พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD class=title style="FONT-SIZE: 12px" align=right width="58%">:: บทสวดบูชาหลวงปู่ อิเกสาโร เทพโลกอุดร พระในป่า :: </TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=top background=../images/dot02.gif><CENTER>นะโมพุทธายะ กะกุสันโท โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อะริยะเมตตะโย
    พุทธะคุณัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมะคุณัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆะคุณัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ สัตตะ ธัมโม อุตตะมัง สัมปันโน ยะธัมเม เอหิมะมะ
    อะหังสุขิโตโหมิ นิททุกโขโหมิ อะเวโรโหมิ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
    สิทธิโก กัสสะโป โลกะวิทู วิหิงสา โวโว วาวา อะกะวิติ อิเกสาโร ปูเชมิ โลกุตตะโร จะ อิเกสาโร จะ มะหาเถโร
    อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปะฏิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน
    มะหาเถรานุสาสะโก อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คุหาวะนัง โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิธะ
    ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสารีริกะธาตุ
    วะชิรัญจาปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โนโข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต
    ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
    โลกุตตะระคุณัง มหาเถระคุณัจจะ เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา โลกุตตะเรนะ จะ มะหาเถระ
    นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม.
    </CENTER></TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD class=title style="FONT-SIZE: 12px" align=right colSpan=2>:: บทสวดบูชาหลวงปู่ อิเกสาโร เทพโลกอุดร พระในป่า (แปล) ::</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=top colSpan=2>
    ข้าพระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ พระนามว่า พระกกุสันทะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระอริยเมตตรัย ข้าพระพุทธเจ้า ขอถึงพระพุทธคุณว่าเป็นที่พึ่ง
    ข้าพระพุทธเจ้า ขอถึงพระธรรมคุณว่าเป็นที่พึ่ง
    ข้าพระพุทธเจ้า ขอถึงพระสังฆคุณว่าเป็นที่พึ่ง

    พระธรรม ๗ คัมภีร์ คือ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ถึงพร้อมเป็นพระคัมภีร์อันสูงสุด ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข ปราศจากทุกข์ ปราศจากกรรมเวร รักษาตนอยู่เถิด
    พระกัสสปะ ผู้รู้แจ้งโลก ผู้ไม่เบียดเบียน พระมหาเถระ อิเกสาโร เทพโลกอุดร ข้าพเจ้ากราบไหว้บูชาแล้วเป็นอย่างยิ่งในกาลทุกเมื่อ
    พระมหาเถระ ผู้เป็นพระอริยะ ผู้เป็นพระอรหันต์ ทรงไว้ซึ่งอภิญญา ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา มีวิชชา ๓ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยเมตตาธรรม แสดงธรรมเทศนา แสดงมรรคและผล เป็นอยู่อย่างอมตะ ยินดียิ่งในถ้ำและป่าเขา พระมหาเถระผู้ประกอบพร้อมในคุณงามความดี ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ พระมหาเถระท่านนั้นนามว่า อิเกสาโร เทพโลกอุดร พระในป่า พระผู้เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว นับเป็นบุญลาภอันหาที่สุดมิได้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักได้ปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีทั้งหลายนั้น
    ด้วยอานุภาพอำนาจรัศมีแห่งบุญญฤทธิ์บารมีอันศักดิ์สิทธิ์ ของพระมหาเถระ อิเกสาโร เทพโลกอุดร พระในป่า ขอให้ข้าพเจ้าได้ดวงตาเห็นธรรม ได้พบเส้นทางสว่างแห่งการดำเนินชีวิต ได้มีสติปัญญาอันเป็นเลิศ และขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเทอญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จากhttp://www.jarun.org/v5/th/library_pray05.html
     
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เข้าพรรษามึนไม่เป็นไร อย่าเมาละกัน เอิ๊ก....
     
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    มึนไม่มากครับ แต่จุกอกและขนแขนสแตนอัพครับ....บรื่อๆๆๆ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมเองไม่ใช่ว่า จะศึกษาแต่พระแท้ แต่เณร(ของปลอม) ผมก็ต้องศึกษาเช่นกัน เพื่อเป็นวัคซีนให้กับตนเอง และผู้ที่สนใจศึกษา

