เมื่อเข้าไปอยู่ในความว่างแล้วควรทำอย่างไรต่อครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อัฑฒเศรษฐ์, 2 มิถุนายน 2008.

  1. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    เมื่อผมทำสมาธิโดยการดูลมหายใจเข้าออกไปสักพักแล้วผมรู้สึกเหมือนว่าตัวเองลอยไปอยู่ในความว่างเปล่า ลอยอยู่ในความมืดตรงหน้า ( ความมืดเวลาเราหลับตา ) แล้วไม่รู้สึกถึงแขนขา แต่ก่อนถึงความรู้สึกนี้ ผมจะชอบแสบ ๆ ตามตัวอยู่เรื่อยเลย พอผมรู้สึกถึงความว่างแล้ว ผมก็ไม่รำคาญถึงเสียงต่าง ๆ ภายนอก ได้ยินชัดเจน แต่ไม่สนใจ หรือสนใจแต่สมาธิไม่ถอย ( อาจจะเรียกว่าฟังเสียงภายนอกรู้เรื่องแต่ไม่สนใจ ) ตอนนี้ผมใช้เวลาไม่ถึงห้านาทีก็เข้าถึงอารมณ์อย่างที่ว่านี้ได้แล้ว แต่ผมไม่รู้ว่าต้องทำอะไรต่อและทำยังไง หรือแค่ดูไปเรื่อย ๆ เหมือนเดิม แต่ก่อนผมไม่เข้าใจนะครับคำว่า " ค่อย ๆ ถอนออกจากสมาธิ " เป็นอย่างไร แต่ตอนนี้เข้าใจแล้ว เพราะถ้าผมทำสมาธิจนถึงความรู้สึกนั้นเมื่อไร ถ้าอยู่ดีดีผมดันลืมตาขึ้นมาเฉย ๆ ผมจะรู้สึกมึน ๆ ตื้อ ๆ ยังไงบอกไม่ถูก แต่ถ้าผมค่อย ๆ กระจายความรู้สึกออกไป ผมจะลืมตาได้ง่าย ยังไงขอความคิดเห็นของผู้มีความรู้ด้วยครับว่าควรจะทำอย่างไรต่อ
     
  2. พลัjจิต

    พลัjจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +18
    รอคำตอบอยู่หรือไง
     
  3. พลัjจิต

    พลัjจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +18
    นี้ละความสังสัย ของการปฎิบัติ คนเราอยากปฎิบัติทำสมาธิ ก็เพื่อหาความสงบให้กับตัวเอง แต่เมื่อจิตเป็นสามาธิระดับหนึ่งก็เริ่มสังสัยละว่านั้นมันคืออะไรสภาพนั้นเรียกว่าอะไร จริงๆแล้วไม่มีใครจะรู้คำถามของตัวเองและคำตอบที่หาได้ดีเท่ากับตัวของเราเองหรอกคับ เคยได้ยินพระท่านบอกว่า ....ทำต่อไปเลื่อยๆ....แล้วก็เดินจากไปเฉยปะ...
     
  4. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    ถามเพราะอยากได้ความรู้น่ะครับ ว่าถูกหรือไม่ ถ้าไม่ถูกจะได้ไม่เสียเวลา ถ้าถูกก็จะมีกำลังใจที่จะทำต่อครับ ผมถือว่าทุกท่านที่มาให้คำแนะนำหรือความคิดเห็นเป็นครู เพราะคนเราถ้าไม่มีครูพวกเราคงเดินทางผิดกันหมด ( ไม่เว้นกระทั้งท่านอริยะเจ้าทั้งหลาย ก็มีครูทั้งนั้น ) ยกเว้นเสียแต่บุรุษซึ่งเป็นศาสดาของโลกซึ่งตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง การเขียนข้อความตอบคุณพลังจิตนี้ขึ้นไม่ได้หมายถึงการโตเถียงหรือ การเอาดีเอาเด่นทางด้านปัญญา แต่หากเป็นเพียงแค่การสะกิดต่อมความเข้าใจของหลาย ๆ คนว่า ความไม่รู้ คือ หนึ่งในหนทางของความสำเร็จ ผมขอฝากไปถึงหลาย ๆ คนที่ชอบเสียดสีถึงความไม่รู้หรือคนที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติอย่างผมว่า อย่าดูถูกหรือรำคาญกับคำถามของความไม่รู้ เพราะอย่างน้อย ผู้ที่มีคำถาม ก็คือผู้ที่ปฏิบัติ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ และยังรอความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะของผู้มีปัญญาจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครับ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ผมทำสมาธิโดยการดูลมหายใจเข้าออกไปสักพักแล้ว รู้สึกเหมือนว่าตัวเองลอยไปอยู่ในความว่างเปล่า ลอยอยู่ในความมืดตรงหน้า....แล้วไม่รู้สึกถึงแขนขา ฯลฯ

    แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรต่อและทำยังไง หรือแค่ดูไปเรื่อย ๆ เหมือนเดิม

    คุณใช้อานาปานสติกรรมฐาน (ลมหายใจเข้าออก) ก็ดูลมใจเข้าออก นี่คือหลักครับ ต่อเมื่ออะไรเกิด หรือ เห็นอะไร หรือ รู้สึกอย่างไร ให้กำหนดรู้หรือทำความรู้สึกตัวว่า มันเป็นอย่างนั้น รู้สึกอย่างนี้ แล้วปล่อยวางความคิดนั้นความรู้สึกนั้น กลับมาดูลมเข้าออกเหมือนเดิมครับ
     
  6. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    มาถึงตรงนี้ได้ การไปต่อคงไม่ยากแล้วครับ

    ผมเข้าใจว่าท่านน่าจะอยู่ในอุปจารสมาธิ เป็นสมาธิขั้นกลาง ถ้าเดินสมาธิต่อไปอีกหน่อยก็เข้าถึง อัปปนาแล้ว

    ผมอยากให้ท่านได้ทำความเข้าใจในองค์ของฌาน ทั้ง ๕ ให้เห็นชัดเจนสักหน่อย น่าจะเป็นประโยชน์ใช้เทียบเคียงเวลาที่ปรากฏองค์ของฌานเกิดขึ้นจะได้ตอบตัวเองได้

    จริง ๆ แล้วเวลาทำสมาธิเมื่อถึงอัปปนา อาการของสมาธิจะเดินไปเองเป็นลำดับ เราจะไม่มีเวลามาดูว่าถึงไหน ยกเว้นสมาธิยังไม่ดี จะคอยมองตอบคำถามตัวเองอยู่นั่น

    เมื่อเข้าสมาธิลึกขึ้นเรื่อย ๆ เราก็พอทราบเองได้ว่าอยู่ที่ขั้นใด โดยความรู้นั้นจะรู้เหมือนแค่เราสัมผัสรู้เท่านั้น แต่คงต้องมีความรู้เรื่ององค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกคตาด้วย

    ที่ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ผมมีข้อแนะนำว่าเอาสติระลึกไว้ที่ฐานใดฐานหนึ่งให้แนบแน่น ก็เป็นฐานที่ท่านใช้เข้าสมาธิเริ่มแรกนั่นแหละครับ

    พอสติแนนแน่น ให้ส่งความรู้สึกเข้าที่ฐานนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จะรับรู้ได้ถึงความเข้มเหมือนหนักแน่นขึ้นเรื่อย ๆ หรือจะเรียกว่าปึ้กก็ได้

    แล้วอาการขององค์ฌานจะปรากฏไปตามลำดับ แต่บางทีก็ข้ามขั้นไปโผล่ที่ฌานสี่เลยก็มี แล้วแต่ความชำนาญ

    พอถึงแต่ละฌานตั้งแต่ฌาน ๑ ขึ้นไป ความรู้สึกจากอายตนะภายนอกก็จะลดน้อยลงตามลำดับ ที่ดูง่าย ๆ ก็เรื่องเสียง เราแทบจะไม่ได้ยินเลย พอฌานสี่นี่เสียงไม่ปรากฏอีกต่อไป

    รวมถึงผัสสะทางจมูกลิ้นกายใจทั้งนั้น จะลดลงตามลำดับ แต่สิ่งที่เด่นชัดขึ้นคือสติที่แก่กล้า

    การที่ท่านยังได้ยินเสียงจากภายนอกแต่ไม่รู้สึกรำคาญนั้นบอกได้ว่ายังมีการรับรู้ของอายตนะอยู่ครับ

