เรื่องเด่น ด่วน! แผ่นดินไหว เขย่าภาคเหนือหลายจังหวัด..

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ตุ้มโฮม, 5 พฤษภาคม 2014.

  1. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    แผ่นดินไหวเขย่าเชียงรายไม่หยุด ตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเช้าวันนี้ สั่น10ครั้ง รวม1สัปดาห์มากกว่า744ครั้ง

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/xzm5abFsM79nmlof" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/276/kWjEYE.jpg" /></a>
    (ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต)

    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดเชียงรายว่า ตั้งแต่เวลา 00.14 น. วันที่ 13พฤษภาคม เกิดเหตุแผ่นดินไหว แรงสั่นสะเทือนขนาด 3.8ริกเตอร์สเกล ที่อำเภอแม่สรวย จากนั้นมีแผ่นดินไหวตามมาอีกรวม 10ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นที่อำเภอพาน เมื่อเวลา 9นาฬิกา 20นาที แรงสั่นสะเทือน 2.4ริกเตอร์สเกล

    ทั้งนี้ตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 13 พฤษภาคม มีแผ่นดินไหวตามมาหรืออาฟเตอร์ช็อก รวมแล้วมากกว่า 744 ครั้ง

    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวจำแนกตามขนาดแรงสั่นสะเทือน
    ขนาด 5.0 - 5.9 จำนวน 8 ครั้ง
    ขนาด 4.0 – 4.9 จำนวน 29 ครั้ง
    ขนาด 3.0 – 3.9 จำนวน 124 ครั้ง
    ขนาดน้อยกว่า 3.0 จำนวนมากกว่า 606 ครั้ง

    ที่หมู่บ้านห้วยหวาย ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านนำลวดหนามมาขึงล้อมรอบบ้านป้องกันขโขมยบุกรุก หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวทำให้กำแพงบ้านพังเสียหาย

    ที่วัดจอมหมอกแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่มีพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอ แม่ลาวและเป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอมที่ทางสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศบรรจุในปฎิทินการท่องเที่ยวได้รับความเสียหายโดยพบว่ายอดฉัตรหักและองค์พระธาตุแตกร้าว รวมถึงบริเวณพื้นที่มีรอยแตกเป็นทางยาว ทางกรมศิลปากรจัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบแล้วพบว่าไม่สามารถบูรณะได้ต้องสร้างองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

    พระครูอรุณสวัสดิ์ มุนิว์โส เจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมหมอกแก้ว เปิดเผยว่าพระธาตุจอมหมอกแก้วมีการก่อสร้างมานานหลายสิบปี และบูรณะเป็นรูปแบบล้านนามาแล้วครั้งหนึ่งโดยเพิ่งจะแล้วเสร็จเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา หากก่อสร้างใหม่จะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 10-20 ล้านบาท ทางวัดไม่มีงบประมาณเพียงพอต้องรอความช่วยเหลือจากทางจังหวัดหรือทางกรมศิลป์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

    แต่หากไม่ได้รับการสร้างใหม่ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายเพราะพระธาตุมีความสำคัญต่อประชาชนชาวเชียงรายและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีนักท่องเที่ยวมาเยือนแต่ละปีจำนวนมาก

    ที่โรงพยาบาลเชียงรายแม่ลาว อำเภอแม่ลาว ผู้ป่วยเดินทางเข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาลกันอย่างคึกคัก หลังจากเจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถานแห่งชาติและสำนักงานโยธาและผังเมืองเข้าตรวจสอบโครงสร้างที่เกิดความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์สเกลเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่าโครงสร้างอาคารผู้ป่วยนอกไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด

    ส่วนผู้ป่วยในยังคงนอนเต๊นท์บริเวณลานข้างโรงพยาบาลเนื่องจากอาคารนอนกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงซ่อม

    นายแพทย์เกียรติชาย จิระมหาวิทยากุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปิดเผยว่า โชคดีที่โรงพยาบาลไม่เสียหายด้านโครงสร้าง สำหรับจุดที่มีรอยแตกร้าวนั้นซ่อมแซมได้ซึ่งคาดว่าใช้งบประมาณไม่กี่หมื่นบาทโดยจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์เพื่อให้บริการผุ้ป่วยได้ตามปกติ