    เรื่องพระวังหน้า ,พระวังหลวง ,พระวังหลัง หรือแม้กระทั่งพระสมเด็จ มีจำนวนรวมกันมากมาย เพียงแค่พระพิมพ์,พระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2451 ซึ่งปีนั้นเป็นปีที่เฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 40 ปีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และฉลองพระบรมรูปทรงม้า เพียงแค่ในช่วงนั้น ปริมาณการสร้างยังมากมาย มีการเกณฑ์ทั้งช่างหลวง ,ช่างราษฎร์ เข้ามาร่วมกันสร้างอย่างมาก อีกทั้งยังมีพระพิมพ์ ,พระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆ จากหัวเมืองต่างๆ ส่งเข้ามายังพระนครอีกเป็นจำนวนมากเช่นกัน ข้อมูลอีกมาก ผมเองยังไม่ได้นำเสนอให้ทราบกัน

    และยังมีข้อมูลที่สำคัญอยู่บางประการที่ผมทราบในปัจจุบันนี้ ที่ไม่สามารถนำเสนอได้ทุกกรณี ก็มีอีกเช่นกัน

    ส่วนเณร(ของปลอม) ถ้าไม่มีของแท้แล้วเขาจะทำกันขึ้นมาทำไม และยังมีปัจจัยอีกหลายๆประการที่ทำให้พระชุดนี้ มีความนิยมกันในเฉพาะกลุ่ม(ซึ่งปัจจุบันนี้เริ่มขยายตัวออกไปอีกมาก) เพราะว่า มีผู้ที่ได้ไปแล้ว เกิดความลังเลสงสัยว่า จริงหรือไม่ แท้หรือไม่ และได้นำไปให้กับผู้ที่มีวิปัสนาญาณ(ทั้งพระภิกษุและฆารวาส) ตรวจสอบให้ หลังจากที่ตรวจสอบแล้ว ผลที่ได้กลับดีเกินคาดคิดไว้ จึงได้หาเก็บเพื่อไว้บูชากัน

    ส่วนเรื่องของการจะสอบถามข้อมูลกัน หากข้อมูลไหนผมสามารถเปิดเผยได้ ผมจะบอกนะครับ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ผ่านบอร์ด(กระทู้พระวังหน้าฯ)นี้ไปก่อน ยกเว้นไว้แต่จะถามว่า แท้หรือไม่แท้ ใช่หรือไม่ใช่ครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องเมา เลิกมานานมากแล้วครับ กลับไปกินใหม่ก็ลำบากมาก กลัวมากครับ ในช่วงที่รู้จักเรื่องหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรใหม่ๆจากท่านอาจารย์ประถม ช่วงนั้นเคยกินเหล้ามาครั้งนึง ตอนกิน(ในงานเลี้ยง) ก็ไม่มีอะไร ขากลับยังไปส่งเพื่อน พอถึงบ้าน ก็จะอาบน้ำ เกิดปวดท้อง พอเข้าห้องน้ำเท่านั้น ก็ถ่าย(เป็นโจ๊ก) หน้ามืด(เกือบๆเป็นลม) ผมถ่ายพักใหญ่ ผมก็เลยลงมานั่งบนพื้นห้องน้ำ เรียกผบทบ.ให้นำยาดมมาให้ ตอนนั้นถ่ายไม่รู้สึกตัว อาการกำลังจะเป็นลม นั่งดมยาดมสักพักก็ค่อยยังชั่ว
    หลังจากนั้น เลิกเด็ดขาด ไม่เคยกลับไปกินอีก แม้กระทั่งข้าวหมัก(ที่เป็นของโปรด) ก็ไม่กินอีกเลย ไปกินเลี้ยงหรือไปกินกับเพื่อนๆ กินแต่น้ำเปล่า แต่หนักกินกับครับ เพื่อนๆก็เลยเอือมระอา ตัวกินกับ

    ประสบการณ์ของคุณเพชรและคุณnongnooo เขียนเก็บไว้ด้วยนะครับ
     
  8. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อืม...ลุงปาทาน ชรามากแล้วจริงๆ ไปไหนมาไหนก็ควรพกพายาลม ยาดม ยาหม่องด้วยนะครับ เป็นห่วงง่ะdencee
     
  9. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  10. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
     
  11. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    พระสูตรในเล่ม ๘ หรือในทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์มี ๑๓ สูตร ตามลำดับดังต่อไปนี้:-

