ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    โมทนาบุญกับ คุณ tanya และ ครอบครัวด้วยนะครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    เข้าซอยให้ถูก
    โดย พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

    เมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในสังคม บ่อยครั้งเราเลือกไม่ได้ว่า
    วันนี้จะมีคนดีหรือคนไม่ดีผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา
    เหมือนกับทุกการงานหรือความฝันใฝ่ของเรา
    เราก็เลือกไม่ได้ที่จะราบรื่นหรือมีอุปสรรค

    แต่สิ่งหนึ่ง เราสามารถเลือกได้และกำหนดได้ด้วยตนเอง
    คือเราเลือกที่จะขุ่นมัว หรือเลือกที่จะรักษาสันติสุขในหัวใจ

    มันไม่ได้อยู่ที่ว่าเพราะเขาเป็นคนไม่ดีเราจึงขุ่นมัว
    หรือเพราะว่าอุปสรรคจึงทำให้เราหงุดหงิด
    แต่มันอยู่ที่ว่าเราวางใจไว้ตรงไหนในหัวใจเรา

    ถ้าเราวางใจไว้ตรงการถือตัวว่าเราดีกว่า เราต้องชนะ
    การแพ้จะทำให้เรารู้สึกต่ำต้อย เวลาที่ไม่ได้รับการให้เกียรติ ไม่ได้รับความสำคัญ

    แค่กิริยาเมินเฉยของใครบางคน ก็อาจทำให้เราขุ่นมัวได้
    นั่นย่อมแปลว่าความทุกข์นั้นไม่เกิดเพราะเขาเป็นผู้กระทำต่อเรา
    แต่เพราะความไม่รู้ตามไม่จริง (อวิชชา) จึงทำให้เราวางใจไว้ผิด ในกรณีอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

    เราจะต้องเป็นผู้สมหวังเสมอไปหรือ
    แล้วทำไมเราจึงไม่ยอมรับว่าอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา
    การเป็นคนดีกับการเป็นคนมีอุปสรรคเป็นคนละเรื่องกัน

    ดังนั้นเวลาที่เรามีปัญหาขัดข้องในสิ่งที่เราทำ
    เราก็ไม่จำเป็นต้องตกนรกด้วยการทำใจให้หงุดหงิด ขุ่นมัว และอ้างว่าเราเป็นคนดี
    เรากำลังทำในสิ่งที่ดี หรือสำคัญ หรือสิ่งที่ยิ่งใหญ่มีประโยชน์
    เลยจำเป็นต้องหงุดหงิดกับอุปสรรค นั่นก็เป็นการวางใจไว้ผิดเช่นกัน
    เพราะอุปสรรคนั้นอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
    ความไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นเราบังคับบัญชาไม่ได้

    ดังนี้ ถ้าเราหงุดหงิดกับอุปสรรค แสดงว่าเรากำลังวิปลาส คือเห็นผิด
    เห็นว่าความไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นทุกข์เป็นสุข
    เห็นความไม่ใช่ตัวตนเป็นตัวตน
    และพยายามจะบังคับให้ทุกอย่างเป็นไปดังใจ
    โดยลืมความจริงไปว่าคนอื่น
    ก็ล้วนเกิดจากองค์ประกอบที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย
    ยิ่งทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนมาก
    ก็ย่อมต้องพบกับความผันผวนแลแปรปรวนมากเท่านั้น
    เหมือนเดินอยู่ท่ามกลางกระแสคลื่นที่อยู่โอบล้อมเรา
    เราจะกรีดร้อง หรือยิ้มอย่างเท่าทันต่อหัวใจของตัวเอง
    รักษาสมดุลย์อันสงบในหัวใจ และก้าวเดินอย่างงามสง่า
    เพราะในทุกๆ วินาทีที่คลื่นแห่งความแปรเปลี่ยนโอบกอดเรา
    เราเลือกได้ที่จะเอะอะโวยวาย คร่ำครวญ หรือเลือกที่จะมีศานติสุขในหัวใจ
    ไม่ผลักใจตัวเองให้ลงนรกด้วยความขุ่นมัว

    ในเมื่อความเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนนั้น
    เป็นกฎอันศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ

    พายุร้ายที่โหมกระหน่ำ ก็เคลื่อนตัวไปสู่ท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง
    รัตติกาลย่อมผลิแย้มดวงตะวันแห่งรุ่งอรุณ

    เราจึงเลือกได้ที่จะสงบสันติสุขอย่างผู้มีปัญญา
    ไม่หวาดหวั่นกับอุปสรรค
    เพราะอุปสรรคทำให้เราตกนรกไม่ได้
    ถ้าเราวางใจไว้ถูก ไม่แก้ปัญหาด้วยการทำใจให้เป็นอกุศล
    หรือแม้แต่ก่อความอยากที่จะพ้นจากภาวะอันขัดข้อง

    เพราะความอยากพ้นจากภาวะ ก็เป็นตัณหาตัวหนึ่ง
    ที่ให้ผลเป็นความบีบเค้นต่อจิตใจ
    นับเป็นการซ้ำเติมตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    ทุกข์ทางกายที่เราต้องประสบกันทุกคน
    เหมือนกับกำปั้นของธรรมชาติ ที่คอยเราด้วยทุกข์เล็กทุกข์น้อย
    แต่หากเราขาดสติ เราจะซ้ำเติมตัวเองอีกกำปั้นหนึ่ง ด้วยการวางใจไว้ผิด

    อุปสรรคย่อมเกิดขึ้นโดยธรรมดา
    แต่เราเลือกที่จะเครียดหรือไม่เครียด
    กายเรามีสิทธิ์ที่จะเจ็บป่วยตามธรรมชาติ
    แต่เราเลือกได้ที่จะเอากำปั้นเราทุบใจซ้ำ
    ด้วยความกังวลหงุดหงิด อยากให้หายดิ้นรน ที่จะพ้นจากภาวะ
    หรือวางใจให้เห็นธรรมชาติของกาย เวทนา ว่าไม่ใช่ของเรา
    ล้วนเป็นองค์ประกอบของเหตุปัจจัย

    แต่การวางใจไว้ถูก ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
    แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัญญาที่จะเข้าใจ ตามความเป็นจริง
    เหตุนั้นเองเราจึงจำเป็นต้อง เข้าใจวงจรปฏิจจสมุปบาท
    คือภาวะที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

    เช่น เราเลือกไม่ได้ที่จะให้คำพูดที่ไม่ดีมากระทบหูของเรา แล้วไหลตกลงไปสู่ในใจ
    การรับรู้เกิดขึ้นแล้วตรงนั้น เสี้ยววินาทีแห่งสายฟ้าแลบนั้น เราเลือกได้ที่จะโกรธหรือไม่โกรธ
    โต้ตอบหรือสงบอย่างรู้เท่าทัน ถึงผลที่จะตามมา
    ในช่วงวินาทีแห่งสายฟ้าแลบนั้น เราอาจะเผลอถูกย้อมอารมณ์กลายเป็นปฏิกิริยา
    มารู้สึกตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว วิธีคือเราต้องวางใจให้ถูกต้องเสียก่อน

    คือเข้าซอยถูก ที่ปากซอยปักป้ายไว้ว่า สัมมาทิฏฐิ
    คือ เมื่อมีความเป็นที่ถูกต้อง จึงมีดำริที่ถูกต้อง คือ สัมมาสังกัปปะ
    คือวางไว้ในใจว่า จะเสียสละ จะเมตตา จะกรุณา
    เมื่อวางใจในลักษณะบวก (+) เช่นนี้
    แม้จะถูกคลื่นลบ (-) มารบกวน จิตก็ตกลงมายาก

    หากวางใจไว้เป็นลบอยู่ก่อนแล้ว
    คือหมกมุ่นพัวพันกับสิ่งสนองความอยาก
    หรือคิดในแง่ในแง่ร้ายเคียดแค้น ชิงชัง
    หรือคิดในแง่ที่จะเอาเปรียบ ข่มเหง
    การวางใจไว้ผิดเช่นนี้ ยิ่งกระทบก็ยิ่งทำให้ใจมืด
    เหมือนเดินเข้าปากซอยผิดตั้งแต่เริ่มต้น
    คือ ยิ่งเดิน ยิ่งมืดทึบ อึดอัด คับตัน

    เป็นการดำริที่ทำให้ปัญญาดับ
    เป็นการเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น
    เพราะการวางใจไว้ผิดนั้น
    ก็เผาลนตัวเองอยู่ทุกขณะอยู่แล้ว ก่อนที่จะเผาไหม้ผู้อื่น
    เมื่อการกระทบนั้นไม่เป็นดังใจ
    ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกสิ่งซึ่งไหลโอบล้อม
    อยู่รอบกระแสแห่งชีวิตจะถูกใจไปทั้งหมด

    ดังนั้น การเข้าซอยถูกตั้งแต่เริ่มต้น ยิ่งเดินยิ่งสว่าง

    เมื่อเข้าซอยสัมมาทิฏฐิเห็นถูกต้อง
    ก็ทำให้เกิด สัมมามาสังกัปปะ ดำริคิดถูกต้อง
    ทำให้เกิด สัมมาวาจา พูดถูก
    สัมมากัมมันตะ คือมีกายในทางไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการฆ่าหรือขโมย
    สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ เว้นจากมิจฉาชีพ
    สัมมาวายามะ คือความเพียรคอยเร้าจิตให้มุ่งมั่น
    ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
    ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    และรักษากุศลที่มีอยู่ในใจให้เจริญยิ่งขึ้น
    สัมมาสติ ระลึกชอบ คือมีสติอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม
    สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจไว้ชอบ
    ความตั้งมั่นของจิตที่แน่วแน่นุ่มนวลควรแก่การงาน
    ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามจริง

    ดังนั้น การเริ่มต้นเริ่มเข้าซอยถูก
    เห็นถูก วางใจให้ถูกจึงยิ่งเดินยิ่งสว่าง

    ถึงแม้เราจะเลือกไม่ได้ว่าจะมีอุปสรรคระหว่างหนทางหรือไม่
    จะเจอคนดีหรือไม่ดี ไม่มีใครผลักใจเราให้ล้มลงได้
    ถ้าเราไม่ผลักใจ เราให้ลงนรกด้วยความขุ่นมัว...เราเลือกได้

    (ที่มา : "เข้าซอยให้ถูก" ในคำตอบของชีวิตปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๘๕-๘๙)

    ขอขอบคุณ
    www.pranippan.com
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๖ : กราบทูลขอพระเจ้าสุทโธทนะ กลับเทวทหนคร
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ 6 : กราบทูลขอพระเจ้าสุทโธทนะ กลับเทวทหนคร

    เมื่อพระนางมหามายาเทวีทรงบริหารพระโพธิสัตว์ ด้วยพระครรภ์ ๑๐ เดือนแล้ว มีพระครรภ์บริบูรณ์ มีพระประสงค์จะเสด็จไปเรือนพระญาติ (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ ภรรยามีครรภ์จะไม่คลอดที่เรือนของสามี แต่จะกลับไปคลอดที่เรือนสกุลแห่งตน) จึงกราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช

