ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สนไหม? ตึกแถวกว้าง 6 ฟุตเจ้าของฉายา ‘บ้านแคบที่สุดในลอนดอน’ ประกาศขาย 40 ล้านบาท
    .
    ตึกแถวหน้ากว้างเพียง 6 ฟุต ซึ่งได้ฉายาว่าเป็น “บ้านแคบที่สุดในลอนดอน” กำลังถูกประกาศขายด้วยสนนราคา 950,000 ปอนด์ หรือเกือบ 40 ล้านบาท
    .
    บ้านหลังกระจ้อยร่อยนี้ตั้งอยู่ในย่านเชปเพิร์ดส์บุช (Shepherd’s Bush) ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน โดยเป็นอาคาร 5 ชั้นที่มี 2 ห้องนอน และมีพื้นที่ใช้สอยโดยรวมเพียง 1,034 ตารางฟุต
    .
    เดวิด เมเยอร์ส จากบริษัทอสังหาริมทรัพย์วิงค์เวิร์ธ (Winkworth) ซึ่งเป็นผู้ประกาศขายบ้านหลังนี้ ระบุว่า “มันเป็นตึกที่มีเสน่ห์น่าหลงใหล และน่าจะเป็นที่ชื่นชอบสำหรับใครก็ตามที่ต้องการชีวิตที่มีสีสันหน่อย”
    .
    “มันเริ่มจากการเป็นร้านขายหมวก ก่อนจะถูกตบแต่งใหม่โดยช่างภาพแฟชั่น และกลายเป็นบ้านของดีไซเนอร์”
    .
    ตึกหลังนี้มีครัวอยู่ที่ชั้นใต้ดิน มีโต๊ะอาหารและประตูกระจกซึ่งเปิดออกไปยังสวนเล็กๆ ส่วนชั้นที่ 1 มีห้องรับแขก และเมื่อขึ้นบันไดเวียนไปที่ชั้น 2 ก็จะเจอกับห้องทำงาน, ห้องนอน และเทอร์เรซ
    .
    ชั้นที่ 3 มีอ่างอาบน้ำ, ห้องอาบน้ำฝักบัว และห้องแต่งตัว ส่วนห้องนอนหลักของบ้านจะอยู่ที่ชั้นบนสุด
    .
    “การตบแต่งภายในชวนให้นึกถึงบรรยากาศภายในเรือยอชต์หรูๆ และมีการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด” วิงค์เวิร์ธ ระบุ
    .
    บ้านที่มีหน้าแคบแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมมานานแล้วในบางประเทศที่มีการเก็บภาษีโดยอิงกับความกว้างของที่ดิน เช่น เวียดนามและเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ถือว่าเป็นผู้นำเทรนด์ในการสร้างบ้านผอมๆ ก็คือ ญี่ปุ่น
    .
    ที่มา: CNN, เอเอฟพี



    fd7mMFt_izmyjN2HeYr7jj_YqoScZtuLtAN8yeJbGie&_nc_ohc=vRZhURN5Tt4AX_g-Yo8&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg

    ikeZoIITdV8AL58jAjnSJB_Q4dC3ng_EL0Gxt_l20Ju&_nc_ohc=bUrWJ8aQSXQAX_fxlQj&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg

    Y-guTLQKYI3JXh9rrt3NVzThsHSolHdJaRKtcsK3Del&_nc_ohc=QEkXQqYxWNwAX-0ABiw&_nc_ht=scontent.fbkk22-5.jpg
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อังกฤษเริ่มบังคับผู้เดินทางจาก 33 ประเทศ ‘เสี่ยงสูง’ กักตัวในโรงแรม ฝ่าฝืนโดนปรับอ่วม-จำคุก 10 ปี
    .
    สหราชอาณาจักรเริ่มบังคับใช้มาตรการกักตัวในโรงแรมสำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 33 ประเทศซึ่งจัดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะนำเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เข้ามาแพร่ในวันนี้ (15 ก.พ.) โดยบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎดังกล่าวจะมีโทษปรับและจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี
    .
    ภายใต้มาตรการที่ว่านี้ พลเมืองสหราชอาณาจักรและผู้ที่มีถิ่นพำนักซึ่งเดินทางมาจาก 33 ประเทศเสี่ยงสูงจะต้องทำการกักตัวในโรงแรมที่รัฐจัดไว้ให้เป็นเวลา 10 วัน และจะต้องรับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ซ้ำหลายครั้ง
    .
    สำหรับผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศใน “บัญชีแดง” ซึ่งได้แก่ แอฟริกาใต้, โปรตุเกส และประเทศแถบอเมริกาใต้ทั้งหมด ยังคงถูกห้ามเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรในช่วงเวลานี้
    .
    ผู้เดินทางที่จงใจปกปิดว่าตนเองเคยไปยัง 33 ประเทศเหล่านี้ภายในระยะเวลา 10 วันก่อนเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร จะมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งก็มีหลายคนออกมาวิจารณ์ว่าจะรุนแรงเกินไปหรือไม่
    .
    รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ทำสัญญากับโรงแรม 16 แห่ง เพื่อจัดเตรียมห้องพักเกือบ 5,000 ห้องใกล้ๆ กับท่าอากาศยานไว้สำหรับผู้เดินทางที่จำเป็นต้องกักตัว และยังมีห้องพักสำรองที่เตรียมไว้อีก 58,000 ห้อง
    .
    “กฎใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับในวันนี้จะช่วยให้กระบวนการกักกันโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นปราการอีกชั้นหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสกลายพันธุ์เล็ดรอดผ่านพรมแดนเข้ามาได้” แมตต์ แฮนค็อก รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษแถลง
    .
    ผู้ที่เข้ารับการกักตัว 11 คืนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ 1,750 ปอนด์ (ราวๆ 72,600 บาท) โดยเป็นวงเงินเหมาจ่ายสำหรับค่าเดินทาง, อาหาร, ที่พัก, มาตรการรักษาความปลอดภัย, บริการอื่นๆ ที่จำเป็น รวมถึงการตรวจคัดกรองโควิด-19
    .
    ผู้โดยสารที่ประสงค์จะเข้าโครงการนี้ต้องมีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบภายใน 3 วันก่อนออกเดินทาง และจะต้องทำการจองและจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนจะเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ
    .
    ผู้เดินทางจะถูกตรวจเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมในวันที่ 2 และวันที่ 8 ของการเข้าพักในโรงแรม และจะสามารถออกจากห้องพักได้ “ในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงอย่างยิ่ง” ซึ่งก็จะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษด้วย
    .
    ทั้งนี้ ผู้ที่ปฏิเสธเข้ารับการตรวจโควิด-19 จะมีโทษปรับระหว่าง 1,000-2,000 ปอนด์ (ราว 41,000-82,000 บาท) ส่วนผู้ที่ฝ่าฝืนกฎการกักตัวก็จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 ปอนด์ (ราว 207,000-415,000 บาท) เลยทีเดียว
    .
    สำหรับบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นจากกฎเหล่านี้ ได้แก่ พนักงานขนส่งสินค้าที่มาจากโปรตุเกส, เจ้าหน้าที่กลาโหม, กองกำลังต่างชาติที่เดินทางเยือน (visiting forces), พนักงานสัญญาจ้างของรัฐบาล และนักการทูต
    .
    สหราชอาณาจักรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดสแรกให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงไปแล้วราวๆ 15 ล้านคน และคาดว่าจะฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไปจนครบภายในเดือน พ.ค.
    .
    เดือนที่แล้ว รัฐบาลอังกฤษได้ยกเลิกระบบ “travel corridors” ที่อนุญาตให้ผู้เดินทางจากประเทศที่มีผู้ติดเชื้อน้อยเข้าเมืองได้โดยไม่ต้องกักตัว โดยปัจจุบันผู้เดินทางทุกคนที่มาจากประเทศนอกกลุ่ม “บัญชีแดง” จะต้องแสดงผลตรวจโควิด-19 เป็นลบ และยินยอมกักตัวเองเป็นเวลา 10 วันในสถานที่ที่สะดวก
    .
    ที่มา: เอเอฟพี