    ๑. พรหมชาลสูตร สูตรที่เปรียบเหมือนข่ายอันประเสริฐที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง คือกล่าวถึงลัทธิ ศาสนาต่าง ๆ ที่มีในครั้งนั้น ที่เรียกว่าทิฎฐิ ๖๒ เป็นการชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนามีหลักธรรมแผกจาก ๖๒ ลัทธินั้นละเอียด.
    ๒ . สามัญญผลสูตร ว่าด้วย “ การของความเป็นสมณะ” หรือผลของการบวช.
    ๓. อัมพัฏฐสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับอัมพัฏฐมาณพ” มีข้อความกล่าวถึงประวัติศาสตร์ ศากยวงศ์.
    ๔. โสณทัณฑสุตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับโสณทัณฑพราหมณ์ ” มีข้อความกล่าวถึงคุณลักษณะ ๕ อย่าง ของพราหมณ์.
    ๕ . กูฏทันตสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับกูฏทันตพราหมณ์ ” เรื่องการบูชายัญ โดยวิธีสังเคราะห์ดีกว่าการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตวฺ รวมทั้งปัญหาการปกตครองประเทศ ให้ได้ผลางเศรษฐกิจ ลดจำนวนโจรผู้ร้าย.
    ๖. มหาลิสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับเจ้าลิจฉวีชื่อมหาลิ ” เรื่องตาทิพย์ หูทิพย์ และความสามารถที่สูงขึ้นไปกว่านั้น คือการทำกิเลสอาสวะให้กมดไป.
    ๗. ชาลิยะสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบกับนักบวช ๒ คน คนหนึ่งชื่อชาลิยะ ” เรื่องชีวะ กับสรีระ.
    ๘ . มหาสีหนาทสูตร <SUP></SUP>. ว่าด้วย “ การบรรลือสีหนาท ” ของพระพุทธเจ้าโดยมีคุณธรรมเป็นพื้นรองรับ
    ๙ โปฏฐปาทสูตร ว่าด้วย “การโต้ตอบกับโปฏฐปาทปริพพาชก ” เรื่องอัตตาและธรรมะชั้นสูงอื่น ๆ .
    ๑๐ สุภสูตร ว่าด้วย “ การโต้ตอบระหว่างพระอานนทเถระกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร”
    ๑๑. เกวัฏฏสูตร ว่าด้วย “ การแสดงธรรม” เรื่องปาฏิหารย์ ๓ แก่คฤหบดี ชื่อเกวัฏฏะ.
    ๑๒. โลหิจจสูตร ว่าด้วย “การโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ ” ถึงเรื่องมิจฉาทิฏฐิและศาสดาที่ควรติไม่ควรติ.
    ๑๓. เตวิชชสูตร ว่าด้วย “พราหมณ์ผู้รู้ไตรวิทยาเคยเห็นพระพรหมหรือไม่ ” และว่าด้วยวิธีเข้าอยู่ร่วมกับพระพรหม. <CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]ขยายความ [/COLOR]</CENTER>
    <CENTER>๑. พรหมชาลสูตร
    สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ
    </CENTER>
    พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เดินทางอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา มีปริพพาชก ( นักบวชนอกศาสนา) ชื่อสุปปิยะ พร้อมด้วยศิษย์ชื่อพรหมทัตมาณพ เดินทางมาข้างหลัง. สุปปิยะ ปริพพาชก ติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ศิษย์กล่าวสรรเสริญ . เมื่อถึงเวลากลางคืนภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันถึงเรื่องศิษย์อาจารย์กล่าวแย้งกันเรื่องสรรเสริญ ติเตียนพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงตรัสเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ <SUP></SUP>. แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล ๓ ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย ศีลอย่างกลาง ศีลอย่างใหญ่.<SUP></SUP>.
    <CENTER>ศีลอย่างเล็กน้อย ( จูฬศีล) </CENTER>
    ๑. เว้นจากฆ่าสัตว์ , ลักทรัพย์, ประพฤติล่วงพรหมจรรย์.
    ๒. เว้นจากพูดปด, พูดส่อเสียด ( ยุให้แตกกัน) , พูดคำหยาบ ๆ , พูดเพ้อเจ้อ.
    ๓. เว้นจากทำลายพืชและต้นไม้.
    ๔. ฉันมื้อเดียว เว้นจากการฉันอาหารในเวลากลางคืน , เว้นการฉันในเวลาวิกาล, เว้นจากฟ้อนรำขับร้อง ประโคม และดูการเล่น, เว้นจากทัดทรง ประดับประดาร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวต่าง ๆ , เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่มีภายในใส่นุ่นหรือสำลี, เว้นจากการรับทองและเงิน.
    ๕. เว้นจากการรับข้าวเปลือกดิบ, เนื้อดิบ, เว้นจากการรับหญิง หรือหญิงรุ่นสาว, เว้นจากการรับทาสี ทาสา, เว้นจากการรับแพะ, แกะ, ไก่, สุกร, ช้าง, โค, ม้า, ลา, เว้นจากการรับนา, สวน.
    ๖. เว้นจากการชักสื่อ, การค้าขาย, การโกงด้วยตาชั่ง ด้วยเงินเหรียญ ( สำริด) และด้วยการนับ ( ชั่ง, ตวง, วัด,) . เว้นจากการใช้วิธีโกงด้วยให้สินบน หลอกลวงและปลอมแปลง, เว้นจากการตัด ( มือ , เท้า ) การฆ่า การมัด การซุ่มชิงทรัพย์ ( ในทาง ) การปล้น การจู่โจมทำร้าย.

