ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    นักภูเขาไฟกล่าวว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ในการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจสอบว่ามีแนวโน้มลดลงในกิจกรรมภูเขาไฟ Taal ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลดระดับการเตือนภัยของพวกเขาหรือไม่ เนื่องจากพวกเขาสังเกตเห็นว่า ไม่กี่เซนติเมตร . แม้จะมีช่วงเวลา "ค่อนข้างเงียบ" ของ Taal ตามที่เห็นในปล่องผิวของมัน PHIVOLCS เตือนว่ายังคงมีภัยคุกคามจากการระเบิดที่เป็นอันตรายในขณะที่การเคลื่อนไหวของแมกมาภายใต้ Taal ยังคงดำเนินต่อไป
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ชาวฟิลิปปินส์หลายพันคนที่ได้รับคำสั่งให้อพยพออกจากเมืองใกล้ภูเขาไฟ Taal ในฟิลิปปินส์ ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านโดยสังเขปเพื่อช่วยชีวิตสัตว์และกู้คืนทรัพย์สินบางส่วน
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Schumann Resonance ท้าจะบ้า
    ความหนาแน่น: 3.9 โปรตอน / cm3
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ปฏิกิริยาของชาวนาในพื้นที่ Karuah ประเทศออสเตรเลียเมื่อฝนตกหลังจากผ่านไป 18 เดือน
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ครั้งแรกไฟไหม้ ตอนนี้น้ำท่วม ผู้ดูแลสวนสัตว์ที่สวนสัตว์เลื้อยคลานของออสเตรเลีย ทางตอนเหนือของซิดนีย์พยายามเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ หลังจากฝนตกหนัก ทำให้นิวเซาธ์เวลส์เปียกโชก
    First the fires now the floods. Zoo keepers at Australian Reptile Park north of Sydney scramble to save animals after heavy rains drench New South Wales.
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    # ภูเขาไฟ Taal # ฟิลิปปินส์
    ก่อนและหลัง 12 มกราคม 2020