    [​IMG]

    พระราชาทรงอนุญาต แล้วโปรดให้ทำทางตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์ จนถึงเทวทหนครให้เรียบ และให้ประดับด้วยธงผ้า เป็นต้น ทรงโปรดให้พระนางประทับนั่งในวอทองใหม่ เสด็จไปด้วยสิริยศและบริวารกลุ่มใหญ่ ระหว่างพระนครทั้งสองมีมงคลสาลวันชื่อลุมพินี ที่ควรใช้สอยของชาวนครทั้งสอง

    [​IMG]
    [/SIZE]
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 20:51:48 น.-->"พรหมวิ(หาร)นาศธรรม 4เทศนาจาก ว.วชิรเมธี ธรรมะที่น่าอ่าน"
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พรหมวินาศธรรม เทศนาจาก ว.วชิรเมธี [/SIZE]
    [SIZE=-1][คอลัมภ์สกู๊ป หน้า 1 น.ส.พ.ไทยรัฐ วันพุธ ที่ 28 พ.ค. 51 - 16:57][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย [/SIZE]
    [SIZE=-1]............................................................[/SIZE]

    [SIZE=-1]"เวลานี้...สังคมไทยกำลังเกิดวิกฤติผู้ใหญ่ในบ้านเมือง"[/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพแห่งการตื่นรู้สู่อิสรภาพ บอก[/SIZE]

    [SIZE=-1]ผู้ใหญ่ที่เป็นหลักของบ้านเมืองถูกดึงมาสนองเกมการเมืองจนมอมแมมไปตามๆกัน ไม่ว่าจะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ราษฎรอาวุโส นายแพทย์อาวุโส พระชั้นผู้ใหญ่ นักคิดนักวิชาการ ปัญญาชนชั้นนำ[/SIZE]

    [SIZE=-1]
     
  6. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    วันนี้(30 พ.ค. 2551)ผมได้โอนเงินเข้าบัญชีให้แล้วครับ 200 บาท
     
  7. แมงกะพรุน

    แมงกะพรุน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +1,267
    ขอร่วมทำบุญด้วยครับ โอนแล้ววันที่ 30/05/51 เงิน 521 บาท เข้าบัญชี ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
     
  8. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    "จิต"คือเครื่อง Record "กรรม"

    การที่จะเข้าใจในเรื่องลำดับกาลเวลาที่ให้ผลของกรรมนั้น จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องการทำงานของจิต ในขณะได้รับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ (วิถีจิต) เสียก่อน เพราะจิตเกิดขึ้นแต่ละขณะนั้นมีเหตุปัจจัย และหน้าที่ต่างๆ กันไปตามกิจของเขา โดยทั่วไปเรามักตั้งข้อสงสัยว่า การกระทำของกรรมแต่ละครั้ง ใครเป็นผู้จดจำหรือบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งใช้เวลาอันยาวนานยิ่งนัก

    ในหลักของพระพุทธศาสนาจึงได้นำเรื่องของวิถีจิตมากล่าวอธิบายไว้ เพื่อกันความเข้าใจผิด ตราบใดที่มนุษย์เรายังมีลมหายใจอยู่นั้น จิตของมนุษย์ย่อมมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ในช่วงลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับถึงแสนล้านของล้านครั้ง ซึ่งนับว่าจิตเกิดดับรวดเร็วมาก.

    ลักษณะการเกิดดับนี้มีชื่อเรียกต่างกันคือ.

    อุปปาทขณะ คือ ขณะที่จิตเกิดอยู่

    ฐิติขณะ คือ ขณะที่จิตตั้งอยู่

    ภังคขณะ คือ ขณะที่จิตดับไป

    เมื่อรูปกระทบตาหรือกระทบหู การทำงานของจิตจะเกิดขึ้น เพื่อรับรู้อารมณ์ที่ตาและหู และจะทำงานทางใจ ( ที่มโนทวาร ) รูปกระทบจักขุปสาท ๑ ขณะ จิตจะเกิดดับติดต่อกันไป ๑๗ ขณะใหญ่ ในวิถีเดียวกันทำให้ภวังคจิตเกิดดับ ๓ ขณะ เหลืออีก ๑๔ ขณะสิ้นสุดวิถี จะทำงานที่จักขุวัตถุเสีย ๑ ขณะ จะเป็นวิถีของรูปที่กำลังปรากฏขณะนั้น นอกจากนั้นที่เหลืออีก ๑๓ ขณะ จะเป็นวิถีของรูปและนามอีก ๔ ขณะ เพื่อใก้สัญญาเดิมมาตัดสินว่า.. รูปที่เห็นนั้นเคยเห็นมาก่อนหรือเปล่า เมื่อรู้และตัดสินแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจิตต่อมา รับเสพอารมณ์ทันทีว่า มีความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ จิตที่ทำหน้าที่เสพเสวยอารมณ์นี้ เรียกว่า ชวนจิต บุญหรือบาป จึงเกิดขึ้นในชวนจิต ๗ ขณะนี้เอง แล้วก็ส่งต่อให้จิตอีก ๒ ขณะรับช่วงประทับอารมณ์ไว้ต่อไป.

    ต่อจากนี้ จิตก็จะอยู่ในสภาพภวังค์ รักษาสัญชาตญาณภพชาติ ของความเป็นมนุษย์ไว้


    ดังนั้น ตัวการที่บันทึกบาปบุญไว้ ก็คือ ชวนจิต ดวงที่ ๑ ถึง ๗ นั่นเอง จะเป็นตัวส่งผลให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมได้รับผล ในโอกาสอันสมควร

    หน้าที่ของชวนจิต ๗ ดวง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ (ชวนจิต ๗)

    ดวงที่ ๑ มีกำลังน้อย ให้ผลในปัจจุบันชาติ เรียกว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลในชาติปัจจุบัน

    ดวงที่ ๗ เป็นตัวส่งผลในชาติหน้าต่อไป ซึ่งมีความสำคัญมาก เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม

    ดวงที่ ๒ ถึง ดวงที่ ๖ ( ๕ ขณะ ) จะส่งผลในชาตต่อๆไป เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม
    ---------------------------------------------------
    http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis2.files/thesis2.htm

    จิตเป็นปรมัตถธรรมประเภทหนึ่ง มีสามัญลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น

    จิตนี้แม้จะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน เพียงแต่แสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่มีอำนาจพิเศษ หรือเรียกว่า ความวิจิตร ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป 6 อย่าง หนึ่งในอำนาจนั้นก็คือ
    การ
    1.สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เอง หาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่ เรียกว่า ขันธสันดาน

    2.รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บไซท์พุทธวงศ์

    [​IMG]http://www.phuttawong.net
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    "ควบคุมใจ"

    "ควบคุมใจ"