    <CENTER>ศีลอย่างกลาง ( มัชฌิมศีล ) </CENTER>
    ๑. เว้นจากการทำลายพืช ๒. เว้นจากการสะสมอาหารและผ้า เป็นต้น
    ๓. เว้นจากการเล่นหลากชนิด เช่น ฟ้อนรำ เป็นต้น
    ๔. เว้นจากการพนันต่างชนิด ๕. เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
    ๖. เว้นจากการประดับประดาตกแต่งร่างกาย
    ๗. เว้นจากการติรัจฉานกถา ( พูดเรื่องไร้ประโยชน์หรือที่ขัดกับสมณเพศ)
    ๘. เว้นจากการพูดแข่งดีหรือข่มขู่กัน ๙. เว้นจากการชักสื่อ
    ๑๐. เว้นจากการพูกปด, การพูดประจบ , การพูดอ้อมค้อม ( เพื่อหวังลาภ), การพูดกด, การพูดเอาลาภแลกลาภ ( หวังของมากด้วยของน้อย). ( ในแต่ละข้อนี้มีการแจกรายละเอียดออกไปมาก).

    <CENTER>ศีลอย่างใหญ่ ( มหาศีล) </CENTER>
    ๑. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายนิมิต , ทายฝัน, ทายหนูกัดผ้า เป็นต้น.
    ๒. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ดูลักษณะแก้วมณี , ลักษณะไม้ถือ, ลักษณะผ้า , ลักษณะศัสตรา เป็นต้น.
    ๓. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายทักเกี่ยวกับพระราชา ด้วยพิจารณาดาวฤกษ์
    ๔. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายจันทรุปราคา สุริยปราคา เป็นต้น.
    ๕. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายฝนชุก ฝนแล้ง เป็นต้น.
    ๖. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น การบน , การแก้บน , การประกอบยา เป็นต้น.
    ( ในที่นี้มีคำว่า ติรัจฉานวิชา อย่างพิสดาร ฝรั่งใช้คำว่า low arts เมื่อพิสจารณาตามศัพท์ “ ติรัจฉาน” ซึ่งแปลว่า “ ไปขวาง” ก็หมายความว่า วิชาเหล่านี้ขวาง หรือไม่เข้ากับความเป็นสมณะ มิได้หมายความว่าเป็นวิชาของสัตว์ดิรัจฉาน เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป. วิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวจึงจัดเป็นติรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวาง หรือขัดกับความเป็นพระ . ส่วนสัตว์ดิรัจฉานที่มีชื่ออย่างนั้น เพราะเพ่งกิริยาที่ไม่ตั้งตัวตรง เดินไปอย่างคน แต่เอาตัวลง เอาศีรษะไปก่อน เมื่อไม่ได้ไปตรง ก็ชื่อว่าไปขวาง).

    <CENTER>ทิฏฐิ ๖๒ ประการ </CENTER>
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงความคิดเห็น ๖๒ ประการของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น คือพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องตั้นของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร ( ปุพพันตกัปปิกะ) ๑๘ ประเภท กับพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องต้นสิ่งต่าง ๆ ว่าจะลงสุดท้ายอย่างไร ( อปรัตกัปปิกะ) ๔๔ ประเภท ( รวมเป็น ๖๒ ) ดังต่อไปนี้:-
    <CENTER>ความเห็นปรารภเบื้องต้น ๑๘ </CENTER>
    ทิฏฐิหรือความเห็นประเภทนี้ ( ปุพพันตกัปปิกะ) ที่มี ๑๘ นั้น แบ่งออกเป็น ๕ หมวด คือหมวดที่เห็นว่าเที่ยง ( สัสสตวาทะ) ๔, เห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ( เอกัจจสัสสติกะ เอกัจจอสัสสติกะ) ๔, เห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ( อันตานันติกะ) ๔, พูดซัดส่ายไม่ตายตัวเหมือนปลาไหล ( อมราวิกเขปิกะ) ๔, เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ ( อธิจจสมุปปันนะ) ๒ รวมเป็น ๑๘ ดังรายละเอียด คือ :-

    (๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง ( สัสสตวาทะ) ๔
    ๑. เห็นว่าตัวตน ( อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ.
    ๒. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกได้เป็นกัปป์ ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึง ๑๐ กัปป์.
    ๓. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ๆ ตั้งแต่ ๑๐ กัปป์ถึง ๔๐ กัปป์.
    ๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกเที่ยง.

