จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ขอบพระคุณมากค่ะ :VO
     
  2. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    วันที่ 28 สิงหาคม 2537 พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พาคณะศิษย์ไปกราบคารวะ พระคุณเจ้าหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี ที่ วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ระหว่างที่หลวงปู่ชอบท่านพักอยู่ที่ศาลาวัดป่าถ้ำขามเพื่อรอเวลาที่จะเข้ากราบองค์ท่านหลวงปู่เทสก์ " น้องปาล์ม " ที่มาพร้อมกับคณะของหลวงปู่นั่งรอนานก็เลยง่วงนอน ออกอาการงอแง หลวงปู่ชอบท่านบอกน้องปาล์มว่า " โบ๊ยๆ(ไอ้หนู) อดทนๆ ถ้าบ่ทน บ่ได้ดี "..

    ที่มา fb หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
     
  3. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    จุดลงตัว ...

    เคยฟังไหมว่า
    จุดที่น่ากลัวที่สุดคือใจ(จิต)
    และจุดที่สุขที่สุดก้อคือใจ(จิต)

    ทั้งสุข และ ทุกข์ นั้นล้วนแล้วแต่มีอยู่เป็นปกติ
    เพียงแต่เมื่อเดินมาเจอ ใจ(จิต)ของเราดันวิ่งไปจับมันตามความเคยชิน
    แล้วไปหลงไปยึดว่ามันคือของเรา เราจึงต้องทุกข์ ต้องสุขคละเคล้ากันไปไม่จบไม่สิ้น
    เหตุเพียงเพราะจิตของเจ้าไม่นิ่งนั่นเอง

    แล้วเราจะพบจุดที่ลงตัว จุดพอดีของจิตได้อย่างไร

    จุดลงตัวของจิตนี้ ก้ออยู่ในจิตนั่นเอง

    จิตที่พร้อม มีฐานมาจากศีล เมื่อศีลพร้อม จิตก่อพร้อม ไม่กังวล
    เมื่อศีลพร้อม จิตจะเข้าสู่สมาธิได่ง่าย เมื่อจิตอยู่ในสมาธิ จิตจะนิ่ง ไม่สอดส่าย
    จิตนิ่ง สิ่งกระทบที่เข้ามาก้อไม่สามารถหลอกล่อให้จิตของเจ้า ออกไปจับกับสิ่งเหล่านั้นตามที่เคยเป็น

    จุดนี้เองที่เจ้ามองข้ามกันมานาน
    ความนิ่งและสมาธิของจิตนี้ คือจุดลงตัวของจิตเจ้านั่นเอง

    แต่ ... จิตจะนิ่ง จะทรงอยู่ในสมาธิได้นั้น ก้อยังไม่ใช่จุดที่ลงตัวจริงๆนะลูก อย่าเข้าใจผิด
    จิตนิ่งได้ แต่ยังไม่เกิดปัญญา จิตย่อมมีโอกาสที่จะหลงได้ จะยึดได้

    อย่าไปยึดกับสุขที่เกิดจากสมาธิ สุขที่เกิดนั้น ไม่ต่างกับทุกข์ที่เจ้าเจอมาทั้งชีวิต ไม่ควรยึด มันจะติด มันจะหลงทาง

    จุดลงตัวที่แท้จริง ที่เจ้าต้องยึดคือ จิตแท้ จิตบริสุทธิ์

    จิตเจ้าจะบริสุทธิ์ ต้องทำ มิใช่นึกคิด มิใช่ใช้สมอง ต้องใช้ปัญญาจากการวิปัสสนาเท่านั้นนะ

    เมื่อเจอจุดที่ลงตัว ปัญญาเกิด จิตจะไม่ยึดใดๆ จุดนี้แหละคือจุดที่สุขที่สุดอันแท้จริง

    อย่าไปใส่ใจกับ ใคร สิ่งใด หรือสภาวะใดๆ อันไม่ควรยึดนะ
    จงใส่ใจกับจิตเจ้าเท่านั้น นั่นแหละควรทำ

    อย่าไปหลงกับทุกข์ปลอมๆ อันมีมาและดับไป
    อย่าไปใคร่ครวญกับทุกข์ใดๆ ที่จะไปแล้วก้อมา
    อย่าไปสงสัยกับสิ่งใดๆที่เข้ามาหลอกล่อดวงจิตเจ้าให้หลง

    จงจับหลักนี้ไว้ ... ศีล สมาธิ ปัญญา ...
    จิตเจ้าทำเพียงเท่านี้กับตัวเจ้าเอง แล้วเจ้าจะพบ จุดลงตัวของจิต


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  4. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    อย่าไปใส่ใจกับ ใคร สิ่งใด หรือสภาวะใดๆ อันไม่ควรยึดนะ
    จงใส่ใจกับจิตเจ้าเท่านั้น นั่นแหละควรทำ

    อย่าไปหลงกับทุกข์ปลอมๆ อันมีมาและดับไป
    อย่าไปใคร่ครวญกับทุกข์ใดๆ ที่จะไปแล้วก้อมา
    อย่าไปสงสัยกับสิ่งใดๆที่เข้ามาหลอกล่อดวงจิตเจ้าให้หลง

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ศรัทธา ... นำพา

    จิตบุญเอ๋ย เจ้าจำได้หรือไม่ ก่อนที่เจ้าจะเป็นเช่นนี้ เจ้าต้องมีสิ่งใด อันนอกเหนือจากทางที่เราสอน ... ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศรัทธา ...

    ถ้าเจ้าไม่มีศรัทธาในเรา ในพระธรรม ในตัวเจ้าเอง แล้ว ...
    เจ้าจะรักษา ศีล หรือ
    เจ้าจะเจริญสมาธิหรือ
    แล้วเจ้าจะเกิดปัญาหรือ

    ถึงเจ้าจะเจริญสมาธิได้ดีเพียงใด แต่เจ้าไม่มีศรัทธาในจิตเจ้า เจ้าจะได้หรือ ...

    แล้วเมื่อเจ้ายกแล้ว ถ้าเจ้าไม่มีศรัทธาในจิตเจ้า จิตเจ้าจะเดินทางเข้าสู่ความว่างได้หรือ
    ถ้าเจ้าไม่นิ่งพอ ไม่มีศรัทธาเพียงพอ จิตเจ้าก้อจะอยู่เช่นนั้น รอเพียงวันหมดกำลังใจ
    ... เพียงเจ้ามีศรัทธาในจิตเจ้าที่เป็น เห็นหรือไม่ ทำไมจิตก้าวเดินเข้าไปในใจกลางมากขึ้น ละเอียดขึ้น นิ่งขึ้น ...

    แล้ววันนี้ ในสิ่งที่เจ้ารับรู้ แล้วใยเจ้าไม่มี ศรัทธาอีกแล้ว เจ้าไม่เชื่ออีกแล้ว เป็นเพราะเหตุใดหรือ

    ของหยาบ ของไม่จริง เราไม่มา
    ของสะอาด ของละเอียด เราจึงมา


    แต่ถึงเรามา แต่ถ้าเจ้าไม่มีศรัทธาจริง เราก้อยู่มิได้ ...

