จิตเป็นต้นนั้น ล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 10 มิถุนายน 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลานรัก...จำเอาไว้นะ(รู้สึกว่าไม่ค่อยจะจำด้วยสิ)

    การสนทนาแบบนี้ไม่เกิดประโยชน์ในการสนทนาเลย

    เพราัะเป็นการตีขุมเอาเอง โดยการยกพระสูตรมาแป๊ะ แต่ไม่ชี้ชัดลงไป

    ดูิอย่างคคห.ข้างบนของนู๋นิฯสิ ชัดเจน เรียกพวกหมดมุข เพราะถูกหงายหมา

    การแสดงคคห.แบบนั้น ผิดทั้งจรรยาและกติกาอันดีงามของบอร์ด

    เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพียงต้องการป่วน หรือ เอาชนะเท่านั้น

    ครั้งที่ฉันแย้งนู๋นิฯ ที่มั่วเอา หรือ ที่เรียกวิเคราะห์(คิดเองเออ)เองไป

    จะต้องแสดงเหตุผลของข้อแย้งนั้น แบบชัดเจนทุกครั้ง เช่นหาว่า

    ฉันวิเคราะห์เอง ก้ต้องบอกได้ว่า เพราะเหตุไร "ถิรสัญญาจึงแก้กิเลสได้"

    ถ้าแก้ได้ ต้องแก้อย่างไร ไม่ใช่ใช้คำพูดแบบตีขุมเอาให้ดูดีเท่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อะไร

    ที่ฉันว่า"ถิรสัญญา"แก้กิเลสไม่ได้นั้น ไม่ใช่วิเคราะห์เอง มีหลักฐานที่สามารถเชื่อมโยงอ้างอิงได้

    มีด้วยหรือการเอาสัญญาในการที่จะยึดมาแก้กิเลสตนได้ แค่นี้ก็ชัดเจนว่า"ไม่มีเหตุผล"


    การแสดงคคห.แบบนี้ คนในบอร์ดนี้ชอบทำเป็นอาจินต์ คือพูดในสิ่งที่ตนเองอยากพูดเท่านั้น

    ส่วนในอริยมรรค แล้วปัจจัยที่ว่ามาหนะ หนุนเนื่องกันอย่างไร ตรงไหน?

    และคำว่า"ย่อมมีเพียงพอ" ขนาดไหนหละที่เพียงพอ ของแบบนี้เดาสวดเอาไม่ได้หรอก

    แล้วที่ว่าการสลัดออก การสลัดคืนสืบเนื่องจากศีล สมาธิ ปัญญาหนะ สืบเนื่องอย่างไร?

    หลานรักคงจะตอบมาแบบชัดๆ จากความเข้าใจของตนเอง
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...............อันนี้ผมยกพระ วจนะมานะครับ ในเรื่อง สัมมาสมาธิอันมีบริขารทั้ง7 หรือ เอกัคตาจิตอันมีบริขาร....ถ้าคุณอาว์จะให้ผมแสดงความเห็นตามความเข้าใจของผมเองก็พอได้อยู่................คือเราเริ่มการภาวนาด้วยการมีสัมมาทิฎฐิ(คืออาจยังไม่บริบูรณ์ก็ได้ แต่หมายความว่าสัมมาทิฎฐิ เป็นปัจจัยให้องค์ มรรค อื่นอื่นด้วยต่อกันไป)...อย่างสัมมาวายามะเป็นปัจจัยให้มีสัมมาสติ หรือ สัมมาสติย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มีสัมมาวายามะ ความเพียรที่ถูก คือการละอกุศล เจริญกุศลเป็นปัจจัย ของสัมมาสติ......ส่วนถิรสัญญา ถ้าแปลว่าการจำได้ถึง สภาพธรรมนั้นนั้น ว่า คืออะไร เช่น นี่คือ กาย นี่คือ ลม นี่คือโทสะ นี่คือ โลภะ นี่คือกามราคะ การจำได้อย่างนี้ เป็นส่วนนึ่งของความเพียรละอกุศล เจริยกุสล คือต้องรู้ก่อนว่า นี่คืออะไร ถัดมานั้นคือการระลึกรู้ นั่นคือ สติ(มีลักษณะถือเอากุศล ละอกุศล)การเจริญสติอย่างนี้ ก็สามารถเป็นจุดเริ่มของ สติปัฎฐานสี่ได้ ........และเป็นปัจจัยของสัมมาสมาธิคือสัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มีสัมมาสติ(เมื่อคืนพิมพ์ผิด)คือ สัมมาสติย่อมเป็นปัจจัยของสัมมาสมาธิ และ สัมมาญานะย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาสมาธิ และ สัมมาวิมุติย่อมมีพอแก่ผู้มี สัมมาญานะ เป็นปัจจัยต่อกันมา.....หรือ จะแทนด้วย ศิล สมาธิ ปัญญา ก้ได้:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  3. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เมื่อเรารู้ว่าละว่ากายนี้เวทนานี้จิตนี้ไม่ใช่ของเราแล้วละ
    มากกว่าละคืออะไรไม่กล่าวตรงนี้ขอรับ
    พอมาถึงที่สุดคือสังขารของจิต
    ในการปฏิบัตินั้นเราจะรู้จักเขาไหมว่าอ้อ...นี่หรือคือสังขารของจิต

