เบี้ยแก้เครื่องรางของขลังสารพัดกัน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 13 พฤษภาคม 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เบี้ยแก้คืออะไร
    [​IMG]
    เบี้ยแก้มีอิทธิฤทธิ์ทางด้านการป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ยาเสน่ห์ กันเขี้ยวงา หรือ
    แม้กระทั่งกันผี เบี้ยแก้ที่ดังๆ เป็นที่รู้จักกันมีอยู่ 2 สำนัก คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง
    และเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ว่ากันว่าอาคมของหลวงปู่ทั้งสองนี้
    เข้มขลังนัก ขนาดที่ว่าเสกเบี้ยให้คลานเหมือนหอยได้เลยทีเดียว

    กรรมวิธีการสร้าง
    ภายในเบี้ย เกจิอาจารย์จะบรรจุด้วยปรอทซึ่งดักมาได้จากแหล่งน้ำครำ โบราณมีวิธีการจับปรอทโดยนำไข่เน่าไปทิ้งไว้ในน้ำครำไม่ช้าปรอทจะกินไข่เน่าจนเต็ม บางแห่งอาจจะใส่ทรายเสก แผ่นตะกั่วลงอักขระชิ้นเล็กๆ ลงไปด้วย เวลาเขย่าจึงได้ยินเสียงปรอทดังขลุกๆ เสียงหนักเบาขึ้นอยู่กับปริมาณของปรอทที่บรรจุในเบี้ย
    ปรอทในเบี้ยต้องมีน้ำหนัก 1 บาท พอดี ดังนั้นขนาดของเบี้ยจะไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
    เนื่องจากปรอท เป็นของเหลวลื่นไหลได้ การจะนำปรอทมาบรรจุเบี้ยแก้ เกจิอาจารย์จำต้องมีพระเวท
    เข้มขลัง เพราะต้องใช้พระเวทฆ่าปรอทหรือบังคับให้ปรอทรวมตัวกันอยู่ในเบี้ยเบี้ยแก้

    เมื่อบรรจุปรอทเรียบร้อยแล้ว จะต้องอุดเพื่อไม่ให้ปรอทไหลออกมา ซึ่งแต่ละแห่งจะมีวิธีการอุดแตกต่างกันไป เช่น
    เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี สืบต่อมาจนถึงหลวงปู่เจือ ใช้ชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้ว อุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ย
    ชันโรง คือรังของผึ้งตัวเล็กๆ ที่ทำรังบนพื้นดิน (ปกติผึ้งชนิดนี้ทำรังบนต้นไม้) เป็นของศักดิ์สิทธิ์ หายาก
    ชันโรงนี้มีความน่าทึ่ง ตรงที่ทนแรง Shock Load ของปรอทที่ไหลไปมาได้ โดยไม่หลุดออก

    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง อ.ตลิ่งชัน กทม.ใช้แร่ตะกั่วหุ้ม แล้วลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ย
    แล้วจึงหุ้มด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผ้าแดงลงอักขระเลขยันต์ แผ่นตะกั่ว แผ่นทองแดง วัสดุที่ใช้หุ้มหรือปิดนี้ก็ต้องลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกกำกับด้วย
    จากนั้นบางแห่งอาจนำไปถักหุ้ม เป็น 2 แบบ แบบแรกถักหุ้มทั้งตัวเบี้ย แบบที่ 2 ถักเหลือเนื้อเป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย
    จากนั้นก็เอาด้ายถักหุ้ม ใช้ลวดทองแดงขดเป็นห่วงไว้คล้องคอหรือร้อยเชือกคาดเอว
    บางแห่งก็หุ้มเลี่ยมด้วยเงิน ทอง หรือนาก

    จากนั้นเกจิอาจารย์ผู้สร้างจะนำไปปลุกเสกกำกับอีกครั้งจึงสำเร็จขั้นตอนการทำเบี้ยแก้

    อิทธิคุณของเบี้ยแก้
    เบี้ยแก้เป็นอิทธิวัตถุชั้นหนึ่ง เตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็น หากบุคคลใด
    มีไว้เป็นสมบัติ นำติดตัวโดยคาดไว้กับเอวหรือโดยประการอื่น ย่อมปกป้องภยันตรายได้ทั้งปวง
    เป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุดคงกระพันทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัญไร คุณไสย ยาสั่ง

