พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นำมาลงกันอีกรอบ

    พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    http://palungjit.org/showthread.php?p=857577#post857577

    เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2550 ผมไปถ่ายรูป(ออร่า) มา 2 รูปนะครับ

    โดยรูปแรกจะใส่พระพิมพ์
    [​IMG]



    รูปที่สองไม่ใส่รูปพระพิมพ์ (สีขาวที่หน้าผม ผมขอปิดหน้าผมเองนะครับ)
    [​IMG]

    ปี 2549 [​IMG]
    ปี 2550 [​IMG]



    .
    <!-- / message --><!-- attachments -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมมันคนรู้น้อยครับ เป็นอาใดๆไม่ได้ครับ แต่ผมรู้แล้วพระพิมพ์ที่เหมาะกับคุณตั้งใจเนี่ยต้องของพระอาจารย์โกยแน่บ!!!!ครับ 55555(ping)
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปัญญาของตน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15054&sid=ff30012665279389a5321c495f3971d3

    ผู้ตั้ง I am

    การเรียน การท่อง การจำ เป็นเพียงระดับหนึ่งของความสำคัญในการศึกษาพระพุทธศาสนา ปัญญายังไม่เกิดจากการเรียนและจำได้ท่องได้ สอนเขาต่อไปได้เท่านั้น

    อันความรู้ที่ได้จากการเรียนการท่องจำ รวมทั้งการพูดได้สอนได้เช่นนั้น
    ยังไม่ใช่ปัญญาของผู้เรียนรู้ท่องจำได้นั้น
    ยังเป็นเพียงการยกปัญญาของท่านผู้อื่นมาพูดมาสอนเท่านั้น


    แน่ๆ คือเป็นพระปัญญาของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และอาจเป็นปัญญาของพระอริยบุคคลที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่าน และจดจำไว้แสดงต่อเท่านั้น

    จะเป็นปัญญาของเราแต่ละคนก็ต้องหมายความว่า เราเรียนรู้จากการฟังการอ่านข้อเขียนของท่านผู้นั้นผู้นี้ จนเข้าถึงใจแม้พอสมควร นั่นจึงจะเป็นปัญญาของเราผู้เรียนรู้และปฏิบัติ จนเกิดความเข้าใจหรือความรู้ด้วยตนเอง

    เมื่อใดเป็นปัญญาของเรา เมื่อนั้นเราจึงจะได้ประโยชน์จากการเรียนธัมมะ
    จะพูดถึงส่วนที่เป็นปัญญาคือความรู้ของเราได้อย่างไม่ผิด
    ขอฝากให้เข้าใจเรื่องความรู้และปัญญาไว้ให้ดี
    ทำความเข้าใจให้ชัดเจนตั้งแต่บัดนี้
    จะได้ไม่รู้ธัมมะเพียงการท่องจำ ซึ่งเป็นประโยชน์น้อย
    เหมือนทำตัวเป็นหนังสือที่มีข้อเขียนสำหรับให้มีผู้เปิดอ่าน
    ให้ผู้อื่นฟังบ้างให้ตัวเองรู้เรื่องบ้างเท่านั้น
    เป็นประโยชน์สำหรับผู้ทำตัวเป็นเพียงหนังสือเท่านั้น


    จงทำปัญญาให้เกิดจะดีกว่า ปัญญานั้นเกิดแต่การเรียนรู้แล้วคิดทำความเข้าใจให้เป็นปัญญาของตน ไม่เป็นปัญญาของท่านผู้รู้จริงทั้งหลายเท่านั้นท่องจำให้เป็นหนังสือนั้นอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้มาอ่าน แต่เป็นประโยชน์แก่ตนเองน้อยมากและอาจเป็นโทษด้วยซ้ำไป

    แม้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่า
    ตนเป็นผู้รู้ธัมมะที่สำคัญที่มีรู้น้อยคน
    แล้วความทะนงใจ ยกตนข่มท่าน ข่มใครต่อใคร ก็จะตามมา
    ไม่มีคุณแก่ตนเอง ทั้งยังมีโทษอย่างมาก


    เรื่องนี้จึงสำคัญมาก ขอจงพยายามทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง
    เตือนตนเองไว้ให้สม่ำเสมอว่า
    ปัญญาเกิดแต่ต้องเรียนเป็นอันดับแรก
    แล้วจึงนำที่เรียนไว้นั้นไปคิดไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจชัดเจน
    ที่เรียกว่าเกิดเป็นปัญญานั่นเอง


    อย่างไรก็ตามขอให้พยายามคิดพูดทำอย่างมีสติ ทุกขณะจิตคิดพูดทำแต่ที่ดีงาม
    และจำไว้ให้มั่นด้วย ว่าสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทางภาษิตไว้ว่าดังนี้

    “ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย
    มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพวกนั้นเสีย”


    พูดง่ายๆ ก็คืออย่าเป็นคนพาล เพราะมีความรู้แล้วจะได้ไม่เป็นโทษร้ายแรง

    : แสงส่องใจ มาฆบูชา ๒๕๔๕
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เพลิงไหม้!! ฐานหลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9510000032585
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>17 มีนาคม 2551 19:46 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ใต้ฐานพระพุทธรูปหลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นที่เก็บของ จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ รถดับเพลิงนับ 10 คัน เร่งระดมฉีดน้ำสกัดเพลิงไม่ให้ลุกลามไหม้องค์หลวงปู่ทวด

    http://palungjit.org/showthread.php?p=1044193#post1044193

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    นโม โพธิสัตว์โต อคันติมายะ อิติภะคะวา

    ขอพระบารมีหลวงปู่ทวด ขออย่าให้ไฟไหม้ขึ้นไปโดนองค์หลวงปุ่ด้วยเทอญ

    สาธุ สาธุ สาธุ
    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. jatasig

    jatasig เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +292
    [​IMG]

    สวัสดีครับ พระปิดตาสองหน้า ได้รับเรียบร้อยแล้วนะครับ ต้องขออภัยด้วยที่ตอบกลับช้าครับ และวิธีอาราธนาพระติดตัวองค์ปิดตานี้มีอะไรบ้างครับ
    ขอบคุณครับ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องของการอาราธนา จะมี 3 วิธี(ในความเห็นของผม)
    1.ใช้การไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระโฆษาจารย์(เจริญ) ซึ่งอยู่ในหน้าแรกของกระทู้นี้(พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้ )

    หรือ

    2.ใช้บทสวดของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร คือ โลกุตตะโร ปัญจะมหาเถโร อะหัง วันทามิ ตังสะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    หรือ

    3.ใช้บทสวดของหลวงปู่พระสิวลีเถระเจ้า ,หลวงปู่พระอนุรุทเถระเจ้า ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(ตามข้อ 2) ซึ่งบทสวดหลวงปู่พระสิวลีเถระเจ้า ,หลวงปู่พระอนุรุทเถระเจ้าและหลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า น่าจะหาได้จากเว็บนี้ได้ครับ
    บทสวดมนต์ - พระคาถา
    รวมบทสวดมนต์และคาถา,
    http://palungjit.org/forumdisplay.php?f=125

    ได้ทั้ง 3 วิธีครับ

    โมทนาบุญครับ

    .
     
  7. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555สมาชิกอีกท่านชื่อ กุ๊กๆกู๋...ครับ บรื่อๆๆๆ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ aries2947 [​IMG]
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 11 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 9 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>aries2947


    ช่วยด้วยครับ สมาชิก 2 คนแล้วอีกคนใครนะ???????????
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    น่าจะเป็นทีมงานหรือเป็นสมาชิกที่ไม่เปิดเผยตัวครับ

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE class=tborder id=threadslist cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY id=threadbits_forum_15><TR><TD class=alt1 id=td_threadtitle_22445 title="พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ถ้าต้องการที่จะได้......................<O:p</O:p<O:p</O:pพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... (8 คน กำลังดูอยู่) ([​IMG] 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ... หน้าสุดท้าย)
    [​IMG] sithiphong
    </TD><TD class=alt2 title="จำนวนตอบ: 15,756, จำนวนอ่าน: 328,686">วันนี้ 08:30 AM
    โดย sithiphong [​IMG]

    </TD><TD class=alt1 align=middle>15,756</TD><TD class=alt2 align=middle>328,686</TD></TR></TBODY></TABLE>


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ไม่อาว ไม่เอาครับ องค์ สององค์ ขอเส้นที่อาชามห้อยคออยู่ละกัน พอได้แล้วก็จะโกยแน่บเลย
    (deejai)
     
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555ถ้างั้นต้องเช็คกับท่านปา-ทานก่อนงานไหนมีคุณตั้งใจไปต้องหลบครับ:'(
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.pramot.com/stuweb/m4_249/dee/i_history.htm

    [​IMG]การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร[​IMG]
    ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราว
    [​IMG]การนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราช
    ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากล
    [​IMG]การนับเวลาแบบไทย
    ในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้

    1.พุทธศักราช(พ.ศ.)
    เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนา โโยเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่1 ทั้งนี้ประเทศไทยจะนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็ฯที่แพร่หลายและระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455

    2. มหาศักราช(ม.ศ.) การนับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่งพ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยในสมัยโบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าปีมหาศักราชที่1 จะตรงกับปีพุทธศักราช 621

    3.จุลศักราช ( จ.ศ.)
    จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181โดยไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลานี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตานาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5 ) จึงเลิกใช

    4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) การนับเวลาแบบนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)ทรงตั้งขึ้น
    ในปีพุทธศักราช2432
    โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่1 เมษายน ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา
    [​IMG]
    การนับเวลาแบบสากล

    1. คริสต์ศักราช (ค.ศ. )
    เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูต(ตรงกับ พ.ศ.543)และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสต์กาล

    2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยอาศัยปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดินา เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 622

    อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้
    [​IMG]ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000
    [​IMG]ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้สยด้วย00 เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600
    [​IMG]สหัสวรรษ (millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

    หลักเกณฑ์การเรียบเทียบศักราชในระบบต่างๆ
    การนับศักราชที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณณ์ สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง ซึ่งการเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง ของอายุศักราชแต่ศักราชมาบวกหรือลบกับศักราชที่เราต้องการตามหลักเกณฑ์ดังนี้

    <TABLE borderColor=#ff5f55 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center bgColor=#ffccff border=3><TBODY><TR bgColor=#ffbfff><TH class=style70 scope=row width=235>ม.ศ.+621=พ.ศ.