    #TaalVolcano #Philippine
    Before & After Jan12 2020
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    การปะทุ #ภูเขาไฟ Sakurajima, ญี่ปุ่น 18 ม.ค. 2020
    Eruption #Sakurajima Volcano, Japan Jan18, 2020.
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    #ตั๊กแตน อัปเดต 16 มกราคม 2020
    องค์การสหประชาชาติเพื่อความพยายามในการต่อสู้กับความหิวโหย (FAO) เตือนเมื่อวานนี้ (อังคาร) ว่าตั๊กแตนทะเลทรายจำนวนมากเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงด้านอาหาร และความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชาชนในเอธิโอเปีย และประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะโซมาเลียซูดานใต้และเคนยา
    จากข้อมูลของ FAO เมื่อน้ำท่วมต่ำ ในประเทศ สภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวยต่อการผสมพันธุ์ตั๊กแตน
    เมื่อเดือนที่แล้ว FAO เปิดเผยว่าตั๊กแตนทะเลทรายบุกเข้ายึดพื้นที่ประมาณ 430 กิโลเมตรในพื้นที่เพาะปลูกอันกว้างใหญ่ของเอธิโอเปียในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาทำลายพืชผล จำนวนทั้งสิ้น 1.3 ล้านตัน
    #Locust Update Jan16 2020
    The United Nations Organization for Efforts to Fight Hunger (FAO) warned yesterday (Tuesday) that large numbers of desert locusts posed a serious threat to food security and food security for citizens in Ethiopia and neighboring countries, especially Somalia, South Sudan and Kenya.
    According to the FAO, when flooding is low in the country, the environment will be favorable for breeding locusts.
    Last month, the FAO revealed that desert locusts invaded approximately 430 kilometers of land in Ethiopia's vast cropland over the past two months, destroying a population of 1.3 million tonnes of plants.
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    น้ำท่วมฉับพลันรุนแรงใน Iconha, Espírito Santo, บราซิล วันที่ 17 ม.ค. 2020
    Severe flash flood in Iconha, Espírito Santo, Brasil flooding Jan17, 2020
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    # CENAPRED รายงานเกี่ยวกับกิจกรรมของ # ภูเขาไฟ Popocatépet lใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
    เม็กซิโก 17 ม.ค. 2020
    ▪การฟุ้งออกมา 155 ครั้ง
    ▪แรงสั่นสะเทือน 293 นาที
    การแจ้งเตือนอยู่ในสีเหลือง # เฟส 2
    ขอแนะนำว่าอย่าเข้าใกล้ภูเขาไฟ
    #CENAPRED reports on the activity of #Popocatépetl in the last 24 hours
    Mexico Jan17, 2020
    ▪ 155 exhalations
    ▪ 293 minutes of tremor
    The alert is in Yellow #Phase2.
    It is urged not to approach the volcano.
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อวานในสภา เห็นประเด็นเรื่องโปรเจ็คขุดคอคอดกระกำลังกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เห็นจะเปลี่ยนเป้าหมายจากเดิมที่เคยตั้งไว้ว่าจะขุดกันที่จังหวัดระนอง มาเป็นแถบ 4 จังหวัดในเส้นทาง 9A (คือ กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช) โดยที่ ส.ส. จำนวนมากทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเห็นตรงกัน
    ว่าจะให้เดินหน้าทำการศึกษาความเป็นไปได้ของคลองไทยที่จะขุดในเส้นทาง 9A นี้ (มีความเป็นไปได้ที่จะแล้วเสร็จสูงสุด หากเทียบกับเส้นทาง 7A และ 5A ที่อยู่ในเส้นจังหวัดสตูล-สงขลา) เพราะ 9A มีศักยภาพที่เพียงพอ และพร้อมต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้งใน 2 ฝั่งทะเล ทั้งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
    โดยส่วนตัวผมเองไม่มีปัญหาอะไรกับการจะขุดคลองไทย หรือการทำเส้นทางเดินเรือจากอันดามันข้ามมายังฝั่งอ่าวไทย แต่มีประเด็นบางส่วนที่อยากมาชวนให้สังคมมาร่วมกันขบคิด และพิจารณากันในช่วงระยะศึกษาผลได้ผลเสีย ความเป็นไปได้ต่างๆ ก่อนที่เราจะก้าวไปในระยะถัดไปกัน
    อนึ่ง สิ่งที่ผมกังวล ไม่ใช่เรื่องการแบ่งแยกดินแดน หรือประเด็นกบฏ และผู้ก่อการร้ายที่อยู่ในภาคใต้ ข้อนี้เหตุผลไม่น่าสนใจ และไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นมันจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ รัฐบาล และภาครัฐของไทยย่อมจำเป็นต้องมีแผนสำรองไว้ใน Protocol หลักของตนเองอยู่แล้ว หากต้องการจะทำคอคอดกระ
    แต่สิ่งที่ผมสนใจในอันดับแรกก็คือ เรื่อง ระบบนิเวศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมครับ อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในแผนการขุดคลองนี้เลย เพราะความจริงอย่างหนึ่ง คือ ทะเลอ่าวไทย กับ ทะเลอันดามันสภาพแวดล้อม และระดับความลึกต่างกันมากนะครับ
    ถ้าขุดคลองเชื่อมทะเลอันดามันเข้ากับอ่าวไทย สิ่งที่จะตามมาแรกๆเลยคือ ระบบการไหลของกระแสน้ำมันจะเปลี่ยน ถ้าเราเอาเส้นทางตรงนั้นมาเป็นเส้นทางเดินเรือ และเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมประมง และวิถีชีวิตของชาวบ้านในแถบๆ 6-7 จังหวัดบริเวณนั้นจะเปลี่ยนไป
    ** อันนี้ผมไม่ได้พูดในฐานของพวก NGO หรือพวกนักรณรงค์ต่อต้านภัยสิ่งแวดล้อมอะไรนะครับ แต่เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อม มันเป็นเหตุผลทางด้านพาณิชย์ซึ่งเราใช้เป็นจุดขายของพื้นที่บริเวณนั้นกันมานานอยู่แล้ว
    เมื่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมของทะเลในแถบนั้นเปลี่ยน ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ผืนทะเลแถบนั้นย่อมได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะปลา หรือปะการัง เพราะการขุดคลอง มันจะตามมาด้วยการขุดดินออกจากทะเล เพื่อขยายความลึกของอ่าว (อ่าวไทยไม่ค่อยลึกพอ เรือสินค้าขนาดใหญ่ๆอาจเข้าเทียบท่าไม่ได้นะครับ)
    และถ้าเราต้องการจะปรับภูมิทัศน์ของเศรษฐกิจแถบนั้นให้เปลี่ยนไป ชาวบ้านแถบนั้น และประเทศไทยที่เศรษฐกิจเราแขวนไว้อยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมูลค่ากว่า 2,500,000,000,000 บาท (ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากจังหวัดติดทะเลในแถบภาคใต้) เศรษฐกิจประเทศไทยกว่า 20% เราพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนะครับ
    ถ้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคใต้ส่วนล่างๆมันหายไป ลองคำนวณกันเล่นๆดูว่ามูลค่าจะหายไปสักเท่าไร และต่อให้การขุดคลองนั้นจะทำให้เราได้ GDP เพิ่มจากอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการเดินเรือ การขนส่งสินค้าทางเรือ และท่าเรือนานาชาติ
    ต้องใช้เวลากี่ปีกว่าจะคืนทุน ต้องใช้เวลาอีกกี่ปี เราถึงจะสามารถทำกำไรจากอุตสาหกรรมในส่วนนี้ได้ และนั่นก็นำมาซึ่งคำถามที่สำคัญที่สุดคือ มันจะคุ้มทุนไหม และอย่างไร
    เรื่องที่ผมอยากให้คิดต่อคือ ทั้งคลองสุเอซ และคลองปานามานั้น ข้อดีของมันคือ มันช่วยในการลดระยะเวลาการเดินเรือของเรือบรรทุกสินค้าที่ต้องแล่นอ้อมทวีปลงเป็นเดือนๆนะครับ แต่ถ้ามาดูเส้นทางการเดินเรือในแถบมหาสมุทรอินเดียมาสู่ทะเลจีนใต้ เส้นนี้เดิมทีเราใช้ช่องแคบมะละกา
    ถ้าเราเปิดคลองไทย เพื่อให้เรือเหล่านั้นเข้ามาที่น่านน้ำในไทย คิดว่าเรือบรรทุกสินค้าจะร่นระยะเวลาเดินทางไปกี่วันครับ? คำตอบคือ 1-2 วัน เท่านั้นเอง 1-2 วันบนการเดินทางโดยรถมันคุ้มนะครับ แต่ถ้าโดยเรือ ผมคิดว่ามันยังไม่ดึงดูดใจพวกนักลงทุนและอุตสาหกรรมการเดินเรือมากเท่าไรเมื่อเทียบกับกรณีศึกษาจากคลองสุเอซ และปานามา
    ตรงจุดนี้ไทยเรามีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง แล้วเราจะมีมาตรการดึงดูดเรือสินค้าอย่างไร ให้เขาเปลี่ยนจากที่สิงคโปร์มายังคลองในภาคใต้ของไทย อันนี้ผมไม่ได้ประชดนะ แต่อยากให้ลองพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในจุดนี้ ซึ่งถ้าทางรัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถแก้โจทย์ตรงนี้ได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีในการจะดึงเอาลูกค้าของสิงคโปร์ให้มาอยู่กับคลองไทย
    อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากจะเตือนไว้เลยเรื่องท่าเรือน้ำลึกที่จะเกิดขึ้นในช่องแคบอ่าวไทย-อันดามันนี้ ยุคนี้ไม่เหมือนยุค 40-50 ปีก่อนนะครับ อย่าลืมว่าตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมานี้ จีนมีแผนสร้างเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่
    ทำให้จีนมีแผนจ้องจะแปลงที่ดินของประเทศที่อยู่ติดทะเลในแถบๆเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กลายมาเป็นท่าเรือน้ำลึก ตอนนี้ที่จีนจ้องอยู่ตาเป็นมันเลยคือ ปากีสถาน และพม่า (ไหนจะกัมพูชา และเวียดนามอีก) ในโครงการ Belt and Road Initiative จีนมีแผนที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกเพียบ
    เพราะจีนต้องการลดการพึ่งพาในช่องแคบมะละกาที่แถบๆมาเลเซีย เลยพยายามหาเส้นทางการเดินเรือและการขนส่งสินค้าอย่างน้ำมันเส้นใหม่ ในอนาคตคู่แข่งของท่าเรือน้ำลึกที่ภาคใต้ของไทย จะไม่ได้มีแค่สิงคโปร์ กัมพูชา หรือเวียดนามอย่างเดียว แต่ปากีสถานและพม่าก็จะมีท่าเรือน้ำลึก
    ที่จะใช้กระจายสินค้า และของอย่างน้ำมันเข้าสู่จีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของภูมิภาคโดยตรงได้ ทำให้ความอู้ฟู่ของท่าเรือน้ำลึกในคลองไทยที่เส้นทาง 9A นั้น อาจจะไม่ได้พุ่งปรู๊ดปร๊าดเหมือนสมัยบุกเบิก เพราะสินค้าที่ถูกขนส่งมาทางเรือมันจะกระจายไปยังจุดยุทธศาสตร์อื่นๆที่จีนวางไว้
    ** ความเป็นไปได้ในผลประโยชน์ที่เราจะได้ก็จะมีโอกาสถึงมือเราน้อยลง
    และที่ผมอยากเตือนให้คิดไว้เลย คือ ประเด็นในเรื่องยุทธศาสตร์ทางทะเล (maritime security strategy) ที่ไทยควรตระหนักไว้ให้มากๆ เพราะทุกๆเส้นทางการเดินเรือ การขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญ มันมีประเด็นทางด้านผลประโยชน์แทรกซ้อนอยู่
    ประเทศมหาอำนาจที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเส้นทางเดินเรือนั้นย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาควบคุม และดูแลผลประโยชน์ของตนเองในน่านน้ำ หรือทะเลแถบนั้น ไม่ว่าจะคลองปานามา คลองสุเอซ ช่องแคบฮอร์มุส ช่องแคบมะละกา ทะเลจีนใต้ ทุกๆน่านน้ำมีเรือรบของประเทศมหาอำนาจแล่นเฉียดไปเฉียดมาอยู่เต็มไปหมด
    หลักๆก็คือ เรือของจีน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งวางกองเรือรบของตนเองไว้บริเวณรอบๆเส้นทางเดินเรือจุดสำคัญๆหลายแห่งทั่วโลก พร้อมแสตนด์บายรอคำสั่งตลอดเวลา และด้วยธรรมชาติของเกมการเมืองระหว่างประเทศ เมื่อใดก็ตามที่ประเทศมหาอำนาจประเทศใดมีปัญหากับอีกมหาอำนาจหนึ่ง
    เกมที่มหาอำนาจจะเล่นก็คือ การกดดัน การข่มขู่ในเส้นทางเดินเรือ การเอาเรือรบมาแล่นผ่าน มาขวาง ถึงแม้จะไม่ได้ขวางตรงๆหรือยิงมิสไซล์ใส่กันก็ขอให้ได้เอาเรือมาอวดกันให้ระแวงกันเล่นๆ คำถามคือ ไทยเรามีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงในด้านนั้นกันหรือยัง
    ไทยเราพร้อมจะแลกให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นในแถบๆทะเลบ้านเราไหม และพร้อมที่จะตกอยู่ในวงล้อมของเกมทางยุทธศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ทางทะเลเหล่านั้นของมหาอำนาจก๊กต่างๆไหม?
    ถ้ารัฐบาลและฝ่ายนโยบายที่เกี่ยวข้องสามารถแก้โจทย์เหล่านี้ และมีการเตรียมแผนที่จะรับมือไว้ในอนาคตได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี ผมไม่มีเหตุผลอะไรจะมาคัดค้านนโยบายนี้ทั้งสิ้น
    แต่อยากให้หลายๆฝ่ายช่วยกันพิจารณา และไตร่ตรองประเด็นยิบย่อยที่อาจส่งผลต่อเงื่อนไขทางด้านยุทธศาสตร์ทางทะเล และผลกระทบในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วิถีชีวิตส่วนอื่นๆของคนไทยด้วย
    ** ส่วนในเรื่องของเงินกู้ เงินลงทุน ที่ตอนนี้ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรนักว่าจะกู้ใคร หรือมีแผนจะดึงฝ่ายใดมาลงทุน ถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้ ผมจะมาอัพเดทให้อ่านกันต่อวันหลังครับ (แต่คิดว่าคงไม่พ้นจีน เพราะทางการจีนก็เล็งตรงนี้ไว้มาหลายปีแล้วเหมือนกัน)
    *** ข้อมูลบางส่วนในเรื่องของการเดินเรือผมอ่านมาจากคุณ Naruphun Chotechuang (ท่านใดสนใจสามารถตามไปอ่านต่อเพิ่มเติมใน Facebook ส่วนตัวของคุณ Naruphun ได้)
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พุทธพจน์
    images (1).jpeg
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)