    แล้วใย เจ้าจึงไม่มีศรัทธา ในสิ่งที่เป็นอยู่นี้ ... เพราะเหตุใด

    ตอนนี้กายนี้เป็นของเจ้าหรือ
    ตอนนี้จิตนี้เป็นอย่างเดิมหรือ
    เจ้ารู้แต่ไม่มีศรัทธา


    เราบอกแล้วนะ ศรัทธา นำพาทุกสิ่ง


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  6. เดือนห้า

    เดือนห้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +450
    พออ่านเรื่องจิต-เจตสิกของคุณ Plaifar แล้วก็รู้สึกว่า
    ปัจจุบันเราออกสำรวจอวกาศไปถึงไหนๆกันแล้ว แต่ความจริงของจิตอยู่ตรงนี้กลับไม่เคยได้สำรวจเลย มันละเอียขนาดนี้เชียว

    ขออนุโมทนาในธรรมทานของทุกท่านด้วยนะคะ ^^
     
  7. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    นี่แหละ.. ชีวิต!

    บทความ-ความสุข3แบบ

    แบบที่ ๑ ความสุขได้จากเงิน
    ท่านสาธุชนทุกท่าน ความสุข...เป็นยอดปรารถนาของชีวิต ทุกคนจึงดิ้นรนไขว่คว้า บางคนต้องการเงิน บางรายต้องการเกียรติ บางท่านต้องการคำชม บางคนนิยมให้คนเอาอกเอาใจ หรือไม่ก็ต้องการไปจากเสียสิ่งที่ตนไม่ต้องการ
    ที่ยกตัวอย่างมานี้ ล้วนแต่ปรารภเหตุขึ้นมากล่าวทั้งสิ้น แท้จริงความสุขนั้น เป็นผล... หาใช่ตัวเหตุไม่
    แต่เมื่อกล่าวถึงผลที่ต้องการแล้วก็ตรงกันคือ “ความสุข” เช่น ต้องการเงิน ต้องการไปทำไม ถ้าไม่ใช่เพื่อจะใช้ซื้อความสุขให้แก่ตน เงินจึงเป็นเหตุของความสุข
    ดังคำขวัญสมัยหนึ่งซึ่งซู่ซ่ามาก คือ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวมันเองแล้ว คนอยากได้เงิน ชอบเงิน ก็ต้องทำงาน ถ้าไม่ทำงานแล้วไหนเลยจะมีเงิน
    ในทำนองกลับกัน ถ้าไม่มีหวังได้เงินแล้ว ก็คงไม่มีใครยอมทำงานเช่นกัน ฉะนั้น จึงมีคำพูดว่า
    “เงินดีงานเดิน เงินเกิน
    งานวิ่ง เงินนิ่งงานชะงัก” หรือ...
    "งานเดินเงินดี เงินมีงานวิ่ง เงินนิ่งงานก็หยุด”
    นี้ล้วนแต่เน้นเรื่องเงิน เน้นจนคนงกเงินกันไปหมด ใจจดใจจ่ออยู่กับเงิน มีคนไม่น้อยหลงเงิน จนลืมความหมายของเงิน เอาแต่มุ่งหา มุ่งเก็บ เก็บเท่าไรมีเท่าไร ก็หาได้รับประโยชน์อันแท้จริงจากเงินไม่ ประโยชน์อันแท้จริงของเงิน ก็คือซื้อหาสิ่งที่จะให้เกิดความสะดวก สบาย เรียกง่ายๆ ว่า ความสุข...

    แบบที่ ๒ ความสุขได้จากการศึกษา เงิน ความไม่มีโรค
    คำขวัญอีกคำหนึ่งที่เคยฟังกันทั่วไป ซึ่งเป็นคำขวัญที่แสดงถึงการมุ่งเอาความสุขเป็นที่หมาย คือคำว่า
    “ศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์”
    การศึกษาก็ดี การหาเงินก็ดี การทำตัวให้สมบูรณ์ด้วยพลานามัยก็ดี 
    ล้วนแต่เป็นเหตุที่จะช่วยให้ชีวิตมีความสุขทั้งนั้น

    แบบที่ ๓ ความสุขได้จากการมีบ้าน มีคู่ มีกิน มีใช้
    อีกคำหนึ่งแสดงถึงความต้องการของคนทั่วๆ ไปตามวิสัยโลกียชนแต่คงไม่ได้ยินกันหนาหูนัก นั่นคือคำว่า “มีบ้านอยู่ มีคู่เคล้า มีข้าวกิน มีสินใช้” นี่ก็เป็นเหตุของความสุขเฉพาะอย่าง
    มีบ้านอยู่ เป็นความสุข ก็เพราะไม่ต้องระเหเร่ร่อน นั่งไม่เป็นบ่อน นอนไม่เป็นที่ 
    เพื่อความสุขในแง่นี้ จึงจำต้องมีบ้านอยู่
    มีคู้เคล้า เป็นความสุขทางเพศ ทางมิ่งขวัญเพื่อนร่วมทุกข์
    มีข้าวกิน ก็เป็นสุขในด้านความอิ่ม
    มีสินใช้ ก็เพื่อความสุขเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ มาสนองความปรารถนาของตน
    สรุปแล้ว บ้านก็ดี คู่ครองก็ดี ข้าวปลาอาหารก็ดี เงินทองทรัพย์สินก็ดี 
    เป็นปัจจัยหรือเป็นสะพานเพื่อให้ชีวิตผ่านไปสู่ความสุขทั้งสิ้น
    -------------------------------------------------------

    เมื่อสิบกว่าปีก่อน เราก็เป็นบุคคลนึงซึ่งแสวงหาว่า"ความสุขคืออะไร?" 
    จนพบหลวงพ่อท่านนึง ท่านตอบเราว่า"ความสุขคือ ความสมหวัง"
    เราตอนนั้นก็รู้สึกว่ามันยังไม่ค่อยตรงกับที่ใจเราคาดหวังเอาไว้ แต่คำตอบนั้นมันก็ "ใช่เลย! ถูกของท่านนะ"

