ตามติดสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ระยอง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย จริง?หรือ?, 29 กรกฎาคม 2013.

  1. chaokhun

    chaokhun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +5,701

    ไม่มีการจดสิทธิบัตรหรอกครับ ที่ ต่างประเทศก็เคยทำมาแล้วครับ ด้วยการระดมเส้นผมทั่วประเทศ ใส่กระสอบปุ๋ยให้เส้นผมดูดซับคราบน้ำมัน

    ผมจำได้ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ประเทศไทยก็เคยเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้จากเรือบรรทุกน้ำมัน ก็เคยใช้เส้นผมที่ระดมจากร้านตัดผมและที่ต่าง ๆ สามารถแก้ปัญหาได้ครับ ใช้เส้นผมคนเป็นร้อยกระสอบขึ้นไป ไม่ทราบจำนานที่แท้จริง
    ขอยืนยันว่าทำได้จริง ๆ ครับ
     
  2. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    'เพ้ง'คาดเก็บคราบน้ำมันเสร็จพรุ่งนี้ สั่ง PTTGC ฟื้นฟูให้คืนสภาพเดิม

    [​IMG]

    "พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล" รัฐมนตรีพลังงาน ลงพื้นที่อ่าวพร้าว ตรวจการเก็บกู้คราบน้ำมัน คาดพรุ่งนี้ดำเนินการเสร็จ สั่งฟื้นฟูสภาพให้คืนสู่ภาวะปกติ เผยนายกฯ สั่งประสานกระทรวงทรัพยากรฯ ดูแลใกล้ชิด...
    เมื่อวันที่ 30 ก.ค. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เพื่อตรวจเยี่ยมการแก้ไขปัญหาคราบน้ำมันที่รั่วไหล ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC โดยคาดว่า จะสามารถเก็บกู้คราบน้ำมันเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ จากนั้นจะฟื้นฟูทำความสะอาดให้กลับเข้าสู่สภาพปกติ และสามารถกลับมาเปิดหาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้เร็ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันดูแล

    ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือ แต่ยังไม่ได้ประเมินงบประมาณที่จะใช้ โดยจะให้ความสำคัญต่อประชาชนที่ได้รับความเสียหายเป็นหลัก

    "ในส่วนของกลุ่มที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ แต่เชื่อว่าในส่วนของพื้นที่อ่าวพร้าว จะไม่มีการฟ้องร้อง เพราะจะทำให้ความช่วยเหลือจาก PTTGC ดำเนินการได้เร็ว แต่หากเป็นคดีก็จะต้องใช้เวลานานกว่า ซึ่งกลุ่มที่จะฟ้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

    พร้อมกันนี้ นายพงษ์ศักดิ์ยังได้เร่งให้ PTTGC เร่งสอบสวนสาเหตุของเรื่องนี้ และวางแผนแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดยเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก จนทำให้การปฏิบัติการเก็บกู้คราบน้ำมันต้องหยุดลง แต่นายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTGC ยังยืนยันที่จะเร่งเก็บกู้คราบน้ำมันให้เสร็จภายในคืนนี้

    ขณะที่กลุ่มกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ลงพื้นที่มาตรวสอบการแก้ไขปัญหาเช่นกัน โดย น.ส.ศิรสา กันตรัตนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเล และมหาสมุทร กรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน วิธีที่ใช้ถือว่าดีที่สุดแล้ว แต่เรียกร้องให้เปิดเผยประเภทของสารเคมีที่ใช้ พร้อมระบุว่าจากการทดสอบของกรีนพีช การใช้สารเคมีฉีดพ่นให้น้ำมันแตกตัว และจมลงสู่ทะเล จะทำให้สารเคมีที่ใช้และน้ำมัน ที่เป็นสารพิษอยู่แล้ว เป็นพิษมากขึ้น
    นอกจากนี้ ทางกลุ่มกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเรียกร้องให้ป้องกันน้ำมันรั่วไหลลงทะเลให้ดีที่สุด พร้อมหยุดการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย รวมทั้งกำหนดนโยบายพลังงานของชาติ โดยเน้นใช้พลังงานสะอาด.


    ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์
    วันที่ 30 Jul 2013 - 16:34
     
  3. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    แต่

    ผอ.ศูนย์วิจัยฯ ห่วงการกำจัดคราบน้ำมันไม่แล้วเสร็จใน 15 วัน

    นางรัตนา มั่นประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กล่าวถึงเหตุน้ำมันดิบรั่วกลางทะเล จ.ระยองว่า ขณะนี้ยังคงควบคุมน้ำมันอยู่ในวงจำกัด บริเวณอ่าวพร้าวเกาะเสม็ดเท่านั้น ส่วนที่ข่าวว่า น้ำมันกระจายไปถึงหาดบ้านเพแล้ว อยู่ห่างจากฝั่ง 100 เมตร ซึ่งจากการสำรวจ และสอบถามชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวไม่พบคราบน้ำมันแต่อย่างใด แต่อาจจะมีตะกอนจากสารเคมีเล็กน้อย สำหรับการดำเนินการเก็บกู้คราบน้ำมันทั้งหมดนั้น อาจจะไม่แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพราะกระบวนการเก็บกู้มีหลายขั้นตอน และมีปัจจัยหลายด้านที่อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่กำหนดไว้
     
  4. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    'ดีเอสไอ'ลุยตรวจมาบตาพุด หาเหตุ'น้ำมันรั่ว'

    [​IMG]

    "ธาริต เพ็งดิษฐ์" มอบหมาย ผอ.ส่วนบริหารงานคดีพิเศษ ดีเอสไอ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลหาสาเหตุน้ำมันรั่ว ชี้หากเป็นการกระทำการโดยประมาท อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ซึ่งจะรับเป็นคดีพิเศษทันที...

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงเหตุท่อรับน้ำมันดิบกลางทะเล ทำให้น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลเป็นจำนวนมากที่มาบตาพุด จ.ระยอง ว่า วันนี้ได้มอบหมายให้ นายภูวิช ยมหา ผอ.ส่วนบริหารงานคดีพิเศษ ดีเอสไอ ลงพื้นที่ไปติดตามตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นว่าเหตุดังกล่าวเป็นอุบัติเหตุ หรือการกระทำที่ประมาทเลินเล่อ ซึ่งหากเป็นการกระทำการโดยประมาท ก็อาจเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ที่อยู่ในอำนาจสอบสวนเป็นคดีพิเศษของดีเอสไอ ซึ่งรับเป็นคดีพิเศษได้ทันที อย่างไรก็ตามหากเป็นเรื่องของอุบัติเหตุก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด


    ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  5. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    พลิกลิ้น! น้ำมันรั่ว 'ปตท.' บอกไม่เป็นไร..ยังไงก็ 'เอา(ไม่)อยู่'

    [​IMG]

    [​IMG]

    เช้ามืดของวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นปฐมบทของข่าวน้ำมันดิบกว่า 50,000 ลิตร รั่วไหลลงสู่ทะเลใกล้ชายฝั่งมาบตาพุด จ.ระยอง ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี (บริษัทในเครือ ปตท.) ที่เริ่มปรากฏต่อสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ข้อมูลจากแหล่งข่าวท่านหนึ่งยืนกร้านว่า ทางผู้บริหารพยายามปกปิดข้อมูลต่อสาธารณะชน

    เรื่องแรก ที่ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตถึงการปกปิดข้อเท็จจริง คือ น้ำมันดิบรั่วล่วงเลยมากว่า 7 ชม. ก่อนเป็นข่าวครึกโครม
    เรื่องที่สอง ในเวลาถัดมา ผู้บริหาร พีทีทีจีซี ได้ให้สัมภาษณ์อย่างหนักแน่น กลายๆ ว่า ..เหตุการณ์ดังกล่าวควบคุมได้แล้ว ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง..

    แต่วันรุ่งขึ้น! ภาพข่าวที่แพร่สะพัดไปทั่วโลกกลับตรงกันข้าม กับบทสัมภาษณ์โลกสวยของผู้บริหารฯ เพราะคราบน้ำนับดิบจำนวนมหาศาลลุกล้ำเข้ามายังบริเวณ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง น้ำทะเลถูกกลืนด้วยคราบดำตกอยู่ในภาวะวิกฤติเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสงสัยถึงปริมาณน้ำมันที่รั่วออกมา 50,000 ลิตร ดังที่มีได้ให้ข้อมูลจริงหรือไม่ เพราะขัดแย้งกับปริมาณที่ประเมินด้วยสายตาเสียกระไร

    เหตุการณ์น้ำมันรั่วในครั้งนี้ ถือเป็นหายนะต่อธรรมชาติต่อระบบนิเวศในบริเวณใกล้เคียง กระทบคุณภาพความเป็นอยู่ของประชนชนในพื้นที่ กระทบอย่างรุนแรงในเรื่องของการท่องเที่ยวเกี่ยวโยงไปถึงเศรษฐกิจระดับชาติ

    ในเรื่องการดำเนินการแก้ไขเห็นได้ชัดว่ายังขาดประสิทธิภาพ จะว่าไปนี่ก็ไม่ใช่เหตุการณ์น้ำมันรั่วลงทะเลครั้งแรกในประเทศไทย ก่อนหน้าเคยมีบทเรียนมาแล้วแต่ทำไมการจัดการยังหละหลวม ยังทำได้เพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ใช้ลมปากพูดกลบเกลื่อนหายนะที่กำลังเกิดขึ้น

