เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 1 สิงหาคม 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ ต้องบอกว่า "ชีวิตของคนเราไม่มีความแน่นอนอะไรเลย" เนื่องเพราะว่าเมื่อสองวันก่อนเพิ่งจะคุยกับหลวงพ่อแดง (พระครูปริยัติกาญจนโชติ) เจ้าอาวาสวัดวังเย็น เจ้าคณะตำบลบ้านเก่าเขต ๑ มาวันนี้ ขณะที่กำลังรอบรรยายถวายความรู้ ให้กับพระนวกะของคณะสงฆ์อำเภอท่าม่วง ซึ่งรวมกันปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดอินทาราม (หนองขาว) ท่านเจ้าคุณศิริ - พระเมธีปริยัติวิบูล, ดร. (ศิริ สิริธโร ป.ธ. ๙) เจ้าคณะอำเภอเมือง ได้แจ้งมาในกลุ่มไลน์ว่า "หลวงพ่อแดงมรณภาพแล้ว..!"

    จะว่าไปแล้ว เรื่องของการเกิดการตายแม้ว่าจะเป็นธรรมดาของมนุษย์ ตลอดจนกระทั่งสัตว์ทุกรูปทุกนาม แต่ว่าเราท่านทั้งหลายควรที่จะหาประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่ไปด้านชากับสิ่งที่พบเห็น..!

    โดยเฉพาะถ้าหากว่ามีอาชีพเป็นแพทย์หรือว่าพยาบาล ต้องนับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุด เพราะว่าได้เห็นความทุกข์ของคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย แล้วท้ายที่สุด เมื่อความทุกข์เบียดเบียนหนักจนกระทั่งร่างกายรับไม่ไหว ก็แตกดับตายไป ดังนั้น..ถ้าหากว่าใครที่มีอาชีพแพทย์พยาบาลแล้วปฏิบัติธรรม จะมีตัวอย่างที่ดีที่ให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ถ้ารู้สึกสลดสังเวชแล้วนำมาพิจารณา ก็จะสามารถถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอัตภาพร่างกายนี้ได้ดีมาก ๆ

    เพียงแต่ว่าเราท่านทั้งหลายส่วนใหญ่แล้วก็มักจะไปหลง คำว่าหลงในที่นี้ก็คือการยึดมั่นถือมั่น โน่นก็ของกู นี่ก็ของกู ตัวตนก็เป็นของกู นั่นก็พ่อกู แม่กู ลูกกู เมียกู ผัวกู ไปจนกระทั่งเพื่อนกู พอสูญเสียบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ไป ก็มัวแต่ไปขาดสติ เศร้าโศกเสียใจ โดยลืมไปว่าตัวเราท้ายสุดก็ตายเช่นกัน..!

    หลายท่านถ้าหากว่าเคยพิจารณาตามบาลีที่ว่า อทฺธุวํ ชีวิตํ ธุวํ มรณํ ก็คือ ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง

    ถ้าหากว่าดูในอรกสูตร สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก จะเห็นว่าศาสดานอกศาสนาท่านหนึ่งก็คือท่านอารกะ ท่านได้กล่าวถึงความเป็นจริงในชีวิต โดยที่เปรียบเทียบไว้ว่า

    ชีวิตของเรานั้นเหมือนกับต่อมน้ำ ก็คือฟองอากาศที่ผุดขึ้นจากน้ำแล้วก็แตกสลายหายไปในเวลาอันรวดเร็ว

    ชีวิตเหมือนกับรอยไม้ที่ขีดลงในน้ำ ก็คือปรากฏขึ้นวูบเดียวแล้วก็หายไป

    ชีวิตเหมือนลำธารที่ไหลลงจากภูเขา น้ำไหลลงจากที่สูงก็ย่อมพุ่งผ่านไปในเวลาพริบตาเดียวเท่านั้น

    ชีวิตเหมือนกับก้อนเขฬะที่ปลายลิ้น ซึ่งบุรุษผู้มีกำลังจักถ่มทิ้งเสียเมื่อไรก็ไม่ทราบ ก็คือเหมือนกับน้ำลาย โดนถ่มทิ้งเมื่อไรก็ตายเมื่อนั้น

    ชีวิตเหมือนอย่างกับชิ้นเนื้อนาบไฟ ก็คือมีแต่จะโดนเผาไหม้หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว

    ชีวิตเหมือนโคที่เขานำไปฆ่า ก็คือต้องตายแน่ ๆ

     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เราจะเห็นว่าแม้แต่ศาสดานอกพระพุทธศาสนา ก็ยังเห็นความไม่เที่ยงของชีวิตเป็นปกติ เพียงแต่ว่าเขาทั้งหลายเหล่านั้นไม่เข้าถึงความทุกข์ในชีวิต ดังนั้น..ไม่ต้องไปกล่าวถึงว่าจะสามารถเห็นความไม่มีอะไรเป็นตัวตนเราเขาได้หรือไม่ ? เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นสูงขึ้นไปอีกหลายระดับ แต่ว่าการที่เห็นความไม่เที่ยงนั้นก็ต้องถือว่าสุดยอดมากแล้ว เนื่องเพราะว่าบุคคลที่จะเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงนั้น ไม่ใช่จะเกิดขึ้นง่าย ๆ

    ถ้าเราดูเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเสด็จออกประพาสแล้วพบกับคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทั้ง ๆ ที่สมเด็จพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา มีคำสั่งให้ราชบุรุษจัดการ ไม่ให้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ปรากฏต่อสายตาของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นอันขาด เพราะเกรงว่าจะเป็นเครื่องจูงใจให้พระองค์ท่านเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาสแล้วออกบวช แต่ท้ายที่สุด ด้วยกุศลบารมีที่พระองค์ท่านสร้างสมมาเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อการบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ทำให้สิ่งที่ถูกกีดกันหนักหนา สามารถที่จะเล็ดลอดเข้ามาสู่สายตาของพระองค์ท่านได้