    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา
    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม (วักกลิสูตร๑๗/๑๒๙)

    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์, ความพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์, ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์๕ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์ (บาลี มหาวาร, สํ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔, ตรัสแก่ภิกษุทั้ง๕ที่อิสิปตมฤคทายวัน - พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ)

    เราตถาคต บัญญัติเพื่อความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน (พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓/๑๕๑) กล่าวคือ บัญญัติสั่งสอนทั้งปวงก็เพื่อการเพิกถอนหรือดับเหล่าอุปาทานทุกข์ทั้งหลายในปัจจุบันชาติลงไปเสียนั่นเอง

    ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)

    ความรัก เสมอด้วยรักตนเองไม่มี
    นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ (สารตฺถ. ๑/๑/๘๑-๘๒)

    ผู้มีธรรม ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งซึ่งล่วงไปแล้ว
    อีกทั้งยังไม่เพ้อฝันถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
    ดํารงอยู่ด้วยปัจจุบันธรรม ผิวพรรณจึงผ่องใส (อรัญญสูตร ๑๕/๖)

    "อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกหาใช่(ทําให้เกิด)กามไม่, ราคะ(ตัณหา)ที่เกิดจากความคิดของคนต่างหากที่เป็นกาม, อารมณ์ทั้งหลายอันวิจิตรย่อมดํารงอยู่ตามสภาพของมัน อย่างนั้นเอง ดังนั้นชนอันประกอบด้วยธรรมทั้งหลายจึงขจัดแต่เพียงตัวความอยาก(ตัณหาฉันทะ)ในอารมณ์วิจิตรเหล่านั้น (กล่าวคือมิได้กําจัดอารมณ์อันวิจิตร) " (อฺงคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาต ๒๒/๓๓๔/๔๖๐)

    กามทั้งหลายมีรสอันน่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษอันร้ายแรงมีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง (จูฬทุกขักขันธสูตร ๑๒/๑๔๓)

    กามทั้งปวงให้ความยินดีน้อย แต่มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว จึงไม่ควรจะยินดีในกามแม้ที่เป็นของทิพย์ (ธรรมบท ๒๕/๓๔)

    ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะเข้าใจไปยึดถือว่าร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน (ขยายความว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นความเข้าใจที่ผิดก็ตาม แต่ก็)ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ยังปรากฎให้เห็นว่าดำรงอยู่(ขยายความว่า คงทนอยู่ไม่ได้อย่างแท้จริง อาจอยู่ได้)เพียงปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ - ๔ - ๕ ปีบ้าง ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ - ๔๐ - ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้ เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งวันทั้งคืน (ขยายความว่า เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆ กล่าวคือมีการเกิดดับตลอดเวลา แม้ในขณะตื่นหรือแม้ขณะหลับไปเช่นการฝัน แต่กลับไม่สามารถสังเกตุรู้หรือเข้าใจได้ จึงไปเข้าใจผิดไปยึดถือจิตหรือมโน ว่าเป็นตัวตน)" (อัสสุตวตาสูตร, เล่ม ๑๖ / ๒๓๑ )

    โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่ "กามคุณเป็นอดีต"นั้น, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ความไม่ประมาทและสติเป็นเครื่องป้องกันจิตจากกามคุณ๕ อันเป็นอดีตที่เคยสัมผัสมา และดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น (พุทธประวัติจากพระโอษฐ์-ท่านพุทธทาส)

    อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป ?
    -สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นแลเป็นรสอร่อยของรูป
    อะไรเป็นโทษของรูป ?
    -รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษของรูป
    อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป ?
    -การนําออกและละเสีย ซึ่งความกําหนัดด้วยอํานาจความพึงพอใจในรูปเสียได้นั้น เป็นอุบายเครื่องพ้นจากรูปได้
    โดยนัยเดียวกันกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และ ธาตุ ๔ และ อายตนะ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)

    รูปไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วย "สัมมาปัญญา"ตามที่มันเป็นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา, มิใช่เราเป็นนั่น, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (โดยนัยเดียวกันกับ เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)

    กามทุกชนิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(คงทนอยู่ไม่ได้) มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ภพทุกภพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(คงทนอยู่ไม่ได้) มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา

    ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก (ขุ.ชา. ๒๗/๘๗/๒๘ หรือ พุทธธรรม น.๒๑๕)

    ถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้า(ชําระบาป) กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่นํ้า ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน.......(และกล่าวในมุมมองอีกมุมหนึ่งว่า)ถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาปที่ท่านทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย (เป็นคำกล่าวของพระปุณณิกาเถรี) (ขุ.เถรี.๒๖/๔๖๖/๔๗๓ หรือ พุทธธรรม น.๒๑๕)

    ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลา ผู้คอยนับฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทําอะไรได้ (ขุ.ชา ๒๗/๔๙/๑๖ หรือ พุทธธรรม น.๒๑๕)

    บุคคลประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นได้ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี เป็นมงคลดี เป็นเช้าดี อรุณดี เป็นขณะดี ยามดี และ(นับได้ว่า)เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้ว ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้กายกรรมของเขา(นั้น)ก็เป็นสิทธิโชค วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค ประณิธานของเขาก็(ย่อมต้อง)เป็นสิทธิโชค ครั้นกระทํากรรม(การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค (สุปุพพัณหสูตร, องฺ.ติก. ๒๐/๕๙๕/๓๗๙ หรือพุทธธรรม น. ๒๑๕)

    [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
    เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่
    อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลง(โมหะ)พร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
    อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา, ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา, ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา, ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
    ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์-ใจ
    (ฉฉักกสูตร ๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

    ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ ๒ ชนิดดังนี้ คือ โรคทางกาย๑ โรคทางใจ๑ สัตว์ทั้งหลายที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลาทั้งปี ก็มีปรากฎอยู่ ผู้ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลา ๒ ปี...๓ ปี...๔ ปี...๕ ปี..๑๐ ปี...๒๐ ปี...๓๐ ปี...๔๐ ปี...๕๐ ปี...๑๐๐ ปี ก็มีปรากฎอยู่ แต่สัตว์ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางใจเลย แม้ชั่วเวลาแค่ครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ ผู้สิ้นอาสวะทั้งหลาย (องฺ. จตุกฺก. ๒๑ / ๑๕๗ / ๑๙๑)

    (พุทธพจน์ ข้อธรรมสั้นๆ คัดลอกจากหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสุภาสิต โดยธรรมรักษา ส่วนข้อความในวงเล็บเป็นคำขยายความของwebmasterเอง)
    ตัณหาเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ (ตัณหาสูตร ๒๑/๑๐)

    ความอยาก(ความไม่อยาก)ทําให้คนต้องเกิด (ตัณหาสูตร ๒๑/๑๐)

    โลกถูกความอยาก(และความไม่อยาก)นําไป (ตัณหาสูตร ๑๕/๕๓)

