เกร็งๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย moonji, 30 ธันวาคม 2011.

  1. moonji

    moonji สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    ทำไมเวลา ดูลมหายใจ เข้า-ออก แล้ว เหมือนจะเกร็งๆอ่ะคะ เหมือนไปบังคับลมหายใจทุกทีเลยอ่าค่ะ??
     
  2. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    คําถามกว้างใช่เล่น

    ขอตอบด้วยความรู้ส่วนตัว เท่าที่มี

    ถ้ามันเกรงตอน ดูลมนี่

    ส่วนตัวมาจากการ ใช้กําลังใจจดจ่อ ลงไปที่ลมจนเกินไป

    เพราะสติ มันเริ่มไวขึ้น คล่องขึ้น มันเลยวิ่งมาจับที่ลมเร็วขึ้น
    ส่วนใหญ่ มันจะเกิดหลังจากนั่งไปซักครู่นึง เเต่ไม่นาน

    พอลมมันจะเข้า ไอ้ใจนี่มันก็ดันวิ่งมารอ ออก

    พอมันจะออก ไอ้ใจนี่มันก็ดันวิ่งมาดักเอาตอนจะเข้า
    มันเป็นอาการ กึ่งอัตโนมัต เเต่ยัง ไม่อัตโนมัตเต็มที่

    ที่นี้มันก็เลย เกรงตามไปด้วย เพราะกลัวว่ามันจะหลุดเฟรม ออกไปนอกกรอบ
    อาการเกรง มันก็เลยตามมาพร้อมๆ กับ สติ ที่ไวขึ้น คล่องขึ้น

    ส่วนตัวขอเเนะนําว่า อย่าเข้าไปเพ่งในลม ให้มันชัดเกิน เอาเเค่เบาๆ สบายๆ ปล่อยให้มันไหล ไหล ไปตามกําลังของมันเอง

    เเค่คอยประคองเอาไว้ ไม่ให้มันตกถนน ก็ เป็นพอ


    เหมือนขับรถ ด้วยความเร็ว เอาซัก ร้อยหกสิบ ลองสักเกตุดูสิ ว่าใจเรามันจะเเน่นขึ้น เเล้วผล ที่ตามมาก็คือ มือ ไม้ มันเกรงตามไปเป็นกําลัง


    ส่วนตัวน่ะจ๊ะ รอฟังคนอื่นก่อน
     
  3. moonji

    moonji สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    อ่อ ขอบคุณมากๆค่ะ จะนำไปปฏิบัติค่ะ^^
     
  4. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    รอฟังท่านอื่นด้วยจ๊ะ


    รอฟังท่านอื่นด้วยจ๊ะ

    เเค่วิธีส่วนตัว ในเเบบของนังมารรรรรรร อย่าพึ่งไปตัดสิน
    วิธีการทําสมาธินั้น มีหลายรูปเเบบ
    บางทีเราอาจยังหา วิธี ที่เหมาะกับเรายังไม่เจอ
    ค่อยๆหา ค่อยๆ ตามฟัง ตามอ่านไปก่อนน่ะจ๊ะ
     
  5. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    เอาแค่ดูนะครับ ไม่ใช่ไปตามจิก มันจะเครียด เอาป่าวๆ

    วิธีแก้ ถ้ารู้สึกว่า กำลังตามจิก ลมหายใจ ให้หายใจเข้ายาววววววววๆๆๆ หลายๆครั้งนะครับ แล้วปล่อยวาง

    :cool:
     
  6. moonji

    moonji สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    แล้วเวลานั่งไปเรื่อยๆ ตัวจะสั่นๆ ตอนนั้นจิตจะวกกลับมาบังคับลมหายใจต่ออ่ะค่ะ??
     
  7. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ผมเป็นเหมือนกันดูลมไป เหมือนตรงรูจมูก มันแข็งๆ ผิดปกติเหมือนมีไรมาดันโพรงจมูกพอไปเรื่อยมันก็หายใจเบาลงไม่รู้ทําไม ละเอียดขึ้น
     
  8. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    ดูแค่ลมหายใจ ที่ผ่าน เข้าออก ที่กระทบริมฝีปาก ตรงปลายจมูก ก็พอครับ เอาแค่ลมละเอียดนะไม่ต้องไปสูดเข้าลึกๆเต็ม ปอดจนเกร็งนะครับ ถ้าใหม่ๆ เด๋วจิต จะไม่ถึงฌาณ เพราะการที่หายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ นั้นเป็นการ ปั่นจิต ให้จิตมากำลังมากขึ้น แต่ของคุณ เอาแค่ลมละเอียด เป็นพื้นฐานก่อน ดีกว่านะครับ
     
  9. moonji

    moonji สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณค่ะ :cool:
     
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ก็ดูไปทั้งเกร็งๆ นั่นแหละ ระวังอย่าให้ ความพอใจ ไม่พอใจ มันเกิดซ้อนก็พอ

    พอทำมากๆ ทพให่มากๆก่อน จนใจยอมรับว่า เออนะ มันมีเกร็งๆ ซึ่งก็ธรรมดา

    แล้วมันก็มี จังหวะที่ไม่เกร็ง ก็เรื่องธรรมดา คือ เข้าใจด้วยความเป็นกลางว่า
    มันมี ธรรมชาติอยู่สองอย่าง ( จริงๆ จะยังมีเยอะกว่านี้ แต่ ตอนนี้ จับมาคู่
    เดียว คือ เกร็ง กับ ไม่เกร็ง )