    กลิ้งไว้ก่อน พีทีทีจีซี (ปตท. สอนไว้)
    “คำชี้แจงของผู้บริหาร พีทีทีจีซี กรณีน้ำมันรั่ว เขาบอกเสร็จเรียบร้อย น้ำทะเลใสเหมือนเดิมแล้ว บอกเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 56 รุ่งขึ้นวันที่ 29 ก.ค.56 น้ำมันเข้าอ่าวพร้าวทะเลฟ้าใสกลายเป็นทะเลดำ แล้วต่อไปข้อมูลจากบริษัทนี้จะได้รับความเชื่อถือได้อย่างไร” ข้อความจากเฟซบุ๊กเพจ สายตรงภาคสนาม

    เรียกว่าสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นนั้นไกลลิบกับคำกล่าวอ้างของผู้บริหาร งานนี้โดนธรรมชาติตีแสกหน้าเจ้าตัว อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอลฯ จึงออกมาชี้แจ้งน้อมรับความผิดพลาดโดยยอมจำนนด้วยหลักฐาน

    “ผมในฐานะผู้บริหารสูงสุดของพีทีที โกลบอลฯ ขอยอมรับผิดต่อสังคมและเสียใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสร้างความสับสนว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันที่มีน้ำมันดิบบางส่วนไปถึงเกาะเสม็ด บริษัทพร้อมที่จะรับผิดชอบ”

    เช่นเดียวกัน พรเทพ บุตรนิพันธ์ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอลฯ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการข่าว เจาะข่าวเด่น เมื่อวันที่ 29 ก.ค. งานนี้ยืนยันด้วยน้ำเสียงหนักแน่น แววตาสะท้อนมั่นใจในศักยภาพการจัดการคราบน้ำมันดิบที่เกยเข้า อ่าวพร้าว จ.ระยอง

    “อาทิตย์นึง หาดขาวอย่างเดิมเลยครับ” คงต้องรอดูกันอีกครั้งว่าคำพูดของหนึ่งในผู้บริหารพีทีทีจีซีจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด เพราะที่ผ่านมาดูเหมือนสิ่งที่ทาง ปตท. พูดออกมายังไม่สามารถปฏิบัติได้จริงแต่อย่างใด ดูอย่างในค่ำคืนแรกๆ ที่เกิดเหตุประชาชนได้รับการยืนยันจากผู้บริหารระดับสูงของพีทีทีจีซีว่าทุกอย่างสามารถจัดการได้ไม่ใช้ปัญหาใหญ่โตอะไร แต่รุ่งเช้าคราบน้ำมันดิบกลับเข้ายึดหน้าหาด

    พรเทพ ยังเปรยอีกว่า คราบน้ำมันสีดำที่เราเห็นกันเป็นแผ่นฟิล์มคราบน้ำมัน โดยธรรมชาติเมื่อโดนแสงแดดก็จะระเหยไป คราบน้ำมันดำ จริงๆ ไม่อันตรายเพียงแต่จะย่อยสลายช้าจึงต้องช่วยกันจัดเก็บ เขายังกล่าวย้ำว่าตอนนี้ฟองคลื่นที่ซัดเข้ามาบริเวณอ่าวพร้าวเป็นฟองขาวหมดแล้ว อีกนิดเดียวก็จะดูดคราบน้ำมันหมด

    คำพูดของบรรดาผู้บริหารจะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหนไม่ช้าไม่นานคงเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม สิ่งที่สำคัญกว่าคือการขจัดคราบน้ำมันดิบให้หมดไปโดยเร็ว พร้อมๆ กับโจทย์ที่ว่าจะฟื้นฟูระบบนิเวศในระแวกนั้นกลับมาเป็นดั่งเดิมได้หรือไม่..อย่างไร

    สำหรับสถานการณ์ล่าสุด (30 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีการรั่วไหลของท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว ของ พีทีทีจีซี ส่งผลให้น้ำมันดิบ ประมาณ 50,000 ลิตร ขณะนี้คราบน้ำมันดิบถูกกระแสคลื่นลมแรงซัดปกคลุมเต็มพื้นที่ชายหาด อ่าวพร้าว ระยะทางกว่า 600 เมตร

    แฉ! ละเลย-ลุกลาม
    สาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วในครั้งนี้ว่า ตนได้พยายามประสานงานกับ 'ปตท. และผู้ว่าฯ จ.ระยอง' แต่กลับถูกปกปิดข้อมูลโดยอ้างว่าแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว

    อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นผลพวงมาจากการขาดการระดมความคิดในการแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงที จนทำให้สถานการณ์บานปลายคราบน้ำมันกระจายสู่ชายหาดจนไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้ อีกเรื่องที่เป็นกังวลการกล่าวอ้างปริมาณน้ำมันรั่วไหลอยู่ที่ 50,000 ลิตร หรือ 50 ตัน จะเท่ากับรถสิบล้อ 5-6 คัน หากใช้สารเคมีกำจัดก็น่าจะสลายคราบน้ำมันดิบได้สำเร็จ แต่คราบน้ำมันกลับแผ่กระจายเป็นวงกว้างกระทบกับระบบนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก

    “ปตท. ต้องให้ข้อมูลที่แท้จริงว่าน้ำมันรั่วไหลเท่าไหร่ ศักยภาพในการแก้ไขซึ่งต้องยืมเครื่องมือจากต่างประเทศ ยังขาดการบูรณาการ ไม่มีแผนเฉพาะหน้าที่จะสกัดกั้นปัญหา ดังนั้น ปตท. ต้องมีความโปร่งใสในการแก้ปัญหา ในขณะที่รัฐบาลโหลยโท่ยในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน มัวแต่แก้ปัญหาทางการเมือง”

    ปตท. ไม่มีแผนการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพที่จะสกัดกั้นปัญหาไม่ให้น้ำมันกระจายวง อย่างเรื่องทุ่นล้อมน้ำมัน ของ ปตท. ยาวแค่ 200 เมตร ขณะที่ปริมาณของน้ำมันดิบกระจายวงกว้างถึง 2 กิโลเมตร แม้จะมีการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ด้วยวิธีการโปรยสารเคมีจำกัดน้ำมันเหนือผิวน้ำ แต่วิธีนี้กลับอันตรายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สัตวน้ำ และปะการัง

    สาธิต เปิดเผยต่อว่า กรณีการรั่วไหลของน้ำมันไม่ได้เพิ่งเกิดที่ไทยเป็นที่แรก ยกตัวอย่าง ในต่างประเทศสหรัฐฯ และอังกฤษ ผู้นำต่างลงมากำกับดูแล ต่างกับประเทศไทย จะมีก็เพียง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่พยายามอ้างว่า ปตท. ควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว แต่ตนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพบว่าข้อเท็จจริงไม่เป็นเช่นนั้นเลย พลันจะเลวร้ายเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม หลายวันที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่ได้ใช้อำนาจในการบูรณาการแก้ไขปัญหาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเลย

    ส่วนในเรื่องความเสียหายคงไม่ต้องกล่าวย้ำให้มากความ เพราะสื่อไทยสื่อเทศต่างพากันประโคมข่าวครึกโครม

    ฉะ! ปตท. ตลบตะแลง
    ความเหตุการณ์น้ำมันรั่วไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย แต่ที่ได้รับความสนใจกว่าทุกครั้งเพราะว่าคราบน้ำมันดิบเข้าเกยตื้นบริเวณชาดหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศ ซึ่งสิ่งที่น่าจับตามองค์คือองค์กรเจ้ากรรมที่ก่อหายนะต่อระบบนิเวศในขณะนี้

    คำถามคือ ปตท. ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานมาเป็นเวลาไม่น้อยแล้วไม่ใช่หรือ แต่ทำไมยังขาดการจัดการในเรื่องการแก้ปัญหาต่อกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะคณะผู้บริหารต่างให้สัมภาษณ์ชนิดที่ข้อเท็จจริงถูกบิดเบื่อนไปเสียแทบหมด

    ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงทัศนะผ่านรายการ Bussines Talk ทางกรุงเทพธุรกิจทีวี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำมันของบริษัทในเครือ ปตท. ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ไม่สมควรใช้คำว่าบทเรียนเพราะเกิดขึ้นซ้ำซาก โดยที่ยังไร้มาตรการแก้ไข้อย่างรับผิดชอบโดยเฉพาะต่อระบบนิเวศ

    "บทเรียนเป็นคำที่เราเบื่อมาก เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรเราจะเรียนจบสักที แต่ก็คงบอกได้แค่นี้.. ขอให้ถือเป็นบทเรียน และทำทุกอย่างให้ชัดเจน โปร่งใส และตอบคำถามได้อย่างมั่นใจ ด้วยหลักการและข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอ"

    ผศ. ดร.ธรณ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้กระบวนการแก้ปัญหาเหมือนกับเป็นการทำงานเฉพาะหน้า อย่างเรื่องประเมินความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมต้องมีความชัดเจน หน่วยงานที่ประเมินต้องเป็นหน่วยงานกลาง เช่น กรมทรัพยากรฯ, สำนักงานสิ่งแวดล้อม, กระทรวงท่องเที่ยวฯ, กรมประมง ฯลฯ ต้องมาประชุมร่วมกัน ไม่ใช่ให้ ปตท. มาประเมิน การจัดการในเรื่องนี้ต้องเป็นหน่วยงานกลางที่เข้ามาดูแล ต้องชี้แจงให้ชัด ใครรับผิดชอบด้านไหน ข้อมูลจะได้โปร่งใสและรู้ที่มาที่ไป

    บทเรียนแรกของเรื่องนี้ คือ การให้ข่าวข้อมูลต่างๆ ฟังแล้วก็มึนๆ การสื่อสารต่อสาธารณะต้องชัดเจน และมีข้อมูล ต้องมองกรณีเลวร้ายที่สุดก่อน แล้วสื่อสารให้สาธารณชนเข้าใจว่า ได้พยายามแก้ปัญหาอะไรไปแล้วบ้าง การให้ข้อมูล ต้องชัดเจน หน่วยงานต่างๆ ต้องมาแถลงในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ

    “ทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของไทย ถูกคุกคามมาตลอดจากการรั่วไหลของน้ำมันตามเส้นทางขนส่งน้ำมันกลางทะเล ในบริเวณที่มีการขนถ่ายของเรือบรรทุกน้ำมัน หรือจากการดำเนินการขุดเจาะน้ำมัน

    “การรั่วไหลของน้ำมันในครั้งนี้เป็นเพียงเหตุการณ์ล่าสุดในเหตุน้ำมันรั่วไหลกว่า 200 ครั้ง ที่เกิดขึ้นในทะเลไทยในช่วง 30 ปีนี้ ปตท. ควรออกมารับผิดชอบกับหายนะที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ดำเนินการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหล แต่ควรจะเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างโดยทันทีเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับระบบนิเวศทางทะเล ชุมชนชายฝั่งทะเล และการท่องเที่ยวของไทย” พลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผย

    นอกจากการเรียกร้องให้มีการจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อม ด้าน ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ก็มีแถลงการณ์จี้ให้ภาครัฐฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายกับทาง ปตท. เพราะคราบน้ำมันหลายหมื่นลิตรที่รั่วออกมาสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ฯลฯ ส่วนมูลค่าความเสียหายนั้นยังไม่สามารถระบุได้

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    …........................................
    ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live
     
  6. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    น้ำมันรั่วทำหายนะ บทเรียนการสร้างภาพ-ผลประโยชน์ทับซ้อนปิดปาก !!

    ผ่าประเด็นร้อน

    นาทีนี้ความเสียหายและผลกระทบคงประเมินค่าไม่ได้หลังจากเกิดเหตุน้ำมันดิบของบริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด(มหาชน) ในเครือ ปตท.รั่วไหล ออกมาจากทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล ห่างจากฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร โดยจากรายงานระบุว่าเหตุเกิดเมื่อเวลาตั้งแต่ประมาณ 4 ทุ่มวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคมเป็นต้นมา

    อย่างไรก็ดีสิ่งที่ได้พิจารณามองเห็นก็คือมีความพยายามปกปิดข้อมูล ปิดบังความเสียหาย รวมไปถึงได้เห็นถึงความไม่พร้อม เหมือนไม่จริงใจกับการป้องกันรับมืออุบัติเหตุ หรือความเสียหายที่กระทบกับด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของธุรกิจด้านพลังงานอย่าง บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ทั้งที่เป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่มีผลกำไรแต่ละปี หลายแสนล้านบาท แต่กลับถูกมองว่าไม่ได้ลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างเพียงพอ มันก็ช่วยไม่ได้ที่จะต้องระบุแบบนี้ เพราะสิ่งที่เห็นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันเป็นการ "ฟ้องด้วยภาพ"อย่างที่ปฏิเสธไม่ได้ ขณะเดียวกันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังได้เห็น "ผลประโยชน์ทับซ้อน"ระหว่างตัวบุคคลที่เป็นผู้บริหารองค์กร กับฝ่ายรัฐบาลล้วนเกี่ยวข้องกัน หรือไม่ก็เคยเกี่ยวข้องกัน แต่ที่สำคัญก็คือในปัจจุบันล้วน "เป็นพวกเดียวกัน" ทั้งสิ้น

    หากพิจารณาทีละเรื่อง ทีละบุคคลก็จะเห็นภาพได้ชัดเจนว่า แทบทุกอย่างมีแต่การ "สร้างภาพ-ปิดบัง-ผลประโยชน์ทับซ้อน" เพราะถ้าบอกว่าเหตุเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณสี่ทุ่มของวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม ทาง ปตท.ที่อ้างว่าเป็นหน่วยงานที่รักษาสิ่งแวดล้อมดีเลิศ เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้นใหญ่ มีผลประกอบการมีกำไรมหาศาลก็ย่อมต้องลงทุนสำหรับเตรียมการรับมือกับอุบัติเหตุแบบนี้ตลอดเวลา ซึ่งรับรองว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่เท่าที่เห็นปรากฏเป็นภาพและข่าวที่รายงานเข้ามาได้เห็นแต่เรือรบของกองทัพเรือได้รับคำสั่งให้เข้าไปช่วยวางทุ่นเพื่อ"จำกัดคราบน้ำมัน"ให้อยู่วงจำกัด แต่คำถามก็คือ ทางปตท.ไม่มีการลงทุนในการซื้อหาเครื่องมือหรือมีเทคโนโลยีสำหรับการ"ป้องกันรับมือ"กับสิ่งที่เกิดขึ้น กรณีที่เกิดน้ำมันรั่ว รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ที่ต้องเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะจากที่เห็นก็มีเรือของกองทัพเรือที่ทำหน้าที่กู้ภัยทางทะเล ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีและสารเคมีในการขจัดคราบน้ำมันตามข่าวที่รายงานอ้างคำพูดของผู้บริหารบริษัท ปตท.โกลบอลฯบอกว่าต้องรอผู้เชี่ยวชาญที่เดินทางมาจากสิงคโปร์ ซึ่งกว่าเดินทางมาถึง ต้องใช้เวลาสองถึงสามวัน รวมทั้งสารเคมีที่นำเข้าด้วย

    ขณะเดียวกันน่าสังเกตก็คือการให้ข้อมูลทั้งจากผู้บริหารของ ปตท.ไม่ว่าจะเป็นกรณีผู้บริหารของ พีทีที โกลบอลฯที่เป็นบริษัทลูกฯแต่เป็นเจ้าของธุรกิจที่เกิดเหตุดังกล่าว เช่น พรเทพ บุตรนิพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ พีทีที โกลบอลฯ ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม หลังจากร่วมคณะกับผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ตรวจสอบพื้นที่โดยอ้างว่าสามารถขจัดคราบน้ำมันได้แล้วกว่าร้อยละ 70 ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 30 กำลังจำกัดวงให้ลอยอยู่ในวงจำกัด และใช้สารเคมีฉีดเพื่อให้สลายย่อยลงสู่ทะเล และอ้างว่าน้ำมันเป็นสารธรรมชาติ สามารถย่อยสลายได้เอง เพียงแต่ต้องใช้เวลาบ้างเท่านั้น อีกทั้งน้ำมันดิบตักเก็บขึ้นมาได้ก็จะนำไปกลั่นแยกสารเพื่อนำมาใช้ได้ใหม่ ความหมายในลักษณะของคำพูดดังกล่าวก็เพื่อต้องการลดความตื่นกลัว ไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายในวงกว้างไปกว่านี้ แถมยังคุยโม้นิดๆว่าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของ ปตท.สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมดไม่เสียของ แม้ว่าจะกระจายทั่วท้องทะเลหรือชายหาดก็ตาม

    ขณะที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ก็บอกว่าได้สั่งการให้เร่งกำจัดคราบน้ำมันให้หใดภายใน 3 วัน ถ้าทำได้อย่างนั้นได้ก็ดี และต่อไปไทยก็คงจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ ต่างชาติคงจะต้องมาว่าจ้างให้ไปกำจัดคราบน้ำมันทั่วโลกแน่นอน

    แต่อย่างไรก็ดีหากมองในอีกความหมายหนึ่งก็จะหมายความว่านี่คือการ "บิดเบือน"ปกปิดความจริงหรือพูดไม่หมด เพราะเท่าที่เห็นด้วยสายตาจากภาพมุมสูงมีคราบน้ำมันที่ "โอบล้อม"อ่าวพร้าว และเกาะเสม็ดทั้งเกาะ และกำลังแผ่ขยายออกไปในวงกว้าง ต่อเนื่องไปทางชายฝั่งระยองแล้ว และล่าสุดก็อย่าได้แปลกใจที่ต่อมาเมื่อ "จำนนต่อหลักฐาน" ต่อความเสียหายที่ขยายวงกว้างคนพวกนี้ก็ออกมาขออภัย มาออกตัวยอมขอโทษที่บอกว่า "ควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว"และพร้อมที่จะเยียวยาแก้ปัญหาในภายหลัง โดย รัฐมนตรีพลังงาน พงษ์ศักดิ์ คาดหมายว่าคงต้องใช้เวลาในการกำจัดคราบน้ำมันดิบไม่น้อยกว่า 7 วัน

    ส่วนความเสียหายหากคำนวณออกมาเป็นตัวเงิน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวอย่างเดียว ภาคเอกชนได้ประเมินออกมาคร่าวๆแล้วว่าเสียหายไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท แต่นั่นไม่เลวร้ายเท่ากับระบบนิเวศน์ วิถีชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่น ที่ต้องฟื้นฟูเยียวยากันนานนับสิบๆปี และแม้ว่าที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิเชษฐ์ เกษมทองศรี ออกมาพูดแบบ "ตามน้ำ"ว่าใครทำคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ มันก็ใช่ ต้องเป็นแบบนั้น แต่ถามว่าในฐานะที่ตัวเองเคยเป็น"ประธานบอร์ดปตท."ก่อนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีนั้นแน่ใจหรือว่าจะเยียวยาความเสียหายกันอย่างตรงไปตรงมา โดยเน้นในเรื่อง"จิตสำนึกด้านจริยธรรม"ตามหลักธรรมาภิบาลจริงๆ หรือจะมีใครแสดง"สปิริต"รับผิดชอบบ้าง รวมไปถึงประธานบอร์ดปตท.คนปัจจุบันและประธานบอร์บริษัท พีทีที โกลบอลฯคือ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ แต่ที่ผ่านมาก่อนที่จะเกษียณฯอายุเขาเป็น "ขาใหญ่"ไม่ต่างจากเจ้าของ ปตท.ทั้งหมด และมีความสัมพันธ์ล้ำลึกกับรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของ ทักษิณ ชินวัตร จนไม่ต้องอธิบายอะไรกันแล้ว คนพวกนี้เชื่อถือได้แค่ไหน