    ความโศรกย่อมเกิดมาจากความอยาก(และความไม่อยาก) (ธรรมบท ๒๕/๓๗)

    เมื่อละความอยาก(ความไม่อยาก)ได้ขาด จึงจะตัดเครื่องผูกได้หมด (อิจฉาสูตร ๑๕/๕๖)

    คนส่วนมากติดอยู่ในความอยาก(และความไม่อยาก) เหมือนนกติดบ่วง (ปาเถยยสูตร ๑๕/๖๑)

    ความอยาก(ความไม่อยาก)ละได้ยากในโลก (ปาเถยยสูตร ๑๕/๖๑)

    แม่นํ้าเสมอด้วยความอยาก(ความไม่อยาก)ไม่มี (ธรรมบท ๒๕/๔๐)

    โลกทั้งมวล เป็นไปตามอํานาจของสิ่งเดียวคือตัณหา(ความอยากและไม่อยาก) (ตัณหาสูตร ๑๕/๕๓)

    โลกถูกตัณหาความอยาก(และความไม่อยาก)ผูกเอาไว้ (อิจฉาสูตร ๑๕/๕๕)

    ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง (ธรรมบท ๒๕/๕๓)

    จงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย(ใช้ตัณหาอยากพ้นไปจากทุกข์ไปดับตัณหาทั้งปวง) (จตุกกนิบาต ๒๑/๑๗๐)

    ภัยย่อมเกิดมาจากความอยาก(และความไม่อยาก) (ธรรมบท ๒๕/๓๗)

    เพราะตัดตัณหาได้ จึงตัดเครื่องผูกได้หมด (พันธนสูตร ๑๕/๕๔)

    ทุกคนย่อมเป็นไปตามการกระทํา(กรรม) (อัยยิกาสูตร ๑๕/๑๓๗)

    ความเพียรพยายามพวกเธอต้องทําเอง ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น (ธรรมบท ๒๕/๔๓)

    คนจะพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร (อาฬวกสูตร ๑๕/๒๙๘)

    แสวงหาที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมไม่เห็นแจ้งนิพพานที่อยู่ใกล้ตัว (ปัคคัยหสูตร ๑๘/๑๔๒)

    จิตมีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก (ธรรมบท ๒๕/๑๗)

    ธรรมชาติของจิตย่อมผุดผ่อง แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสจรมา (เอกนิบาต ๒๐/๙)

    สิ่งทั้งหลายมีใจนําหน้า (ธรรมบท ๒๕/๑๓)

    จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่ (ธรรมบท ๒๕/๑๗)

    จิตหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) ( กถาวัตถุสูตร ๒๐/๒๒๕)

    อย่ายอมตกอยู่ในอํานาจของจิต (คุตตาเถรีคาถา ๒๖/๔๖๖)

    จิตที่ฝึกหัดดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ (เอกนิบาต ๒๐/๕)

    เราไม่เล็งเห็นสิ่งอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่จะเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิตเลย (เอกนิบาต ๒๐/๙)

    คนย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา (อาฬวกสูตร ๒๕/๓๓๐)

    ผู้มีปัญญาย่อมตามรักษาจิต (ธรรมบถ ๒๕/๑๗)

    จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนําความสุขมาให้ (ธรรมบถ๒๕/๑๗)

    ปัญญาไม่เกิดแก่ผู้ไม่พิจารณา (ธรรมบท ๒๕/๕๔)

    แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี (นัตถิปุตตสมสูตร ๑๕/๙)

    ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก (ปัชโชตสูตร ๑๕/๖๒)

    ราคะมีโทษน้อยแต่คลายช้า
    โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว
    โมหะ(ความหลง)มีโทษมากด้วย และคลายช้าด้วย (ติตถิยสูตร ๒๐/๒๒๖)

    คนทั้งปวงเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ยึดมั่นว่าของกู (ชราสูตร ๒๕/๔๓๘)

    ผู้ใดสําคัญตนว่าเราเสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา ผู้นั้นจะต้องทะเลาะกับเขา (สมิทธิสูตร ๑๕/๑๖)

    ความเพลิดเพลิน(นันทิ-ทําหน้าที่เป็นตัณหา)เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ (มูลปริยายสูตร ๑๒/๑๑)

    ความยินดีเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ (คันธภกสูตร ๑๘/๓๕๗)

    ผู้ไม่ระวังผัสสะทั้งหกแม้ประตูหนึ่ง ย่อมประสพความทุกข์ (สังคัยหสูตร๑๘/๗๖)

    เราบัญญัติสอนเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและกาลบัดนี้ (อลคัททูปมสูตร ๑๒/๒๒๗)

    เป็นผู้รักษาอย่างเดียว คืออะไร?
    คือเธอเป็นผู้มีใจที่รักษาไว้ด้วยสติ (อริยวสสูตร ๒๔/๓๕)

    คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน (มณิภัททสูตร ๑๕/๒๘๙)

    เรากล่าวว่าสติมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง (อัคคิสูตร ๑๙/๑๕๗)

    ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สําคัญตนว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา
    ว่าเลวกว่าเขาในโลก กิเลสของผู้นั้นไม่มีทางฟูขึ้น (ปุราเภทสูตร ๒๕/๔๔๗)

    สติเป็นเตรื่องยึดเหนี่ยวของใจ (อุณณาภพราหมณสูตร ๑๙/๒๗๒)

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม (กรรมอันหมายถึงการกระทําที่มีเจตนา) (วาเสฏฐสูตร ๒๕/๔๐๙)

    ไม่ควรคิดถึงสื่งที่ล่วงไปแล้ว
    ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง (ภัทเทกรัตตสูตร ๑๔/๒๙๗)
    [ X ]
    : ๗๘ สังขารสูตร
    ๒๖.มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยความคิดเห็นอันลามกหรือชั่วร้ายในเรื่องของวิญญาณ
    ๘.กายคตาสติสูตร ว่าด้วยการใช้สติ,สมาธิ และปัญญา ไปในกาย