    พระพุทธเจ้าว่าเราตถาคตเป็นผู้แนะนำสั่งสอนทาง ทางออกจากโลก ทางไปสวรรค์ก็ดี ทางไปนิพพานก็ดี เราตถาคตเป็นผู้แนะนำสั่งสอนให้เท่านั้นแหละ ตนนั่นแหละ พวกอุบาสก-อุบาสิกาทั้งหลายต้องทำเอาเอง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายพระสาวกทั้งหลาย ก็ทำเอาเองทั้งนั้น ตนแหละทำให้ตน ตนจะออกจากโลกก็แม่นตนตั้งอกตั้งใจทำใส่ตน ตนจะติดอยู่ในโลกก็แม่นใจของตนไม่อยากไป เพราะหลงตนหลงตัว ทางปฏิบัติน่ะเราก็ได้ยินได้ฟังมาแล้ว แล้วก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเอา พระพุทธเจ้าแนะนำสั่งสอนหรือครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอน ก็ไม่หนึจากกายคตา คือปัญจกรรมฐาน นี่แหละ ต้องพิจารณา เราจะพิจารณานอกมันไปก็เป็นนอกไปเสีย ไกลไปเสีย เพื่อให้จิตให้ใจนั่นแหละรู้จักสกนธ์กายอันนี้ รู้จักก้อนอันนี้ ว่ามันเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นของกลาง ไม่ใช่ของใครสักคนเรานี้ได้สมบัติอย่างดีคือสกนธ์กายนี้ มีตา หู จมูก ลิ้น กายดี มีใจดี ได้สมบัติอันดีมาใช้ เราจะใช้สอยมัน เราจะเดินทางไปสวรรค์ก็ดี จะเดินทางไปพระนิพพานก็ดี ต้องอาศัยอันนี้ จะมีแต่ดวงจิตอย่างเดียว ก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้เทศน์ไว้ว่า มโนปุพพังคมาธ์มังมา มโสเสฎฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลาย จะทำดี ทำกุศลดีก็ใจนี่แหละ เป็นผู้ถึงก่อน เป็นผู้ถึงพร้อม จะทำบาปอกุศลก็ใจนี่แหละ จะผ่องแผ้วแจ่มใสเบิกบาน ก็ใจนี่แหละ จะเศร้าหมองขุ่นมัวก็ใจนี่แหละ ใจเศร้าหมองขุ่นมัวแล้วก็ไม่มีความสุขอยู่ในโลก จะอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข ครั้นใจผ่องแผ้วละก็ พระพุทธเจ้าท่านว่า
    มนะสาเจ ปสันเนนะ บุคคลผุ้มีใจผ่องแผ้วดีแล้ว แม้นจะพูดอยู่ก็มีความสุข แม้นจะทำอยู่ก็มีความสุข
    ตโตนะ สุขมะเนวติ อยู่ที่ไหน ๆ ก็มีความสุข มีความสุขเหมือนกะเงาเทียมตนไป
    ฉายา วะอนุปายินี เหมือนเงาเทียมตนไป ไปสวรรค์ก้ดี มามนุษย์ก็ดี เพราะเหตุนั้นแหละให้เราพากันตั้งใจอบรม ตั้งสติไว้ที่ใจ ควบคุมใจให้มีสติมีสัมปชัญญะ มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ การทำการพูดการคิดก็อย่าให้มันผิดมันพลาดไป ควบคุมให้มันถูก ครันมันผิดมันพลาดเราก็มีสติยั้งไว้ ละ ปล่อยวาง ไม่เอามันทางมันผิดน่ะ พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ทางไปนรก ทางไปสวรรค์ ทางไปพรหมโลก ทางไปพระนิพพาน พระองค์ก็บอกไว้แล้ว ให้วางกายให้เป็นสุจริต วาจาให้บริสุทธิ ใจให้บริสุทธิ์ นี้ทางไปสวรรค์ ทางมามนุษย์ ทางไปพระนิพพานให้บริสุทธิ์อย่างนี้ ทางไปนรกนั่นเรียกว่าทุจริตนั้น ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันนี้ทางไปนรก เราจะเว้นเสียไม่ไปละ รู้จักแล้ว เราจะไปแต่ทางที่ราบรื่น ทางสบาย การเดินก็ทางกายวาจาใจเท่านั้นแหละ ผู้ที่จะเที่ยวเอาภพเอาชาติ นับกัปป์ นับกัลป์ไม่ได้ตั้งแต่โลกเป็นโลกมา คือดวงจิตของเรานี่เอง ดวงจิตของเรานี่เอง เป็นผู้ก่อกรรมก่อเวรแล้วก่อเล่า ไม่เบื่อสักที ก็แม่นดวงจิตของเรานี่แหละ เพราะเหตุนั้นเราจึงต้องอบรมจิตใจของเราให้ดี ให้ใจรู้เสีย ใจนี่แหละมันเป็นผู้หลงจนนับภพนับชาติไม่ได้ ภพน้อยภพใหญ่ เที่ยวอยู่ในสังสารจักร์นี่ จึงให้เข้าใจเสียว่าเจ้ากรรมนายเวรคือใจ ตัวกรรมแม่นใจ ดวงใจอันเดียว วิญญาณอันเดียวเป็นตัวกรรม แต่งกรรมเสียแล้วให้เวียนตายเวียนเกิดที่นี่ ไม่เลิก เรารู้จักแล้วเราต้องควบคุมใจ แนะนำสั่งสอนใจ ทำใจของเราให้ผ่องแผ้ว ว่าเอาย่อ ๆ นี่แหละ กว้างขวางก็ได้ยินมาพอแฮงแล้ว เอาย่อ ๆ ควบคุมใจเท่านั้นและเดี๋ยวนี้ ใจนี้ เจ้าของนรกก็แม่นใจนี่แหละ ม่าง(เลิก, ทิ้ง) นรกก็แม่นใจนี่แหละ ครั้นมันไม่ดีละก็ร้อนเป็นทุกข์เหมือนใจจะขาด ครั้นใจไม่ดีละม้นกลุ้มใจเป็นทุกข์จนฆ่าตัวตายนี่แหละ ถือว่าเราเป็นเรา นี่ก็เพราะใจนี่แหละไม่ใช่อื่นดอก เราะมันไม่รู้ ท่านเรียกว่า อวิชชา ตัวใจนี่แหละอวิชชา เราจึงควรสดับตรับฟัง แล้วก็ค้นคว้าพิจารณาใคร่ครวญหาเหตผล ทุกข์มันมาจากไหน ให้พิจารณาทุกข์ก่อน ทุกข์เป็นของจริงอันประเสริฐ มันมาจากไหนค้นขึ้นไปซิ เห็นแต่มาจากโง่นั่นแหละ ดวงจิตเป็นผู้โง่ มันต้องเป็น มันต้องเดือดร้อน มันถึงใคร่ มันถึงปรารถนา มันถึงอยากเป็นนั่นเป็นนี่ มันไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะเกลียดเพราะชัง มันชังมันก็ม่อยากเป็น แล้วก็หาของมาแก้ไข หาคิดอีหยังมาทา หนังเหี่ยวก็เอามาทาลอกหนังออก มันได้กี่วัน มันก็เหี่ยวอย่างเก่า นี่หาทางแก้ดู ท่านว่าวิภวตัณหา มันเป็นกับดวงใจ เราสดับรับฟังอยู่ อบรมอยู่ทุกวันนี้ ทำความเพียรอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะอยากรู้จักใจของเรา ครั้นรู้แล้ว ก็คุมเอาแต่ใจนี่ขัดเกลาเอาแต่นี่ สั่งสอนเอาแต่นี่ ให้มันรู้เท่าสังขารนี่แหละ มันไม่รู้ เพราะมันโง่ว่าแม่นหมดทั้งก้อนนี้เป็นตัวเรา เป็นผู้หญิง ผู้ชาย ยึดถือไป ยึดถือออกไปรอบ ๆ แผ่นดิน ยึดในตัวยังไม่พอ ยึดแผ่นดินออกไปอีก นี่แหละเพราะความหลง ก็ยึด ทั้งการทำการงานทุกสิ่งทุกอย่าง เรียนวิชาศิลปะทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เพื่อจะบำรุงบำเรอครอบครัวของตน บำรุงบำเรอตนให้เป็นสุข บำรุงพระศาสนา ค้ำจุนพระศาสนาก็เป็นการดี ขอให้รู้เท่าแล้วอย่าไปยึดมันเท่านั้นแหละ ในปฏิจสมุปปบาทท่านว่า อวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ท่านว่าให้ดับความโง่อันเดียวเท่านั้น ผลดับหมด เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ ธรรมทั้งหลายคือ ดีก็ดี ชั่วก็ดี ไหลมาแต่เหตุคือความโง่ ความไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นตัวตน ก็ได้รับผลเป็นสุขเป็นทุกข์สืบไป ท่านเรียกว่า วัฎฎะ การวน วนไม่มีที่สิ้นสุด เราท่องเที่ยวอยู่นี่ตั้งแต่แผ่นดินเป็นแผ่นดินมาแล้ว ทุกคนนี่แหละ คุณหมอก็ดี คุณหญิงก็ดี เกิดมาชาตินี้นับว่าบุญบารมีอันพวกท่านทั้งหลายได้อบรม ศีลห้า ศีลแปด รักษาอุโบสถ รักษากรรมบทสิบ จึงเป็นผู้สมบูรณ์บริบุรณ์ เกิดมาก็ไม่เป็นผู้เกียจคร้าน ไม่เป็นผู้มัหน่าย มีความพอใจแสวงหาวิชาศิลปะ จนได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นสูง นี่ก็เพราะบุญกุศลของเราได้สร้างสมอบรมมา จึงว่า
    ปุพเพจะ กตุปุญญะตา คือบุญได้สร้างสมไว้แล้วแต่กาลก่อน แล้วก็ได้เกิดในประเทศอันสมควร ประเทศอันสมควรก็หมายเอาสกนธ์กายอันนี้ หรือจะหมายเอาแผ่นดิน ฟ้า อากาศก็ได้ หรือจะหมายเอาประเทศที่มีพระพุทธศาสนาตั้งมั่นถาวร และมีอาจารย์ นักปราชญ์แนะนำสั่งสอนได้ อันนี้ก็ว่าประเทศอันสมควร
    ปุพเพจะ กตะปญญะตา พวกเราได้เคยอบรมสร้างสมบุญกุศลมาหลายภพหลายชาติแล้ว วจึงเป็นผู้บริบูรณ์สมบูรณ์ แล้วก็ได้เกิดในประเทศอันสมควร ประเทศ เราได้นับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่บรรพบุรุษจนตราบเท่าทุกวันนี้ เราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนา แล้วก็ได้ตั้งตนไว้ในที่ชอบ คือตั้งตนไว้ในการสดับตรับฟัง ทราบทุกสิ่งทุกอย่าง ในทางโลกก็ดี เกื้อกูลอุดหนุนโลกให้เจริญ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอัตตประโยชน์ ประโยชน์ของตนก็ได้แล้ว ประโยชน์ของผู้อื่น ของโลก ก็ได้อยู่ นี่แหละชื่อว่าตั้งตนไว้ในที่ชอบ แล้วก็ตั้งตนอยู่ในศีล ในการภาวนา ตั้งตนอยู่ในการสดับรับฟัง นี่เรียกว่า อัตตสัมมาปนิธิ ตั้งตนในที่ชอบท่านกล่าวว่าเป็นมงคลอันประเสริฐสุด ให้มีสติควบคุมใจของตน อันนี้ก็ชื่อว่าตั้งตนไว้ในที่ชอบอย่างสูงสุด นี่แหละ ให้ควบคุมดวงจิตของเราให้รู้จักเสีย เจ้ากรรมนายเวรก็คือดวงจิตของเรานี่แหละ ผีนรกก็เป็นดวงจิตอันนี้ สวรรค์ก็เป็นดวงจิตอันนี้ พรหมโลกก็ดวงจิตอันนี้ ครั้นรู้จักแล้ว ก็ทำความเพียรต่อไปจนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในอัตตภาพของตนที่เป็นมาหลายภพหลายชาติ การเกิดเวียนไปเวียนมาก็ไม่ได้อะไร มีแต่การสดับรับฟัง มีแต่การบริจาคให้ทาน มีแต่ศีลของตนเท่านี้เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายในติดตามไปกับดวงจิตของเราทุกภพทุกชาติจิตเมื่อมันทำความชั่วไว้แล้วก็ไม่ลืม ใครไม่ต้องการสักคนหมดทั้งนั้นความชั่วบาปกรรม ให้คิดดู แต่นักโทษเขาลักเขาปล้นสดมภ์แล้ว เขาก็หลบหนีไปซ่อนอยู่ตามป่าเขาตามถ้ำตามดง เพราะเขาไม่ปรารถนาจะให้พวกตำรวจไปจับเขา อันนั้นมันก็ไม่พ้นดอกบาปน่ะ ฉันใดก็ดี ครั้นทำลงแล้ว ทำบาปอกุศลจิตก็เป็นผู้จำเอา ไปตกนรกก็แม่นดวงจิตนั่นแหละเป็นผู้ไปตก อัตตภาพคือร่างกายของเรานี้มันก็นอนทับดิน ส่วนดินมันก็เป็นดิน ส่วนน้ำมันก็เป็นน้ำ ส่วนลมส่วนไฟ มันก็เป็นลมเป็นไฟของเก่ามัน ครั้นพ่นแล้วก็กลับมาถือเอาดินเอาน้ำของเก่าอีกเท่านั้นแหละ แล้วก็มาใช้ดินน้ำไฟลมนี่แหละครบบริบูรณ์ เอามาใช้ในทางดีทางชอบ ก็เป็นเหตุให้ได้สำเร็จมรรคผลพระนิพพาน พระพุทธเจ้าสร้างบารมีก็อาศัยดินอันนี้แหละ ประเทศอันสมควรอันนี้แหละ สาวกจะไปพระนิพพานตามพระพุทธองค์ก็อาศัยอัตตภาพอันนี้ ครั้นไม่อาศัยอัตตภาพอันนี้มีแต่ดวงจิตหร้อมีแต่ร่างซื่อ ๆ ก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งนั้น เหมือนกันทั้งนั้น พวกเทพยดาได้ชมวิมานชมความสุขอยู่ตลอดชีวิต ชมบุญชมกุศล ก็ทำเอามาแต่เมืองมนุษย์ ครั้นจุติแล้วก็ได้ไปเสวยผลบุญกุศลของตน ครั้นหมดบุญแล้วก็ลงมาเมืองมนุษย์มาสร้างอีกแล้วแต่จะสร้างเอา อันชอบบุญ ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอาบุญ อันชอบบาป ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอาบาป เหมือนพระเทวทัตนั่น ต่างคนต่างไปอย่างนั้น อาตมาบอกไว้เท่านั้นว่าให้มีสติคุมดวงจิต สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตวอเวจีแก็แม่นจิต พระอินทร์พระพรหมก็แม่นจิต ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร จิตไม่มีตนมีตัว จิตเหมือนวอก(ลิง) นี่แหละ แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามันไม่ได้ แล้วแต่มันจะปรุงจะแต่ง บอกไม่ได้ ไหว้ไม่ฟัง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั่นแหละเป็นผู้ว่า มันไม่มีตนไม่มีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสีย ให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพานหละ แน่ะพระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้นมันไม่อยู่ที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อ่านไปพิจารณาที่อื่น ให้ค้นที่สกนธ์กายของตน ให้มันเห็นเป็นอสุภะอสุภัง ให้เห็นเป็นของปฏิกูลให้เกิดนิพพานความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ แต่กี้มันเห็นว่าเป็นขอสวยของงามของดี ดวงจิตนั่นเมื่อมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะ ค้นหาเหตุผล ใคร่ครวญอยู่มันเลยรู้เห็นว่าอัตตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล ของเน่าเปื่อยผุพัง แล้วมันจะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย จิตนั่นแหละเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้ว เรียกว่า จิตหลุดพ้น ถึงวิมุตติ์ วิมุตติ์ คือความหลุดพ้นจากความยึดถือ หลุดพ้นจากอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา




    พระธรรมเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บไซท์พุทธวงศ์

    [​IMG]
    http://www.phuttawong.net
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    ฝันทั้งที่ลืมตาตื่น


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย)
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์)
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้)

    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
    (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง)


    อย่าส่งจิตออกนอก

    จิตคิด จิตถูกทำลาย

    (เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลัง ฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง)
    (ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ)

    "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง"

    "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ"

    "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง"

    "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง"

    "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง" </TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา , พระธรรมเทศนา หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม สุรินทร์http://www.dhammathai.org/store/talk/view.php?No=406 <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗ : ประสูติ
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ 7 : ประสูติ

    ทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน
    ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหนคร

    เมื่อพระนางเสด็จเข้าไปถึง ณ ป่าลุมพินีวัน ในวันนั้น ต้นมงคลสาละกำลังออกดอกบานสะพรั่งไปหมดตั้งแต่โคนไปถึงยอด เพราะทรงเห็นป่างามเหมือนสวนนันทวัน อันเป็นที่สำราญแห่งเทพ พระนางจึงคิดจะเที่ยวชมสวนสาลtวันนั้น

    พระนางเสด็จเข้าไปยังลุมพินีวัน แล้วเสด็จไปยังโคนต้นมงคลสาละ มีพระประสงค์จะจับกิ่งใดของมงคลสาละนั้น ซึ่งมีลำต้นกลมเรียบและตรง ประดับด้วยดอกผลและใบอ่อน กิ่งมลคลสาละนั้นก็น้อมลงเองถึงฝ่าพระกรของพระนาง พระนางก็ทรงจับกิ่งสาละนั้นด้วยพระกรขวา ซึ่งประดับด้วยกำไลพระกรทองใหม่ ในทันทีนั้นเองเมื่อทรงมีพระอาการจะประสูติ ข้าราชบริพารก็กั้นม่านเป็นกำแพงแล้วหลีกไป พระนางเมื่อประทับยืนจับกิ่งสาละอยู่นั่นเอง พระโพธิสัตว์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระนางนั้น

    [​IMG]

    ในทันใดนั้น ท้าวมหาพรหมผู้มีจิตบริสุทธิ์ ๔ พระองค์ ก็ถือข่ายทองมารองรับพระโพธิสัตว์ วางไว้เบื้องพระพักตร์พระชนนีตรัสว่า
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097



    [​IMG]

    พระประจำวันอาทิตย์ : พระปางถวายเนตร

    พุทธประวัติ
    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ และประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ใต้ต้นมหาโพธิ์ ครบ 7 วันแล้ว ในสัปดาห์ที่ 2 จึงเสด็จลุกจากพุทธบัลลังก์ใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ลืมพระเนตรเพ่งดูพระมหาโพธิ์พฤกษ์ โดยมิได้กระพริบพระเนตรเป็นเวลาเจ็ดวัน ตั้งแต่แรม 8 ค่ำเดือนวิสาขะ สถานที่แห่งนั้นได้นามเรียกว่า "อนิมิสเจดีย์" พระพุทธจริยาที่ทรงเพิ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้ทรงกะพริบพระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ อนึ่งต้นไม้อสัตถโพธิ์พฤกษ์อันเป็นสถานที่กำเนิด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สำหรับชำระกิเลสและปลดเปลื้องความทุกข์แก่ชาวโลก จึงได้มีนามตามการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์พฤกษ์ .

    ดวงชะตา
    สิทธิการิยะ ท่านว่าคนเกิดวันอาทิตย์นั้นเป็นคนมีความมาดมั่น มุ่งมั่นในงาน มีความว่องไว แต่มักฉุนเฉียวง่าย การตัดสินใจมักขาดความยั้งคิด โบราณจารย์ท่านจึงให้พระพุทธปางถวายเนตรเป็นพระประจำวันเกิด เนื่องจากปางถวายเนตร เป็นปางยืนพิจารณาธรรมอันปิติ ในท่าสำรวม หมายถึงการกระทำอย่างมีสติ ดังนั้นเมื่อดาวอาทิตย์ เป็นตำแหน่งลักขณาที่มีอำนาจอยู่ในตัว

    พระเครื่องที่ถูกโฉลก
    พระเครื่องที่ผู้เกิดวันนี้ควรอาราธนาเพื่อความเป็นศิริมงคลนั้น ควรจะเป็นพระพิมพ์ที่ผ่านความร้อนจากไฟ เนื่องจากจะช่วยหนุนธาตุประจำตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเป็นพระปางมารวิชัย เนื่องจากเป็นพระพิมพ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะพญามาร เนื่องจากเจ้าชะตาผู้เกิดวันอาทิตย์ เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจประกอบอาชีพ จึงมักมีศัตรูหรือ อริ ซึ่งได้แก่ พระรอด ลำพูน , พระคง ลำพูน ,พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี , พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์มารวิชัย , พระกริ่งคลองตะเคียน อยุธยา , พระกรุวัดตะไกร อยุธยา , พระกรุขรัวอีโต้ วัดเลียบ กทม. ฯลฯ
    สรุป สำหรับคนที่เกิดวันอาทิตย์ พระคู่กายควรจะเป็น พระนั่งปางมารวิชัย
    หมายเหตุ : การแนะนำเรื่องพระตามโฉลกนี้ ผมคิดว่าไม่จำเป็นจะต้องหาตามตำราเป๊ะ ทั้ง 7 วันนี้ เพราะที่กล่าวมานั้นหายาก และแพงมาก เป็นพระสำหรับนักสะสมมากกว่า แต่พระปางนี้ที่สร้างใหม่ก็มีมาก บูชาจากวัดที่มีพิธีปลุกเสกอย่างถูกต้อง ก็น่าจะเหมาะและดีที่สุดแล้ว แต่พระเครื่องที่จะตรงกับปางพระพุทธรูป จะหายากเช่นกัน เพราะเขาไม่นิยมสร้างปางอื่นๆเลย นอกจากปางสมาธิและปางมารวิชัย

    คาถาสวดบูชา
    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง
    นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา
    วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม
    นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ

    อาหารที่ควรถวายพระประจำวันนี้
    อาหารคาว : ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ
    อาหารหวาน : ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะพร้าว น้ำขิง เงาะ
    สิ่งของถวายพระ : หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู
    การทำทาน : เติมน้ำมันตะเกียงตามวัด คนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา มูลนิธิคนตาบอด โรงพยาบาลโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
    การประพฤติตนของคนเกิดวันนี้ : ควรออกรับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลัง อย่าใจร้อน เลิกทิฐิ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
    สีมงคล : พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2008
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    หมวดอภินิหาร: ตำนานพญาครุฑ (นำมาให้อ่านเนื่องจากเห็นว่าสิ่งศักดิ์นั้นมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล แต่เหนือสิ่งอื่นใด พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ในบวรพุทธศาสนานั้น จริงแท้แน่นอนไม่มีอื่นหากปฏิบัติได้จริง ก็จะรู้เห็นจริงครับ) ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับ

    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&group=6&page=2


    <TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ตำนาน พญาครุฑ
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พญาครุฑ (Garuda)

    เมื่อเล่าเรื่องพญานาคไปแล้ว ก็ต้องมีเรื่องของพญาครุฑตามมาด้วย เพราะทั้งสองเป็นคู่กัดอมตะ เปรียบดังพังพอนกับงูเห่าหรือแมวกับหนู เจอกันเมื่อไหร่ เป็นต้องฟัดกันทุกที "พญาครุฑ" เป็นสัตว์ในตำนานที่มีถิ่นพำนักเป็นทิพย์วิมาน ณ ป่าหิมพานต์ แต่เป็นสัตว์ที่คนไทยรู้จักกันค่อนข้างดี และมีความเชื่อว่าพญาครุฑเป็นสิ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" เป็นของสูง เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ของไทยเรารับคติมาจากอินเดีย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้นครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ด้วยเหตุนี้ คนที่นับถือครุฑส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่าพญาครุฑจะมีความศักดิ์สิทธิ์ด้านอำนาจ บารมี ข้าราชการผู้ใดให้ความเคารพนับถือในองค์พญาครุฑ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง ข้าราชการผู้นั้นจะมีความสุขความเจริญทั้งชีวิตและหน้าที่การงานสืบไป คนที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ต้องการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง โดย เฉพาะกลุ่มทหาร ตำรวจ นั้นจะนับถือครุฑกันเกือบทุกคน

    [​IMG]

    [​IMG]

    เห็นไม่ถูกชะตากันอย่างนี้ แต่รู้หรือไม่ เขาเป็นพี่น้องกัน เทพเดรัจฉานมีฤทธิ์มากทั้งสองนี้ หนึ่งเป็นพญานาคราชจ้าวแห่งบาดาล และอีกหนึ่งคือพญาครุฑจ้าวแห่งเวหา พวกเขามีบิดาเดียวกันคือ มหาฤาษีกัสยปะเทพบิดรแต่คนละแม่ โดยพญาครุฑนั้นมีมารดาเป็นภรรยาหลวง ส่วนพญานาคนั้นมีแม่เป็นภรรยาคนรอง นางวินตาเป็นภรรยาหลวง เป็นธิดาของพระทักษประชาบดี ซึ่งมีธิดาถึง 50 องค์ และได้ยกให้พระกัศยปมุนี ถึง 13 องค์ อีกองค์ที่โด่งดังคือนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่ของนางวินตาเป็นภรรยาคนรอง นางกัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก จึงให้กำเนิด นาค ถึง 1,000 ตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียง 2 องค์ แต่ขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา จึงได้คลอดลูกออกมาคือ อรุณ และ ครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของพระสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดออกจากไข่ว่ากันว่ามีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาจะตกใจหนีหายไป รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ต่อมานางกัทรูและนางวินตามีเรื่องถกเถียงกันว่าม้าที่เกิดคราวทวยเทพและอสูรกวนน้ำอมฤตจะสีอะไร จึงพนันกันว่าใครแพ้จะต้องยกเป็นทาสของอีกฝ่าย 500 ปี นางวินตาทายว่าสีขาว นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาว แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบจึงต้องเป็นทาสถึง 500 ปี จึงทำให้ครุฑและนาคต่างไม่ถูกกันนับแต่นั้นมา และในที่สุดความผิดใจกันนี้ก็ลามไปถึงลูกของตนด้วย จึงเป็นเหตุให้นาคและครุฑไม่ถูกกันในเวลาต่อมานั่นเอง

