ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    สุดขีดทั้งหมดใน Canberra, ออสเตรเลีย 20 มกราคม 2020
    ในช่วงเดือนที่ผ่านมาแคนเบอร์ราได้สัมผัสกับสภาพอากาศสุดขั้วจากอากาศที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก ควันจากหมอกควัน และตอนนี้ลูกเห็บขนาดใหญ่
    All Extreme In Canberra, Australia 01202020
    Over the past month Canberra has experience some extreme weather from the most polluted air in the world to smoke haze and now massive hailstorm.
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ลูกเห็บตกครั้งใหญ่ในเมืองหลวงของออสเตรเลีย , แคนเบอร์รา เช้านี้ # 20 ม.ค.
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    การทำลายล้างหลังจากลูกเห็บตกหนักใน Ganberra, ออสเตรเลีย
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ลูกเห็บ ขนาดลูกกอล์ฟหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นสร้างความเสียหายใน Ganberra, ออสเตรเลีย # 20 ม.ค.
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #DeadlyVirus น่ากลัวกว่าที่คิด >> confirm!โคโรน่าไวรัสตัวใหม่ในจีน "ติดจากคนสู่คน"
    และยอดเพิ่มทะลุ 200 แล้ว!!
    ขอบคุณข้อมูล คุณหมอบิ๊ก @โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว รอด-ไม่รอด!!??? พรุ่งนี้ (วันที่ 21 มกราคม 2563) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง จะอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 ในฐานะโจทก์ ยื่นฟ้อง นางพิชชาภา หรือ นางชนาภา บุญโต อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของ บมจ.อสมท, บจก.ไร่ส้ม, นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กก.ผจก.บจก.ไร่ส้มและอดีตพิธีกรรายการเล่าข่าวชื่อดัง, น.ส.มณฑา พนักงาน บจก.ไร่ส้ม คดีเบี้ยวเงินค่าโฆษณา อสมท.รวมกว่า 138 ล้านบาท ทั้งนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษานายสรยุทธ อดีตนักเล่าข่าวชื่อดังไปแล้วรวม 13 ปี 4 เดือน.
    ----------------------------------------
    อ่านต่อ : https://www.thaiquote.org/content/2...FC2O0xQ9adZYFuRlx1V9__qLqcy8o_rhezW4NTHQxJ8F4
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อานาปานสติสูตร
    พุทธพจน์ และ พระสูตร ๗.
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๔

