ปรอทสำเร็จ ของดีจากตำนาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ทิพยจักร, 26 พฤศจิกายน 2012.

  1. สิริมงคลชัย

    สิริมงคลชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    660
    ค่าพลัง:
    +1,091
    พระปิดตา จันฑคาต ปู่ทองทิพย์(ทำจากเหล็กไหลที่หลวงปู่ได้มาจากประเทศลาวเป็นธาตุกายสิทธิ์)

    พระปิดตาจันฑคาต งาม CLASSIC เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยพุทธศิลป์รูปทรงน้ำเต้าซึ่งไม่ปรากฎพบเจอในพระปิดตาองค์อื่นใด ส่วนเนื้อหาก็เป็นธาตุกายสิทธิ์ ที่หาได้ยากยิ่ง ดีทั้งภายนอกและภายใน มีปรอทธรรมชาติอยู่รายรอบองค์พระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 999.jpg
      999.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144.7 KB
      เปิดดู:
      125
    • 998.jpg
      998.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144 KB
      เปิดดู:
      103
    • 997.jpg
      997.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.5 KB
      เปิดดู:
      112
    • 996.jpg
      996.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.8 KB
      เปิดดู:
      101
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2013
  2. torr200925

    torr200925 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    753
    ค่าพลัง:
    +2,680

    อยากได้เหล็กเปียก บุชาที่ไหนครับ :cool:
     
  3. ธรรมจักร

    ธรรมจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +4,151
    ลักษณะแบบนี้คล้ายกับการถ่ายพลังของแนววิชาพลังจักรวาลเลยครับ แต่วิชา

    ธาตุ 4 แบบนี้น่าจะเหมือนกับของทางสายสำเร็จลุนฯ ที่ท่านสอน ศิษย์สายนี้จะ

    ต้องเรียนเรื่องธาตุให้แตกฉานเสียก่อน วิชานี้ทางภาคกลางก็จะมีแต่ส่วนใหญ่

    จะใช้ในการตั้งธาตุ หนุนธาตุ เพื่อให้เกิดฤทธิ์ในทางที่ต้องการ หลักการธาตุ 4

    มีทั้งหนุนก่อเกิดและข่มทำลาย ในส่วนตัวผมว่าน่าจะเป็นส่วนแตกแขนกของ

    กสิน 4 ในกรรมฐาน 40 กอง
     
  4. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,078


    นั่นไง มาแล้วท่านอาจารย์ธรรมจักร หนึ่งในจอมยุทธ์อีกท่านนึงที่ผมนับถือ ขอคาราวะครับผม
     
  5. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,078

    สำหรับผมนะครับ วิชาของคุณพรหมณีคล้ายกับการถ่ายทอดพลังจักรวาลอันนี้ผมก็ว่าเหมือน แต่ว่ามาคนละทาง ที่มาคนละเรื่องกันเลย แต่จากการสอบถามมาเบื้องต้น การภาวนาธาตุนั้นไม่ได้มาจากกสิณครับ เป็นการภาวนาล้วนๆ เป็นสายของเขาครับ ครูบาอาจารย์บอกว่าคนที่ภาวนาธาตุมาแล้ว ถ้าทำกสิณซ้ำก็เป็นเสือติดปีกครับเดี๋ยวลองให้คุณพรหมณีมาเล่าให้ฟังแสดงทัศนะเรื่องนี้ดูครับ

    จากการปฏิบัติและสอบถามจากครูบาอาจารย์ ตัวผมเองก็ภาวนาธาตุคาถา เมื่อภาวนาแล้วจิตจะเป็นสมาธิและมีการสะสมบ่มพลังในตัว พลังงานที่เกิดขึ้นจากการภาวนาธาตุสามารถถ่ายทอดเพ่งหรือแผ่ลงสู่วัตถุได้จริงๆแต่จะมีผลขนาดไหนอยู่ที่พลังจิตของบุคคลผู้นั้น อย่างคุณพรหมณีต้องถือว่ามีพลังจิตสูงจริงๆครับ

