 พิธี

    วาระสุดท้าย
    ได้นำไปถวายให้ หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ เมตตาอย่างมาก ปลุกเสกเดี่ยวให้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2517 จนถึง วันที่ 29 กรฎาคม พ.ศ.2518 เป็นระยะเวลานานมากถึง 9 เดือน 20วัน ถือว่าเป็นพระของหลวงปู่ที่มีประวัติการปลุกเสกชัดเจนและมากด้วยคุณค่าอย่างแท้จริง


    สภาพสวยคราบแป้งลองพิมพ์เดิมๆ(ฝ้าขาวๆที่เห็นบนองค์พระนั้นแหละครับ) ไม่ผ่านการบูชา เนื้อหาเข้มข้น องค์นี้มีโชว์ผงเก่าเป็นเม็ดๆให้เห็นกัน โดยส่วนตัวชุดวัดบ่อวินนี้ น่าจะเป็นชุดนอกวัดที่ดีที่สุดของหลวงปู่ทิมแล้วครับ ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมแบบว่า "ดังเองไม่มีใครปั่น" รอคอยมานานกว่าจะมีวาสนาได้พบสักที พระวัดบ่อวินพิมพ์หายาก ยากกว่าพระขุนแผนหลังตะแกรงเสียอีกครับ ต้องขอขอบพระคุณพี่ๆสายชลบุรีที่แบ่งให้จากประเพณีแข่งวิ่งความยครับ แบ่งให้บูชา 2,900บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณปลากินดาว จองแล้วครับ)




    [COLOR=#0000ff][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff]คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/COLOR][COLOR=#0000ff][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/COLOR][B][COLOR=#000000][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][/COLOR][/B]
    [B][COLOR=black][SIZE=5][B][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=5][SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/B][/SIZE][SIZE=5][B][FONT=Tahoma][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][EMAIL="Engineer0206nu@gmail.com"][FONT=Arial][SIZE=5][COLOR=magenta]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR][/SIZE][/FONT][/EMAIL][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/COLOR][/B]
    [FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=green]*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***[/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2014
  15. แอมแนท

    แอมแนท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +102
    จองครับ
     
  16. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117


    - รับทราบการจอง,การแจ้งโอน,การแจ้งการได้รับของ และการเข้ามาเยี่ยมชมครับผม



    [​IMG][​IMG][​IMG]





    ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมนะครับ





    - ขออนุญาตแจ้งเรื่องการจัดส่ง เพื่อความสะดวกในการได้รับของครับผม เนื่องจากผมติดภารกิจ การจัดส่งของจะสะดวกในช่วงวัน วันพุธ - วันศุกร์ นะครับพี่ๆ หากล่าช้าอย่างไรไปบ้างผมต้องขอประทานโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ





    เข้ารับชมสรุปรายการที่ หน้า1 ได้เลยครับผม ตามลิ้งค์เลยครับ










    rabbit_eating;20he llo _carthaxxthaxxhe llo _car;20rabbit_eating​
     
  17. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการนี้ปิดแล้วครับผม




    3045.เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภ.ป.ร.
    เหรียญดีแห่งสิริมงคล ลพ.ลิงดำ,ลป.สิม,ลป.ชื้น,ลพ.อุตตมะ ร่วมอธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภ.ป.ร. เนื้อกะไหล่ทอง วัตถุประสงค์การจัดสร้าง เพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่งเหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสกนั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร

    รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพุทธาภิเษกหมู่และเจริญพระพุทธมนต์
    1 สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
    2 สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
    3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    4 สมเด็จพระวันรัตน วัดโสมนัสวิหาร
    5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
    6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ
    7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
    8 พระอาจารย์ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน
    9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    10 พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง
    11 พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม
    12 พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
    13 พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
    14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
    15 พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม
    16 หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม เป็นต้น

    ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ

    กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

    ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป

    พระเครื่องและเหรียญที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน

    หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 "เหรียญพระชัยหลังช้าง" มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง

    มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์ ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า"เหรียญพระชัยหลังช้าง" "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน

    เหรียญพระชัยหลังช้าง
    เหรียญพระชัยหลังช้าง ความเป็นมาของ "พระชัยวัฒน์" เดิมมีพระนามว่า "พระชัย" หรือ "พระไชย" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามเพิ่มว่า "พระไชยวัฒน์" และได้เปลี่ยนพระนามมาเป็น "พระชัยวัฒน์" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร มีฉัตรปรุ 5 ชั้นปักกั้น หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว สูงจากทับเกษตรถึงยอดพระรัศมี 9 นิ้ว มีพัดแฉกหล่อด้วยเงินปักข้างหน้า ที่ฐานมีคำจารึก ซึ่งเป็นต้นแบบในการนำมาสร้าง เหรียญพระชัยหลังช้าง

    สภาพสวยกริ๊บไม่เคยโดนสัมผัส ถ่ายรูปมาลงแบบไม่ได้แกะซอง พิมพ์คมชัดลึก " ไม่สดไม่แท้คืนเต็ม " เหรียญดีพุทธศิลป์สวยงามสิริมงคลสูงส่ง พุทธคุณเมตตา คลาดแคล้ว แบ่งให้บูชา 299บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณณัฐ พระราม3 จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][COLOR=green]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR]
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  18. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,517
    ค่าพลัง:
    +30,849
    หวัดดียามบ่ายครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  19. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการจัดส่งพัสดุครับผม
    29/10/14




    1.คุณปลากินดาว จัดส่ง
    - 2782.Classic เขียวก้านมะลินิยม พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างยันต์พุทโธ พิธีอินโดจีนปี84 วัดสุทัศน์ฯ มหาพิธีพุทธาภิเษกของเมืองไทย ลพ.จาด,ลพ.จง,ลพ.รุ่ง,ลพ.เหลือ ร่วมปลุกเสก
    - 3015.สวยเดิมผงใบลาน พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดประสาทปี06 สุดยอดพิธีของเมืองไทย ลป.ดู่,ลพ.พรหม,ลป.ทิม,ลป.โต๊ะ ร่วมเสก
    - 3020.ตัวTopแจกกรรมการ พระพิมพ์เชียงแสน พิธีจตุรพิธพรชัย ลป.ดู่,ลป.โต๊ะ,ลพ.กวย อธิฐานจิตพิธีใหญ่ 2วาระ

    พัสดุเลขที่ EN657450989TH



    2.คุณอริย์ธัช จัดส่ง
    - พระสมเด็จพิมพ์ซุ้มเกลียวเชือก เนื้อผงโสฬสมหาพรหม หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ
    พัสดุเลขที่ EN657450992TH



    ***อย่าลืมชม สรุปรายการที่ หน้า1 นะครับผม***
    ขอบพระคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม
    และอุดหนุนผมนะครับ
    [​IMG]
    Tel: 086-0441367, engineer0206nu@gmail.com
     
  20. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,858
    ค่าพลัง:
    +14,117
    รายการนี้ปิดแล้วครับผม





    3046.The last ตัวTopแจกกรรมการ พระพิมพ์สุโขทัย พิธีจตุรพิธพรชัย
    ลป.ดู่,ลป.โต๊ะ,ลพ.กวย อธิฐานจิตพิธีใหญ่ 2วาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    [​IMG]

    [​IMG]

    พระสามสมัย พิมพ์สุโขทัย หลังพระสังกัจจายณ์ เนื้อผงวิเศษ พิเศษสุดลงรักปิดทองลงสี สำหรับแจกกรรมการไม่มีในรายการให้บูชาทั่วไป พิธีจตุรพิธพรชัย จัดสร้างเป็นเนื้อผงพุทธคุณสุดวิเศษ ประกอบไปด้วย ผงเกสรปูชนียวัตถุนำมาจากปูชนียสถานต่างๆ, ว่าน 108, ผงอิทธิเจ ปะถะมัง และตรีนิสิงเหของพระอาจารย์ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.อยุธยา (จากเอกสารของวัดสุวรรณดาราราม) ดำเนินการจัดสร้างโดย นายเรียน นุ่มดี และ พระครูปริยัติสุกิจ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และพระเณรสมัยนั้นเป็นผู้สร้างกันที่วัดสุวรรณฯ