    images (4).jpeg

    อานาปานสติสูตร นี้แบ่งสาระที่แสดงเป็นสำคัญๆ ได้ดังนี้
    หลักการเจริญอานาปานสติ
    แสดงการเจริญอานาปานสติ แล้วย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
    แสดงการเจริญในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
    และแสดงการเจริญใน โพชฌงค์ ๗ ย่อมยังให้ วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์
    การปฏิบัติในอานาปานสติสูตรนี้ มีข้อสังเกตุประการหนึ่งว่า ล้วนเป็นการปฏิบัติที่ต้องมีสติที่หมายถึงการระลึกรู้กำกับทั้งสิ้น จึงเป็นการเจริญสมถวิปัสสนา จึงมิได้หมายถึงการปฏิบัติในแง่สมถสมาธิที่มีเจตนากำหนดเอาลมหายใจเป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนดของจิตเพื่อให้เกิดสมาธิหรือฌานขึ้น เพื่อให้จิตรวมลงสงบหรือสุขแต่อย่างเดียว ดังที่เห็นได้จากการปฏิบัติธรรมกันเป็นส่วนใหญ่ทั่วไป, ดังนั้นพึงแยกแยะให้ถูกต้องด้วยว่า ขณะนั้นปฏิบัติอะไร? ต้องการฝึกสติเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิอันเป็นไปเพื่อการวิปัสสนา หรือฝึกฌานสมาธิล้วนๆอันเป็นเรื่องทั่วไปที่มีมานานแสนนานแม้ในเหล่าอัญญเดียรถีร์ก็ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก อันจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ฌานสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนาแต่ฝ่ายเดียว, เพราะมีผู้เข้าใจสับสนกันเป็นอันมากโดยเข้าใจความนัยๆอย่างผิดๆโดยไม่รู้ตัวไปเสียว่า อานาปานสติ คือการฝึกหรือปฏิบัติฌานสมาธิที่ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรืออารมณ์ เพื่อเข้าถึงความสุขสงบเท่านั้น จึงขาดการวิปัสสนาอันเป็นหัวใจของการปฏิบัติในพระศาสนาไปเสีย การปฏิบัติธรรมจึงยังไม่บริบูรณ์แต่ก็พาให้เข้าใจผิดไปว่าได้ปฏิบัติถูกต้องหรือดีงามบริบูรณ์แล้ว จึงขาดความก้าวหน้า, ทั้งๆที่ตามความจริงแล้วอานาปานสติมิได้มีจุดประสงค์โดยตรงที่ฌานหรือสมาธิ(แต่ก็ทำให้เกิดฌานสมาธิขึ้นได้เช่นกัน!) แต่เป็นการฝึกให้มีสติตามชื่อพระสูตรอยู่แล้วพร้อมการวิปัสสนาคือสำเหนียก ที่แปลว่าศึกษานั่นเอง และสังเกตุได้ว่าสิ่งที่เกิดและกล่าวถึงในอานาปานสติสูตรนี้มีเพียงองค์ฌานปีติ สุขเพียงเท่านั้นที่เด่นชัดขึ้น อันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเมื่อมีจิตแน่วแน่เท่านั้นเพราะการอยู่กับการปฏิบัติหรือการพิจารณาธรรมต่างๆรวมทั้งสังขารกายอันเกิดแต่ลมหายใจ และจัดเป็นเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากอานาปานสตินี้ คือสุขเวทนาของปีติและสุขนั่นเอง แต่ไม่ถึงขั้นเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตลึกซึ้งแต่อย่างใด จึงยังคงมีสติบริบูรณ์, แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้งสติและสมาธิก็มีความเนื่องสัมพันธ์หรือเป็นเหตุปัจจัยกัน ดังนั้นในบางครั้งก็่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับลึกประณีตขึ้นก็เป็นไปโดยสภาวธรรม(ธรรมชาติ)เนื่องจากการพักผ่อนในการพิจารณา เป็นไปโดยอาการธรรมชาติ แต่ล้วนต้องมิได้เกิดแต่เจตนาจากการติดเพลิน(นันทิ)ในความสงบ สุข ปีติ ฯ. จากผลของฌานสมาธิ อันเป็นตัณหาชนิดรูปราคะหรืออรูปราคะอันละเอียดอ่อนแต่ประการใด(ซึ่งมักเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติแต่เป็นไปโดยไม่รู้ตัว ในผู้ที่ขาดการวิปัสสนา) กล่าวคือ โดยมิได้ด้วยเจตนาทำฌานสมาธิ มีแต่เจตนาแรงกล้าในการฝึกสติให้เห็นธรรมในกายสังขารหรือธรรมอื่นๆประกอบไปด้วยเป็นสำคัญ
    กล่าวโดยย่อก็คือ ถ้ามีสติพิจารณาอยู่ก็เป็นการเป็นสมถวิปัสสนาที่ประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนา กล่าวคือ เจริญทั้งสติ, สมาธิ และปัญญา, เพราะสตินั้นเนื่องสัมพันธ์ให้เกิดสมาธิด้วย และการพิจารณาตามดังธรรมบรรยายก็ยังให้เกิดปัญญา จึงเป็นการเจริญสมถวิปัสสนาอย่างครบถ้วนกระบวนความ, แต่ถ้าเพราะต้องการอาศัยลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดเพื่อให้จิตสงบแน่วแน่แต่ฝ่ายเดียวก็เป็นการเจริญแต่สมาธิ แต่ถ้ายึดในอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือลงภวังค์ก็เป็นเจริญฌาน ที่ปฏิบัติกันโดยทั่วๆไปในอัญญเดียรถีร์ด้วย จึงควรทำให้ถูกต้องตามเจตนาด้วย จึงจักถือว่าถูกต้องดีงาม เพราะลมหายใจนั้นสามารถใช้เป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนดในการปฏิบัติ วิปัสสนา สติ สมาธิหรือฌาน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญ อันจะเกิดขึ้นและเป็นไปดังนี้
    กล่าวโดยสรุป ในการปฏิบัติโดยย่อก็คือ จิตที่สงบสบายแต่อานาปานสติแล้ว ดำเนินต่อไปในการเจริญวิปัสสนาต่างๆเสียนั่นเอง
    มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ
    สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ
    มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ
    สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ
    (อวิชชาสูตร ๑๙/๑)
    ๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
    [๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณ ที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณ ที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณ ที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท
    พวกภิกษุ ชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามี เพราะสิ้นสัญโญชน์๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญมรรค มีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
    ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
    ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว, หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น, หรือเมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก, ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว, หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น, หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้า นี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย (เพราะ)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ (ย่อม)กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ (เพราะทำเหตุ กล่าวคือมีสติ รู้สึกตัวไม่ซัดส่ายไปปรุงแต่งนั่นเอง อภิชฌาและโทมนัสจึงระงับไปด้วยปฎิจจสมุปบันธรรม จึงมิได้หมายถึงต้องกระทำอะไรๆเพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัส)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้ มีสติ อย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ..........ฯลฯ (เหมือนดังข้างต้นใน เห็นกายในกาย)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ..........ฯลฯ (เหมือนดังข้างต้น)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต ตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘
    อานาปานสติภาวนา
    พุทธพจน์ และ พระสูตร ๗.
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓
    คลิกขวาเมนู
    [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.
    ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มอานิสงส์ใหญ่?
    ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า.
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
    ดูกรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง
    อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
    จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
    แนวทางปฏิบัติ อานาปานสติ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ
    การใช้อานาปานสติไปในกายคตาสติ
    http://www.nkgen.com/37.htm
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กายคตาสติ

