เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ"บรรลุนิพพาน" แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ิ์Fist of the North Star, 31 มกราคม 2015.

  1. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ"บรรลุนิพพาน" แก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

    ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า "ไม่เที่ยง"
    ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า "ไม่เที่ยง"
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า "ไม่เที่ยง"
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า "ไม่เที่ยง"
    ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ว่า "ไม่เที่ยง"


    ( ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ
    ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น
    รวมการเห็นว่าไม่เที่ยงทั้งหมด 30 แง่มุม คือ 5 กรณี ต่อ 1 อายตนะ )

    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    (- สฬา.สํ. 18/167/232)



    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ"บรรลุนิพพาน" แก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

    ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า "เป็นทุกข์"
    ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า "เป็นทุกข์"
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า "เป็นทุกข์" "
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ว่า "เป็นทุกข์"
    ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ว่า "เป็นทุกข์"


    ( ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ
    ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น
    รวมการเห็นว่าไม่เที่ยงทั้งหมด 30 แง่มุม คือ 5 กรณี ต่อ 1 อายตนะ )


    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    (-สฬา.สํ. 18 / 168 / 233.)



    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ"บรรลุนิพพาน" แก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

    ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า "เป็นอนัตตา"
    ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า "เป็นอนัตตา"
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า "เป็นอนัตตา" "
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ว่า "เป็นอนัตตา"
    ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ว่า "เป็นอนัตตา"


    ( ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ
    ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น
    รวมการเห็นว่าไม่เที่ยงทั้งหมด 30 แง่มุม คือ 5 กรณี ต่อ 1 อายตนะ )


    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    (สฬา.สํ. 18 / 168 / 234.)




    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    จักษุ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ?
    “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ?
    “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
    “นั่นของเรา (เอตํ มม),
    นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ),
    นั่นเป็นอัตตาของเรา (เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้ ?
    “ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”


    ( กรณีแห่งรูป…จักษุวิญญาณ…จักษุสัมผัส… เวทนาจากผัสสะกรณีจักษุ
    รวมถึง หมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ ก็เช่นกันด้วย
    รวมสิ่งที่ ไม่ควรเห็นว่า เป็นของเรา เป็นเรา เป็นอัตตาของเรา ทั้งหมด 30 กรณี )


    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ;
    ย่อมเบื่อหน่ายใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ( ไม่ทุกข์ไม่สุข )
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ;


    ( กรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็เช่นเดียวกัน)

    เมื่อเบื่อหน่ายย่อม คลายกำหนัด ;
    เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ;
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

    อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”.


    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือ ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    (-สฬา.สํ. 18/169/235.)


    ท่านๆเห็นอะไรในพระสูตรนี้กันมั่งครับ ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มกราคม 2015
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีที่ง่ายต่อการบรรลุธรรม
    เหมือนจะไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน
    แต่จริง ๆ กลับซับซ้อน และซับซ้อนมากน้อยต่างกันไป
    ก็ตามปมที่ตนเองเคยผูก ๆ มันเอาไว้นั่นเอง
    ผูกไว้ยากซับซ้อนมากก็ต้องใช้เวลาแก้เวลาคลายนาน
    นานมากกว่าคนที่ผูกไม่กี่เปราะ หรือผูกเยอะก็จริง
    แต่เริ่มรู้วิธีคลายปมที่ผูก และคลายไปได้หลายเปราะแล้วนั่นเอง..
     
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ชภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ;
    ย่อมเบื่อหน่ายใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ( ไม่ทุกข์ไม่สุข )
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ;

    ( กรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็เช่นเดียวกัน)

    เมื่อเบื่อหน่ายย่อม คลายกำหนัด ;
    เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ;
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

    อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”. ดูเหมือนท่านจะสอนอริยสาวกนะครับผู้ที่เป็นโสดาบันอย่างตำ่. กล่าวถึง2ครั้งคำว่าอริยสาวก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2015
  4. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    เห็นสิ่งที่ 1

    จากอ้างอิง ตอนแรกภิกษุยังไม่เป็นอริยสาวก แต่เมื่อปฏิบัติมาจนถึงตรงที่ขีดเส้นไข่ปลาไว้ ก็ได้ความเป็นอริยสาวก
    หลังจากเส้นไข่ปลานั้นจึง กล่าวว่า อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้...

