ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ความโกรธเหมือนรอยขีด




    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>ความโกรธเหมือนรอยขีด</CENTER>



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    กุสินารวรรคที่ ๓
    เลขสูตร</CENTER>

    [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ

    บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน ๑
    บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน ๑
    บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหินเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นนอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมตั้งอยู่ยั่งยืนแม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมโกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นก็นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดินเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน ลบเลือนไปโดยเร็วเพราะลมและน้ำ ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนแม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คงสมานไมตรี กลมเกลียว ปรองดองกันอยู่ เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ จะขาดจากกันก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คงสมานไมตรีกลมเกลียวปรองดองกันอยู่ นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



    <CENTER>-----------------------------------------------------</CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๔๕๒ - ๗๔๘๒. หน้าที่ ๓๑๙ - ๓๒๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7452&Z=7482&pagebreak=0

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=572
    [​IMG]

    [/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]
    ชีวิตไม่เคยหมดทุกข์หรอก
    <!--Main-->เวลาที่มีความไม่สบายใจจากปัจจัยรอบข้าง
    เราพบว่า อยู่กับตัวเองแล้ว
    เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาจิตใจจากความทุกข์ที่ได้ผลที่สุด

    ชีวิตเราไม่ค่อยจะได้อยู่คนเดียวเท่าไหร่
    เวลาที่จิตตกหมกมุ่น เลยสร้างโอกาสที่จะอยู่คนเดียวซะเลย

    เที่ยวเล่นไปในโลกจินตนาการจากหนังสือที่ซื้อมาบ้าง
    เพื่อให้ความแฮปปี้ อารมณ์ที่อยากจะช่วยให้พระเอกแก้ปัญหาตรงหน้าได้
    เป็นตัวช่วย cheer up ให้จิตที่ตกลงไปอยู่ชั้นใต้ดินที่สิบสอง
    ได้เงยหน้าขึ้นมาดูแสงสว่างบ้าง
    พาตัวเองไปเดินเล่นบ้าง
    เพื่อให้ตระหนักว่า อย่างน้อยเราก็ยังโชคดี
    ที่ยังมีโอกาสได้หายใจหายคอคล่อง
    ไม่เหมือนกับบางคนที่ทุกข์แล้วก็ไม่มีโอกาสจากทุกข์สักนาที
    พิจารณาการเกิดดับและอาการของจิตใจไปบ้าง
    เพื่อให้จิตใจเบา ปล่อยวางได้แบบที่วันอื่นๆในชีวิตทำได้
    ให้ช่องว่างช่วยตัดสินใจ ว่าจะเอาอย่างไรกับชีวิตข้างหน้า
    พร้อมหรือยังที่จะเสียสิ่งที่ได้อยู่บางส่วน
    เพื่อแลกเปลี่ยนกับโอกาสที่จะทำความหวังบางอย่างให้สำเร็จ


    แล้วความคิดที่สอนใจก็กลับมาอีก
    "ตอนที่มีทุกข์เป็นนาทีทองที่จะเรียนรู้ชีวิตจริงๆ"

    แต่ไม่ได้แปลว่าพอคิดได้อย่างนี้แล้วจะหายทุกข์นะ
    มันก็ทุกข์เหมือนเดิมนั่นแหละ
    แต่ก็ดูมันไป เรียนรู้มันไป
    กอดมันมั่ง ปล่อยมันมั่ง ไปตามประสาปุถุชน

    สังเกตว่า เวลาเราจมจ่อมกับทุกข์บางอย่างนั้น
    เรามักจะคิดอยากให้มันหายไป
    แล้วก็คิดเอาเองว่า ถ้าไม่มีทุกข์นี้ชีวิตก็สุขแล้ว

    แต่ธรรมชาติจะไม่เป็นอย่างนั้นหรอก
    คนเราจะไม่เคยปราศจากทุกข์
    พอทุกข์นี้หายไป ทุกข์ใหม่ก็มาอีก
    แล้วเราก็คิดกันไปเองอีกว่าถ้ามันหายไปชีวิตจะสุข


    ทุกข์จะไม่เคยหายไปจากชีวิตเรา
    ที่เราทำได้ก็คือ จะกอดมันไว้ หรือจะปล่อยมันไป


    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jeyz&month=05-03-2008&group=1&gblog=42

    (รูปดอกไม้จำชื่อ blog ไม่ได้ ขออภัยท่านเจ้าของภาพเป็นอย่างยิ่ง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    บางเรื่องที่คนไทยควรรู้

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ ในรัชกาลปัจจุบัน </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>เขียนโดย รอยใบลาน </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>วันศุกร์ ที่ 11 เดือนมกราคม พ.ศ.2551 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>ลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ของ ราชวงศ์จักรี หรือ ราชวงศ์ไทย นี้เป็นการ ลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ทั้ง ในหลวง พระพี่นาง พระพี่นางเธอ อ่าน ข่าว พระพี่นาง พระพี่นางเธอ ที่นี่ [​IMG]
    ลำดับที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    ลำดับที่ 2 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

    ลำดับที่ 3 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร

    ลำดับที่ 4 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

    ลำดับที่ 5 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

    ลำดับที่ 6 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

    ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

    ลำดับที่ 7 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    พระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา" เป็นพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระบรมราชชนก) กับหม่อมสังวาลย์ มหิดล (สมเด็จพระบรมราชชนนี) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา" ในสมัยรัชกาลที่ 8 เป็นที่ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า" และได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เพื่อทำการสมรสกับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ จนกระทั่งในรัชกาลปัจจุบันจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคืนฐานันดรศักดิ์

    ลำดับที่ 8 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

    พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ" เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต่อมาได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทำการสมรส

    ลำดับที่ 9 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

    สกุลเดิม "อัครพงศ์ปรีชา" อภิเสกสมรสกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 ต่อมาเมื่อมีพระประสูติกาลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548

    ลำดับที่ 10 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

    พระนามเดิมว่า "หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร" เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี ยุคล อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับสถาปนาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2520 ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม 2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ"