    มติชนออนไลน์ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014
  2. jereme

    jereme เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2014
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +442
    เราสงสารเพื่อนและน้องที่อยู่เชียงราย
    ไม่รู้จะทำไง ก็เลยค่อยโทรและเป็น
    กำลังใจให้เขาทั้งคู่ค่ะ
     
  3. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    การผูกลวดกับเหล็กเส้น เคยมีอาจารย์วิศวะคนไทยเคยออกแบบไว้สามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ แต่ไม่นิยมทำกันเพราะยุ่งยาก รากฐานของอาคารของญี่ปุ่นนั้นเขาทำให้เคลื่อนตัวได้เพื่อลดความเค้นของเสาและจุดเชื่อมต่อต่างๆ และปูนก็มีความเหนียวไม่เปราะแตกง่าย แต่ต้นทุนสูงมาก
    บ้านไทยโบราณก็ออกแบบได้อย่างแยบยลมากนะขอบอก
     
  4. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    Testๆ...!!!!
    App : Earthquake Alert!


    https://play.google.com/store/apps/details?id=com.joshclemm.android.quake
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2014
  5. itsame

    itsame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +287
    มาวิเคราะห์แบบวิทย์กันดีกว่าครับ ล่าสุดอ่านข่าวภาคเหนือยังไหวอยู่เลย ต่อไปมีโอกาศจะเกิดอะไรขึ้นที่ภาคเหนือในไม่ช้า ประเทศไทยน่าจะมีแผ่นดินไหวใหญ่กว่านั้นตามมาหรือไม่ เช่น 9.0 เป็นไปได้ไหม หรือจะมีอะไร
     
  6. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    คนไทยใช้คำว่า “ริกเตอร์” ในเรื่องแผ่นดินไหว ผิดมาตลอด

    คุณจะไม่พบคำว่า ริกเตอร์ (richter) ในข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวของฝรั่งไม่ว่า CNN BBC หรือญี่ปุ่น ก็ไม่มีทั้งนั้น
    ในบทความเกี่ยวกับแผ่นดินไหวสำคัญ อย่างสึนามิสุมาตรา 26 ธันวาคม 2004 ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นแสนๆหรือแผ่นดินไหว 11 มีนาคม 2011 ที่ญี่ปุ่น คุณก็หาคำว่าริกเตอร์ไม่เจอ

    ถ้ามี มันจะอยู่คู่กับว่า scale เสมอ

    ทำไมเป็นแบบนั้น

    ก็เพราะแม้แต่คนที่ชื่อ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter) เจ้าของคำๆนี้ ยังแนะนำให้ใช้คำว่า แมกนิจูด เรียกขนาดแผ่นดินไหว ไม่เคยบอกให้ใครเอานามสกุลตัวเองไปใช้เรียกเลย

    จะเล่าให้ฟัง

    ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ เป็นคนที่มีจิตใจฝักใฝ่ด้านดาราศาสตร์ ชอบการดูดาวเป็นชีวิตจิตใจ และอยากมีอาชีพทางด้านดาราศาสตร์ แต่โชคชะตาพลิกผัน จากฟ้าจากอวกาศมาสู่ดิน เมื่อโรเบอร์ต มิลลิแกน ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (ริกเตอร์เรียนระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ อยู่ในสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย) ขอให้เขาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการด้านแผ่นดินไหว ณ สถาบันที่เขาเรียนอยู่

    เมื่อมาทำงานที่ห้องปฏิบัติการด้านแผ่นดินไหว ริกเตอร์ได้พบกับทีมงานของ แฮรี วูด ผู้ปฏิบัติงานอยู่ก่อนแล้ว ทีมของวูดกำลังทำโครงการวิจัยด้านแผ่นดินไหวบริเวณแคลิฟอร์เนียใต้ โดยใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบบิดของวูด-แอนเดอร์สัน (สูตรของริกเตอร์ต่อๆมาก็อ้างอิงจากเครื่องมือตัวนี้)