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นิวซีแลนด์ล็อกดาวน์เมืองใหญ่ที่สุด หลังพบการระบาดโควิด-19กลายพันธุ์

    เมืองใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ต้องเข้าสู่ภาวะล็อกดาวน์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเผชิญการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์จากสหราชอาณาจักร ซึ่งแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าตัวดั้งเดิม จากคำยืนยันของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในวันจันทร์(15ก.พ.) ถือเป็นครั้งแรกที่นิวซีแลนด์พบตัวกลายพันธุ์นี้ในระดับท้องถิ่น

    พลเมืองเกือบ 2 ล้านคนของโอ๊คแลนด์ต้องเข้าสู่มาตรการล็อกดาวน์ 3 วัน นับตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์(14ก.พ.) หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ 3 รายในเมืองแห่งนี้ ซึ่งเป็นคนในครอบครัวใกล้ชิด และจากการศึกษาหาลำดับคู่เบสในสาย DNA (genome sequencing)ของ 2 เคส พบว่าพวกเขาติดเชื้อสายพันธุ์ B1.1.7

    เจ้าหน้าที่บอกว่ายังไม่ทราบที่มาที่ไปของ 2 เคสที่ติดเชื้อสายพันธุ์ B1.1.7 พร้อมบอกว่ากำลังตรวจสอบฐานข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด(genome) ในระดับนานาชาติ เพื่อหาความสอดคล้องต้องกัน

    "เราทำถูกต้องแล้วที่ตัดสินใจใช้มาตรการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเราสันนิษฐานว่ามันอาจเป็นหนึ่งในตัวกลายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าเดิมมาก" นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น กล่าวในโฟสต์เฟซบุ๊ฟไลฟ์ในวันจันทร์(15ก.พ.)

    คำสั่งล็อกดาวน์โอ๊คแลนด์ถือเป็นมาตรการล็อกดาวน์ครั้งแรกของนิวซีแลนด์ในรอบ 6 เดือน หลังจากมาตรการล็อกดาวน์เข้มข้นในช่วงต้นๆของโรคระบาดใหญ่ ดูเหมือนจะช่วยขจัดการติดเชื้อในชุมชนได้เป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ประเทศแห่งนี้ถูกยกว่าเป็นชาติที่มีผลงานดีที่สุดในดัชนีของสถาบันโลวีของออสเตรเลีย จากทั้งหมดเกือบ 100 ประเทศ บนพื้นฐานของการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

    การแพร่ระบาดระลอกใหม่กระตุ้นให้ออสเตรเลีย ชาติเพื่อนบ้าน ระงับข้อตกลงที่อนุญาตให้ชาวนิวซีแลนด์เดินทางเข้าออสเตรเลียโดยไม่ต้องกักกันโรคเป็นเวลา 14 วัน

    กระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ระบุในวันจันทร์(15ก.พ.) ไม่พบเคสการติดเชื้อในระดับชุมชนรายใหม่ แต่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 คนตามศูนย์กักกันโรคต่างๆ ตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ประเทศแห่งนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น 2,330 ราย ในนั้นเสียชีวิต 25 คน ทว่าเวลานี้เหลือเคสที่ยังรักษาตัวอยู่เพียงแค่ 47 คน

    ในโอ๊คแลนด์ พบเห็นประชาชนต่อแถวยาวเหยียดบริเวณด้านนอกซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ หลังมีการประกาศล็อกดาวน์เมื่อวันอาทิตย์(14ก.พ.) เนื่องจากผู้คนพยายามกักตุนอาหาร ก่อนหน้าการบังคับใช้คำสั่ง ซึ่งกำหนดให้พวกเขาอยู่แต่ในบ้าน ยกเว้นแต่มีความจำเป็นจริงๆ เช่นจับจ่ายซื้อของหรือไปทำงาน

    สำหรับการเตือนภัยโควิด-19 ในที่อื่นๆทั่วประเทศนั้น ถูกปรับขึ้นมา 1 ขั้นสู่ระดับ 2 ซึ่งในนั้นรวมถึงจำกัดการรวมตัวของผู้คน ห้ามเกินกว่า 100 คน

    (ที่มา:รอยเตอร์ส)
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ระทึกกลางงานปล่อยคืนป่า หมีเอาคืนไล่ล่าฝูงชน หนีตายกันอลหม่าน(ชมคลิป)
    สื่อต่างประเทศเผยแพร่ภาพระทึก นาทีที่ผู้คนแตกตื่นหนีเอาชีวิตรอด หลังฝูงหมีที่พวกเขาเพิ่งปล่อยคืนสู่ผืนป่าในอิรัก หันมาโจมตีเล่นงานพวกเขาโดยไม่คาดฝัน
    หมีซีเรียสีน้ำตาล 6 ตัว ที่ได้รับความช่วยเหลือออกมาจากการถูกกักขังในบ้านของชาวบ้าน ถูกปล่อยคืนสู่ผืนป่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าในแคว้นเคอร์ดิสถาน ทางภาคเหนือของอิรัก
    อย่างไรก็ตามไม่นานหลังจากกรงถูกเปิดออก พวกมันอาละวาดวิ่งเข้าใส่ฝูงชนที่มามุ่งดูและบรรดาผู้สื่อข่าว สร้างความแตกตื่นโกลาหลแก่พิธีปล่อยหมีคืนสู่ป่าในครั้งนี้
    รายงานข่าวระบุว่าเจ้าหน้าที่ปล่อยหมีทั้ง 6 ตัวสู่บ้านหลังใหม่ เป็นป่าในแถบเทือกเขาการา หลังเหล่านักอนุรักษ์ช่วยเหลือพวกมันพ้นจากการถูกคุมขัง
    ภาพในวิดีโอพบเห็นพวกมันอยู่ในกรงเหล็ก ล้อมรอบด้วยฝูงชนจำนวนมาก ทั้งผู้สื่อข่าว ชาวบ้านทั่วไปและเจ้าหน้าที่ติดอาวุธ แต่ไม่นานหลังจากได้รับอิสรภาพ พวกเขาหันหน้าพุ่งตรงเข้าเล่นงานฝูงชน
    ในภาพที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย พบเเห็นช่างภาพ ผู้สื่อข่าวและชาวบ้าน แตกตื่นหลบหนีกันไปคนละทิศละทาง แต่ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้หรือไม่
    เบรนด์ เปรฟกานี หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่าหมีเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือมาจากพื้นที่ต่างๆทางภาคใต้ของอิรัก "บางตัวเราต้องใช้เงินซื้อมา ส่วนตัวอื่นๆพวกเจ้าของสมัครใจมอบพวกมันให้เรา"
    พิธีซึ่งจัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นโครงการปล่อยหมีคืนสู่ผืนป่าซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้เมื่อปี 2018 ก็เคยเกิดเหตุลักษณะเดียวกัน หมี 3 ตัวพุ่งเข้าโจมตีพวกผู้สื่อข่าว หลังได้รับอิสรภาพในเขตเทือกเขาเดียวกัน ส่งผลให้มีผู้สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บ 2 คน
    เขาบอกว่าการถูกห้อมล้อมโดยคนกลุ่มใหญ่ ทำให้พวกหมีตื่นตระหนก
    (ที่มา:เดลิเมล์/รอยเตอร์ส)
    ชมคลิปที่นี่ : https://mgronline.com/around/detail/9640000014822