    </TH><TD width=245>พ.ศ.-621=ม.ศ.</TD></TR><TR bgColor=#ffbfff><TH class=style72 scope=row>
    จ.ศ.+1181=พ.ศ.


    </TH><TD>พ.ศ.-1181=จ.ศ.</TD></TR><TR bgColor=#ffbfff><TH class=style74 scope=row>
    ร.ศ.+2325=พ.ศ.


    </TH><TD>พ.ศ.-2325=ร.ศ.</TD></TR><TR bgColor=#ffbfff><TH class=style76 scope=row>
    ค.ศ.+543=พ.ศ.


    </TH><TD>พ.ศ.-543=ค.ศ.</TD></TR><TR bgColor=#ffbfff><TH class=style78 scope=row>
    ฮ.ศ.+621=ค.ศ


    </TH><TD>ค.ศ.-621=ฮ.ศ.</TD></TR><TR bgColor=#ffbfff><TH class=style80 scope=row>
    ฮ.ศ.+1164=พ.ศ.


    </TH><TD>พ.ศ.-1164=ฮ.ศ.</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG]
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    พระจอมเกล้า ๒๐๐ ปี

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และเป็นพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166

    พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เต็มตามพระอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า คือ ตั้งเขาไกรลาสและที่สรงสนาน

    พ.ศ. 2360 ตรงกับปีฉลู ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

    พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 90) พอทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตและไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดี จึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณว่า ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้นว่าตามนิตินัยสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมควรได้รับราชสมบัติเพราะเป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี โดยทั่วไปถือกันว่าทรงเป็นรัชทายาท แต่การสืบราชสันตติวงศ์นี้ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้แน่นอน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการชั้นสูง จะเลือกพระราชาองค์ใหม่ โดยทั่วไปจะเลือกสมเด็จพระราชโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำดังนี้เสมอไป (กริสโวลด์ 2511 : 5) การสืบราชสมบัติของไทยนี้ ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอนถึงคุณสมบัติของผู้เป็นรัชทายาท ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า ตามข้อความข้างบนนี้ เจ้านายทุกพระองค์ก็มีสิทธิที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้งสิ้น ถ้าหากทรงมีคุณสมบัติและความสามารถ และที่สำคัญคือมีกำลังเหนือกว่าเจ้านายองค์อื่นๆ (สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชา นุภาพ 2504 : 33-34 อ้างถึงใน นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 9-10)

    ในเวลานั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เจริญพระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง 17 ปี ทรงเปี่ยมด้วยประสบการณ์และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงบังคับบัญชาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 2 ผู้คนยำเกรงนับถือเป็นอันมาก ที่ประชุมราชวงศ์และเสนาบดี เห็นว่าควรถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ว่าทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชต่อไป สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง จึงตรัสตอบว่ามีพระประสงค์จะทรงผนวชต่อไป ทำให้สิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 62-63)

    เมื่อจะต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด ทรงพระราชดำริว่าฐานะของพระองค์ไม่ควรจะเกี่ยวข้องกับการเมือง จึงทรงตั้งพระหฤทัยจำนงเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ ในระยะแรกทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัด ราชาธิวาส) ต่อมาเสด็จไปประทับที่วัดมหาธาตุ ทรงศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) เพื่อเรียนทางด้านคันถธุระทรงรอบรู้ในภาษามคธสามารถอ่านพระไตรปิฎกโดยลำพังพระองค์เอง จนทราบเนื้อความ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ไทยประพฤติผิดไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่ามีพระเถรมอญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย มาอยู่ที่วัดบวรมงคลได้เป็นพระสุเมธมุนี ชำนาญพระวินัยปิฎก พระองค์จึงเสด็จไปศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย พ.ศ. 2372 พระองค์เสด็จไปประทับที่วัดราชาธิวาส ทรงตรวจสอบพระวินัยที่มีอยู่กับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท ต่อมาทรงตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย แก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยให้สมบูรณ์ทั้งพระธรรมและพระวินัย ทรงพระนิพนธ์แบบทำวัตรเช้าเย็นเป็นภาษาบาลีและวางระเบียบทำวัตร ทรงแสดงพระธรรมเทศนามุ่งผลให้คนทั้งหลายรู้หลักของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามได้จริง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา หลังจากที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณ ในการแสดงพระธรรมเป็นที่เลื่องลือแพร่หลาย มีพระภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์ บรรดาคฤหัสถ์เลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ณ วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2379 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษา และทรงผนวชได้ 12 พรรษา พระองค์ทรงจัดระเบียบการคณะสงฆ์ การปกครองวัด การอบรมฆราวาสที่เข้าวัด ระเบียบสำคัญทั้งหลายดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติกันสืบมาถึงปัจจุบัน ทรงปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารสอบได้เปรียญประโยคสูง ๆ เป็นจำนวนมาก

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ มีตำแหน่งในคณะมหาเถระ ผู้สอบปริยัติธรรมในสนามหลวง ต่อมาได้ทรงมอบการสอบพระปริยัติธรรมเป็นสิทธิ์ขาดแก่พระองค์ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในทางวัตรปฏิบัติ และความรู้ของพระสงฆ์คณะธรรมยุต ไม่โปรดอยู่อย่างเดียว คือการห่มผ้าแหวกอย่างพระมอญ จนใกล้จะสวรรคตจึงได้มีรับสั่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงยอมแก้ไขตามพระราชประสงค์ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนทางด้านศาสนาของสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เป็นอย่างดี และมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ใฝ่พระหฤทัยศึกษาพระศาสนานั้นเป็นความดี อันสมควรจะทรงอุดหนุน จะได้เป็นกำลังช่วยทำนุบำรุงทางฝ่ายพุทธจักร และเป็นเกียรติแก่พระราชวงศ์ (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 71) และสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ทรงกล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...ได้กระทำแล้วซึ่งความสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายแม้ทั้งปวงโดยชอบเทียว เป็นผู้เป็นไปกับด้วยความเคารพ กระทำราชกิจทั้งหลายให้เป็นไปทั่วแล้วโดยชอบเทียว เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลาย มีพระศรัทธาและพระญาณ เป็นต้น เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนาให้กระทำแล้วซึ่งวิหารทั้งหลายเป็นอันมาก ประณีตดีแล้ว เป็นที่รื่นรมย์ใจเป็นผู้มีพระคุณอันบุคคลพึงสรรเสริญ ด้วยพระคุณตามเหตุที่ได้เป็นแล้ว" (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2457 : 17 อ้างถึงในวิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 14)

    ระหว่างที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการนำทางไปสู่การศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆ ต่อไป ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกโดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทรงติดต่อกับชาวต่างประเทศเพื่อจะได้ทรงทราบเรื่องราวของต่างประเทศมากขึ้น ทรงศึกษาหนังสือข่าวที่ฝรั่งพิมพ์ในเมืองจีน และสิงคโปร์ ปีนัง (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 101) ทรงให้เหตุผลในการศึกษาภาษาฝรั่ง ดังอ้างถึงในแนวพระราชดำริเก้ารัชกาล (2527 : 71) ว่า "... แต่แผ่นดินต่อมา พวกฯ ข้าฯ ยังไม่ได้เป็นใหญ่ในราชการแผ่นดิน แต่เห็นว่าท่านผู้ครองแผ่นดินครั้งนั้น คิดการเป็น โบราณ ๆ ป่า ๆ นัก พูดเจรจากันไม่เจ กลัวว่า ทำไป ๆ กลัวจะล้มคว่ำ ล้มหงายลง แลเห็นว่าอายุตัวยังหนุ่มอยู่ จะอยู่ไปได้นาน จึงคิดอ่านร่ำเรียนหนังสือและภาสาอังกฤษรู้มา แต่ก่อนยังไม่ได้ว่าราชการแผ่นดิน เพราะไว้ใจว่าภาสาที่รู้จะเป็นที่พึ่งคุ้มแต่ตัวเองได้อย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่าอย่างไรต่ออย่างไร จะอยู่ที่นี่ฤาจะนำไปข้างไหน ภาสากว้างดีกว่าภาสาแคบ..." การศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางทางวิทยาการและความเป็นไปของโลกภายนอก ทำให้พระองค์ทรงมีความคิดเห็นก้าวหน้า และทรงเล็งเห็นความจำเป็นสองประการ คือ

    1. วิทยาการความเจริญตามแบบประเทศตะวันตกเป็นสิ่งที่ควรสนใจ มีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศในอนาคต ชาวไทยจะต้องศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ เหล่านี้

    2. สถานการณ์ของประเทศใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับคนต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิเทโศบายของประเทศ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประเทศและเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 13)

    ผลดีจากการที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชนานถึง 27 ปี เมื่อทรงอยู่ในฐานะของพระสงฆ์ทรงได้รับประโยชน์ต่างจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งทรงใช้ชีวิตจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพระราชวัง พระองค์เสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทรงเห็นสภาพบ้านเมือง รู้จักความเป็นอยู่ของชาวเมือง รับรู้ความทุกข์ ความสุขของราษฎร การเสด็จออกบิณฑบาต การแสดงพระธรรมเทศนาเยี่ยงพระสงฆ์ทั่วไป เปิดโอกาสให้พบปะกับราษฎรทุกชนชั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์อย่างดีสำหรับการปกครองประเทศในเวลาต่อมา (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 15)

    ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาลเสนาบดีไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ กราบทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงศึกษาโหราศาสตร์ ทรงเชื่อตำราพยากรณ์ ตรัสว่า ถ้าจะถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย เพราะสมเด็จพระอนุชาดวงชะตาดีวิเศษถึงฐานะที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ความที่กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระมหาอุปราชให้ทรงศักดิ์พิเศษเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 112-113)

    การเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น นอกจากที่พระองค์ทรงมีสิทธิธรรมของการเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ดำรงพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า และทรงเจริญวัยวุฒิ ถึง 47 พรรษา ยังมีเหตุผลอื่นประกอบอีกที่ทำให้ทรงได้รับการยินยอมและการสนับสนุนจากเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลาที่ทรงผนวช ทรงสร้างสมบารมีในฐานะผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์
    ธรรมยุติกนิกาย ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแตกฉาน และเคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ ทรงมีคุณธรรมของความเป็น "ธรรมราชา" ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเป็นผู้ปกครองที่ดี ทรงมีพระเกียรติคุณแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ทรงสนพระทัยศึกษาสถานการณ์ทางการเมืองของโลกภายนอกตลอดเวลา ทรงรอบรู้ในภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตกไม่น้อยกว่าเจ้านาย และขุนนางที่จัดว่าเป็น "กลุ่มก้าวหน้า" ทรงคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาคนไทยที่มีความคิดเห็นก้าวหน้าทันสมัย