    การวัดขนาดแผ่นดินไหวในสมัยนั้น วัดเป็น “มิลิเมตร” ของปากกาที่ขีดไปบนกระดาษ ปากกานี้ต่อมาจากเครื่องวัดแผ่นดินไหว ถ้าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ปากกาก็ขีดเส้นสูงเรียกว่าแอมปริจูดสูง ถ้าเบาๆ เส้นก็จะเตี้ยๆ คือแอมปริจูดต่ำ

    ตอนนั้น มีเครื่องวัดแบบงวูด-แอนเดอร์สันอยู่ 7 เครื่อง วางอยู่กระจายกันในแคลิฟอรเนี่ยร์ ริกเตอร์เสนอว่า ขนาดแผ่นดินไหวที่วัดได้แต่ละเครื่อง มันเป็นเส้นสูงไม่เท่ากัน เพราะห่างจากจุดแผ่นดินไหวไม่เท่ากัน อย่างนั้น ควรหาทางจัดการให้ทราบขนาดจริงๆ โดยหักลบระยะทางจากเครื่องวัด ( ริกเตอร์เอาผลวิจัยของ ดร.วาดาติ แห่งประเทศญี่ปุ่น ที่กล่าวถึงการเปรียบเทียบแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยอาศัยค่าการเคลื่อนที่ของพื้นดินตามระยะทาง มาประยุกต์ใช้ ) แต่ก็มาติดที่บางครั้ง ขนาดของแผ่นดินไหวใหญ่เกินจะวาดในกระดาษ เนื่องจากมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง พันล้าน

    ปัญหาเรื่องนี้ ริกเตอร์นำไปปรึกษา ดร.กูเตนเบอร์ก และก็ได้คำแนะนำ ให้ใช้ค่าแบบล็อกการิธึม (Logarithms) ซึ่งจะสามารถทำฝันให้เป็นจริงได้ เพราะค่าตัวเลช 1 พันเมื่อเท็กล็อกก็จะได้แค่ 3 หนึ่งล้านก็แค่ 6 ร้อยล้าน ก็แค่ 8 กลายเป็นเลขหน่วยน้อยๆในการพูดและอ้างอิง

    เป็นอันว่า ริกเตอร์สามารถสรุปวิธีการหาขนาดของแผ่นดินไหว วู้ดก็แนะนำต่อว่าควรมีชื่อเรียกขนาดของแผ่นดินไหวที่คิดขึ้นได้นี้ (แตกต่างจาก “ความรุนแรง” ของแผ่นดินไหว ขนาดคือขนาด อย่าสับสน) ริกเตอร์ก็เห็นด้วย

    ด้วยความที่เป็นคนรักด้านดาราศาสตร์ ริกเตอร์เสนอให้ใช้คำว่า “แมกนิจูด” แบบเดียวกับความสว่างของดวงดาว มาเรียกขนาดของแผ่นดินไหว ที่คิดคำนวนขึ้นมาได้นี้ เป็นอันว่าในที่สุดก็เกิดการวัดขนาดแผ่นดินไหวก็เกิดขึ้นมา ในปี 1935 นั่นเอง

    แต่ครับแต่ ผลงานแรกของริกเตอร์นี้ เป็นผลมาจากการตรวจแผ่นดินไหวเฉพาะในแคลิฟอร์เนียใต้ (ระยะไม่เกิน 600 กิโลเมตร) และได้จากการตรวจวัดของเครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบบิดของวูด-แอนเดอร์สัน ถ้าเอาไปวัดที่อื่น ค่าก็จะใช้ไม่ได้ หรือใช้เครื่องมืออื่น ก็ใช้ไม่ได้อีก จึงเรียกค่าขนาดแผ่นดินไหวของที่ริกเตอร์คิดค้นได้เป็นสูตรแรกนี้ว่า ขนาดแผ่นดินไหวแบบท้องถิ่น หรือ Local Magnitude หรือย่อว่า ML