    แต่ก็เป็นที่น่ายินดีที่ท่านสามารถเข้าถึงสมาธิขั้นนี้ได้โดยใช้เวลาไม่นาน

    เท่านี้ก่อนนะครับแล้วคงมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กันในโอกาสหน้าครับ
     
  7. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ทีนี้พอนิ่งดีแล้วลอง หาภาพพระมาทรงอยู่ในสมาธิดูครับ เอาแบบนึกขึ้นแล้ว
    เห็นในจิตเลย ทำสมาธิแล้วพยายามทรงให้ได้ตลอดนะครับ เอาพระพุทธรูป
    องค์ไหนก็ได้ แล้วแต่ที่เราชอบ
     
  8. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณมากครับสำหรับคำชี้แนะดีดี ผมมีนิสัยเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อผมมีสมาธิแบบที่ผมตั้งกระทู้ถามไปแล้วนั้น ผมชอบคิดอยากจะเอาจิตออกจากร่าง มันเป็นความคิดที่แว็บออกมาจากตัวเอง ผมหยุดไม่ค่อยอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรค์มากในการทำสมาธิ เพราะผมอาจจะติดใจจากการที่จิตออกจากร่างได้หนึ่งครั้งมาแล้วก็เป็นได้ เลยทำให้ความรู้สึกลึก ๆ ยังอยากออกมาอีก ผมเข้าใจดีว่าการออกจากร่างแบบนี้เป็นการเสียเวลาและไม่ใช่ทางตรงของนิพพาน แต่มันยังยับยั้งชั่งใจในบางเวลาไม่ได้ จึงเป็นการขัดขวางความเจริญในกรรมฐานของผม แต่ผมก็มีความสุขที่ได้รับคำแนะนำสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่อย่างผมแบบเข้าอกเข้าใจกัน และผมคิดว่านี้คือประโยชน์สูงสุดของการมีบอร์ดพลังจิตครับ ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ทั้งหลาย และผมยังคงรอคำแนะนำอื่น ๆ อีกนะครับ ขอให้กระทู้ทุกกระทู้อย่างเช่นกระทู้ของผมเป็นกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติใหม่หลาย ๆ ท่าน สำหรับผมปฏิบัติแบบหย่อนยานมาตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ไม่เคร่งครัดและไม่เคร่งเครียดครับ
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ก็ต้องแล้วแต่ว่า ท่านที่เข้าถึง "ความว่าง" นั้นๆ นิยามสิ่งที่ท่านเรียกว่า "ว่าง" นั้นๆ ว่าอย่างไร

    เช่น

    บางท่านนิยามว่า ว่าง ที่ต้องการนี้ คือมีเนื้อที่เหลือ หรือ กักกันสิ่งอื่นๆ ออกไปภายนอก จึงเกิดเนื้อที่
    "อาจ" ทดสอบความว่างนี้ โดยการหาอะไรไปเติมลงไปซักหน่อย ดูว่ามันเอาอะไรเติมลงไปได้จริงมั๊ย
    เมื่อเอาออกแล้ว เอาของใหม่ลงไปใส่ได้มั้ย
    เมื่อเอาเข้า เอาออกได้ คุณพอใจหรือยัง บางคนพอใจแล้วว่านี้แหละว่าง บางคนไม่คิดว่านั่นว่างพอ

    บางท่านก็นิยามว่าความว่าง คือต้องสูญสิ้น เกลี้ยงเกลา สลายโบ๋รว
    ท่าน "อาจ" ทดสอบโดยการหาอะไรเติมลงไปในนั้น
    แล้วมันต้องสูญสายไปทุกอย่าง จะเอาอะไรไปเติมใส่มันก็ต้องหาย สลายโต๋รว

    บางท่านก็ว่าถ้ายังมีการรับรู้ว่ายัง "ว่าง" ยังต้องมีการนิยามอยู่
    เค้าไม่ยอมรับ ว่าง สำหรับเค้าคือแม่แต่การนิยาม ก็ต้องไม่มี