    ลำดับที่ 11 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา


    ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุ มีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอพระองค์ใหญ่ในรัชกาลปัจจุบัน

    ลำดับที่ 12 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

    ทรงมีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล" เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับนางสุจาริณี วิวัชรวงศ์

    ลำดับที่ 13 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

    ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา

    ลำดับที่ 14 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

    ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศรินทร์

    ลำดับที่ 15 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

    ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศรินทร์ ปัจจุบันประทับอยู่กับพระบิดาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ลำดับที่ 16 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร

    ทรงเป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล มีศักดิ์เป็นพระหลานเธอในรัชกาลที่ 5

    ลำดับที่ 17 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน

    ราชสกุล "มหิดล" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
    หม่อมเจ้าจุฑาวัชร (มหิดล) วิวัชรวงศ์
    หม่อมเจ้าวัชเรศร (มหิดล) วิวัชรวงศ์
    หม่อมเจ้าจักรีวัชร (มหิดล) วิวัชรวงศ์
    หม่อมเจ้าวัชรวีร์ (มหิดล) วิวัชรวงศ์

    ลำดับที่ 18 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 4** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)

    ราชสกุล "จิตรพงศ์" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
    หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์
    ราชสกุล "ชยางกูร" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป
    หม่อมเจ้าวราชัย ชยางกูร (2470 - ปัจจุบัน) ***
    หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร (2467 - ปัจจุบัน) ***
    หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร (2473 - ปัจจุบัน) ***
    หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (2475 - ปัจจุบัน) ***
    ราชสกุล "ดิศกุล" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล ดิศกุล

    ลำดับที่ 19 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 5** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)

    ราชสกุล "กิติยากร" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมพระจันทรบุรีนฤนาท
    หม่อมเจ้าวินิตา กิติยากร
    หม่อมเจ้าสุวนิต กิติยากร
    หม่อมเจ้ากิตติปียา กิติยากร
    ราชสกุล "ระพีพัฒน์" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
    หม่อมเจ้าวิพันธุ์ไพโรจน์ ระพีพัฒน์
    หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า ระพีพัฒน์
    หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด ระพีพัฒน์
    ราชสกุล "ฉัตรชัย" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
    หม่อมเจ้าภัทรลดา (ฉัตรชัย) ดิศกุล
    หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย
    หม่อมเจ้าชายทิพยฉัตร ฉัตรชัย
    ราชสกุล "วุฒิชัย" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
    หม่อมเจ้าหญิงวุฒิสวาท วุฒิชัย
    หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย
    หม่อมเจ้าหญิงวุฒิวิฑูร วุฒิชัย

    ลำดับที่ 20 หม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
    ราชสกุล "รัชนี" พระโอรสธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
    หม่อมเจ้าหญิงศะศิธรพัฒนวดี รัชนี
    หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

    ลำดับที่ 21 หม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 5** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)
    ราชสกุล "บริพัตร" พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต
    หม่อมเจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี บริพัตร
    ราชสกุล "ยุคล"
    พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
    หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล
    หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล
    หม่อมเจ้าหญิงภาณุมา ยุคล
    พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
    หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล
    หม่อมเจ้าเฉลิมสุข ยุคล
    หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล
    พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
    หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล
    หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
    หม่อมเจ้าหญิงปัทมนรังษี ยุคล
    หม่อมเจ้าหญิงมาลิณีมงคล ยุคล

    คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น****

    พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ กับนายปีเตอร์ เจนเซ่น มีศักดิ์เป็นหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    คุณสิริกิติยา เจนเซ่น****

    พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ กับนายปีเตอร์ เจนเซ่น มีศักดิ์เป็นหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร

    นามเดิมว่า "หม่อมเจ้าหญิงพันธุ์สวลี กิติยากร" พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2499 เป็นพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

    ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม

    พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีศักดิ์เป็นพระราชภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    นายสินธู ศรสงคราม

    สามีท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสมรส เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2516

    ร้อยเอกจิทัศ ศรสงคราม

    บุตรชายของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม กับนายสินธู ศรสงคราม มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    หมายเหตุ
    * ลำดับที่ 1 - 16 เรียงพระนามตามสำนักราชเลขาธิการ
    ** กำลังอยู่ในระหว่างการรวบรวมพระนาม และระบุเฉพาะเจ้านายที่ยังดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
    *** กำลังตรวจสอบว่ายังทรงมีพระชนม์อยู่หรือไม่
    **** 2 ท่านนี้แม้จะเป็นสามัญชน แต่มีศักดิ์เป็นหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน บางครั้งจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อยู่หน้าหม่อมเจ้าในราชสกุลอื่นๆ

    ข้อมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    [​IMG]

    ผมจะทยอยลงภาพ พระกรุโลกอุดร ที่มีคุณลุงใจดี ใจกุศล นำมาให้ทางทุนนิธิ สงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร แจกฟรีให้ผู้ทำบุญเป็นประจำ โดยจะลงให้ชมกันวันละพิมพ์ มีประมาณสิบกว่าพิมพ์ และเริ่มแจกประมาณหลังสงกรานต์ครับ
    พิมพ์นี้เรียกว่า พิมพ์อธิษฐานฤทธิ์
     
  5. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียน ท่านพันวฤทธิ์

    ร่วมบุญเพิ่มเติมครับ

    โอนทางATM เข้าบัญชี 348-123-245-9

    วันที่ 31/3/2551 เวลา 18:05น. จำนวน 300 บาท ครับ

    โมทนาบุญ ครับ
     
  6. เทพารักษ์

    เทพารักษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +980
    ร่วมทำบุญเพิ่มค่ะ