    ในอดตพระที่ภาวนาธาตุเก่งๆช่นหลวงพ่อสีหมอก จ.ชลบุรี หลวงป่หมุน วัดบ้านจาน สำเร็จลุน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และอีกมากมายครับ เมื่อท่านภาวนาธาตุคล่องดีแล้วจะต่อด้วยกสิณเมื่อจบกสิณก็ถือว่าสามารถบังคับธาตุได้เด็ดขาด ครูบาอาจารย์แต่ละท่านจึงมีฤทธิ์เลื่องลือในแผ่นดินดังที่เราๆท่านๆได้รู้จักนั่นแหละครับ
     
  6. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,065
    ค่าพลัง:
    +52,163
    แค่มวลสารยังไม่ได้ปลุกเสกนี่ก็ไม่ธรรมดาแล้วครับ
     
  7. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878

    อนุโมทนาบุญด้วยครับเห็นแค่ภาพก็เป็นบุญตาแล้วครับสาธุ......... ครับ
     
  8. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878


    บูชามาเท่าไหร่ครับ คุณ ทิพยจักร
     
  9. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,078

    ใส่ชื่อผิดคนแล้วครับ ที่ถูกต้องคือ

    บูชามาเท่าไหร่ครับ คุณสิริมงคลชัย
     
  10. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878

    อ้าว 55555555555555555
     
  11. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,864
    ไม่เคยฝึกกสิณเลยค่ะ มันกึ่งๆพลังจักรวาล แต่มันการถ่ายเทพลังงานจากภายนอกสู่ภายใน และถ่ายเทจากภายในสู่ภายนอก เป็นการเดินจิตให้เดินตามธาตุขันธ์ในร่างกายเรา ร่างกายเราเองจะสามารถแปรธาตุให้เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนแผ่ความร้อน ออกจาฝ่ามือทั้ง 2 ข้างได้ หรือจะใช้จิตแปรธาตุเป็นพลังงานเย็นก็ได้ค่ะ

    พวกฝรั่งเขาก็ฝึกกันใช้รักษาโรคได้ เขาเรียกว่า therapeutic touch หรือ healing touch แต่ดิฉันจะได้เปรียบนิดนึงตรงทึ่ฝึกสมาธิมาก่อน หลักการสำคัญก็คือต้องทำให้ร่างกายและจิตเราเป็นกลางหรือฝรั่งเรียกว่าผ่อนคลาย แต่ทางพุทธเรียกว่าจิตว่าง ถ้าแบบเซ็นเขาบอกว่าเทน้ำชาในถ้วยทิ้งไปก่อน เมื่อนั้นืenergy จากธรรมชาติจะไหลผ่านต้วเราแบบ auto ก็ได้ manaul ก็ได้ค่ะ

    นี่คือมูลเหตุที่นำเรื่อง ภควัตคีตามาให้อ่านก่อนค่ะ ลองตีความในเรื่องที่ดิฉ้นโพสต์ หลักการแปรธาติ ตั้งธาตุ ขับธาตุ หรือดูดธาตุจากจักรวาลหรือแม้แต่คนด้วยกันเพียงแค่สัมผัสก็สามารถทำได้ด้วยจิตเพียงตัวเดียวค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2013
  12. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,864
    จริงเรื่องพลังจิตมีมานานตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ เขาก็ใช้ประโยชน์จากการแปรธาตุ พลังงานภายใน ภายนอก ส่วนทางรัสเซียเขาก็ศึกษาเรื่องศาสตร์ทางจิตล้วนๆ

    แต่ที่สำคัญก็คือยามที่เขาศึกษาได้ผลเป็นเพราะจิตเขาเป็นกลาง ปราศจากความโลภ โกรธ หลง รวมทั้งกิเลสและตัณหา ความว่างมันจึงเกิด พลังงานที่แท้จริงก็คือความว่างนั่นเอง ถ้าจะเปรียบกับศาสนาพุทธเราน่าจะใช้คำว่าสุญญตาน่าจะใช่ค่ะ ส่วนเรื่องคำภาวนานั้นน่าจะเป็นเรื่องของการน้อมนำจิตให้เป็นเอกภาพหรือ unity เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่ง พลังงานมันก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติค่ะ

    ส่วนในเรื่องของความศรัทธาหรือความเชื่อ หรือการท่องมนต์บทสวดส่วนนี้ดิฉันไม่ได้ศึกษาละเอียดนัก ก็น่าจะมีผลหรือมีส่วนอยู่บ้าง แต่ถ้าจะใช้ก็มีหลักการในเรื่องของโลกธาตุ และราศีจักร ทางเดินของดวงดาวที่ทำมุมกัน ดิฉันจะใช้ในส่วนของธาตุทั้ง 4 ตามหลักของธรรมชาติมากกว่าค่ะ
     