    http://www.nkgen.com/20.htm#mark
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้
    images.png
    "ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมทําให้มีจักษุ ทําให้มีญาณ
    ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน"
    (สํ.ม. ๑๙/๕๐๒/๑๓๗)
    กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์?
    พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
    กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็(แล้วยังมี)ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?
    พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
    (กุณฑลิยสูตร)
    โพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ หมายถึง ธรรมหรือข้อปฏิบัติเพื่อยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ กล่าวคือ ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์หรือการตรัสรู้ อันมี ๗ ประการ ซึ่งเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามก็ดำเนินไปตามหลักอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบันธรรม อันเป็นไปดังนี้
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ ความระลึกได้บ่อยๆในกิจ(สิ่งที่ควร)ที่ทำมาไว้แล้ว ความไม่เผลอเรอ ความมีสติกํากับอยู่ในกิจ หรืองาน หรือธรรมที่ปฏิบัติ ดังเช่น การปฏิบัติธรรมวิจัย, การมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนา, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันจิต ที่หมายถึงจิตตสังขาร เช่นความคิดปรุงแต่งคืออาการของจิตที่ฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันธรรม
    อันสติจักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ดังเช่น สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นการมีสติในกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอานิสงส์ที่เนื่องสัมพันธ์กับโพชฌงค์ ๗ จึงเป็นเครื่องสนับสนุน(ปัจจัย)ให้มีสติไปน้อมกระทำการธัมมวิจยะ
    ๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ธรรมวิจยะ) หรือธรรมวิจัย ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม การพิจารณาในธรรม อันครอบคลุมถึงการเลือกเฟ้นธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ถูกจริต และการค้นคว้า การพิจารณา การไตร่ตรองด้วยปัญญา หรือการโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง อย่างแท้จริง อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในธรรม(สภาวธรรมชาติ โดยเฉพาะของทุกข์ ก็เพื่อใช้ในการดับทุกข์) กล่าวคือธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    เมื่อมีสติรู้เท่าทัน พร้อมทั้งวิจัยค้นคว้าพิจารณาในกาย เวทนา จิต ธรรม ที่สติเท่าทันนั้นๆ ย่อมยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริงในสภาวธรรมหรือธรรมต่างๆขึ้นเป็นลำดับ จึงไม่ได้เห็นเป็นไปตามความอยาก,ความเชื่อ การอ่าน การฟังแต่อย่างเดียวดังเช่นแต่กาลก่อน, ดังเช่น การเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท พระไตรลักษณ์ อริยสัจ๔ ขันธ์๕ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ. เมื่อเกิดความเข้าใจจากการธัมมวิจยะ ปัญญาย่อมสว่างกระจ่าง จึงย่อมรู้คุณ จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมให้เกิดวิริยะ
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร ท่านหมายถึงความเข้มแข็ง ความพยายาม บากบั่น สู้กิจ ไม่ย่อหย่อนท้อแท้ต่อการปฏิบัติและการพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ) ตลอดจนการเพียรยกจิตไม่ให้หดหู่ ท้อแท้, เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมจากการพิจารณาธรรม ย่อมเป็นสุข เห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ อุปาทานทุกข์น้อยลงหรือเบาบางลง จึงย่อมทำให้เกิดความเพียรขึ้นเป็นธรรมดา
    เมื่อเห็นคุณย่อมปฏิบัติด้วยความเพียร เมื่อปฏิบัติด้วยความเพียร อย่างแน่วแน่ในระยะหนึ่ง ไม่ซัดส่ายสอดแส่ ย่อมเป็นปัจจัยครื่องสนับสนุนให้เกิดปีติ
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติพิจารณาในธรรม ด้วยความเพียรย่อมเกิดความอิ่มเอิบ อิ่มใจ ความดื่มดํ่า ใจฟู ความแช่มชื่น ความปลาบปลื้ม อันปราศจากอามิส(ไม่เจือด้วยกิเลส)ขึ้นเป็นธรรมดา (จึงมิได้หมายถึง ปีติ ชนิดมีอามิส ความอิ่มเอิบ อันเกิดแต่การปฏิบัติฌานสมาธิอันมีองค์ฌาน ชนิดที่เกิดแต่การติดเพลิน, ติดสุข ทั้งโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี อันมักแสดงออกโดยอาการจิตส่งใน เพราะปีติชนิดนี้ยังให้โทษในภายหน้าแต่อย่างเดียว)
    เมื่อวิริยะ อย่างแน่วแน่ในธรรมที่พิจารณา ไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปปรุงแต่งในสิ่งอื่นๆได้ระยะหนึ่ง ย่อมบังเกิดอาการปีติความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นขึ้นนั้นๆ ซึ่งเมื่อความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นจางคลายไป ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนให้เกิดปัสสัทธิ
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกายและความสงบใจ ความผ่อนคลายกายใจ อันเกิดแต่ปีติสุขที่ระงับไป, เมื่อปีติความแช่มชื่น อิ่มเอิบแช่มชื่น อันเกิดแต่ความเข้าใจกระจ่างสว่างในธรรมสงบระงับลงแล้ว ย่อมยังผลให้เกิดการผ่อนคลาย กล่าวคือ เกิดความสงบกายสงบใจตามมา จึงไม่เครียด ไม่กระวนกระวาย กายใจโปร่งเบาสบาย กล่าวคือ เมื่อกายสงบระงับย่อมเกิดความสุข จึงเกิดการเสวยสุข ขยายความ
    เมื่อกายสงบระงับแล้วย่อมเป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมนำให้เกิดสมาธิสัมโพชฌงค์จิตตั้งมั่น
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความมีจิตตั้งมั่น เพราะเมื่อกายสงบ ย่อมพบสุข เมื่อพบสุข จิตย่อมตั้งมั่น เพราะย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปฟุ้งซ่าน หรือปรุงแต่ง จึงมีจิตหรือสติตั้งมั่นอยู่กับกิจหรืองานที่ทํา อันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ นั่นเอง เช่น มีสติอย่างต่อเนื่องกับธรรมที่พิจารณา หรือการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ซัดส่าย ไม่วอกแวก ดังเช่น มีสติเห็นเวทนา หรือมีสติระลึกรู้เท่าทันอาการของจิต เช่นรู้เท่าทันอาการปรุงแต่งหรือรู้เท่าทันว่าฟุ้งซ่านไปภายนอกอยู่เนืองๆ และสมาธินั้นยังเป็นกําลังแห่งจิต ที่ทําให้จิตเข้มแข็งขึ้น ก็เนื่องเพราะความไม่ซัดส่ายไปสอดแส่ให้เกิดทุกข์ในเรื่องอื่นๆอีกด้วยนั่นเอง จึงย่อมยังให้การปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นเป็นไปอย่างมีกําลัง ดังนั้นสมาธิในสัมโพชฌงค์จึงหมายถึง การมีจิตตั้งมั่น อยู่ได้อย่างต่อเนื่องหรือแนบแน่นในการปฏิบัตนั่นเอง เป็นจิตชนิดที่มีสติปราดเปรียวว่องไว ที่เมื่อระลึกรู้เท่าทันในสิ่งใดแล้ว ก็ปล่อยวางโดยการ อุเบกขาในสัมโพชฌงค์องค์สุดท้าย
    สมาธิในโพชฌงค์ จึงเป็นสมาธิเพื่อการวิปัสสนา ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการปฏิบัติสมถสมาธิ ที่มีสติแนบแน่นหรือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น อย่างไม่ปล่อยวาง ที่เมื่อสติจางคลายหรือขาดไปแล้ว มีองค์ฌานหรือสมาธิเป็นผลให้เกิดความสุขสงบสบายขึ้น แต่ย่อมเป็นไปในขณะหรือระยะหนึ่งๆเท่านั้น จึงยังจัดว่าเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า สมถสมาธิหรือฌานที่ปฏิบัติกันทั่วไป อันมีมาแต่โบราณนั้น ในทางพุทธศาสนาแล้วก็เพื่อเป็นไป เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิในขั้นวิปัสสนาต่อๆไปเท่านั้น กล่าวคือ สมาธิในโพชฌงค์คือสมาธิชนิดสัมมาสมาธิในองค์มรรคที่มีจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย อย่างต่อเนื่อง