    เดือนนี้ร่วมทำบุญเพิ่มนะคะ จำนวน 500 บาท

    *********************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 500.jpg
      500.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.5 KB
      เปิดดู:
      72
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ขอบคุณทั้ง 2 ท่านมากครับ ถ้ามีโอกาสอย่าลืมไปถวายเครื่องไทยทานเช่นนมกล่องดีน่า (ท่านชอบมาก) กับท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ที่นอนอาพาธที่ รพ.สงฆ์ด้วยครับ เมื่อวานครอบครัวผมไปมาแล้ว แววตาท่านถ้าไม่ตาฝาดไปท่านมีแววตาวาวสีฟ้า ท่านดำรงสติดีมาก ทั้งที่อายุท่าน 101 ปีแล้ว ท่านถามว่าเอาอะไรมาถวาย เราก็เจียระไนให้ท่านฟัง ท่านพยักหน้า แล้ว พูดเบาๆ ว่า "ขอบใจน๊ะ" ก่อนกับเลยถวายนวดเบาๆ ที่เท้าท่าน แล้วกราบลาท่านกลับ ท่านพยักหน้ารับรู้ แค่นี้ก็พออิ่มใจแล้วสำหรับพระระดับนี้ กับหมาน้อยอย่างเรา....

    คุณ 2 คนทำบุญมากับเราตลอด เตรียมเลือกได้เลยระหว่างพระสังกัจจายใหญ่/เล็ก ที่อุดมไปด้วยโชคลาภ หรือพิมพ์อธิษฐานฤทธิ์ดังรูปข้างต้นซึ่งเป็นขนาดใหญ่และให้ผลทางด้านคุ้มครอง เรื่องรังสีจิต พี่ใหญ่บอกว่าพระทั้งหมดเป็นรังสีสีทอง แสดงว่าท่านบรมครูฯ อธิษฐานฤทธิ์เองทั้งหมดร่วมกับท่านองค์อื่นอีก ยังไงเมื่อเปิดให้ส่งรายชื่อแล้วอย่าลืมจองมาก็แล้วกัน คิดเพียงค่าส่ง/ค่ากล่อง น่าจะไม่เกิน 50.-บาท ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008
  8. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <CENTER class=D>๗. อจินติตสูตร</CENTER>



    <CENTER>อรรถกถาอจินติตสูตรที่ ๗ </CENTER>พึงทราบวินิจฉัยในอจินติตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อจินฺเตยฺยานิ ได้แก่ ไม่ควรคิด.
    บทว่า น จินฺเตตพฺพานิ ความว่า บุคคลไม่ควรคิด เพราะเป็นอจินไตยนั่นเอง.
    บทว่า ยานิ จินฺเตนฺโต คือ คิดสิ่งที่ไม่มีเหตุเหล่าใด.
    บทว่า อุมฺมาทสฺส ได้แก่ ความเป็นคนบ้า.
    บทว่า วิฆาตสฺส คือ เป็นทุกข์.
    บทว่า พุทฺธวิสโย แปลว่า วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือความเป็นไปและอานุภาพของพระพุทธคุณมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น.
    บทว่า ฌานวิสโย ได้แก่ ฌานนิสัยในอภิญญา.
    บทว่า กมฺปวิปาโก ได้แก่ วิบากของกรรมมีกรรมที่จะพึงเสวยผลในปัจจุบันเป็นต้น.
    บทว่า โลกจินฺตา ความว่า โลกจินดา ความคิดเรื่องโลกเช่นว่า ใครหนอสร้างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ใครสร้างแผ่นดินใหญ่ ใครสร้างมหาสมุทร ใครสร้างสัตว์ให้เกิด ใครสร้างภูเขา
    ใครสร้างต้นมะม่วงต้นตาลและต้นมะพร้าวเป็นต้น ดังนี้



    <CENTER>
    จบอรรถกถาอจินติตสูตรที่ ๗



    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อปัณณกวรรคที่ ๓ ๗. อจินติตสูตร จบ.

    ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=77
    โมทนาบุญกับทุกท่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008
  9. thanyaka

    thanyaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +2,497
    [SIZE=-1]ความรู้สึกนึกคิดในเชิงบวก ความรัก ความเมตตาอย่างไม่เลือกปฏิบัติที่แผ่ออกมาจากภายใน ส่งออกไปไม่มีประมาณ จะตกแต่งความงามให้กับโมเลกุลที่เล็กที่สุดภายในกาย แล้วค่อยๆ แผ่ขยายฉายความงดงามออกมาภายนอก ทำให้ผิวพรรณหน้าตา ราศี ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อยอย่างที่คนรอบข้างพอจะสังเกตเห็นได้[/SIZE]


    [SIZE=-1]ไม่เฉพาะแต่ธาตุน้ำเท่านั้นที่มีอนุภาคเปลี่ยนแปลงไปด้วยพฤติกรรมของจิต ธาตุดินในกายก็ปรากฏให้เห็นมานานนักหนาแล้วว่าสามารถแปรสภาพไปได้ด้วยการบำเพ็ญความเพียรเผากิเลส[/SIZE]


    [SIZE=-1]“กระดูกของปุถุชนผู้มีกิเลสหนา ตัณหาเหนียว ย่อมมีโครงสร้างสลับซับซ้อน ประกอบด้วยสารผสมเชิงซ้อนหลายชั้นจนมีสีดำ กระดูกของผู้มีศีลธรรม ผู้มีกิเลสเบา ตัณหาบาง ย่อมมีโครงสร้างโปร่งประกอบด้วยสารประกอบที่มีความสับสนน้อย มักมีสีเทา กระดูกของพระอรหันต์ ผู้หมดจดปราศจากกิเลสตัณหา เพราะตัดสายอุปทาน (อันเป็นแรงร้อยยึดเหนี่ยว) เสียได้ กระดูกของท่านจึงสลายตัวกลายเป็นธาตุเดี่ยว กล่าวคือ ส่วนที่เป็นแคลเซียมก็รวมตัวกับแคลเซียม ส่วนที่เป็นซิลิคอนรวมกับซิลิคอน มีสีและคุณสมบัติเป็นธาตุอันอิสระตามเดิม ซึ่งเรียกว่า พระธาตุดังนี้” (จากหนังสือพระไตรปิฏกฉบับพิเศษ ธรรมธาตุ ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง ของ ไชย ณ พล)[/SIZE]