    เมื่อเห็นคนแก่ พระองค์ท่านก็พิจารณาว่าตัวเราก็จักเป็นเช่นนั้น

    เห็นคนเจ็บไข้ได้ป่วย ตัวเราก็จักเป็นเช่นนั้น

    เห็นคนตายก็พิจารณาว่า ตัวเราก็จักเป็นเช่นนั้น

    ปัจจุบันนี้พวกเราต่อให้อยู่ในงานศพก็ไม่ค่อยคิดถึงว่าตัวเราจะเป็นเช่นนั้น


    พระองค์ท่านยังไม่ได้หยุดแค่นี้ หากแต่คิดต่อไปว่า ในเมื่อธรรมที่ทำให้ตายมีอยู่ ธรรมที่ทำให้ไม่ตายย่อมต้องมีด้วย เพราะว่าสรรพสิ่งเป็นของคู่กัน นี่คือปัญญาของพระมหาโพธิสัตว์ที่บารมีเต็ม รอการตรัสรู้แล้วมองเห็น ก็ในเมื่อตายได้ก็ต้องไม่ตายได้

    แล้วพระองค์ท่านก็เห็นเทวทูตรายที่ ๔ ก็คือนักบวช จึงพิจารณาว่าชีวิตฆราวาสเป็นของคับแคบ ก็คือจะทำอะไรก็ขาดอิสระ ถูกผูกพันด้วยภาระต่าง ๆ ถ้าหากว่าออกบวชน่าจะประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ที่เขาใช้คำว่า "โมกขธรรม" ได้ดีกว่า พระองค์ท่านจึงตัดสินใจจะออกบวช แล้วก็เหมือนอย่างกับพญามารแกล้ง ก็คือมหาดเล็กวิ่งมารายงานว่า พระชายาคือพระนางพิมพาราชเทวีมีพระประสูติกาลพระโอรสแล้ว..!

    อย่างที่กระผม/อาตมภาพเคยบอกกับเพื่อนรายหนึ่งที่รับปากว่าจะกลับมาบวชใหม่ แล้วก็โดนภรรยาหลอกว่า จะไปบวชก็ไม่ว่า แต่ขอมีลูกไว้เป็นเพื่อนสักคน บอกเขาไปว่า "เอ็งสามารถที่จะทิ้งเมียได้ แต่เอ็งทิ้งลูกไม่ได้เด็ดขาด" จากวันนี้มาถึงวันนี้ ๓๐ กว่าปีแล้วยังไม่เห็นจะมาตามที่นัดกันไว้เลย..!

    แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าด้วยความตกใจว่า "ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ บ่วงได้เกิดขึ้นแล้ว เครื่องผูกมัดได้เกิดขึ้นแล้ว" อยู่ต่อเมื่อไรเสร็จแน่นอน..! จึงให้นายฉันนะเตรียมม้ากัณฐกะ แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    หลายท่านที่เป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนากล่าวหาว่าเจ้าชายสิทธัตถะไร้ความรับผิดชอบ เพราะว่าทิ้งลูกทิ้งเมียหนีไปบวช โดยที่เอากำลังใจของตนเองเข้าไปวัด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในยุคนั้น พระองค์ท่านพิจารณาว่า ถ้ายังอยู่ในห้วงน้ำย่อมไม่สามารถที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ แต่ถ้าขึ้นสู่ฝั่งเมื่อไร จะช่วยคนมากมายเท่าไรก็ช่วยได้ จึงต้องใช้วิธีสละสิ่งผูกมัดทั้งหลายออกไปก่อน เมื่อประสบความสำเร็จแล้วค่อยกลับมาช่วย

    อย่างที่ในพุทธประวัติจะเห็นว่าพระองค์ท่านเสด็จไปโปรดพุทธบิดา เสด็จไปโปรดพุทธมารดายันสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จไปโปรดพระนางพิมพาและพระราหุลราชกุมาร นั่นคือถ้าสามารถพ้นไปได้แล้วจะกลับมาช่วยใครก็ได้ แต่ถ้ายังไม่พ้น ก็มีแต่จะกอดคอกันจมอยู่ในห้วงวัฏสงสาร ไม่รู้ผุดไม่รู้เกิดต่อไป

    ดังนั้น..ในเรื่องของความตายจึงไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นแล้วเศร้าสลด แต่ต้องเห็นแล้วสะดุ้งกลัวว่า ภัยทั้งหลายเหล่านี้จักมาถึงเราเมื่อไรก็ไม่แน่ เราต้องเร่งรัดการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ของตนเองให้เต็มที่ยิ่งกว่านี้ เพื่อที่ถึงเวลา ความตายที่หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้มาถึง ถ้าเราไม่สามารถหลุดพ้นได้ อย่างน้อยก็ขอให้หนทางการเวียนว่ายตายเกิดที่ยาวไกลไม่รู้จบนั้น สั้นลงมากที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ หรือถ้าประสบความสำเร็จ พ้นจากกองทุกข์ในชาตินี้ไปได้เลยก็ยิ่งดี

    แล้วหมั่นพิจารณาในมรณานุสติ ก็คือความตายนี้มาถึงเราได้ทุกลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า ถ้าไม่หายใจออกก็ตายแล้ว หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าก็ตายอีกเช่นกัน

    จึงเป็นเรื่องที่เราต้องเร่งรัดตนเองให้มากที่สุดก่อนที่ความตายจะมาถึง ก็แปลว่าต้องเอาความตายเป็นบทเรียน เป็นแรงกระตุ้น ให้เราตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงจะเป็นทางที่ถูกต้อง

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...