    เมื่อจิตตั้งมั่น แน่วแน่อย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างเนืองๆ ย่อมประกอบด้วยกำลัง และยังประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเป็นไปตามจริงตามที่ได้สั่งสมมา จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนในการน้อมนำไปในการอุเบกขา
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การวางใจเป็นกลาง วางทีเฉย รู้ตามความจริงหรือยอมรับตามความจริง แล้วละเสียโดยการตั้งมั่นวางเฉย หรือปล่อยวางโดยอาศัยกำลังของจิตอันเกิดแต่สติ,สมาธิและปัญญานั่นเอง วางเฉย ที่หมายถึง รู้สึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดาไม่ต้องฝืน แต่ตั้งใจกระทำหรือปฏิบัติ ด้วยการไม่(คิดนึก)ปรุงแต่ง ไม่สอดแส่ไปในเรื่องหรือกิจนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย) กล่าวคือไม่คิดเอนเอียง ไม่สอดแส่ ไม่ซัดส่าย ไม่ยึดมั่นในสิ่งใด เช่น ไม่ไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิต ในเวทนา(ความรู้สึกรับรู้เมื่อกระทบสัมผัสอันอาจชอบใจหรือไม่ชอบใจ) หรือสังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น จิตฟุ้งซ่าน ,จิตมีโทสะ ฯ. ถ้อยคิดหรือความคิดนึกที่เกิดขึ้น เช่น การคิดปรุงแต่งหรือการเอนเอียงไปคิดเห็นว่าสิ่งนั้นถูกหรือสิ่งนั้นผิด, ไม่ปรุงแต่งทั้งในบุญหรือบาป, ไม่ปรุงแต่งไปทั้งดีหรือชั่ว, ไม่ปรุงแต่งว่าเราถูกหรือเขาผิด, เกิดความรู้สึกอย่างไรก็เกิดอย่างนั้น ไม่เป็นไร เป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องเป็นธรรมดา เพียงวางจิตหรือสติหรือความคิดให้เป็นกลางด้วยการกระทำ วางทีเฉย เพราะการที่ไปปรุงแต่งแม้จะเป็นดีหรือสิ่งที่ถูกก็เป็นทุกข์ (แยกแยะให้เข้าใจความหมายถูกต้องด้วย มิได้หมายถึงไม่ทําความดี ไม่ทําบุญ แต่หมายถึงการไปคิดนึกปรุงแต่ง แล้วยึดว่าถูก ว่าดี อย่างนั้น อย่างนี้ อันล้วนยังให้เกิดเวทนา คือความคิดขึ้นใหม่ๆอันย่อมเกิดเวทนาขึ้นอีกทั้งสิ้น อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อุปาทาน ชาติอันเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด) ดังเช่น เรานั้นเป็นคนดีมากๆ ช่วยเหลือเกื้อหนุนบุคคลคนหนึ่งอย่างมากๆ เป็นความดีชนิดบริสุทธิ์ใจ แต่แล้วบุคคลคนนั้นกลับกระทำการสิ่งที่ไม่ดีต่างๆนาๆต่อเรา เพียงแต่เราคิดปรุงแต่งหรือกระทำโดยอาการพิรี้พิไรรำพันโอดครวญในความดีของเราหรือความชั่วของเขาในเรื่องนี้ขึ้นมา ที่แม้เป็นจริงอย่างที่สุดก็ตาม ท่านก็ย่อมต้องเสวยทุกข์ขึ้นทันที ความดีที่เรากระทำอยู่นั้นเราย่อมได้รับอยู่แล้วเพียงแต่อาจโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อใดที่เราไปคิดยึดมั่นในความดีด้วยกิเลส คือไปอยากให้ความดีนั้นตอบแทน ก็เกิดอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทันที ด้วยเหตุฉะนี้ พระอริยเจ้าท่านจึงมีคำกล่าวอยู่เนืองๆว่า ไม่ยึดดี ไม่ยึดชั่ว เป็นกลางวางทีเฉย
    อุเบกขา จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการเจตนาขึ้นเท่านั้น จึงต้องหมั่นสั่งสมอบรมปฏิบัติ ไม่ใช่การวางใจเป็นกลางชนิดที่ต้องทําใจเป็นกลางเฉยๆ ชนิดจะไม่ให้รู้สึกรู้สาต่อทุกขเวทนา,สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กล่าวคือ อยากจะไม่ให้มีทุกขเวทนาทางกายหรือทางใจใดๆมากระทบได้ เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจด้วยอวิชชา อันอาจกระทําได้แค่เป็นครั้งคราวด้วยฌาน,สมาธิเท่านั้น อันยังเป็นเพียงโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้) และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่) เพราะตามความเป็นจริงแล้วทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่เป็นธรรมดาแม้ในองค์พระอริยเจ้า แต่ท่านเหล่านี้ไม่มีอุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕, จึงต้องเป็นการปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ แล้วจึงปล่อยวาง หรือทําใจเป็นอุเบกขา กล่าวคือรู้ตามความเป็นจริงแล้ว รู้สึก(เวทนา)อย่างไร ก็เป็นเยี่ยงนั้นนั่นเอง แต่ต้องเข้มแข็ง ไม่คิดนึกปรุงแต่งด้วยการไม่เอนเอียงหรือแทรกแซงไปด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย), อุเบกขาจึงไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนาหรือที่บางทีเรียกกันว่าอุเบกขาเวทนา อันเป็นความรู้สึกเฉยๆ แล้วไปยึดไปเข้าใจผิดว่าเป็นการอุเบกขา, อันอุเบกขาเวทนานั้นเป็นสภาวธรรมที่เกิดการรับรู้ขึ้นจากการผัสสะเป็นธรรมดา กล่าวคือเป็นไปโดยสภาวธรรมชาติ อย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรม ส่วนการอุเบกขาหรือตัตรมัชฌัตตตาเป็นสังขารขันธ์จึงต้องมีสัญเจตนาหรือเจตนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องหมั่นฝึกฝนอบรมด้วยความเพียรยิ่ง จนสามารถกระทำอุเบกขานั้นเป็นมหาสติ กล่าวคือ กระทำเองโดยอัติโนมัติ เป็นเฉกเช่นสังขารในปฏิจจสมุปบาท แต่ปราศจากเสียซึ่งอวิชชา (มีรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง อุเบกขา)
    โพชฌงค์ ๗ จึงล้วนเป็นธรรมเหล่าใดที่บุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังให้เกิดวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    หรือถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์นั่นเอง
    ที่มีจิตคือสติรู้เท่าทันในกาย เวทนา จิต และธรรมอยู่เนืองๆ กล่าวคือปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนให้ถึงซึ่งโพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ ๗
    จาก อานาปานสติสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
    เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
    ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
    เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
    ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
    ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
    ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
    ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
    ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
    ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
    ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
    ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ......... ฯลฯ ...........
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
    จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
    ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    ๑๐. โพชฌงควิภังค์
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕
    สุตตันตภาชนีย์
    โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
    [๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    [๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้
    เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้ ระลึกได้บ่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
    ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้วนี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์
    ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่พระภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์
    กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียก ว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
    ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ----------