    อย่างไรก็ดีเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ความเสียหายเกิดขึ้นจนกระทบในวงกว้างจนประเมินค่าไม่ได้ ก็ป่วยการที่มานั่งชี้หน้าด่ากันตอนนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันก็เป็นบทเรียน เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมามันเป็นองค์กรที่สร้างภาพว่าเป็นองค์กรรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเลิศ แต่ภาพที่เห็นเมื่อเกิดอุบัติเหตุน้ำมันรั่ว กลับเห็นได้ว่่ากลุ่ม ปตท.ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ ทั้งเรือ สารเคมี และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะอย่างเพียงพอ และทันการณ์ จริงอยู่ภารกิจในการกู้ภัยมันเป็นเรื่องยากเย็น มีปัจจัยด้านธรรมชาติเข้ามาเป็นอุปสรรคขัดขวาง แต่เท่าที่เห็นตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุ จนกระทั่งถึงเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งก็อ้างว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว แต่ภาพที่เห็นกลับออกมาตรงกันข้าม และที่น่าสังเกตก็คือถ้าไม่เกิดภัยดังกล่าวขึ้นมาเราคงไม่ได้เห็นโฉมหน้าของ ปตท.ในอีกด้านหนึ่ง รวมไปถึงคนในรัฐบาลที่เชื่อมโยงเรื่อง "ผลประโยชน์ทับซ้อน"ที่แยกไม่ออกอย่างแน่นอน !!


    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2556
     
  7. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    08.54 สภาพอ่่าวพร้าวล่าสุด ณ เวลนี้ หลังระดมขจัดคราบน้ำมันอยู่ 3 วัน

    [​IMG]
     
  8. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,064
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ขอพูดเรื่องจิตอาสา กำจัดคราบน้ำมันหน่อยนะครับ ซึ่งสื่อหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลในส่วนนี้

    ในกรณีนี้ไม่เหมือนกรณีน้ำท่วม ที่จิตอาสาจะหาซื้ออุปกรณ์ในการสวมใส่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม น้ำมันรั่ว สารเคมี ตามหลักมาตรฐานสากลแล้ว ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีต้องได้รับการฝึกอบรมตามจำนวนชั่วโมงที่ได้ระบุไว้ให้ครบถ้วน และในการปฏิบติงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ safety ให้ถูกต้องตามลักษณะของงานเพื่อป้องกันอันตราย เรื่องจิตอาสาเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่การทำงานที่ไม่ถูกต้องย่อมอันตรายกว่า ทำไมสื่อหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้คำแนะนำหรือห้ามปรามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง นอกจากการอบรม ชุด safety แล้ว การจัดเก็บและการทำลายสารเคมี หรือคราบน้ำมัน จำเป็นต้องจัดเก็บและทำลายอย่างเป็นระบบ ไม่สามารถน้ำไปทิ้งเหมือนขยะทั่วไปได้ และที่สำคัญหน่วยงานที่ทำให้เกิดความเสียหายในครั้งนี้ เป็นบริษัทมหาชนที่มีกำไรเป็นพันล้านไม่ใช่บริษัทเถื่อนที่จะไม่มีระบบการจัดการ ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรง หากเป็นต่างประเทศป่านนี้คงปิดพื้นที่ที่เกิดน้ำมันรั่ว และห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่อันตราย คงไม่ปล่อยให้คนในชาติที่มีความคิดดีๆ ทำเรื่องดีๆ ต้องไปเสี่ยงอันตรายโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการแบบนี้

    ด้วยความเป็นห่วงจริงๆ ครับ แม้ว่าผมจะไม่รู้จักเขาเหล่านั้น
     
  9. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    เห็นด้วยกับท่าน Amata_club อย่างยิ่งทุกประการครับ
     
  10. cwmdosthai

    cwmdosthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +312
  11. thexjeab

    thexjeab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +685
    ขอบคุณสำหรับข่าวสารครับ
     
  12. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    น้ำมันดิบรั่วไหลและคราบน้ำมันในทะเลอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

    การสัมผัสน้ำมันดิบหรือคราบน้ำมันในทะเลทำให้เกิดการระคายเคืองตามผิวหนัง เป็นผื่นคัน แสบร้อน เกิดแผลและติดเชื้อได้ รวมถึงสารพิษจะซึมเข้าสู่ผิวหนังทำให้เกิดอันตรายอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เช่น มะเร็งผิงหนัง เป็นต้น
    การสูดดมกลิ่นเหม็นของน้ำมันและสารเคมีทำให้ปอดได้รับสารพิษ เกิดอาการปอดอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ
    การรับสารพิษโดยการดูดซึมทางร่างกายอาจจะทำให้สารพิษไปสะสมในไตจนเกิดภาวะไตเสื่อมและไตวายได้
    ความกระทบกระเทือนทางระบบประสาท ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาพร่า หัวใจเต้นผิดปกติ และมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ
    หากได้รับสารพิษเป็นระยะเวลานานและในระยะยาวอาจเกิดอันตรายถึงขั้นสารพิษทำลายระบบประสาทการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถทรงตัวและไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งในที่สุด

    ดูแลและระวังตัวจากคราบน้ำมันในทะเลอย่างไรเมื่อต้องไปทะเล

    ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าแม้จะไม่เกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลครั้งใหญ่ เราก็ยังพบคราบน้ำมันในทะเลได้เช่นกัน ซึ่งคราบน้ำมันในทะเลที่ พบทั่วไปจะเกิดจากน้ำมันไหลหรือรั่วซึมออกมาจากเรือประมง เรือข้ามฟาก สกูตเตอร์ หรือบรรดาเครื่องยนต์ในทะเล แต่จะเป็นการรั่วซึมในปริมาณน้อยจนเราสังเกตไม่ชัดเจน หรืออาจจะพบเห็นในลักษณะของรุ้งน้ำมันบนผิวทะเล ซึ่งคราบน้ำมันเหล่านี้ก็สามารถรวมตัวกันจนเกิด ทาร์บอลล์ (Tarball) ริมทะเลได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อไปทะเลจึงมีคำแนะนำดังนี้
    เลือกลงเล่นน้ำทะเลในพื้นที่ที่น้ำทะเลมีสีเขียวใส และสังเกตว่าไม่มีคราบรุ้งน้ำมันอยู่บนผิวน้ำ
    หลังจากขึ้นจากเล่นน้ำในทะเลจะต้องล้างตัวด้วยสบู่ให้ร่างกายสะอาจทุกครั้ง
    ในการเล่นน้ำทะเลควรระวังไม่ให้น้ำทะเลเข้าจมูกหรือปาก และไม่ควรลืมตาในน้ำทะเลหากไม่มีหน้ากากป้องกัน
    หากพบเห็นก้อนสีดำ นุ่ม แต่มีความเหนียวหนืดคล้ายยางมะตอยตามชายหาดหรือโขดหิน อาจเป็นไปได้ว่าคือ ทาร์บอลล์ (Tarball) หลีกเลี่ยงที่จะหยิบจับหรือสัมผัส แต่หากเหยียบโดยบังเอิญ ให้รีบล้างเท้าทำความสะอาดเพื่อป้องกันสารพิษซึมเข้าสู่ร่างกาย
     
  13. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    [​IMG]

    ที่มา - นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
     
  14. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ตัวแทนกลุ่มประมงจ่อยื่น 4 องค์กรสอบน้ำมันรั่ว

    [​IMG]

    เครือข่าวประชาชนภาคตะวันออก พร้อมตัวแทนกลุ่มประมง-พ่อค้าแม่ค้า ตามแหล่งท่องเที่ยวชายหาด จ.ระยอง ตบเท้ายื่นหนังสือ 4 องค์กร เรียกร้องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุท่อส่งน้ำมันดิบ PTTGC รั่วไหลกลางทะเล ระยอง...
    เมื่อวันที่ 6 ส.ค. นายสุทธิ อัชฌาศัย แกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผย "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ในเวลาประมาณ 13.00 น. วันนี้ (6 ส.ค.) เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุท่อส่งน้ำมันดิบของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) รั่วไหลกลางทะเล จ.ระยอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวประมง และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าบริเวณชายหาด จะเดินทางไปยังศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อยื่นหนังสือต่อ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา, คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา และคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขอให้ดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีท่อส่งน้ำมัน PTTGC รั่วกลางทะเล ระยอง

    สำหรับรายละเอียดที่ยื่นข้อร้องเรียนดังกล่าว ประกอบด้วย 1.ตรวจสอบว่าภาครัฐได้ใช้หลักกฎหมายที่มีอยู่ในหลักปฏิบัติ การแก้ไขปัญหาน้ำมั่นรั่วอย่างจริงจังหรือไม่ และได้ใช้หลักใดในการแก้ปัญหาในครั้งนี้ สามารถตอบความตั้งใจให้ประชาชนได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ 2.ตรวจสอบการ ผลักดันมาตรการบำบัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าทั้งหน่วยงาน ภาครัฐและ PTTGC มีแนวทางปฏิบัติต่อมาตรการนี้อย่างไรทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว

    3.ตรวจสอบและผลักดันมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งจากภาครัฐและ PTTGC ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน

    4.ตรวจสอบและผลักดันให้ PTTGC กำหนดมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักสิทธิมนุษยชน 5. ตรวจสอบและผลักดันมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวซ้ำซ้อนขึ้นอีก

    6.เรียกร้องให้รัฐบาล โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและชะลอการลงทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ จ.ระยอง เพราะที่ผ่านมาได้ก่อปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนมาโดยตลอด และยังไม่สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต่อไป

    นายสุทธิ กล่าวว่า จากการติดตามข่าวความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดเหตุน้ำมันรั่ว ยังไม่พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานใดแสดงเจตนาที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก PTTGC อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับภาคเอกชนทั้งในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ การเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ทำให้สูญเสียรายได้ ผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว ดังนั้น ภาคประชาชนจึงต้องพึ่งอำนาจของ 4 หน่วยงานดังกล่าวข้างต้นให้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม.


    ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  15. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    หลายหน่วยงานเปิดเผยผลการตรวจสอบผลกระทบน้ำมันดิบรั่ว จ.ระยอง

    [​IMG]

    ถึงแม้ว่าสถานการณ์คราบน้ำมันที่อ่าวพร้าวดีขึ้นแล้ว แต่ยังคงต้องติดตามการตรวจสอบผลกระทบจากกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลที่ จ.ระยอง ซึ่งตอนนี้หลายหน่วยงานเริ่มเปิดเผยผลการตรวจสอบเบื้องต้นมาบ้างแล้ว ขณะที่นักวิชาการพบว่าปะการังที่อ่าวพร้าวมีปัญหาถึงร้อยละ 70 แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากคราบน้ำมันปนเปื้อน

    นายนพพล ศรีสุข อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยผลการสำรวจผลกระทบจากกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล โดยนักวิชาการของกรม พบว่า ภาพรวมของทรัพยากรทางทะเลจังหวัดระยอง ทั้งแนวปะการัง หญ้าทะเล ป่าชายเลน และสัตว์ทะเลหายาก ไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงกลุ่มปะการัง บริเวณทางทิศใต้ของอ่าวพร้าวเท่านั้น ที่พบความผิดปกติถึงร้อยละ 70 มีเมือกปกคลุม และมีอาการฟอกขาว ซึ่งน่าจะเกิดจากความเครียด แต่ยังระบุชัดเจนไม่ได้ว่า เป็นเหตุมาจากคราบน้ำมันปนเปื้อน

    เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้วางทุ่นปิดกั้นพื้นที่ที่พบปะการังมีปัญหา ประมาณ 50 ตารางเมตร และขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว นักดำน้ำ ผู้ประกอบการเรือและประมง ไม่เข้าไปในพื้นที่นี้ เพื่อทำการศึกษาในระยะยาว และให้ปะการังได้ฟื้นตัว ส่วนการฟ้องร้องอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยืนยันว่าจะไม่มีการละเว้น แต่ขอเวลาทำการสำรวจ เพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายในระยะยาวด้วย

    ด้านกรมประมงและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผลวิเคราะห์สารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในเนื้อเยื่อของตัวอย่างสัตว์น้ำ ที่จับจากพื้นที่ที่คาดว่าได้รับผลกระทบ พบว่าสารประกอบสำคัญในน้ำมันยังไม่ปนเปื้อนในสัตว์น้ำ อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับสัตว์น้ำที่จับจาก อ.ศรีราชา และเกาะสีชัง จ.ชลบุรี

    ด้านกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เชิญเจ้าหน้าที่จาก 15 หน่วยงาน ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและฟื้นฟู กรณีการรั่วไหล ของน้ำมันดิบจากท่อส่งของเรือบรรทุกน้ำมันที่จะส่งน้ำมันดิบเข้าสู่ระบบท่อหลัก ของ บริษัท พีพีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เหตุเกิดเมื่อ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา เข้าประชุมร่วมกันเพื่อหารือและวางขอบเขตการทำงาน

    นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า บริษัทพีทีทีฯ ได้ทำหนังสือแจ้งขอขยายเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงยังไม่ได้ส่งรายงานการตรวจสอบเข้ามา

    ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ตั้งชุดพนักงานสืบสวนตรวจสอบความเสียหายว่าเกิดจากสาเหตุใด และเกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง รวมถึงให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความเสียหายที่อยู่ในความรับผิดชอบและทำรายงานชี้แจง เพื่อนำมาบูรณาการร่วมกัน และหากหน่วยงานใดที่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาพร้อมด้วย

    นายธาริตเปิดเผยว่าสำหรับกรณีนี้ ก็เตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคดีพิเศษ เพื่อรับเป็นคดีพิเศษ ซึ่งดีเอสไอมีอำนาจหน้าที่ และมีแนวโน้มว่าจะสามารถรับได้ทันที

    จาก ไทย พีบีเอส
     
  16. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ประมงระยองโวย ไม่ได้รับเยียวยาตามเงื่อนไข

    [​IMG]

    สมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็ก ระยอง ตั้งข้อสังเกต "หอย-ปลาหมึก" หาดแม่รำพึง ตายมากผิดปกติ หวั่นเป็นผลกระทบจากเหตุท่อส่งน้ำมันดิบ PTTGC รั่ว ยืนยันไม่รับเยียวยาตามเงื่อนไข PTTGC เหตุไม่เป็นธรรม พร้อมประสานนักกฎหมาย-นักวิชาการ ร่วมกำหนดแนวทางเยียวยา...
    เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 56 นายจตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ นายกสมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็กจังหวัดระยอง เปิดเผย ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ขณะนี้ สมาคมอยู่ระหว่างการกำหนดท่าทีในการเรียกร้องต่อ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ให้เยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเล จ.ระยอง อย่างเป็นธรรม เนื่องจากที่ผ่านมา PTTGC ไม่มีความจริงใจในการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม และเร่งรีบดำเนินการจ่ายชดเชย โดยไม่รอดูว่าจะเกิดผลกระทบเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่

    [​IMG]

    ล่าสุด สมาคมฯ ได้ประสานขอความช่วยเหลือไปยังสมาคมสหพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กรณีน้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นทางแถบภาคใต้ โดยจัดประชุมหารือร่วมกันเมื่อวานนี้ (13 ส.ค. 56) เพื่อกำหนดแนวทางในการเรียกร้องให้ PTTGC และหน่วงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นและเยียวยาอย่างเป็นธรรม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากขณะนี้ ผลกระทบได้กระจายไปถึงกลุ่มชาวประมงใน จ.จันทบุรี แล้ว โดยสมาคมฯ จะหารือกับผู้แทนกลุ่มประมงจาก จ.จันทบุรี ในวันพรุ่งนี้ (15 ส.ค. 56)

    โดยในเบื้องต้น ที่ประชุมเห็นชอบให้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย นักวิชาการ เป็นที่ปรึกษาให้กับสมาคมฯ โดยได้รับการยืนยันแล้วจาก นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน, นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยา และสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยจะเชิญ นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ร่วมให้คำปรึกษาแก่สมาคมฯ ด้วย

    นายจตุรัส กล่าวอีกด้วยว่า ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเอกสารเยียวยาของคณะกรรมการเยียวยาฯ กำหนดจ่ายชดเชยให้กับชาวประมง ระหว่างวันที่ 27 ก.ค.-26 ส.ค. 56 ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะถึงวันที่ 26 ส.ค. ครบกำหนดการเยียวยาตามเงื่อนไขของคณะกรรมการเยียวยาฯ แล้ว แต่ในความเป็นจริง นับตั้งแต่เกิดเหตุ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ ชาวประมงเรือเล็กยังไม่สามารถออกเรือจับสัตว์น้ำได้ หรือบางรายนำเรือออกทะเลจับสัตว์น้ำ แต่ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงจากช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหล เมื่อนำมาขายก็ถูกกดราคา เพราะผู้บริโภคเกรงสารพิษปนเปื้อน

    [​IMG]

    ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาชดเชย เพียง 30 วัน จึงไม่เป็นธรรม และเป็นการเร่งรีบดำเนินการเกินไป โดยไม่รอให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนขึ้นก่อนประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และให้ยื่นอุทธรณ์เรียกร้องเองหากมีความเสีียหายเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้เริ่มมีสัตว์ทะเล เช่น หอยนางรม หอยทราย หอยเสียบบริเวณชายหาดแม่รำพึงและปากน้ำระยอง ล้มตายมากผิดปกติ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีปลาหมึกลอยตายกลางทะเลมากผิดปกติด้วยเช่นกัน.



    ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  17. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ผวา! สารปรอทยกเลิกเที่ยวเกาะเสม็ดถึงสิ้นปี

    [​IMG]

    นักท่องเที่ยวผวา สารปรอทเกินมาตรฐานยกเลิกเที่ยวเกาะเสม็ดถึงสิ้นปี ด้านกรมควบคุมมลพิษแจง เกินมาตรฐานเป็นแค่ผลตรวจเมื่อวาน วอนอย่ายึดติด เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

    เมื่อวันที่ 14 ส.ค. นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ระยอง เปิดเผยไทยรัฐออนไลน์ว่า ข่าวการตรวจพบโลหะหนักบริเวณอ่าวพร้าว และอ่าวทับทิม จ.ระยอง ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ยกเลิกจองที่พักในเกาะเสม็ดแล้ว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน รัสเซีย และสแกนดิเนเวีย ที่เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่จะมาเที่ยวเกาะเสม็ด ได้ยกเลิกการเดินทางมาจนถึงสิ้นปีนี้ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทย มีบางส่วนที่ บางส่วนตัดสินใจยกเลิกการจัดอบรมสัมมนา และเลื่อนการเดินทาง เพื่อรอดูท่าทีความชัดเจนก่อน

    “ส่วนตัวไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบขึ้น ก่อนที่จะมีข่าวสารปรอทปนเปื้อนในน้ำทะเลจนอาจป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยอดนักท่องเที่ยวที่เกาะเสม็ดปรับลดลง 50-60% และเมื่อมีข่าวนี้ปรากฏ ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวดูไม่ปลอดภัย” นายชัยรัตน์ กล่าว

    นายชัยรัตน์ กล่าวต่อไปว่า การฟื้นฟูภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่น การท่องเที่ยว เดิมได้พูดคุยกับทางจังหวัด และตัวแทนจาก PTTGC ว่าจะจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องเที่ยวเกาะเสม็ด ด้วยการลด แลก แจก แถม โดยจะเชิญสื่อมวลชน เอเจนซี่โฆษณา ประชาสัมพันธ์ และนักท่องเที่ยว มาเที่ยวด้วยตัวเอง เพื่อพิสูจน์ความปลอดภัย แต่หลังจากมีข่าวสารปรอทอันตรายเผยแพร่ออกไป ทำให้ต้องชะลอโครงการดังกล่าวก่อน เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจทั้งอาหารทะเล น้ำทะเล ว่าปลอดภัยจริงหรือไม่

    สำหรับการร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบ ล่าสุดมีกว่า 1,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประมง กลุ่มผู้ประกอบการรายเล็ก ร้านขายของที่ระลึก, ร้านเช่าเต็นท์บนชายหาด และพนักงานนวดแผนไทยริมชายหาด เป็นต้น ส่วนมูลค่าความเสียหายยังประเมินไม่ได้ ต้องรอการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน เบื้องต้นคาดว่าน่าจะทำให้สัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 10-20%

    ทั้งนี้ ธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งเกาะเสม็ด มีที่พักอยู่ 66 แห่ง รวมแล้วมีห้องพักบริการท่องเที่ยว 2,000 ห้อง เฉพาะอ่าวพร้าวมี 3 แห่ง ล้วนแต่เป็นที่พักระดับไฮ-เอนด์ ราคาห้องพักต่ำสุดคืนละ 3,000 บาท สูงที่สุดถึง 60,000 บาท เพราะมีความโดดเด่นด้านทัศนียภาพ เป็นหาดส่วนตัวที่มีความสวยงามและธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ แต่ละปีบนเกาะเสม็ดทำรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวมาเยือนเกาะเสม็ดปีละ 1 ล้านคน
    เฉพาะเกาะเสม็ดแห่งเดียว สามารถทำรายได้ให้กับการท่องเที่ยวของจังหวัดระยองมากถึงร้อยละ 30 จากทั้งหมด 16,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา

    ขณะที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง รีสอร์ตทั้งหมดบนฝั่ง 1,200 แห่ง ห้องพัก 20,000 ห้อง เงียบเหงา จากปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ มาท่องเที่ยว 5.5 ล้านคน

    กรมอุทยานยังไม่เปิดอ่าวพร้าว

    นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ยังไม่ได้รับแจ้งจากกรมควบคุมมลพิษอย่างเป็นทางการ กรณีตรวจพบสารปรอทเกินค่ามาตรฐานที่อ่าวพร้าวและอ่าวทับทิม เกาะเสม็ด แต่จนถึงขณะนี้อ่าวพร้าวยังคงปิดอ่าว ไม่ได้อนุญาตให้เข้าไปพักผ่อนหรือเล่นน้ำอยู่แล้ว เพราะจะต้องรอให้ทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อยจนอยู่ในระยะปลอดภัยจึงจะเปิดอ่าวให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อนได้ตามปกติ นอกจากนี้ ยืนยันว่ายังไม่มีการประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมแต่อย่างใด เพราะจะเกิดผลกระทบมากต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบจนกว่าจะแน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ ถูกต้อง

    "ตอนนี้ ถ้ามองด้วยตาเปล่า หาดสะอาดจนแทบไม่เห็นร่องรอยของคราบน้ำมันแล้ว การทำความสะอาดขจัดสารเคมีต่างๆ ถือได้ว่าคืบหน้าไปมากกว่า 90% แล้ว ระหว่างนี้ต้องให้ธรรมชาติบำบัด ให้จุลินทรีย์ทำลายสารเคมีที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งก็หายไปมากแล้ว เหลือเพียงแค่คราบน้ำมันที่ยังซึมอยู่ตามหาดทรายบ้าง" นายมโนพัศกล่าว

    อธิบดีกรมอุทยานฯ ย้ำว่า สถานการณ์ที่อ่าวพร้าวยังไม่น่ากังวลมากถึงขนาดที่เป็นข่าว อยากให้ทุกฝ่ายตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน เพราะข่าวที่ออกมาทำให้คนตื่นตระหนก สำหรับระยะปลอดภัยที่จะเปิดอ่าวพร้าวได้อาจต้องใช้เวลาราว 1-2 เดือน

    ขณะที่นายสุเมธ สายทอง หัวหน้าอุทยานเขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด กล่าวว่า ยังปิดอ่าวพร้าวจนกว่าทางกรมอุทยานฯ จะมีคำสั่งใดๆ ออกมา ส่วนอ่าวทับทิมยังคงเปิดให้บริการตามปกติ เพราะนอกจากมีที่พักบริการนักท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นจุดขึ้น-ลงเรือขนส่งอุปกรณ์และเครื่องจักร สำหรับทำความสะอาดอ่าวพร้าว เพราะยังมีเจ้าหน้าที่อยู่ในพื้นที่นับร้อยคน

    นอกจากนี้ ทางอุทยานฯ ยังส่งเจ้าหน้าที่ลงไปดำน้ำร่วมกับทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อสำรวจระบบนิเวศใต้น้ำ ทั้งปะการัง และสัตว์หน้าดิน เพื่อวางแผนเยียวยาระบบนิเวศอย่างถูกต้อง

    ด้านนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เผยว่า ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลไปยังกรมอุทยานฯ เพราะผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ออกเมื่อวานนี้ (13 ส.ค.56) เป็นผลการตรวจสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ส.ค. สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพราะจนถึงวันนี้ผ่านมา 11 วันแล้ว ดังนั้นจึงอยากให้รอฟังผลการตรวจสอบครั้งที่ 2 ซึ่งเก็บข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ซึ่งประเมินว่า สถานการณ์น่าจะดีขึ้นเพราะมีการฟื้นฟูคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยกรมควบคุมมลพิษ จะแถลงผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (15 ส.ค.56)

    "ผลที่ออกมาครั้งแรก พบว่า ค่าของสารปรอท เกินค่ามาตรฐาน เพราะค่าที่ทางกรมจะให้เล่นน้ำได้ คือ ไม่ควรเกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ดังนั้นจึงมีคำแนะนำว่า ไม่ควรเล่นน้ำ แต่ไม่อยากยึดผลของครั้งแรกเป็นหลัก อย่างที่คุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ไปว่ายน้ำเมื่อวันที่ 4 ส.ค. ค่าของสารปรอท อาจลดลงไปกว่าที่ตรวจครั้งแรกก็เป็นได้" นายวิเชียร กล่าว

    ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ จะมีการตรวจสอบทุกสัปดาห์ และประกาศผลให้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ส่วนอันตรายจากสารปรอทในน้ำ หากอยู่ในระดับเกิน 0.1 ไมโครกรัม/ลิตร เมื่อลงไปเล่นน้ำหรือแช่น้ำนานๆ อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ แต่หากกลืนน้ำทะเลที่มีสารปรอทปนเปื้อนเข้าไป อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายรุนแรงในระยะยาวจนเป็นโรคมินามาตะ เหมือนที่เคยเกิดในญี่ปุ่น

    สำหรับอันตรายต่อสัตว์น้ำ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันว่า ระดับความเข้มข้นของสารพิษที่จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ยังต่ำกว่าค่าต่ำสุดถึง 120 เท่า ดังนั้นสัตว์ทะเลโดยเฉพาะปลาจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ จากสารปรอท และผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศแถบอ่าวพร้าว ก็ไม่มีปัญหา

    นักวิชาการห่วงแนวปะการังอ่าวพร้าวพัง

    ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า โลหะหนัก ที่กรมควบคุมมลพิษ ตรวจพบที่บริเวณอ่าวพร้าว และอ่าวทับทิม จะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ หากร่างกายได้รับสารโลหะหนักเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทาน และปริมาณการสะสมสารโลหะหนักที่ร่างกายแต่ละคนมีอยู่ แต่เพื่อความไม่ประมาท จึงควรงดเล่นน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวในระยะนี้ และติดตามประกาศจากกรมควบคุมมลพิษ ส่วนระบบนิเวศรอบเกาะเสม็ด ยังต้องใช้เวลาสำรวจ แต่ที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดคือ แนวปะการัง บริเวณอ่าวพร้าว ที่ยังไม่เห็นผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วอย่างชัดเจน

    “วันนี้หาดหิน และหาดทราย บริเวณอ่าวพร้าว ได้รับผลกระทบถึงขีดสุดแล้วแต่แนวปะการัง กว่าจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนยังต้องใช้เวลา เราต้องเปรียบแนวปะการังบริเวณอ่าวพร้าวเหมือนผู้ป่วย คนเป็นโรคที่หมอรอดูอาการ เพราะผลของโรคยังไม่ถึงขีดสุด ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก ต้องเฝ้าติดตามว่าปะการังจะตายเมื่อไร ตายมากแค่ไหน” ดร.ธรณ์กล่าว