    images (5).jpeg

    กายคตาสติ มาจากการสมาสของคำว่า กาย + คติ + สติ จึงหมายถึง การมีสติ ในการเห็นทางดำเนินและเป็นไปของกายอย่างปรมัตถ์หรือตามความเป็นจริง, สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากาย ให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นปฏิกูล ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา เกิดความหน่ายหรือนิพพิทาไปในทั้งกายตนแลผู้อื่น, ซึ่งใช้หลักในการเจริญวิปัสสนาเหมือนกับกายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเองที่เป็นการใช้สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ ในลักษณะเดียวกัน
    กายคตาสติ เป็นการปฏิบัติพระกรรมฐานที่ดีงาม กล่าวคือเป็นการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ที่ประกอบด้วยทั้ง สติ สมาธิ และปัญญา ทั้ง ๓ กล่าวคือ เมื่อมีสติ ย่อมเกิดสมาธิหรือจิตตั้งมั่นจากความสงบระงับจากการปฏิบัติอานาปานสติ หรืออิริยบถ หรือสัมปชัญญะ แล้วนำมาเป็นกำลังในการเจริญวิปัสสนาใน ปฏิกูลมนสิการบ้าง ธาตุมนสิการบ้าง หรือ นวสีวถิกาบ้าง เพื่อให้เห็นความจริงเกี่ยวกับกาย ว่าไม่งาม น่าปฏิกูล ของเหล่ากายทั้งปวง กล่าวคือพิจารณาให้เห็นความจริงที่เป็นไปทั้งในกายตนและในกายผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดนิพพิทา จึงบรรเทาหรือดับตัณหาอันเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์, จัดเป็น ๑ ในอนุสติ ๑๐ ที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ
    และทั้งสติและสมาธิที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกายคตาสติอย่างถูกต้องดีงาม ก็ย่อมคือสัมมาสติและสัมมาสมาธิในองค์มรรค(มรรคปฏิบัติที่มีองค์ ๘) ที่จักพึงยังให้เกิดสัมมาญาณ(สัมมาปัญญา)ในที่สุด อันเป็นมรรคองค์ที่ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐ หรือมรรคมีองค์ ๑๐ ของพระอริยเจ้าเป็นที่สุด
    อนึ่งพึงระวังอาการจิตส่งใน ด้วยส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปว่าเป็นการปฏิบัติในกายคตาสติ หรือกายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ จิตส่งในนั้นเป็นการปฏิบัติผิด ที่ส่งจิตไปคอยจดจ้องหรือแช่นิ่งอยู่ภายใน คอยเสพรสชาดอันแสนสบายที่เกิดขึ้นจากอำนาจของฌานสมาธิที่ยังให้เกิดความสุข หรือความสงบ หรือความสบายขึ้น (อันมักเป็นไปโดยไม่รู้ตัว หรือเข้าใจผิดๆไปว่าเป็นการปฏิบัติดีที่ถูกต้องแล้ว) จนติดเพลินขึ้นเป็นที่สุด(โดยไม่มีทางรู้ตัว), ส่วนกายคตาสติและกายานุปัสสนาเป็นสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง ที่อาศัยสมาธิเป็นกำลังให้จิตไม่ซัดส่ายหรือดำริพล่านออกไปปรุงแต่งภายนอกและยังประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เห็นความจริงยิ่งเกี่ยวกับกาย เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
    กายคตาสติสูตร แสดงแนวทางปฏิบัติเป็น ๗ แบบด้วยกัน
    ๑. อานาปานสติ การมีสติ โดยการใช้สติไปในการพิจารณาลมหายใจเข้าและออก เมื่อกายวิเวกจากสถานที่อันสงัด ดังนั้นเมื่อปฏิบัติอานาปานสติอันย่อมยังให้เกิดจิตวิเวก กล่าวคือละความคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรือความดำริพล่านลงไปเสีย ก็เพื่อเป็นกำลังไปดำเนินการเจริญวิปัสสนาในกายแบบต่างๆ อาทิเช่น ปฏิกูลมนสิการบ้าง ธาตุมนสิการบ้าง หรือนวสีวถิกาบ้าง
    ๒. อิริยาบถ สติในอิริยาบถต่างๆ อันย่อมยังให้เกิดจิตวิเวกละความคิดหรือความดำริพล่านลงไปเสียได้ ย่อมส่งผลให้ไม่ถูกครอบงำหรือกวัดแกว่งไปเกิดทุกข์ขึ้น ด้วยจุดประสงค์เดียวกันกับอานาปานสติข้างต้นนั่นเอง
    ๓. สัมปชัญญะ สติในอิริยาบถที่ต่อเนื่องหรือเนื่องสัมพันธ์ หรือรู้ตัวทั่วพร้อม อันย่อมยังให้เกิดจิตวิเวก ละความคิดหรือดำริพล่านลงไปเสียเช่นเดียวกัน
    ๔. ปฏิกูลมนสิการ สติและจิตที่ตั้งมั่นขึ้นเหล่านั้นจากการระงับความดำริพล่านลงไปแล้ว นำมาพิจารณาใส่ใจให้เห็นความจริงเกี่ยวกับกายว่าไม่งาม มีความเป็นปฏิกูลในกาย เพื่อให้เกิดนิพพิทา จึงคลายความกำหนัด ความมัวเมาความหลงไหลไปทั้งในกายตนแลผู้อื่น
    ๕. ธาตุมนสิการ สติพิจารณาแบบแยกกาย ที่แลดูเป็นชิ้นเป็นมวลเป็นก้อนเดียวกันนั้นด้วยฆนะ จึงเป็นมายาล่อลวงจิตให้เห็นผิดไปจากความจริง จึงจำแนกแยกออกให้เห็นความจริงในธาตุ ๔ ให้เห็นความจริงที่ว่า กายสักประกอบมาแต่ธาตุ ๔ ที่เมื่อไม่เป็นสังขารปรุงแต่งกันแล้ว ล้วนแต่ไม่งาม ไม่สะอาด ล้วนปฏิกูล เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้นทุกบุคคล เขา เรา
    ๖. นวสีวถิกา สติพิจารณาอสุภะหรือศพในระยะหรือแบบต่างๆ ให้เห็นว่า กายนี้ถ้าทิ้งไว้ดังนี้ ย่อมมีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากนี้ไปได้ แม้ในกายนี้ หรือกายใดๆก็ตามที
    ๗. เจริญในฌานต่างๆ ยามเมื่อสงัดจากกามและอกุศลธรรม กล่าวคือเมื่อทั้งกายวิเวกและอุปธิวิเวก ฌานก็เจริญขึ้นได้, อุปธิวิเวกหรือสงัดจากกามและอกุศลธรรมจึงสามารถเกิดขึ้นจากการพิจารณากายในข้อ ๔,๕,๖ หรือก็คือเมื่อระงับความดำริพล่านลงไปได้แล้ว ก็นำเอาข้อธรรม ๔,๕,๖ มาเป็นวิตก วิจารในการเจริญฌาน หรือเป็นอารมณ์ในการเจริญสมาธิเสียโดยตรง กล่าวคือวิปัสสนาสมาธิ โดยการนำปฏิกูลมนสิการ หรือธาตุมนสิการ หรือนวสีวถิกามาเป็นหัวข้อในการคิดพิจารณาอย่างแนบแน่น แทนคำบริกรรมหรือลมหายใจเลยก็ได้ และสามารถเกิดฌานระดับประณีตต่างๆขึ้นตามลำดับได้เองอีกด้วย
    ๙. กายคตาสติสูตร
    [๒๙๒]ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล ฯ
    [๒๙๓]ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะ ที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ฯ
    [๒๙๔]พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
    (ก็เพื่อให้ทั้งกายและใจมั่นคง ไม่เลื่อนไหลลงสู่ความง่วงงุนซึมเซา หรือภวังค์ง่ายๆ)
    ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร (เมื่อ)ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [เรียกเฉพาะว่า อานาปานสติ พึงรู้ระลึกว่า เป็นการใช้สติเป็นสำคัญไปในกายที่หมายถึงลมหายใจอันเป็นกายสังขารอย่างหนึ่ง ที่พรั่งพร้อมทั้งสัมมาสมาธิที่หมายถึงมีความตั้งมั่น ยังมิได้มีจุดประสงค์ในฌานสมาธิระดับประณีตลึกซึ้ง ในขั้นนี้หรืออานาปานสติจึงควรประกอบด้วยสติ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงจะได้ไม่ให้เลื่อนไหลลงภวังค์หรือนิมิตได้ง่ายๆ เพราะไม่มีเจตนาลงลึกไปในฌานสมาธิในระดับประณีตลึกซึ้งแต่อย่างใด ถ้าเคลิบเคลิ้มหรือเลื่อนไหลลงภวังค์หรือหลับหรือเกิดนิมิตขึ้นอยู่เสมอๆ ก็อย่าหลับตาให้ลืมตา หรือแม้ลุกขึ้นยืนปฏิบัติก็ยังได้, อนึ่งพึงสังเกตุว่า เหตุเพราะสติระลึกอยู่กับลมหายใจได้ดี จึงหมายถึงย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปคิดปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่าน หรือก็คือการละความคิด(ดำริ)พล่านออกไปปรุงแต่งภายนอกกายสังขารคือลมหายใจนั่นเอง จึงเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัยปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง จิตจึงเป็นธรรมเอกตั้งมั่นได้, เมื่อพิจารณาโดยแยบคายย่อมได้ทั้งความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา]
    [๒๙๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังเดิน,
    หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน, หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง, หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน,
    หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆอยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ (อิริยาบถ)
    [๒๙๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไป และถอยกลับ,
    ในเวลาแลดู และเหลียวดู, ในเวลางอแขน และเหยียดแขน, ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร,
    ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม, ในเวลาถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ, ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [สัมปชัญญะ คล้ายข้ออิริยบถข้างต้น แต่มีสติทั่วพร้อมที่ต่อเนื่องคือมีสติเนื่องในกริยาของกายอื่นๆที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันไปด้วย จึงเหมาะแก่เมื่ออยู่ในกริยาการเคลื่อนไหวต่างๆอยู่ จึงมิใช่อยู่ภายในแต่อิริยบถเดียวเท่านั้นดังข้อต้น
    อนึ่งพึงสังเกตุว่าในข้อปฏิบัติทั้ง ๓ ข้างต้น เป็นการปฏิบัติไปในลักษณะฝึกสติแล้วมีสติเป็นเครื่องอยู่เพื่อละการดำริหรือความคิดพล่านลงเสีย ตามสถานะการณ์แบบต่างๆ ส่วนในข้อต่อๆไปนั้นเป็นการใช้สติไปในการพิจารณาในกาย คือเจริญวิปัสสนาไปในกายก็เป็นกายคตาสติเช่นกัน