    ในด้านพระราชอัธยาศัย ของสมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงนิยมวิธีการประนีประนอมในการแก้ปัญหา มีน้ำพระทัยเมตตา ทรงรักความยุติธรรม มิได้ทรงมีจิตคิดพยาบาทมาดร้าย แม้แต่กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นศัตรู ทรงหลีกเลี่ยงที่จะมีข้อขัดแย้งรุนแรงกับฝ่ายใด และทรงพร้อมที่จะเป็นมิตรกับชนทุกชั้นทุกชาติสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงสามารถผสมผสานลักษณะที่ขัดแย้งกันของผู้ปกครองที่ยึดมั่นในคุณธรรมดั้งเดิมตามแบบประเพณีตะวันออก และผู้ที่นิยมความคิดก้าวหน้าแบบตะวันตกได้อย่างกลมกลืน จนเป็นที่ยอมรับว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะนั้น คงจะเป็นด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงอัญเชิญให้ พระองค์ลาผนวชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 22)
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    ครั้นถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งประกอบด้วย เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 128) จึงเชิญเสด็จสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ จากวัดบวรนิเวศวิหาร แห่เสด็จโดยกระบวนเรือมาขึ้นที่ท่าตำหนักแพ (ซึ่งขนานนามใหม่ในรัชกาลที่ 4 ว่า ท่าราชวรดิษฐ์) รับเสด็จทรงพระราชยานแห่เข้าพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระมหามณเฑียร ถวายน้ำสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช จากนั้นเสด็จประทับที่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายและเสนาบดีเข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จผ่านพิภพ จึงทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2394 เวลา 1 นาฬิกา นับเวลาทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงลาผนวชแล้วได้ประทับว่าราชการอยู่ ณ พลับพลา ระหว่างโรงแสงดั่นจนถึงฤกษ์ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียร (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 114-115) ซึ่งประกอบขึ้นในวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ณ พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย แล้วเสด็จออกเลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารค เมื่อวันที่ 20 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัฏว่า
    "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อุกฤษฐวิบูล บูรพาดูลกฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษฏิ์ ธัญญลักษณะวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุ มาลยมหาบุรุษรัตน์ ศึกษาพิพัฒสรรพโกศล สุวิสุทธวิมลศุภศีลสมาจาร เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบูลสันดาน ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศลวิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณคุณสารสยามาธิโลกดิลก มหาบริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร มหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณะมหาบรมราชา ภิเษกาภิสิตสรรพทศทิศวิชัตชัย สกล มไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวสัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปไมยบุญญการ สกลไพศาลมหารัษฎา ธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิก มหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยา

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดเกล้าให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระอนุชา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2394

    การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน ที่สอง"
    เป็นที่พึงพอใจและชื่นชมยินดีอย่างมากของพสกนิกรในแผ่นดินและชาวต่างประเทศซึ่งได้ส่งข่าวไปยังสิงค์โปร์ว่าการเปลี่ยนรัชกาล ในวันที่ 2 เมษายน เป็นไปด้วยความสงบ เจ้านาย ขุนนาง ประชาชนไทยพอใจในพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ หนังสือพิมพ์ "สแตรทส์ ไทม์" (Straits Times) ที่สิงค์โปร์ลงข่าว "... เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความหวังอันยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวสยามและเป็นที่น่าสนใจ แต่ประชาชาติภายนอก..." (William Bradley 1967 : 152 อ้างถึงในวิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 28-29)

    เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะกล่าวถึงสภาพทั่วไปทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้นโดยสังเขป คือ

    สภาพการเมือง ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้

    1. การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดจากการสนับสนุนของกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค เป็นกลุ่มขุนนางที่มีอำนาจมากในยุคนั้น ได้ทรงตอบแทนขุนนางตระกูลนี้ด้วยตำแหน่งกลาโหมและการคลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่มีอำนาจและสำคัญต่อประเทศ และสำหรับพระราชวงศ์ได้ทรงบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชอนุชาของพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระราชอำนาจที่แท้จริงยังมิได้อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์

    2. จักรวรรดินิยมและชนชาวตะวันตกในประเทศไทย เป็นกลุ่มสนับสนุนในการเลือกสรรพระมหากษัตริย์ เห็นได้จากกรณีที่ชาวตะวันตกสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงขึ้นครองราชย์

    3. ภัยของจักรวรรดินิยม ซึ่งแย่งชิงและครอบครองแผ่นดินประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดประเทศไทย และพยายามที่จะรุกรานอธิปไตยของประเทศไทย

    4. ในช่วงผลัดแผ่นดิน จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศอังกฤษนำโดย เซอร์ เจมส์ บรุค (Sir James Brooke) พยายามที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ ซึ่งลงนามต่อกันไว้เมื่อรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อต้องการ
    - เรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับของอังกฤษ
    - เรียกร้องให้ประเทศไทยเปิดการค้าเสรี ยกเลิกสัมปทานและระบบผูกขาดใดๆ ทั้งสิ้น
    - ชักชวนให้รัฐบาลไทยอนุญาตส่งข้าวเป็นสินค้าออก โดยไม่เป็นสินค้าต้องห้ามอีกต่อไป
    สถานการณ์เช่นนี้ จะมีผลให้เกิดภัยต่อประเทศหรือไม่ ย่อมขึ้นกับการดำเนินพระวิเทโศบายของพระมหากษัตริย์องค์พระประมุขของประเทศ
    สภาพเศรษฐกิจ

    ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าทรัพยากรเหล่านั้นรัฐบาลจะต้อง อาศัยแรงงานไพร่ในการจัดหาและผลิตขึ้น และมีปริมาณไม่มากนักในแต่ละปีราษฎรส่วนใหญ่ไม่รู้จักการค้าขาย เมื่อชาติมหาอำนาจตะวันตกเข้ามา และยื่นข้อเสนอในเรื่องการค้ากับไทย รัฐบาลไทยจึงไม่สามารถเป็นผู้กำหนดและวางนโยบายในการผลิตเองได้ นอกจากจะมีบทบาทในการสนองตอบความต้องการของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น ผลก็คือ
    1. ด้านการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เพราะแต่เดิมนั้นไทยมีระบบการค้าแบบ ผูกขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวซึ่งเป็นสินค้าต้องห้าม ห้ามการนำออกนอกประเทศเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ทำให้มีการผลิตข้าวเพื่อส่งออกแทนการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้แต่ภายในประเทศ มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น และนอกจากนี้ยังเลิกปลูกพืชผลเกษตรอย่างอื่น เช่น อ้อยซึ่งเคยเป็นพืชเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ มาปลูกข้าวกันมากขึ้น
    2. ด้านการค้า มีการเปลี่ยนแปลงการค้า มาเป็นการค้าเสรี และอาศัยระบบเงินตรา ดังจะเห็นกฎหมายตลอดจนประกาศทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเงินตราหลายฉบับในรัชกาลนี้