    จากบทความด้านบนนี้ หากเราพิจารณาอย่างแยบคายก็จะพบได้ว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนแต่ไขว่คว้าสิ่งต่างๆเหล่านั้นแทบทั้งสิ้น เพราะอะไร? ก็เพราะว่าตั้งแต่เกิดมาจากเล็กจนโตขึ้นมา เราเห็นผู้คนส่วนใหญ่รวมถึงคนในครอบครัวของเรา ต่างก็พยายามไขว่คว้า"ปัจจัยแห่งความสุข"ในชีวิตเยี่ยงนั้นแทบทั้งสิ้น(โลกธรรม) ผลก็คือ "ความทุกข์"มันก็เกิดขึ้นนั่นเอง ดังนี้:-
    1. ทุกข์มากลำเค็ญจากการที่พยายามแสวงหา"ความสุข"ดังว่า แต่ไม่สามารถจะทำได้เลยหรืออาจจะทำได้นิดหน่อย จึงได้แต่รำพึงรำพันว่า"ข้านี้มันแสนจน ข้ามันบุญน้อย" แย่ไปกว่านั้นคือ ขอเป็นโจรทำสิ่งผิดกฎหมายเพื่อหาเงินมาสร้างความสุขดีกว่า.. จุดจบก็ไม่ต้องพูดถึง!
    2. ทุกข์ปานกลางจากการที่พยายามไขว่คว้าและก็สามารถที่จะทำได้สำเร็จด้วย เพียงแต่ว่ามันยังไม่ครบทุกสิ่งที่ปราถนา จึงเป็นทุกข์อีกเช่นกัน  จึงได้แต่รำพึงรำพันว่า"ข้านี้ทำไม๊?มันไม่รวยเหมือพวกเศรษฐีเขาหว้า.. หรือว่าข้ามันบุญไม่มากพอ" แย่ไปกว่านั้นคือ ทำเรื่องผิดศีลธรรมและผิดกฎหมายเพื่อหาปัจจัยมาสร้างความสุขที่ยิ่งกว่ากลุ่มแรก.. มันจึงเป็นทุกข์ดั่งเช่นที่เราๆท่านๆได้พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในสังคมทุกวันนี้อยู่แล้ว..(เห็นจนเบื่อเลยครับ! ปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆซากๆเช่นปัญหาครอบครัวสามี/ภรรยา/ลูก/พ่อแม่/พี่น้อง/การทำมาหากิน/ทรัพย์สินเงินทอง/หนี้สิน/สุขภาพ/อยากรวยๆๆๆๆ/ฯลฯ เพียงแค่ต่างครอบครัว/ต่างตัวแสดงเท่านั้นเอง..)
    3. ทุกข์แบบพิเศษสำหรับ"ชนกลุ่มน้อย"ในสังคม ที่เขาสามารถที่จะได้รับความสุขตามบทความดังกล่าวด้านบนแล้ว แต่ว่าก็ยังไม่พอคือยังมีความทุกข์จาก"ความทะยานอยากที่มันมากขึ้นไปกว่า ความสุขพื้นฐาน.." แบบเชกเช่นบุคคลทั่วๆไปส่วนใหญ่ ก็เป็นทุกข์อีกเช่น รวยมากๆแต่ผวากลัวคนมาเอาเงินตนเองไป, ห่วงและหวงชีวิต+ทรัพย์สิน, มีภรรยาหรือสามีเดียวก็ยังไม่พอ..อยากได้นางแบบ/นายแบบมาเชยชม, ขับรถธรรมดาไม่ได้ต้องรถสปอร์ตคันละหลายสิบล้านบาท, อยากมีเกียรติให้คนนับหน้าถือตา, หรืออื่นๆอีกมากมาย..

    ครั้นสมหวังในสิ่งที่ตนเองต้องการก็เป็นสุข หากผิดหวังก็เป็นทุกข์!
    ส่วนว่าจะมากหรือน้อย มันขึ้นอยู่กับดีกรีความรุนแรงในจิตใจตนเองเป็นหลัก!

    คนเราใช้เวลากว่าค่อนชีวิต(ทุกข์มาตลอด ตั้งแต่เกิด-เด็ก-เรียน-ทำงาน-สร้างฐานะ-มีคู่ครอง-หาเงินสร้างสมบัติ-เลี้ยงลูก-แก่ชรา-ตายจากไป)
    เพียงเพื่อที่จะสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ขึ้นมา จวบจนสำเร็จ(แค่บางอย่างเท่านั้นเองนะ)เพื่อทำให้สมหวังและมีความสุขแบบชั่วคราว (ซึ่งไม่นานก็จะรู้สึกเฉยๆกับสิ่งนั้นๆแล้ว.. จริงไหม๊?)
    หากแต่ว่า ตลอดหนทางนั้นมันโรยด้วยหนามกุหลาบ..ทุกข์ทั้งน้านนน..
    บางท่านถึงขั้นหลงผิดด้วยความทะยานอยาก ถึงกับไปกระทำสิ่งที่เลวทรามต่ำช้าเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขดังกล่าว

    โลกธรรมนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น
    ทำให้บุคคล สัตว์ หลงเข้าไปยึดติด!
    อุปาทานสังขาราปรุงแต่งกันเข้าไป แสวงหากันเข้าไป กระทำกรรมดี/ชั่วกันเข้าไป เพียงเพื่อ"สิ่งเหล่านั้น"
    ครั้นมีคนมาบอกว่า"ให้ละวาง ถอดถอนอุปาทานขันธ์5(ตัวกู+ของกู) ลงซะ.." 
    ท่านก็หาว่า"บ้า!.. สวนกระแสสังคมคนส่วนใหญ่" หรือไม่ก็"ถ้างั้นก็ไปบวชซะไป.."
    แถมบางท่านบอกว่า"ฉันไม่เห็นว่ามันจะทุกข์อะไรเลย มันก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป"

    เมื่อสมัยตอนเรายังเป็นวัยรุ่นอยู่ มีรุ่นพี่ท่านนึงถามเรากับเพื่อนว่า
    "มึงรู้ไม๊ว่าคนเราเกิดมาทำไม?"
    เพื่อนเราตอบว่า"ไม่รู้ครับ"
    รุ่นพี่ท่านนั้นตอบว่า"คนเราเกิดมาเพื่อ กิน ขี้ ปี้ นอน เท่านั้นเอง ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วพวกมึงก็ไปบวชซะไป!"
    พวกเราฟังแล้ว "อึ้งกิมกี่..เลย..555" 
    เราก็คิดว่า"มันไม่น่าใช่! แต่ก็เออ..มันก็ถูกของเขานะ"

    ทุกๆท่านลองตรองดูเถิดว่า"อันคนเรานี้มันหลงได้ขนาดนั้นเลยจริงๆ จากความเคยชินของสังคม ถ่ายถอดต่อมารุ่นแล้วรุ่นเล่า" จนกระทั่ง"เห็นผิดเป็นชอบ" "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" อวิชชาทำให้"หลง" หลงไปตลอดชีวิตทุกภพทุกชาติเลย..

    ดังนั้นเราๆท่านๆที่มีโอกาสได้เข้าสู่กระแสแห่งธรรมได้บ้างจะมาก/น้อยก็แล้วแต่ ถือว่า"ท่านนั้นโชคดีมากแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ได้ดำริที่จะออกจากวงจรแห่งวัฏฏะความหลงมัวเมานี้" ก็ไม่มีใครผิดหรือใครถูกหรอกครับ 
    มีเพียงแค่"ผู้ใดจะออกมาก่อน ผู้ใดจะออกมาภายหลัง" ตามวาระกฎแห่งกรรมของตนเองเท่านั้น นั่นเอง..

    ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทุกๆท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยครับ..

    .
     
  8. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ทุกๆท่านลองตรองดูเถิดว่า"อันคนเรานี้มันหลงได้ขนาดนั้นเลยจริงๆ จากความเคยชินของสังคม ถ่ายถอดต่อมารุ่นแล้วรุ่นเล่า" จนกระทั่ง"เห็นผิดเป็นชอบ" "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" อวิชชาทำให้"หลง" หลงไปตลอดชีวิตทุกภพทุกชาติเลย..

    ดังนั้นเราๆท่านๆที่มีโอกาสได้เข้าสู่กระแสแห่งธรรมได้บ้างจะมาก/น้อยก็แล้วแต่ ถือว่า"ท่านนั้นโชคดีมากแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ได้ดำริที่จะออกจากวงจรแห่งวัฏฏะความหลงมัวเมานี้" ก็ไม่มีใครผิดหรือใครถูกหรอกครับ
    มีเพียงแค่"ผู้ใดจะออกมาก่อน ผู้ใดจะออกมาภายหลัง" ตามวาระกฎแห่งกรรมของตนเองเท่านั้น นั่นเอง..


    สาธุ สาธุ สาธุค่ะ ครูลูกพลังกลั่นกรองธรรมะออกมาจากจิตได้น่าดู น่าชม อ่านมันส์ดีแท้ๆ ^ ^

    มนุษย์เราส่วนใหญ่เกิดมาก็พากันวิ่งหาความสุข...แต่สุดท้ายก็วิ่งไปตำตอหัวทิ่ม หัวขมำ กันทุกรายไป(เจอความทุกข์) เหตุนี้แล..พุทธองค์จึงทรงพระเมตตาถ่ายทอดวิชาความรู้ ที่เกิดจากปัญญาญาณรู้แจ้งแทงตลอด มอบแสงสว่าง ชี้แนะทนทางแห่งการดับทุกข์ แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เรียกว่า อริยมรรค 8

    คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินออกจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์ 8 คือ :-
    1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
    3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
    6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
    7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
    8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

    การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
    การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ทุกท่านกระโดดได้พ้น หลุดออกไปจากวัฎฎะสงสารได้อย่างถาวร! ทางนี้ทางเดียวจริงๆ ส่วน "จิตเกาะพระ" ก็เป็นทางเดินแห่ง ศีล - สมาธิ - ปัญญา นั่นก็คือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะนำพาดวงจิตของท่าน
    ให้หลุดพ้นออกจากวัฎฎะสงสารได้(หายทุกข์อย่างถาวร) หากท่านปรารถนาจะหลุดจะพ้นก็โปรดจงเริ่มปฏิบัติกันซะทีเถิด...สาธุ
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอโทนาธรรมาทานทั้งครูเอกทั้งศิษย์เอก(ทั้งลูกพลัง ทั้งดาว)
    พี่ภูก็มันส์กับเธอไปด้วยดาวประดับพระนิพพาน
    คือพี่ภูนอนเกือบๆตีสอง ตีสี่ตื่นแร๊ะ
    กายมันบอกว่า ไม่อยากตื่น แต่จิตบอกว่า ข้าตื่น! ข้าไม่นอน!
    โอ้หน๋อๆ งั้นเอ็งก็อย่าเถียงกันเลย ออกไปทำให้บบ.เลย
    เป็นยังไง อยู่คนเดียว คุยคนเดียวก็ได้ ดูสิมันจะบ้าไหม เห่อ

    ดาวอ่านส์ธรรมะไม่มันเท่ากับ คนปลูกมันหรอก แต่คนปลูกมันต้องกินมันด้วยนะ ถึงจะเรียกว่า มันส์ืืืืส์ส์
    พี่ภูหมายควายว่า อย่าไปชมว่า ธรรมะนี่เขาดีจริงๆนะ
    แต่ถ้าเจ้าบอกว่าดี แล้วทำไม๊ ไม่ปฎิบัติตามที่เจ้าบอกว่าๆๆๆๆ หล่ะ
    เห่อๆ ข้าไปนอนต่อดีก่าๆๆๆๆ เดี๋ยวจะโดนด่าาาาาาา
    เอิ๊กกกกๆๆ
    จิตข้ายิ้มนะะะ ไม่ใช่กาย

    จิตหลุดพ้นนะะะ มิใช่กาย
    กายพ้นเหมือนกัน แต่พ้นจากบ้าน เพราะคนไปส่งแค่เมรุ
    ไหนบอกว่ารักกันจริงๆนะเออ!(บ่นแทนกายไร้วิญญาณ)
     
  10. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745

    จริงๆการบ้านก็คือการรายงานเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
    ที่เข้ามากระทบกับจิตเรา หากไม่มีการบ้าน ก็คงไม่มีเรื่องราว
    ที่มากระทบจิตเรา จิตว่าง นั่นเอง แต่ดูๆแล้ว คุณเต่าโบราณ
    มีการบ้านเยอะจนไม่รู้จะรายงานเรื่องไหนก่อน เพราะมันสับสน
    อลม่านไปหมดนะเนี่ย ก่อนจะก้าวท้าวออกจากประตูต้องเปิด
    ประตูก่อนมั้ย ฉะนั้น ก่อนจะฝึกจิต ไปทบทวนศีลก่อนมั้ยเอ่ย
    ลองดูค่ะ
    โมทนาสาธุ
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับครูดัชด้วยนะครับ
    สมแล้วที่เป็นครูฝปค.แห่งบ้านจิตเกาะพระ
    ครูดัชกล่าวได้ถูกต้องยิ่งนัก สมเป็นครูจริงๆ ตามทัน+รู้ปัญหาต้นตอของศิษย์
    คุณเต่าโบราณ เธออย่าถอยนะ สู้ๆนะ
    ผมขอเอาใจช่วยนะครับ
    เธอไปตามหาครูแบบนี้ไม่ได้แล้วนะ จะบอกให้
    แต่ถ้าครูไม่เก่ง ไม่แข็ง ศิษย์ก็ยากจะสำเร็จ

    แต่ก่อนจะลงมือปฎิบัติ ต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างต่ำให้ครบ
    เพราะเป็นสมบัติของผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ศีลเปรียบเสมือนรากฐานหรือเสาเข็ม
    ผู้ปฎิบัติทุกท่าน ได้โปรดอย่าไปมองข้าม
    จริงอยู่ ไม่มีใครไปรักษาหรือไปดูแลศีลให้กันได้
    หรอกผู้อื่นได้ แต่เมื่อไหร่ถ้าหรอกตนเองไม่ได้ ก็หรอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เช่นกัน
    แต่ถ้าศีลครบ ต่อไปให้ดูเรื่องการวางกำลังใจ ตามที่ครูแนะนำ
    ครูแนะหรือบอกอะไรให้ปฎิบัติตามทันที
    เช่น วางคำภาวนาอื่นๆก่อนชั่วคราว วางความรู้ทางโลก(อีโก้)
    วางทิฎฐิ วางอัตตาหรือมานะ (ปกติวางยากมาก แต่พยายามนะ)
    และ เชื่อฟังครูผู้สอนด้วย เป็นต้น