    [SIZE=-1]หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก ต.บ้านป่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระอริยะสำคัญสายพระอาจารย์มั่น ได้เคยกล่าวไว้ว่า "อำนาจตบะที่อริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อขัดเกลากิเลสนั้น มิได้แผดเผาชำระล้างเฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผา ชำระล้าง ซักฟอกกระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน" [/SIZE]​



    [SIZE=-1]
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]ความงามอันก่อเกิดจากโมเลกุลที่เล็กที่สุดของร่างกายนี้ ...เราเป็นผู้เลือกตกแต่งเองได้ไม่ใช่หรือ? [/SIZE]

    ชอบจังเลย อนุโมทนาด้วยค่ะ
     
  10. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    อนุโมทนาบุญครับ และ ขอบคุณที่นำบทความมาลงให้อ่านครับ ​

    เคยสงสัยว่า เหตุใดหลังจากที่ได้ไปปฏิบัติธรรม หรือ ออกจากการเก็บอารมณ์ หน้าตาผู้ปฏิบัติจะผ่องใสมากๆ บทความที่ได้อ่านนี้พอจะตอบข้อสงสัยได้ดีทีเดียวครับ​

    เคยได้ยินอาจารย์เล่าให้ฟัง เรื่องพระลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งหลังจากบรรลุธรรมแล้ว ได้ทำสมาธิต่อโดยไม่ฉันอาหารใดๆ เป็นเวลา 10 วัน แต่พอเสร็จสิ้น สีหน้า แววตา กลับผ่องใสยิ่ง ไม่มีสีหน้าท่าทางอิดโรยแต่อย่างใด ล้วนแต่เป็นเพราะพลังสมาธิทั้งสิ้น​

    ขอบคุณสำหรับบทความครับ สาธุ สาธุ สาธุ​

    ^-^ ^-^ ^-^ ​





    </CENTER>
     
  11. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พระกรุโลกอุดร อธิษฐานฤทธิ์พิมพ์เล็ก
    [​IMG]

    พิมพ์นี้เหมาะกับผู้หญิงหรือท่านที่นิยมพระเล็ก เพราะขนาดประมาณปลายนิ้วก้อยครับ

     
  12. ลุงจิ๋ว

    ลุงจิ๋ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +990
    กิจกรรมคราวหน้า ผมขอร่วมด้วย จะพาคู่ชีวิตไปด้วย
     
  13. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
     
  14. MEA

    MEA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +660
    วันนี้ 1/4/2551 เวลา14.09น. โอนเงินร่วมบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ จำนวน300บาท โดยโอนผ่าน ATMกรุงไทย ขอโมทาบุญครั้งนี้ด้วยครับ
     
  15. thanyaka

    thanyaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +2,497
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2><HR>ศิลปะในการหายใจ</TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]

    มีการค้นพบกันว่า สัตว์ที่หายใจสั้นและถี่ จะมีชีวิตสั้น ส่วนสัตว์ที่หายใจยาวและเป็นระบบ จะมีอายุยืนยาว อวัยวะในกาย เซลล์ต่างๆ ในกาย จะตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเสมอ สังเกตดูได้จากสัตว์รอบๆ ตัวท่าน

    ศิลปะในการหายใจนี้ หลวงปู่เรียกมันว่า ลม ๗ ฐาน หรือใครจะเรียกมันว่า โยคะ หรือ โยคี อะไรก็แล้วแต่ มันมีอยู่แล้วในศิลปะการหายใจ มีอยู่ในพระพุทธศาสนา นั่นคือ วิชาอานาปานสติกรรมฐานนี้แหละ วิชาอานาปานสติ กรรมฐาน คือ การค่อยๆ ผ่อนลมหายใจ หายใจด้วยความผ่อนคลาย ความรู้สึกดื่มด่ำ ซึมซาบ และซึมสิงกับกลิ่นอายธรรมชาติแวดล้อมที่สูดเข้าไป และไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน พร้อมกับขับถ่ายของเสียออกมากับลมหายใจที่ระบายออกเหล่านี้ คือ การตามดูลมที่เข้าและออก มีสติ จดจ่อ จับจ้อง จริงจัง และก็ตั้งใจ

    ศิลปะในการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย หลวงปู่ไม่อยากจะเรียกมันให้เป็นวิชาสูงส่ง เพราะพระพุทธเจ้าทรงสูงส่งกว่าหลวงปู่มาก แต่ประสบการณ์ทางวิญญาณที่หลวงปู่ได้รับรู้ จากการปฏิบัติ ที่นำมาเล่าสู่พวกท่านฟัง ก็คือ ระบบการหายใจคำพูดประโยคหนึ่งที่หลวงปู่พูด คิด ทำ ที่พวกท่านได้ฟังบ่อยๆ ก็คือเรื่อง จัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของความคิด

    เพราะฉะนั้น เรามาเริ่มจัดโครงสร้างของกายให้เป็นระเบียบกันก่อน ที่จริงเราฝึกจิตมิใช่ฝึกกาย แต่เมื่อกายเป็นที่อยู่แห่งจิต เราก็จำเป็นต้องปรับระบบโครงสร้างของกายให้โล่ง โปร่งเบา ผ่อนคลาย จนเป็นที่สบายของจิตเสียก่อน

    เริ่มจากการปรับโครงสร้างของกายให้ตรง ไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหนๆ ท่านั่งก็ได้ ท่ายืนก็ได้ ท่าเดินก็ได้ หรือ ท่านอนก็ได้ เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ปรับโครงสร้างของตนให้มีอิริยาบถ ๓ ประการ คือ อิริยาบถสะอาด อิริยาบถสงบ อิริยาบถปกติ เมื่อเรามีอิริยาบถอันสะอาด อันได้แก่ อิริยาบถที่ปราศจากมลทิน อิริยาบถที่ปราศจากเครื่องร้อยรัด อิริยาบถ ที่ปราศจากความคั่งค้าง คาราคาซัง ไม่เสร็จ ไม่เสร็จในภารกิจ ทั้งปวง ส่วนอิริยาบถสงบ คือ อิริยาบถที่ผ่านขั้นตอนในการชำระล้าง สะสาง ขจัด เครื่องร้อยรัดและมลทิน พร้อมกับภารกิจทั้งปวงได้ถูกปล่อยวางจนหมดสิ้นแล้ว สำหรับอิริยาบถ ปกติ นั่นมันหมายถึง ความจริงจัง จริงใจ สนใจ สม่ำเสมอ ต่อการชำระสะสาง ขจัด ขัดเกลา ในภาระทั้งเก่าและใหม่ ให้หดหาย ผ่อนคลาย เบาสบาย ทีนี้ก็เริ่มที่จะจัดโครงสร้างภายในกาย