    สภาพสังคม
    รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเพื่อความทันสมัย จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลสืบเนื่องที่ต้องการเน้นให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมประเทศหนึ่ง และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 47-49)
    พระราชกรณียกิจ พระราชดำริ พระราชดำรัส ที่คัดลอกมานำเสนอในที่นี้ จะทำให้มองเห็นบทบาทของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขเหตุการณ์ภายนอกประเทศและภายในประเทศด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพอย่างลึกซึ้ง
    หมายเหตุ อักขระและตัวอักษรในพระราชดำรัส พระราชดำริ และพระราชกำหนดต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ได้คัดลอกมาตามที่ใช้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ยาทนั้นเมืองไทยดูเป็นเข้าใจน้อยเต็มที แม้เป็นในกฎมณเฑียรบาลก็มิได้กล่าวแย้มพรายไว้ที่ไหนเลย คงมีแต่พระราชปณิธาน ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระเจ้าแผ่นดินคนทั้งปวงยกย่องตั้งไว้เป็นที่พึ่ง ใครมีทุกข์ร้อนถ้อยความประการใด ก็ย่อมมาร้องให้ช่วย ดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแล้วก็มาร้องหาบิดา มารดา เพราะฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่าคนทั้งปวงยกย่องให้เป็นบิดา มารดาของตัวแล้วก็ มีความกรุณาแก่คนทั้งปวง ดังหนึ่งบิดา มารดา กรุณาแก่ผู้บุตรจริงๆ โดยสุจริต...
    คัดจากหนังสือ แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล
    ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ พ.ศ. 2527
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    หลักนิยมอยู่แน่นอนแต่เพียงว่า ผู้สืบราชสมบัติจะต้องเป็นเจ้าเท่านั้นจึงเกิดการชิงราชสมบัติขึ้นเนือง ๆ ใครมีอำนา
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักว่า ประเทศไทยต้องยกเลิกการแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวเช่นที่เคยทำมา ต้องยอมทำการค้ากับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่ ๆ แก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีอันล้าสมัย ประมุขของประเทศไทยในภายภาคหน้าจำต้องศึกษาถึงความละเอียดอ่อน ตามความคิดเห็นทางวิทยาการทูต และการปกครองบ้านเมืองแบบตะวันตก ทรงตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ต้องทำไปอย่างรวดเร็ว สิ่งใดที่ชาติตะวันตกทำมาเป็นเวลาร้อยๆ ปี ประเทศไทยต้องทำให้ได้ในระยะเร็วกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของพระองค์เป็นการปฏิวัติที่แปลกประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะเหตุว่าไม่ได้เกิดขึ้นจากประชามติหรือเกิดจากความยินยอมของคณะก้าวหน้าหนุ่มที่บังคับเอาจากพระเจ้าแผ่นดิน หากเกิดจากพระองค์เองซึ่งเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดินและผู้นำคณะก้าวหน้าไปพร้อมกัน ตลอด 17 ปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนโฉมหน้าทั้งหมดของประเทศไทย (กริสโวลด์ 2511 : 2-3)
    การที่พระราชาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ-ราชย์ ทรงยอมเสียสละอย่างเต็มพระราชหฤทัย เพื่อปรับปรุงประเทศไปสู่รากฐานประชาธิปไตยสมัยใหม่ ในขณะที่ราษฎรของพระองค์เองไม่ได้เคยนึกฝันถึง สิ่งนี้เลย โดยทฤษฎีพระราชาแห่งประเทศไทย ทรงปกครองแผ่นดินตามระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงเป็นเจ้าชีวิต และประชาชนก็เป็นสมบัติของพระองค์ หากพระองค์มิได้ทรงคิดเช่นนั้น ทรงเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็น "มนุษย์" มากขึ้น ไม่ใช่เทพศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์ย่อมมีทั้งส่วนดีและไม่ดี ตามวิสัยแห่งมนุษย์ เมื่อถูกยกย่องให้เป็น "เจ้าชีวิต" ก็ควรเป็นเจ้าชีวิตที่วางตัวดุจบิดามารดาอันเป็นที่พึ่งของราษฎร พระองค์ทรงวางรากฐานให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน ความสำนึกในหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่พึงมีต่อผู้ใต้การปกครอง (นฤมล ธีรวัตร 2525 : 202) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงอยู่ในภาวะของภิกษุถึง 27 พรรษา ทำให้ทรงทราบความจริงว่า สังฆภาวะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และพระองค์ได้เสด็จธุดงค์โดยพระบาทเป็นทางไกลไปในถิ่นต่างๆ ของประเทศ ทำให้ทรงเข้าถึงประชาชน เข้าพระทัยในประชาชน ทรงทราบความต้องการของประชาชนเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ยากที่ผู้ปกครองประเทศโดยทั่วไปจะสามารถทำได้ และการเสด็จธุดงค์ของพระองค์ ทำให้ทรงมีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าแผ่นดินองค์อื่น ๆ ไม่เคยกระทำ ทำให้พระองค์ทรงใกล้ชิดกับประชาชน ทรงสนทนากับประชาชนซึ่งไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ของชาติไทย จากที่ทรงได้เห็นและทรงทราบความจริงเหล่านี้ ทำให้พระองค์ทรงตระหนักดีว่าเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจะทรงทำอย่างไร หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น หากแต่การนำเอาความคิดอ่านและวิธีการแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในเมืองไทยในขณะนั้น เกิดอุปสรรค 2 ประการ คือ
    1. ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูjหัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ในระยะแรกนั้น ข้าราชการ ชั้นสูงส่วนมากยังนิยมการปกครองแบบเก่า มีบุคคลน้อยมากที่เข้าใจในเหตุผลของพระองค์ ที่ทรงต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขการปกครองแบบเก่าไปเป็นแบบตะวันตก และถ้ามีผู้ไม่เห็นชอบในพระบรมราโชบายที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็จะเกิดความขัดแย้ง อันจะเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปรับปรุงประเทศ
    2. หลักการการปกครองของชาวตะวันตก ที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงใช้ในประเทศไทย อาจจะไม่เหมาะกับบ้านเมืองตะวันออก และขัดกับหลักการ ปกครองของไทยในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมี ข้าราชการประเภทอนุรักษ์นิยมในขณะนั้น ยังเห็นว่า บ้านเมืองที่ปกครองแบบเก่านั้นยังก้าวหน้า ประชาชนอยู่ดีกินดีอยู่แล้ว เมื่อเกิดความคิดขัดแย้งขึ้นเช่นนี้ พระองค์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงของพระองค์ กับการใช้การปกครองระบบเก่าโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไหน จึงจะเหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปัญหานี้ยังไม่มีผู้รอบรู้ที่พอจะถวายความคิดเห็นแก่พระองค์ได้ (ดำเนิร เลขะกุล 2525 : 169-170)
    ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงดำเนินพระบรมราโชบายในการปกครองประเทศ เป็นสายกลางมีลักษณะผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก แม้ในส่วนของพระมหากษัตริย์ ก็เป็นพระมหากษัตริย์แบบตะวันตกและ ตะวันออก ลักษณะที่เป็นตะวันตกนั้น เป็นสิ่งประดับให้มีอารยธรรมยิ่งขึ้น ส่วนลักษณะที่เป็นตะวันออกนั้น คือ การวางพระองค์ประดุจดังบิดาของประชาชน
    โครงสร้างอำนาจการเมืองภายใน
    ปรับปรุงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เปลี่ยนการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักโบราณขัตติยราชประเพณี และยังเป็นพระจริยวัตรตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ห่างเหินข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร การรับรู้ของพระมหากษัตริย์ในการติดตามผลงานการบริหารราชการแผ่นดินได้จากเจ้านายขุนนาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถพึ่งองค์พระมหากษัตริย์ทางด้านกระบวนการยุติธรรม แม้จะทรงเปิดโอกาสให้มีการถวายฎีกา แต่การถวายฎีกายังเป็นเรื่องยาก ถูกกีดกันกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงทรงแก้ไขใหม่โดยโปรดให้เขียนฎีกาลงกระดาษ พระองค์เสด็จออกมารับที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ยากและพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน พระราชกรณียกิจนี้ นอกจากจะทำให้ทรงทราบเรื่องไม่ดีไม่งามของผู้มีอิทธิพลแล้ว ยังเป็นการปรามมิให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างได้ผล จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1213 เลขที่ 59 เรื่องให้ราษฎรร้องทุกข์ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 90-91) ความว่า
    "... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะให้ราษฎรเข้ามาร้องถวายฎีกาได้โดยง่าย ให้ทำหลักธงไชยปักขึ้นไว้ผูกเชือกห้อยขอเหล็กลงมาสำหรับเกี่ยวเรื่อง ฎีกาแขวนไว้เฉพาะหน้าพระที่นั่ง ให้ทอดพระเนตรเห็น ให้เจ้าของฎีกาหมอบอยู่ใกล้หลักนี้จะได้รู้เห็น ได้ยินเรื่องราวเองด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาดับทุกข์ราษฎรที่ร้องถวายฎีกา ข้างขึ้น 2 ครั้ง ข้างแรม 2 ครั้ง เดือนละ 4 ครั้งแล้วจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ราชบุรุษที่สัจซื่อมีสติปัญญาผู้ใดหนึ่ง อ่านเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายแต่ในเวลานั้น จะได้ไปโปรดเกล้าฯให้มีตระลาการชำระให้แล้วโดยเร็ว อนึ่งราษฎรที่มีคติได้รับความเดือดร้อนประการใดๆ จะถวายฎีกากล่าวโทษผู้กระทำผิดผู้ใดผู้หนึ่ง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ฤาจะสมัครขึ้นไปร้องถวายฎีกา ในพระบาทสมเด็จพระบวรปิ่นเกล้าฯ ก็ตามเถิด ด้วยเหตุว่าโจทก์ จำเลยก็อยู่เป็นไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินแห่งเดียวกัน ..."
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ที่จะแสดงพระมหากรุณาธิคุณแก่ราษฎรในโอกาสต่าง ๆ เพื่อให้ราษฎรมั่นใจว่าพระองค์เป็นที่พึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับราษฎรดำเนินไปอย่างดี พระองค์ทรงระวังเสมอที่จะไม่กระทำการ หรือสั่งการที่จะทำให้ราษฎรเดือดร้อน ถ้าหากเมื่อใดที่ออกประกาศเป็นกฎหมายแล้ว เกิดผลเสีย พระองค์ทรงพร้อมที่จะยกเลิกโดยไม่เกรงจะเสียพระเกียรติยศ
    การเปลี่ยนแปลงวิถีทางการเมืองไทย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกประเทศ
    วิถีการปกครองโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ มีลักษณะใหม่และพิเศษคือ ความสนิทสนมกับราษฎรซึ่งไม่เคยมีรัชสมัยใดที่ผ่านมาจะเปิดโอกาสให้ราษฎรได้ใกล้ชิดเช่นนี้ ทรงเป็นเจ้าชีวิตที่วางพระองค์ดุจบิดามารดาอันเป็นที่พึ่งของราษฎร โดยทรงประกาศยกเลิกการยิงกระสุน และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิน ดังจะเห็นได้จาก ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 3 94 (หอพระสมุดวชิรญาณ 2466 : 71-76) ความว่า
    ประกาศยกเลิกยิงกระสุน