    การเดินมรรคนี้ ยังอีกยาวไกล ผู้มีึความเพียรไม่พอ ก็จะสำเร็จยาก
    เด็กยังต้องเกาะพระพ่อแม่ไปก่อน ผู้ปฎิบัติใหม่ก็เหมือนกัน ต้องเกาะครูบาอาจารย์ไปก่อน
    แต่มิได้ให้ผู้ปฎิบัติไปยึดติดกับตัวบุคคล


    ทิฏฐิ คือ ความเห็น
    ความเห็นนั้นมีได้หลายอย่าง มีได้ตลอดเวลา เช่น เห็นว่า นี่คือเรา นั่นคือเขา มีทั้งมิจฉาทิฏฐิ และสัมมาทิฏฐิ
    มานะ คือ ตัวยึด เป็นตัวอุปาทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ธันวาคม 2012
  12. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ธัมมวิจยะ

    ธรรมวิจัย หรือ ธัมมวิจยะ

    ธรรมวิจัย หรือ ธัมมวิจยะ
    อันเป็นหนึ่งในกลุ่มธรรมในการทำงานร่วมกัน
    เพื่อให้เกิดโพธิ หรือปัญญาตรัสรู้ ที่มีชื่อว่า “โพธิปักขิยธรรม”

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของธรรมวิจัย
    การเลือกเฟ้นธรรม ว่าหมายถึงการการใช้ปัญญาสอบสวน
    พิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือนำเสนอ ให้เข้าใจ และเห็นสาระความจริง

    แต่ “อย่างไร” หรือ “คืออะไร” ที่เราควรเลือกเฟ้น

    หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
    ได้เขียนถึงการสิ่งต่างๆ ที่ควรเลือกเฟ้นเพื่อปฏิบัติไว้ดังนี้

    ทิฏฐิวิจยะ

    การเลือกเฟ้นความเห็น
    คือเลือกเฟ้นความเห็นต่างๆ ว่าถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
    ควรที่จะนำไปใช้หรือไม่ โดยใช้หลักไตรลักษณ์เป็นตัวตัดสิน

    ความเห็นใดที่ไม่สอดคล้องกับไตรลักษณ์
    ความเห็นนั้นย่อมผิด ควรละทิ้งไป

    สังกัปปวิจยะ

    การเลือกเฟ้นความคิด
    ตามปกติจิตเรามักคิดเรื่องต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

    ถ้าฝึกจิตให้คิดไปทางใด จิตจะโน้มเอียงไปทางนั้น
    เช่น ถ้าฝึกระลึกถึงลาภสักการะบ่อยๆ ก็จะโน้มเอียงเข้าสู่ความโลภ
    แต่ถ้าฝึกจิตคิดถึงไตรลักษณ์บ่อยๆ
    จิตก็จะค่อยๆ เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง ค่อยๆ ปล่อยวาง

    ในการฝึกคิด ทำได้ ๒ วิธี คือ

    ๑. ในขณะดำรงชีวิตตามปกติ

    ไม่ว่าในอิริยาบถใด ให้พิจารณาสิ่งต่างๆ รอบตัว
    อารมณ์ต่างๆ โดยน้อมลงสู่ไตรลักษณ์

    ๒. ในขณะทำสมาธิ

    โดยอย่าใฝ่ใจให้สงบเกินไปนัก
    เพราะความสงบในสมาธิจะปิดกั้นไม่ให้เกิดปัญญา
    ควรบริกรรมเพียงพอประมาณ

    เช่น ๑๕-๓๐ นาที เมื่อจิตมีสมาธิแล้ว
    ก็นำสิ่งต่างๆ ขึ้นมาพิจารณาด้วยหลักไตรลักษณ์

    วจีวิจยะ

    การเลือกเฟ้นคำพูด
    เลือกว่าพูดอย่างไรจึงเกิดประโยชน์ตนและผู้อื่น
    อย่างไรเกิดสามัคคี อย่างไรเกิดความรัก
    ความหวังดี หรืออย่างไรควรงดเว้น ไม่พูดเสีย

    กัมมันตวิจยะ

    การเลือกเฟ้นทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดย

    (๑) ไม่ผิดศีลธรรม เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มสุราของเมา

    (๒) ไม่ทำให้ทั้งตนผู้อื่นเดือดร้อน

    อาชีววิจยะ

    การเลือกเฟ้นในการเลี้ยงชีพ คือประกอบอาชีพโดยสุจริต

    วายามวิจยะ

    การเลือกเฟ้นความเพียร ความเพียร
    ความเพียรใดมีสติปัญญาเป็นองค์ประกอบ
    ถือเป็นความเพียรชอบในศาสนาพุทธ
    เพียรละความเห็นผิด หรือความชั่ว
    เพียรสร้างความเห็นถูก หรือเพียรทำความดีให้เกิดขึ้น

    สติวิจยะ

    สติ หมายถึง ความระลึกได้
    วิจยะ หมายถึง การเลือกเฟ้น
    รวมแปลว่าเลือกเฟ้นในสิ่งที่มาระลึกรู้ นั่นคือ

    (๑) ระลึกรู้ในความเห็นตนว่าผิดหรือถูก

    (๒) ระลึกรู้ในคำพูดตน ทั้งก่อนพูด ขณะพูด
    ที่พูดไปแล้วเพื่อรับผิดชอบคำพูดของตนเอง

    (๓) ระลึกในงานที่ทำว่าเกิดประโยชน์ต่อตนและผู้อื่นอย่างไร

    (๔) ระลึกรู้ว่าเลี้ยงชีพถูกต้องหรือไม่

    (๕) ระลึกรู้ในความเพียรของตนว่ามีความเพียรใดที่ต้องปฏิบัติ

    (๖) ระลึกรู้ใจตนอยู่เสมอว่ามีอารมณ์อะไรที่ยังต้องละ
    ใจยังมีโลภะ โทสะ โมหะ ราคะ อย่างไร ต้องแก้ไขด้วยธรรมหมวดอะไร

    สมาธิวิจยะ

    เลือกการปฏิบัติในการทำสมาธิ
    พิจารณาว่าทำสมาธิอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ เป็นสัมมาสมาธิหรือไม่
    หรือเป็นการทำสมาธิที่หลง เป็นวิปัสสนูปกิเลส