    (๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ( เอกัจจสัสสติกะ เอกัจจอสัสสติกะ) ๔
    ๑. เห็นว่าพระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง.
    ๒. เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน ( ขิฑฑาปโทสิกา) ไม่เที่ยง.
    ๓. เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น ( มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง.
    ๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง.

    (๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ( อัตตานันติกะ) ๔
    ๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด. ๒. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด.
    ๓. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับตัวล่าง ส่วนด้านกว้างหรือด้านขวางไม่มีที่สุด.
    ๔. นักเดา เดาตามความคาดคิดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่.

    (๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล ( อมราวิกเขปิกะ) ๔
    ๑. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่, อย่างนั้นก็ไม่ใช่ , อย่างอื่นก็ไม่ใช่ , มิใช่ ( อะไร) ก็ไม่ใช่.
    ๒. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑.
    ๓. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ .
    ๔. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย.

    (๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ ( อธิจจสมุปปันนะ ) ๒
    ๑. เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์.
    ๒. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ.
    <CENTER>ความเห็นปรารภเบื้องปลาย ๔๔ </CENTER>
    ทิฏฐ หรือความเห็นปรารภเบื้องปลาย ( อปรันตกัปปิกะ) ที่มี ๔๔ นั้น แบ่งออกเป็น ๕ หมวด หมวดที่เห็นว่ามีสัญญาความจำได้หมายรู้ (สัญญีวาทะ) ๑๖ , หมวดที่เห็นว่าไม่มีสัญญา ( อสัญญีวาทะ) ๘, หมวดที่เห็นว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ( นวสัญญีนาสัญญีวาทะ) ๘. หมวดที่เห็นว่าขาดสูญ ( อุจเฉทวาทะ) ๗, หมวดที่เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ( ทิฏฐิธัมมนิพพานวาทะ) ๕ รวมเป็น ๔๔ ดังรายละเอียด คือ :-

    (๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา ( สัญญีวาทะ) ๑๖
    ๑. ตนมีรูป ๒. ตนไม่มีรูป
    ๓. ตนทั้งมีรูป ทั้งไม่มีรูป ๔. ตนมีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่
    ๕. ตนมีที่สุด ๖. ตนไม่มีที่สุด
    ๗. ตนทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด ๘. ตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
    ๙. ตนมีสัญญา ( ความจำได้หมายรู้) เป็นอันเดียวกัน
    ๑๐. ตนมีสัญญาต่างกัน ๑๑. ตนมีสัญญาเล็กน้อย
    ๑๒. ตนมีสัญญาหาประมาณมิได้ ๑๓. ตนมีสุขโดยส่วนเดียว
    ๑๔. ตนมีทุกข์โดวยส่วนเดียว ๑๕. ตนมีทั้งสุขทั้งทุกข์
    ๑๖. ตนไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    ตนทั้งสิบหกประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น.

    (๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา ( อสัญญีวาทะ) ๘
    เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ ข้างต้น คือตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งแปดประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้.

    (๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ( เนวสัญญีวาทะ) ๘
    เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ ข้างต้น คือตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งแปดประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    ทั้งสามหมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้วจเป็นอย่างไร.

    (๔) หมวดเห็นว่าขาดสูญ ( อุจเฉทวาทะ) ๗
    ๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์ ๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
    ๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากไป ๔. ตนที่เป็นอากาสนัญจายตนะ <SUP></SUP>.
    ๕. ตนที่เป็นวิญญาณัญจายตนะ ๖. ตนที่เป็นอากิจจัญญายตนะ
    ๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ทั้งเจ็ดประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้ว ก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก.