    "... แต่ครั้งนั้นมาเจ้าพนักงานก็มิได้เอากระสุนยิงเอาราษฎร จะเป็นอยู่บ้างก็แต่ที่คนมิใช่เทือกแถวเคยนำเสด็จมาเนือง ๆ และมาเป็นพนักงานเรือประตูหน้า เรือประตูหลัง เรือดั้งขึ้นใหม่ๆ ตื่นๆ ถือไปตามพระราชกำหนดเดิม จึงได้ทราบว่ามีเหตุขึ้นบ้าง บัดนี้จึงประกาศซ้ำมา ตั้งแต่นี้สืบไปเมื่อหน้าถ้าเจ้าพนักงานเรือประตูหน้า ประตูหลัง เรือดั้ง ยิงกระสุนถูกราษฎรพวกใดแล้ว ให้พวกนั้นสืบดูให้รู้แน่ว่าเรือประตูหน้า ประตูหลังเรือดั้งลำใด จะเป็นเรือ กรมใด มาร้องฟ้องได้ความแน่แล้ว ก็ให้ว่ากล่าวตามพระราชกำหนดที่ห้ามไว้จะชำระทำโทษให้ ฤาให้ทำขวัญให้โดยสมควร ..." จวาสนาอยู่ในเวลานั้นก็ได้ราชสมบัติ ตกเป็นว่าใครดีก็ได้กัน การที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาอุปราชนั้น เพื่อทรงอุดหนุนให้มีกำลังได้สืบราชสมบัติก็มี ตั้งโดยเหตุอื่นบังคับก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นจะถือว่ามหาอุปราชเป็นรัชทายาทนั้นไม่ถนัด"
    ประกาศอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิน
    "... จึงโปรดให้มีประกาศห้ามว่าตั้งแต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าเสด็จพระราชดำเนินไปทางสถลมารคทางชลมารค ก็อย่าให้กรมเมืองนายอำเภอ และกรมไพร่หลวงที่ไปนั่งกองจุกช่องล้อมวง ไล่ราษฎร ชาวบ้านไปไกลเลย และอย่าไปปิดประตูบ้านและประตูโรงประตูร้าน ประตูเรือน ประตูแพ ประตูหน้าถังเสียดังแต่ก่อน ให้ราษฎรเจ้าของบ้านเป็นผู้ใหญ่ในบ้านในเรือน ออกมาคอยเฝ้ารับเสด็จถวายบังคมให้ทอดพระเนตรเห็น ถ้าทรงรู้จัก จะได้ทรงทักทายปราสัยบ้างตามสมควรให้ได้ความยินดี ..."
    ความรู้สึกของพระองค์ในหน้าที่พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีต่อประชาชน นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อกิจการต่าง ๆ ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายทุกข้อ และการปฏิรูปทุกอย่างที่ทรงริเริ่มขึ้น
    สถานภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้เป็นการรวมศูนย์อำนาจการเมืองที่สถาบันพระมหากษัตริย์ จัดระเบียบสังคม และการเมืองโดยพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางระบบเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มชนในสังคมไทย ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ประกาศอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิน
    "... จึงโปรดให้มีประกาศห้ามว่าตั้งแต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าเสด็จพระราชดำเนินไปทางสถลมารคทางชลมารค ก็อย่าให้กรมเมืองนายอำเภอ และกรมไพร่หลวงที่ไปนั่งกองจุกช่องล้อมวง ไล่ราษฎร ชาวบ้านไปไกลเลย และอย่าไปปิดประตูบ้านและประตูโรงประตูร้าน ประตูเรือน ประตูแพ ประตูหน้าถังเสียดังแต่ก่อน ให้ราษฎรเจ้าของบ้านเป็นผู้ใหญ่ในบ้านในเรือน ออกมาคอยเฝ้ารับเสด็จถวายบังคมให้ทอดพระเนตรเห็น ถ้าทรงรู้จัก จะได้ทรงทักทายปราสัยบ้างตามสมควรให้ได้ความยินดี ..."
    ความรู้สึกของพระองค์ในหน้าที่พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีต่อประชาชน นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อกิจการต่าง ๆ ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายทุกข้อ และการปฏิรูปทุกอย่างที่ทรงริเริ่มขึ้น
    สถานภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้เป็นการรวมศูนย์อำนาจการเมืองที่สถาบันพระมหากษัตริย์ จัดระเบียบสังคม และการเมืองโดยพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางระบบเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มชนในสังคมไทย ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    การสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยการสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยมีพระราชดำริว่าการสืบราช สันตติวงศ์ควรเป็นไปตามสายโลหิต โดยราชสมบัติจะตกอยู่กับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่พระมเหสี พระราชดำริเรื่องรัชทายาทจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ สวรรคตตอนปลายรัชกาลของพระองค์ได้มีพระราชดำริ เป็น 2 ประการ คือ
    1. ถ้าพระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่จนถึง ปีระกา พ.ศ. 2416 เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มีพระชันษาสมบูรณ์ ได้ทรงผนวชตามประเพณีแล้ว ก็จะมอบเวนราชสมบัติพระราชทานและส่วนพระองค์จะเสด็จออกเป็นพระเจ้าหลวงช่วยคุ้มครองและแนะนำให้ ทรงว่าราชการแผ่นดินไปจนตลอดพระชนมายุของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์มีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ เพื่อให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบแทน
    2. ถ้าหากพระองค์เสด็จสวรรคตก่อนปีระกา จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์กับเสนาบดีผู้ใหญ่ปรึกษากัน ถวายราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์หนึ่งพระองค์ใด ตามแต่จะเห็นพร้อมกันว่าสมควรจะปกครองแผ่นดินได้ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 131)
    พันธะสัญญาต่อกันระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองควรมีพันธะสัญญาต่อกัน ในแผ่นดินที่ผ่าน ๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าเสนาบดีและข้าราชการต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสาบานว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ฝ่ายเดียว พระองค์จึงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเช่นเดียวกับข้าราชการ นับแต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เพื่อเป็นการแสดงความ ซื่อสัตย์และจริงใจของพระองค์ให้ปรากฏ ดังในพระบรมราโชวาท ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ความว่า
    "... ฯข้าฯ จะสำแดงความขอบคุณตามสมควร ก็ไม่มีช่องทาง จะทำให้สมควรทั่วหน้าไปได้ นอกจากการอธิษฐานตั้งจิตรซื่อสัตย์สุจริตแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวง แลรักษายุติธรรมให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงนั้นเลย ก็การซื่อสัตย์สุจริตของฯข้าฯ แลรักษาความยุติธรรมให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงนั้น ท่านทั้งปวงจงได้ความทราบเป็นจริง ด้วยการที่ฯข้าฯ รับน้ำพระพิพัฒสัตยาปีละสองครั้งมิได้ขาด คือ สำแดงปฏิญญาว่าฯข้าฯ ไม่ประทุศร้ายแก่ท่านผู้หาความผิดมิได้ และไม่พาโลโสคลุมด้วยการไม่ตรงแก่ท่านผู้หนึ่งผู้ใดเลย ก็การธรรมเนียมที่พระเจ้าแผ่นดินจะรับน้ำพระพิพัฒสัตยาเอาอย่างฯข้าฯประพฤตินี้ แต่ก่อนมาก็หาเคยมีไม่ ก็ไม่มีใครติดใจบังคับให้ข้าฯทำ ฯข้าฯยอมทำความสัตย์ให้ท่านทั้งปวงด้วยความชอบใจของฯข้าฯเอง เพื่อจะมิให้มีความฤาร้ายฯข้าฯ ในลางครั้งลางที อย่างเช่นมีแก่พระเจ้าแผ่นดินที่ล่วงมาแล้ว เพราะตัวฯข้าฯ มีความกตัญญูต่อท่านผู้มีคุณโดยสุจริต ไม่สู้ชอบใจอยู่แต่การที่สำคัญผิด ๆ ภาผิด ๆ จากความแลการที่เป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่าง แลการใดที่เป็นไปตามเหตุผลตามการที่เป็นจริงแล้ว ถึงใครจะติเตียนนินทา ฯข้าฯ ก็ไม่ถือโทษเลย..." (นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 204)
    การบริหารราชการแผ่นดิน
    การใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ
    ทรงคำนึงถึงคุณธรรมและความสามารถของผู้จะเข้ารับราชการในตำแหน่ง ทรงใช้ข้าราชการโดยคำนึงถึงความสามารถ ทรงติดตามผลงานของข้าราชการ และโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจากส่วนกลางไปตรวจ และรับรายงานสภาพตามหัวเมืองเสมอ ทรงกวดขันมิให้ข้าราชการข่มเหงราษฎร และสนับสนุนหลักการประนีประนอมในระบบการปกครอง ทรงประกาศเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์ เป็นการใช้ความเห็นของคนหมู่มาก ดังที่ทรงประกาศไว้ในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2 175 (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 54-56) ความว่า
    "... ที่พระราชครูทั้ง 2 จะต้องตั้งขึ้นใหม่ เพื่อว่าจะทรงปรึกษากับพระราชวงศานุวงศ์องค์หนึ่ง สององค์ และท่านเสนาบดีสามคน สี่คน เลือกสรรตั้งข้าราชการผู้ใดผู้หนึ่งเป็นก็จะได้ และทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่พระมหาราชครูปุโรหิตาจารย์ พระมหาราช ครูมหธร พระครูพิเชต พระครูพิราม 4 ตำแหน่งนี้ เป็นผู้พิพากษาตัดสินผิดแลชอบ สุขทุกข์ความของท่านทั้งหลายทั่วกัน ต่อออกไปจนราษฎรซึ่งเป็นบ่าวไพร่ในสังกัด แล้วได้ทรงทราบว่าในประเทศอื่น ๆ เมื่อผู้ครองแผ่นดินจะตั้งผู้สำหรับตัดสินความ ก็ย่อมให้คนทั้งปวงเลือกแล้วจดหมายชื่อเข้ามาส่งต่อเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานสอบดู ถ้ามีชอบใจท่านผู้ใดมาก ก็ให้ผู้นั้นเป็นผู้ตัดสินคดีของราษฎร ครั้งนี้จะทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้สมบูรณ์อยู่เย็นเป็นสุขทั่วกันโดยอย่างธรรมเนียม แก้ไขใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเก่า..."
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห้ามการเดินชิงตำแหน่งสำคัญ (สมัยโบราณเรียกการวิ่งเต้นว่า "เดิน") เมื่อตำแหน่งเจ้าเมืองต่าง ๆ ว่างลง บุคคลที่ปรารถนาตำแหน่งเจ้าเมืองจะนำเงินมาให้เจ้าจอมหรือขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ เพื่อให้คอยกราบทูลแนะนำพระองค์ พระองค์จึงทรงประกาศห้ามมิให้เดินเป็นเจ้าเมือง ความว่า
    "
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    การวางพื้นฐานในด้านการปกครอง
    ด้วยทรงเห็นว่าราษฏรจะครองชีพด้วยความร่มเย็นเป็นสุขได้ ก็ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยหลักทางกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยในด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัยขึ้น ทรงติดต่อให้ชาวยุโรปและอเมริกาที่ชำนาญในวิชากฎหมายเข้ามาเป็นข้าราชการแก้กฎหมายต่าง ๆ ให้ทันสมัยและไม่ขัดกับกฎหมายต่างประเทศ ทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยในยุคหลัง เริ่มใช้หลักเกณฑ์ความยุติธรรมแบบสากลมาใช้ในการออกกฎหมายและพิจารณาคดีเพิ่มเติมขึ้นจากการถวายฎีกา ความเปลี่ยนแปลงนี้เห็นจากประกาศที่ห้ามมิให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเป็นทาส ประกาศพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการคมนาคมในประเทศ ซึ่งใช้ร่วมกันทั้งคนไทยและต่างประเทศ คือพระราชบัญญัติและกฎหมายท้องน้ำเกี่ยวกับเรือใหญ่ เรือเล็ก ที่ขึ้นตามแม่น้ำลำคลอง และพระราชบัญญัติว่าด้วยการทางบก
    (นฤมล 2525 : 317) ในกระบวนการศาล ทรงให้มีการลงลายมือหรือแกงไดไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสำคัญ บังคับใช้ทั้งในกรุงและหัวเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้ทำสารกรมธรรม์หรือหนังสือสัญญาเป็นเกณฑ์ เป็นหลักฐานในฟ้องร้อง สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น