    ก่อนอื่นลองดูรูปโครงกระดูกที่มีให้ไว้นี้ รูปโครงกระดูกที่เห็นนี้ จะเป็นคู่มือในการจัดโครงสร้างของกายเป็นรูปที่ช่วยป้องกันภัยพิบัติจากตาเห็น หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายสัมผัส

    ลำดับแรก เราน้อมเอารูปโครงกระดูกอันนี้ เข้ามาอยู่ในกายเรา ลำดับที่ ๒ ก็คือ โยกขยับปรับโครงสร้าง ลองขยับดูให้ดี ตรงไหนมันบิดมันเบี้ยว ทับเส้นเอ็นเส้นประสาท จัดให้เข้าท่าเข้าทาง จนแน่ใจว่า ทำให้เราสบายในขณะที่นั่งอยู่ได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี ส่วนมือไม้จะวางไว้ตรงไหน หลวงปู่ไม่จำเป็นจะต้องบอก ว่าจะต้องวางไว้ที่เข่าอย่างหลวงปู่ เพราะหลวงปู่ถนัดอย่างนี้ ก็วางอย่างนี้ แต่ถ้าท่านถนัดอย่างไร ก็วางเอาไว้อย่างนั้น หรืออาจจะเอามาซ้อนไว้ตรงหน้าตักก็ได้ หรือวางทิ้งไว้ข้างขาก็ได้ จะหลับตาก็ได้ ลืมตาก็ได้ แล้วแต่แต่ต้องไม่เกร็ง หรือข่มหนังตาและลูกตา

    ทีนี้ลองโยกตัวไปข้างหน้า โยกตรงๆ ไม่ใช่โยกเอียง ไปข้างใดข้างหนึ่ง โดยทิ้งน้ำหนักตัวลงสู่ช่วงล่างของลำตัว เพื่อรักษาดุลถ่วง ตอนที่โยกตัวไปข้างหน้า ก็ให้ส่งความรู้สึก ไปในโครงสร้างดูว่า กระดูกทุกส่วนของร่างกายมันมีอะไรบกพร่องบ้าง อะไรผิดพลาดบ้าง โยกตัวไปช้าๆ ให้ลำตัวเกือบ ขนานกับพื้น อย่างมีสติ แล้วค่อยๆ โน้มขึ้นมาให้ตั้งตรง แล้วก็เอนไปทางขวา แล้วก็กลับมาตั้งตรงขึ้นมาอย่างช้าๆ จากนั้นเอนไปทางซ้าย แล้วก็ตั้งตรงขึ้นมาอย่างช้าๆ ถ้าเราส่งความรู้สึกมันลงไปในกาย แล้วคลุมอาการไหว ของโครงสร้างภายในกายให้ตลอด แล้วเราก็จะสัมผัสได้ถึงความชัดเจน รู้จริง เห็นจริง ในอิริยาบถของตนเอง แล้วสิ่งหนึ่งที่จะปรากฏแก่เราก็คือ ความสงบ สงบไหม เริ่มรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้วใช่ไหม เช่นนี้แหละที่เรียกว่า สติปัฏฐาน นั่นคือ สติเป็นฐานที่ตั้งมั่น ของพฤติกรรม เรื่องที่เราทำ คำที่เราพูด สูตรที่เราคิด จะถูกต้องชอบธรรมได้ก็ด้วยอาศัยฐานที่ตั้งอันนี้แหละ

    เอาละ...ขยับโยกไปข้างหลังอีกหน่อย ตรวจสอบก้นกบ และโครงสร้างของเรา ต้องทำอย่างจริงจังและจับจ้องต่อมัน แล้วก็กลับมาอยู่ในท่าตรง ขยับหัวไหล่ แล้วแอ่นอกไปข้างหน้า แอ่นอกไปข้างหลัง จากนั้นตรวจสอบดูให้พร้อมว่า กระดูกส่วนใดมีความผิดปกติบ้าง บิดคอจากซ้ายไปขวา ขวาก็ไปซ้าย แล้วมองตรง เงยคอและหน้าขึ้นมองเพดาน และก็กลับมามองตรงเฉพาะหน้า สายตาทอดลงต่ำ

    เมื่อเราได้โครงสร้างที่เหมาะสมแล้ว เราก็ค่อยๆ เริ่มหรี่เปลือกตาลงน้อยๆ ด้วยความสุขุมนุ่มนวล และสุภาพอ่อนโยน ไม่ใช่หลับจนเกร็งเปลือกตาจนหลับปี๋ จะกลายเป็นความถมึงทึง เครียด

    เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ค่อยๆ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ให้เต็มปอด ลึกสุดหยั่งเต็มที่ พร้อมตามดูลมไป จนกระทั่งมันพุ่งพล่านอยู่ภายใน เปรียบประดุจดังน้ำที่เทเข้าขวดจนเต็มแน่นอัด ในขณะที่มันกำลังเต็มก็เกิดฟองคลื่น แล้วก็ล้นไหลนองออกมาจากขวด เราต้องปิดฝาขวดไว้สักพัก คือ กักลมทิ้งไว้ อย่าเพิ่งผ่อนลมออก นับในใจว่า ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ แล้วก็เปิดฝาขวดค่อยๆรินน้ำออก คือ ผ่อนลมออกอย่างแผ่วเบา สุภาพ ผ่อนคลาย และหมดจด แล้วพักไว้สักนิด หยุดกลืนน้ำลายลงคอหนึ่งครั้ง แล้วค่อยๆสูดเข้าไปใหม่อย่างสุขุม คัมภีรภาพ เบิกบาน เต็มสมบูรณ์ สูดให้เต็มปอด จนกระทั่งลมมันยกหน้าอกขึ้น แล้วก็กักลมทิ้งไว้ พร้อมกับนับใหม่