    เหล่านี้คือสิ่งที่เราควรเลือกเฟ้น
    ถ้าทำอยู่ตลอดเวลาที่นึกได้
    ปัญญาที่ทำให้รู้ ให้ตื่นให้เบิกบาน ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติแน่นอน
    (รวบรวมและเรียบเรียงจาก :
    ๑. ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง (ตอน ๒) โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),
    สำนักพิมพ์ระฆังทอง นครปฐม พ.ศ. ๒๕๔๗
    ๒. ทวนกระแสโลก พบกระแสธรรม โดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญโญ,
    สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๕๒)


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  13. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    พุทธโอสถ


    โอวาทธรรม
    ของ
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


    โรคหัวใจที่ตัวใหญ่ๆ มีอยู่ ๓ ตัว คือ โลภ โกรธ หลง
    โรคนี้เปรียบเหมือนกับโรคมะเร็ง มันกินติดต่อลุกลามถึงคนอื่นด้วย
    เข้าใกล้ลูกติดลูก เข้าใกล้หลานติดหลาน เข้าใกล้เพื่อนติดเพื่อน
    เข้าใกล้ใครก็ติดคนนั้น ทำอันตรายทั้งแก่ตนและผู้อื่น

    โรคที่เล็กหน่อยรองลงมาก็มีอยู่ ๕ ตัว
    กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
    โรคนี้เปรียบเหมือนโรคขี้กลาก ใจมันหยิบๆ แยบๆ แลบไปโน่นมานี่ อยู่นิ่งไม่ได้
    โรคนี้รักษายาก นายแพทย์ก็ไม่สามารถจะเยียวยาได้
    นอกจากใช้ พุทธโอสถ

    แต่โรคที่สำคัญก็มีอยู่ ๒ ตัวเท่านั้น คือ อวิชชา กับ ตัณหา
    โรคนี้เปรียบเหมือนกับโรควัณโรค
    เพราะเป็นโรคผู้ดี มองภายนอกไม่ใคร่เห็น
    หน้าตาก็ดี ผิวพรรณเหลือง แต่ตัวเชื้อโรคมักค่อยๆ เกาะกินอยู่ภายใน
    โดยเจ้าของไม่รู้สึกตัว โรคนี้มันกินลึกซึ้งมาก
    กินถึงกระดูก ขั้วปอด ขั้วหัวใจ
    อวิชชามันแทรกในหัวใจก็ไม่รู้สึกตัว
    ตัณหามันแทรกอยู่ในหัวใจก็ไม่รู้สึกตัว
    โรคอย่างนี้คนกลัวกันมาก เพราะมันร้ายกว่าโรคอย่างอื่น
    โรค ๒ โรคนี้ไม่มียาอะไรแก้ได้นอกจาก พุทธโอสถ คือ สมาธิ ปัญญา

    ยาขนานนี้ใช้บำบัดโรคได้อย่างดี มากก็จะเหลือน้อย โรคน้อยก็จะบรรเทา
    โรคหัวใจเป็นเข้าแล้วมันร้ายมาก โรคที่เนื้อที่หนังเขาก็ยังรักษาด้วยยาภายนอกได้

    สมาธิ

    การนั่งสมาธิ เราจะต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกของเรา
    เหมือนกับคนที่นั่งเฝ้าประตูอยู่ เมื่อมีใครผ่านเข้าออกไปมา
    เราจะต้องคอยสังเกตดูว่า
    คนๆ นั้นมีลักษณะหน้าตาและท่าทางเป็นอย่างไร
    หรือจะเปรียบอีกอย่างก็เหมือนกับเจ้าของวัว
    ที่คอยเฝ้าดูวัวของตัวอยู่ที่หน้าประตูคอก จะต้องสังเกตให้ดีว่า
    วัวที่เดินเข้าไปนั้นเป็นวัวแดงหรือวัวดำวัวขาวหรือวัวด่าง
    แล้วเมื่อเดินเข้าไปแล้วมันไปหยุดนอนที่ตรงไหน
    ท่าทางนอนของมันเป็นอย่างไร มันหมอบอยู่หรือนอนตะแคง
    มองดูอยู่จนกว่ามันจะลุกขึ้นจากที่นอนและเดินกลับออกไปจากคอก
    เวลากลับเราก็ต้องสังเกตดูอีก ว่ามันเดินหรือมันวิ่ง เดินช้าหรือเดินเร็ว
    เมื่อตัวเก่าเดินออกไปแล้ว พอตัวใหม่เดินเข้ามาอีก เราก็ตามดูมันอย่างนี้อีก
    แล้วเราก็จะจำวัวที่เข้าไปในคอกของเราได้ทุกๆ ตัว

    เวลาหายใจเข้า ลมภายในจะต้องสะเทือนให้ทั่วถึงกันทั้ง ๓ ส่วน
    มี ปอด หัวใจ ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ซี่โครง กระดูก สันหลัง เป็นต้น
    ถ้าไม่สะเทือนทั่วนั่นไม่ใช่ผลของสมาธิ

    การทำสมาธิจะบังเกิดผลอันสมบูรณ์ก็ด้วยมีจิตเป็นผู้สั่ง
    มีสติเป็นที่ทำงานและเป็นผู้ช่วยสนับสนุนในการประกอบกิจการให้เจริญก้าวหน้า
    มีสัมปชัญญะเป็นผู้ตรวจสอบในงานที่ทำนั้น
    ถ้าพูดทางกัมมัฏฐาน ก็คือ สติสัมปชัญญะ
    ถ้าพูดทางสมาธิ ก็คือ วิตก วิจาร นี้เป็นตัวให้เกิดปัญญา

    ปัญญา

    ปัญญา เกิดแต่การสังเกตหาเหตุหาผล
    รู้แต่ผลไม่รู้เหตุก็ใช้ไม่ได้ รู้แต่เหตุไม่รู้ผลก็ใช้ไม่ได้
    ต้องรู้พร้อมทั้งเหตุและผล รู้ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ
    ที่เรียกว่า สติสัมปชาโน คือ ความรู้รอบอันสมบูรณ์

    ปัญญาแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ

    ๑.) วิชชาปัญญา
    ปัญญาซึ่งเกิดจากความรู้ในเรื่องของโรคอย่างหนึ่ง
    (โรคทางใจที่ท่านกล่าวในตอนต้นบท-เพิ่มเติม)
    ปัญญาชนิดนี้เป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษา
    หรือสดับตรับฟังมาจากคำที่คนอื่นบอกเล่า
    ปัญญาอย่างนี้ช่วยตัวเองให้มีความสุขได้ในโลก แต่ยังไม่พ้นทุกข์

    ๒.) ปัญญาสมาธิ
    อีกอย่างหนึ่งเป็นปัญญาซึ่งเกิดจากการปฏิบัติธรรม
    เป็นปัญญาที่เกิดจากการที่เราทำให้มีขึ้นในตัวเราเอง
    ปัญญาชนิดนี้แหละ เรียกว่า "พุทโธ" เป็นปัญญาที่ช่วยตัวเองให้พ้นทุกข์ได้