    อนึ่งพึงระลึกว่า การปฎิบัติดังนี้ทั้ง ๓ ข้อข้างต้นนี้ เพื่อสติในกายเป็นสำคัญ จึงไม่ได้เป็นไปในลักษณะของการใช้กายเป็นอารมณ์เพื่อสมาธิเพื่อปีติสุขสงบสบายอันเคลิบเคลิ้มสุขสบายแต่อย่างเดียว ดังเป็นที่นิยมปฏิบัติกันด้วยความไม่รู้ เพราะสามารถกระทำได้เช่นกันและมีการปฏิบัติไปในลักษณะนี้กันมากอีกด้วยโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ เมื่อกระทำไปแล้วเป็นไปในลักษณะเจตนาเพื่อให้เกิดสมาธิหรือฌานหรือองค์ฌานขึ้นแต่ฝ่ายเดียว กล่าวคือ เพื่อให้เกิดเคลิบเคลิ้ม ปีติอิ่มเอิบ, สงบ, สุข ฯ. ในอิริยบถต่างๆนั้น จึงหลงผิดคิดเอาว่าถูกต้องเพราะมีความสุข,สงบ,สบายเป็นมายาล่อลวง(แต่ก็ถือว่าถูกต้องในแง่ว่าถ้าเป็นการฝึกฌานสมาธิล้วนๆ) จึงเป็นการปฏิบัติผิดในครานี้หรือขั้นนี้ ที่มีวัตถุประสงค์คือสติเป็นสำคัญ]
    [๒๙๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
    ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
    หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (มันสมอง) (ทั้ง ๒๐ คือเหล่าปฐวีธาตุหรือธาตุดินนั่นเอง)
    ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ทั้ง๑๒ จัดเป็นอาโปธาตุหรือธาตุน้ำด้วยเช่นกัน)
    [สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่ปฏิกูล ไม่งาม แต่เมื่อมาเป็นเหตุปัจจัยประกอบกันเป็นกลุ่มก้อนตัวตนหรือฆนะขึ้น มีผม ขน เล็บ ฟัน หนังอันแสนสกปรกมาปกปิดห่อหุ้ม และยังเป็นมายาเครื่องล่อลวงให้เห็นเป็นไปว่าเป็น มวลรวมหรือตัวตน(ฆนะ)ที่สวยงามขึ้นมาอีกด้วย แต่เมื่อจำแนกแยกชำแหละออกเป็นส่วนๆด้วยปัญญา ก็ย่อมยังแลเห็นได้ว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ล้วนประกอบมาแต่สิ่งที่ไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด และยังล้วนต้องคืนกลับสู่สภาวะเดิมๆด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ เหมือนกันหมดสิ้นทุกบุคคลเขาเรา - ทวัตติงสาการ]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้างเต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ
    ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว
    พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
    เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
    หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (มันสมอง)
    ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ (แสดงภาพรวม)
    [ปฏิกูลมนสิการ การพิจารณากายให้รู้ความจริงว่า เมื่อแยกแยะชำแหละพิจารณาโดยละเอียดแต่ละส่วนด้วยปัญญาแล้ว จะเห็นส่วนประกอบต่างๆของร่างกายทั้ง ๓๒ (ทวัตติงสาการ) ล้วนไม่งาม ประกอบด้วยแต่สิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด ก็เพราะเมื่อประกอบกันเป็นตัวตนเป็นสังขารร่างกายโดยมวลรวมหรือฆนะแล้ว ก็เกิดมายาล่อลวงให้แลเห็นเป็นไปว่าเป็นสิ่งสวยงาม จึงไม่สามารถแลเห็นตามความเป็นจริงได้
    ฝ่ายไถ้ที่มีปาก ๒ ข้าง อีกปากหนึ่งนั้นก็คือก้นรั่ว ก็ยังนำมาพิจารณาให้เกิดปัญญาได้อีกว่า จึงเติมไม่รู้จักเต็ม จึงกินไม่รู้จักพอ เป็นไถ้อันแสนปฏิกูลสกปรกชนิดที่บรรจุเท่าใดก็ไม่รู้จักเต็ม จึงต้องหมั่นเติมให้เต็มให้อิ่มอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นภาระเวร,เป็นภาระกรรมที่ต้องคอยดูแลต้องรักษาไปตลอดกาลนานจนสิ้นกาละ ทางหนึ่งพึงเข้าทางปาก อีกทางหนึ่งพึงขับถ่ายออกมา ก็แสนปฏิกูลเหลือกำลัง ภายในไส้เล็กก็ล้วนคลุกเคล้าเป็นปฏิกูลสั่งสมไปด้วยซากพืช อีกทั้งอสุภะซากศพของสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง น้ำลาย น้ำย่อย น้ำดี ฯ. คลุกเคล้ากันแลไม่น่าดู เหม็นเปรี้ยวไม่น่าดอมดม ไม่สวยงามประกอบกันแลเป็นปฏิกูลยิ่งนัก ภายในจึงเป็นไปดุจดั่งสุสานใหญ่ที่แสนปฏิกูล ที่หมักหมมกันจนเป็นคูถเป็นมูตรอันยิ่งเน่าเหม็นยิ่งๆขึ้นไปภายในไส้ใหญ่ จนย่อมไม่มีใครอยากลิ้มหรือดอมดมอีกต่อไป เป็นดั่งนี้สิ้นทั้งในกายตนแลผู้อื่นล้วนสิ้น]
    [๒๙๘]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่
    ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก
    (ย่อมทำให้ผู้คนแลเห็น จึงย่อมทำให้ค้าขายได้ง่าย จึงหมายถึงเมื่อชำแหละเป็นส่วนๆแล้วย่อมทำให้พิจารณาได้ชัดง่ายขึ้นนั่นเอง)
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่
    ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [ธาตุมนสิการ การพิจารณาว่ากายทั้งปวง แม้ภายนอกแลว่างดงามด้วยมายาที่มาล่อลวงของฆนะ แต่ความจริงแล้วล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล สักแต่ประกอบมาจากธาตุ ๔ ดังนี้
    ธาตุดิน ที่เป็นของแข้นแข็งอันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ที่ต่างเมื่อไม่ได้มีการปรุงแต่งใดๆแล้ว ก็ล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    ธาตุน้ำ ที่หมายถึงเป็น ของเอิบอาบ คือความเป็นของเหลว เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ที่ล้วนปฏิกูล ไม่งามเช่นกัน ที่ต่างเมื่อไม่ปรุงแต่งใดๆแล้วก็ล้วนไม่งามไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    ธาตุลม ความเป็นของพัดไปมา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เช่น ลมหายใจอันไม่น่าปรารถนา ลมหมักหมมเหม็นเน่าอยู่ในท้อง ต่างล้วนเน่าเหม็น ล้วนไม่มีใครอยากดอมดม ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    และธาตุไฟ ความเป็นของเร่าร้อน สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย และทั้งเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องทำให้แปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว กล่าวคือแปรปรวนของที่กินและลิ้มแล้วให้เป็นพลังงานและสารต่างๆออกมา ย่อมเกิดความร้อนหรือพลังงานและของเสียเน่าเหม็นจากการสันดาปภายในต่างๆเป็นมูตรคูถ เหงื่อ ฯ. ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของธาตุทั้ง ๔ ใน มหาหัตถิปโทปมสูตร)
    หรืออาจพิจารณาว่ากายประกอบขึ้นมาแต่การเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของธาตุทั้ง ๔ มาประกอบกันขึ้น ในแบบอื่นๆในบท ธาตุ๔ หรือมหาภูตรูป]
    [๒๙๙]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า
    อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม
    จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดามีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
    (นวสีวถิกาบรรพ แสดงอาการของศพไว้ ๙ ระยะหรือแบบ)
    [๓๐๐]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า อันฝูงกาจิกกิน(ลูกนัยตา ฯ)อยู่บ้าง
    ฝูงแร้งจิกกิน(เนื้อหนัง ตับ ไต ฯ)อยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกิน(ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ฯ)อยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกิน(แขน ขา ฯ)อยู่บ้าง
    หมู่สุนัขป่ากัดกิน(กัดแทะกระดูก อวัยวะน้อยใหญ่ ฯ)อยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆชนิดฟอนกิน(แทะเล็มส่วนต่างๆทั่วกาย)อยู่บ้าง
    จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
    เมื่อภิกษุนั้น ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๑]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัดไว้......
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้......
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูกปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่......
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ
    กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง
    กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง
    กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง
    จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๒]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์......
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกิน ปีหนึ่ง......
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก ผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบ เทียบกายนี้ว่า
    แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    พระสูตรในหัวข้อต่อไปนี้ เป็นการกล่าวถึงฌาน อันเป็นผลอันพึงเกิดขึ้นร่วมจากการฝึกสติและสมาธิขึ้น แต่ขอให้พึงระลึกด้วยว่ากายคตาสติ เป็นการฝึกสติ ให้มีความตั้งมั่นหรือต่อเนื่องคือสัมมาสมาธิเป็นธรรมเอกไปพร้อมๆกันนั่นเอง แต่ก็ยังให้เกิดฌานสมาธิในระดับประณีตขึ้นด้วยเป็นธรรมดา, แต่การปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน มักนิยมปฏิบัติกันในรูปแบบของสมาธิหรือฌานฝ่ายลึกซึ้งสุขสบายแต่ฝ่ายเดียวล้วนๆ กล่าวคือเมื่อถึงเวลาปฏิบัติ ก็มานั่งปฏิบัติสมาธิหรือฌานกันล้วนๆแท้ๆ แล้วเข้าใจว่าปฏิบัติชอบแล้ว ทั้งๆที่เป็นเพียงสมาธิหรืออาจเป็นมิจฉาสมาธิอันให้โทษ ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์มรรคอันถูกต้องดีงาม, สาเหตุใหญ่เกิดขึ้นแต่เพราะความไม่รู้(อวิชชา) แล้วในที่สุดจึงได้ติดเพลินไปในความสงบ,ความสุข อันยังความอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยองค์ฌานต่างๆเสียแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา กล่าวคือจึงขาดการฝึกสติ และการเจริญวิปัสสนาดังหัวข้อข้างต้น ด้วยอวิชชาเป็นเหตุ จึงปฏิบัติแต่สมาธิล้วนๆขาดการฝึกสติและการวิปัสสนา ปฏิบัติคราใดแม้นานเท่าไรมาแล้วก็ตามที ก็ล้วนแต่สมาธิล้วนๆเป็นสำคัญ จึงทำให้เกิดโทษในลักษณะของการไปติดเพลินไปความสุข,สงบ,สบายในองค์ฌานกันโดยไม่รู้ตัวเป็นที่สุด เป็นจำนวนมาก เป็นส่วนใหญ่ อันคือวิปัสสนูปกิเลส, ดังนั้นในการปฏิบัติทุกครั้งจึงต้องประกอบด้วยสติ หรือการเจริญวิปัสสนาด้วยทุกครั้ง ฌานสมาธิจึงยังประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ คือเป็นเครื่องอยู่หรือวิหารธรรมที่ให้ความอิ่มเอิบ,สุข ตลอดจนย่อมละดำริพล่านที่ก่อทุกข์ ดังที่จะแสดงตามลำดับฌานต่อไปในพระสูตร เยี่ยงนี้จึงจะไม่เกิดโทษจากการไปติดเพลินหรือเพลิดเพลินไปในฌานสมาธิ จึงเป็นประโยชน์สมดังจุดมุ่งหมายทางพุทธธรรมจริงๆ เป็นองค์มรรคที่ ๘ คือสัมมาสมาธิ, สิ่งต่างๆดังนี้ เป็นเรื่องที่พบเห็นและเป็นห่วงมากที่สุดในการปฏิบัติ จึงได้เขียนและเตือนอยู่เนืองๆ จะได้ปฏิบัติชอบอย่างถูกต้องดีงามสมดังจุดมุ่งหมาย
    [๓๐๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแตวิเวก
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุข เกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
    โรยจุณสำหรับสรงสนาน ลงในภาชนะสำริด แล้วเคล้าด้วยน้ำ ให้เป็นก้อนๆ
    ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึมเคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน ข้างนอก และกลายเป็นผลึก(ก้อนใหญ่)ด้วยยาง ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน กันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล
    ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุข เกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๔]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก
    ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล
    ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้น ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
    ย่อมเข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
    เธอยังกายนี้แล ให้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน ดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด
    ในกอบัวขาบ หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ
    เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายใน เท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน
    อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
    เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล
    ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้าขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง แผ่ไปทั่วกายนี้แล
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
    [๓๐๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่า
    เจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม (เมื่อ)นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว (ก็)ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยใหญ่ที่ไหลมาสู่สมุทร (ทุกๆ)สายใดสายหนึ่ง(ของแม่น้ำทั้งหลาย)อันรวมอยู่ในภายใน(มหาสมุทรนั้น)ด้วย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายใน(กายคตาสตินี้)ด้วย ฯ
    [๓๐๘]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ สำคัญความนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียก หรือหนอ ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๐๙]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สีไฟ แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้ หรือหนอ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๐]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำว่างเปล่า อัน เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือ หนอ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๑]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กลุ่มด้ายเบาๆนั้นจะพึงได้ช่องบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๒]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟ แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษ มาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้(เพิ่มขึ้นอีกเลย เพราะความที่มีอยู่ในหม้อกรองอยู่แล้วนั่นเอง)เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๔]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษมีกำลังมายังหม้อกรองน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงถึงน้ำได้โดยทางนั้นๆ หรือ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง นั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ในภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ จะพึงถึงน้ำทางด้านนั้นๆ ได้ หรือ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความ รู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้า แล้วมีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔ แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญ แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆแล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ นี้ คือ
    (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดี และความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
    (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน, ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย, ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
    (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต(อันเป็น)เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
    (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานฉะนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
    (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
    (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ, จิตมีโทสะก็ รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ,จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ, จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่, จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน, จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ, จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า, จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น, จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ (เห็นจิตตสังขารหรือมโนสังขาร หรือก็คือการเห็นเจตสิกคือกลุ่มอาการของจิต)
    (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
    (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก
    ส่วนสัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
    ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
    (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลายกายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆแล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙
    http://www.nkgen.com/486.htm
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจ้าหน้าที่จีนยืนยัน ไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่ ที่กำลังระบาดในประเทศและทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อวันจันทร์ หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียต้องเผชิญกับฝนลูกเห็บขนาดใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ขณะที่เกิดฝนตกในรัฐที่กำลังผจญวิกฤติไฟป่า แต่ช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้บางส่วนเท่านั้น
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    อาร์เจนตินาเกิดพายุที่น่าทึ่ง พร้อมกับลมกระโชกแรง และเกิดมีลูกเห็บตกในเมือง Villa Mercedes จังหวัดซานหลุยส์
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ทะเลบุกเข้ามาที่ชายหาดCabañal, Valencia # 20 ม.ค.
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    เจ้าหน้าที่ในมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนได้ยืนยันกรณีผู้ป่วยโรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อ coronavirus 13 ราย