    [​IMG]

    พญาครุฑนั้นมีนามว่าท้าวเวนไตย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสุบรรณ มีกายเป็นรัศมีสีทอง มีเดชอำนาจมากที่สุดในหมู่ครุฑทั้งหลาย อาศัยเกาะอยู่ตามต้นงิ้ว อาศัยผลงิ้วและน้ำดอกไม้จากต้นงิ้วเป็นอาหารทิพย์ มีวิมานทิพย์อยู่ที่เชิงเขาไกรลาส ลูกพญาครุฑจะโตขึ้นนับเวลาอายุเป็นข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติ เติบโตด้วยบุญกุศลที่เคยทำมา หากลูกครุฑตนใดที่มีบุญญาธิการมาก อำนาจบุญจะบันดาลให้เกิดผลงิ้วทิพย์และน้ำหวานจากดอกไม้มาบำเรอลูกครุฑตนนั้นๆ และลูกครุฑตนดังกล่าวจะจำเริญวัยได้อย่างรวดเร็ว

    [​IMG]

    เรื่องของพญาครุฑ ปรากฏในตำนานปรัมปราของอินเดีย และในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์มหาภารตะ , คัมภีร์ปุราณะ ที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าของพญาครุฑตามคติไทยโบราณ ครุฑเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง สามารถบินได้รวดเร็ว ทั้งยังมีสติปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด อ่อนน้อม ถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ น่าสรรเสริญ ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑนี้เอง จึงได้มีการสร้างรูป ครุฑพ่าห์ (หรือ พระครุฑพ่าห์) หมายถึง ครุฑซึ่งเป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระราชบัลลังก์ และตราประจำแผ่นดินของไทย ด้วยเหตุนี้ พระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์จึงประดับ ธงมหาราช ซึ่งเป็นธงรูปครุฑ เช่น เรือพระราชพิธีหลายลำ ที่สลักโขนเรือเป็นรูปครุฑ เช่น เรือครุฑเหิรเห็จ ครุฑเตร็จไตรจักร และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 นอกจากไทยแล้ว ประเทศอินโดนีเซียก็เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ใช้ครุฑ (Garuda) เป็นตราประจำแผ่นดิน เพราะได้รับอิทธิพลจากทางอินเดียเช่นกัน โดยครุฑของอินโดนีเซียนั้นเป็นนกทั้งตัว สายการบินประจำชาติอินโดนีเซียก็ใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์อีกด้วย คือสายการบิน Garuda Airlines

    [​IMG]

    นอกจากนี้ ตามพุทธประวัติยังได้กล่าวถึงเรื่องครุฑไว้ว่า ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้กะสันจะสึกรูปหนึ่งตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดามาตุคาม (แม่บ้าน) ใครๆ ก็รักษาไว้ไม่ได้ โบราณบัณฑิตในครั้งก่อน ถึงจะยกมาตุคามขึ้นไปไว้ในวิมานฉิมพลีในท่ามกลางมหาสมุทรก็ไม่อาจรักษาสตรีได้" แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธกว่า...
    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีมเหสีพระนามว่า กากาติ มีพระรูปโฉมงดงามยิ่ง ใครเห็นใครก็ลุ่มหลงในความงาม ในวันหนึ่งมีพญาครุฑตนหนึ่งแปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง) กับพระราชา ได้พบเห็นพระนางกากาตินั้นแล้วเกิดความรักใคร่ในนาง จึงแอบพานางหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีอันเป็นที่อยู่ พระราชาเมื่อไม่พบเห็นพระเทวีจึงตรัสเรียกคนธรรพ์ชื่อ นฏกุเวรมาเข้าเฝ้า พร้อมมอบหมายให้นำพระเทวีกลับมาให้ได้ ฝ่ายคนธรรพ์ทราบที่อยู่ของครุฑแล้ว จึงไปนอนแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระลูกหนึ่ง พอครุฑบินไปจากสระก็แอบกระโดดเกาะระหว่างปีกครุฑไปจนถึงวิมานฉิมพลี แอบได้เสียกับพระนางกากาติที่วิมานนั้น แล้วก็อาศัยครุฑนั้นแหละกลับมาเมืองพาราณสีอีก ในวันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกากับพระราชาอยู่ คนธรรพ์ก็ทำทีเป็นถือพิณมาที่สนามสกา ขับร้องเป็นเพลงว่า "หญิงรัก คนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้ " พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามเป็นนัยว่า "ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร ท่านขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร " นฏกุเวรจึงตอบว่า "เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งได้ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านนั้นแหละ"
    พญาครุฑพอได้ทราบความจริงแล้ว ก็กล่าวติเตียนตนเองด้วยความเสียใจว่า "ช่างน่าติเตียนเสียนี่กระไร เรามีร่างกายใหญ่โตเสียเปล่าไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมียทั้งไปและกลับ น่าเจ็บใจจริง ๆ" กล่าวจบก็คืนร่างเป็นพญาครุฑไปนำพระนางกากาติมาคืนพระราชาแล้วไม่หวนคืนกลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย


    [​IMG]
    พญาครุฑและนางกากีแบบโบราณ

    [​IMG]
    พญาครุฑและนางกากีแบบสมัยใหม่

    ครุฑเป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ หรือกึ่งพวกกายทิพย์คล้ายชาวลับแล อยู่อีกมิติหนึ่งจากโลกของเรา ผู้ที่จะสามารถพบเห็นครุฑได้ต้องเคยมีบุญร่วมกับพวกเขามาจึงสามารถรับรู้ถึงกันและกันได้ พญาครุฑ มีเรื่องราวที่มีความอัศจรรย์โลดโผนยิ่งกว่าเรื่องราวของพญานาคเสียอีก แต่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้กันเพราะไม่ได้ศึกษา ทางฮินดูเขานับถือครุฑว่าเป็นเทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งทีเดียว ตำนานของฮินดูกล่าวว่าตั้งแต่แรกเกิดมานั้นพญาครุฑก็มีรัศมีกายที่สว่างไสวเป็นที่อัศจรรย์ ส่อให้รู้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการ มีอานุภาพเป็นอเนกอนันต์ มีฤทธิ์วิชาผาดโผนพิสดาร มีอยู่ครั้งหนึ่งพญาครุฑเคยลองฤทธิ์กับองค์พระนารายณ์มหาเทพ การรบกันนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั้งสามโลกธาตุ พญาครุฑสามารถต่อสู้ด้วยความสามารถ รบกันไปเท่าใดก็ไม่สามารถเอาแพ้ชนะกัน จนในที่สุดพระนารายณ์และพญาครุฑจึงตกลงกันว่าขอให้เสมอกันในการรบระหว่างเราและท่าน พระนารายณ์อนุญาตให้พญาครุฑสามารถอยู่เหนือเศียรตนได้ และพญาครุฑก็นอบน้อมโดยการยินยอมให้พระนารายณ์สามารถนำตนเป็นพาหนะไปยังสถานที่ต่างๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีประวัติอีกว่าพระอินทร์เองก็เคยลองฤทธิ์กับพญาครุฑใช้วัชระฟาดพญาครุฑ แต่องค์พญาครุฑเป็นกายสิทธิ์หาได้เป็นอันตรายแต่อย่างใดไม่ พระอินทร์พยายามอยู่หลายทางก็ไม่สามารถทำอันตรายแก่องค์ครุฑได้ จนพระอินทร์มีความเคารพในอานุภาพของพญาครุฑว่ามีฤทธิ์เดชเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าจริง ในที่สุดพญาครุฑจึงได้สลัดขนตนเองออกมาหนึ่งเส้นให้แก่พระอินทร์เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอินทร์ด้วยเช่นกัน
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    นิยาม..ของคำว่า "เพื่อน"
    <!-- Main -->[SIZE=-1]
    +++++คน ที่เป็น เพื่อน+++++


    [​IMG]

    คือคอยเตือน ยามเพื่อนพลั้ง.......... คือคอยฟัง ยามเพื่อนขอ
    คือคอยรอ ยามเพื่อนสาย.......... คือคอยพาย ยามเพื่อนพัก
    คือคอยทัก ยามเพื่อนทุกข์.......... คือคอยปลุก ยามเพื่อนท้อ
    คือคอยง้อ ยามเพื่อนงอน.......... คือคอยสอน ยามเพื่อนผิด







    [​IMG]

    คือคอยสะกิด ยามเพื่อนเผลอ..........คือคอยเจอ ยามเพื่อนหา
    คือคอยลา ยามเพื่อนกลับ.......... คือคอยปรับ ยามเพื่อนเปลี่ยน
    คือคอยเรียน ยามเพื่อนเที่ยว.......... คือคอยเคี่ยว ยามเพื่อนเล่น
    คือคอยเย็น ยามเพื่อนร้อน.......... คือคอยหอน ยามเพื่อนเห่า






    [​IMG]

    คือคอยเฝ้า ยามเพื่อนฟุบ.......... คือคอยอุบ ยามเพื่อนปิด
    คือคอยคิด ยามเพื่อนถาม.......... คือคอยปราม ยามเพื่อนหลง
    คือคอยปลง ยามเพื่อนแกล้ง.......... คือคอยแบ่ง ยามเพื่อนหมด
    คือคอยอด ยามเพื่อนทาน.......... คือคอยคาน ยามเพื่อนล้ม
    คือคอยชม ยามเพื่อนชนะ.......... คือคอยสละ ยามเพื่อนชอบ




    [/SIZE]ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=savika&group=2
    <!-- End main-->
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 12 พฤษภาคม 2551 15:46:55 น.-->คำคม ...จากขงเบ้ง


    <!-- Main -->[SIZE=-1]ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่
    ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น



    เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย
    เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
    เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
    ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"



    นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ

    ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
    ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
    ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น


    ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี


    [​IMG]

    ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว
    แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

    เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
    เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร

    เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา
    เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา
    ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้




    การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น

    ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสารมารถของตนอย่างเต็มที่
    ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
    ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่
    อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น



    [​IMG]


    เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่ หรือ อาจจะ"
    เขามีความหมายว่า "อาจจะ"


    เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"
    เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต
    (เพราะนักการฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร)



    เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"
    เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้"
    เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี
    (เพราะสุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่ายๆ)



    คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย

    ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้
    แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน

    คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น
    แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต



    [/SIZE]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=savika&month=05-2008&date=12&group=2&gblog=34
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    พระประจำวันจันทร์ : พระปางห้ามญาติ หรือห้ามพยาธิ