  13. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,864
    วิถีพุทธ

    การปฏิบัตินั้นแต่ละท่านจะรู้ได้เฉพาะตัวเป็นปัจจัตตัง....แนวปฏิบัติวิถีพุทธมีหลายแนวทางขึ้นอยู่กับจริตของตน...โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธินั้นเป็น 1 ในมรรคที่มีองค์ 8.....การที่จิตจะหลุดพ้นได้มิใช่ปฏิบัติเพียงมรรคเพียงข้อเดียว...ที่เหลืออีก 7 ข้อ โยนทิ้งหมด..แล้วก็มาพูดถึงมรรคผลนิพพานแล้วดูเหมือนว่าจะไม่ครบองค์ของธรรมบท....

    พระธรรมวิน้ยสอนให้คนรู้จักคิดและวิจารณญาณเอาเองว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จ สิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดควรปล่อยวาง...เฉกเช่นจิตของคนที่ซุกซนแกว่งไกวไปตามกระแสของโลกธรรม 8....

    คนเราที่มีปฏิปทาเข้าศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพียงแค่คิดก็ถือว่าเป็นปัญญาที่เลิศแล้วค่ะ...

    เพียงแค่คิดให้เป็น เข้าใจให้ถูกต้องเมื่อนั้นแนวทางในการปฏิบัติย่อมเปิดเองว่าเราเหมาะกับวิธีไหนซึ่งมีหลากหลายวิธีที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้น....

    เพราะพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์นั้นบอกแนวทางไว้ให้ตนเองหลุดพ้นมิใช่บอกให้ผู้อื่นหลุดพ้น....

    ยังมีอีกหลายกระทู้ในเวบพลังจิตที่นำเอาปฏิปทาคำสั่งสอนของพุทธาจารย์หลายองค์มาเผยแพร่อย่างเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อชา สุภัทโธ...และมีอีกหลายท่านที่นำเอาความรู้มาแปะให้อ่าน...อย่างนี้จะมีประโยชน์มากกว่าค่ะ เพราะเป็นการปฏิบัติจริงและมีแนวคำสอนที่หลากหลาย ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีข้อสงสัยที่จะนำมาถกเถียงกัน....

    ส่วนของดิฉันก็จะเป็นแนวปฏิบัติของท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นหลัก อาจารย์ติช นัท ฮันท์ รวมถึงหลายๆท่านอาจารย์ก็จะมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป...ส่วนไหนที่เป็นบทธรรมของพระคุณเจ้าที่เราสามารถนำมาปฏิบัติได้และเหมาะกับตัวเราก็นับเป็นกุศลเราก็น้อมนำมาปฏิบัติตามที่ท่านสั่งสอน....ของอย่างนี้ใครทำใครได้ค่ะ...
    เพราะของอย่างนี้รู้ได้แค่เฉพาะตนค่ะ....


    ก็มีพระหลายท่านที่มาสอนให้พวกเรามีความรู้อย่างที่หลายๆท่านก็อปฯมาให้อ่านแหล่ะค่ะ... ยิ่งอ่านหลายๆอาจารย์ก็จะได้งอกเงยเพิ่มพูนความรู้ให้มีภูมิรู้หรือองค์ความรู้สูงขึ้นไปอีกค่ะ...นั่งสมาธิแล้วเจออะไร รู้สึกอย่างไร เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกันเพราะได้เฉพาะตนเท่านั้นค่ะ...อย่างที่พระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า...



    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    ปัจจัตตัง แปลง่ายๆว่า เป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตน คือรู้คนเดียว บอกคนอื่นไม่ได้ หรือบอกได้ไม่ถูก คือไม่รู้จะบอกยังไง ธรรมส่วนใหญ่ เป็นของรู้ได้ด้วยจิต รู้แล้วบอกไม่ถูก เพราะไม่เคยมีบัญญัติศัพท์ไว้ หรือมีบัญญัติไว้ ก็ไม่รู้ว่าที่รู้ในจิตกับคำศัพท์นั้นมันตรงกันไหม เพราะไม่มีเครื่องมือที่จะเอามาเปรียบเทียบ
     
  14. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,864
    วิปัสสนากรรมฐาน

    วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก

    วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีรทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.

    รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก

    ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้

    อารมณ์ของวิปัสสนา

    ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฏเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.

    วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมมะ 201 เป็นต้น เช่น

    ขันธ์ 5
    อายตนะ 12
    ธาตุ 18
    อินทรีย์ 22
    อริยสัจ 4
    ปฏิจจสมุปบาท 12

    วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉนั้น ในปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฏีกา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.

    ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระ มีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.

    การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน

    การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ

    ช่วงปริยัตติ

    อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะคิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.

    ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.

    สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.

    ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.

    ช่วงปฏิบัติ

    สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.

    สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.

    สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญ
    ลักษณะด้วยการคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.

    สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.

    ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

    สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ

    ๑. ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.

    ๒. ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม

    ๓. ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี

    ๔. ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน

    ๕. ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง

    ๖. ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

    ๗. ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง

    ๘. ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา

    ๙. ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ

    ๑. เพื่อละนิวรณ์ 5

    ๒. เพื่อละกามคุณ 5

    ๓. เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด

    ๔. เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5

    ๕. เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท

    ๖. เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่เกิน7ชาติเป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด

    ๗. เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม

    ๘. เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

    ๙. เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์

    ๑๐. เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย

    ๑๑. เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

    อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ

    ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
    ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
    ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง
    ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
    ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
    ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
     
  15. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,864
    หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง
    " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "


    --------------------------------------------------------------------------------

    ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

    ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่

    ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น

    สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้

    นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น

    นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดยสำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง

    นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น

    เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ


    สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ

    ขณิกสมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ

    อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ

    อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียดอยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน

    อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย



    สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑

    สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น

    ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘

    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด

    ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป

    รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่า อนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว

    ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้

    ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ

    เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส

    ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑

    ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม

    ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้

    ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน


    ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป

    รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑

    ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา

    จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา

    ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน

    อรูปฌาน ๔ อรูปฌานนี้ ในพระสูตรต่างๆ โดยส่วนมากท่านไม่ค่อยจะแสดงไว้ เช่น ในโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงแต่รูปฌาน ๔ เท่านั้น ถึงพระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตากรรมฐานไว้ว่ามีอานิสงส์ ๑๐ ข้อ ๑๐ ความว่า ได้ฌานโดยไม่ลำบาก ดังนี้ แต่เมื่อกล่าวถึงวิหารธรรมของท่านผู้ที่เข้าสมาบัติแล้ว ท่านแสดงอรูปฌานไว้ด้วย สมาบัติ ๘ ฌานทั้ง ๘ นี้ บางทีท่านเรียกว่า วิโมกข์ ๘ บ้าง แต่ท่านแสดงลักษณะผิดแปลกออกไปจากฌาน ๘ นี้บ้างเล็กน้อย อรรถรสแลอารมณ์ของวิโมกข์ ๓ เบื้องต้น ก็อันเดียวกันกับรูปฌาน ๓ นั่นเอง เช่น วิโมกข์ข้อที่ ๑ ว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์แล้วเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น แต่รูปฌานแสดงแต่เพียง ๓ รูปฌานที่ ๔ เลยแสดงเป็นรูปวิโมกข์เสีย อรูปวิโมกข์ที่ ๔ เอาสัญญาเวทยิตนิโรธมาเข้าใส่ฌานทั้ง ๘ รวมทั้งสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าด้วยเป็น ๙

    ฌานทั้งหมดนี้เป็นโลกีย์โดยแท้ แต่เมื่อท่านผู้เข้าฌานเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตระไปตาม เปรียบเหมือนกับฉลองพระบาทของพระราชา เมื่อคนสามัญรับมาใช้แล้วก็เรียกว่ารองเท้าธรรมดา ฉะนั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดทีเดียวดังในเรื่องวิโมกข์ ๘ นี้ พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ภิกษุจะฆ่าวิโมกข์ ๘ นี้ได้ด้วยอาวุธ ๕ ประการ คือ เข้าวิโมกข์ได้โดยอนุโลมบ้าง ทั้งอนุโลมแลปฏิโลมบ้าง เข้าออกได้ในที่ตนประสงค์ เข้าออกได้ซึ่งวิโมกข์ที่ตนประสงค์ เข้าออกได้นานตามที่ตนประสงค์ จึงจะสำเร็จ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ดังนี้