    เราอาจจะนับไม่ถึง ๖ ก็ได้หรือไม่นับก็ได้ เพื่อให้ลมมันได้พุ่งพล่านไปในกาย ปลุกเส้นประสาททั้งหลายให้ตื่นตัว เมื่อมันตื่นหมดจนคิดว่าทนไม่ไหวแล้ว ค่อยๆผ่อนออกพยายามอย่าไปกลั้นลมจนเราทนไม่ไหว ตรงนี้มันจะทำให้เหนื่อย ที่จริงไม่ต้องใช้คำว่า ทนไม่ไหว แต่ว่ามันเหลือกลั้นก็ผ่อนออก ผ่อนด้วยความนิ่มนวล ผ่อนคลาย ผ่อนของเสียที่มีอยู่ในกายออกมา ดูดของดีเข้าไปใหม่ เพื่อปรุงชีวิตอินทรีย์ขึ้นใหม่ แล้วก็ขับของเสียออกมา ผ่อนออกแล้วต้องทิ้งไว้นิดหนึ่ง แล้วจึงจะสูดเข้าไปใหม่ เพราะถ้าสูดเข้าไปเลยมันจะทำให้เหนื่อย

    การผ่อนลม จะผ่อนออกทางปากก็ได้ ไม่จำเป็นต้องผ่อนทางจมูกเสมอไป ไม่มีข้อห้ามว่าจะต้องออกทางจมูกเท่านั้น สูดเข้าทางจมูกและผ่อนออกทางปากก็ได้ เหมือนกับอักษร จ แต่เขียนหางตัว จ ก่อน แล้วมาจบที่หัว หรือจะสูดเข้าทางปากแล้วออกทางจมูกก็ได้ เหมือนอักษร "จ" ที่เขียนตามปกติ เสร็จแล้วลองสำรวจดูอารมณ์ว่า สงบไหม... สงบ...ทรงความสงบนั้นไว้ก่อน อย่าเพิ่งปล่อยให้เราแยกแตกออกจากกันกับความสงบนั้น จงรักษาความสงบนั้นต่อไป ขั้นแรกของวิชา ลม ๗ ฐาน เอาแค่นี้ก่อน อาจยังเรียกไม่ได้ว่าขั้นแรก แต่อาจบอกได้ว่า เป็นพื้นฐานของวิชา ลม ๗ ฐาน พอได้ ช่วงนี้ขอเพียงพวกเรารู้จักถึงกลิ่นอาย รสชาติ ที่แท้จริงของสติ สงบ เท่านี้ก่อน เพียงแค่นี้มันก็ทำให้เรารู้สึกดื่มด่ำ ชุ่มฉ่ำ แช่มชื่น และมีสันติสุข พอที่จะเป็นฐาน เป็นพลัง ให้เราได้ทำ พูด คิด อย่างสมบูรณ์ ถูกต้องแล้ว

    เข้าใจวิธีแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นวิธีนี้คือวิธีที่เรียกว่า ศิลปะในการหายใจ เพื่อความผ่อนคลาย การที่เรากักลมทิ้งไว้ ลมที่กักมันจะทำให้หัวใจเราเต้นแรง หลอดเลือดจะขยาย โลหิตจะไหลเวียนได้มากยิ่งขึ้น ใครที่เป็นโรคเส้นโลหิตอุดตัน เป็นโรคความดัน หรือเป็นโรคปลายประสาทฝ่อ จะแก้และรักษาได้ด้วยวิธีนี้

    ฝึกใหม่ๆ แค่ ๕ ครั้งก็น่าจะพอแล้ว ถ้า ๑๐ ครั้ง มันจะเหนื่อยเกินไป แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จะต้องทำติดต่อกันจนเป็นปกติของชีวิตเรา นี่เป็นวิธีการที่จะทำให้เราตั้งมั่นอยู่ได้ในทุกอิริยาบถ ถ้าหากเราฝึกจนถึงขั้นที่สามารถจะรู้เท่าทัน จตุธาตุวัฏฐาน หรือความเป็นไปของธาตุทั้ง ๔ ภายในกาย เราก็สามารถจะควบคุมกายนี้ได้ เป็นนายกายนี้ถูก สมองทุกห้องของเรา จะใช้มันอย่างสมบูรณ์ ประสาททุกส่วนในตัวเรา จะได้รับการปลุกให้ตื่นได้ทุกเวลา ถ้าเราอยากตื่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอนำมาให้อ่านกันค่ะ นำมาจาก กระดาน-ธรรมอิสระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2008
  16. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ข้อคิดดี ๆ จากโน๊ตอุดม
    - ความรู้มากๆๆ บางทีเหมือนกำแพงอิฐที่เรียงตัวสูง
    ความรู้สูง กำแพงสูง ความรู้รอบด้าน ก็เหมือนกำแพงสูงรอบตัว บางครั้งมันอาจทำให้มองออกไปไม่เห็นอะไร
    นอกจากอิฐที่ตนเอง ก่อขึ้นมา

    - กลิ่นของความรัก ก็เช่นเดียวกับห้องน้ำ
    เข้าไปแรกๆๆจะรู้สึกว่าได้กลิ่น
    อยู่ในนั้นนานๆๆ ไปจะเคยชิน จนลืมว่ามีกลิ่นนั้นอยู่
    จนกว่าจะออกมาจากบริเวณนั้น และกลับเข้าไปใหม่

    - ถ้าเรารักใครซักคน
    เราควรเปิดโอกาสให้เค้าได้ทำผิดหลายๆๆครั้ง
    เพราะเราเองก็ต้องการโอกาสอย่างนั้นเช่นกัน