    พุทธศาสนา หรือ พุทธศาสนิกชน นี้ก็เกิดจากความหมายทำนองเดียวกัน
    คือ จะต้องเป็นไปพร้อมด้วยเหตุและผล
    สิ่งใดที่มิได้ประกอบด้วยเหตุและผลแล้ว
    สิ่งนั้นก็มิใช่ พุทธศาสนา และ มิใช่ พุทธศาสนิกชน ด้วย
    (อย่าว่าแต่พวกโยมที่มานั่งอยู่นี่เลย แม้แต่โกนผมนุ่งเหลืองอย่างนี้
    พระองค์ก็ยังไม่ทรงรับรองว่า ใช่ เพราะอาจจะออกไปเข้าศาสนาอื่นเมื่อไรก็ได้)

    ความรอบรู้ที่เกิดจากการที่ทำให้มีขึ้น, เป็นขึ้นในตัวเองนั้น
    เป็นความรู้ที่เกิดแต่เหตุและผล ไม่ใช่ความรู้ที่ได้จากตำรับตำรา
    หรือได้ยินได้ฟังและจดจำมาจากคนอื่น หรือ คิดเอา นึกเอา เดาเอา
    ตัวอย่างเช่น เรามีเงิน (เหรียญบาท) อยู่ในกระเป๋า
    เราก็รู้ได้เพียงเขาบอกว่า นั่นมันเป็นเงิน หาได้รู้จักถึงคุณภาพของมันไม่
    แต่ถ้าเรานำเงินนั้นไปทดลองถลุงไฟดู
    ค้นคว้าหาเหตุผลตัวจริงของมันว่าเกิดมาจากอะไร
    มาแต่ไหนและใช้ประกอบอะไรได้บ้าง เช่นนี้เราก็จะรู้ได้ถึงคุณภาพตัวจริงของมัน
    นี่เป็นความรู้อันเกิดจากการกระทำขึ้นในตัวของเราเอง

    ความรู้นี้ยังแยกออกไปได้อีก ๖ ส่วน
    เช่น เราจะรู้ได้จากตัวของเราเองว่า เหตุบางอย่างเกี่ยวกับธาตุ
    บางอย่างเกี่ยวกับจิตใจ บางอย่างเกี่ยวกับจิตแต่ให้ผลทางกาย
    บางอย่างเกี่ยวกับกายแต่ให้ผลทางจิต
    บางอย่างต้องอาศัยเกี่ยวเนื่องกันทั้งทางจิตและทางกาย
    ความรู้อย่างนี้แหละเรียกว่า ภควา
    เราควรทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นในตัวเราจริงๆ
    ถ้าใครไม่ปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็น อวิชชา คือ โมหะ


    คัดลอกจากหนังสือ
    แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม
    โดย ชมรมกัลยาณธรรม
    ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
    กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๕๐-๕๑


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  14. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    สามมิติของชีวิต

    ผู้คนส่วนใหญ่มักอยากให้ชีวิตยืนยาว แต่ชีวิตมิใช่เส้นตรง หากยังมีมิติอื่นๆ ด้วย หากเปรียบชีวิตดังกระแสน้ำ ชีวิตก็ต้องมีอย่างน้อยสามมิติ คือ ยาว กว้าง และลึก ดังนั้น การมีอายุยืนยาวจึงไม่ช่วยให้ชีวิตสมบูรณ์ แต่จะต้องมีความกว้างด้วย นั่นคือ มีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์รู้สึกเชื่อมโยงกับสรรพชีวิต และรับผิดชอบส่วนรวม ชีวิตที่ยืนยาวแต่ใจแคบจิตเล็ก คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่อาทรเพื่อนมนุษย์ หรือไม่สนใจส่วนรวมเลย ย่อมเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ไม่ได้

    แต่นอกเหนือจากความกว้างแล้ว ชีวิตที่ดีต้องมีความลึกด้วย นั่นคือมีความลุ่มลึกในจิตใจ สามารถหยั่งถึงความสุขภายใน รวมทั้งประจักษ์แจ้งถึงความจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ นั่นคือ ความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ความจริงดังกล่าวซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกที่สุดของมนุษย์ ที่ยากจะหยั่งถึงได้หากขาดการใคร่ครวญด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง โดยปราศจากอคติและด้วยใจที่เป็นกลางอย่างแท้จริง

    ตราบใดที่มองไม่เห็นความจริงดังกล่าว เราก็จะถูกครอบงำด้วยความหลงและเกิดความสำคัญมั่นหมายในตัวตน หวงแหนในตัวตนและเห็นแก่ตัวเป็นอย่างยิ่ง ผลก็คือจิตใจคับแคบ ชีวิตตื้นเขิน แม้จะมีชีวิตยืนยาวแต่ก็หาประโยชน์มิได้ กลับสร้างปัญหามากมายให้แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น

    ที่มา: พระไพศาล วิสาโล


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  15. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขอบพระคุณ คุณลูกพลังค่ะ ที่เอาบทความ 3 แบบมาให้ได้ศึกษา ถึงความเป็นจริง.ความสุขของการมีเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนปราถนา เพราะคิดว่ามีเงินแล้วจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่ถ้าเราไม่รู้ค่าของมัน ก็จะทำให้เกิดทุกข์ได้ ถ้าเราใช้มันโดยประมาทใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นว่าเราอยากได้สิ่งใหนอะไรเราก็ซื้อเอาได้ อย่างเช่นว่าเราอยากซื้อรถสวยๆสักคันสองคันเราก็ทำได้เพราะว่าเรามีเงิน ถ้าเรารู้ค่ามัน ใช้มันในทางที่ถูกต้องความสุขนั้ก็จะอยู่ได้นาน. การศึกษาทุกๆคนก็อยากได้รับการศึกษาให้สูงๆ จะได้มีความรู้ความฉลาดสามารถได้ทำงานทำการดี มีหน้า มีตา มีคนยกย่องเชื่อถือ แต่ถ้ามีความรู้สุง แล้วใช้ไม่ถูก ความรู้นั้นก็จะเป็นเหมือนมีดสองคม เข้าหาตัวเองโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นคำพังเพยเขาว่าความรู้ท้วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด.นั่นก็เกิดทุกข์ได้ ความสุขในการมีเงินมีทองมันก็เป็นความสุขชั่วขณะชั่วคราวเท่านั้น แต่มันให้เกิดทุกข์ได้อย่างเช่นว่าเรามีเงินเรา ซื้อรถสวยๆหรู่ๆเราก็มีความสุข แต่ถ้าเราประมาทไม่หาความรู้และศึกษาก่อนใช้ เราประมาทขับมันชนต้นไม้ต้นไม้ไม่ตายเราตาย มันก็เกิดความทุกข์ ให้กับครอบครัว พ่อแม่พี่น้องและเพื่อนฝูง นั่นแหล่ะคือความสุขที่อยู่กับเราไม่นาน. ไม่มีความสุขอันใดจะเท่าสุขที่เราได้ค้นพบตัวของเราเอง นี่แหล่ะที่เราจะต้องค้นหาให้พบ.หวังว่าบทความนี้คงเป็นคติแก่ท่านผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อยนะคะขอบคุณค่ะ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  16. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825