    เห็นสิ่งที่ 2
    หลังจากเห็นว่า
    ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา แล้วตามด้วย

    “นั่นของเรา (เอตํ มม),
    นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ),
    นั่นเป็นอัตตาของเรา (เอโส เม อตฺตา)”
     
  5. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่านกล่าวว่าภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้มีการสดับ. ก็คืออริยสาวก. ท่านไม่ได้กล่าวเลยอริยสาวกทั้งหลาย. การสนทนาในคราวเดียวกันน่าจะเป็นได้ยากที่จะฟังแล้วจะบรรลุเลย. โดยเฉพาะเส้นทางมรรคนี้นั้นก่อนจะเป็นอริยจะต้องใช้ความเพียร. แต่ถ้าเป็นอริยแล้วไม่แน่อาจเป็นไปได้ที่จะใช้ปฎิปทานี้. (ความเห็น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    หลังจากพระองค์ตรัสรู้พระองค์เห็นว่าพระธรรมที่ท่านทรงตรัสรู้นั้นยากที่จะมีใครเข้าใจได้ น้อมจิตไม่สั่งสอนเลย.จะง่ายอย่างนั้นจริงเหรอสำหรับภิกษุทั้งหลาย แต่อาจเป็นไปได้สำหรับภิกษุที่ได้เป็นอริยบุคคลแล้วที่ผ่านการเพียรมามากแล้ว อาจใช้ปฎิปทานี้เพื่อการบรรลุธรรมชั้นสูงต่อๆไปได้. พระองค์จึงกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกที่ได้สดับ. ทำไมท่านไม่กล่าวว่าภิกษุทั้งหลายเหมือนเดิม. หรือกล่าวว่าอริสาวกทั้งหลาย
     
  7. ZIGOVILLE

    ZIGOVILLE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +792
    อนัตตา
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................ไม่น่าจะเป็นอย่างที่ บิ้กตู่ว่า หรอกครับ...:cool:คือ พระท่านก็ต้องสอนคนที่ไม่รู้ สิครับ ก็ ทั้งหลาย นั้นแหละไม่รู้.....คำว่าอริย คงหมายถึงคำชมว่าเก่งหรือประเสริฐมากกว่า...:cool:และผมคิดว่าการศึกษาพระสูตร ไม่น่าจะต้องไป วิเคราะห์อะไรแบบนี้ ครับ ถ้าโยนิโสมนสิการคำสอนให้เข้าใจได้ มีประโยชน์ต่อตนก็พอครับ(ไม่ใช่เป้นอริยะ หรือไม่เป้นอริยะ)
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถกเถึยงในคำตถาคตถือว่าเป็นบริษัทที่เลิศ
     
  10. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ Tboon เข้าใจว่ามรรควิธีนี้พระพุทธองค์ ให้ปฏิบัติ ซับซ้อนหรือง่าย อย่างไรครับ
     
  11. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    มรรควิธีนี้ไม่ต้องถึงขั้นโสดาบันเป็นอย่างต่ำครับคุณ bigtoo กล่าว
    พระพุทธองค์ ตรัส "จงทำในใจให้ดี"
    สาวกที่ได้ฟัง "ทำในใจ" แล้ว"เห็นตาม"ขณะที่ทรงตรัส
    บรรลุขณะฟังนั่นแหละครับ

    เมื่อสาวกเห็นตาม"ความเป็นจริง" แล้ว
    บทสุดท้าย พระพุทธองค์ จึงตรัสถามว่า
    "สิ่งเหล่านั้น" เที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯลฯ

    ภิกษุที่ตอบ ไม่ได้ตอบไปตาม "สัญญา" แบบเราๆท่านๆ
    แต่ตอบเพราะน้อมไปเห็น แล้วเห็น"แจ้ง"สภาพความจริงนั้น จริงๆ
    แต่จะเห็นแจ้งแค่ไหน อันนี้แล้วแต่อริยะสาวกแต่ละคน

    มรรควิธีนี้ง่าย ไม่จำเป็นต้องบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งก่อน จึงทำได้
    แต่ต้องอาศัยความตั้งมั่นของจิตพอสมควร
    คุณ bigtoo พอทราบไหมครับว่า
    ทำไมพระพุทธองค์ จึงตรัสว่านี้ ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ"บรรลุนิพพาน"
    วิธีเอามาปฏิบัติอย่างไร
     
  12. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่มีอะไรหรอกก็แค่วินิจฉัยไปแบบที่คิดและรวบรวมเหตุการให้เห็นว่าถึงขนาดพระองค์คิดจะไม่สอนสัพพสัตว์คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ. แต่ที่ง่ายอาจจะเป็นอริยสาวกแล้วเพราะผ่านของยากๆมาแล้ว เอาเถอะครับใครมีความเห็นอย่างไรแล้วแต่สะสมกันมา. แต่ผมก็เคยมีความคิดเหมือนพระองค์เกิดขึ้นมาเองทันทีเหมือนกันว่ามันแสนยากที่จะบอกให้ใครเข้าใจได้กับสิ่งที่ผมเจอ
     
  13. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คนที่ "เห็นธรรม" ขึ้นมาจริงๆ จะบอกตรงกันว่า "ธรรมนี้ง่าย"
    ง่ายซะจนคนธรรมดามองข้าม
    แต่ถ้าระลึกไปถึงตัวเองแต่ก่อนก็จะเข้าใจว่า "ทำไมคนธรรมดาถึงมองข้าม"
    ส่วนที่พระพุทธองค์ทรงท้อพระทัย
    ไม่รู้จะบอกให้สัตว์รู้ตามได้ง่ายๆ ท่ามกลาง"อุปทาน"
    ต้องจินตนาการไปหลังที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
    ตอนนั้นไม่มี "มรรค" ซึ่งพระพุทธองค์เป็นคนบอกทางให้สัตว์เดินตาม
    ส่วนพวกเราๆท่านๆเป็นแค่ผู้เดินตาม
    ถ้าเราจะบอกสอน ก็ไม่พ้นต้องเอา "มรรค" ของพระพุทธองค์มาบอก
     