    พ่อค้าแม่ขายจักหมั่นไหว้บูชา จะไต่เต้าเจ้าสัวแสนทะนาน ลาภเต็มห้อง ทองเต็มไห ขุนนางใดมีไว้ในตัว ดีนักแล จะให้คุณเป็นถึงท้าวเจ้าพระยา พานทอง
    ป้องกันอัตวิบากกรรม แก้ภาพหลอน จิตหลอน ภาพอุปทาน แก้อำนาจภูผีปีศาจ อาถรรพณ์เวททำให้
    มัวเมาขลาดกลัว ขนพองสยองเกล้า คุณไสย ยาสั่งทั้งหลาย

    ข้อควรระวังในการเก็บรักษาเบื้อแก้คือ ไม่ควรวางเบี้ยแก้ในที่อุณหภูมิสูง เพราะชันโรงที่อุดไว้อาจจะละลาย ทำให้ปรอทไหลออกมาได้
    ดังนั้นหากต้องการพกติดตัว ควรใช้เบี้ยแก้ที่ถักเชือกหุ้มและลงรักดำสนิท เพราะจะทนทานกว่าแบบเปลือย

    วิธีใช้เบี้ยแก้ หลวงปู่เจือ ปียสีโล วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    นะโม 3 จบคาถาเสกเบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว
    <!--Main-->(นะโม สามจบ)

    นะ มะ พะ ทะ สามจบ
    จะ ภะ กะ สะ สามจบ

    เสร็จแล้วภาวนาคาภา สามจบ
    "อะสิสะติ ธนูเจวะ
    สัพเพเต อาวุธานิจะ
    ภัคคะ ภัคคาวิจุนนานิ
    โลมังมาเม นะผุสสันติ"
    <!--End Main-->


    อิติปิโส ภะคะวา ยาตรายามดี ได้ยามพระศรี สวัสดีลาโภ นะโมพุทธายะ
    แล้วสวดคาถาในหัวใจต่อ
    อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ พุทธะสังมิ อิสวาสุ

    ที่มา amuletclub.org/viewtopic.<WBR>php?f=12&t=11&start=...
     
  2. parasite_moll

    parasite_moll Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +79
    เคยเห็นแต่รูป ยังไม่เคยมีวาสนาได้เห็นของจิงเลยคับ
     
  3. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้ที่รู้จักนิยมแพร่หลายในหมู่นักสะสมพระเครื่อง มีด้วยกัน ๓ สำนักครับ คือ สำนักหลวงปู่รอด วัดนายโรง กทม., สำนักหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม และ สำนักหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ อ่างทอง ซึ่งแต่ละสำนักจะมีเอกลักษณ์ที่พอจะแยกแยะได้ ซึ่งผมจะได้นำข้อมูลมาเสนอให้ทราบแต่ละสำนัก แต่ละอาจารย์ในภายหลัง

    นอกจาก ๓ สำนักนี้แล้ว ก็มีพระอาจารย์แต่ละท้องถิ่นสร้างเบี้ยแก้เอาไว้เหมือนกัน แต่ไม่มากนัก หรือนิยมเฉพาะท้องถิ่น ถ้าไม่ได้รับมาโดยตรง บางครั้งก็หาอาจารย์ไม่ได้เหมือนกัน

    ส่วนประกอบสำคัญที่สุดในเบี้ยแก้ก็คือ ปรอทธรรมชาติ ที่ดักมาจากน้ำเน่าเสีย แต่พระเกจิยุคสมัยใหม่ อาจจะนำปรอทวิทยาศาสตร์มาใส่ก็ได้ ข้อสำคัญที่สุดก็คือ พระอาจารย์ท่านนั้นต้องมีพลังจิตที่แก่กล้า และสำเร็จวิชาปรอท และเนื่องจากเบี้ยแก้เป็นวิชาที่ขจัดคุณไสย์ มนต์ดำ กลับดวงชะตาจากร้ายกลายเป็นดี ป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้น พระอาจารย์ที่สร้าง หากไม่เก่งจริง ท่านคงไม่ทำขึ้นมาให้เสียชื่อของท่าน