    แต่ถ้าเจ้าบอกว่าดี แล้วทำไม๊ ไม่ปฎิบัติตามที่เจ้าบอกว่าๆๆๆๆ หล่ะ


    ขอบคุณพี่ภูค่ะ ที่มาเตือนสติ ขอน้อมรับไปพิจารณาและปรับปรุงการปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไปค่ะ...ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ -/\-
     
  17. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ขออนุโมทนาในธรรมทานของแม่นีด้วยนะค่ะ...สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

    "เราประมาทขับมันชนต้นไม้ ต้นไม้ไม่ตาย.....เราตาย"
    ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆ ถูกใจค่ะแม่นี ขออนุญาตขำ(วันอาทิตย์)นะค่ะ...ธรรมะพาเพลินจริงๆ ค่ะแม่นี ^_^
     
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ธรรมะสําหรับผู้ปฏิบัติต้องมี หรือเรียกง่ายๆว่า "อุปกรณ์ ในการปฏิบัติ" เหมือนกับเรียนหนังสือ ต้องมี สมุด ดินสอ เพราะฉะนั้นเราควรมี ๑. สติ สัมปชัญญะ ความเพียร ถ้าขาดก็จะเกิดผลต่อการปฏิบัติได้น้อยหรืออาจไม่เกิดผลเลยก็ได้ เหมือนการปรุงอาหารก็ต้องมีเครืองปรุงครบถ้าไม่ครบก็อาจจะไม่อร่อยได้ ถ้ามีแต่เกลือก็อาจจะเค็ม หรือมีแต่นํ้าตาลก็จะหวานเกินไป ๒. กําลังทั้ง๕ พละธรรม (ธรรมอันเกิดกําลัง ๕ อย่าง) คือ
    สัทธาพละ พลังคือความเชื่อ
    วิริยะพละ พลังคือความเพียร
    สติพละ พลังคือความระลึกได้
    สมาธิพละ พลังคือเกิดจากความตั้งจิตมั่น
    ปัญญาพละ พลังคือความรู้ทั่วชัด
    ต้องมีสมํ่าเสมอการปฏิบัติจึงจะเกิดผลโดยสมบูรณ์ ถ้ามีน้อยผลก็น้อยถ้ามีมากผลก็มากตามด้วย
    ๓.การปฏิบัติต้องถือเอาสติปัฏฐาน ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติธรรม สติ สัมปชัญญะ ความเพียร เรียกว่า ปธาน ๔คือ
    ๑.สังวรปธาน ความเพียรสํารวมไม่ให้บาปเกิด
    ๒.ปทานปธาน ความเพียรละบาป
    ๓.ภาวนาปธาน ความเพียรบําเพ็ญกุศลให้เกิดขื้น
    ๔.อนุรักขนาปธาน ความเพียรรักษาคุณงามความดีที่เกิดขื้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งๆขื้นไป
    ๔.ข้อคิดเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ในการปฏิบัติ "จิตอยู่กับจิต หมายถึงมรรค" คือหนทางที่จะดําเนินไปสู่ความดับทุกข์ ให้จิตอยู่กับคําบริกรรมดูจิตตัวเอง ผลอันจะเกิดจากจิตเห็นจิตคือ นิโรธ นิโรธ คือความดับทุกข์ ถ้าจิตออกจากนี้ไป ปรุงแต่งเห็นโน้น เห็นนี่ เป็น กิเลส ตัณหา เกิดสมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น จิตเห็นจิตคือมรรค ทางดําเนินไปสู่ความดับทุกข์ คือ นิโรธ ๑. จิตออกจากจิต คือสมุทัย
    ๒. ผลเกิดจากจิตออกจากจิต คือทุกข์
    ๓.จิตอยู่กับจิตหรือจิตเห็นจิต คือมรรค
    ๔.ผลจากจิตเห็นจิต คือ นิโรธ
    คติธรรมข้อคิดนี้ของหลวงปู่ พระมหาสวัสดิ์ อมโร(พระครูภาวนาวิสุทธาภรณ์)เจ้าอาวาสวัดเนรมิตวิปัสสนา ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย
    เพราะฉะนั้นจึงขอให้ทุกๆท่านจงได้เป็นผู้มี "อุปกรณ์"ในการดําเนินการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นด้วยเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  19. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=bMRDtTqJTSY]อยากให้ดู ก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้ดู - YouTube[/ame]


    พร้อมไหมที่จะเจอเหตุการณ์ต่างๆแบบนี้
    เห็นคนแตกตื่นข่าววันที่21 ที่จะถึงนี้ แต่ทำไมลืมคิดไปว่าตนเองจะอยู่ถึงวันพรุ่งนี้ไหม จะได้มีโอกาสได้ลืมตาดูตะวันของวันรุ่งขึ้นไหมก็ไม่รู้
    แล้วไหงเราดันไปกลัวกับความตายที่ยังไงมันก็ต้องมาแน่ๆกับร่างกายนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  20. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขันธ์ ขันธ์ก็เป็นขันธ์ตามธรรมชาติของเขา แต่เราก็ถือว่า ขันธ์นี้เป็นเรา เป็นของเรา ไม่อยากให้เกิดทุกข์ขึ้น และทุกข์ก็คือ คติธรรม ไตรลักษณ์ต้องอยู่ได้ในทุกสิ่ง ทุกสถานที่ที่เป็นสมมุติกายนี้ก็เป็นสมมุติ จึงเป็นเรือนของเขา เขาไม่อยู่ที่นี่จะให้เขาไปอยู่ที่ใหน จำเป็นเขาก็ต้องอยู่ที่นี่ เกิดที่นี่ ดับที่นี่ เข้าที่นี่ ออกที่นี่. ขันธ์มีอยู่ทุกอาการของขันธ์ รูปก็เป็นกองไตรลักษณ์ เวทนาก็เป็นไตรลักษณ์ สัญญาก็ไตรลักษณ์ สังขารก็ไตรลักษณ์ วิญญาณก็ไตรลักษณ์ เขาเป็นความจริงโดยสมบูรณ์อยู่แล้วตามความจริงของตน เราอย่าไปยึด อย่าไปสำคัญ อย่าไปปักปันเขตแดนเอาว่า นั้นเป็นเรา นี้เป็นของเรา เราก็จะสบาย นี่แหล่ะการพิจารณาทางด้านปัญญา ให้พิจารณาอย่างนี้ แต่ขันธ์ทั้งปวงก็จะคอยผุดคอยโผ่อยู่เรื่อยๆอยู่ที่ว่าเราจะมีปัญญาพิจารณาได้ขนาดใหน.ขอฝากไว้กับท่านผู้อ่านด้วยค่ะสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...