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘รถบรรทุกน้ำมัน’ ระเบิดชายแดนอัฟกานิสถาน ไฟไหม้ลามเผารถบรรทุกวอด 500 คัน
    .
    เกิดเหตุรถบรรทุกน้ำมันระเบิดที่ชายแดนอัฟกานิสถาน-อิหร่านเมื่อช่วงบ่ายวันเสาร์ (13 ก.พ.) โดยไฟยังได้ลุกลามเผาไหม้รถบรรทุกที่จอดอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเสียหายอีกราว 500 คัน
    .
    อุบัติเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณสำนักงานศุลกากรที่เมืองอิสลามกาลา (Islam Qala) ในจังหวัดเฮรัตของอัฟกานิสถาน โดยภาพถ่ายจากที่เกิดเหตุเผยให้เห็นเพลิงที่โหมลุกไหม้อย่างรุนแรงและกลุ่มควันสีดำหนาทึบซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
    .
    โมฮัมเหม็ด ราฟีก เชอร์ไซ โฆษกสำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัดเฮรัต ระบุว่า ผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 17 คนถูกนำตัวส่งคลินิกแห่งหนึ่งในเมืองอิสลามกาลาและโรงพยาบาลในจังหวัดเฮรัต ทว่ายังไม่มีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่แน่นอน
    .
    คาลีล อะหมัด หนึ่งในผู้เห็นเหตุการณ์ บอกกับ TOLO News ว่า “ทุกคนตกใจกลัวกันมาก ผู้คนพยายามหนีออกจากบริเวณนั้น แต่รถมันติดไปหมด”
    .
    วาฮิด กาตาลี ผู้ว่าการจังหวัดเฮรัตของอัฟกานิสถาน ระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้ประสานขอความช่วยเหลือไปยังอิหร่านแล้ว เนื่องจากหน่วยงานท้องถิ่นของอัฟกานิสถานเองไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะระงับเหตุเพลิงไหม้รุนแรงขนาดนี้ได้
    .
    ด้านสำนักข่าว IRNA ของทางการอิหร่านรายงานว่า จะมีการส่งทีมกู้ภัยและช่วยชีวิตเข้าไปสนับสนุนปฏิบัติการดับเพลิงในอัฟกานิสถานตามที่ได้รับการร้องขอมา พร้อมยืนยันว่าความเสียหายเกิดขึ้นเฉพาะในฝั่งอัฟกานิสถานเท่านั้น ส่วนด่านศุลกากรของอิหร่านไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
    .
    “จนถึงตอนนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายที่ด่านศุลกากรโดการูน (Dogharoon)” โอมิด จาฮันคาห์ ผู้ตรวจการสำนักงานศุลกากรจังหวัดราซาวีโคราซานของอิหร่าน ให้สัมภาษณ์กับ Press TV
    .
    อิหร่านเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ไปยังอัฟกานิสถาน และด่านศุลกากรระหว่างทั้ง 2 ประเทศมีรถบรรทุกเชื้อเพลิงเข้าออก-หนาแน่นเกือบตลอดเวลา
    .
    ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ระหว่างเกิดเหตุได้มีคนบางกลุ่มฉวยโอกาสเข้าไปขโมยสินค้าบนรถบรรทุกที่ถูกจอดทิ้ง และเมื่อวานนี้ (14) เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอัฟกานิสถานได้ยิงสกัดรถคันหนึ่งจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย หลังจากที่คนขับไม่ยอมหยุดรถบริเวณด่านตรวจที่ถูกตั้งขึ้นใหม่อย่างรีบเร่ง
    .
    ที่มา: CNN, เอเอฟพี

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    CDC เผยสหรัฐฯ ฉีดวัคซีนแล้ว 52.9 ล้านโดส แต่ย้ำอย่าเพิ่งชะล่าใจคลายกฎ ‘สวมหน้ากาก’
    .
    ดร.โรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) ออกมาเตือนวานนี้ (14 ก.พ.) ว่ายัง “เร็วเกินไป” สำหรับรัฐต่างๆ ที่จะยกเลิกข้อบังคับสวมหน้ากากในที่สาธารณะ เพราะแม้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะเริ่มลดลง ทว่ายังคงสูงเป็น 2 เท่าของสถิติเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
    .
    คำเตือนล่าสุดมีขึ้นในขณะที่โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของสหรัฐฯ ซึ่งขลุกขลักอยู่พอสมควรในช่วงแรกๆ เริ่มจะเข้าที่เข้าทาง โดยล่าสุดได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 52.9 ล้านโดส ตามข้อมูลจาก CDC
    .
    วาเลนสกี เตือนว่า ข้อบังคับสวมหน้ากากในที่สาธารณะยังเป็นสิ่งจำเป็น หลังจากที่ผู้ว่าการรัฐไอโอวาและมอนทานาประกาศผ่อนคลายกฎการสวมหน้ากากในรัฐของตนเองเมื่อไม่กี่วันก่อน
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Meet the Press ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี ผอ.หญิงของ CDC ชี้ว่า การป้องกันไม่ให้ยอดผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งสูงขึ้นยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การเปิดสถานศึกษาทำได้อย่างปลอดภัย และผู้คนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติมากยิ่งขึ้น จนกว่าประชากรสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 จากการได้รับวัคซีน
    .
    เมื่อพิธีกรถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ชาวอเมริกันจะสามารถเดินถนนได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากภายในสิ้นปี 2021 วาเลนสกี ก็ตอบว่า “นั่นขึ้นอยู่กับว่าเราทำตัวกันอย่างไรในตอนนี้”
    .
    ผอ.CDC ย้ำว่า แม้อัตราการติดเชื้อและการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่ยังอีกนานพอสมควรกว่าชาวอเมริกันจะสามารถใช้ชีวิตปกติได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากเหมือนยุคก่อนโควิด-19
    .
    “ผู้ติดเชื้อรายวันตอนนี้ยังเป็น 2 เท่าครึ่งของเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา... แม้เราจะใจชื้นขึ้นบ้างที่เห็นว่าแนวโน้มเริ่มดีขึ้น แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ามันลดลงจากระดับที่สูงมากผิดปกติ” วาเลนสกี ระบุ
    .
    ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขยืนยันว่า การรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากในที่สาธารณะเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลที่สุดที่จะทำให้การแพร่เชื้อลดลงสู่ระดับที่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ การพบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่ติดได้ง่ายขึ้น และมีแนวโน้มที่จะ “แอนติบอดี” ในร่างกายจะตอบสนองได้น้อยลงกว่าโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม ก็ยิ่งทำให้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการสวมหน้ากากยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    .
    จากฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์เช้าวันนี้ (15) ตามเวลาในไทย สหรัฐฯ มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมมากกว่า 27.6 ล้านคน และไวรัสทางเดินหายใจชนิดนี้ได้คร่าชีวิตประชากรของอเมริกาไปแล้วมากกว่า 485,000 คน
    .
    ที่มา: รอยเตอร์

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผู้อยู่อาศัยและพนักงานทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนในวันที่ 22 มกราคม แค่ให้ชัดเจนว่ามีผู้เสียชีวิตจํานวนมากเกิดขึ้นตั้งแต่และพวกเขากําลังตําหนิมันในเรื่องนี้ ฉันพยายามที่จะโพสต์สิ่งนี้ให้มากที่สุดเท่าที่ฉันสามารถทําได้ตั้งแต่ฉันดูสิ่งนี้.. เวลาจะบอกเล่า..

    นี่ไม่ใช่วัคซีน มันจะฆ่าเซลล์ของคนเราและทําให้เกิดพายุไซโทกีน!

    (“พายุไซโตไคน์ (cytokine storm)” ไซโตไคน์เป็นสารที่สร้างและหลั่งโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ไซโตไคน์หลายชนิดมีบทบาทในการก่อการอักเสบ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 จึงนำยาต้านไซโตไคน์บางชนิดมาทดลองใช้รักษาเพื่อเป็นการช่วยชีวิตตามความจำเป็น (compassionate use)
    https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/505/ยาต้านไซโตไคน์กับการรักษาโควิด-19/)

    ใครที่ทําวิจัยแล้วจะรู้เรื่องนี้ พวกเขากําลังใช้เทคโนโลยีนาโนเพื่อเคลือบ Mrna เพื่อให้ร่างกายไม่เห็นมันจนกว่าจะถึงเซลล์ของพวกเขา จากนั้นเมื่ออยู่ในเซลล์มันทําให้เซลล์ผลิตโปรตีน spike เมื่อใครบางคนถูกสัมผัสกับ sars หรือแม้กระทั่งอาจจะเป็นหวัดการตอบสนองของภูมิต้านทานจะเริ่มมองหาปัญหา มีอะไรผิดปกติกับสิ่งนั้น?