    การเจริญโพชฌงค์ตามกาล
    มีพุทธพจน์ตรัสแสดงถึงวิธีแก้ไข ความรู้สึกหดหู่ใจ ท้อแท้ใจ ทรงสอนให้แก้ไขโดยการเจริญโพชฌงค์ในธรรม ๔ ข้อ ของ โพชฌงค์ ๗ อันมี
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ข้อ ๑) สติ ความระลึกได้กํากับใจ,กาย มีสติระลึกรู้ตัวในจิตสังขารว่า หดหู่ ,เหี่ยวแห้ง,ท้อแท้,เสียใจ,อาลัย แล้วปล่อยวาง แล้วดำเนินไปในองค์โพชฌงค์ต่อไป
    ๒. ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ข้อ ๒) โดยการโยนิโสมนสิการ พิจารณาธรรมที่บังเกิดแก่ใจ, หรือเฟ้นธรรมที่ถูกจริต หรือสงสัยไม่เข้าใจ ขึ้นมาไตร่ตรองอย่างเบิกบานให้เข้าใจ หรือมองเห็นสิ่งที่พิจารณานั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป(ไตรลักษณ์), ปัญญามองเห็นอริยสัจ เป็นการอาศัยธรรมเป็นเครื่องอยู่หรือเป็นเครื่องกำหนดของจิต เพื่อไม่ให้จิตคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านออกไปปรุงแต่งในเรื่องที่หดหู่เหล่าใดเหล่านั้นนั่นเอง และยังเป็นการสั่งสมภูมิรู้ภูมิญาณขึ้นในภายหน้าอีกด้วย
    ๓. วิริยะสัมโพชฌงค์ (ข้อ ๓) ความเพียร, ความพยายาม เข้มแข็ง ในธรรมทั้ง ๒ ข้างต้น และหมายรวมถึงการเพียรยกจิต ไม่ให้หดหู่ถดถอย(ถีนะมิทธะ) ไม่ปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามสถานะการณ์แห่งความหดหู่ใจในภายใน ซึ่งผู้ปฏิบัติมักมองไม่เห็นหรือนึกไม่ถึง
    ๔. ปิติสัมโพชฌงค์ (ข้อ๔)ความอิ่มใจ ซาบซ่านใจ ใจฟู ความแช่มชื่นใจ อันเกิดมาแต่ความเข้าใจธรรม หรือปีติในองค์ฌานที่สามารถทรงขึ้นมาได้ แต่ต้องปราศจากอามิส กล่าวคือ ไม่ใช่ปีติอันมีรากฐานมาจากความติดเพลิน(จึงติดสุข ฯ.)ในองค์ฌานหรือสมาธิ
    กล่าวสรุปโดยย่อ มีสติระลึกรู้เท่าทันว่า "จิตหดหู่ใจ" ก็ให้พิจารณา(ธรรมวิจยะ)เช่นว่า เกิดมาแต่เหตุปัจจัยใด? เป็นอนุสัย? เป็นอาสวะกิเลส? ฯลฯ. ด้วยความเพียร(วิริยะ)ไม่ปล่อยให้ไหลเลื่อนไปตามยถากรรมในจิตหดหู่นั้น เมื่อเห็นเข้าใจในธรรมหรือเหตุปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดปีติความสบายใจความยินดีหรือความอิ่มเอิบใจ จึงคลายจากความหดหู่ใจ เหี่ยวแห้งใจนั้นได้ และจิตหดหู่อันเกิดจากเหตุนั้นก็เป็นอันรู้แล้ว ก็จะไม่ยังผลดังนั้นขึ้นอีก
    และอยู่กับปัจจุบันจิต อย่าคิดนึกปรุงแต่งถึงอดีตที่ผ่านมาแล้ว และอนาคตที่ยังไม่ถึงและไม่แน่นอน หมายถึงทําสิ่งในปัจจุบันที่เกิดที่เป็น หรือทําหน้าที่ให้ดีที่สุด แล้วอุเบกขา ไม่ปรุงแต่งทั้งทางดีหรือชั่วอันยังให้เกิดเวทนา..ตัณหา..อุปาทาน อันเป็นทุกข์
    และยังทรงกล่าวถึงวิธีระงับความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ จากการคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆทั้งด้านสุขหรือทุกข์, โดยใช้ ธรรม ๔ ข้อของสัมโพชฌงค์ ๗ อันมี
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ข้อ๑) มีสติระลึกรู้เท่าทันว่า ฟุ้งซ่าน คิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ
    ๒. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ข้อ๕) คือผ่อนคลายทั้งกายและใจ ไม่ตั้งจิตหรือกายอย่างเคร่งเครียด ให้สงบกายใจ
    ๓. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ข้อ๖) จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กําหนด ไม่วอกแวก อยู่กับกิจหรืองานที่ทํา หรือสมาธิ หรืออยู่ในการพิจารณาธรรมอย่างตั้งมั่น(สมาธิที่ใช้ในวิปัสสนา) อันเป็นอุบายวิธีเพื่อละความฟุ้งซ่านซัดส่ายส่งไปภายนอก ไปคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดเวทนาอันอาจเกิดตัณหา ที่ก่อให้เกิดทุกข์ต่อเนื่องวนเวียนอยู่ในชรานั่นเอง
    ๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ข้อ๗) รู้ตามความเป็นจริงในสิ่ง(ธรรม)นั้น เมื่อปรุงแต่งต่างๆนาๆขึ้นมาแล้ว ก็ต้องวางใจเป็นกลางวางเฉย, วางเฉยโดยการไม่เอนเอียงแทรกแซงไปคิดนึกปรุงแต่งต่อไปอีกทั้งในด้านดีหรือชั่ว กล่าวคือ ย่อมเกิดผลใดขึ้น เช่น เป็นสุขเป็นทุกข์ก็ตามที ก็ไม่ไปปรุงแต่งให้เกิดเวทนาต่างขึ้นอีก อันจักเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาความอยาก และอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ กล่าวคือไม่ปรุงแต่งไม่ว่าจะ ดีก็ไม่ ชั่วก็ไม่ / บุญก็ไม่ บาปก็ไม่ / สุขก็ไม่ ทุกข์ก็ไม่ คือไม่ปรุงแต่งยึดถือนั่นเอง เช่น ยึดว่าเราถูกก็ไม่ / ยึดว่าเขาผิดก็ไม่ แล้วมันก็ดับไปเอง
    กล่าวสรุปการปฏิบัติโดยย่อ มีสติระลึกรู้เท่าทัน(สติ)ว่า "ฟุ้งซ่าน คิดนึกปรุงแต่งไม่หยุดหย่อน" เมื่อรู้ตัวมีสติดังกล่าวแล้วก็ให้ผ่อนคลายกายใจให้สงบลงเสียก่อน(ปัสสัทธิ) เมื่อสงบลงแล้ว ก็มี "สติ ที่ตั้งมั่น"(สติที่ประกอบด้วยสมาธิคือมีความต่อเนื่องหรือตั้งมั่น) อยู่ใน"อุเบกขา" กล่าวคือ เป็นกลางต่อสังขารนั้น ด้วยการกระทำที่ไม่แทรกแซงไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่งในเรื่องนั้นๆ
    จาก มรดกของพุทธทาส โดย ท่านพุทธทาส
    มรดกที่ ๑๑๓. การบรรลุ มรรคผล นิพพาน มิได้มีไว้ เพื่อบอก ให้ผู้อื่นทราบ และแม้ที่จะรู้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า บรรลุขั้นไหนเท่าไร เพียงแต่รู้ว่า ทุกข์กำลังดับไปๆ จนกว่าจะหมดสิ้น ก็พอแล้ว เหมือนรองเท้าสึก ก็รู้ว่าสึก (จนกว่าจะใช้ไม่ได้) ก็พอแล้ว ไม่ต้องรู้ว่า มันสึกกี่มิล ในวันหนึ่งๆ.
    ธรรมน่าคิดของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
    ดูไม้ท่อนนี้ซิ ... สั้นหรือยาว
    สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ...ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
    แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ... ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
    หมายความว่า ตัณหา ของคุณต่างหาก
    ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา
    (Webmaster - ล้วนเป็นไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทนั่่นเอง)
    http://www.nkgen.com/35.htm
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โอมานโดนฝนที่ควรจะตกใน 4 เดือน มาตกพร้อมกันใน 1 วัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและอุณหภูมิหนาวจัด เข้ามาในวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม
    Oman hit by 4 months' worth of rain in 1 day, severe flash floods and freezing temperatures into Thursday, January 16.
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ต้นไม้ ได้ รับ เกลือ มากเกินไป
    ระบบ ธรรมชาติ / จะระบายเกลือ ทิ้ง ด้วยการ คายน้ำ
    และ ออก อาการ เหี่ยวเฉา
    เพื่อ ให้ คน รดน้ำ
    แต่ หาก รดน้ำจืด / น้ำสะอาด
    อาการเหี่ยวเฉา / จะค่อยๆ ดีขึ้น
    แต่ หาก รดน้ำกร่อย / น้ำเค็ม
    ต้นไม้ / จะ มี อาการ รุนแรงขึ้น เรื่อยๆ /
    และ อาจ ตาย ไป ในที่สุด
    ต้นไม้ เหมือน คน
    คน ได้ รับน้ำตาล มากเกิน ไป
    ร่างกาย / จะ ออกอาการ / กระหายน้ำ
    เพื่อ เอาน้ำ มา เจือจาง / น้ำตาล ในร่างกาย
    แต่ หาก เรา ทานน้ำเปล่า ก้อ ถูกต้อง
    แต่ หาก เราทานน้ำหวาน /
    ก้อ จะเพิ่ม ปริมาณน้ำตาล เพิ่มขึ้น ในร่างกาย
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    PSX_20200118_120742.jpg
    (Jan 18) 8 ข้อค้นพบ ผลกระทบจาก 'เงินบาทแข็ง' : EIC ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2019 และ 2020 พบ 8 ผลกระทบใน 4 ช่องทางหลักที่ตามมากับเงินค่าที่แข็งค่าต่อเนื่อง