    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของแสนยานุภาพทางการทหาร เพราะเป็นที่มาของอำนาจเหนือเมืองทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : 34 อ้างถึงใน นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 174)
    "... อนึ่งธรรมเนียมมนุษย์ทุกวันนี้ เมืองใดปืนใหญ่น้อย กระสุนดินดำ มีอยู่มากเป็นกำลังใหญ่แล้ว เมืองนั้นก็เป็นเมืองหลวง มีอำนาจแผ่ทั่วทิศไกลไปร้อยโยชน์สองร้อยโยชน์ จนถึงนานาประเทศที่ใกล้เคียงซึ่งมีกำลังน้อยกว่า ก็ต้องมาขออ่อนน้อมเสียส่วยเสียบรรณาการให้ อันนี้เป็นธรรมดามนุษย์ในแผ่นดิน..."
    การวางพื้นฐานทางด้านการทหาร
    โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงตระหนักว่าประเทศต่าง ๆ ในบริเวณเอเชียนี้กำลังถูกคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะประเทศไทยกำลังอยู่ในแผนการยึดครองของฝรั่งเศสและอังกฤษ ฉะนั้นจึงทรงต้องปรับปรุงกิจการทหารของประเทศให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยอย่างรีบด่วนพร้อมกันหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกำลัง การจัดหาอาวุธ การฝึก และยุทธวิธี และทรงทอดพระราชภาระให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) ในด้านการฝึกอบรมทหารปืนใหญ่ และทรงช่วยปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นหน่วยทหารแบบตะวันตก ส่วนหน่วยทหารราบนั้นมีพระราชประสงค์ จะได้นายทหารอังกฤษมาช่วยปรับปรุงและฝึกอบรม จึงทรงเลือกจ้างร้อยเอกชาวอังกฤษ ทหารนอกราช-การของกองทัพอังกฤษเข้ารับราชการเป็นนายทหารฝรั่งคนแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อร้อยเอก อิมเปย์ (Impey) ได้รับมอบหมายให้ฝึกทหารในกรมอาสาลาวและเขมร ในพระบรมมหาราชวัง ให้จัดเป็นกองร้อย เรียกว่า "ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป" หรือ "ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง" การฝึกสอนทหาร ได้จัดระเบียบแบบแผน และฝึกสอนทางบกเป็นครั้งแรก ตามแบบอย่างทหารอังกฤษ มีการแบ่งแยกเป็น กองพัน กองร้อย หมวดหมู่ มีผู้บังคับบัญชา ชั้นนายพัน นายร้อย นายสิบ ลดหลั่นกันลงมา และ เรียกขานเป็นคำอังกฤษ เพราะผู้สอนไม่อาจแปลคำเป็นภาษาไทย ทหารพวกนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ทหารเกณฑ์หัดอย่างอีหรอบ" ในขั้นต้นได้จัดเหล่าทหารรักษาพระองค์ โดยแบ่งออกเป็นสองกอง เรียกว่า กองทหารหน้า และกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกวังหลวงเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้กองทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปหรือกองทหารรักษาพระองค์เป็นทหารประจำพระองค์ ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เวรรักษาพระราชฐาน การบังคับบัญชากองทหารทั้งสองนี้ แบ่งเป็นกองร้อย หมวด และหมู่ ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน (รอง ศยามานนท์ 2525 : 530)
    ต่อมามีนายทหารนอกราชการของกองทัพบกอังกฤษ ชื่อร้อยเอก โทมัส ยอร์ช น๊อกซ์ (Thomas George Knox) และเป็นเพื่อนร้อยเอก อิมเปย์ ได้สมัครเข้ารับราชการ พระองค์ทรงส่งไปช่วยฝึกทหารบกและทหารเรือในวังหน้า ซึ่งภายหลังได้ลาออกไปเป็นกงสุลเยเนอราลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ โดยมีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า พระราชาในต่างประเทศนั้น ต่างนิยมมีกองทหารประจำพระองค์กันทั้งนั้น โดยถือเป็นพระเกียรติยศสำหรับพระมหากษัตริย์ซึ่งจำเป็นต้องมี และให้มีขึ้นตามความนิยมอย่างต่างประเทศเหล่านั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิมและกองทหารหน้าขึ้น และอาศัยที่พระองค์ทรงชินต่อการสมาคมกับฝรั่งเป็นอย่างดี จึงทรงตั้งกองทหารอื่น ๆ เอาอย่างต่างประเทศให้สมกับที่บ้านเมืองเจริญขึ้นแล้ว
    ในปี พ.ศ. 2395 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทหารเพิ่มขึ้นอีก 2 กอง คือกองรักษาพระองค์อย่างยุโรป (กองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม) และ กองปืนใหญ่อาสาญวน เพื่อทดแทนอาสาญวนเข้ารีตที่โอนไปขึ้นกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ส่วนทหารมอญที่เคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมนั้น โปรดเกล้าฯ ให้คงอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ทหารพวกนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นทหารมรีนสำหรับเรือรบ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 159) ทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้
    1. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
    2. กองทหารหน้า
    3. กองปืนใหญ่ อาสาญวน
    ทหารบกต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นต้นเดิมของทหารบกที่มีต่อมาจนทุกวันนี้
    พ.ศ. 2397 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทหารล้อมพระราชวัง ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศทรงกำกับทหารกองนี้
    พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทหารหน้า
    ผู้บัญชาการองค์นี้ทรงปรับปรุงการตั้งกองทหารไว้ตามหน่วยต่าง ๆ มารวมที่สนามชัย คือ
    1. กองทหารฝึกแบบยุโรป
    2. กองทหารมหาดไทย (เกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
    3. กองทหารกลาโหม (เกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
    4. กองทหารเกณฑ์หัด (พวกขุนหมื่นสิบยกในกรมต่าง ๆ คือ 10 คน ชักออกเสีย 1 คน)
    หลังจากปี พ.ศ. 2404 โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองทหารอย่างยุโรปขึ้นอีกหลายอย่าง ต่อมา พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพเป็นผู้บังคับบัญชาคนใหม่ ครั้นถึงปลายรัชกาลที่ 4 นายน๊อกซ์ นายทหารอังกฤษขอลาออก จึงไม่มีนายทหารฝรั่งเหลืออยู่ในกองทัพ ทางราชการกองทัพจึงได้จ้าง นายทหารฝรั่งเศส ลามาช (Lamache) ต่อมาได้เป็นหลวงอุปเทศทวยหาญ ซึ่งมาแก้วิธีฝึกหัดทหารไทย และเปลี่ยนระเบียบการฝึกเป็นภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนไปได้ไม่นานก็สิ้นรัชกาล
    กิจการทหารไทยซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ใน รัชกาลที่ 4 เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนสามารถจัดไปสมทบกับกองทัพที่ส่งไปปราบฮ่อ และเป็นแนวทางของการปรับปรุงกิจการทหารครั้งใหญ่อย่างกว้างขวางในรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
    การปืนใหญ่ในรัชกาลที่ 4
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาและจัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปรับปรุงกองทัพไทยให้ทันสมัยตามแบบยุโรป ทรงเห็นว่าปืนใหญ่เป็นอาวุธมีอำนาจในการทำลายสูงในระยะไกล แต่ต้องใช้เวลาฝึกหัดทหารให้ชำนาญในการใช้เป็นเวลานานนั้น แม้ว่าพระองค์จะทรงมอบให้เป็นพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไป แล้ว พระองค์ยังทรงจัดกองปืนใหญ่อาสาญวนขึ้นใหม่ เพื่อทดแทนกองปืนใหญ่อาสาญวนที่โอนไปขึ้นกับวังหน้า
    ในส่วนพระองค์ ทรงสนพระทัยในเรื่องปืนใหญ่ ทรงศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ จากเอกสารภาษาอังกฤษ จึงทรงทราบความก้าวหน้าของปืนใหญ่ในประเทศต่างๆ ทางยุโรป เมื่อคณะราชทูตไทยเดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษและ ฝรั่งเศส ได้มีพระราชหัตถเลขารับสั่งถึงจมื่นไวยวรนาถ (วร บุนนาค) ซึ่งอยู่ในคณะทูต (ดำเนิร เลขะกุล 2527 : 22) ความว่า
    "...เจ้าหมื่นไวยวรนารถเอาใจใส่เสาะหาซื้อปืนอย่างหนึ่ง เรียกว่า อามสตรอง ซึ่งเป็นปืนใหญ่บรรจุข้างท้าย มาให้ข้าพเจ้าเล่นเองเป็นปืนทองเหลืองย่อม ๆ กระสุนตั้งแต่นิ้วหนึ่งขึ้นไปสองนิ้ว ลงมาสักกระบอกหนึ่ง ว่าเขาใช้อย่างไร แต่ก่อนนี้ไปเข้าได้สั่งปืนรบเนอกัมปนีให้เขาหามาให้ เขาก็ได้หามาให้ข้าพเจ้า เป็นปืนนิคแคมปาเตนกระบอกหนึ่งแล้ว ปืนนั้นข้าพเจ้าเอายิงเล่นเองก็ได้ ไม่น่ากลัวเหมือนปืนบรรจุทางปาก และบรรจุนวนไฟวุ่นวาย เพราะปืนนั้น ไฟข้างหลังไม่เห็นเลย ในลำกล้องปืนกระสุนกว้างนิ้วหนึ่ง ยาว 3 นิ้ว กระสุนแตกอย่างยาโกบก็มีมาด้วย ปืนนี้ยิงได้เร็ว 15 เซกันยิงได้นัดหนึ่ง ปืนอามสตรอง ถ้าเล็ก ๆ ไม่มี ก็จะคิดสั่งให้เขาทำขึ้นเป็นดังของเล่น เช่น ปืนรบเนอกัมปนีที่สั่งนั้นเถิด ปืนกระบอกนี้ รางก็เป็นทองเหลืองหล่อหนักสองหาบทั้งบอก เป็นงามนัก ราคา 1000 เหรียญเล็ก..."
    ปืนอามสตรองที่ทรงกล่าวถึง เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะของพระแสงปืนทรงพระสวัสดิ์ ซึ่ง ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ เขียนลงในนิตยสารศิลปากร ปีที่ 22 เล่ม 1 พฤษภาคม 2521 จะเห็นว่า ปืนกระบอกนั้นน่าจะเป็นปืนที่ทรงกล่าวถึง (ดำเนิร เลขะกุล 2527 : 22)
    พระแสงปืนทรงพระสวัสดิ์ เป็นปืนสัมฤทธิ์ขนาด 1.15 นิ้ว บรรจุทางท้ายลำกล้องทีละนัด และปิดท้ายด้วยลูกเลื่อน มีเกลียว 5 ร่อง วางบนฐานเหล็กโค้งงอเป็นรูปตัว S ไม่มีตัวหนังสือบอกบริษัท เมือง และปีที่สร้าง มีแต่ลายหน้าสิงโตอยู่ที่ฐาน ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าสร้างในประเทศอังกฤษ
    พระแสงปืนทรงพระสวัสดิ์
    ในพระราชนิพนธ์ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พระราชพิธีสวัสดิมงคลประจำปี สวดอาฎานาฎิยสูตร และยิงปืนรอบกรุง) ทรงกล่าวถึงปืนที่ใช้ยิง ความว่า
    "ครั้นตกมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทหารปืนทองปรายคงยิงอยู่ตามเดิมพวกหนึ่ง ถอนเกณฑ์หัดปืนแดงเอาทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปยิงแทนอีกพวกหนึ่ง ครั้นเมื่อหล่อปืน มหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักร มหาปราบ ขึ้นพร้อมกันกับที่ทรงสร้างพระแสงปืนนพรัตน์ สำหรับเข้าพิธี ก็ทรงพระแสงปืนนพรัตน์ ซึ่งเป็นปืนอย่างที่เรียกว่าโก๊ อย่างเก่า ๆ ทรงยิงเองทางช่องพระแกลที่ 2 ด้านเหนือมุขตะวันออก เป็นสัญญาณให้ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักร มหาปราบ พระแสงปืนนพรัตน์นั้นไม่สู้สะดวกนัก จึงโปรดให้จัดพระแสงปืนหลัก ที่
    สำหรับลงหน้าเรือพระที่นั่ง ขึ้นมาตั้งที่ชาลาหน้าพระมหาปราสาทตรงช่องพระแกลที่กล่าวมาแล้ว ล่ามสายไหมเบญจพรรณถักติดกับไกปืนขึ้นมาผูกกับพนักพระแกล เจ้าพนักงานประจุปืนอยู่ข้างล่าง เมื่อเวลาถึงกำหนดยิงก็ทรงกระตุกเชือกยิง พระแสงปืนหลักนั้นเป็นสัญญาณ ซึ่งให้เป็นสององค์ไว้นั้นเพื่อจะสับปรับ เมื่อไม่สับปรับก็ทรงทั้งสององค์ ภายหลังเมื่อพระแสงปืนใหญ่บรรจุท้าย ซึ่งได้เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในครั้งแรกโปรดยิ่งนักได้ทรงทดลองที่ปทุมวันและที่ลานเทหลายครั้ง ครั้นเมื่อถึงพระราชพิธี ก็โปรดให้มาตั้งที่ตรงหน้าพระแกลโยงเชือกขึ้นมาทรงกระตุกเป็นสัญญาณ พระแสงปืนหลักทั้ง 2 องค์นั้น ก็คงไว้ด้วย..."
    พระราชนิพนธ์ที่อัญเชิญมา แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในการปืนใหญ่ และทรงสั่งให้บรรดาราชทูตจัดหาหรือสั่งทำปืนใหญ่ตามตัวอย่างที่ทอดพระเนตรเห็นในหนังสือฝรั่ง และต่อมาเมื่อทรงเห็นภาพและทรงทราบคุณสมบัติของปืนแก็ตลิงกัน ซึ่งสร้างในสหรัฐอเมริกาจากนิตยสารฝรั่งแล้ว ก็เก็บไปทรง พระสุบิน และโปรดให้บริษัทต่างประเทศสร้างถวายตามพระสุบินใน พ.ศ. 2404 ปืนกระบอกนี้มี คุณสมบัติเป็นปืนกล เมื่อเข้ามาถึงได้พระราชทาน ชื่อว่า "พระแสงปืนพระสุบินบันดาล" ปัจจุบันนี้วางแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร (ดำเนิร เลขะกุล 2527 : 25)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดหาปืนใหญ่ไว้ป้องกันประเทศ ดูจากเอกสารที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) 2506 : 727-728) ตอนหนึ่ง มีพระราชดำริว่า