    มันจะเห็นมันบนเซลล์เหล่านั้นและเริ่มโจมตีมันดังนั้นร่างกายจะเปิดตัวมันเอง! และเซลล์เหล่านั้นจะตาย พวกเขาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปหลังจากวัคซีนนี้! และมันอาจจะไปถึงหัวใจ ไตหรือเซลล์อวัยวะอื่นๆ อาการเซปซิสครั้งแรกจากนั้นอวัยวะล้มเหลว ดังนั้นแม้ว่าหลายคนไม่ได้มีปฏิกิริยารุนแรง apon วัคซีนแค่รอไม่กี่สัปดาห์หรือเดือนเมื่อถูกเปิดเผย จากนั้นพวกเขาจะโทษมันเกี่ยวกับความเครียดหรือการกลายพันธุ์อื่นอย่างแน่นอน ดร. พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้กําลังถูกเซ็นเซอร์เป็นบ้า! Sars คือชื่อของโรคและ covid-19 คืออาการ นอกจากนี้ Johnson & Johnson และ AstraZeneca ' s ′′ วัคซีน ′′ กําลังเปลี่ยนแปลง DNA DNA จะเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์กับคนอื่นๆจริงๆ และมันควรจะเป็นยาเดียว ฉันเชื่อเมื่อพวกเขาโทษว่ามันเป็นสายพันธุ์ใหม่จากการปฏิวัติพวกเขาจะต้อนรับควอนตัมดอทททท ลูซิเฟอเรสและ / หรือลูซิเฟรินเจาะ bbb และรก โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากจํานวนเงินหรือสิ่งอื่นๆ

    แชร์จาก Daniel Labossiere
    upload_2021-2-15_22-0-19.png
    All residents And staff were vaccinated on January 22nd. Just to be clear this many deaths have occurred since and they are blaming it on a nee strain. I keep trying to post this on as much as I can since I have looked into this..time will surely tell..
    This is Not a vaccine. It will kill one's cells and cause a cytokine storm! Anyone who has done the research will know this. They are using nanotechnology to coat the Mrna so the body doesn't see it until it gets to ones cells. Then, once in the cells, it causes the cell to produce spike protein. Once someone is exposed to a sars or even possibly a cold the immune response will begin to look for the problem. What's wrong with that?
    It will see it on those cells and start attacking them therefore the body will turn on itself! And those cells will die. They are no longer the same after this vaccine! And it may go to the heart, kidney, or any other organ cells. First sepsis then organ failure. So although many are not having severe reactions apon vaccinations just wait a few weeks or months when exposed. Then they will absolutely blame it on another strain or mutation. Dr's speaking up about this are being censored like crazy! Sars is the name of the disease and covid-19 is the symptoms. Also Johnson & Johnson and AstraZeneca's "vaccine" is dna altering. DNA does actually go into the nucleus of the cell versus the others. And it's supposed to be one dose. I do believe when they blame it on a new strain from repercussions they will welcome the quantum dot tat. The luciferese and/or luciferin penetrate the bbb and placenta with no help from amount or anything else.
    It gives light to 2 esdras where it says women will give birth to beasts. Also since it penetrates the bbb could it be classified as the forehead? We are in interesting times brother and sisters. I keep trying to warn others about this "vaccine." Why would people get something they are not educated in? It's disheartening.
    Shared from Daniel Labossiere.
    https://toronto.citynews.ca/video/2...ZdXSO0LkjjMtnhR73JmAkXZP7UYPJwljh4WaIZvvP6Piw
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จากโพสต์นี้ ผมเห็นด้วย ถึงผมจะไม่ใช่หมอ และไม่ได้จบมาทางนี้เลยก็ตาม เรียน ม.ปลาย ศิลป์ คำนวณ แต่ไปอ่านฟิสิกส์ เคมี และไปกวดวิชา ตอน ม 6 และเรียนจบวิศวะ ก็ตาม แต่ความเห็นส่วนตัวของผม ผมว่าวัคซีนตัวนี้ ตามข่าวที่ออกมา มันทำหน้าที่เหมือนรักษาอาการของการติดเชื้อ หรือทำให้ผู้ติดเชื้ออาการไม่รุนแรงไม่ใช่หรือ มันทำหน้าที่เหมือนยาที่นำมารักษาเลย ซึ่ง วัคซีนมีความหมายถึง การให้เชื้อหรือส่วนหนึ่งของเชื้อเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคหรือแอนติบอดี ซึ่งอาจให้เวลานานนับสัปดาห์หรือนับเดือนกว่าจะมีภูมิป้องกันโรคได้ วัคซีนโควิด ที่ผลิตมาในช่วงนี้ คุณสมบัติแปลกพิลึกดี

    upload_2021-2-15_22-5-19.png

    http://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/vaccine
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

    ยาต้านไซโตไคน์กับการรักษาโควิด-19



    รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
    หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ภาพประกอบจาก : https://images.ctfassets.net/cnu0m8...0px-Cytokine_release.jpg?w=650&h=433&fit=fill

    โควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คือ “2019-nCoV (2019 novel coronavirus)” หรือ “SARS-CoV-2” เริ่มเกิดการระบาดที่เมืองอู่ฮั่นในประเทศจีน (Wuhan, China) เมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ปัจจุบันยังคงมีการระบาดในบางประเทศ ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการที่สำคัญคือ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ขณะนี้ยังไม่มียาใดที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโควิด-19 และไม่มีวัคซีนใช้ การรักษาจึงเป็นแบบประคับประคองอาการตามวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน แม้จะมีการนำยาบางชนิดที่ให้ผลการศึกษาในหลอดทดลองดีในการต้านไวรัสที่ก่อโรค (SARS-CoV-2) แต่การนำมาใช้รักษาผู้ป่วยยังให้ผลไม่ชัดเจน นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงพบว่าระดับไซโตไคน์ (cytokines) หลายชนิดในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งคาดว่าเกิด “พายุไซโตไคน์ (cytokine storm)” ไซโตไคน์เป็นสารที่สร้างและหลั่งโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ไซโตไคน์หลายชนิดมีบทบาทในการก่อการอักเสบ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 จึงนำยาต้านไซโตไคน์บางชนิดมาทดลองใช้รักษาเพื่อเป็นการช่วยชีวิตตามความจำเป็น (compassionate use) อย่างไรก็ตามผลการรักษายังไม่อาจสรุปได้ ยาบางชนิดดูเหมือนให้ผลดี แต่บางชนิดทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการแย่ลง ขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังเร่งทำการศึกษายาต้านไซโตไคน์ทั้งชนิดที่ใช้เป็นยารักษาโรคอื่นอยู่แล้วและยาใหม่ที่ยังไม่เคยวางจำหน่ายมาก่อน การศึกษาส่วนใหญ่เริ่มแล้วในช่วงเดือนเมษายน 2563 บางการศึกษาคาดว่าจะเริ่มประเมินผลเบื้องต้นได้ในเดือนมิถุนายน 2563 ในบทความนี้จะให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ “พายุไซโตไคน์”, “พายุไซโตไคน์” ในผู้ป่วยโควิด-19, ข้อควรคำนึงในการใช้ยาต้านไซโตไคน์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และการศึกษาถึงการใช้ยาต้านไซโตไคน์รักษาผู้ป่วยโควิด-19

    ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ “พายุไซโตไคน์”