    ดร.ธรณ์ กล่าวต่อไปว่าว่า ใน 1 ปีแรก ทีมงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเฝ้าติดตามการฟื้นตัวของหาดหิน หาดทราย และแนวปะการัง โดยจะเปรียบเทียบกับหาดอื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพื่อดูว่าระบบนิเวศบริเวณอ่าวพร้าว สามารถฟื้นตัวตามธรรมชาติ ได้ตามปกติหรือไม่ หากช้าเกินไป จะต้องใช้กระบวนการเข้าไปฟื้นฟู เช่น การปล่อยไส้เดือน ลงทะเล เพื่อเพิ่มออกซิเจน การปล่อยหอย ฟื้นฟูสภาพหาดหิน

    “คงบอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไร่ในการฟื้นตัวของระบบนิเวศบริเวณอ่าวพร้าว เพราะไทยไม่เคยเกิดเหตุลักษณะนี้ จะเปรียบเทียบกับต่างชาติก็คงจะยาก เพราะการฟื้นตัวต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และภูมิอากาศ ในสถานที่นั้นๆ ด้วย” ดร.ธรณ์ กล่าว

    นักธุรกิจปิโตรเลียมไม่เชื่ออ่าวพร้าวมีสารปรอทสูง

    นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า เป็นสมมติฐานที่เร็วเกินไป หากสรุปว่า สารปรอทที่พบที่อ่าวพร้าว และอ่าวทับทิม มาจากกรณีน้ำมันรั่ว เพราะน้ำมันดิบแต่ละแหล่งมีคุณภาพน้ำมันที่แตกต่างกัน โดยแหล่งน้ำมันดิบที่ไทยนำเข้าหลัก ถือเป็นแหล่งที่มีสารปรอทต่ำ ทั้งซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำมันที่นำเข้าทั้งหมด แตกต่างจากน้ำมันดิบอิหร่านที่มีสารปรอทสูง โดยน้ำมันดิบที่รั่วไหลเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นน้ำมันดิบที่นำเข้าจากโอมาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิสูจน์ว่า สารปรอทที่พบมีที่มาจากไหน เพราะอ่าวไทยก็มีสารปรอทตามธรรมชาติ รวมทั้งสามารถตรวจสอบน้ำมันดิบที่นำเข้ามาพร้อมกับน้ำมันดิบที่รั่วไหลว่า มีการปนเปื้อนของสารปรอทมากน้อยเพียงใด


    ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  18. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ทะเลอ่าวพร้าวยังอันตราย? พบสารปรอทเกิน 29 เท่า..ใครรับผิดชอบ
    [​IMG]

    เกิดเป็นกระแสการทวงถามความรับผิดชอบจากบริษัท ปตท.โกลบอล เคมีคอล หรือ พีทีทีจีซีขึ้นอีกครั้งว่า แล้วไงต่อ..ใครจะรับผิดชอบ..?! เมื่อกรมควบคุมมลพิษออกมาบอกว่า น้ำทะเลอ่าวพร้าว มีค่าปรอทสูงเกิน 29 เท่าจากค่ามาตรฐาน ในขณะที่ PTTGC ไม่เชื่อว่า สารปรอทที่ตรวจพบ มาจากน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล..เห็นทีเรื่องนี้คงไม่จบลงง่าย ๆ เสียแล้ว

    โอ้อ่าวพร้าว พบสารปรอทเกิน 29 เท่า!

    กลายเป็นเรื่องขึ้นมาทันที เมื่อ วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ออกมาแถลงผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล ชายหาดและอ่าวต่างๆ รอบเกาะเสม็ด จ.ระยอง จำนวน 12 หาด ซึ่งเก็บตัวอย่างในวันที่ 3 ส.ค. ปรากฏความเป็นกรด-ด่าง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ผลการตรวจโลหะหนัก ทั้ง 12 หาด พบสารหนูมีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ 10 ไมโคกรัมต่อลิตร ในขณะที่แคดเมียมมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ที่ 0.5 ไมโครกรัมต่อลิตร

    ส่วน "ค่าปรอท" ส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ยกเว้นที่ "อ่าวพร้าว" มีค่า 2.9 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือ 29 เท่า และอ่าวทับทิม มีค่า 0.25 ไมโครกรัมต่อลิตร

    สำหรับผลการตรวจวัดโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) อยู่ในระดับค่าไม่เกินมาตรฐาน (มาตรฐานของ USEPA ที่กำหนดไว้ ระดับต่ำสุดที่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ 300 ไมโครกรัมต่อลิตร) สำหรับผลการตรวจวัดปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ( TPH) ในขณะนี้ยังวิเคราะห์ผลไม่แล้วเสร็จ และคาดว่าจะแถลงผลการตรวจวิเคราะห์ให้ทราบในวันที่ 15 ส.ค.นี้

    ทั้งนี้ในส่วนของ "อ่าวทับทิม" ที่มีค่าสารปรอทเกินค่ามาตรฐานนั้น ทางกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันในอ่าวไทย แต่คาดว่าจะเกิดจากกิจกรรมการปล่อยน้ำเสียลงหาด ทางคพ. จะติดตามตรวจสอบอย่างละเอียดและมีมาตรการดำเนินการอีกครั้ง ส่วนจะต้องปิดอ่าวห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่หรือไม่ ไม่ใช่อำนาจของกรมควบคุมมลพิษ แต่เป็นอำนาจของกรมอุทยานฯ

    "ส่วนตัวเห็นว่า ยังไม่ควรเปิดอ่าวพร้าวให้ประชาชนเข้าไปท่องเที่ยว ซึ่ง คพ. จะนำผลวิเคราะห์ครั้งนี้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมประมง กรมเจ้าท่า ต่อไป" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผย

    อย่างไรก็ดี ผลการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลข้างต้น เป็นการเก็บตัวอย่างครั้งแรกเมื่อวันที่ 3-4 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าตัวเลขสารต่างๆ น่าจะลดลงตามลำดับ ขอแนะนำให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวควรหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในพื้นที่อ่าวพร้าว และอ่าวทับทิมของเกาะเสม็ดไปก่อน จนกว่าจะทราบผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำครั้งที่ 2 ที่เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่คาดว่าจะทราบผลในวันที่ 15 ส.ค.

    ทางที่ดี อย่าเพิ่งแตกตื่น เพราะสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นจากการฟื้นฟูคุณภาพน้ำทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยทางกรมควบคุมมลพิษจะเก็บตัวอย่างน้ำทะเลจากแหล่งเดิม เพื่อนำมาตรวจสอบทุกสัปดาห์ และจะประกาศผลการตรวจสอบต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง

    ส่วนอันตรายจากสารปรอทในน้ำ หากอยู่ในระดับเกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร เมื่อลงไปเล่นน้ำหรือแช่น้ำนานๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ หากกลืนน้ำทะเลที่มีสารปรอทปนเปื้อนเข้าไป อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายรุนแรงในระยะยาวจนเป็นโรคมินามาตะ เหมือนที่เคยเกิดในญี่ปุ่น

    เมื่อ PTTGC ไม่เชื่อ! สารปรอทมาจากน้ำมันรั่ว

    ต่อกรณีผลตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลที่เกิดขึ้น ได้เกิดกรณีไม่เชื่อจากฝั่งของบริษัท ปตท.โกลบอล เคมีคอล หรือ พีทีทีจีซี (PTTGC) โดย บวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี ได้ออกมาชี้แจงผ่านไทยรัฐออนไลน์เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ว่า ยังไม่ได้รับรายงานผลตรวจสอบจากกรมควบคุมมลพิษแต่อย่างใด และไม่เชื่อว่า สารปรอทในน้ำทะเลอ่าวพร้าวเกิดจากน้ำมันรั่ว เพราะน้ำมันดิบที่นำเข้ามา เป็นน้ำมันจากแหล่งตะวันออกกลาง ซึ่งไม่มีสารปรอทปนเปื้อนในเนื้อน้ำมัน แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทางพีทีทีจีซี จะตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนต่อไป

    สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็อดห่วงไม่ได้ต่อกรณี นายปลอดประสพ ลงว่ายน้ำ และเล่นน้ำบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง พร้อมด้วยนายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.พีทีทีจีซี เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา ทั้งยังได้ขุดทรายโชว์ให้ผู้สื่อข่าวดูด้วย โดยยืนยันว่า น้ำทะเลที่อ่าวพร้าวแห่งนี้ใสสะอาดปลอดภัย และหาดทรายขาวสะอาดแล้ว ซึ่งได้รับการฟื้นฟูจนกลับคืนสู่สภาพปกติเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว

    แต่เมื่อมีผลตรวจคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวออกมาแบบนี้ แม้ทางบ.พีทีทีจีซี จะยืนยันไม่เชื่อว่าเป็นผลมาจากน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลตามที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่ว ก็คงต้องติดตามดูอาการหลังจากนี้ด้วยความลุ้นระทึกกันต่อไป

    ส่วน ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ล่าสุดได้โพสข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว "ชูวิทย์ Im No.5" ว่ากำลังไปตรวจเช็คร่างกายที่ร.พ.กรุงเทพ หลังจากที่เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนไปดำน้ำที่อ่าวพร้าวเพื่อพิสูจน์คราบน้ำมัน ดังนั้นจึงต้องไปตรวจว่าในร่างกายมีสารปรอทหรือไม่ หลังจากที่กรมควบคุมมลพิษออกมาระบุว่า น้ำทะเลในอ่าวพร้าวมีปริมาณของสารปรอทมากกว่าปกติ 29 เท่า

    แท้จริงแล้ว สารปรอทมาจากไหน?