    แม้จะเป็นอรูปแต่เราสื่อได้เข้าใจได้อย่างไรว่าสิ่งนี้คือสังขารของจิต
    และเราจะพบเขาได้อย่างไรหรือขอรับ
    ไปถึงไหนถึงจะสามรถไปพบเขาได้ขอรับ
    หรือเขาเลื่อนลอยไปอยู่ไม่เป็นที่พบได้หรือไม่ได้หรือไม่อย่างไร
    แล้วเราจะบอกใครได้ว่าสิ่งนี้คือสังขารของจิต
     
  4. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
    [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
    __________________________________________
    ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


    ว่าด้วยความเศร้าหมองและผ่องแผ้วของจิต
    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภาพนิทรรศการนั้น เธอทั้งหลายเห็นแล้วหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า.


    พ. ภาพนิทรรศการแม้นั้นแล ช่างเขียนคิดแล้วด้วยจิตนั่นแหละ. จิตนั้นแหละ วิจิตรกว่าภาพนิทรรศการแม้นั้น. เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองด้วย ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน. สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นหมู่สัตว์อื่นแม้เพียงหมู่หนึ่ง ซึ่งวิจิตรเหมือนอย่างสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนี้เลย.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านี้แล คนคิดด้วยจิตนั่นแหละ. จิตนั่นแหละวิจิตรกว่าสัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน. สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมหรือช่างเขียน เมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี พึงเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบทุกส่วนลงที่แผ่นกระดานเกลี้ยงเกลา หรือที่ฝา หรือที่แผ่นผ้า แม้ฉันใด.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังรูปนั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังเวทนานั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังสัญญานั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังสังขารนั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังวิญญาณนั่นแหละให้เกิด.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
    พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    __________________________________________
    ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3314&Z=3353


    นำมาเสริมให้ครับ อ่านมีใครไม่เคยอ่านพระสูตรนี้
    hp_dayhp_dayhp_day
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ในความเห็นของผมก็ดูที่ นามรูป---รูปคือมหาภูตรูปสี่และที่ตั้งอาสัยแห่งมหาภูตรูป นามคือ เวทนา เจตนา สัญญา ผัสสะ และ มนสิการ....หรือเจตสิก52 เป็น เวทนา 1 สัญญา1 สังขาร50 ...แยกกันได้ด้วยการรู้ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นนั้นอย่างชัดเจน:cool:
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    หลานรัก...ถึงจะตอบไม่ครบที่ถามไป ก็ยังดีที่กล้าแสดงความจริง
    ที่บอกว่า"สัมมาวายามะเป็นปัจจัยให้มีสัมมาสติ"แน่ใจแล้วหรือ?

