จะทำสติให้เกิดได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 7 เมษายน 2008.

  1. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ถ้าน้องมาจากดิน อยู่ กทม พี่แนะนำให้ลองไปห้องสมุดธรรมบ้านอารีย์ครับ แถวสถานีรถไฟฟ้าอารีย์
    ทุกวันเสาร์บ่ายๆ มีเสวนาธรรมเกี่ยวกับการดูจิต หรือการเจริญสติปัฏฐาน และมีหนังสือ cd ธรรมแจกฟรี

    ดูรายละเอียดได้ที่ http://baanaree.net/
     
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    การเจริญสติปัฏฐานก็เป็นไปเพื่อการพัฒนาจิต ดังนั้นจะเรียกว่าฝึกจิตก็ได้ครับ ส่วนใจเป็นอายตนะครับ
    -----------------------------------------------------------------------

    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ
    ภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป
    และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง
    สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์
    ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่
    ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม
    รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...
    ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก
    ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ
    สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ
    นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
    ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ
    นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง
    ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
    ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่
    ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน
    และภายนอก ๖ อยู่ ฯ

    <CENTER>จบอายตนบรรพ
    </CENTER>-----------------------------------------------------------------------
    พระสูตรดังกล่าวเป็นเรื่องอายตนะครับ จะว่าไปภาษาก็สำคัญสำหรับการถ่ายทอดสภาวะธรรมภายในออกไปยังบุคคลภายนอกให้รับรู้ ขอเพียงเข้าใจภาษาได้ตรงกันก็ใช้ได้ครับ

    แต่เนื่องจากข้อจำกัดของภาษาบางทีจึงต้องลงมือปฏิบัติธรรมกันก่อนแล้วจึงนำประสบการณ์ที่ได้พบมาพูดคุยเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นประกอบด้วยน่ะครับ โดยแปลตามตัวอักษรตรงตัวน่ะครับแล้วเทียบเคียงกับสภาวะหรือความรู้สึกภายในว่า คำๆนี้น่าจะตรงกับความรู้สึกหรือสภาวะเช่นไร
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่ออีกคำถามครับสงสัยมานานแล้ว นั่งสมาธิแล้วง่วง นั่งไปๆ หลับทั้งที่นั่งเลย แก้อย่างไรครับ แก้จุดนี้ไม่ตก
     
  4. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937

    สาเหตุคือกำลังสติไม่เพียงพอ วิธีแก้คือการเพิ่มกำลังสติให้มาก เพราะสติยิ่งมากยิ่งดี
    จะเลิกนั่งชั่วคราวหันมาลองเจริญสติให้เป็นก่อนก็ได้

    หรือจะเปลี่ยนอุบายการภาวนาเป็นการยืนนิ่งๆไม่ขยับหรือเดินไปเดินมาแล้วรู้ตัวในการเดินสัก 30 นาทีแล้วค่อยมานั่งจะสังเกตเห็นว่าจะนังแล้วหลับได้ยากขึ้น
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต้นกระทู้นี้ มีผู้ตอบคำถามไว้ว่า
    <O:p</O:p
    ตอบไม่ต้องไปคิดพัฒนาจิตหรอกเพราะจิตเป็นของเกิดดับ และไม่ใช่ตัวตนอะไรของเราสิ่งที่ควรจะทำก็คือการฝึกใจให้วนเวียนอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลเสมอๆ
    <O:p</O:p
    แต่เมื่อคุณ wit ได้กรุณาให้ความกระจ่างว่า
    <O:p</O:p
    การเจริญสติปัฏฐานก็เป็นไปเพื่อการพัฒนาจิต ดังนั้นจะเรียกว่า ฝึกจิต ก็ได้ครับ<O:p</O:p
    ส่วน ใจ เป็นอายตนะครับ
    <O:p</O:p
    ดูแย้งๆกันไหมครับ คุณ wit กล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการฝึกจิต
    พอเข้าใจ
    แต่ก็แย้งกับผู้ตอบดังกล่าว ว่าไม่ต้องพัฒนาจิตหรอก (ไม่ต้องฝึกมันหรอกจิตน่ะ) ฝึกใจให้วนเวียนอยู่กับกุศล... (ดีกว่า ความหมายคงประมาณเนี้ยครับ)
    <O:p</O:p
    ก็แย้งกับที่คุณ wit ว่า ใจ เป็นอายตนะ จึงสับสนว่า จิตกับใจ ไม่ใช่ความหมายเดียวกันหรอครับ <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2008
  6. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ลองย้อนไปอ่านพระสูตรที่ผมยกมาประกอบ ในคำตอบเรื่องจิต กับ เรื่อง อายตนะดูนะครับ แล้วลองทำความเข้าใจกับภาษาในพระสูตรก่อนว่าหมายความว่าอย่างไร จากนั้นคุณมาจากดินลองอธิบายตามที่คุณเข้าใจออกมาดูนะครับ
     