    ปีต่อมาคือ 1996 ริกเตอร์ได้พยายามหาวิธีวัดขนาดแผ่นดินไหวที่เอาไปใช้ได้ทั่วโลก และจากความร่วมมือของ ดร. กูเตนเบอร์ก ก็ได้พบวิธีการใหม่ สูตรใหม่ คือ ใช้ค่าแอมปลิจูดของคลื่นพื้นผิว (Surface Wave หรือ S-Wave) ที่มีช่วงคลื่นประมาณ 20 วินาที มาสร้างสูตร และก็ได้วิธีวัดขนาดแบบใหม่ที่ชื่อ Surface Wave Magnitude หรือย่อว่า MS ขึ้นมาอีก 1 สูตร

    แต่หลังจากปีนั้น ริกเตอร์ก็ไม่ค่อยได้เข้าไปร่วมหาวิธีการวัดขนาดเพิ่มเติมกับดร. กูเตนเบอร์กอีก แต่ทางกูเตนเบอร์ก ไม่ได้หยุดแค่นั้น เขายังพยายามนำคลื่นแผ่นดินไหวแบบอื่นๆ เฟสอื่นๆ เช่น คลื่น P-Wave คลื่น pp มาพัฒนาหาทางวัดขนาดแผ่นดินไหวให้หลากหลายมากขึ้น

    ปัจจุบัน มีมาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวมากมาย เช่น ML,MS,mb แต่ละมาตราก็มีข้อจำกัดต่างๆกัน เช่น บางมาตราไม่สามารถวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆได้ หลังๆมีการพัฒนามาตราวัดขนาด Mw ขึ้นมาหรือที่เรียกว่าขนาดแบบโมเมนต์ (Moment Magnitude) ซึ่งเป็นมาตราที่ใช้ช้วัดขนาดแผ่นดินไหวใหญ่ๆได้ดีโดยผิดเพี้ยนน้อยที่สุด

    หลังจากเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้ง เอเยนต์แต่ละเจ้า จะใช้มาตราที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมในการรายงานขนาด เช่น ใช้มาตราคลื่นผิว MS ใช้มาตราท้องถิ่น ML (หรือมาตราริกเตอร์) หรือ มาตราโมเมนต์ ซึ่งบางครั้งหลังแผ่นดินไหวอาจต้องใช้เวลาในการรอค่าและคำนวนซ้ำ เราจึงมักเห็นขนาดแผ่นดินไหวที่รายงานโดย USGS หรือ EMSC หรือ Geofon หรือเอเยนต์อื่นๆ ในชั่วโมงแรกๆของแผ่นดินไหวออกมาไม่เท่ากัน แต่จะค่อยๆปรับจนเท่ากันในที่สุด

    เมื่อยังไม่แน่ใจว่าใช้แมกนิจูดไหน หรือมาตราไหนในการวัดขนาด การรายงานข่าวก็ไม่ต้องใส่ชื่อมาตราลงไป แค่บอกว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดเท่าไร หรือ แมกนิจูดเท่าไร ก็พอแล้ว

    เช่น “เมื่อเวลา 09:38 เกิดแผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.2 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น” เป็นต้น หรืออาจใช้ตัวย่อว่า M เฉยๆ ถ้ายังไม่รู้ว่ามาตราไหนแน่ เช่น M7.2 ก็ได้ หรือจะใช้ภาษาไทยล้วนก็ไม่ผิด เช่น “เมื่อเวลา 09:38 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.2 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น”

    อย่าบังอาจไปโกหกใครว่า มันเป็นมาตราริกเตอร์ เป็นอันขาด จนคุณแน่ใจว่าเค้าใช้ ML แน่ๆแล้ว เพราะมันอาจเป็น MS ก็ได้ หรือ MK Md ได้หมด คุณจะรู้ว่าเป็นริกเตอร์หรือไม่ก็ต่อเมื่อทางเอเยนต์ ระบุมาแน่ๆว่าเป็น ML