    ฉันว่ามาดูองค์ธรรมกันว่าเป็นไปได้มั้ย ในทางปฏิบัติ ต้องอย่าลืมว่า
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมาสมาธิ จิตรวมลงเป็นสมาธิ
    เป็นปัจจัยเกื้อกูลกันและกัน เมื่อเพียงพอ อันไหนมาก่อนมาหลังผู้ปฏิบัติย่อมรู้

    แต่การปฏิบัติจริงนั้น เราจะเพียร ละอะไร? เราต้องรู้ หรือระลึกรู้ก่อนใช่มั้ยจะละได้ที่ไหน?
    ส่วนสติมีเพียงพอแก่ผู้มีสัมมาวายามะนั้น ความเพียรนั้นก็จะส่งผล
    จิตก็จะรวมลงสงบตั้งมั่นไำม่หวั่นไหวนั่นเอง

    ส่วนเรื่อง"ถิรสัญญา"นั้น ไม่ใช่อย่างที่อธิบายมา
    ต้องเข้าใจก่อนว่า สัญญามี๒แบบ

    ๑.สัญญาในอันที่จะยึด เมื่อคุ้นเคยกับอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นเป็นอย่างดีแล้ว เรียกว่า"ถิรสัญญ"
    ๒.สัญญาในอันที่จะปล่อย คือสัญญา๑๐
    เมื่อปฏิบัติไปไม่ใช่สัญญาแล้วเป็นปัญญา เพราะระลึกได้แล้ว(สัมมาสติ)ไม่ต้องจำจนขึ้นใจอีกแล้ว

    ส่วนถิรสัญญา คือ การจดจำอารมณ์กิเลสความรู้สึกเหล่านั้น ได้อย่างแม่นยำ
    เมื่อจำได้แม่นยำ ย่อมถ่ายถอนยาก แต่ฉลาดพอจะจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นได้

    เห็นหรือยังว่า มันคนละเรื่องกันเลย ระหว่าง"อริยมรรค" กับ "ถิรสัญญา"
    และใครชอบอวดภูมิรู้ ภูมิธรรมโดยไม่ระวัง มักสดุดขาตนเองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กั๊กๆ

    คำว่า ถิรสัญญา รู้ทั้งรู้ว่า ตัวเองไม่ใช่คนใช้คำนี้มาก่อน เป็นเพียงเห็นคนอื่น
    เขาใช้ ก็เลยไปคว้าเอามาอมมั้ง เอามาใช้บ้าง

    แต่ที่หนักเนี่ยะ คือ ยังไม่รู้ นัยยะความหมาย ตามที่ เขาใช้กันเลย ยังไม่ได้
    ไต่ถามว่า ถิรสัญญา ที่พวกเขาใช้นั้น มีความหมายอย่างไร ใช้อย่างไร มันขัด
    แย้งกับ สัญญาไม่เที่ยง หรือว่า แนบกันสนิทกับเรื่องสัญญาไม่เที่ยงอย่างแยก
    กันไม่ออก ไม่สามารถกล่าวให้เป็นอื่นได้ ก็ดัน.....

    ดันเอาคำนี้ไป พูดคุยกับ พระสงฆ์องค์เจ้า โดยที่ ตัวเองไม่รู้ ความหมายของคำ

    ทำให้ ตอนที่พูดกับ สงฆ์ ต้อง โกหกไปว่า มีความหมายอย่างนี้ๆ ...... ซึ่งตัว
    เองคิดขึ้นเอง ไม่ได้ไต่ถามจากคนอื่นที่เขาใช้

    ผลเป็นอย่างไร

    ก็ โกหกต่อ สงฆ์ .....

    ผลเป็นอย่างไรอีก

    สงฆ์เองก็ไม่เคยเห็นมาก่อน ก็เลย รับตามที่ ถวาย ไปอย่างใสซื่อ

    ผลเป็นไงอีก

    ผลที่ร้ายที่สุดคือ ทำให้ ทำมาปู๊ดดดด ไม่มีวันที่จะผลิกลิ้น กลับคำ
    ไปใช้ตามความหมายแท้ๆ ของเจ้าของ ( อภิธรรมปิฏก เป็นอาธิ )
    [ เวรกรรมส่งผล แล้ว หนักด้วย เพราะ สงฆ์ที่ัรับไปใช้ นั้น " อื้อหือ .... " ]