  7. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    เข้าใจง่ายๆแบบนี้ก่อนก็ได้ครับ จะพูดถึงขันธ์ 2 ขันธ์คือ(จิต)สังขาร กับ วิญญาณ

    บางสำนวนครูบาอาจารย์เรียก จิต กับ ใจ
    บางครูบาอาจารย์เรียก อารมณ์ กับ จิต
    บางครูบาอาจารย์เรียก อารมณ์ กับ ใจ

    แต่ก็คือสิ่งเดียวกัน คือ มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นในใจเรา กับ มีอีกสิ่งหนึ่งเป็นตัวรับรู้อารมณ์นั้น
    ส่วนภาษาสมมุติที่ผมเข้าใจง่ายๆ คือ อารมณ์กับ ใจ ( ตัวที่ไปรู้อารมณ์ )

    ขอแนะนำว่าลองไปศึกษา cd หลวงพ่อปราโมทย์ดูครับ เผื่อจะเข้าใจอะไรได้ดีขึ้นเพื่อเป็นต้นทางของการภาวนา เพราะถ้ามัวมาถามกันไปเรื่อยๆแบบนี้ สิ่งที่ได้คือความจำและอาการที่คิดว่าเข้าใจแล้ว แต่ไม่เห็นสภาวะความจริงในกาย ในใจเราเองแบบนี้พ้นทุกข์ไม่ได้
     
  8. keawnum

    keawnum Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +51
    ใจยึดอะไรมา ก็ปล่อยตัวนั้น รู้สึกว่า อยากหรือติดใจ หรือทุกข์สุขในตัวไหน ก็ปล่อยวางอันนั้น รู้อันไหนก่อนก็วางอันนั้น เช่นติดในรส ก็ดูว่าเพราะอะไรถึงติด ทำไมบางคนมันไม่ติดในรสนี้แบบเรา นี่แหละสติ

    ปล่อยวางไปเรื่อยๆ เมื่อรู้ตัวเมื่อไหร่ว่าลืม ก็รีบวางต่อไป นั่นแหละ สติ สมาธิ

    จดจ่อในสิ่งที่ทำ หาเหตุผลที่มาที่ไปของมันเสีย นั่นแหละสติ สมาธิ

    วางให้ได้ตลอดนั่นแหละ สติ สมาธิ

    นอกนั้นจะเทียบกับตำราก็ได้ แต่แบบนี้ง่ายสุดแล้ว

    อย่าเชื่อจนกว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเอง

    เจริญในธรรม
     
  9. wiwat911

    wiwat911 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +2
    อ่อ.....สติคืการระลึกได้ไม่ใช่หรือคับ ไอ่ สมาธินะมันมาพร้อมปัญญาไม่ใช่หรือคับ จิตยังไม่เข้าถึงสมาธิปัญญาก็ไม่เกิด ปัญญาเกิดมันก็เกิดญาณ ที่เรียกว่า.........ไม่บอกดีกว่าไปหาเอาเองนะ พวกหาจากตำราคงหายากหน่อยนะตำราเอาเป็นแนวทางนะพอได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2008
  10. keawnum

    keawnum Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +51
    เดินเล่น วิ่ง นอน คิด อ่านเขียน ถาม ตอบ กระทำทุกสิ่งทุกอันล้วนใช้สมาธิอยู่แล้วในตัวครับ เนื่องจากสมาธิคือตัวจดจ่อครับ จดจ่อเล่นเน็ตก็เป็นสมาธิครับ