    ปัจจุบันสายวัดกลางบางแก้ว ยังมีพระอาจารย์ที่สร้างเบี้ยแก้ได้ เหลืออยู่องค์เดียว คือ หลวงตาเจือ ส่วนสายอื่น ๆ ตอนนี้ไม่เหลือแล้วครับ หรือใครพอรู้ก็ขอให้บอกกล่าวกันด้วย และพระอาจารย์ท้องถิ่นที่สร้าง และไม่อยู่ในสามสำนักนี้ ที่ผมทราบก็คือ หลวงปู่โสฬส วัดโคกอู่ทอง อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ปัจจุบันท่านอายุได้ ๙๔ ปี ๗๓ พรรษา ท่านเป็นศิษย์ที่สืบทอดวิชามาจาก หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม เกจิอาจารย์ยุคอินโดจีน และ หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ศิษย์หลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่า
     
  4. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ได้ความรู้อีกแล้ว พี่เล็กนี่สารานุกรมเคลื่อนที่จริงๆ อนุโมทนาครับ
     
  5. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้สำนักวัดนายโรง (หรือ วัดสัมมัชผล) กับ สำนักวัดกลางบางแก้ว ถือกำเนิดมาจากปรมาจารย์องค์เดียวกันคือ หลวงปู่แขก วัดชีปะขาว (หรือ วัดศรีสุดาราม ฝั่งธนฯ) ดังนั้น ลักษณะทั่วไปของเบี้ยแก้สองสำนักนี้จึงคล้ายคลึงกันมากที่สุด

    กรรมวิธีการสร้างเบี้ยแก้ คือ การบรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ยจั่น แล้วหาวิธีอุดเอาไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาข้างนอกได้ ซึ่งส่วนมากจะใช้ชันโรงใต้ดิน ดังนั้น การใช้ปรอททำเบี้ยแก้ จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับการใช้ปรอททำลูกสะกดปรอท พระปรอท และเมฆสิทธิ์ หรือทำพระเครื่องอื่น ๆ ที่เป็นเนื้อชิน เนื้อนวโลหะ ฯลฯ ที่มีปรอทเป็นส่วนผสม เพราะการสร้างพระที่มีส่วนผสมของปรอทนั้น เขาใช้ปรอทแข็ง ซึ่งเป็นปรอทที่ผสมกับโลหะต่าง ๆ เช่น ทองแดง เงิน และทองคำ บางทีเรียกว่า "ปรอทที่ตายแล้ว" (อันนี้จะต่างกับข้อมูลที่คุณ Joni นำเสนอ ในข้อที่ว่า ปรอทที่บรรจุในเบี้ยแก้ เป็นปรอทที่ตายแล้ว)

    เมื่อเรานำเบี้ยแก้มาเขย่าใกล้ ๆ หู จะได้ยินเสียง "ขลุก ๆ " ดังชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณของปรอทที่บรรจุ และอุณหภูมิของฤดูกาลนั้น ๆ ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อน การบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตรในโพรงเบี้ย เมื่อมาเขย่าในช่วงฤดูร้อน หรืออากาศร้อน ๆ จะไม่ค่อยได้ยินเลย เพราะปรอทขยายตัวเมื่อโดนความร้อน แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกันลองเขย่าและฟังในฤดูหนาว อากาศเย็น ๆ จะได้ยินเสียงขลุกชัดเจน เพราะปรอทหดตัว

    เมื่อบรรจุปรอทที่กำกับด้วยอาคมลงในท้องเบี้ยจั่นแล้ว ทั้งสองสำนักจะใช้ชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้ว อุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อย

    เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ท่านจะใช้ตะกั่ว ลงอักขระเลขยันต์ปลุกเสกแล้วหุ้มตัวเบี้ยทั้งตัว หรือหุ้มเปิดหลังเบี้ย เสร็จแล้วจึงเอาด้ายถักหุ้มทั้งตัว (ส่วนใหญ่ ๘๐- ๙๐ เปอร์เซ็นต์) ทำห่วงสำหรับคล้อง เท่าที่เห็นส่วนมากมักจะเป็นห่วงเดียว ที่เป็นแบบสองห่วงก็มี แต่พบน้อยมาก แล้วนำมาเคลือบด้วยยางไม้ แต่ที่พบว่าทาด้วยรักก็มี แต่มีน้อย

    เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จะใช้แผ่นตะกั่วลงอักขระ ปลุกเสกแล้ว หุ้มเฉพาะใต้ท้องเบี้ย หรือบางทีก็หุ้มทั้งตัว เหมือนหลวงปู่รอด แล้วนำผ้าแดงลงอักขระห่อหุ้ม จากนั้นจึงถักด้วยเชือก ถ้าหุ้มเฉพาะใต้ท้องเบี้ย การถักจะเปิดหลังเบี้ยเอาไว้ จากนั้นจึงนำลวดทองแดง มาขดเป็นวงกลมทำเป็นห่วง ส่วนมากเท่าที่เห็นจะเป็นสองห่วง สอดใส่เข้าไปในเชือกที่ถัก สำหรับนำไปคาดเอว หรือคล้องคอ

    ดังนั้น จะเห็นข้อแตกต่างของสองสำนักนี้ ตรงที่ผ้าแดงหุ้ม เป็นของวัดกลางบางแก้ว ส่วนลายถักนั้น ถ้าถักหุ้มทั้งตัวหูเดียว ส่วนมากเป็นของวัดนายโรง ถ้าถักหุ้มทั้งตัว หรือถักเปิดหลังเบี้ย แล้วมีห่วงทองแดงขดเป็นเป็นห่วงคล้อง ๒ ห่วง ส่วนมากเป็นของวัดกลางบางแก้ว ถ้าเจอผ้าแดงห่อหุ้ม ก็ฟันธงไปได้เลยครับว่าเป็นของสำนักวัดกลางบางแก้วอย่างแน่นอน สำนักวัดนายโรงไม่มีผ้าแดงห่อครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  6. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้ของ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จะเห็นว่าไม่มีผ้าแดงห่อหุ้ม และเจ้าของนำมาถักใหม่ เพราะเชือกที่ถักเดิมคงชำรุดเปื่อยยุ่ยไปหมดแล้ว ด้วยสร้างมานานกว่า ๑๐๐ ปี

    ดังนั้น การแสวงหาของหลวงปู่รอด จึงค่อนข้างลำบาก หายากสักหน่อย ถ้าไม่มีประวัติสืบทอดแน่ชัด หรือได้มาจากคนที่เชื่อถือได้จริง ๆ อย่าเสี่ยงดีกว่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2008
  8. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่บุญ สแกนมาจากหนังสือ ผมยังไม่มีโอกาสไปถ่ายภาพเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญที่บ้านพี่ชาย แต่สำหรับผมเองขณะนี้ มีเบี้ยแก้ของอาจารย์เจือ ยุคแรก อยู่ เอาไว้จะนำมาให้ชมภายหลัง เพราะว่าถ่ายจากแสงธรรมชาติ ดีกว่าถ่ายใต้แสงนีออน

    สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่เพิ่มทุกรูปแบบในขณะนี้ จะหาราคาหลักร้อยได้ยากแล้วครับ เมื่อของราคาแพงและเป็นที่เสาะแสวงหา ของปลอมย่อมระบาด โดยเฉพาะเหรียญที่เรียกว่า "บล็อคคอมพิวเตอร์" คือ ใช้คอม ฯ สแกนจากเหรียญจริง แกะแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์ ต้องระวังให้มาก ทางที่ดีควรเสาะแสวงหาจากคนที่ได้รับมาจากวัดกลางบางแก้วสมัยเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว จะดีกว่า เชื่อถือได้แน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    โมทนากับสุดยอดสารานุกรมของขลังครับท่านอ.เล็ก
     
  10. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ผมค้นคว้ามาจากหนังสือหลายเล่มเชียวครับ แล้วเกิดการขัดแย้งกัน ก็เลยต้องไปถามผู้รู้ ที่เขาสะสมมานานกว่า ๓๐ ปี จึงได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องความแตกต่างเบี้ยแก้ของสำนักวัดนายโรง และ สำนักวัดกลางบางแก้ว พอจะสรุปได้ดังนี้