    ฉะนั้น ต่อไปนี้จะนำเอาอรูปฌาน ๔ มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำไปวิจารณ์ในโอกาสอันสมควร ผู้ได้รูปฌานที่ ๔ แล้วจิตตกลงเข้าถึงอัปปนาเต็มที่แล้ว ฌานนี้ท่านแสดงว่าเป็นบาทของอภิญญา คือเมื่อต้องการอยากจะรู้จะเห็นอะไรต่ออะไร แล้วน้อมจิตนั้นไปเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ (คือถอนจิตออกมาจากอัปปนามาหยุดในอุปจาระ) แล้วสิ่งที่ตนต้องการรู้นั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาในที่นั้นเอง เมื่อไม่ทำเช่นนั้น จะเดินอรูปฌานต่อ ก็มาเพ่งเอาองค์ของรูปฌานที่ ๔ คือเอกัคคตากับอุเบกขามาเป็นอารมณ์ จนจิตนั้นนิ่งแน่วแน่แล้วไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจในเอกัคคตาแลอุเบกขาแล้ว คงยังเหลือแต่ความว่างโล่งเป็นอากาศอยู่เฉยๆ

    อรูปฌานที่ ๑ จึงได้ยัดเอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ

    อรูปฌานที่ ๒ ด้วยอำนาจจิตเชื่อน้อมไปในฌานกล้าหาญ ย่อมเห็นอาการของผู้รู้ว่าจิตไปยึดอากาศ อากาศเป็นของภายนอก วิญญาณนี้เป็นผู้ไปยึดถือเอาอากาศมาเป็นอารมณ์ แล้วมาชมว่าเป็นตนเป็นตัว วิญญาณนี้เป็นที่รับเอาอารมณ์มาจากอายตนะภายนอก วิญญาณจึงได้กลับกลอกแลหลอกลวง เวลานี้วิญญาณล่วงพ้นเสียได้แล้วจากอายตนะทั้งหลาย วิญญาณไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย บริสุทธิ์เต็มที่ แล้วก็ยินดีในวิญญาณนั้น ถือเอาวิญญาณมาเป็นอารมณ์ข่มนิวรณธรรม อยู่ด้วยความบริสุทธิ์อันนั้น ดังนี้ เรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒

    อรูปฌานที่ ๓ วิญญาณเป็นอรูปจิต เมื่อติดอยู่กับวิญญาณแล้ว นิมิตอันเป็นของภายนอกซึ่งจะส่งเข้าไปทางอายตนะทั้ง ๕ มันก็ไม่รับ เพ่งเอาแต่ความละเอียดแลความบริสุทธ์อันเป็นธรรมารมณ์ภายในอย่างเดียว จิตเพ่งผู้รู้ดูผู้ละเอียดก็ยิ่งเห็นแต่ความละเอียด ด้วยความน้อมจิตเข้าไปหาความละเอียดจิตก็ยิ่งละเอียดเข้าไปทุกที เกือบจะไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้ ในที่นั้นถือว่าน้อยนิดเดียวก็ไม่มี (คืออารมณ์หยาบไม่มี) เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓


    อรูปฌานที่ ๔ ด้วยอำนาจการเพ่งว่าน้อยหนึ่งในที่นี้ก็ไม่มีดังนี้อยู่ เมื่อจิตน้อมไปในความละเอียดอยู่อย่างนั้น ความสำคัญนั่นนี่อะไรต่ออะไรย่อมไม่มี แต่ว่าผู้ที่น้อมไปหาความละเอียดแลผู้รู้ว่าถึงความละเอียดนั้นยังมีอยู่ เป็นแต่ผู้รู้ไม่คำนึงถึง คำนึงเอาแต่ความละเอียดเป็นอารมณ์ ฉะนั้น ในที่นั้นจะเรียกว่าสัญญาความจำอารมณ์อันหยาบก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีเสียแล้ว จะเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่ความจำว่าเป็นของละเอียดยังมีปรากฏอยู่ ฌานชั้นนี้ท่านจึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔
    เมื่อแสดงมาถึงอรูปฌานที่ ๔ นี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายสมควรจะได้อ่านฌานวิเศษ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธต่อไปอีกด้วย เพราะเป็นฌานแถวเดียวกัน แลเป็นที่สุดของฌานทั้งหลายเหล่านี้ คือผู้เข้าอรูปฌานที่ ๔ ชำนาญแล้ว เมื่อท่านจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มายึดเอาอรูปฌานที่ ๔ นี้เองมาเป็นอารมณ์ ด้วยการไม่ยึดเอาความหมายอะไรมาเป็นนิมิตอารมณ์เสียก่อนเมื่อจะเข้า ตามนัยของนางธัมมทินนาเถรี ตอบปัญหานางวิสาขอุบาสก ดังนี้ ไม่ได้คิดว่าเราจักเข้า หรือเข้าอยู่ หรือเข้าแล้ว เป็นแต่น้อมจิตไปเพื่อจะเข้า ก็ได้อบรมจิตไว้อย่างนั้นแล้วก่อนแต่จะเข้า เมื่อเข้านั้นวจีสังขารคือความวิตกดับไปก่อน แล้วกายสังขารคือลมหายใจ แลจิตสังขารคือเวทนา จึงดับต่อภายหลัง

    ส่วนการออกก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นแต่ได้กำหนดจิตไว้แล้วก่อนแต่จะเข้าเท่านั้น ว่าเราจะเข้าเท่านั้นวันแล้วจะออก เมื่อออกนั้นจิตสังขารเกิดก่อน แล้วกายสังขาร-วจีสังขารจึงเกิดตามๆ กันมา เมื่อออกมาทีแรก ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑ อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ถูกต้องแล้ว ต่อนั้นไปจิตนั้นก็น้อมไปในวิเวกดังนี้


    คัดลอกจากคู่มือส่องทางสมถวิปัสสนา
     
  16. สิริมงคลชัย

    สิริมงคลชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    660
    ค่าพลัง:
    +1,091
    เฉพาะค่าของอย่างเดียวเกือบ 6หมื่น ได้คตปรอทปนมาไม่ถึง 10 เม็ดรอมาประมาณ4เืดือนจนกว่าจะได้ชุดนี้...เดี๋ยวนั่งทำใจเย็นๆคำนวนก่อนครับ...
     
  17. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,078
    อนุโมทนากับคุณพรหมณีครับ ที่ได้นำข้อธรรมของ่อแม่ครูอาจารย์มาถถ่ายทอดไว้ให้ อยากอ่านประสบการณ์ในการปฏิบัติของคุรพรหมณีครับ อันไหนที่คิดว่าเปิดเผยได้ เป็นคติแง่คิดก็ดี เชิญนำมาลงได้เลยครับ ตอนนี้ปรอทของคุณพรหมณีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ครับ

    ขอบคุณและอนุโมทนาในการติดตามกระทู้และให้ความรู้เป็นวิทยาทาน ธรรมทานแก่ทุกท่านครับ
     
  18. MA30

    MA30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +617
    ....อ.ทิพยจักร..เมื่อวาน(12มีค.)ว่าจะไปวัดหงส์แต่ผมติดธุระ...ตกลงผมเลยเลื่อนเป็นวันนี้(14มีค.)บ่ายโมง...ถ้าอาจารย์ว่างคงได้เจอกันนะครับ...
     
  19. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,065
    ค่าพลัง:
    +52,163
  20. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,864
    ช่วงนี้ไม่คอยมีเวลาว่างที่จะมาเล่าเลยค่ะ เลย copy คำสอนครูบาอาจารย์มาให้ศึกษาค่ะ เพราะมีหลายท่านที่ถามมาทาง pm เรื่องการนั่งสมาธิ ก็เลยมาแปะให้ศึกษาค่ะ อาจจะทำให้กระทู้ดูรกไปหน่อยค่ะ...

    ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมเดี๋ยวว่างๆจะมาเล่าให้ฟังค่ะ

    ส่วนปรอทก็แวววาวดีค่ะ ยังเป็นสีปรอทสีเดิมไม่เปลี่ยนสี กินทองจุ แต่ยังไม่แข็งเป๊กเป็นก้อนเหมือนปรอทคนอื่นเขาค่ะ แต่ก็สามารถนำมาปั้นเหมือนดินน้ำมันได้ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...