  14. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    น่าสนใจ ที่คุณ bigtoo ว่าสิ่งที่เจอเข้าใจได้แสนยาก คืออะไรครับ
     
  15. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สิ่งที่ผมเคยกล่าวไปแล้วว่าในขณะที่ผมประจักษ์ในสภาวะธรรมหนึ่งที่ผมขอกล่าวว่ากระแสพระนิพาน มีสองสิ่งที่เกิดขึ้นเองในใจทันทีคือหายสงสัยในธรรมทั้งปวง และอีกอย่างคือมันยากจริงๆที่จะบอกคนให้เข้าใจได้ในการที่จะเจอสภาวะนี้มันลำบากและยากมากเพราะต้องเอาชีวิตเข้าแรกเลยทีเดียวที่จะเจอสภาวะธรรมนี้
     
  16. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ bigtoo บอกเลยครับ ไม่เกินกว่าจะเข้าใจได้หรอกครับ
     
  17. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ที่เคยบอกไงครับว่าเอาจิตอยู่กับกายทิ้ง3ขันต์จนถึงที่สุด. อ้อลืมบอกไปก่อนหน้านี้ไม่รู้หรอกที่เขาเรียกว่าทิ้งขันต์3ขันต์ เพียงแค่ผมเอาจิตจดจ่ออยู่ที่กายเท่านั้น ผมคิดอย่างนี้ครับนั้งแล้วก็เจ็บทุกวัน ไหนอาจารย์บอกว่าเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ทำไมความเจ็บมันถึงไม่หมดไปสักที. ให้พิจจารณาเห็นสภาวะธรรมที่มันเกิดดับก็พอจะเข้าใจได้นะ แต่ไม่เคยหายสงสัยในธรรมะเลยถึงจะพอเข้าใจได้แต่จิตก็ไม่จอมรับแท้จริง. ในเมื่อนั่งทีไรก็เจ็บไม่เคยหายเจ็บ ผมน้อมจิตอย่างนี้จริงๆว่า วันนี้ผมจะดูสิว่าความเจ็บที่สุดแล้วมันจะอยู่ตรงไหน. ในที่สุดผมก็เข้าใจคำว่าอนิจจัง(เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป)เพราะความเจ็บปรากฎและในที่สุดมันก็หายเจ็บจนได้รอบแรกผ่านไปอย่างแสนสาหัสแต่ก็ผ่านได้. ผมต้องการดูอีกรอบหนึ่งว่ามันจะหายเจ็บมั้ย ในที่สุดมันก็ไม่หายคราวนี้เจ็บแสนสาหัสจนขนาดว่ากลัวตายขึ้นมาทันทีมันเป็นเส้นบางๆระหว่างความตายกับความเป็นถ้าถอยเราก็จะไม่หายสงสัย. ผมตัดสิ้นใจยอมตายขอเดินต่อ ในที่สุดกายผมแยกในมโนถวารเป็นภาพปรากฎให้เห็นเพราะคงทนสภาความเจ็บไม่ได้. สภาวะธรรมดังกล่าวก็ปรากฎและความคิดเหล่านั้นก็เกิดขึ้นต่อทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  18. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ความจริงจะว่าไปแล้ว ผมใช้คำผิดไปหน่อยที่ว่า
    พระพุทธองค์ท่านสอนง่าย
    เพราะจะรู้สึกง่ายหรือซับซ้อนอยู่ที่ตัวผู้ศึกษาเองดังที่เคยกล่าว

    พระสูตรที่คุณนำมานั้น พระองค์ทรงแสดง
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน ซึ่งก็คือ
    การเห็น (ขันธ์ ๕) ให้ตรงตามความเป็นจริงนั่นเอง
    ซึ่งถ้าจริง ก็จะปรากฏผลตามที่ทรงแสดงไว้โดยลำดับ
     
  19. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    "สภาวะธรรมดังกล่าวก็ปรากฎและความคิดเหล่านั้นก็เกิดขึ้นต่อทันที"

    ตรงนี้เป็นอย่างไรต่อ
    กล่าวให้หมดก่อนครับ ว่าสภาวะธรรมที่ปรากฏคืออะไร และความคิดที่เกิดขึ้นต่อมาเป็อนอย่างไรครับ
     
  20. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ปฏิปทานี้ตรงจริตคุณ Tboon ไหมครับ

    ยังไม่มีใครคุยกันเรื่องปฏิปทานี้เลย สงสัยไม่มีคนปฏิบัติแบบนี้มั้งครับนี่
     

แชร์หน้านี้

Loading...