    ๑.ทั้งสองสำนัก อุดด้วยชันโรง หุ้มด้วยแผ่นตะกั่วลงยันต์เหมือนกัน
    ๒.ทั้งสองสำนักมีลายถักที่เหมือนและคล้ายคลึงกันก็มี ต่างกันก็มี เอาแน่นอนอะไรไม่ ถ้าจะดูจากภายนอก ต้องพิจารณาการถักหุ้ม ถ้าถักหุ้มมีหูเดียว มักจะเป็นของวัดนายโรง ถ้าถักหุ้มสองหู มีลวดทองแดงขดเป็นห่วง ส่วนมากจะเป็นของสำนักวัดกลางบางแก้ว
    ๓. เท่าที่พบส่วนมาก ของวัดนายโรงมักจะทาเชือกที่ถักหุ้มด้วยยางไม้ชนิดหนึ่ง สีออกน้ำตาลแดง ที่ทาด้วยรักก็อาจจะมี แต่น้อยมาก ส่วนวัดกลางบางแก้ว ส่วนมากจะทาด้วยรักดำ ที่ทาด้วยยางไม้อาจจะมี แต่น้อยมาก
    ๔. ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ ของสำนักวัดกลางบางแก้ว จะมีผ้าแดงลงยันต์ หุ้มตัวเบี้ย ก่อนที่จะทำการถัก ส่วนสำนักวัดนายโรงไม่เคยปรากฎพบเห็นว่ามีผ้าแดงห่อหุ้มก่อนถัก
     
  11. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,189
    เป็นอะไรที่ชอบมากครับ ผมเองไม่เคยมีเบี้ยแก้เก่าๆสักตัว สักวันนึงคงจะได้ครับ อนุโมทนาด้วยครับสำหรับข้อมูลดีๆ
     
  12. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    ผมใช้ติดตัวประจำในขณะนี้ คือ เบี้ยแก้ของหลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ จ.อ่างทองครับ เลี่ยมพลาสติกกันน้ำ แขวนกับเชือกร่ม ไม่เคยถอดออกจากตัว เวลาอาบน้ำ ผมจะนำท่านไว้ที่ศรีษะ แล้วให้น้ำในฝักบัวราดรด เพื่อแก้เคราะห์ แก้โรคภัยไข้เจ็บที่มีในตัว ตัวนี้ขอแบ่งมาจากพี่ชาย

    ส่วนอีกตัวที่เป็นสมบัติของตนเอง ก็คือ เบี้ยแก้ของหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ อ่างทอง ปรมาจารย์เบี้ยแก้ สายอ่างทอง ชิ้นนี้ผมบูชามาจากนักสะสมพระเครื่องด้วยกัน แท้ดูง่ายมาก เพราะเป็นเบี้ยเปลือย ผมใส่ตลับแสตนเลสเอาไว้ คงได้มีโอกาสถ่ายรูปมาให้ชมกันในเร็ววันนี้ พร้อมกับเรื่องราวเบี้ยแก้สายอ่างทอง

    ส่วนเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ หลวงปู่รอด นั้น ผมยังมีภาพในหนังสืออีกมาก และภาพถ่ายของจริง ที่พี่ชายสะสมเอาไว้ คงได้นำมาให้ทัศนากันเรื่อย ๆ พร้อมกับแนะนำข้อสังเกต ในการพิจารณา คอยติดตามก็แล้วกันครับ
     
  13. นักธรรมเอก

    นักธรรมเอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +761
    แล้วอย่างในภาพนี้เป็นเบี้ยแก้ของสำนักไหนครับ จนทุกวันนี้ผมยังไม่ทราบเลยว่าของอาจารย์ท่านไหน สำนักวัดไหน ใครทราบช่วยตอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P3150058.JPG
      P3150058.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      693
  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เป็นของท่านอาจารย์บุญช่วยวัดที่แจกวีลแชร์หรือเปล่าไม่ยืนยันครับ
     
  15. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้พระอาจารย์ยุคใหม่ หลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มาแล้ว ถ้าไม่ได้มากับมือ หรือรู้จากผู้ที่ได้รับตกทอดกันมา ดูยากมากครับ เบี้ยเปลือยส่วนใหญ่ เป็นสายอ่างทองครับ แต่ที่สำนักอื่นที่ไม่ทราบสายก็มี อย่างเช่น หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ท่านก็ออกเบี้ยแก้ เขย่าดูแล้ว เข้าใจว่าข้างในบรรจุทรายเสก ไม่ใช่ปรอท หรือ ของหลวงพ่อกลั่น วัดอินทราวาส อ่างทอง แม้จะอยู่อ่างทอง แต่ลักษณะเบี้ยแก้ของท่าน ข้างในใส่ทรายเสก หรือไม่ก็ผงพุทธคุณ เพราะบางทีก็เขย่าแล้วไม่ใช่เสียง "ขลุก" น่ะครับ เป็นเสียง "แซ็ก ๆ" หรือบางที ไม่ได้ยินเลย
     