    เป็นอีกหัวข้อที่ใครหลายคนเกิดความสงสัยว่าแท้จริงแล้วสารปรอทมาจากไหนกันแน่ เพราะทางบ.พีทีทีจีซียืนยันว่า น้ำมันดิบที่นำเข้ามา และเกิดการรั่วไหล ไม่มีสารปรอทปนเปื้อนในเนื้อน้ำมัน โดยเรื่องนี้ ทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live ได้สอบสอบถามไปยัง นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลในภาพรวมต่อกรณีที่เกิดขึ้นว่า โดยทั่วไป สารปรอทจะมีตามธรรมชาติ และปะปนอยู่ในน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติจากบางแหล่ง ซึ่งในกรณีนี้ไม่อาจชี้ชัดว่า มาจากน้ำมันรั่วครั้งล่าสุดหรือไม่ แต่ตามหลักแล้ว การขนน้ำมันเข้ามา จะผ่านการตรวจวัดสารต่าง ๆ ซึ่งทางบ.พีทีทีจีซี ต้องนำข้อมูลดังกล่าวมากางให้เห็นว่า ไม่มีสารปรอทปนเปื้อนในเนื้อน้ำมันตามข่าว

    นอกจากนี้ มีหลายฝ่ายตั้งคำถามถึงสารปรอทที่อาจมาจากสารเคมีที่ทางบ.พีทีทีจีซีใช้ในการสลายคราบน้ำมัน ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ นพ.วิวัฒน์ ให้เหตุผลส่วนตัวว่า ไม่น่าจะมีสารปรอทในสารเคมีสลายคราบน้ำมันดังกล่าว

    อย่างไรก็ดี มีข้อมูลเพิ่มเติมจาก นพ.วิวัฒน์ เกี่ยวกับการปนเปื้อนของสารปรอทในอาหารที่มักจะเกิดจากแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งของปลา หอย หมึก สัตว์น้ำและสัตว์ทะเลต่างๆ มีการปนเปื้อนของน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยังทำให้มีสารเคมีต่างๆ รวมทั้งปรอทเข้าสู่สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งหากแหล่งน้ำมีการปนเปื้อนของปรอท สัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณแหล่งน้ำนั้นก็ปนเปื้อนปรอทตามไปด้วย

    ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมนุษย์นำสายแร่ปรอทมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้น ธรรมชาติก็จะยิ่งมีการปนเปื้อนของสารปรอทในดินและน้ำทั่วไป ไอปรอทจากอุตสาหกรรมจะลอยสู่ในอากาศ เมื่อถูกน้ำฝนตกชะลงมาจะตกลงในน้ำหรือลงดินโดยเฉพาะผิวดินที่อยู่ตื้นๆ เมื่อธาตุปรอทปะปนอยู่ในน้ำจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นปรอทอินทรีย์ โดยสัตว์น้ำขนาดเล็ก จากนั้นจะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร จากในสัตว์น้ำขนาดเล็ก ไปสะสมในปลาเล็ก ในปลาใหญ่ โดยมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในปลาขนาดใหญ่บางชนิด เช่น ปลาปากดาบที่กินปลาเล็กอื่นๆ อาจสะสมสารปรอทเอาไว้ในเนื้อเยื่อในความเข้มข้นสูงได้ อันจะนำไปสู่การได้รับสารปรอทเมื่อมนุษย์บริโภคปลาเหล่านี้เข้าไป

    ไม่แปลก ที่สารปรอทจะเป็น 1 ใน 4 สารพิษอันตรายที่อาจพบได้ภายในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ควันบุหรี่ เชื้อรา และสารปรอท โดยแหล่งสารปรอทในบ้านมักมาจากการปนเปื้อนในอาหาร โดยเฉพาะในปลาทะเลตัวใหญ่ เช่น ฉลาม ปลาทูน่า เนื่องจากปลาใหญ่เหล่านี้ จะมีช่วงชีวิตที่ยืนยาว และกินปลาเล็ก ๆ เป็นอาหาร ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะมีสารปรอทสะสมอยู่ในตัวมันค่อนข้างมาก

    [​IMG]

    [​IMG]

    โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
     
  19. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    "สารปรอท"
    อันตรายที่ควรทราบ

    ลึกลงไปถึงอันตรายจากสารปรอท (Mercury) มีข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา ให้ความรู้ว่า ปรอทเป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิปกติ สามารถทำให้เป็นของแข็งได้แต่เปราะที่อุณหภูมิปกติ ปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ง่ายขึ้น

    พิษจากสารปรอท สามารถทำอันตรายต่อร่างกายมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และปัจจัยดังนี้ คือ
    1. ทางที่พิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น ทางผิวหนัง ทางระบบหายใจ หรือทางระบบย่อยอาหาร 2. ปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย และ
    3. ชนิดของสารปรอทที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย และอวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ได้รับพิษของปรอทในรูปเมทธิลหรืออัลคิล เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีพิษมากที่สุด

    การเกิดพิษจากสารปรอท
    มีทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง
    พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ

    - อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ
    - เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร
    - มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด
    - เป็นลม สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก
    - เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด
    - และเสียชีวิตในที่สุด

    ส่วนพิษชนิดเรื้อรัง เมื่อปรอทเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได้ อาการที่เป็นพิษมากเกิดจากการหายใจ ปอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและตายได้

    สำหรับการป้องกันอันตรายจากปรอท ทำได้ง่าย ๆ คือ

    - ใช้สารอื่นที่เป็นพิษน้อยกว่าแทนสารปรอท เช่น ใช้สารแอมโมเนียของเงินแทนสารประกอบของปรอทในการทำกระจกเงา
    - ในกรณีที่มีการรั่วของปรอทให้นำภาชนะที่มีน้ำมารองรับเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท
    - สวมเสื้อคลุมและถุงมือ เมื่อต้องจับหรือสัมผัสปรอท
    - จัดให้มีการระบายอากาศในบริเวณที่ต้องใช้ปรอทเพื่อดูดเอาไอของปรอทที่กระจายอยู่ในบรรยากาศออกไปและทำการกักเก็บมิให้ฟุ้งกระจายไปยังที่อื่น เพื่อให้อากาศในบริเวณพื้นที่ใช้งานบริสุทธิ์ หรือควรมีการกำจัดปรอทอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง
    - ตรวจสอบหาปริมาณของปรอทในบรรยากาศบริเวณใช้งานให้อยู่ในมาตรฐานที่ควบคุมอยู่เสมอ
    - สารปรอทและสารประกอบของปรอทควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท
     
  20. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    บทเรียน "พิษปรอท" ในญี่ปุ่น

    ทั้งนี้ ยังมีตัวอย่างเหตุการณ์พิษจากปรอทมาให้อ่านเป็นกรณีศึกษา ซึ่งสะกิดให้เห็นการกลับมาห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก

    เห็นได้จาก โรคมินามาตะ ในปี ค.ศ.1959 เป็นภาวะมลพิษที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชื่อ โรคมินามาตะ มาจากชื่อของหมู่บ้านเล็ก ๆ บนเกาะทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมี และสารเคมีชื่อว่า บริษัทนิปปอนชิมโสะ

    คนในหมู่บ้านส่วนหนึ่งทำงานอยู่ในโรงงานนี้ ต่อมาเกิดโรคประหลาดขึ้นกับคนในหมู่บ้านแห่งนี้จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อมีผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการเดินเซ ไม่สามารถยืนได้ด้วยด้วยเอง ชาตามแขนขา หูตึง มองเห็นภาพแคบลง พูดไม่ชัด มือสั่น กลืนอาหารลำบาก บางครั้งคลุ้มคลั่ง และมักจะส่งเสียงดังตะโกนคล้ายคนบ้าตลอดเวลา มีอาการนอนไม่หลับ ชักบ่อยๆ แขนขาบิดเบี้ยวคล้ายคนพิการ เพราะกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายทำงานไม่ประสานกัน อาการทุกอย่างจะรุนแรงขึ้นและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไร

    จากการสังเกตเห็นความผิดปกติของสัตว์บริเวณนั้น คือ ปลาว่ายน้ำแบบนอนหงายท้องขึ้นและว่ายน้ำช้าลงจนามารถจับได้ด้วยมือเปล่า นกทะเลว่ายน้ำจะบินดิ่งหัวตกทะเล แมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านก็มีอาการเซ น้ำลายไหล ชัก และตายในเวลาต่อมาจึงเรียกอาการดังกล่าวว่า "โรคแมวเต้น"

    ดังนั้น จึงสันนิษฐานกันว่า โรคนี้น่าจะเกิดจากสารเคมี ที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเล และเมื่อคนรับประทานอาหารทะเลเข้าไป ก็จะส่งผลกับร่างกาย หลังจากได้มีการทดลองกับสัตว์และคน ผลที่ได้สามารถสรุปได้ตามที่สันนิษฐานไว้ ในเวลาต่อมาได้มีการนำดินจากบริเวณที่ทิ้งน้ำเสียของโรงงานมาตรวจ พบว่ามีสารปรอทอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งตรงกับการตรวจพบสารปรอทในอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้ป่วยที่ตาย

    สรุปได้ว่า โรคมินามาตะ เกิดจากผู้ป่วยได้รับสารปรอทอินทรีย์ที่เกิดจากโรงงานปล่อยน้ำเสียที่มีสารปรอทปนเปื้อนดังที่กล่าวมา โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากสารปรอทได้เข้าทำลายระบบประสาท และสมอง นอกจากนี้ยังมีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา กล่าวคือ มารดาที่รับประทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนสารปรอทเข้าไปแล้ว สารปรอทจะผ่านไปทางรกเข้าสู่สมองเด็ก ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการพิการทางสมองตั้งแต่เกิด เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน

    เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำประสบการณ์ที่ขมขื่นมาเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ทั้งนี้ความสูญเสียอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้น เพราะการพัฒนาประเทศได้มั่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ทำให้ไม่เพียงสูญเสียชีวิตมนุษย์แต่ยังทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...