    พุทธประวัติ

    ณ พระนครกบิลพัสดุ์ อันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับของเจ้าศากยะ ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธบิดา กับพระนครเทวทหะอันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับอยู่ของเจ้าโกลิยะ ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ทั้งสองพระนครนี้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโรหิณี ชาวนาของ ๒ พระนครนี้ ก็ได้อาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีนี้ ทำนาร่วมกันมาโดยปกติสุข ต่อมาเกิดฝนแล้ง น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำโรหิณีเหลือน้อย ชาวนาทั้งหมดต้องกั้นทำนบ ทดน้ำในแม่น้ำโรหิณีขึ้นมาทำนา แต่ก็ยังไม่พอ เป็นเหตุให้มีการแย่งน้ำกันทำนาขึ้น ขั้นแรกก็เป็นการวิวาทกันเฉพาะเพียงบุคคลต่อบุคคล แต่เมื่อไม่มีการระงับด้วยสันติวิธี การวิวาทนั้นก็ลุกลามมากขึ้นจนถึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าไปประหัตประหารกัน และด่าว่ากระทบถึงชาติ โคตร และลามปามไปถึงราชวงศ์ ในที่สุดกษัตริย์ผู้เป็นพระญาติของพระพุทธเจ้าทั้งสองเมือง ก็ยกกำลังพลเข้าประชิดกัน เพื่อแย่งน้ำ โดยหลงเชื่อคำยุยงพูดเท็จของอำมาตย์ที่กำลังเคียดแค้น มิทันได้ทรงวินิจฉัยให้ถ่องแท้แน่นอนว่า เมื่อเรื่องเล็กน้อยเช่นนั้นเกิดขึ้น ควรจะระงับด้วยสันติวิธี พระพุทธเจ้าทรงทราบก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จมาห้ามสงครามการแย่งน้ำระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย โดยทรงแสดงโทษคือความพินาศย่อยยับของชีวิตมนุษย์โดยเหตุอันไม่สมควร ที่พระราชาจะต้องมาล้มตายทำลายเกียรติของตน เพียงเพราะแย่งน้ำกันทำนาเพียงเล็กน้อย ครั้นแล้วพระญาติทั้งสองฝ่ายก็ทำความเข้าใจกันได้และหันมาสามัคคีกัน พระพุทธจริยาที่ทรงโปรดพระญาติ เพื่อห้ามมิให้ทะเลาะวิวาท สู้รบกันเพราะเหตุแห่งการแย่งน้ำนี้ เป็นมงคลแสดงอนุภาพแห่งธรรมที่พระองค์ทรงแสดง พุทธศาสนิกชนผู้หนักในธรรมคำสอน เล็งเห็นคุณอัศจรรย์แห่งอนุศาสนีปาฎิหาริย์ จึงถือเป็นเหตุในการสร้าง พระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า ปางห้ามญาติ


    ดวงชะตา
    สิทธิการิยะ ท่านว่าคนที่เกิดวันจันทร์ เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักแก่บุคคลทั้งหลาย โกรธง่ายหายเร็ว ทำการสิ่งใดมักละเอียด เหมาะสำหรับงานด้านศิลปะวิทยา แต่เป็นผู้ใจน้อย อ่อนไหว ทำให้ขาดอำนาจและวาสนา โบราณจารย์จึงให้พระปางห้ามญาติเป็นพระประจำวันจันทร์ เพราะดาวจันทร์ความคิดสับสน ปางนี้จึงเหมือนเตือนเจ้าชะตา ผู้ที่กำเนิดในตำแหน่งลักขณาดาวจันทร์นี้ ดุจพระพุทธองค์ห้ามญาติทั้งสองฝ่ายแย่งน้ำซึ่งกันและกัน เมื่อวันจันทร์เป็นวันที่มีเสน่ห์ แต่ขาดซึ่งอำนาจและวาสนา

    พระเครื่องที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรจะเป็นตระกูล พระยอดขุนพล เนื้อพระทำด้วยตะกั่วแก่ ดีบุก ปรอท (ชินเงิน) ตะกั่วเดือน (ตะกั่วสนิมแดง) พระในชุดนี้ โบราณจารย์ท่านถือว่า เสริมบารมีในอำนาจยิ่งนัก พระในตระกูลเนื้อชิน
    อาทิเช่น พระร่วงหลังรางปืน จังหวัดสุโขทัย , พระร่วงหลังลายน้ำ จังหวัดลพบุรี, พระพิจิตรข้างเม็ดกรุเขาพนมเพลิง , พระกรุวัดราชบูรณะจังหวัดอยุธยา ฯลฯ
    สรุป สำหรับท่านที่เกิดวันจันทร์ พระคู่กายควรจะเป็น พระยอดขุนพล หรือพระกรุต่างๆ (พระกรุที่เป็นเนื้อโลหะต่างๆ ก็จัดเป็นประเภทพระสะสม หายาก และราคาแพงเช่นกัน ที่จะมีมากหน่อยก็คงจะเป็นกรุวัดราชบูรณะ ซึ่งก็แพงพอสมควร)

    คาถาสวดบูชา
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
    ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ

    อาหารที่ควรถวายพระประจำวันนี้
    อาหารคาว : ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ำ เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู้ แกงเผ็ดเป็ดย่าง ปลาสลิดทอด
    อาหารหวาน : น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำอ้อย โดนัท นมสด นมกล่อง เผือก มันลางสาด ขนมเปี๊ยะ
    ของถวายพระ : แก้วน้ำ แจกัน ของโปร่งๆ ใสๆ
    การทำทาน : มูลนิธิช่วยเหลือสตรี
    การประพฤติตนของคนเกิดวันนี้ : ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อยู่เสมอ อย่าวิตกกังวลเกินเหตุ ให้ความช่วยเหลือสตรีเช่นลุก ให้สตรีนั่งบนรถเมล์บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกให้แข็งแรง
    ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘ : ทรงพระดำเนิน ๗ ก้าว
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘ : ทรงพระดำเนิน ๗ ก้าว[/SIZE]


    [SIZE=-1]ทรงพระดำเนิน ๗ ก้าว[/SIZE]
    [SIZE=-1]พระโพธิสัตว์กุมาร เมื่อเสด็จเหยียบลงยังพื้นภูมิภาคแล้ว ทรงทอดพระเนตรไปยังปราจีนทิศ เห็นเทพยดาและมนุษย์เป็นอันมากทั้งปวง ทำสักการบูชาแล้วทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางอุตรทิศ เสด็จย่างพระบาทไปบนพื้นแผ่นทอง อันท้าวจตุโลกบาลถือรองรับไว้ได้ ๗ ก้าว แล้วทรงหยุดประทับบนทิพยปทุมบุบผาชาติ ทรงเปล่งพระสุรเสียงดำรัสอาสภิวาจาความว่า “ในโลกนี้เราเป็นยอด เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุด การเกิดของเรานี้ เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มี ” ขณะนั้นโลกธาตุ ก็เกิดมหัศจรรย์หวั่นไหว รัศมีพระอาทิตย์ ก็อ่อนลง มิได้ร้อน มหาเมฆก็ตั้งขึ้นในทิศทั้งหลายยังวัสโสทกให้ตกลงในที่นั้นๆโดยรอบ ทั้งสรรพบุพพนิมิตรปาฏิหาริย์ต่างๆ ก็ปรากฏมีดุจกาลเมื่อเสด็จลงมาปฏิสนธิในพระครรภ์นั้น พอประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงพระดำเนินได้ ๗ ก้าว[/SIZE]


    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]


    [SIZE=-1]ในสมัยที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ณ ลุมพินีวันนั้น พระเทวีมารดาพระราหุล คือ พระนางยโสธราพิมพา ท่านพระอานนท์ ท่านฉันนะ ท่านกาฬุทายีอำมาตย์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]พระยาม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิพฤกษ์ และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ก็เกิดขึ้น เหล่านี้ชื่อว่าสหชาติทั้ง ๗ [/SIZE]


    [SIZE=-1]<!-- End main-->
    [/SIZE]<!-- End main-->
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    การเล่นลม/อานาปาฯ/ภาวนามัย (ต่อจากคำถามในงานบุญที่ รพ.สงฆ์)

    เท่าที่เคยอ่านเจอในชีวิตตำราที่เป็นแบบแผนที่ดีที่สุด น่าจะเป็นของท่านพ่อลีฯ แห่งวัดอโศการาม สมุทรปราการที่หน้าปกเป็นรูปพระพุทธเจ้า ที่สอนการเล่นลมโดยจับลมกลางเป็นหลัก วิธีการ(เท่าที่จำได้นานมาแล้ว)คือเราจะต้องทำความรู้สึกว่าลมวิ่งไปตามเส้นประสาทของร่างกายก่อนเช่นวิ่งไปตามไหล่ทั้งสอง วิ่งไปทีละข้างจนถึงปลายนิ้วแล้วให้ลมย้อนมาอีกข้างหนึ่ง แล้ววิ่งกลับมาที่ปลายจมูก วิ่งลงไปตามขาซ้ายถึงปลายเท้า วิ่งกลับมาพักไว้ที่ปลายจมูกแล้ววิ่งไปที่เท้าขวาแล้ววิ่งกลับมาพักไว้ แล้วขึ้นด้านบนจนถึงกระหม่อม ทำให้ลมสบาย สูดลมหายใจลึกๆ เข้ายาวออกสั้น เข้าสั้นออกยาว จับเอาลมกลางพอดี กำหนดเอาลมกลางพอสบายๆ แล้วจับเอาไว้ทั้งวัน หรือจะภาวนาไปด้วย ว่าฉันจะหายใจเข้า ฉันจะหายใจออก ตามดูตามรู้อยู่อย่างนี้ เมื่อวานได้ไปหาพี่ใหญ่ถามเรื่องเล่นลมเหมือนกัน สรุปแล้วก็คือจับลมกลาง เช่นเดียวกัน ส่วนภาวนามัยของท่านพ่อลีฯ นั้นเป็นการเล่นลมเพื่อรักษาโรคโดยมีการสวดบูชาธาตุในร่างกายทั้งสี คือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เข้าไปด้วย เพื่อให้ธาตุสมดุลกัน หนุนกัน ธาตุทั้งสี่ ไม่กำเริบ จำได้ว่าตอนที่ป่วยหนักในปี 2535 ใช้วิธีภาวนามัยของท่านเข้าช่วยหลังจากสวดมนต์ไหว้พระตามปกติได้กำลังใจมากและคิดว่า คราวนี้เรายังไม่ตายแน่ แล้วก็มีเหตุที่ให้รอดมาได้ พร้อมกับได้มีผู้มาช่วยให้ทุกข์เบาบางลง ภาวนามัยของท่าน ถ้าเล่นเป็นจะไม่เป็นหวัดเลย เพราะจับลมกลางตลอด การหายใจคล่อง สรุปแล้วทั้งหมดคือ อนาปานัสสติภาวนา หรือลมอนาปาฯ นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2008
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ได้มาแล้ว วิธีเล่นลม แต่ไม่มีบทสวดครับ ใช่เลยล่ะของแท้แน่นอน ต้องขอขอบคุณ
    http://www.larntum.in.th/cgi-bin/kratoo.pl/010790.htm