  16. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    โปรดสังเกตการถักเชือกปอ (ไม่ใช่ ไนล่อน) ที่ถักจากหลังเบี้ย มายังท้องเบี้ย และห่วงทองแดง ที่เป็นทองแดงเถื่อน หรือ ทองแดงทุบ ถ้าเจอเส้นลวดทองแดงที่เอามาทำเป็น สายไฟฟ้า เป็น ของใหม่ หรือไม่ก็ "เก๊" ไปเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2008
  17. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง กทม.
    นำมาให้ชมกันทั้งด้านหลัง และใต้ท้องเบี้ย เป็นเบี้ยแก้ที่มีสภาพสมบูรณ์มากที่สุดอีกตัวหนึ่ง ลายถักหุ้มตัวเบี้ยเป็นมาตรฐาน ของสำนักวัดนายโรง (จำลายถักให้แม่นนะครับ) ผนวกกับการลงรักยางไม้บาง ๆ เรียกง่าย ๆ ว่า ลักษณะทั้งหมดในตัวเบี้ยแก้ตัวนี้ เพียงมองจากภายนอก ก็กล้า "ฟันธง" เป็นของ สำนักวัดนายโรง เท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    ชี้ให้เห็นถึง ๒ ลักษณะ ของการถักเชือก (ปอ) หุ้มห่อตัวเบี้ย รูปแรก เป็นลายถักมาตรฐาน ในลักษณะเฉียงรอบตัวเบี้ย ส่วนอีก ๒ ลายถัก เป็นแบบฟันเลื่อย ซึ่งเป็นลายถักอีกลักษณะหนึ่ง ที่มักปรากฎในเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด แต่ถึงอย่างไร รักที่ใช้ทาก็ยังคงเป็นยางไม้ชนิดเดียวกัน อาจจะดูว่าหนาหรือบาง ต่างกันไปบ้าง แต่เบี้ยแก้ทั้งภาพดังภาพนี้ ก็ยังถือว่าเป็น "ฟอร์มมาตรฐาน" ของสำนักวัดนายโรงครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    การจุ่มรักของเบี้ยแก้สำนักนี้ หากยึดเอามาตรฐานก็ต้องเป็น "รักยางไม้" แต่ทว่ายังปรากฏให้เห็นได้ในเบี้ยแก้บางตัวที่ลงรักชนิดอื่น ทั้งรักดำ และ รักแดง หนา บาง คละเคล้ากันไป พร้อมทั้งลักษณะของการถักเชือกที่ต่างออกไปจากลักษณะมาตรฐาน ซึ่งลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างกันออกไปเช่นนี้ ใช่ว่าไม่มีปรากฏในเบี้ยแก้สำนักวัดนายโรง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. lekpluto

    lekpluto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,064
    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    บางครั้งหากมองจากเพียงแค่รูปภาพ อาจจะคิดว่าเป็น "หมากทุย" หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม. แต่เมื่อดูตัวจริงก็จะเห็นถึงความแตกต่างจากเรื่องของขนาด ที่ต่างกันมาก บางครั้งเราจะพบว่าลักษณะการถักเชือกในเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จะมีลักษณะคล้าย หรือ ใกล้เคียงกัน กับเชื่อหุ้มหมากของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

    ดูจากเบี้ยแก้สองตัวที่มีห่วง ซึ่งจะพบว่ามีลักษณะการถักเบี้ยแก้สองตัวนี้ มีให้พบได้ในหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยม เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นพระคณาจารย์ในยุคเดียวกัน และต่างก็เป็นพระคณาจารย์ผู้เข้มขลังในพระเวทย์วิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งสองวัดก็ใช่ว่าจะห่างกันเกินไปนัก (อยู่ฝั่งธน ฯ เหมือนกัน) ฉะนั้น กลุ่มหรือผู้ที่ได้รับถัก น่าจะเป็นกลุ่มพื้นเพเดียวกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...