    ไซโตไคน์เป็นสารที่สร้างและหลั่งโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน มีบทบาทเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันและบทบาทด้านอื่นรวมถึงการเกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่งของร่างกายในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ตัวอย่างไซโตไคน์ เช่น อินเตอร์เฟียรอน-แกมมา (interferon-gamma หรือ IFN-γ), อินเตอร์ลิวคิน-1 (interleukin-1 หรือ IL-1), อินเตอร์ลิวคิน-6 (interleukin-6 หรือ IL-6), ทีเอนเอฟ-แอลฟา (tumor necrosis factor-alpha หรือ TNF-α) แม้ว่าไซโตไคน์เหล่านี้จะมีบทบาทในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตามปกติเมื่อมีแปลกปลอมมากระตุ้น แต่บางกรณีร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงหรือมากเกินไปทำให้มีการหลั่งไซโตไคน์หลายชนิดสู่กระแสเลือดทันทีพร้อมกันในปริมาณมาก (hypercytokinemia) จะทำให้เกิด “พายุไซโตไคน์” และเป็นอันตรายได้ พายุไซโตไคน์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ (รวมถึงไวรัสโควิด-19), ภาวะภูมิต้านตนเอง, การรักษาโรคมะเร็งด้วยอิมมูโนรีเซพเตอร์ (chimeric antigen receptor T-cell therapy หรือ CAR T-cell therapy) กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากพายุไซโตไคน์มีหลายอย่าง เช่น ไข้สูง คลื่นไส้ อาการอ่อนล้ามาก การอักเสบของอวัยวะบางแห่งซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้อวัยวะนั้นทำงานล้มเหลว กลุ่มอาการดังกล่าวอาจเกิดแตกต่างกันได้ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุไซโตไคน์ เนื่องจากสาเหตุที่ต่างกันอาจส่งผลในการกระตุ้นการหลั่งไซโตไคน์ต่างชนิดกันและในปริมาณที่ต่างกัน

    ภาวะพายุไซโตไคน์ในผู้ป่วยโควิด-19

    ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการที่สำคัญคือ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก หากเป็นไม่รุนแรงภายหลังได้รับการรักษาแบบประคับประคองอาการตามวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานจะดีขึ้นและสามารถกลับบ้านได้ ส่วนผู้ที่มีอาการปานกลางโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือมีโรคอื่นอยู่แล้วหรือเริ่มเกิดโรคแทรกซ้อน หลังพ้นสัปดาห์แรกไปแล้วอาจมีอาการรุนแรงขึ้น แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพดีพอที่จะประเมินระดับความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามพบว่าในช่วงแรกจะเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์น้อยในเลือด (lymphocytopenia) ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นตามอาการ ประมาณว่ามีผู้ป่วยราว 5% เข้าสู่ขั้นวิกฤติ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสิ่งบ่งชี้ถึงการเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะอย่างรุนแรง เช่น ที่ปอด หัวใจ (ดูรูป) ในเลือดพบค่าผิดปกติหลายอย่าง เช่น เฟอร์ริติน (ferritin) เพิ่มขึ้น เกล็ดเลือดลดลง ระดับเอนไซม์หลายชนิดสูงขึ้น บางรายพบระดับไซโตไคน์หลายชนิดในเลือดสูงผิดปกติซึ่งแสดงถึงการเกิดพายุไซโตไคน์ ไซโตไคน์ที่พบมีทั้งชนิดก่อการอักเสบและชนิดต้านการอักเสบ สำหรับชนิดที่ก่อการอักเสบมีหลายชนิด รวมถึงอินเตอร์ลิวคิน-1, อินเตอร์ลิวคิน-6, ทีเอนเอฟ-แอลฟา ซึ่งไซโตไคน์เหล่านี้พบได้ในโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ นอกจากนี้ยังพบไวรัสที่อวัยวะอื่นนอกเหนือจากปอด เช่น หัวใจและหลอดเลือด ไต ทางเดินอาหาร สมอง สิ่งที่ตรวจพบข้างต้นสอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยระยะรุนแรง เช่น เกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome), การทำงานของหัวใจล้มเหลว, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เกิดจับก้อนง่ายและอุดหลอดเลือดที่อวัยวะต่าง ๆ ทำให้อวัยวะหลายอย่างทำงานล้มเหลว, อาจมีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง (เช่น อาการชัก)

    0505-1.gif

    ข้อควรคำนึงในการใช้ยาต้านไซโตไคน์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

    ในการนำยาต้านไซโตไคน์มาใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีข้อควรคำนึงหลายอย่างดังนี้ (1) ไซโตไคน์มีบทบาทในปฏิกิริยาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งการอักเสบเป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่งในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ด้วยเหตุนี้การใช้ยาต้านไซโตไคน์ (ดูตัวอย่างชื่อยาในหัวข้อ “การศึกษาถึงการใช้ยาต้านไซโตไคน์รักษาผู้ป่วยโควิด-19”) แม้จะช่วยลดการอักเสบของอวัยวะได้ แต่ส่งผลกระทบต่อการกำจัดไวรัสซึ่งต้องอาศัยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นหลัก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงขึ้นเนื่องจากไวรัสมีจำนวนเพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้ยังไม่มียาที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดไวรัสโควิด-19, (2) พายุไซโตไคน์ที่เกิดขึ้นมีการหลั่งไซโตไคน์หลายชนิดและรูปแบบการหลั่ง (ทั้งชนิดและปริมาณ) ในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันได้ การใช้ยาต้านไซโตไคน์ซึ่งออกฤทธิ์เจาะจงต่อไซโตไคน์ชนิดใดชนิดหนึ่งจึงอาจให้ผลดีเฉพาะกับผู้ป่วยบางราย, (3) การพบไวรัสที่อวัยวะอื่นนอกเหนือจากปอด (เช่น ไต หัวใจ) ดังที่กล่าวข้างต้น และที่อวัยวะเหล่านั้นพบตัวรับเอซีอี 2 (angiotensin-converting enzyme 2 หรือ ACE2) ซึ่งเป็นช่องทางที่ไวรัสโควิด-19 ใช้เพื่อเข้าสู่ภายในเซลล์ จึงเป็นไปได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนผู้ป่วยเสียชีวิตไม่ได้เป็นเพราะพายุไซโตไคน์เท่านั้น อาจเกิดจากไวรัสเอง ที่ผ่านมาภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะไตวายเป็นส่วนหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด-19 และ (4) ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เจนัสไคเนส (Janus kinase หรือ JAK) (ชื่อยามีกล่าวต่อไป) จะรบกวนประสิทธิภาพของอินเตอร์เฟียรอนในการออกฤทธิ์ต้านไวรัสซึ่งต้องอาศัยเอนไซม์นี้ (ผ่านทาง JAK–STAT signaling pathway) ด้วยเหตุนี้การใช้ยาต้านไซโตไคน์อาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร

    การศึกษาถึงการใช้ยาต้านไซโตไคน์รักษาผู้ป่วยโควิด-19

    ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ได้นำยาต้านไซโตไคน์บางชนิดมาทดลองใช้รักษาผู้ป่วยเพื่อเป็นการช่วยชีวิตตามความจำเป็น ซึ่งผลการรักษายังไม่อาจสรุปได้ ขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังเร่งทำการศึกษายาต้านไซโตไคน์ทั้งชนิดที่ใช้เป็นยารักษาโรคอื่นอยู่แล้วและยาใหม่ที่ยังไม่เคยวางจำหน่ายมาก่อน สำหรับยาที่มีใช้อยู่แล้วส่วนใหญ่เป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น อะนาคินรา (anakinra), โทซิลิซูแมบ (tocilizumab), ซาริลูแมบ (sarilumab), อะดาลิมูแมบ (adalimumab), โทฟาซิทินิบ (tofacitinib), บาร์ซิทินิบ (barcitinib) ส่วนยาที่ใช้ในโรคอื่น (นอกเหนือจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์) หรือยาใหม่ที่นำมาศึกษามีหลายชนิดเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ซิลทูซิแมบ (siltuximab), รูโซลิทินิบ (ruxolitinib), แคนาคินูแมบ (canakinumab), มาวริลิมูแมบ (mavrilimumab) การศึกษาส่วนใหญ่เริ่มต้นช่วงเดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังสามารถหาผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการได้เป็นจำนวนมาก และบางการศึกษาจะเริ่มประเมินผลเบื้องต้นได้ในเดือนมิถุนายน 2563 ดังตัวอย่างยาและการศึกษาที่กล่าวถึงข้างล่างนี้