    กรรมมันตามสนอง ย่ำยี คนที่ สร้างสรรค์ปั้นแต่งบิดเบือนความหมาย ถิรสัญญา
    ให้เป็นอย่างอื่น

    ทั้งๆที่ มันก็แค่ "การระลึกนามธรรมได้ ดั่ง ตาเห็นรูป" หรือ "จับต้องได้" ที่พวก
    อื่นๆที่ไม่มีปฏิภาณในภาษาพูด ใช้กันนั่นแหละ


    พูดไปก็เท่านั้น

    อย่างไร ผลกรรมหนักที่ไป ถวายรายงานสงฆ์ แบบ โกหก แถลงคำเท็จ
    ยังก็ต้องส่งผลให้ ทำมาปู๊ดดดด ยึดมั่นถือมั่น คำเท็จ ที่ตัวเอง สร้างขึ้นมาเอง
    ไปจนตาย ...................

    คนโง่เท่านั้น ที่ตกเป็น " ทาสของคำพูด "
    ( คนใสซื่อแท้ๆ จะกี่ฃาติ สองชาติ ไม่เกี่ยวนะมะอึง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2013
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จดหมายไม่ใส่สะแตม

    เรียนคุงแพ้ทริกซ์ที่เข่ารบ

    เกล้ากระผมอยากนำเรียนให้ท่านทราบว่า ในคำว่า " ถิรสัญญา " ที่ใช้
    เป็นปลาเก็นไต่ถามนั้น เห็นทีจะเป็นการเสียการณ์ อีกทั้ง หากยิ่งใช้ประเด็น
    นี้ถกเถียงกันต่อไป มันมีแต่จะไป " ย้ำความพอใจ " ในการ " กล่าวเท็จ
    แถลงเท็จ " เกิดภัยเวร5อย่างแก่คู่สนทนา เปล่าๆ

    อะไรที่เป็น ทรัพย์เพื่อน ที่พอจะรักษาไว้ให้เขาได้ ในขณะที่เขา จมปัญญา
    ในการรักษา เราก็ควรที่จะ .....................



    ฮิววววววววส์


    นะเอย นะเอย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2013
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...........ผมก็คิดว่ายังงั้นเหมือนกันครับ............:cool:
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!

    ที่เสื่อมถอย เพราะปล่อยให้สัทธรรมปฏิรูป โดยไม่ลืมหูลืมตา

    เพราะอะไร? เพราะความที่ไม่รู้จักซื่อสัตย์ต่อตนเองเป็นที่ตั้ง

    พระพุทะพจน์ควรเป็นหลัก แต่กลับไปทิ้ง เอาที่ไม่จริงเป็นหลัก

    เหตุุผลมีไว้เพื่ออะไร? เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตริตรองตามได้

    ถ้าถิรสัญญา เป็นสติเพราะเหตุใกล้ ตามที่มีโม้ไว้แล้ว

    ในอริยมรรค ส่วนสัมมาสติต้องมีระบุไว้ว่า

    สัมมาสติเป็นไฉน? ควรต้องมีระบุถิรสัญญา

    ไปเอาสัญญา มาปนกับสติ แบบนี้พระพุทธพจน์คงหมดคุณค่าลงไป

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
    ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐ
    วีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์...
    ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี
    สัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญใน
    ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็น
    โลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมี
    แก่ภิกษุ ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า เป็นปฐวี
    ธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์
    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวันใกล้พระนครสาวัตถี
    นี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า
    เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เลย มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็น
    อารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์มิได้มีความ
    สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในอากาสานัญ
    จายตนฌานว่า เป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใน
    วิญญาณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความ
    สำคัญในอากิญจัญญายตนฌาน ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มี
    ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ
    ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ

    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพ
    เป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป

    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่ เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
    เปลวอย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
    แก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญาอย่างหนึ่งย่อม
    ดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญาว่า
    การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ




    อ้างอิงข้อมูล : 84000.org พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๐ - ๑๑.
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    นู๋นิฯ...

    ถามตรงๆไปหัด"ทักจิต"มาจากไหน.....