    (๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ( ทิฏฐิธัมมนิพพาน) ๕
    ๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน. ๒, ๓, ๔, ๕ เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน.
    <CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]สรูป [/COLOR]</CENTER>
    ในที่สุดได้ตรัสสรูปว่า สมณพราหมณ์ทุกพวกที่ทิฏฐิความเห็นความเห็นต่าง ๆ รวม ๖๒ ประการเหล่านี้ ย่อมได้เสวยอารมณ์ เพราะอาศัยอายตนะสำหรับถูกต้อง ๖ อย่าง ( คือตา, หู , จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ,), เพราะเหตุที่เสวยอารมณ์จึงเกิดตัณหาความทะยานอยาก, เพราะเหตุที่มีความทะยานอยาก จึงมีความยึดมั่นถือมั่น, เพราะเหตุที่มีความยึดมั่นถือมั่น จึงมีภพ คือความมีความเป็น, เพราะเหตุที่มีความมีความเป็น ( ภพ) จึงมีชาติ คือความเกิด , เพราะเหตุที่มีความเกิด จึงมีความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมติดอยู่ในข่ายแห่งความเห็นทั้งหกสิบสองนี้เหมือนปลาติดข่ายฉะนั้น. ส่วนตถาคตเป็นผู้ถอนตัญหาอันจะนำให้เวียนอยู่ในภพได้แล้ว กายยังดำรงอยู่ตราบใด ก็มีผู้แลเห็นเมื่อกายทำลายไปแล้ว ก็ไม่มีผู้แลเห็น.

    จากhttp://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/1.html
     
  12. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ในวรรคหนึ่ง พรหมชาลสูตร เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
    Posted by บุญนำพา , ผู้อ่าน : 63 , 22:54:11 น. | หมวดหมู่ : พระไตรปิฏก
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม
    ติพระสงฆ์ ก็ตามเธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
    หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้นอันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
    ดูกรภิกษุทั้งหลายคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
    หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูกหรือคำที่เขาพูดผิดได้
    ละหรือ?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม
    ติพระสงฆ์ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า
    นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้น
    จะหาไม่ได้ในเราทั้งหลายดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม
    ชมพระสงฆ์เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้นอันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
    เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลายคนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ
    ชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริงเธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริง
    แม้เพราะเหตุนี้นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ใน
    เราทั้งหลาย.


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากhttp://www.oknation.net/blog/ngern42/2008/05/14/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008
  13. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  14. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เจริญพร.. โอ๊ะ ลืมไป นี่คือตัวตนที่แท้จริงครับ อิอิ ล้อเล่น แค่เป็นบางอารมณ์;22
     
  15. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    วันนี้เกี่ยวกับพรหมชาลสูตร ขออีกหนึ่งดอกนะจ๊ะ แล้วเวลาว่างๆ ไร้ผู้คน(ตอนเขาทำงานกันมากๆน่ะ ผมว่าง) ค่อยหามาแปะไว้อีก




    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>
    ในข้อนั้น พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ


    ๑. ธาตุกำเริบ ๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์ ๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์ ๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา ๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ ๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร ๗. ทรงปลงอายุสังขาร ๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    วินิจฉัยเหตุแม้เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลีที่มาในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ปัจจัย ๘เหล่านี้แล ที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดังนี้ทีเดียว. ก็แผ่นดินใหญ่นี้ ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ
    ๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ ๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน ๓. คราวรับผ้าบังสุกุล ๔. คราวซักผ้าบังสุกุล ๕. คราวแสดงกาลามสูตร ๖. คราวแสดงโคตมกสูตร ๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก ๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้
    ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และคราวเสด็จเข้า

    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>หน้าที่ 285 [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</p><table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> ในข้อนั้น พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ

    ๑. ธาตุกำเริบ ๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์ ๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์ ๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา ๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ ๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร ๗. ทรงปลงอายุสังขาร ๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน วินิจฉัยเหตุแม้เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลีที่มาในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ปัจจัย ๘เหล่านี้แล ที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดังนี้ทีเดียว. ก็แผ่นดินใหญ่นี้ ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ ๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ ๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน ๓. คราวรับผ้าบังสุกุล ๔. คราวซักผ้าบังสุกุล ๕. คราวแสดงกาลามสูตร ๖. คราวแสดงโคตมกสูตร ๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก ๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และคราวเสด็จเข้า[คำวิจารณ์][โหวต] [​IMG]</td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​