    พิธีพุทธาภิเษก วัดสุวรรณดาราราม
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อธิฐานจิตเดี่ยว 1เดือนเต็ม หลังจากได้จัดพิธีนั่งปรกปลุกเสก โดยพระคณาจารย์ 16 รูป ณ วัดสุวรรณดาราราม พิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2517
    พระคณาจารย์ผู้ร่วมพิธีฯมีรายนามดังนี้
    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)
    นี่คือรายชื่อพระที่ร่วมปลุกเสกตามเอกสาร ของวัดสุวรรณดาราราม ดังนั้นพิธีนี้ถือว่าเป็นต้นกำเนิดเดิมแท้ ของพระเนื้อผงมาจากวัดสุวรรณดาราราม ส่วนเหรียญถูกสร้างมาภายหลัง (และได้จัดพิธีที่วัดหอรัตนชัย) ตามเอกสารของวัดรัตนชัยต่อไป ส่วนพระที่ปรากฏและเป็นเอกสารตามรูป นายเรียน นุ่มดี ได้แบ่งเอาพระสามสมัย เชียงแสน สุโขทัย และอู่ทอง, พระสมเด็จทรงนิยม, พระภควัมบดี(พระปิดตามหาลาภ) และพระพุทธศรีมณฑป(บางส่วน) ไปเข้ารวมพิธีอีกครั้ง เพราะพระในส่วนนี้นายเรียน นุ่มดี ที่จะนำไปสร้างกุศลที่วัดบ้านเกิดวัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี รวม พระเนื้อผง เข้าพิธีถึง 2 ครั้ง 2 วาระ

    พิธีจตุรพิธพรชัย วัดรัตนชัย
    พิธีพุทธาภิเษก ในวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จ.ศ. 1337
    เวลา 15.09 น. โหรประกอบพิธีบูชาฤกษ์
    เวลา 16.03 น. – 16.21 น.มหามงคลฤกษ์ ประกอบพิธีจุดเทียนชัย
    เวลา 16.30 น. พระสงฆ์เถระ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ( ในพระอุโบสถวัดรัตนชัย)
    เวลา 19.09 น. พระพิธีธรรม 4 รูปเจริญพระคาถาพุทธาภิเษกพระคณาจารย์ 16 รูป เข้าประจำอาสนะปรก
    ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ
    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)
    รายนามพระคณาจารย์ทั้ง 2วาระคือ พระคณาจารย์ชุดเดียวกัน แต่มีวาระกันปลุกเสกห่างกัน ประมาณ1ปี

    สภาพสวยเดิม ตัวTop แจกกรรมการหายากสุดๆ พิมพ์คมชัดลึก พระชุดนี้ใครๆก็รู้ว่าดีแค่ไหน ทั้งเจตานาการจัดสร้างอันบริสุทธิ์,พิธีที่ดีรวมถึงฤกษ์ยามต่างๆ,มวลสาร และพระคณาจารย์ที่ปรกล้วนไม่เป็นรองใคร แบ่งให้บูชา 1,999 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณปลากินดาว จองแล้วครับ)





    [FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][FONT=Tahoma][COLOR=#0000ff]คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย [/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana][FONT=Verdana]สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ [/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][COLOR=blue][SIZE=5][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][FONT=Tahoma][COLOR=#ffffff][COLOR=#0000ff][FONT=Verdana]เลขที่ [COLOR=red][U]6000088418[/U] [/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=5][SIZE=5][FONT=Verdana][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=darkorange]โทร.086-0441367[/COLOR], [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/FONT][FONT=Verdana][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][EMAIL="Engineer0206nu@gmail.com"][FONT=Arial][SIZE=5][COLOR=green]Engineer0206nu@gmail.com[/COLOR][/SIZE][/FONT][/EMAIL][/FONT][/FONT][/FONT]
    [SIZE=5][COLOR=magenta]*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***[/COLOR][/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...