    รู้ไปหมดว่ารรมภูตทำอะไรบ้าง การกล่าวหาว่าร้ายในสิ่งไม่จริง

    เพราะคนมันไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ก็ต้องรับกรรมนั้นไปเองเช่นกัน

    เชื่อมั้ย ปรกติไม่เคยอ่านของนู๋นิฯจบสักที คิดว่าปล่อยให้พล่ามไปเรื่อยๆ

    แต่คราวนี้ เห็นเอาเรื่องโกหก-พกลม โป้ดปดมดเท็จมาพล่ามเอาฝ่ายเดียว

    จึงต้องรีบเตือนให้รู้ กลัวเดี๋ยวนู๋นิฯต้องรับกรรมหนักจนเกินไป เพราะอคติธรรม

    ในชีวิตไม่เคยคุยเรื่องถิรสัญญากับพระองค์ไหนเลย

    เด็กเลี้ยงแกะก็คือเด็กเลี้ยงวันยันค่ำ(แก้ยากหรือเก้อยาก)

    ชีวิตจริงคนเรานั้น วัดกันที่ความรู้จักซื่อสัตย์ตนเองเป็นที่ตั้ง

    ใครมีสิ่งนี้ในตัว ชีวิตเจริญก้าวหน้า มีแต่สุข สบาย รักความยุติธรรมความดี

    ส่วนใครที่ขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเองนั้น ก็อย่างที่เห็นๆ เวรกรรมมีจริงรับไป

    จำไว้นะ อะไรที่ยังไม่รู้จริงอย่านำมาเป็นประเด็น จะถูกหงายหมาเอาได้ง่ายๆ

    ถามตรงๆเถอะ ทุกวันนี้เป็นคนหมดความรู้จักละอายแก่ใจตนเองไปแล้วหรือ? "งง"

    จึงได้ทำผิดได้แบบซ้ำซาก ถ้าเป็นนักโทษ คงถูกประหารไปแล้ว

    ตกลงผลตกที่ใครก็ไม่ต้องบอกก็ได้นะ55+

    เจริญในธรรมสำหรับพวกศีลไม่มี นั้น...
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    นิพพานสูตร
    [๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
    ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น
    สุขได้อย่างไร ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูกรอาวุโส
    กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
    น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
    กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล
    ดูกรอาวุโสสุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข ฯ

    ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุ
    นั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
    ฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน
    เป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่
    ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
    เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญา
    มนสิการอันสหรคตด้วยวิตกเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น
    เหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุข
    อย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความ
    ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย
    ปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค
    ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย
    ปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือน
    ความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน
    ฉันใด สัญญามนสิการ
    อันสหรคตด้วยอุเบกขา
    ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้นข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร
    ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
    ...............
    ................
    ..........ฯลฯ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <table width=100%>
    <tr><td>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    </td></tr><tr><td>
    xxxxx*, paetrix, หัดนั่ง
    </td></tr></table>


    [​IMG]
     
  15. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    หุ้นตกหนักสบายดีไหมครับลูกพี่
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!

    ก็อย่างว่าอะนะ ก็สักๆแต่ว่าวางแป๊ะ โดยไม่สนใจอะไร?

    ขอให้มีคำว่า"สัญญา" เป็นใช่ได้ เอามาอ้างมันหมด ขอดันไว้ก่อน

    โดยไม่พินาเนื้อหาเลย ทั้งที่เนื้อพูดถึง"รูปฌาน และ อรูปฌาน"

    และอรรถกถาจารย์ยังมีรจนาต่อเข้าไปด้วย "สัญญาเวทยิตนิโรธ"

    คือ การดับสัญญาเข้าสู่นิโรธ หายไปไหนล่ะ

    หัดซื่อสัตย์ต่อตนเองบ้างนู๋นิฯ จะยกอะไรมาวางนั้น

    ควรตรวจสอบ สอบสวน เปรียบเทียบ เทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ด้วยว่า

    มีที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันบ้างหรือเปล่า เช่น "สัญญา๑๐" เพื่อการดับภพสู่นิพพาน

    ไม่ยังงั้น พระพุทธพจน์ตรัสว่า สัญญาอารมณ์หรือ?

    สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด(อรรถกถา)


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สัญญาสูตร

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
    "ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง
    ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน"


    ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
    ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว
    ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=7704&Z=7773

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัด "สัญญาในอันที่จะปล่อย" ไม่ใช่ "ถิรสัญญา" ที่เป็นสัญญาอารมณ์เพราะเหตุใกล้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คิริมานันทสูตร – สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน???

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงโปรดให้พระอานนท์ไปแสดงธรรม
    เรื่องสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ ซึ่งป่วยหนัก เพื่อแก้ทุกขเวทนา
    อันเป็นเหตุให้ทุกขเวทนาสงบระงับลงโดยเร็ว
    ซึ่งพระอานนท์ก็ได้นำไปแสดงให้ฟัง
    พอจบลง ทุกขเวทนาของพระคิริมานนท์ก็ระงับหายลงทันที

    รายละเอียดของสัญญา ๑๐ ประการ มีดังนี้

    ๑.อนิจจสัญญา ตั้งสติพิจารณาขันธ์ ๕ ที่ถูกจิตยึดไว้ ( อุปาทานขันธ์ ๕ )

    ๒.อนัตตสัญญา ตั้งสติพิจารณาการรับรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ ว่า ไม่ใช่ตัวตน

    ๓.อสุภสัญญา ตั้งสติพิจารณารูปกาย ข้างบน -- นับตั้งแต่พื้นฝ่าเท้าขึ้นไป
    และข้างล่าง -- ตั้งแต่ปลายเส้นผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
    เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ว่าเป็นของไม่สะอาด

    ๔.อาทีนวสัญญา ตั้งสติพิจารณาว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก
    ความเจ็บไข้ได้ป่วยย่อมอาศัยเกิดขึ้นที่กายนี้
    มีโรคในตา โรคในหู โรคในจมูก โรคในลิ้น โรคในฟัน ฯลฯ เป็นต้น

    สัญญาตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ นี้ เป็นตัวทุกข์
    ซึ่งจิตมิได้เป็นตัวทุกข์เลย แต่โง่เขลาเข้าไปยึดตัวทุกข์ไว้
    ก็เลยพลอยเป็นทุกข์ไปด้วย

    ๕.ปหานสัญญา ตั้งสติไม่เข้าไปยึดทุกข์ คือ
    ไม่รับไว้ สละเสีย ถ่ายถอนทำความยึดถือให้พินาศ
    และทำไม่ให้เกิดความยึดถือในกามวิตก พยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก อีกต่อไป

    ๖.วิราคสัญญา ตั้งสติให้เข้าถึงสภาพสำรอกกิเลสเครื่องย้อมจิตออกให้หมดสิ้น

    ๗.นิโรธสัญญา ตั้งสติที่จะเข้าให้ถึงสภาพดับกิเลส ให้ทุกข์ดับสนิทที่จิต

    ๘.สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ตั้งสติละอุบายอันเป็นเหตุให้ถือมั่นในโลก

    ๙.สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
    ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมระอา เกลียดชังสังขารที่เกิดจากการปรุงแต่งทั้งปวง

    ๑๐.อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่อง
    ที่ฐานลมกระทบในเมื่อมีอารมณ์มากระทบอายตนะ ๖
    และรู้จักวิธีทำลมหายใจที่หยาบให้ละเอียดและสงบ จนชำนาญทันการ
    เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เป็นจิตที่ควรแก่การงาน
    คือ สงบที่ฌาน ๔ โดยไม่ใช้เวลาเลย ( คือ ชั่วลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น )

    ***

    ผู้ศึกษาธรรมะย่อมสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า
    จิตนั้น ไม่ว่าจะเป็นจิตของสามัญชน หรือจิตของพระอริยเจ้าก็ตาม
    ล้วนแล้วแต่เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์-จำอารมณ์เหมือนๆกัน