    - อย่าบอกเลยว่าเป็นคนดี
    ความหยิ่งยโส ก็มีอยู่ในคนถ่อมตัว
    ครูที่สอนนักเรียน ก็มีความโง่ ซ่อนอยู่
    ความขลาดกลัว ก็มีอยู่ในนักมวยแชมป์โลก
    ความเบื่อหน่าย ก็มีอยู่ในพนักงานที่ต้อนรับที่กระตือรือร้น
    ความเห็นแก่ตัว ก็มีอยู่ภายในใจของนักสังคมสงเคราะห์
    มันอยู่คู่กัน รอวันปรากฏตัวออกมา

    - ถ้าสันดานห่วยๆๆ มันเป็นกระดาษ
    เรามีแค่หินทับกระดาษคนละก้อน
    ลมกิเลสพัดมา ก็ขึ้นกับว่าก้อนหินของใครก้อนใหญ่พอที่ทับมันไว้
    ไม่ให้ปลิวเพ่นพ่านเท่านั้นเอง..



    ภาษาอาจจะแรงไปหน่อยแต่เห็นว่าน่าสนใจดีครับ
    จาก Forward Mail
    น้องโอ๊ต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2008
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ความงามที่ยั่งยืน
    <!--Main-->[SIZE=-1]" ความงามภายนอก ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา
    นานๆไปก็เสื่อมสภาพ...แต่ความงามภายใน(จิตใจ)
    ย่อมอยู่เหนือกาลเวลา ยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่มพูลมูลค่า
    และสร้างเสน่ห์ตามมาไม่มีจำกัด "
    อะไรๆในโลกนี้ย่อมมี 2 ด้าน 2 มุมมอง เช่น มีขาว มีดำ มีรักมีเกลียดมียินดีและมีอิจฉา มีท้องฟ้ามีผืนดิน หรือแม้แต่ชีวิตคน ยังมีร่างกายภายนอกและจิตใจที่อยู่ภายในอะไรอย่างนี้เป็นต้น....
    ร่างกายภายนอกเป็นเสมือนหน้าบ้านที่ทุกๆคนคาดหวังจะปรับปรุงแต่งให้ดูดีไว้ก่อนแต่บางครั้งอาจทุ่มเทใส่ใจอยู่กับเปลือกที่ห่อหุ้มภายนอกมากเกินไปเลยลืมมองเข้าไปถึงข้างในว่าเป็นอย่างไรนั่นเป็นเพราะว่า...การคาดหวังให้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้มองเห็นแล้วสะดุดตาเป็นจุดเด่น...หลายคนสร้างบ้านผิดวัตถุประสงค์โดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่าง เช่น มุ่งเน้นภายนอกมากกว่าภายใน ให้ข้างนอกดูดีและสวยงามไว้ก่อน ส่วนข้างในจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน ทั้งๆที่วัตถุประสงค์ของบ้านสร้างขึ้นเพื่อการอยู่อาศัยข้างในเป็นสำคัญไม่ใช่สร้างเพื่อให้คนดูภายนอกหรือชื่นชมภายนอก
    บ้านจะไม่มีความหมาย ถ้าหากมองจากภายนอกมีคนชื่นชมว่าสวยงามน่าอยู่อาศัยแต่บรรยากาศความจริงภายในบ้านกลับมีแต่ความเกลียดชังทะเลาะเบาะแว้งหรือปล่อยทิ้งร้างไม่ใส่ใจ ชีวิตของเราก็ไม่ต่างอะไรไปจากบ้านหลังหนึ่งมีทั้งข้างนอกข้างในทั้งร่างกายภายนอกและจิตใจภายใน..
    ค่านิยมของยุคสมัยนี้ผู้คนมุ่งแต่แสวงหาการยอมรับเพื่อให้คนชื่นชมยกย่องเลยยอมทุ่มเทใส่ใจอยู่กับการปรับปรุงแต่งแค่เปลือกนอกทั้งเครื่องประดับราคาแพงเสื้อผ้าแฟชั่นเครื่องสำอางที่ปกปิดอยู่บนใบหน้าจนกลายเป็นอีกคน
    จะมีความสุขได้อย่างไรหรือเป็นประโยชน์แค่ไหนกันถ้าหากมีคนชื่นชมว่า......" สวยจังเลย หรือหล่อมากๆ" แต่ความจริงข้างในกลับพอกพูนไปด้วยความชั่ว ซ่อนความผิด สะสมความน่าเกลียด มีแต่ความทุกข์ใจอยู่เต็มไปหมด...ดังนั้นการปรุงแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอางค์ที่ถาวรยั่งยืนโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อ นั่นคือ...เครื่องประดับแห่งการทำความดี เครื่องสำอางจิตใตที่ดี เสื้อผ้าแห่งมิตรไมตรี นี่คือ...เครื่องปรุงแต่งที่ยั่งยืนไปตลอดทั้งชีวิต
    เมื่อวันเวลาได้ล่วงเลยผ่านไปไม่มีใครหนีความเหี่ยวย่นและความหย่อนยานไปได้เลยสักคนเดียวแต่ในเวลาเช่นนี้สิ่งที่ยังคงเป็นเครื่องประดับที่ถาวรมั่นคงให้ชีวิตดูดี มีราศรี และมีเสน่ห์...นั่นไม่ใช่เพราะการปรุงแต่งจากสิ่งที่อยู่ภายนอกหากแต่เป็นการปรุงแต่งชีวิตจิตใจข้างในด้วยความดีเป็นหลักสำคัญ


    [​IMG][/SIZE]


    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=juebdent&month=29-02-2008&group=1&gblog=33

    <!--End Main-->
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right background=../template/theme/6/images/02diary_41.jpg height=35> </TD></TR><TR><TD align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2551 21:36:14 น.-->ชีวิตที่ผ่านไป คิดว่าใช่หรือยัง?..
    <!-- Main -->นัยของการตั้งคำถามนี้ ก็เพื่อให้เราได้ค้นหาสิ่งที่ชีวิตเราต้องการจริงๆ เพื่อนำมาซึ่งความสุขในการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่