    <TABLE width="100%" bgColor=#bbddff border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    วิธีทำอานาปานสติ แบบที่ ๒
    * * * * * * * * * * *​
    ท่านพ่อลี ธมมฺมธโร

    มีข้อสำคัญอยู่ ๗ ข้อ คือ​

    ๑. ให้ภาวนา พุท ลมเข้ายาว ๆ โธ ลมออกยาว ๆ ก่อน ๓ ครั้ง หรือ ๗ ครั้ง (คำภาวนากับลมให้ยาวเท่ากัน)​

    ๒. ให้รู้จักลมเข้าลมออกโดยชัดเจน​

    ๓. ให้รู้จักสังเกตลมในเวลาเข้าออกว่า มีลักษณะอย่างไรสบายหรือไม่สบาย กว้างหรือแคบ ขัดหรือสะดวก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สบายก็ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขจนได้รับความสะดวกสบาย ​

    เช่น เข้ายาวออกยาวไม่สบาย ให้เปลี่ยนเป็นเข้าสั้นออกสั้นเป็นต้น จนกว่าจะได้รับความสบาย เมื่อได้รับความสบายสะดวกดีแล้ว ให้กระจายลมที่สบายนั้นไปในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สูดลมเข้าไปที่ท้ายทอยปล่อยลงไปในกระดูกสันหลังให้ตลอด ​

    ถ้าเป็นเพศชายปล่อยไปตามขาขวาทะลุถึงปลายเท้า แล้วกระจายไปในอากาศ แล้วก็กลับมาสูดใหม่ปล่อยเข้าไปในท้ายทอย ปล่อยลงไปในกระดูกสันหลัง ปล่อยไปตามขาซ้ายทะลุถึงปลายเท้า แล้วกระจายไปในอากาศ แล้วก็กลับมาปล่อยตั้งแต่ท้ายทอยผ่านไหล่ทั้งสองถึงข้อศอก ข้อมือทะลุถึงปลายนิ้ว กระจายไปในอากาศ ​

    แล้วก็ปล่อยลงคอหอยกระจายไปที่ขั้วปอดขั้วตับ กระจายเรื่อยลงไปจนถึงกระเพาะเบา กระเพาะหนัก แล้วก็สูดลมหายใจเข้าไปตรงกลางอกทะลุไปจนถึงลำไส้ กระจายลมสบายเหล่านี้ให้ทั่วถึงกันได้ จะได้รับความสะดวกขึ้นมาก ​

    (ถ้าเป็นเพศหญิงให้กระจายลมทางซ้ายก่อน เพราะเพศหญิงและชาย เส้นประสาทต่างกัน)​

    ๔. ให้รู้จักขยายลมออกเป็น ๔ แบบ คือ​

    ๑) เข้ายาวออกยาว​
    ๒) เข้าสั้นออกสั้น​
    ๓) เข้าสั้นออกยาว​
    ๔) เข้ายาวออกสั้น​

    แบบใดเป็นที่สบายให้เอาแบบนั้น หรือทำให้สบายได้ทุกแบบยิ่งดี เพราะสภาพของบุคคลลมหายใจย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา​

    ๕. ให้รู้จักที่ตั้งของจิต ฐานไหนเป็นที่สบายของตัวให้เลือกเอาฐานนั้น (คนที่เป็นโรคเส้นประสาทปวดศีรษะ ห้ามตั้งข้างบน ให้ตั้งอย่างสูงตั้งแต่คอหอยลงไป และห้ามสะกดจิต สะกดลม ให้ปล่อยลมตามสบาย ปล่อยใจตามลมเข้าลมออกให้สบาย แต่อย่าให้หนีไปจากวงลม) ​

    ฐานเหล่านั้นได้แก่ ๑.ปลายจมูก ๒. กลางศีรษะ ๓. เพดาน ๔. คอหอย ๕. ลิ้นปี่ ๖. ศูนย์ (สะดือ) นี้ฐานโดยย่อ คือที่พักของลม​

    ๖. ให้รู้จักขยายจิต คือ ทำความรู้ให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย​

    ๗. ให้รู้จักประสานลม และขยายจิตออกให้กว้างขวางให้รู้ส่วนต่าง ๆ ของลมซึ่งอยู่ในร่างกายนั้นก่อน แล้วจะได้รู้ในส่วนอื่น ๆ ทั่วไปอีกมาก คือ ธรรมชาติของลมมีหลายจำพวก ลมเดินในเส้นประสาท ลมเดินหุ้มเส้นประสาททั่ว ๆ ไป ลมกระจายออกจากเส้นประสาทแล่นแทรกแซงไปทั่วทุกขุมขน ลมให้โทษและให้คุณย่อมมีปนกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน​

    สรุปแล้วก็คือ​

    ๑. เพื่อช่วยให้พลังงานที่มีอยู่ในร่างกายทุกส่วนของคนเรา ทุกคนให้ดีขึ้น เพื่อต่อสู้สิ่งต่าง ๆ ในตัว เช่น ไม่สบายในร่างกายเป็นต้น​

    ๒. เพื่อช่วยความรู้ที่มีอยู่แล้วในตัวของคนทุกคนให้แจ่มใสขึ้น เพื่อเป็นหลักวิชา วิมุติ วิสุทธิ์ ความหมดจดสะอาดในทางจิตใจ​

    หลักอานาปา ฯ ทั้ง ๗ ข้อนี้ ควรถือไว้เป็นหลักสูตรเพราะเป็นเรื่องสำคัญของอานาปา ฯ ทั้งสิ้น เมื่อรู้เรื่องสำคัญเหล่านี้แล้ว ก็เท่ากับว่าเราได้ตัดถนนเส้นใหญ่ ส่วนถนนซอยนั้นไม่สำคัญ คือ ส่วนปลีกย่อยของอานาปา ฯ นั้นยังมีอยู่อีกมากแต่ไม่ค่อยสำคัญ ​

    ฉะนั้น จึงควรปฏิบัติและดำเนินตามแบบนี้ไว้ให้มาก ท่านจะได้รับความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งทีเดียว ถ้าท่านรู้จักการปรับปรุงแก้ไขลมหายใจของตัวเองโดยสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็เท่ากับว่าคนในบ้านของท่านเป็นคนดี ส่วนปลีกย่อยนั้น เปรียบเหมือนคนนอกบ้าน คือ แขก ถ้าคนในบ้านของเราดี คนนอกบ้านก็ต้องดีไปตามเรา ​

    คนนอกบ้านหรือแขกในที่นี้ได้แก่นิมิตต่าง ๆ และลมสัญจร ที่จะต้องผ่านไปผ่านมากในรัศมีแห่งลมของเราที่ทำอยู่ เช่น นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากลมให้ปรากฎเป็นรูป บางทีเกิดเป็นแสงสว่างขึ้น บางทีปรากฎเป็นรูปคนหรือรูปสัตว์ เป็นตนเองหรือคนอื่น บางคราวเกิดนิมิตขึ้นทางหู เช่นได้ยินคำพูดของบุคคลผู้อื่น จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ​

    บางคราวปรากฏกลิ่นต่าง ๆ ขึ้นทางจมูก บางทีก็เป็นกลิ่นหอม บางทีก็เหม็นเหมือนซากศพ บางคราวหายใจเข้าไป ให้เกิดความอิ่มเอิบซึมซาบไปทั่วสรรพางค์กาย จนไม่รู้สึกหิวข้าวหิวน้ำ บางคราวให้เกิดสัมผัสขึ้นทางกาย ให้มีอาการอุ่น ๆ ร้อน ๆ เย็น ๆ ชา ๆ ส่ายไปส่ายมาตามสรรพางค์กาย ​

    บางทีให้ผุดขึ้นทางจิตใจซึ่งเราไม่เคยนึกคิด ก็เกิดขึ้นได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า "แขก" ก่อนที่จะรับแขกเหล่านี้ ให้ปรับปรุงจิตและลมหายใจของตัวให้เรียบร้อยและมั่นคงเสียก่อน จึงค่อยรับแขก ​

    การที่เราจะต้อนรับแขกเหล่านี้ เราต้องบังคับปรับปรุงแขกให้อยู่ในอำนาจของเราเสียก่อน ถ้าแขกไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเราอย่าเพิ่งไปคลุกคลีกับเขา เขาอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่เราได้ ถ้าหากเรารู้จักปรับปรุงเขา สิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นเครื่องสนับสนุนเราต่อไป ​

    การปรับปรุงนั้นได้แก่การเจริญ ปฏิภาคนิมิต คือ ให้ขยายสิ่งที่ปรากฏมานั้นให้เป็นไปตามอำนาจแห่งจิต คือให้เล็ก ให้โต ให้ใกล้ ให้ไกล ให้เกิด ให้ดับ ให้มีข้างนอก ข้างในก็ได้ สิ่งเหล่านี้จึงจะเป็นประโยชน์ในการทำจิต ​

    ถ้าคล่องแคล่วชำนาญในนิมิตนี้ ก็จะกลายเป็นวิชา เช่น ตาทิพย์ เห็นรูปโดยไม่ต้องลืมตา หูทิพย์ ฟังเสียงไกลได้ จมูกทิพย์ ดมกลิ่นไกลได้ ลิ้นทิพย์ ดื่มรสของธาตุต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอากาศธาตุอันจะเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย สามารถป้องกันความหิว ความอยากได้ ​

    สัมผัสอันเป็นทิพย์ก็จะเกิดขึ้นในร่างกาย เช่นเราต้องการความเย็นก็จะเย็นขึ้น ต้องการความร้อนก็จะร้อนขึ้น ต้องการความอุ่น ก็จะปรากฏขึ้น ต้องการความเข้มแข็งของร่างกายก็จะมีขึ้น เพราะธาตุทั้งหลายที่จะให้ประโยชน์แก่ร่างายซึ่งมีอยู่ในโลก ก็จะแล่นเข้ามาปรากฏในกายของเรา ​

    ดวงใจก็จะเป็นทิพย์ และมีอำนาจสามารถจะทำให้เกิดญาณจักขุ เช่น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ จุตูปปาตญาณ รู้จักความเกิดความตายของสัตว์ ว่ามาอย่างไร ไปอย่างไร อาจทราบได้ อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุที่จะฟอกอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ​

    ถ้าเราเป็นผู้มีสติปัญญา ย่อมรับแขกมาทำงานในบ้านของเราได้เป็นอย่างดี นี่เป็นส่วนปลีกย่อยในการปฏิบัติอานาปานสติโดยย่อ​

    ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาให้ทบทวนดูให้ดี อย่าเพิ่งยินดีในสิ่งที่ปรากฏ อย่าเพิ่งยินร้ายหรือปฏิเสธในสิ่งที่ปรากฏ ควรตั้งจิตเป็นกลางทบทวนดูให้รอบคอบละเอียดลออเสียก่อนว่าเป็นของควรเชื่อถือได้หรือไม่ มิฉะนั้นจะเป็นเหตุให้สำคัญผิดไปก็มี ​