    คราวนี้ก็จะเห็นว่า คนแต่ละคนมีการนิยาม หรือกำหนดความหมาย ต่างๆกันไป
    บางคนก็สงสัยว่ามันเป็นอย่างที่ตนเองนิยามไว้หรือเปล่า
    บางท่านที่สงสัย ก็ไม่ปล่อยผ่านไป "ว่างๆ" ท่านก็หยิบเอามันขึ้นมาวิจัย
    วิธีการพิสูจน์ จนพอใจ ว่าว่าง ก็เป็นรสนิยมของท่านนั้นๆ ไม่อยากยุ่ง

    จากนี้ไปก็แล้วแต่ท่าน ว่าท่านจะเอาความว่างไปทำอะไร
    ถ้ามันเป็นของที่ท่านหามาด้วยความสุจริต ไม่ไปเบียดเบียนใครมา
    ท่านจะเอามันไปทำอะไรก็ตามใจท่านเถิด

    อาจเป็นเพราะ มีบางท่านนิยมความว่าง ก็เลยหาความว่าง มั๊ง ใครจะรู้ มันรสนิยมคนนั้นๆ
     
  10. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    การออกจากร่าง คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่าพยายามนั่งเพราะอยากออก
    เพราะมันจะติดนะครับ เมื่อถึงเวลา พร้อม คงจะได้ออกมาอีกแน่นอนครับ

    ถ้าทรงภาพพระได้ดีเมื่อไหร่ ทีนี้ลองทำสมาธิโดยการทรงภาพพระแทนดูครับ
    ควบคู่ไปกับลมหายใจก็ได้ พอทำได้แล้ว ทีนี้ลองลืมตาทำครับ ควบคู่ไปกับ
    ลมหายใจพอ ถ้าทำได้แล้วดี ถ้าท่านชอบแนวทางนี้ ตรงกับจริตท่าน ก็ pm
    มานะครับ จะบอกต่อให้
     
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    "การออกจากร่างไม่ใช่ทางตรงของนิพพาน"
    ประโยคข้างบน ไม่เห็นมีอะไร เป็นเหตุเป็นผลนะครับ ไม่เห็นเมคเซ้นต์ <-แก้เป็น เมคเซนซ์

    ถ้าท่านออกมาแล้วเบื่อมันเริ่มไม่อยากกลับเข้าไปใหม่นี่สิ
    เป็นอารมณ์ใจที่ น่าสน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2008
  12. หญิงผู้แสวงหา