    คุณเคยวางเป้าหมายในชีวิตของตัวเองไว้บ้างหรือไม่ แล้วคุณเคยถามตัวเองบ้างไหมว่าชีวิตที่เป็นอยู่ตอนนี้เป็นชีวิตที่เคยอยากได้แล้วหรือยัง


    เคยไหมเมื่อเวลาที่ตื่นขึ้นมาตอนเช้า มีความสุขรออยู่ตรงหน้าให้เราไปเผชิญกับชีวิต ไม่ใช่ค้นหาตลอดชีวิต หากแต่มุ่งมั่นกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ทำเพราะมีความหวังที่มีความเป็นไปได้สูง และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน หากคำตอบคือ "ใช่" คุณจะหยุดมันไว้ตรงจุดนี้หรือเดินต่อไปดี


    แล้วถ้าคำตอบคือ "ไม่ใช่" ล่ะ คุณคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี เพื่อให้ชีวิตมันบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ เปลี่ยนวิธีการ หรือว่าทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ทุกอย่างที่ต้องการ หรือควรหยุดอยู่แค่นี้ เพราะคิดว่า "ไม่มีทางเป็นไปได้"


    มีอยู่หลายชีวิตที่กว่าจะรู้เป้าหมายที่แท้จริงที่ตัวเองตามหา ชีวิตก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งค่อน เหลือช่วงเวลาเพื่ออยู่กับสิ่งที่ใช่แค่ไม่นาน แต่ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าอีกหลายคน ที่ไม่มีโอกาสแม้แต่จะหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองเจอ และปล่อยให้ความฝันต้องสูญสลายไปตลอดกาล


    แน่ล่ะ ทุกอย่างที่ผ่านพ้นไปแล้ว เราคงไม่สามารถย้อนเวลาเพื่อกลับไปแก้ไขอะไรได้อีก หากแต่นัยของการตั้งคำถามนี้ ก็เพื่อให้เราได้ค้นหาสิ่งที่ชีวิตเราต้องการจริงๆ เพื่อนำมาซึ่งความสุขในการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่


    แต่ถึงอย่างไรก็อย่าได้ท้อแท้กับเป้าหมายที่ล้มเหลวในช่วงเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าเราจะมีเวลาเหลือน้อยที่จะทำ แต่อย่างน้อยที่สุดเมื่อเราค้นหาชีวิตที่ใช่ของตัวเองเจอ สิ่งเหล่านั้นก็เป็นของเราเอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือเดินตามหลังใคร ไม่มีอะไรจะดีมากไปกว่าการมีเส้นทางที่ตัวเองเป็นคนกำหนดเองได้อย่างอิสระหรอก ลองขีดเส้นทางนั้นดูบ้างสักครั้งเป็นไร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sansook&month=28-02-2008&group=14&gblog=8


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พระกรุโลกอุดร ที่จะแจกให้กับผู้ทำบุญกับทุนนิธิฯต่อจากสองพิมพ์ที่ให้ชมกันไปแล้ว พิมพ์นี้คือ พิมพ์ปิดตาสี่กร
    [​IMG]


    [​IMG]

     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ก้อนหินในใจ

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<STYLE type="">body{background: black url(http://i229.photobucket.com/albums/ee219/ton_2500/06sc3.jpg) no-repeat fixed left bottom}</STYLE>



    <CENTER>ก้อนหินในใจคือความทุกข์ ความกังวล ความเศร้า
    ความแค้น ความน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นความรู้สึกที่หนัก
    กว่าก้อนหิน หากไม่ปล่อยวางสิ่งของมากมาย
    เหล่านี้ลง แรงกดดันภายในใจจะคอยบีบคั้นให้เป็น
    ทุกข์ จนมีชีวิตอยู่แค่ให้ผ่านไปวันๆ

    บางครั้งคนบางคนก็เป็นก้อนหินภายในใจเรา
    บางครั้งก็เป็นเรื่องราวต่างๆ เงินทอง บ้านที่ดิน
    สิ่งของต่างๆ ก้อนหินในใจเหล่านี้หากไม่เอาออก
    ไป ยิ่งนานวันยิ่งจะเอาออกไปได้ยาก

    คิดดูแล้วคนเราก็มีความสามารถแบกรับได้มากมาย
    ความทุกข์ในใจไม่รู้หนักกี่พันกี่หมื่นกิโล
    ไหนจะพิษจากเศรษฐกิจ ไหนจากภาวะการดำเนินชีวิต
    โดยเฉพาะเรื่องราวระหว่างบุคคล การมีส่วนได้ส่วนเสีย
    ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แบกรับได้ง่ายๆ

    ก้อนหินมากมายเหล่านี้ กดอยู่ในใจตลอดมา คนในยุคนี้
    จึงต้องหาวิธีที่จะมาผ่อนคลายจิตโดยวิธีการต่างๆนานา
    เพื่อที่จะปลดปล่อยก้อนหินในใจเหล่านี้

    ก้อนหินในใจต้องหาทางปลดปล่อยด้วยตนเอง
    ไม่อาจให้ผู้อื่นมาช่วยได้ คำเตือน คำปลอบใจ
    กำลังใจจากผู้อื่น อาจช่วยได้เป็นครั้งคราว
    พรุ่งนี้มะรืนนี้ ก็มีก้อนหินกองใหญ่กองเข้ามาอีก

    แล้วเราจะยกก้อนหินในใจออกไปจากใจได้อย่างไร ?

    ก็คงจะต้องฝึกฝนปฏิบัติธรรม ใช้ศีล สมาธิ ปัญญา
    ฝึกฝนและขัดเกลาจิตใจ จนสามารถมองเห็นสภาวะ
    สิ่งต่างๆได้ตามความเป็นจริง ทุกสิ่งที่เกิดย่อมต้องมี
    เหตุและปัจจัย เข้าใจถึงเหตุต้นผลกรรม
    ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ตลอดจนเดินอยู่บนเส้นทางแห่งมรรค
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>[/SIZE]
     

แชร์หน้านี้

Loading...