    เจ้าหน้าที่กล่าวว่ากรณีใหม่คือ 8 ในเซินเจิ้น 3 ในจูไห่และ 1 ใน Zhanjiang และ Huizhou
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    เหตุการณ์น้ำท่วมที่ Playa de Gandia ประเทศสเปน 20 ม.ค. 2563
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    น้ำท่วมใน Tavernes de la Valldigna - La Goleta, วาเลนเซีย, สเปน 20 มกราคม 2020
    Flooding in Tavernes de la Valldigna - La Goleta, Valencia, Spain Jan20 2020
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200121_065940.jpg

    (Jan 20) พระราชกฤษฎีกาประกาศ “ลดภาษีที่ดิน” 50%-90% ให้กับ”ที่ดิน-บ้านคอนโด”มรดก รวมถึงโรงไฟฟ้า : พระราชกฤษฎีกาประกาศ “ลดภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง” 50% สำหรับ”ที่ดิน-บ้านคอนโด”มรดกตกทอด รวมทั้งโรงผลิตไฟฟ้าต่างๆและที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้า พร้อมลด 90% สำหรับที่ดินของโครงการจัดสรรบ้าน-คอนโด ที่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 3ปี และทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงิน เป็นเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่อสังหาฯตกเป็นของหน่วยงาน รวมถึงที่ดินของสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนเอกชน

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่20 มกราคม2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการ ให้มีการตราพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ความว่า

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรลดภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท

    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังกล่าว

    ทั้งนี้ได้ระบุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพแห่งท้องที่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

    Source: ประชาชาติธุรกจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/finance/news-412696

    เพิ่มเติม
    - อ่านพระราชกฤษฎีกา
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/005/T_0005.PDF

    - พระราชกฤษฎีกาประกาศ”ลดภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง “50-90%” : https://businesstoday.co/cover-story/20/01/2020/ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลู/

    **************
    10 คำตอบปัญหาการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

    หลังจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีปัญหาในทางปฏิบัติหลายหน่วยงาน ทำให้ประชาชนเข้าไปสอบถามวิธีปฏิบัติกับส่วนราชการทั่วประเทศ

    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จึงจัดทำข้อชี้แจงผ่านเว็บไซต์ www.dla.go.th เพื่อตอบคำถามให้ประชาชนได้ความกระจ่างมากยิ่งขึ้น

    ทั้งนี้ คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

    1.การยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องมาด้วยตนเองหรือไม่

    ไม่จำเป็นต้องมาด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาแจ้งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือวิธีการอื่นที่ ธปท.กำหนด

    2.บุคคลทั่วไปสามารถมีบ้านหรือห้องชุด เพื่ออยู่อาศัยได้กี่หลัง

    สามารถมีบ้านหรือห้องชุดได้หลายหลัง แต่เจ้าของบ้านหรือห้องชุดนั้นจะได้รับยกเว้นต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

    1.เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นเจ้าของบ้าน มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นหากมีมูลค่าของที่ดินและบ้านรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท

    2.เป็นเจ้าของบ้าน มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินจะได้รับยกเว้นภาษี หากมีมูลค่าของบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท

    3.กรณีบ้านหรือห้องชุดที่ซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัยเองหรือให้คนในครอบครัวอยู่อาศัย แต่ยังไม่ได้เข้าไปอยู่อาศัยหรืออยู่อาศัยไม่ตลอดทั้งปี จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ในอัตราใด

    ต้องเสียภาษีแต่เสียในอัตราอยู่อาศัย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

    1.หากเป็นเจ้าของบ้านหรือห้องชุด มีชื่อในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท

    2.หากเจ้าของบ้านหรือห้องชุด ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัยเริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02

    4.กรณีคอนโดมิเนียม (ห้องชุด) ถ้ามีสองห้องติดกันและเปิดหากันได้ แต่ได้รับหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด 2 ฉบับ จะถือว่าได้รับยกเว้นทั้งสองหลังหรือไม่

    ห้องชุดพิจารณาแยกตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ของห้องชุดแต่ละห้อง เมื่อมีหนังสือได้ 2 หลัง แม้จะเปิดทะลุหากันได้ ก็ไม่สามารถรวมพื้นที่เพื่อยกเว้นมูลค่าฐานภาษีได้ ดังนั้นหลังที่สองจะเป็นหลังอื่นทันทีเพื่อต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02