    หญิงผู้แสวงหา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.supawangreen.in.th/book_thai_mind/mind6.html
    ช่วงเวลานี้เอง ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเห็นช่องว่างของใจได้ชัดเจน เมื่อความคิดออกจากใจแล้ว สิ่งที่เหลือคือช่องว่างของใจ ช่องว่างของใจนี้แหละที่เป็นตัวการทำให้เจ้าของใจรู้สึกสงบ สุข ดิ่ง นิ่ง ใจเป็นหนึ่ง หรือ เป็นเอกะคตา ใครที่ทำสมาธิกำหนดลมหายใจแบบหลับตาอยู่นานช่วงหนึ่งแล้ว จะสามารถเห็นช่องว่างของใจได้เร็วขึ้น คือ ใจสงบเร็ว ในช่วงนั้นแหละ ตาใจของเขากำลังมองไปที่ช่องว่างของใจอยู่ เหมือนตากายกำลังมองไปที่จอสี่เหลี่ยมก่อนฉายภาพยนตร์ ช่องว่างของใจก็คือจอสี่เหลี่ยมทั้งหมดเมื่อหลับตาลง เป็นช่องว่าง ๆ ที่ดูมืดบ้าง (ถ้ากำลังนั่งกลางคืนในห้องมืดที่ปิดไฟ) เทาบ้าง ขาวสว่างบ้าง (ถ้านั่งกลางวันมีแสงตะวันส่องหน้า หรือ นั่งกลางคืนและมีแสงไฟส่องหน้า) อาจจะมีสีสันบ้าง มันก็คือจอสี่เหลี่ยมทั้งหมดหรือช่องว่างของใจทั้งสิ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของโลกภายในใจที่แสนจะธรรมดามาก ทุกคนเห็นอยู่แล้วทั้งสิ้น ต้องอย่ามองข้าม หรือพยายามมองหาอะไรอื่นที่พิสดาร ดิฉันพยายามชี้ให้คุณมองสิ่งที่เป็นธรรมดา ๆ ที่ทุกคนเห็น ๆ ตำตากันอยู่ เพียงแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรเท่านั้น เหมือนช่องว่างของกาย ห้อง ๆ หนึ่ง เมื่อเอาเฟอร์นิเจอร์ออกหมด ก็เหลือแต่ช่องว่าง จอสี่เหลี่ยมเต็มจออันคือช่องว่างของใจนี้แหละคือหน้าตาของบ้านที่สาม เมื่อคุณสามารถเห็นช่องว่างของใจได้ชัดเจนแล้ว ขอให้รู้ว่าคุณได้เดินทางมาถึงบ้านที่สามแล้ว การอยู่ให้ติดบ้านที่สาม (ในขณะหลับตาทำสมาธิ) คือ ใช้ตาใจมองไปที่ช่องว่างนั้น ตาใจเป็นผู้มองจอว่าง และจอว่าง ๆ นั้นคือสิ่งที่ถูกมอง ถ้าช่องว่างนี้ชัดเจนมากในขณะที่หลับตาทำสมาฺธิอยู่ ก็ขอให้มองเฉย ๆ และอยู่กับช่องว่างเต็มจอนั้นอย่างสบาย ๆ ไม่ต้ิองคิดมาก ถามมาก วิเคราะห์วิจารณ์มาก ถ้าทำ ก็เท่ากับอัปเปหิตัวเองออกจากบ้านที่สามอีก หัดอยู่เฉย ๆ โดยรู้ว่า ถึงบ้านแล้ว ไม่ต้องดิ้นรนอะไรอีกแล้ว และอยู่กับความว่างเช่นนั้น จะรู้สึกสบาย ปลอดภัย เป็นตัวของตัวเอง เป็นความรู้สึกพื้น ๆ ติดดิน ธรรมดามาก คนที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ และมีจิตใจไม่ซับซ้อน จิตกับใจไม่พัวพันกัน ไม่บิดเข้าหากันเป็นเกลียวแล้ว แม้ไม่เคยฝึกเรื่องการพาตัวใจกลับบ้าน ตัวใจของเขาก็สามารถอยู่กับช่องว่างเต็มจอได้เสมอ เพราะเขาไม่คิดมากนั่นเอง และเพราะนั่นเป็นบ้านเดิมตามธรรมชาติของทุกคนด้วย ....
     
  13. หญิงผู้แสวงหา

    หญิงผู้แสวงหา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    1. หากผู้ปฏิบัติยังไม่แน่ใจว่าอะไรคือช่องว่างของใจที่แตกต่างจากความคิดอย่างไร ขอให้คิดถึงการดูภาพยนตร์ในโรงหนัง ภาพยนตร์ที่ฉายไปบนจอสีขาวคือ ความคิด จิต หรือ เจอรี่ จอสีขาวจึงต่างจากความคิด เหมือนโต๊ะ เก้าอี้ และของที่วางแกะกะเต็มห้องย่อมแตกต่างจากช่องว่างของห้อง จริงหรือไม่ แตกต่างมาก จึงอยากให้คุณสามารถแยกความคิดกับความรู้สึกหรือจิต ว่ามันแตกต่างจากช่องว่างเต็มจอของใจอย่างไร ... มีต่อที่ http://www.supawangreen.in.th/book_thai_mind/mind6.html
     
  14. atomdekst

    atomdekst Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    406
    ค่าพลัง:
    +79
    แสดงว่าสมาธิเข้าขั้นแล้วนะครับนี่

    รู้สึกจะได้ฌาณ 3 แล้ว

    อนุโมทนาครับ
     
  15. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอขอบคุณในคำชี้แนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นแค่ขั้นต้นของสมาธิเท่านั้น ถ้าได้ฌาณ 3 จริง ๆ ก็วิเศษไปเลย และขอบคุณทุกคำแนะนำครับ ได้ประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างน้อยก็ทำให้คนฝึกใหม่ไม่หลงทางไปกับอุปาทานของตัวเอง ขอบคุณครับ
     
  16. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    มีสองทางให้เลือก

    - ถ้าจะเอาแต่สมาธิ ให้ประคองจิตใจอยู่ในสภาวะอย่างนั้น ให้ยาวนาน (แต่ท้ายสุดก็ต้องเสื่อม)