    ดี ชั่ว ถูก ผิด สูง ต่ำ ทั้งหมดมันสำคัญอยู่ที่ดวงจิตของเราฉลาดหรือโง่ รู้จักพลิกแพลงดัดแปลงแก้ไข เมื่อดวงจิตของเราเป็นผู้โง่อยู่แล้ว แม้ของสูงอาจจะกลายเป็นของต่ำ ของดี อาจจะกลายเป็นของชั่ว​

    ถ้าหากเราได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของลม และส่วนปลีกย่อยของลม ก็จะรู้ได้ในอริยสัจธรรม นอกจากนั้น ยังเป็นหนทางบรรเทาทุกข์ของร่างกายได้อย่างดีอีก ตัวสติเป็นตัวยา ลมอานาปาฯ เป็นกระสาย ​

    เมื่อสติเข้าไปฟอกแล้วย่อมบริสุทธิ์ ลมที่บริสุทธิ์จะส่งไปฟอกโลหิตต่าง ๆ ในร่างกายให้สะอาด เมื่อโลหิตสะอาดแล้วเป็นเหตุจะบรรเทาโรคภัยต่าง ๆ ในตัวได้ ถ้าเป็นผู้มีโรคเส้นประสาทประจำอยู่แล้ว ก็จะหายได้อย่างดีทีเดียว ​

    นอกจากนี้ก็ยังสามารถจะสร้างความเข้มแข็งของร่างกาย ให้ได้รับความสุขยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายได้รับความสุข จิตใจก็สงบได้อย่างดี เมื่อจิตสงบได้อย่างนั้น ย่อมเกิดกำลังสามารถที่จะระงับเวทนาในเวลานั่งสมาธิให้ทนทานได้หลายชั่วโมง ​

    เมื่อกายสงบจากเวทนา จิตย่อมสงบปราศจากนิวรณ์ได้อย่างดี กายก็มีกำลัง ใจก็มีกำลังเรียกว่า "สมาธิพลัง" เมื่อสมาธิมีกำลังเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดปัญญา สามารถจะแลเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แจ้งประจักษ์ขึ้นในลมหายใจของตัวที่มีอยู่ทุกตัวคน ​

    ถ้าจะอธิบายก็ได้ความอย่างนี้ คือ ลมหายใจเข้าออกเป็น ทุกขสัจจ์ ลมเข้าเป็นชาติทุกข์ ลมออกเป็นมรณทุกข์ ไม่รู้จักลมเข้า ไม่รู้จักลมออก ไม่รู้ลักษณะของลมเป็น สมุทัยสัจจ์ ลมออกรู้ว่าออก ลมเข้ารู้ว่าเข้า รู้ลักษณะของลมโดยชัดเจนเป็น สัมมาทิฐิ

    องค์อริยมรรค คือ มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของลมหาย หายใจแบบใดไม่สบายก็รู้ และรู้จักวิธีแต่งลมหายใจของตัวว่า แบบนี้ไม่สบาย เราจะต้องหายใจแบบนี้จึงจะเป็นที่สบาย นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ​

    จิตตสังขารซึ่งนึกคิดวิตกวิจารณ์ในกองลมทั้งปวงอยู่โดยชอบชื่อว่า สัมมาวาจา วาจาชอบ รู้จักวิธีปรับปรุงลมหายใจของตนโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น หายใจเข้ายาวออกยาว หายใจเข้าสั้นออกสั้น หายใจเข้าสั้นออกยาว หายใจเข้ายาวออกสั้น จนไปถูกลมอันเป็นที่สบายแห่งตน ดังนี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ​

    รู้จักทำลมหายใจฟอกโลหิตในร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์ แล้วส่งไปหล่อเลี้ยงหทัยวัตถุ รู้จักแต่งลมให้เป็นที่สบายของร่างกาย รู้จักประกอบลมให้เป็นที่สบายแห่งดวงจิต หายใจเข้าไปอิ่มกาย อิ่มจิต นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ​

    รู้จักพยายามเปลี่ยมลมหายใจของตนเป็นที่สบายกาย สบายจิต ถ้ายังไม่ได้รับความสบาย เกิดขึ้นในตัว ก็พากเพียรพยายามอยู่เรื่อยไปอยู่อย่างนั้นนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ เพียรชอบ ​

    รู้ลมหายใจเข้าออกทุกขณะเวลา และรู้กองลมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมพัดในท้อง ลมพัดในลำไส้ ลมพัดไปตามชิ้นเนื้อซาบซ่านไปทั่วทุกขุมขน มีสติสัมปชัญญะตามรู้อยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าออก นี้เรียกว่า สัมมาสติ ระลึกชอบ ​

    ดวงจิตสงบอยู่ในเรื่องของลมอย่างเดียว ไม่ไปเหนี่ยวเอาอารมณ์อย่างอื่นมาแทรกแซงทำไปจนเป็นลมละเอียด เป็นอัปปนาฌาน จนกว่าจะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปในที่นั้น เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    ตั้งใจไว้ชอบนึกถึงลม เรียกว่า วิตก กระจายลมขยายลมแต่งลมไว้เรียกว่า วิจารณ์ ลมได้รับความสะดวกทั่วถึงกันแล้ว ก็อิ่มกาย อิ่มจิต เรียกว่า ปีติ

    กายไม่กระวนกระวายใจไม่กระสับกระส่าย ก็เกิด สุข เมื่อได้รับความสุขแล้ว จิตย่อมไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ย่อมแนบสนิทอยู่กับอารมณ์เดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์

    ตั้งใจไว้ชอบนี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ เบื้องต้นในองค์อริยมรรค มรรคสัจจ์ ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เข้ามาสันนิบาตในดวงจิตได้แล้วโดยสมบูรณ์ ย่อมทำให้รู้แจ้งในกองลมทั้งปวงว่าหายใจอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดอกุศลจิต ​

    หายใจอย่างนั้นเป็นเหตุให้เกิดกุศลจิต และไม่ติดอยู่ในกายสังขารคือลม ไม่ติดอยู่ในวจีสังขาร ไม่ติดอยู่ในจิตตสังขาร ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ปล่อยวางไปตามสภาพแห่งความเป็นจริงเรียกว่า นิโรธสัจจ์

    ถ้าจะย่ออริยสัจ ๔ ให้สั้นเข้าไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลมหายใจเข้าออกเป็น ทุกขสัจจ์ ไม่รู้จักลมหายใจเข้า ไม่รู้จักลมหายใจออก เป็นสมุทัยสัจจ์ หรือวิชชาโมหะ ทำให้แจ้งในกองลมทั้งปวงจนละได้ไม่ยึดถือ เรียกว่า นิโรธสัจจ์

    ที่มีสติสัมปชัญญะประจำอยู่ในกองลมเรียกว่า มรรคสัจจ์ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องตามแนวทางของอานาปา ฯ เป็นผู้มีวิชาอาจรู้ของจริงทั้ง ๔ อย่างได้อย่างชัดเจน ย่อมถึง วิมุติ

    วิมุตินั้นคือดวงจิตที่ไม่เข้าไปติดอยู่ในเหตุฝ่ายต่ำ ผลฝ่ายต่ำ อันได้แก่ทุกข์ สมุทัย ไม่ติดอยู่ในเหตุฝ่ายสูงคือ มรรค และ นิโรธ ไม่ติดอยู่ในสิ่งที่ให้เรารู้ ไม่ติดอยู่ในความรู้ แยกสภาพธรรมไว้ เป็นส่วน ๆ ได้ เช่นนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีวิชาวิมุติ คือ รู้จักเบื้องต้น เบื้องปลาย และท่ามกลาง วางไปตามสภาพแห่งความเป็นเอง
    ที่เรียกว่า สพฺเพ ธมฺมา อนฺตตา การติดอยู่ในสิ่ง ที่ให้เรารู้ คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เหล่านี้เป็น กามุปปาทาน ติดวิชาความรู้ความเห็นของตัวเป็น ทิฏปปฐุทาน ไม่รู้จักตัวรู้ คือ พุทธะ เป็นสีลพัตุปปาทาน ย่อมเป็นเหตุให้หลง กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร อันเกิดจากอวิชชา​
    (มีต่อค่ะ)





    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>จากคุณ : mayrin [ 18 ธ.ค. 2546 / 13:49:24 น. ]
    [SIZE=-1][ IP Address : 203.155.236.12 ][/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พระเกศาธาตุท่านพ่อลีฯ ครับ.....สาธุ

    [​IMG]

    <CENTER></CENTER>
    เอื้อเฟื้อภาพจาก
    http://www.maameu.ath.cx/meu/plugins/forum/forum_viewtopic.php?6477.45
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2008
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๙ : อสิตดาบสมาเยี่ยม
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๙ : อสิตดาบสมาเยี่ยม

    อสิตดาบสมาเยี่ยม เห็นพระกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็ถวายบังคม

    เมื่อท่าน 'อสิตดาบส' หรือ 'กาฬวินดาบส' ซึ่งเป็นฤาษีอยู่ที่ข้างเขาหิมพานต์ หรือที่เรียกกันว่าภูเขาหิมาลัย เป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะและราชตระกูล ทราบว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ประมุขกษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ทรงมีพระราชโอรส จึงออกจากอาศรมเชิงเขา เข้าไปเยี่ยมเยียนเพื่อถวายพระพรยังราชสำนัก พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าท่านดาบสมาเยี่ยมก็ทรงดีพระทัยเป็นยิ่งนัก จึงตรัสสั่งให้นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะ แล้วทรงอุ้มพระราชโอรสออกมาเพื่อให้นมัสการท่านดาบส

    [​IMG]
    พระโอรสประทับ ณ กรุงกบิลพัสดุ์

    พอท่านดาบสได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็ทำกริยาผิดวิสัยสมณะ คือ หัวเราะแล้วร้องไห้ แล้วกราบแทบพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะ

    ท่านยิ้มเพราะเห็นพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ ต้องด้วยตำรับมหาบุรุษลักษณ์ ท่านเห็นว่าคนที่มีลักษณะอย่างนี้ ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่ไปไกล แต่ถ้าได้ออกบวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ที่ท่านร้องไห้ก็เพราะเชื่อแน่ว่าเจ้าชายราชกุมารนี้จะต้องออกบวช เพราะเหตุที่เชื่ออย่างนี้เลยนึกถึงตนเองว่า เรานี่แก่เกินการณ์เสียแล้ว เลยเสียใจว่ามีบุญน้อย ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และที่กราบไหว้พระบาทราชกุมารที่เพิ่งประสูติใหม่ ก็เพราะเหตุเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้ว

    [​IMG]
    พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงอุ้มพระราชโอรสออกมาเพื่อให้นมัสการท่านดาบส


    ฝ่ายเจ้านายในราชตระกูลได้เห็นและได้ทราบข่าวว่า ท่านดาบสกราบพระบาทราชกุมาร ต่างก็มีพระทัย นับถือพระราชกุมารยิ่งขึ้น จึงทูลถวายโอรสของตนให้เป็นบริวารของเจ้าชายสิทธัตถะตระกูลละองค์ ๆ ทุกตระกูล
    [/SIZE]<!-- End main-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...