    ที่แย่กว่านั้น คนไทยจำนวนมาก ตัดคำว่า “ตามมาตรา” ออกไป อาจเพราะความสะดวกปาก คำว่าริกเตอร์สำหรับคนไทย เลยกลายเป็นเมตร เป็นกิโลกกรัม เป็นหน่วยแผ่นดินไหวไปซะงั้น เช่นที่ได้ยินจนชินหูว่า แผ่นดินไหว 7.2 ริกเตอร์

    การย่อคำแบบนั้น มันผิดหลักการทุกหลักการ ….อย่างแรง

    คนไทยใช้คำว่า “ริกเตอร์” ในเรื่องแผ่นดินไหว ผิดมาตลอด | Mr.Vop's Blog
     
  7. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ค่า Mw mb Ms ML ในรายงานแผ่นดินไหว คืออะไร

    ML (Local Magnitude) แสดงขนาดแผ่นดินไหวท้องถิ่นหรือแผ่นดินไหวใกล้ (ระยะทาง<1,000 km)

    mb (Body wave Magnitude) แสดงขนาดแผ่นดินไหวใกล้และไกล ข้อจำกัดก็คือรายงานสูงสุดได้เพียงระดับที่ 6.5-6.8

    MD (Duration Magnitude) แสดงขนาดแผ่นดินไหวที่วัดจาก seismogram เป็นแผ่นดินไหวใกล้

    Ms (Surface Magnitude) แสดงขนาดแผ่นดินไหวไกล (ระยะทาง>1,000 km) และมีขนาดใหญ่ มีข้อจำกัดอยู่ที่ระดับ 8.0

    Mw ; ขนาดโมเมนต์ (Moment Magnitude) เป็นปริมาณที่แสดงถึงพลังงานของคลื่นแผ่นดินไหวได้ดีกว่าชนิดอื่น เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในปัจจุบัน ในการคำนวณจะต้องทราบ seismic moment (Mo) ความยาวของรอยเลื่อน (fault length) ความลึก (depth) และระยะการเลื่อน (slip distance) ดังนั้นการหาขนาดโดยวิธีนี้จึงต้องใช้เวลา

    โดยทฤษฎีแล้ว มาตรแผ่นดินทุกมาตร จะมีค่าเท่ากันเสมอไม่ว่าจะวัดจากที่ใดในโลก แต่ที่ไม่เท่ากันเพราะการสูญเสียพลัง ในระหว่างการเดินทางมายังสถานีวัด ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวกลางที่คลื่นเดินทางมา

    MS และ mb ถูกกำหนดเอาไว้ให้เป็นระดับรายงานขั้นพื้นฐานที่ต้องใช้รายงานทั่วโลก เพราะแผ้นดินไหวโดยทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ 3-5 ขนาดแผ่นดินไหว MS และ mb จะคงที่เมื่อถึงค่าหนึ่ง (magnitude saturation) เช่น mb ไม่สามารถคำนวณขนาดของแผ่นดินไหวที่ได้เกินกว่า 6.8 และ Ms ไม่สามารถคำนวณขนาดของแผ่นดินไหวที่ได้ค่าเกินกว่า 8.0 ( Geller,1976 ) แต่เป็นไปได้ที่จะอ่านค่า mb และ Ms เกินกว่าค่าคงที่ดังกล่าวแต่เป็นขนาดที่ไม่แม่นยำ ดังนั้น Mw จึงเป็นขนาดที่ใช้คำนวณแผ่นดินไหวระยะไกลและมีขนาดใหญ่ได้แม่นยำที่สุด

    ค่า Mw mb Ms ML ในรายงานแผ่นดินไหว คืออะไร | Mr.Vop's Blog
     
  8. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    สวัสดีครับ จขกท.ขอแยมนิดนึง. แผ่นดินไหวแบบนี้ อย่าประมาทใน"แมกม่า ลาวา ใต้ดินครับ ขอบคุณครับ.
    ................แผ่นดินสำหรับผู้อยู่ได้โดยสามารถครับ......................
    ................ขอลา และไม่พบกันอีกในกระทู้นี้ครับ.......................
     
  9. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    ่ขอบคุณครับ คุณฮั้วโต๋
     

แชร์หน้านี้

Loading...