    โทซิลิซูแมบ (ชื่อการค้าคือ Actemra และ RoActemra ยานี้เป็น humanized IL-6 receptor monoclonal antibody) เป็นยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 ในการศึกษามีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยแบบสุ่ม ปกปิดชื่อยาและมีกลุ่มยาหลอกเพื่อเปรียบเทียบ (randomized, double-blind, placebo-controlled trial) เป็นการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 (phase 3 clinical study) ที่ทำร่วมกันหลายหน่วยงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอีกหลายประเทศในยุโรป เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย (รวมถึงศึกษาด้านเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์) ของยาโทซิลิซูแมบในการรักษาโรคปอดอักเสบรุนแรงจากโควิด-19 ในผู้ป่วยจำนวน 330 คน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาแบบประคับประคองอาการตามวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ขนาดยาที่ให้คือ 8 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (สูงสุดไม่เกิน 800 มิลลิกรัม) โดยการหยดเข้าหลอดเลือดดำ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงสามารถให้ยาได้อีกไม่เกิน 1 ครั้ง การศึกษานี้เริ่มเมื่อต้นเดือนเมษายน 2563 กำหนดประเมินผลเบื้องต้นสิ้นเดือนสิงหาคม 2563 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์สิ้นเดือนกันยายน 2563

    รูโซลิทินิบ (ชื่อการค้าคือ Jakafi ยานี้เป็น Janus kinase inhibitor ชนิด JAK1/JAK2 inhibitor) เป็นยายับยั้งเอนไซม์เจนัสไคเนสซึ่งเอนไซม์นี้ทำงานเกี่ยวข้องกับตัวรับของไซโตไคน์ ในการศึกษามีการเปิดเผยชื่อยาและไม่มีการเปรียบเทียบกับยาใด (single arm open-label clinical trial) เป็นการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 ทำในประเทศแคนาดา เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยารูโซลิทินิบในการรักษาโรคปอดอักเสบจากโควิด-19 ในผู้ป่วยจำนวน 64 คน อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาแบบประคับประคองอาการตามวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ขนาดยาที่ให้คือ 10 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน ตามด้วยขนาด 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน และขนาด 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 วัน การศึกษานี้เริ่มเมื่อพ้นกลางเดือนเมษายน 2563 กำหนดประเมินผลเบื้องต้นสิ้นเดือนตุลาคม 2563 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์สิ้นเดือนมกราคม 2564

    โทฟาซิทินิบ (ชื่อการค้าคือ Xeljanz ยานี้เป็น Janus kinase inhibitor ชนิด JAK1/JAK3 inhibitor) เป็นยายับยั้งเอนไซม์เจนัสไคเนสซึ่งเอนไซม์นี้ทำงานเกี่ยวข้องกับตัวรับของไซโตไคน์ ในการศึกษามีการเปิดเผยชื่อยาและไม่มีการเปรียบเทียบกับยาใด (prospective single cohort open trial) เป็นการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 2 เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาโทฟาซิทินิบ ในการรักษาโรคปอดอักเสบจากโควิด-19 ระยะเริ่มเป็น ในผู้ป่วยจำนวน 50 คน อายุ 18-65 ปี ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาแบบประคับประคองอาการตามวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ขนาดยาที่ให้คือ 10 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน การศึกษานี้เริ่มต้นก่อนกลางเดือนเมษายน 2563 กำหนดประเมินผลเบื้องต้นหลังพ้นกลางเดือนมิถุนายน 2563 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ก่อนกลางเดือนกรกฎาคม 2563

    เอกสารอ้างอิง
    1. Ye Q, Wang B, Mao J. The pathogenesis and treatment of the 'cytokine storm' in COVID-19. J Infect 2020. doi:10.1016/j.jinf.2020.03.037. Accessed: May 12, 2020.
    2. Akhmerov A, Marbán E. COVID-19 and the Heart. Circ Res 2020. doi:10.1161/circresaha.120.317055. Accessed: May 12, 2020.
    3. Zhang C, Wu Z, Li JW, Zhao H, Wang GQ. The cytokine release syndrome (CRS) of severe COVID-19 and Interleukin-6 receptor (IL-6R) antagonist tocilizumab may be the key to reduce the mortality. Int J Antimicrob Agents 2020. doi:10.1016/j.ijantimicag.2020.105954. Accessed: May 12, 2020.
    4. Mehta P, McAuley DF, Brown M, Sanchez E, Tattersall RS, Manson JJ. COVID-19: consider cytokine storm syndromes and immunosuppression. Lancet 2020; 395:1033-4.
    5. Sarzi-Puttini P, Giorgi V, Sirotti S, Marotto D, Ardizzone S, Rizzardini G, et al. COVID-19, cytokines and immunosuppression: what can we learn from severe acute respiratory syndrome? Clin Exp Rheumatol 2020; 38:337-42.
    6. Conti P, Ronconi G, Caraffa A, Gallenga CE, Ross R, Frydas I, et al. Induction of pro-inflammatory cytokines (IL-1 and IL-6) and lung inflammation by Coronavirus-19 (COVI-19 or SARS-CoV-2): anti-inflammatory strategies. J Biol Regul Homeost Agents 2020. doi:10.23812/CONTI-E. Accessed: May 12, 2020.
    7. Moore JB, June CH. Cytokine release syndrome in severe COVID-19. Science 2020; 368:473-4.
    8. Diamanti AP, Rosado MM, Pioli C, Sesti G, Laganà B. Cytokine release syndrome in COVID-19 patients, a new scenario for an old concern: the fragile balance between infections and autoimmunity. Int J Mol Sci 2020. doi:10.3390/ijms21093330. Accessed: May 12, 2020.
    9. Benucci M, Damiani A, Infantino M, Manfredi M, Quartuccio L. Old and new antirheumatic drugs for the treatment of COVID-19. Joint Bone Spine 2020; 87:195-7.
    10. Kupferschmidt K, Cohen J. Race to find COVID-19 treatments accelerates. Science 2020; 367:1412-3.
    11. Mountfort K. Treatments for COVID-19 – an update on current clinical trials. https://www.touchophthalmology.com/insight/treatments-for-covid-19-an-update-on-current-clinical-trials/. Accessed: May 12, 2020.
    12. Lythgoe MP, Middleton P. Ongoing clinical trials for the management of the COVID-19 pandemic. Trends Pharmacol Sci 2020. doi:10.1016/j.tips.2020.03.006. Accessed: May 12, 2020

    0505.jpg
    ตั้งแต่วันที่ 15/05/2563

    Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/ybeuw7jf

    https://www.touchophthalmology.com/insight/treatments-for-covid-19-an-update-on-current-clinical-trials/. Accessed: May 12, 2020.
    • Lythgoe MP, Middleton P. Ongoing clinical trials for the management of the COVID-19 pandemic. Trends Pharmacol Sci 2020. doi:10.1016/j.tips.2020.03.006. Accessed: May 12, 2020
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จำได้ไหมว่า ผมเคยเอาข่าวมาลง ว่ามีค่ายผลิตวัคซีนตัวหนึ่ง ก่อนประกาศวัคซีนสำเร็จหลายเดือน ช่วงกำลังพัฒนา ไม่ขอเอ่ยชื่อครับ ที่บอกว่าจะไม่ขอรับผิดชอบอาการข้างเคียงของผู้ฉีดวัคซีนของเขา ถ้าในช่วง 2 ปี เกิดพบอาการข้างเคียง โดยจะให้รัฐบาลแต่ละประเทศที่จัดซื้อไป รับิดชอบกันเอง บริษัทรับอย่างเดียว เกิดอะไรขึ้นไม่ต้องไปรับผิดชอบอะไร
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พรุ่งนี้ -10 กลับมาอีกล่ะนะ

    วันนี้ (15 ก.พ.) เวลา 21:00 น. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเกาหลีได้ออกคำเตือนคลื่นความเย็นทั่วประเทศ

    เนื่องด้วยนับจากวันนี้อากาศเย็นจากทางตะวันตกเฉียงเหนือจะปะทะเข้ามาอย่างรุนแรงทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันลดลงมากกว่า 10 องศาจากวันก่อน นอกจากนี้ยังคาดว่าลมจะพัดแรงส่งผลให้อุณหภูมิที่สัมผัสได้จะต่ำกว่าอุณหภูมิจริง