    สติคือรู้ ระลึกว่าต้องทำสิ่งใดอันใด รู้อย่างไร มักจะมาคู่กัน เช่น

    เราอ่านหนังสือนานๆนี่เป็นสมาธิ สักพักแวปหันไปดูละครนี่ขาดสติ เลยหันหน้ากลับมาอ่านต่อ นี่คือสติ โดยมากสติสมาธิมักจะมาด้วยกันครับ

    อนุโมทนาในคำชี้แนะมากๆครับ
     
  11. den_siam2523

    den_siam2523 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +2,267
    สาธุ
    กายจะมีกำลัง ก็ต้องออกกำลังกาย จึงจะไช้กายได้เต้มที่แระมีประสิทธิภาพ
    จิตใจจะมีกำลัง ก็ต้องออกกำลังจิต จะได้มีกำลังของจิต ดูจิต
    มีสัมมาสมาธิ ดูกาย ดูจิต ได้ดี อย่าเชื่อนะครับ ลองดุ
     
  12. wiwat911

    wiwat911 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +2
    มั่วซิบ หาให้ตายก็ไม่รู้ถึงคำว่าอริยะสัจ4หรอก
     
  13. wiwat911

    wiwat911 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +2
    เออ....ไปศึกษามาใหม่ไป ถามจริงๆเถอะถ้ามีสติเข้าฌานได้ปะ เคยได้ยินคำนี้ปะ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ผมไม่เคยได้ยินคคำว่า สติ สมาธิ ปัญญาเลยวะ คนสมัยนี้เอาศีลไปไว้ที่ไหนกันวะ โอ้วววว แล้วอย่าจะไปนิพานกัน แย่วะ
     
  14. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ถ้า อริยสัจ 4 ก็ตามเนื้อหาในพระสูตรนี้ครับ อาจจะดูยาวหน่อย แต่ลองค่อยๆอ่านและทำความเข้าใจไปทีละนิดนะครับ ถ้าปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยได้ยิ่งดี ปฏิบัติแล้วก็ต้องหมั่นมาเทียบเคียงกับเนื้อหาในพระสูตรบ่อยๆน่ะครับ จะทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ

    -----------------------------------------------------------------------
    [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็
    เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น
    ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง
    ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์
    ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด
    ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน
    หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
    ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง
    เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
    ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
    ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
    ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ
    ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์
    นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
    ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
    ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ
    พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
    เรียกว่าโสกะ ฯ
    ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
    กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ
    บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง
    หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
    ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ
    เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
    ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ
    เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
    ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
    ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
    ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ
    ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
    ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่
    เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
    ก็เป็นทุกข์ ฯ
    ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ
    ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา
    ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก
    โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์
    หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็
    เป็นทุกข์ ฯ
    ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา
    ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ
    เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ
    ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ
    ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา
    ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้
    สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
    ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอ
    เราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง
    ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น
    ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ
    ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์
    ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
    เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
    เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
    เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์
    ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น
    ก็เป็นทุกข์ ฯ
    ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
    เป็นทุกข์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด
    อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิด-
    *เพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่
    ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา
    นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก
    ที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด
    ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน
    โลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
    มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน
    สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ
    ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
    ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก
    ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่
    ในที่นี้ ฯ
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม-
    *สัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ
    ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ
    สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม
    เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-
    *ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ
    ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
    ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
    ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก
    และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี
    อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน
    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
    จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล
    จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
    ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
    มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย
    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน
    สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
    ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก
    ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ
    ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา
    ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย
    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา
    โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ
    บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม
    ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็น
    ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ
    ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ
    จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
    นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน
    ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
    สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน
    ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
    สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อ
    เสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า
    สัมมาวาจา ฯ
    สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ
    เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา
    กัมมันตะ ฯ
    สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด
    เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
    สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม
    ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่
    เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง
    ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
    แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
    สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
    เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
    วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
    อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา-
    *สมาธิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภาย
    นอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
    เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
    เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ
    ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
    ธรรมในธรรมอยู่ ฯ