    ประเด็นค่าเงินบาท ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะหากเทียบค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค พบว่าค่าเงินมีการแข็งค่ามากที่สุด อย่างไรก็ตาม กล่าวโดยสรุป การแข็งค่าของเงินบาทมีทั้งผู้ได้และเสียประโยชน์

    EIC เปิดเผยข้อมูล "Outlook Quarter1 2020" พร้อมประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2019 และ 2020 โดยเปิดมุมมองผลกระทบที่เกิดกับค่าเงินบาทแข็ง 4 ช่องทางหลัก โดยแบ่งออกเป็น 8 ผลกระทบ ดังนี้

    ช่องทางที่ 1 ผลกระทบต่อการส่งออกและท่องเที่ยว
    1. รายได้การส่งออกในรูปเงินบาทลดลง ในช่วงปี 2016 ถึงปัจจุบันมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทปรับตัวแย่กว่ามูลค่าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะในปี 2019 ที่การส่งออกหดตัว โดยจากข้อมูล 11เดือนแรก การส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ 2.8%YOY แต่การส่งออกในรูปเงินบาทหดตัวมากถึง -5.6%YOY

    2. ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวลดลง เงินบาทที่แข็งค่าทำให้นักท่องเที่ยวแลกเงินบาทได้น้อยลง จึงทำให้มีผลต่ออัตราเติบโตของค่าใช้จ่ายต่อหัว ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยพบว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวช่วง 11 เดือนแรกปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 48,528 บาทต่อคนต่อทริปนั้น มีระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปี 2016 ที่อยู่ที่ 50,216 บาทต่อคนต่อทริป ซึ่งการลดลงเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและการแข็งค่าของเงินบาทเป็นสำคัญ

    3. ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยบางรายการลดลง โดยเฉพาะสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ (import content ต่ำ) โดยแม้ว่าในภาพรวมการส่งออกสินค้าของไทยจะยังไม่สูญเสียส่วนแบ่งในตลาดโลก (สัดส่วนส่งออกในตลาดโลกของไทยช่วงปี 2011-2015 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% เทียบกับปี 2016-2018 อยู่ที่ 1.3%) สะท้อน ว่าสินค้าส่งออกของไทยยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก แต่การที่เงินบาทแข็งค่าเกือบ 20% ในช่วง 4 ปีหลัง ย่อมส่งผลถึงความสามารถการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก

    นอกจากนี้ยังพบว่าสินค้าส่งออกไทยที่มีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้น มักจะเป็นสินค้าส่งออกที่มี import Content สูง ซึ่งได้รับประโยชน์จากต้นทุนสินค้านำเข้าที่ถูกลง จึงทำให้ผู้ส่งออกที่มี import content สูง มีความสามารถในการลดราคาสินค้าส่งออกเพื่อรักษาระดับความสามารถ ในการแข่งขันได้ในทางกลับกันสินค้าที่มี import content ต่ำจะไม่ได้รับอานิสงส์จากเงินบาทที่แข็งค่าด้านการลดลง ของต้นทุนสินค้านำเข้า ดังนั้น จึงไม่สามารถลดราคาสินค้าส่งออกและทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยสินค้าในกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ สินค้าเกษตรพืชผลและปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องนุ่งห่ม

    ช่องทางที่ 2 ผลกระทบต่อการนำเข้าและการท่องเที่ยวต่างประเทศ

    4. คนไทยนำเข้าสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้นแทนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ โดยการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลง ผู้บริโภคจึงหันไปซื้อสินค้านำเข้ามากขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนการนำเข้าสินค้า อุปโภคบริโภคต่อการบริโภคสินค้าไม่คงทน (ไม่รวมบริการและรถยนต์) มีการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลัง (หรือการนำเข้าสินค้าบริโภคมีอัตราเติบโตที่เร็วกว่าการบริโภคสินค้าไม่คงทนในภาพรวม) โดยสินค้าที่นำเข้า มากคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผักและผลไม้ และสินค้าจำพวกสบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง ที่มีการนำเข้าจาก ประเทศจีน, เวียดนาม, ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เป็นสำคัญ

    5. คนไทยใช้จ่ายเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเที่ยวในประเทศ นอกจากปัจจัยด้านเที่ยวบิน low cost ที่มีมากขึ้น รวมถึงบางประเทศที่มีนโยบาย free visa กับนักท่องเที่ยวไทย ค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นอีกปัจจัย สำคัญที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่างประเทศถูกลง จึงมีส่วนทำให้คนไทยหันไปท่องเที่ยวต่างประเทศ มากขึ้น โดยจากรูปด้านซ้ายแสดงให้เห็นว่าคนไทยใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเร็วกว่าใช้จ่ายท่องเที่ยวใน ประเทศประมาณ 1 เท่าตัวในช่วงปี 2016- 2018

    ช่องทางที่ 3 ผลกระทบต่อการลงทุนระหว่างประเทศทั้งขาเข้าและขาออก

    6. ไทยอาจมีความน่าสนใจลดลงในสายตานักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากการเข้ามาก่อสร้างโรงงานมีต้นทุนสูงขึ้น ในรูปเงินบาท (นักลงทุนต่างชาติต้องนำเงินต่างชาติมาแลกเป็นเงินบาทก่อน) จึงอาจทำให้ไทยมีความน่าสนใจ ลดลงในสายตานักลงทุนต่างชาติ โดยจากรูป แสดงให้เห็นว่าสัดส่วน FDI inflows ที่เข้ามาในไทยต่อ FDI รวมที่ เข้ามาในกลุ่มประเทศอาเซียนปรับลดลงในช่วงปี 2016-2018 เทียบกับช่วงปี 2013-2015 ก่อนหน้า

    นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังส่งผลต่อความสามารถการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออก ดังนั้น จึงอาจทำให้ นักลงทุนต่างชาติ ลดการลงทุนในไทยด้านการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งตรงกับรูปด้านขวา ที่แสดงให้เห็นว่า FDI เฉลี่ยของปี 2016-2018 ที่ลดลงนั้น มาจากการลดลงของ FDI ที่จะมาลงทุนภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
    7. คนไทยไปลงทุนระยะยาวในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังปี 2016 เป็นต้นมา ทั้งนี้ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ ถูกขับเคลื่อนจากหลายปัจจัย ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาท อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยดังกล่าว เนื่องจากสามารถแลกเงินต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้ต้นทุนของการลงทุนในต่างประเทศถูกลง

    ช่องทางที่ 4 ผลกระทบต่อราคาสินค้าพลังงานและอัตราเงินเฟ้อ

    8. ราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้น (ลดลง) ต่ำกว่า (มากกว่า) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สังเกตได้จากช่วงปี 2017-2018 ที่ราคาน้ำมันดิบโลกปรับเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศกลับเพิ่มขึ้นน้อยกว่า เพราะเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าน้ำมันจากตลาดโลกลดลง และในช่วงหลังที่ราคาน้ำมันดิบปรับ ลดลง ราคาในประเทศก็ยิ่งปรับลดมากกว่า จากเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ดัชนี ราคาสินค้าพลังงานของไทยชะลอหรือลดลงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของ ไทยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/news...edium=internal_referral&utm_campaign=economic
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Michael DiFato

    สนามแม่เหล็กของโลกได้รับการทำลายด้วย magneton ต่างๆ โดยไม่มีที่ว่างสำหรับแม่magneton ต่างๆ เหล่านี้ เพื่อยักย้าย เราเห็นการก่อตัวของการไหลวนวน (Eddy Flow) อยู่ด้านหลังโลก
    FB_IMG_1579324329533.jpg
    The magnetosphere of the Earth getting blasted with magnetons.With no room for these magnetons to maneuver we see the formation of an Eddy Flow behind the Earth.
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Michael DiFato

    ดู cygnet ISWA Y-Cut 24 ชั่วโมงด้วยภาพที่ถ่ายทุก 3 ชั่วโมงโดยเพิ่ม Bz สีดำเพื่อให้แสดงการเอียงของไดโพลของสนามแม่เหล็กของโลกได้ดีขึ้น

    A 24hr look at the ISWA Y-Cut cygnet with images taken every 3 hours, with the black Bz line added to better display the tilting of the dipole of Earth’s magnetic field.

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กราฟ Schumann ว่างเปล่าเป็นเวลาเกือบ 36 ชั่วโมง
    20200118_2.jpg
    การระเบิดของคลื่นความโน้มถ่วง 'ที่ไม่ทราบ' เพิ่งทำให้เครื่องตรวจจับของโลกสว่างขึ้น
    Schumann graph went blank for almost 36 hours
    An 'unknown' burst of gravitational waves just lit up Earth's detectors
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,797
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    อุทกภัยในบันจีร์ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีฝนตกชุก 10 ถึง 20 ซม
     

แชร์หน้านี้

Loading...