    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    สู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกำลังแห่งพระวิริยะ คราวรับผ้า บังสุกุล แผ่นดินถูกกำลังความอัศจรรย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีปสองพันเป็นบริวาร ออกผนวชไปสู่ป่าช้าถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก ดังนี้ ได้ไหวแล้วคราวซักผ้าบังสุกุล และคราวแสดงเวสสันดรชาดก แผ่นดินได้ไหวด้วยความไหวมิใช่กาล คราวแสดงกาลามสูตร และคราวแสดงโคตมกสูตรแผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอเป็นสักขี แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมือทรงแสดงสะสางคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ ประการอยู่ พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอำนาจถวายสาธุการ. อนึ่ง มิใช่แต่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่แผ่นดินไหว ที่จริงแผ่นดินไหวแล้ว แม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง แม้ในวันที่พระมหินทเถระมาสู่ทวีปนี้ นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อพระบิณฑปาติยเถระกวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระเจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้เวลาจบพระสูตร แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. มีสถานที่ชื่ออัมพลัฏฐิกะอยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายนั่งในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุดเหมือนกัน ดังนี้แล.
    ด้วยอานุภาพแห่งพระสูตรอันประเสริฐใด ที่พระ สยัมภูได้ทรงแสดงแล้ว แผ่นดินได้ไหวหลายครั้ง

    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>หน้าที่ 286


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</p><table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td>สู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกำลังแห่งพระวิริยะ คราวรับผ้า บังสุกุล แผ่นดินถูกกำลังความอัศจรรย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีปสองพันเป็นบริวาร ออกผนวชไปสู่ป่าช้าถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก ดังนี้ ได้ไหวแล้วคราวซักผ้าบังสุกุล และคราวแสดงเวสสันดรชาดก แผ่นดินได้ไหวด้วยความไหวมิใช่กาล คราวแสดงกาลามสูตร และคราวแสดงโคตมกสูตรแผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอเป็นสักขี แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมือทรงแสดงสะสางคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ ประการอยู่ พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอำนาจถวายสาธุการ. อนึ่ง มิใช่แต่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่แผ่นดินไหว ที่จริงแผ่นดินไหวแล้ว แม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง แม้ในวันที่พระมหินทเถระมาสู่ทวีปนี้ นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อพระบิณฑปาติยเถระกวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระเจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้เวลาจบพระสูตร แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. มีสถานที่ชื่ออัมพลัฏฐิกะอยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายนั่งในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุดเหมือนกัน ดังนี้แล. ด้วยอานุภาพแห่งพระสูตรอันประเสริฐใด ที่พระ สยัมภูได้ทรงแสดงแล้ว แผ่นดินได้ไหวหลายครั้ง[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​


    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    อย่างนี้ ขอบัณฑิตทั้งหลายจงศึกษาโดยเคารพ ซึ่ง อรรถกรรมของพระสูตรนั้น อันมีชื่อว่า พรหม- ชาลสูตรในพระศาสนานี้ แล้วปฏิบัติโดยอุบายอัน แยบคาย เทอญ. วรรณนาพรหมชาลสูตร อันดับที่ ๑ ในสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย จบแล้วด้วยประการฉะนี้.


    </PRE>




    </PRE>

    จาก http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=1100072


    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>หน้าที่ 287



    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    พอผู้คนเริ่มว่าง ผมก็ต้องขอตัวไปดูหลานของพี่สาว(ลูกของผบ.ผมเองจ้า)
    เจริญพร เอ๊ย มีความสุขกันนะครับ;aa46
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ส่วนเรื่องที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องที่ผมคิดว่า ใกล้ตัวมากๆสำหรับคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งยังคงต้องทำมาหากิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง สร้างฐานะ หาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

    ************************************************

    http://www.ncb.co.th/CreditBureau_What.htm
    เครดิตบูโรคืออะไร

    เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจข้อมูลเครดิต หรือ Credit Bureau กันนะคะ Credit Bureau นั้นมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของบุคคลจากสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต โดยเมื่อลูกค้าให้ความยินยอมให้สถาบันการเงินตรวจสอบข้อมูลการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของตนในขณะที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วนั้น สถาบันการเงินก็สามารถจะเรียกดูข้อมูลดังกล่าวจาก Credit Bureau เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ค่ะ


    รายงานข้อมูลเครดิตเก็บข้อมูลใดไว้บ้าง
    เครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมเฉพาะข้อมูลของการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิต ซึ่งข้อมูลนี้จะประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนที่บ่งชี้ตัวบุคคล เช่น ชื่อ ทีอยู่ เลขประจำตัวประชาชน และอีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิต รวมเรียกว่า "รายงานข้อมูลเครดิต" ค่ะ รายงานข้อมูลเครดิตจะมีการบันทึกและจัดเก็บวงเงินยอดหนี้คงค้าง รวมถึงประวัติการผิดนัดชำระในแต่ละสิ้นเดือนย้อนหลังไม่เกิน 36 เดือนค่ะ ด้วยเหตุนี้แล้ว การชำระสินเชื่อทุกครั้งให้ตรงเวลาจึงเป็นการรักษาเครดิตที่ดีที่สุดคุ่ะ