    5.ชาวต่างชาติมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.13) ซื้อห้องชุดไว้ 2 ห้อง ในต่างท้องที่กัน ต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าเสียจะเสียภาษีอย่างไร

    ต้องเสียภาษีเหมือนคนไทยทั่วไป โดยได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท เพียงห้องเดียว ส่วนอีกห้องจะถือเป็นหลังอื่น หากใช้เพื่ออยู่อาศัยก็ต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02

    6.อาคารที่สร้างไว้แต่ไม่ได้อยู่อาศัย ไม่ได้ค้าขาย ปล่อยทิ้งว่างไว้ จะทำอย่างไร

    สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารที่ปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่ได้ทำประโชยน์ตามควรแก่สภาพตลอดปีที่ผ่านมา จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ร้อยละ 0.3 ตามมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป และหากไม่ทำประโยชน์อีก จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.3 ทุก 3 ปี

    7.ปลูกสร้างบ้านในที่ดินของบิดามารดาหรือบุคคลอื่นโดยไม่เสียค่าเช่า และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท เจ้าของที่ดินเสียภาษีอย่างไร ในอัตราที่อยู่อาศัยหรือในอัตราอื่น ๆ

    บ้านได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท แต่ที่ดินของบิดามารดาต้องเสียภาษี เมื่อที่ดินใช้เพื่ออยู่อาศัย ต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02

    8.กรณีโรงงานมีทรัพย์สินหลายประเภท เช่น สำนักงาน ห้องน้ำ โกดัง จะคิดภาษีอย่างไร

    สำนักงาน ห้องน้ำ และโกดัง เป็นสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบกิจการ ดังนั้น จึงต้องเสียภาษีในอัตราอื่น ๆ

    9.บริษัทเป็นผู้สร้างบ้านและให้พนักงานหรือคนงานอยู่อาศัยโดยไม่มีชื่อผู้อาศัยในทะเบียนจะต้องเสียภาษีในประเภทที่อยู่อาศัยหรืออื่น ๆ

    บ้านของบริษัทที่สร้างเพื่อให้พนักงานหรือคนงานอยู่อาศัยต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02

    10.บ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จอยู่ในระหว่างการก่อสร้างบ้านพักอาศัย จะถือเป็นสิ่งปลูกสร้างทื่ต้องเสียภาษีหรือไม่

    บ้านยังสร้างไม่เสร็จ ไม่ถือเป็นสิ่งปลูกสร้าง จึงเสียภาษีเฉพาะที่ดินประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/property/news-412472
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภาพที่ 1-2 ลมกรด ที่เกิดขึ้นตามปกติ รูปที่ 3-6/ลมกรดย้อนกลับ ดูลูกศร ลมกรดตามปกติ จะไปตามขวา แต่ลมกรดย้อนกลับจะไปตามซ้าย ซึ่งตามความคิดของผมการเกิดเหตุการณ์แบบนี้จะเป็นสัญญานการเริ่มของการกลับขั้วสนามแม่เหล็กหรือเปล่า

    ภาพที่ 1-2
    Jetstreamconfig.jpg


    images (6).jpeg

    ภาพที่ 3-6

    FB_IMG_1579565815453.jpg FB_IMG_1579565818254.jpg FB_IMG_1579565821483.jpg FB_IMG_1579565824733.jpg
    https://dict.drkrok.com/jet-stream/
    https://ngthai.com/environment/15041/why-winter-come-from-china/
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    วิดีโอสุดมหัศจรรย์ของลูกเห็บที่เหี้ยมโหดในแคนเบอร์รา, ออสเตรเลีย # 20 ม.ค.
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (20/1/63)
    ...คณะกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดูจุดโครงการก่อสร้างเขื่อนน้ำยวม ผันน้ำลงเขื่อนภูมิพล คาดลงทุน 70,000 ล้าน เชื่อช่วยลดปัญหาขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้านชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ยังกังวลผลกระทบพื้นที่อยู่อาศัย และทำกิน
    ภาพ/ข่าว...ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ
    #ThaiPBSNorth #ThaiPBS #ThaiPBSNews
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลมกรด คือ แถบกระแสลมซึ่งมีความเร็วประมาณ 200 ถึง 400 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง แนวกระแสลมกรดนี้ โดยมากพัดจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก และเป็นแนวโค้งคดเคี้ยวคล้าย ๆ กับแม่น้ำโค้ง (meandering rivers) กระแสลมกรดส่วนมากอยู่ในระดับสูงระหว่าง 9 ถึง 12 กิโลเมตร แนวกระแสลมกรดจะมีความลึกหรือความหนาเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร กว้างเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร ยาวเป็นพัน ๆ กิโลเมตร เกิดขึ้นในบริเวณละติจูด 30 ถึง 40 องศาเหนือ และพัดโค้งไปมาคล้ายแม่น้ำ จากละติจูดสูงไปละติจูดต่ำ หรือจากละติจูดต่ำไปละติจูดสูง
    กระแสลมกรดมีความสำคัญต่อการบินมาก ได้มีการค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ซึ่งบินและเห็นจุดหมายอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถไปใกล้จุดหมายนั้นได้ เนื่องจากบินสวนทิศกับกระแสลมกรดอยู่เรื่อย ซึ่งทำให้ความเร็วของเครื่องบินลดลงไปมาก นอกจากนั้นแล้วบริเวณกระแสลมกรดอากาศ จะมีความแปรปรวนปั่นป่วนมาก เนื่องจากความแตกต่างของความแรงของกระแสลมกรด กับอากาศที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ลมกรดยังมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง โดยส่งผลให้มี ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้
    images (7).jpeg
    เนื้อหาจาก
    https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=49
    ภาพจาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...