    "... บ้านเมืองก็เจริญขึ้นแล้ว ปืนใหญ่ ๆ ที่จะรักษาพระนครก็ยังมีน้อย พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าฯ สั่งปืนกระสุน 10 นิ้ว เข้ามาเพียง 100 บอก ยังไม่พอใช้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สั่งปืนกะสุน 8 นิ้ว 12 นิ้ว เข้ามาอีก เจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ จึงสั่งนายทหารกุมปันนีว่า ราคาตกลงกัน กะสุน 12 นิ้ว ราคาบอกละ....(ไม่ใส่ราคาไว้) กะสุน 8 นิ้ว ราคาบอกละ ...(ไม่ได้ใส่ราคาไว้) ก็ได้ปืนเข้ามาเป็นอันมาก กับปืนเฟาลิงปิด 4 บอก มีรูปช้างคร่ำทองคำราคาบอกละ 30 ชั่ง 18 ตำลึง 2 บาท ปืนอามสตรอง กะสุนหนัก 40 ปอนด์ 2 บอก คิดทั้งเครื่องสำหรับปืนและส่งถึงกรุง บอกละ 61 ชั่ง 15 ตำลึง 1 สลึง ปืนอามสตรอง กะสุนหนัก 12 ปอนด์ 2 บอก คิดทั้งเครื่องสำหรับปืนและค่าจ้างส่งถึงกรุง บอกละ 47 ชั่ง 1 สลึง ปืนทองเหลือง 60 บอก ๆ ละ 2 ชั่ง 14 ตำลึง 3 บาท 1 สลึง เฟื้องปืนหลักช้าง 40 บอก ๆ ละ 6 ตำลึง 1 บาท และปืนคาบศิลาไรเฟิล ฉนวนทองแดง เข้ามารักษาพระนครอีก เป็นอันมาก..."
    ปืนใหญ่ซึ่งทรงสั่งซื้อเข้ามาใช้ในกองทหารปืนใหญ่ของวังหลวงนี้ เมื่อเข้ามาแล้วได้นำมาเก็บรักษาไว้ในโรงปืนใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง และในปัจจุบันที่ยังเหลือ คือ
    1. ปืนใหญ่เฟาลิงปิด ลำกล้องกว้างราว 8 นิ้ว มีหลายกระบอก บนลำกล้องมีรูปช้าง ซึ่งเป็นเครื่องหมายของประเทศไทย บริษัทผู้สร้างทำให้เป็นพิเศษ และมีเลข "1861" ตรงกับ พ.ศ. 2404 เป็นปีที่คณะราชทูตไทยซึ่งมีพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา- ธิบดี (แพ บุนนาค) เป็นหัวหน้า เดินทางไปเจริญ สัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส
    2. ปืนเหล็กตรามงกุฎ (เครื่องหมายประเทศอังกฤษ) ขนาด 4 นิ้ว แต่ปากลำกล้อง เจียนบาง ทำให้เข้าใจว่าน่าจะมีอะไรครอบรัดต่อออกไปอีก จำนวน 47 กระบอก
    3. ปืนขนาดเล็ก ทำด้วยโลหะแต่มีไม้หุ้มข้า
    กระบอก ปากลำกล้องกว้าง 1 นิ้ว รวม 14 กระบอก มีชื่อเป็นคำกลอนคล้องจองกัน เช่น ขวัญเมืองมิ่ง ยิ่งยศเสริม ฯลฯ
    4. ปืนครกเหล็กลำกล้องสั้นมาก ปากลำกล้องกว้าง 8-9 นิ้ว รวมอยู่ด้วย 2 กระบอก (ดำเนิร เลขะกุล 2527 : 25)
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    การทหารเรือ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในความเจริญของกิจการทหาร และทรงมุ่งหวังให้การทหารเจริญทัดเทียมกับต่างประเทศ เพราะพระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนกันได้ ทรงทอดพระราชภาระให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า" ทรงวางระเบียบแบบแผน ควบคุมการฝึกสอนและทรงอำนวยการต่อเรือกลไฟขึ้นได้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเป็นคนไทยพระ-องค์แรกที่เป็นเจ้าของเรือกำปั่นที่ทำด้วยเหล็กทั้งลำ คือ "เรือมงคลราชปักษี" ซึ่งเป็นเรือสกูนเนอร์ (Schooner) ขนาด 100 ตัน (รอง ศยามานนท์ 2525 : 532)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า ส่วนทหารเรือหน่วยอื่นที่ไม่ได้ขึ้นกับวังหน้า ให้ขึ้นกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม ผู้ซึ่งมีความสามารถในกิจการทางทะเล และการต่อเรือได้จัดการต่อเรือกลไฟหลวงสำหรับใช้เป็นประโยชน์แก่ประเทศ โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเรือรบจากกำปั่นรบใช้ใบมาเป็นกำปั่นรบกลไฟ และเรือรบกลไฟชนิดใช้จักรข้างจักรท้าย
    เรือที่ต่อสำเร็จเวลานั้น ชื่อสยามอรสุมพลมีจักรข้างยาว 75 ฟุต เฉพาะเครื่องจักรและกลไกนั้นสั่งมาแต่ประเทศอังกฤษ ส่วนลำเรือนั้นต่อที่กรุงเทพฯ เมื่อได้เรือสยามอรสุมพลใช้ในทางราชการเป็นที่สบพระราชหฤทัยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จัดการสร้างต่อไปอีกหลายลำ ส่วนเรือใบที่เคยต่อและใช้อยู่แต่ก่อนมีพระราชดำริจะเลิกเสีย
    พ.ศ. 2401 สร้างเรือศรีอยุธยาเดช มีจักรท้าย ยาว 120 ฟุต กว้าง 27 ฟุต มีปืน 9 กระบอก
    พ.ศ. 2401 สร้างเรือมหาพิไชยเทพ มีจักรท้าย ยาว 120 ฟุต กว้าง 18 ฟุต มีปืน 7 กระบอก
    พ.ศ. 2402 สร้างเรือราญรุกไพรี มีจักรท้าย ยาว 180 ฟุต กว้าง 29 ฟุต มีปืน 9 กระบอก
    พ.ศ. 2404 สร้างเรือสงครามครรชิต มีจักรท้าย ยาว 100 ฟุต กว้าง 21 ฟุต มีปืน 2 กระบอก
    พ.ศ. 2404 สร้างเรือศักดิ์สิทธาวุธ มีจักรท้าย ยาว 100 ฟุต กว้าง 22 ฟุต มีปืน 2 กระบอก
    พ.ศ. 2406 สร้างเรือยงยศอโยชฌยา มีจักรท้าย ยาว 140 ฟุต กว้าง 29 ฟุต มีปืน 2 กระบอก แต่ ลำนี้สร้างให้เป็นเรือรบของวังหน้า
    พ.ศ. 2410 เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ต่อ เรือรบขึ้นอีกลำหนึ่งใหญ่กว่าบรรดาเรือรบที่ได้ต่อมาแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "สยามูประสดัมภ์"
    เมื่อการสร้างกำลังทางเรือเป็นเรื่องสำคัญ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร พร้อมด้วยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เสด็จไป ทอดพระเนตรกิจการต่างประเทศที่เมืองสิงคโปร์และปีนัง เพื่อศึกษาการปกครอง ท่าจอดเรือ อู่ต่อและซ่อมเรือรบ เรือ สินค้าและกิจการอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงกองทัพเรือไทยให้ทันสมัย
    ในราชการวังหลวง เมื่อเรือกลไฟเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมเรือกลไฟ" ขึ้นในกรมทหารเรือของวังหลวงมีพระยาอรสุมพลภิบาลเป็นเจ้ากรม ส่วนกองเรือวังหน้าขึ้นต่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเหมือนเดิม (รอง ศยามานนท์ 2525 : 534)
    ตำรวจ
    การวางพื้นฐานทางด้านตำรวจ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งตำรวจทำหน้าที่รักษาการเหมือนอย่างเช่นตำรวจในปัจจุบันนี้ แต่ไม่ได้เรียกว่าตำรวจ หากเรียกว่า "โปลิศ" มีปรากฏในบันทึกจดหมายเหตุรายวันของ หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) ประจำเดือนเมษายน ว่า
    "เมษายน พ.ศ. 2404 กองโปลิศที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ลงมือรักษาหน้าที่ตอนสำเพ็ง"
    เป็นอันแน่นอนว่า โปลิศซึ่งตั้งขึ้นครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร ปฏิบัติงานคล้ายหน้าที่ของตำรวจที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ในครั้งนั้นไม่ได้เรียกว่า "ตำรวจ" เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "โปลิศ" จากเอกสารของนายพันตำรวจโท ฟอร์ตี (C.H. Forty)เขียนเรื่อง "A Sketch of Siam's Gendarmerie" ลงในหนังสือพิมพ์ตำรวจในประเทศอังกฤษ (ก่อน พ.ศ. 2475) ชื่อหนังสือ "The Police Journal"
    ผู้แต่งเรื่องนี้เป็นชาวต่างประเทศ เคยเข้ามารับราชการตำรวจในประเทศสยามสามารถจดจำรวบรวมเรื่องราวได้ความว่า
    ในปี พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ชาวอังกฤษผู้หนึ่ง นามว่า เอส เย เบิก เอมส์ (S.J. Burg Aims) ให้เป็นผู้ตั้งกองตำรวจขึ้นในพระนครเป็นครั้งแรก สมัยนั้นเป็นเวลาก่อนที่ตำรวจในกรุงลอนดอนซึ่งใช้เครื่องแบบสีน้ำเงิน ได้เปลี่ยนจากหมวกสูง (Top hat) มาใช้หมวกยอด (Helmet) ฉะนั้นเมื่อพิเคราะห์ดูตามบรรทัดฐานของตำรวจ จะเห็นได้ว่าตำรวจของไทยมีมานานก่อนสมัยดังกล่าว เป็นพวกที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับตำรวจมากที่สุดก็คือเจ้าหน้าที่จำพวกหนึ่ง (ตำรวจหวาย) แต่งกายในเครื่องแต่งกายพลเรือน คือถือมัดหวายมีหน้าที่ช่วยเหลือตุลาการ ทำนองเดียวกันกับจำพวก โบว์ สตรีท รันเนอร์ส (Bow Street Runners) ซึ่งเป็นชื่อของตำรวจในกรุงลอนดอนสมัยโบราณ
    เอมส์ ได้รับพระราชทานยศเป็นผู้บังคับการตำรวจ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาครั้งแรกเป็นแขกมลายู รับสมัครจากพวกซึ่งเคยเป็นทหารและตำรวจมาแล้วที่สิงคโปร์ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคนไทยและแขกอินเดีย ที่เหลืออยู่ก็มีหน้าที่สืบสวน
    ข้อความซึ่งหาอ่านได้จากจดหมายเหตุของประเทศสยาม ปี พ.ศ. 2412 อันเป็นระยะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพิ่งสวรรคต มีความว่า
    "... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอุตสาหะพากเพียร ในอันที่จะจัดนายตำรวจต่างประเทศ โดยพระราชทานเงินเดือนอย่างพอเพียง และกองตำรวจซึ่งได้ฝึกฝนมาจากเมืองท่าสิงคโปร์ของอังกฤษ พระองค์ได้ทรงพยายามเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งได้ผลเป็นที่พึงพอใจเรามีความยินดีที่พลเมืองได้มีหัวหน้าชาติอังกฤษ ที่สามารถทำการบังคับบัญชากองตำรวจ สำหรับที่จะคอยรักษาความปกติสุขของพระนครให้พ้นจากพวกมิจฉาชีพ..."
    ข้อความนี้เขียนโดย บาดหลวง แซมมูเอล เย. สมิธ (S.J. Smith) หมอสอนศาสนาคริสต์ และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายเดือนฉบับแรกในกรุงเทพมหานคร (ประยุทธ สิทธิพันธ์ 2519 : 44-45)
    จึงกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์
    การศาสนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงตระหนักว่า พระภิกษุสงฆ์ประพฤติปฏิบัติผิดแผกไปจากพระธรรมวินัยเก่าแก่เป็นอันมาก การปฏิบัติศาสนกิจกระทำกันไปตามที่เคยปฏิบัติมา โดยไม่เข้าใจถึงความหมายและจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่ภายในเนื้อหาอันแท้จริงของพุทธศาสนา คือ ความรู้อันได้จากการตีความหมายของพระไตรปิฎก พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะเข้าใจในพุทธศาสนาที่แท้จริง และให้ผู้อื่นเข้าใจถึงประโยชน์อันเกิดจากข้อปฏิบัติที่ พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติพร้อมทั้งหลักธรรมที่ได้จากการปฏิบัติ เน้นหนักในแนวความคิดเห็นด้าน ศีลธรรมจรรยาของชาวพุทธ
    พระองค์ทรงถือว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ไม่มีข้อขัดแย้งอะไรกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ พระองค์มิได้ทรงคัดค้านในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ แต่พระองค์ทรงใช้อัตถาธิบายไปในแง่ปรัชญา ทรงชี้ให้เห็นถึงหลักของฟิสิกส์ ที่ว่าผลย่อมเกิดแต่เหตุ หากหลักเกณฑ์อันนี้ ครอบคลุมจักรวาลทางวัตถุอยู่ เหตุไฉนหลักเกณฑ์อันเดียวกันนี้จะไม่ครอบคลุมไปถึงจักรวาลทางจิตด้วย ตามหลักนี้สรุปได้ว่า กรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมติดตามหรือยังผลให้เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า ถึงหากจะไม่เชื่อว่าวิญญาณจะไปเกิดใหม่ แต่อำนาจแห่งกรรมย่อมไม่มีวันเสื่อมศูนย์ แนวความคิดเช่นนี้ยากสำหรับบุคคลธรรมดาที่จะเข้าใจได้ หากแต่เป็นเพราะพระองค์ทรงเข้าใจในหลักศาสนาอย่างลึกซึ้ง พระองค์จึงทรงพยายามให้ประชาชนของพระองค์เข้าใจในหลักธรรมเช่นกัน (มอฟแฟ็ท 2520 : 24)
    เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรตามประเพณี ทรงศึกษาศีลธรรมและเรียนภาษาบาลีขั้นต้น พระองค์ทรงดำรงภาวะสามเณรอยู่ 7 เดือน ครั้นเมื่อมีพระ ชนมพรรษาได้ 21 พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งเดิมพระองค์ตั้งพระทัยที่จะทรงผนวชเพียงหนึ่งพรรษาตามราชประเพณี หากเกิดเหตุการณ์อันมิได้คาดคิด ผลปรากฏต่อมาว่า พระองค์ไม่ได้ทรงลาผนวชตราบจน 27 ปีภายหลัง
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm

    การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    สมัยก่อนเสวยราชย์
    พระองค์ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับที่ตำหนักในวัดมหาธาตุฯ ทำอุปัชฌายวัตร 3 วัน จากนั้นเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส พระราชทานนาม เมื่อครั้งรัชกาลที่ 4) ทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ เมื่อต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด จึงตั้งพระทัยเรียนให้ได้ความรู้วิปัสสนาอย่างถ่องแท้ จนจบสิ้นความรู้ของครูอาจารย์ และที่สำคัญเมื่อทรงไต่ถามเพื่อ ค้นคว้าหารากมูลของลัทธิวิธี ครูอาจารย์ไม่สามารถชี้แจงถวายให้สิ้นความสงสัย ทูลแต่ว่าครูบาอาจารย์สอนมาเพียงเท่านั้น (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 69) พระองค์ทรงเห็นว่า การกล่าวเช่นนั้นเป็นการถือลัทธิดื้อรั้น ไม่รู้ผิดชอบ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปัญญา (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส 2482 : 137 อ้างถึงใน ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี 2525 : 491) จึงเกิดท้อพระหฤทัยในการศึกษาวิปัสสนาธุระรวมทั้งวัตรปฏิบัติของสงฆ์ เนื่องจากทรงมีความเห็นว่า
    "ลัทธิสมถวิปัสสนาธุระนั้น วุ่นวายมากไปด้วยสัมโมหะวิหาร เปรียบเหมือนยืมจมูกของท่านผู้อื่นมาหายใจ ท่านซึ่งเป็นพระอาจารย์นั้น จะพูดจาสั่งสอนในพระธรรมอันใด ก็งุบงิบ อ้อมแอ้ม ไม่อธิบายให้กระจ่างสว่าง ให้ได้ความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เล่าเรียน ครั้นศิษย์พวกใด ไถ่ถามบ้างก็โกรธ พูดอ้างคติโปรามาจารย์ เช่น อาจิณกัปปิกา ว่าท่านผู้ใหญ่เคยทำมาอย่างนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...