    - เจริญปัญญาต่อ โดยให้ดูว่าที่เราไปเจอความว่างนั้น มีเราอยู่ในความว่าง ( เรียกว่าเราสุขอยู่ในความว่างที่สร้างขึ้นมา สังเกตง่ายๆว่า เมื่อเราไปเจอความว่างนั้นแล้ว ยังรู้สึกว่ามีเรา หรือเห็นตัวเราอยู่ในความว่างนั้น ถ้าเรามองเห็นถือเป็นการมองเห็นอัตตา )

    หรือพอมองเห็นความว่างแล้ว เราอยู่ที่นึงและความว่างอยู่อีกทีนึง เรากับความว่างไม่ใช่สิ่งเดียวกันโดยที่ความว่างเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกดู ไม่มีเราอยู่ในตวามว่างนั้น ถ้ามองเห็นแบบนี้ จิตจะค่อยๆเกิดปัญญาเรียนรู้ว่าความว่างไม่เที่ยง เป็นอนัตตาไม่ใช่ของเรา เข้าสู่ความเป็นกลางได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2008
  17. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ก็ควรประคองสติในสภาวะนั้นไปเรื่อยๆด้วยใจเป็นกลางจนกว่าสมาธิจะถอนกลับคืนน่ะครับ เป็นเครื่องพักของจิตเป็นการฝึกฝนจิตให้มีความตั้งมั่นมีกำลังและละเอียดอ่อนมากขึ้น(ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับและความละเอียดอ่อนของสมาธิที่เข้าได้ ขึ้นอยู่ที่ความเพียรในการเข้าออกสมาธิบ่อยๆ) และแม้สภาวะนั้นจะเปลี่ยนไปเราก็ไม่เสียใจ และก็ไม่ยินดีพอใจในสภาวะนั้น ให้ทำใจเป็นอุเบกขา มีสติรู้เท่าทันทั้งในขณะก่อนจะเข้าสมาธิ ขณะเข้าสมาธิ ขณะทรงสมาธิ และหลังจากออกสมาธิแล้วครับ
     
  18. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คำจำกัดความ สำหรับการฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธิ ตามแนวทางของข้าพเจ้า มีดังนี้.

    การฝึก หรือปฏิบัติ สมาธิ คือ "การควบคุม ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ มิให้ฟุ้งซ่าน หรือการควบคุม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก มิให้เกิดขึ้น"

    นอกเหนือจากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป ไม่ใช่การฝึก หรือปฏิบัติ สมาธิ แต่เป็นอาการของโรคจิตประสาท ชนิด คิดเอาเอง
     
  19. อัฑฒเศรษฐ์

    อัฑฒเศรษฐ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +21
    เมื่อเช้านอนทำสมาธิแล้วรำไปด้วยครับ มือมันไปเอง แล้วสักพักก็หยุดเอง พอหยุดแล้วสักพักผมก็ออกจากสมาธิเอง สงสัยจะตื่นเต้นเกินไปครับ เห็นนิมิตหลอกหลายอย่างด้วย แต่ข่มไว้ได้ว่าเป็นของปลอม เข้าใจอารมณ์นิมิตหลอกเลยครับ ที่รีบมาพิมพ์บอกนี้ไม่ได้โอ้อวดครับ แต่ตื่นเต้นมาก ตอนที่พิมพ์อยู่นี้ยังตื่นเต้นดีใจอยู่เลย มันอั้นไม่อยู่ ขอบคุณครับสำหรับทุกความคิดเห็น
     
  20. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อนึ่ง จากคำจำกัดความในเรื่องของ สมาธิ ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป หากนอกเหนือจากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป ล้วนเป็นสาเหตุหรือเป็น อาการเริ่มแรก ของโรคจิตประสาท ชนิดต่างๆ เพราะมันเป็นการปฏิบัติ หรือฝึก สมาธิ ที่ไม่ถูกต้อง ผิดวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย จนนำไปสู่ สิ่งที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่า "วิปัสสนูกิเลส" หรืออาจเสียสติ เป็นบ้า ไปก็มี
     

แชร์หน้านี้

Loading...