    แต่ต่างกันตรงที่…
    จิตสามัญชนรู้อารมณ์ แล้วจำอารมณ์ไว้ปรุงแต่งให้เกิดกิเลสรักชัง
    มากหรือน้อยสุดแต่กำลังยึดถืออารมณ์นั้นๆไว้มากหรือน้อยเสมอ
    กล่าวคือ สัญญาจำได้ในทางยึดถืออารมณ์ไว้ฝ่ายเดียวเท่านั้น

    แต่จิตพระอริยเจ้านั้น ได้ศึกษาเรื่องอารมณ์มาแล้ว จึงเกิดสัญญา ๑๐ ประการ
    อันเป็นเหตุให้ถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นออกไปได้
    ตามกำลังของมรรคที่ได้ปฏิบัติไว้
    จนมีความคล่องแคล่วในการตั้งสติไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ
    และดูความเคลื่อนไหวของลมหายใจ ณ ฐานดังกล่าวนี้
    แทนที่การดูอารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖ เสีย
    จิตจึงยึดหน้าที่ดูแต่เพียงลมหายใจเพียงอย่างเดียวแทนที่อารมณ์
    ซึ่งกลายเป็นรู้อารมณ์ก็สักแต่ว่ารู้ อารมณ์เท่านั้น.

    สำหรับลมหายใจที่จิตยกเข้ามาดูขณะนี้ ก็เป็นสังขารธรรม
    ที่ยิ่งเพ่งดู ก็ยิ่งเปลี่ยนสภาพจากลมหยาบ ซึ่งเป็นลมของสามัญชน
    เป็นลมละเอียด ซึ่งเป็นลมของพระอริยเจ้า
    จนผู้ปฏิบัติไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวไปมาที่กระทบฐานที่ตั้งสติได้อีกในที่สุด
    จิตจึงอยู่ในสภาพสุญญตา ที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิตหมายต่อไป
    คือ หมดสิ่งที่จะยึดถือไว้ดังแต่ก่อน

    ***

    ดังนั้น สัญญา ๑๐ ประการจึงทำให้เกิดปัญญา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    สัญญาข้อที่ ๑-๔ เป็นสัญญาที่จำสิ่งที่รู้เห็นและรับเอาเข้ามาไว้นั้นเป็นทุกข์<
    ซึ่งต้องกำหนดรู้ ( ปริญเญยยะกิจ )

    สัญญาข้อที่ ๕ สมุทัย เป็นสัญญาที่จำได้ว่า จะต้องสละ ถ่ายถอน
    ตัดความยึดถือให้พินาศ จนไม่มีความยึดถืออีกต่อไป ( เป็นปหาตัพพะกิจ )

    สัญญาข้อที่ ๖-๗ เป็นผลมาจากการละสมุทัย
    ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องทำให้แจ้ง ( เป็น สัจฉิกาตัพพะกิจ )
    ทุกข์จึงดับลงอย่างสิ้นเชิง จิตจึงสงบประณีต

    สัญญาข้อที่ ๘-๙-๑๐ เป็นความระลึกรู้ได้แล้วที่จะแยกจิตออกจากอารมณ์
    ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ลมหายใจกระทบ ภายในช่องจมูกได้โดยคล่องแคล่ว เด็ดขาด รวดเร็ว
    โดยไม่ปล่อยให้จิตแลบออกไปหาอารมณ์หรือร่างกายส่วนอื่นได้อีก
    ( เป็นภาเวตัพพะกิจ )

    จิตพระคิริมานนท์ จึงแยกออกจากร่างกายที่ถูกความป่วยครอบงำได้โดยเด็ดขาด
    จิตจึงไม่ป่วยไปตามร่างกายอีกต่อไป ร่างกายเท่านั้นที่ป่วย.

    ปล.ในเวบ 84,000 สูตรนี้ ใช้ชื่อ อาพาธสูตร
    แต่ในหนังสือสวดมนต์แปล โดยพระศาสนโสภณ ใช้ชื่อ คิริมานันทสูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  19. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    สังขารของจิตรู้ลักษณะของสภาพธรรมอย่างไรชัดเจนหรือขอรับ
    รู้สังขารของธรรมได้อีกอย่างไร
     
  20. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เอาจิตไปนิพานหรือตัวเราไม่ใข่ตัวเราไปนิพพานหรือขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...