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าของวันที่ 16 ก.พ. อุณหภูมิลดลง -10 ถึง -1 องศา ซึ่งลดลงมากกว่า 10 องศาจากวันนี้ และคำเตือนเกี่ยวกับคลื่นความเย็นนี้จะมีผลไปทุกพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ ดังนั้นควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ฝากดูแลใส่ใจสถานที่อาศัยและใส่ใจสุขภาพด้วย
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    1 > ปัจจัยความสำเร็จที่ช่วยให้คนท้องถิ่นในลุ่มน้ำแอมะซอนมี "ปลาอะราไพม่า (Arapaima)" หรือปลาช่อนแอมะซอนบริโภคกันต่อไป เพราะชุมชนได้ลุกขึ้นมาเฝ้าระวังแม่น้ำและรักษาพันธุ์ปลาชนิดนี้เอาไว้อย่างจริงจัง

    2 > ชูอาว กัมปูส-ซิลวา (João Campos-Silva) จากสถาบันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Institutio Juruá คือเรี่ยวแรงสำคัญ โดยเขาลงมือศึกษาแม่น้ำชูรูอาหนึ่งในสาขาตอนในของแม่น้ำแอมะซอน โดยตั้งโจทย์ไว้ว่าจะทำอย่างไรให้ปลาอะราไพม่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น 4 เท่าภายใน 3 ปี?

    3 > วิธีการของเขาคือการล้อมคอกจุดขยายพันธ์ของปลา ซึ่งในช่วงฤดูฝนพวกมันจะออกไปขยายพันธุ์ที่ทะเลสาบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากฤดูน้ำหลากท่วมป่าแอมะซอน เมื่อรู้จุดแล้วชุมชนท้องถิ่นจะจัดเฝ้าระวังทางเข้าทะเลสาบตลอดทั้งปีเพื่อป้องกันการล่าผิดกฎหมาย

    4 > ก่อนที่จะเริ่มมีการดำเนินการในเรื่องนี้จริงจังขึ้นเพราะปลาอะราไพม่ากำลังเจอวิกฤตจากการถูกล่าแบบไม่ยั้งมือโดยกลุ่มทุน ต่อมารัฐบาลบราซิลจึงเข้ามาควบคุมโดยการห้ามจับในปี 2539 เนื่องจากจำนวนประชากรปลาลดลง ถึงขนาดห้ามแล้วก็ไม่สำเร็จเพราะมันเป็นปลาที่คนชอบกิน จากการศึกษาเมื่อปี 2557 พบว่ามันหายไปจากพื้นที่ทำการสำรวจถึง 93% แล้ว รอดจากการล่าเพียง 7%

    5 > ขณะที่คนท้องถิ่นจะได้รับอนุญาตให้จับปลาได้ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนเท่านั้นและปลาที่มีความยาวน้อยกว่า 1.55 เมตรจะปล่อยคืนสู่น้ำ วิธีการนี้ช่วยให้ทะเลสาบท้องถิ่นที่แทบไม่เหลือปลาอะราไพม่าอีกกลับมามีปลาอีกครั้งในหลักพันตัว

    6 > นี่คือชัยชนะของคนท้องถิ่น เพราะก่อนหน้าที่จะใช้ระบบการจัดการของชูอาว กัมปูส-ซิลวา ทะเลสาบที่ปลาเข้ามาแพร่พันธุ์ถูกพวกนายทุนประมงเข้ามาปักหมุดไว้จนคนท้องถิ่นไม่มีโอกาส แต่นายทุนประมงจะจับปลาแบบไม่ยั้งมือจนปลาอะราไพม่าแทบไม่เหลือ

    7 > การวิจัยของกัมปูส-ซิลวาเกี่ยวกับทะเลสาบรอบๆ แม่น้ำชูรูอาพบว่าประชากรปลาอะราไพม่าเพิ่มมากกว่าสี่เท่าและอะราไพมายังอพยพไปยังทะเลสาบแห่งใหม่และขยายขอบเขตออกไป เขาประเมินว่าตอนนี้มีอาราไพม่าประมาณ 330,000 ตัวอาศัยอยู่ในทะเลสาบ 1,358 แห่งในพื้นที่จัดการ 35 แห่งโดยมีชุมชนกว่า 400 แห่งที่เกี่ยวข้องในการจัดการ

    8 > โครงการของเขาไม่ได้ช่วยปลาอะราไพม่าจาการสูญพันธุ์ในถิ่นอาศัยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มนุษย์ได้มีเนื้อปลากิน เขาช่วยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการดำรงชีวิตของชุมชุม เขาบอกว่า "เรากำลังเผชิญกับการลดลงของสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ทั่วโลก นี่แหละเรามีกรณีศึกษาแง่บวกสุดๆ ที่แสดงให้เห็นชัดๆ ว่า เราสามารถเชื่อมโยงการอนุรักษ์ ความหลากหลายและความต้องการทางสังคมเข้าด้วยกันได้"

    9 > กัมปูส-ซิลวา บอกว่ารายได้จากการจับปลาในชุมชนยังช่วยสร้างผลประโยชน์ทางสังคมที่ชัดเจน เพราะรายได้กลายมาเป็นทุนแก่โรงเรียนในท้องถิ่นแอมะซอนที่ห่างไกลความเจริญและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานประกันสังคมและการดูแลสุขภาพ ตลอดจนส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ

    10 > ในที่สุดภาวะยากจนด้านระบบนิเวศของปลาอะราไพม่าก็หมดลงไป ตอนนี้มีปลาเพิ่มขึ้นมาถึงหลักแสนตัว กัมปูส - ซิลวายังเชื่อว่าการช่วยปลาเป็นยาแก้ความยากจนของมนุษย์ด้วย "ผมเชื่อว่าการจัดการอะราไพม่าโดยชุมชนเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดที่เรามีเพื่อรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำแอมะซอน"

    11 > ความสำเร็จของกัมปูส-ซิลวาทำให้เขาได้รับรางวัล Rolex Awards for Enterprise เมื่อปี 2561 ในฐานะบุคคลที่มีโครงการสร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงชีวิตบนโลกใบนี้และช่วยเสนอแนวทางแก้ไขความท้าทายที่สำคัญหรือรักษามรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมสำหรับคนรุ่นต่อไป

    12 > ล่าสุด กัมปูส-ซิลวา ติดหนึ่งในรายชื่อ "ฮีโร่สิ่งแวดล้อมที่จะเป็นแรงบัลดาลใจให้กับเราในปี 2021" โดยสำนักข่าว CNN ซึ่งมีฮีโร่สีเขียวที่ถูกคัดเลือกมาเป็นตัวอย่างให้กับชาวโลกได้ดำเนินรอยตาม และเคยรายงานความสำเร็จของเขาแบบเจาะลึกมาแล้วด้วย

    13 > ประเทศไทยเคยนำปลาอะราไพม่ามาเพาะเลี้ยงและยังเพาะพันธุ์ขายต่อไปในอีกหลายประเทศ แต่ต้นกำเนิดของมันอยู่ที่แม่น้ำแอมะซอน เป็นปลาน้ำจืดมีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาจยาวได้ถึง 3 เมตรหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม และที่ต้นกำเนิดของมันจำนวนของปลาอะราไพม่ากำลังลดลงอย่างรวดเร็วเพราะการล่าไม่ยั้งมือเมื่อไม่กี่ปีก่อน

    14 > ถึงแม้ว่าปลาอะราไพม่าจะถูกนำไปขยายพันธุ์นอกถิ่นซึ่งช่วยให้มันคงอยู่ต่อไปได้ แต่การไปปรากฏตัวที่อื่นทำให้มันกลายเป็นปลาเอเลี่ยนที่คุกคามสัตว์พื้นถิ่น ดังนั้นการอาศัยอยู่ในแอมะซอนจะเป็นการดีที่สุดทั้งสำหรับตัวปลาเองและคนชุมชนที่นั่น