    หลังจากนั้น ก็ค่อยๆ วางใจไหม่ ยกคำว่า เกร็งเป็นคำว่า ลักษณะจิตอกุศล

    ส่วนการไม่เกร็ง ตะเอาไว้ (ยังสรุปไม่ได้ ต้องแยบคาย ไม่ใช่ ตรรกศาสตาร์
    เข้าแสวงหาความจริง )

    พอเรายกว่า เกร็งคอ สภาวะอกุศล จิตเขาจะได้รับการอบรมว่า อย่างนี้คือ
    สภาวะจิตอกุศล แล้ว จิตจะค่อยๆ ปล่อยออก

    กล่าวคือ หากจิตประจักษ์ทุกขสัจจ มันก็จะ ละ อัตโนมัติ ประจักษ์นิโรธน(ชั่วคราว)
    เจริญมรรค(ต่อ)

    ก็จะเห็นว่า กระบวนการที่ชื่อว่า อริยสัจจ4 เป็นอุบายนำ ทุกข์(เกร็งๆ)ออก นั้นมี
    อยู่ แต่เรายังไม่แจ้ง ไม่ชัด เมื่อแจ้งชัดก็ยังต้องเห็นความแจ้งชัดปรากฏเป็นทุกขสัจจ
    อีกชั้น หลายซับหลายซ้อน จะเอาตรรกศาสตาร์มาพิจารณาไม่ได้เลย

    แต่เมื่อไหร่แจ้งอริยสัจจแล้ว ก็ไม่ต้องถามใครอีก เพราะ วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2011
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    พูดราวกับว่าตัวเอง เริ่มเห็นอริยสัจ มาแล้วด้วยตัวเอง
    ยังเลอะๆเลือนๆจะไปได้เรื่องอะไร
     
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อย่ามัวแต่ ลามก แอบอวดสิ่งที่ตนมีอยู่เลยครับ

    เรื่อง อริยสัจจ เห็นหรือไม่เห็น เรื่อง นิโรธนเห็นหรือไม่เห็น เขาไม่ได้
    สนใจหรอกว่าจะต้องเห้นหรือไม่เห็น หากมันเป็น สัญญา พระพุทธองค์
    ก็สอนให้นำมาใช้ได้

    เนี่ยะ สัญญา10


    สัญญา 10
    • อนิจจสัญญา พิจารณาว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นอนิจจัง
    • อนัตตสัญญาพิจารณาว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ เป็นอนัตตา
    • อสุภสัญญาพิจารณากายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้
    • อาทีนวสัญญาพิจารณาว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้
    • ปหานสัญญาไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ ย่บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า ที่เกิดขึ้นแล้ว (พิจารณาเห็นว่าวิตกทั้งสองคือกามวิตก และพยาบาทวิตกคือการจองเวรเป็นเหตุให้จิตยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดและอวิหิงสาเป็นเหตุให้รับวิบากกรรมในขณะเวียนว่ายตายเกิด)
    • วิราคสัญญาพิจารณาว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง (อุปธิ = ที่ตั้งแห่งทุกข์ ) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (ซึ่งก็คือสภาวะของพระนิพพานที่สัมผัสได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั่นเอง )
    • นิโรธสัญญาพิจารณาว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (วิราคะ และนิโรธ ล้วนเป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน โดยวิราคะเน้นที่ความสำรอกกิเลส คือการไม่ปรุงแต่งในสิ่งภายนอกราบเรียบเสมอกัน ส่วนนิโรธเน้นที่ความดับไม่เหลือของกิเลส คือการไม่ยึดติดในสิ่งภายในว่าไม่ใช่ตัวกูของกู)
    • สัพพโลเกอนภิรตสัญญา การกำหนดหมายในความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ละอุบายและอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิตย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น (การเห็นสิ่งที่ไม่งดงาม แต่สำคัญว่างดงามเพราะจิตเข้าไปปรุงแต่ง)
    • สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาการกำหนดหมายในความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ความอึดอัด ระอา เกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (การเห็นสิ่งทั้งปวงมีแต่แตกกระจายไป)
    • อานาปานสติ การนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
    ใช้สัญญาล้วนๆนี่แหละ พิจารณาไป

    การพิจารณา เกร็งๆ หรือ หายเกร็ง ที่ จขกท เขาถาม หรือ เอามาต่อยอด
    การภาวนานี่ สงเคราะเข้า สัญญา10 ได้ทุกหมวด

    * * * *

    คำอธิบายสัญญา10 เอามาจาก wiki หากผู้ใดสนใจใครศึกษา ขอให้หาฉบับที่เป็นพระไตรปิฏกจะดูแล้วเป็น มรรค มากกว่า
    เพราะ บางหัวข้อ คนเขียนใน wiki คำนึงใน ผล มากเกินไป ไมได้กล่าวในเชิง มรรค ปฏิปทา ไปกล่าวเอานู้น จบกิจแล้ว
    ซึ่งมันคนละเรื่องการการ สอนเพื่อให้ภาวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2011
  13. moonji

    moonji สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณมากค่ะ (deejai)(smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...