    ประโยชน์จากการจัดเก็บข้อมูล
    การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินนั้นมีหลักสำคัญอยู่ที่ว่า ต้องรู้จักลูกค้าให้ดีพอ ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อไม่เคยมีประวัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โอกาสที่จะได้รับสินเชื่อย่อมมีน้อยลง แต่ด้วยการเปิดเผยข้อมูลเครดิตจะทำให้สถาบันการเงินสามารถรู้จักวินัยทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อได้จากรายงานข้อมูลดังกล่าว เป็นอย่างดี ดังนั้นหากผู้ขอสินเชื่อมีประวัิติการชำระที่ดี การเปิดเผยข้อมูลเครดิตก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อด้วยนะค่ะ อย่างไรก็ดีการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินยังมีองค์ประกอบอื่นที่นำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น รายได้ และหลักประกัน ของผู้กู้ค่ะ

    ใครมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาดูรายงานข้อมูลเครดิต
    นอกจากสถาบันการเงินที่ผู้ขอสินเชื่อได้ให้ความยินยอม จะสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อได้แล้ว ผู้ขอสินเชื่อเองก็ยังมีสิทธิ์ที่จะมาขอดูรายงานข้อมูลเครดิตของตนได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่ะ โดยการยื่นคำขอได้ที่ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภค บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และบริษัทยังได้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารนครหลวงไทยทุกแห่งทั่วประเทศก็ได้ค่ะ มีค่าธรรมเนียม 200 บาท ค่ะ (ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 ค่าธรรมเนียมลดเหลือ 100 บาท) ทั้งนี้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติมีหน้าที่เก็บรักษารายงานดังกล่าวเป็นความลับ และไม่สามารถเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นใด เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้ค่ะ

    การรักษาความลับ
    นอกจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลเครดิตเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อแล้วนั้น บริษัทยังมีหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลด้วยนะคะ โดยบริษัทจะเปิดเผยรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย หรือถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยคุ่ะ ดังนั้นคุณผู้ฟังก็มั่นใจได้เลยนะคะว่า ข้อมูลเครดิตของคุณผู้ฟังจะไม่ถูกนำไปเปิดเผยในทางอื่นใดค่ะ

    การติดแบล็กลิส (Black List)
    ท่านคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ไม่ได้รับสินเชื่อเพราะติดแบล็กลิสจากเครดิตบูโรใช่ไหมค่ะ จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสผู้ขอสินเชื่อนะคะ เพราะเครดิตบูโรจะทำหน้าที่รวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินใช้ข้อมูลเครดิตเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อค่ะ เพราะการตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ให้สินเชื่อนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้นค่ะ ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ

    รายงานข้อมูลเครดิต=รายงานผลการศึกษา
    ท่านอาจเคยสงสัยว่า เหตุใดเมื่อผู้ขอสินเชื่อได้ชำระสินเชื่อที่เคยผิดนัดชำระไปเรียบร้อยแล้ว ประวัติการผิดนัดชำระยังปรากฏอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิตอีก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าข้อมูลเครดิตถูกเก็บเป็นประวัติคล้ายกับรายงานผลการศึกษาค่ะ โดยการชำระหนี้ก็เหมือนผลการเรียน ที่จะได้ดีหรือไม่ อย่างไร ก็จะบันทึกตามข้อเท็จจริง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหากต้องการแก้ไขให้มีประวัติชำระที่ดีขึ้น ก็ต้องชำระหน้าที่ค้างไว้ให้เสร็จสิ้น เพราะจะเป็นเหมือนการสอบซ่อมเพื่อให้มีผลการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีวินัยและความตั้งใจที่ดีนั่นเองค่ะ แต่ทางที่ดีที่สุด ก็คือการไปชำระหนี้ให้ครบถ้วนและตรงเวลาทุกครั้งนะคะ
     
  19. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ขอบคุณครับที่ชม ชมอย่างนี้ เดี๋ยวเป็นเหตุให้ผมศึกษาลุ่มลึก แล้วจะพาลไม่พูดเล่นกับใครแล้วนะ จะบอกให้;aa17
     
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่าตาลุงแกบอกกระทู้เหงาเหลือเกิน มาอีกแล้วครับคราวนี้ พิมพ์อารายที่ใดผมก็ไม่ทราบอ่ะครับ ลองพิจารณากันดูครับ(โชว์แป๊บเดียวนะครับพรุ่งนี้จาลบแล้ว หุ หุ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...