    อ้างอิง
    • Tom Page. (November 18, 2020). "How Amazonians saved a 'Terminator' of the fish world". CNN.
    • "Protect a giant fish for the Amazon". (2019). Rolex Awards.
    ภาพ : https://www.rolex.org/.../environ.../joao-vitor-campos-silva
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อัฟกานิสถาน 1f1e6_1f1eb.png : ภาพรถบรรทุกน้ำมัน 500 คันถูกไฟไหม้ ที่ด่านชายแดนศุลกากร อัฟกานิสถาน - อิหร่าน เมืองเฮรัตในวันที่ 14ก.พ. ช่วงบ่าย ความเสียหายเบื้องต้น 1,500 ล้านบาท มีผู้บาดเจ็บ 17 คน ผู้เสียชีวิตคาดว่ามีแต่ยังไม่สารมารถระบุจำนวนได้เนื่องจากไฟไหม้เป็นเวลานานเกิน 24 ช.ม. ยังไม่ทราบสาเหตุเพลิงไหม้และรถระเบิด ไฟไหม้สามารถมองเห็นจากสถานีอวกาศนาซา ขณะเดียวกันรถบรรทุก 70 คันที่ขับหนีไฟถูกโจรปล้นตามแนวชายแดน
    คลิป :
    https://www.facebook.com/109509790713273/posts/251176206546630/
    ภาพเพิ่ม :
    https://www.facebook.com/109509790713273/posts/251554536508797/

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เนเธอร์แลนด์ 1f1f3_1f1f1.png : อากาศหนาวเย็น หิมะตก คลื่นไอเย็นปกคลุม รวมทั้งมีฝนเยือกแข็ง แม่น้ำหลายสายกลายเป็นน้ำแข็งเป็นลานสเก็ต ทางการเตือนระดับสีแดงในเนเธอร์แลนด์เมื่อพื้นผิวถนนลื่น เต็มไปด้วยน้ำแข็งเคลือบ
    ภาพ : Jaalberda
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐ 1f1fa_1f1f8.png : รัฐเท็กซัส เกิดรถชนครั้งใหญ่บน El Paso อีกครั้ง รถหลายสิบคันชนกันเนื่องจากอากาศเย็นมีหมอก หิมะตกหนัก ถนนลื่น
    1f4f8.png :americantruckers
    คลิป
    https://www.facebook.com/groups/220900739128637/permalink/428447321707310/

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กินี 1f1ec_1f1f3.png : ไข้ อีโบลา Ebola กลับมาระบาดอีกครั้ง พบ 7 คนติดเชื้อ เสียชีวิต 4 คน 3คนอยู่ในโรงพยาบาล โรคนี้เคยระบาดในกีนี ล่าสุดในปี 2014-2016 ประเทศเซียร์ราลีโอนและไลบีเรียที่พรมแดนติดกันกำลังหาทางป้องกันการระบาดข้ามแดน

    m6AUs8_6JCR-jfZ57UBdCbRL7Zn0O0bpHjJ4dwGYJuJ&_nc_ohc=OJF5LESyxYkAX9TH558&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg

    wBpTvea04hnSHzTHUzZsogHZ0FGFikluujnauV7Znc8&_nc_ohc=5Jo4JWnFIT0AX_stGfq&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐ 1f1fa_1f1f8.png : โอคลาโฮมา ถนนที่เต็มไปด้วยหิมะ ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุก รถส่วนบุคคลชนกันบนทางด่วนหลายคันและเกิดเพลิงไหม้ ตำรวจนำผู้บาดเจ็บหลายคนส่งโรงพยาบาล คลื่นไอเย็นปกคลุมสหรัฐ ทำให้หิมะตก รวมทั้งถนนมีน้ำแข็งในหลายรัฐ
    1f4f8.png :shanermurph
    คลิป
    https://www.facebook.com/groups/220900739128637/permalink/428398571712185/

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ครม.อนุมัติขยายสิทธิผู้รับโครงการเราชนะ รับเงินเยียวยา 7,000 บาท
    ปรับคุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิเราชนะ ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ สามารร่วมรับสิทธิโครงการเราชนะได้ เพิ่มเติม ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ

    -ลูกจ้างแบบจ้างเหมาของหน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกลุ่มลูกจ้างที่จ้างผ่านบริษัท ไม่ได้ขึ้นตรงกับหน่วยราชการโดยตรง

    -ลูกจ้างรายวันส่วนราชการ สามารถรับสิทธิโครงการเราชนะได้

    -อาสาสมัคร ต่างๆ เช่นอาสาสมัครสาธารณสุข อสม. มีสิทธิรับเราชนะ

    #ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
    #ศูนย์ข้อมูลCOVID19
    #หยุดโควิดแต่ไม่หยุดเศรษฐกิจไทย
    #NewNormalชีวิตวิถีใหม่
    #สมดุลชีวิตวิถีใหม่
    #รวมไทยสร้างชาติ
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,795
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ส.อ.ท. จัดพิธีบวงสรวงก่อนเร่งสร้างโรงพยาบาลสนามจังหวัดสมุทรสาครรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 บนพื้นที่ 49 ไร่
    วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 08.09 น. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวง ขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทาง และพระแม่ธรณี เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม ตามโครงการ “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมใจสู้ COVID-19” เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 บนพื้นที่ 49 ไร่ ตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ เจ้าของพื้นที่ 49 ไร่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ปลัดจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลสนามเฟสแรก ขนาด 200 เตียง มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท เพื่อรองรับการรักษาแรงงานและประชาชนที่ติดเชื้อ COVID-19 ถือเป็นศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 10 ของจังหวัดสมุทรสาคร คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถเปิดใช้งานได้ภายในเดือนมีนาคมนี้
    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าปัจจุบันมีการตรวจหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 เชิงรุกในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร และยังพบผู้ติดเชื้ออยู่เป็นระยะๆ จากข้อมูลล่าสุดพบว่ามีศูนย์ห่วงใยคนสาครทั้งหมด 9 ศูนย์ สภาอุตสาหกรรมฯเล็งเห็นว่าจังหวัดสมุทรสาครยังขาดแคลนสถานที่รองรับผู้ป่วย COVID-19 อีกมาก จึงร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร และกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ระดมทุนเพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม (ระยะที่ 1) แบบ Prefabrication ขนาด 200 เตียง มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท บนพื้นที่ติดถนนพระราม 2 จำนวน 49 ไร่ ตำบลท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้แรงงานไทย แรงงานต่างด้าว และประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีสถานที่กักตัวและรับการรักษา คาดว่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐและจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกทางหนึ่ง นับเป็นศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 10 โดยมีกำหนดเปิดใช้งานต้นเดือนมีนาคมนี้
    สำหรับ พิธีบวงสรวงการก่อสร้างโรงพยาบาลสนาม หรือ ศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 10 ของจังหวัดสมุทรสาคร ในวันนี้มีภาคเอกชนร่วมบริจาคเพื่อสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลสนาม อาทิ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ สนับสนุนที่ดิน 49 ไร่ เชิงสะพานท่าจีน นายสุรชัย โสตถีวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง บริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท ผู้แทนมูลนิธิเมืองไทยยิ้มและเมืองไทยประกันชีวิต บริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร สนับสนุนเงินจำนวน 100,000 บาท นายธันยพัฒน์ มั่นณิชนันทน์ บริษัท เคมเม็กอุตสาหกรรม จำกัด สนับสนุนเงินจำนวน 100,000 บาท และนายภากร วงศาริยวานิช บริษัท นำชัยอุตสาหกรรม จำกัด สนับสนุนเงินจำนวน 100,000 บาท
    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนร่วมบริจาคเงินหรือสิ่งของสร้างโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับและช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สามารถบริจาคเงินได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาไทยเบฟควอเตอร์ ชื่อบัญชี “มูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม” เลขที่บัญชี 009-171-5830 หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณศุภโชค ครุฑซ้อน โทร. 0-2345-1054 …….//

     

แชร์หน้านี้

Loading...