    <CENTER>จบสัจจบรรพ
    </CENTER><CENTER>จบธัมมานุปัสสนา
    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขันธ์ 5 ท่านว่า ได้แก่

    1.รูปขันธ์=ร่างกายนี่แหละ
    2.เวทนาขันธ์=สุขเวทนา ทุกข์เวทนา อุเบกขาเวทนา (เวทนาเจตสิก)
    3.สัญญาขันธ์=สัญญาเจตสิก
    4.สังขารขันธ์=เจตสิก 50 มีสติ ปัญญา เจตนา วิริยะเป็นต้น
    5.วิญญาณ ชื่อเรียกตามพระสูตร ส่วนจิต ชื่อที่ท่านเรียกตามอภิธรรม

    ส่วนใจก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของจิต

    อารมณ์ได้แก่สิ่งที่จิตนึกหน่วงไว้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจคิด)

    ว่าตามตำราผิดถูกประการใดขออภัยคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2008
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตัวสภาวะและสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น
    ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ
    ส่วนสมมุติ เป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์
    แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะ
    จะให้เป็นตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น
    ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่
    มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวายใหญ่ เพราะขัดความปรารถนาถูกบีบคั้นจึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2008
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มัชเฌนธรรมเทศนาคือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆตามธรรมชาติคือ ตามสภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันเอง ตามเหตุปัจจัยไม่ติดข้องในทิฏฐิ คือ ทฤษฎี หรือแนวความคิดเอียงสุดทั้งหลายที่มนุษย์วาดให้เข้ากับสัญญาที่ผิดพลาด และความยึดความอยากของตนที่จะให้โลกและชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    มัชเฌนธรรมเทศนา หมายถึงหลัก ปฏิจจสมุปบาทอันได้แก่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นพร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย
    กระบวนธรรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ (และความดับทุกข์) ของมนุษย์

    ปฏิจจสมุปบาท


    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14841ffic <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2008
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    (ความหมายมัชฌิมาปฏิปทา)

    มัชฌิมาปฏิปทา - การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า ปฏิปทา
    คำว่า ปฏิปทาในที่นี้มีความหมายจำเพาะหมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ หนทาง วิธีการ
    หรือวิธีดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงความดับทุกข์

    ปฏิปทาเช่นนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดวางไว้แล้วโดยสอดคล้องกับกระบวนการดับทุกข์
    ที่เป็น มัชเฌนธรรมเทศนา และทรงเรียกปฏิปทานั้นว่ามัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติมีในท่ามกลาง
    หรือ เรียกง่ายๆว่า ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีการ หรือทางดำเนินชีวิต
    ที่เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผล
    ตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมธรรมชาติ ไม่เอียงเข้าไปหาสุดสองข้างที่ทำให้ติดพัวพันอยู่หรือ เฉไถลออกไปนอกทาง
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มัชฌิมาปฏิปทานี้ มีชื่อเรียกอย่างง่ายๆว่า มรรค ซึ่งแปลว่า ทาง
    ทางนี้ มีส่วนประกอบ 8 อย่าง และทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอารยะชน
    จึงเรียกชื่อเต็มว่า อริยะอัฏฐังคิกมรรค หรือ อารยะอัษฎางคิกมรรค

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่านผู้เดินทางถูกต้องไปถึงจุดหมาย เคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้วทรงเปิดเผยแก่มวลมนุษย์ ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้แก่เวไนยชน (สํ.นิ.16/253/129)

    มรรคหรือมรรคานี้ เป็นวิธีปฏิบัติของมนุษย์ ที่จะทำให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์
    ของธรรมชาติ คือทำให้เหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลสืบทอดกันไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นตามกระบวนการ
    ของธรรมชาตินั้น
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้
    <O:p</O:p
    แต่อาจเป็นทางเชื่อมต่อนำไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่งและอาศัยความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน
    <O:p</O:p
    ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้นก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญาและการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือ แหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...