เกจิเรืองนามแห่งแดนใต้และไสยเวท...

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย nuanhadyai@hotmail, 2 มกราคม 2011.

  1. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    จริงๆแล้วตัวดิฉันเองจะพอรู้จักแต่องค์หลวงพ่อทวด...บ้างเท่านั้น....ไม่ถึงกับเก่ง...แต่มีเพื่อนมอบพระของทางใต้มาที่นอกเหนือจากหลวงพ่อทวด......ในความที่อยากรู้ประวัติท่านก็เลยอยากศึกษา... หากสมาชิกท่านใดมีความรู้หรือมีเหรียญของพระอาจารย์ทางใต้ก็นำมาให้ชม บอกกล่าวที่มาที่ไปในกระทู้นี้นะคะ....ยิ่งหากท่านเคยมีประสบการณ์หรือได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกับเรื่องราวนำมาเล่าสู่กันฟังยิ่งดีค่ะ.....

    บทความเนื้อเรื่องนี้ในนำมาจาก หนังสืออัญมณีแห่งปัญญา...
    "นาน ตาปี"
    เพื่อเป็นความรู้กับท่านที่ชื่นชอบ...จะนำมาลงเป็นระยะ..เหมือนได้ศึกษาหาความรู้ไปพร้อมกัน...

    เริ่มเรื่องกันเลย...สำนักวิทยาคมที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันในนามวัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุงนั้น คงน้อยคนนักที่จะไม่รู้เคยได้ยินชื่อ หรือไม่เคยทราบว่าที่แห่งนี้ได้สร้างบุคคลผู้ซึ่งเป็นตำนานความศรัทธาของมหาชน อย่าง พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช "นายพลหนังเหนียว"
    สถานที่แห่งนี้จึงเป็นที่ที่ควารค้นคว้าว่ามีความเป็นมาอย่างไร...มีด้านไสยศาสตร์ และมีเกจิอาจารย์สายสำนักเขาอ้อท่านใดบ้าง วิชาที่สืบทอดมานานจนทำให้มีผู้หลั่งไหลไปเคารพอย่างต่อเนื่อง....
    เนื้อเรื่องในนี้มีข้อมูลตามหลักฐานสำคัญ ๆ ของพระเกจิอาจารย์ดังที่เลื่องชื่อจนเป็นที่ยอมรับของคนจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้รู้ถึงความเข้มขลังของสำนักวัดเขาอ้อมากขึ้น...
    เมืองพัทลุง เมืองแห่งขุนเขาทะลุ ที่มีพัฒนาการทางประวัติ....
    ศาสตร์ยาวนาน สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาจนสมัยประวัติศาสตร์โดยมีชุมชนเกิดขึ้นตรงข้ามกับเกาะใหญ่ บริเวณที่ปัจจุบันเรียกทะเลสาบสงขลา เกาะใหญ่ที่เริ่มตั้งแต่หัวเขาแดงไปจนถึงสุดเขตอ.ระโนด จ.สงขลา
    ต่อมามีการทับถมจากการกระทำของคลื่น และลมทำให้เกาะใหญ่ขยายขึ้น มีแผ่นดินยื่นลงไปเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ของอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทางตอนบน จึงทำให้ที่แห่งนั้นบริเวณด้านหลังกลายเป็นทะเลปิดที่เรียกว่า "ทะเลสาบ"
    นับแต่สมัยอยุธยา สำนักวัดเขาอ้อที่ปรากฎขึ้น แต่มีหลักฐานแน่ชัดแล้ว คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมโกศ พ.ศ.2284 เป็นสำนักเรียนวิทยาคมที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
     
  2. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,324
    ค่าพลัง:
    +19,459
    สวัสดีค่ะ พี่นวล มาให้กำลังใจและติดตามอ่านบทความดีๆมีสาระคะ
     
  3. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    เหล่าพระเกจิอาจารย์ดังแห่งภาคใต้ที่โด่งดัง ล้วนต่างเป็น "ศิษย์" ในสำนัก "เขาอ้อ" ทั้งสิ้น แม้แต่ฆราวาสที่เป็นทีรู้จักกัน คือ พล.ต.ต. ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช "นายพลหนังเหนียว" ที่เป็น "ศิษย์" แห่งสำนัก "เขาอ้อ" เช่นกัน

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=SouvifbmciA&feature=player_embedded"]YouTube - ?????? ??????????????[/ame]


    วัดเขาอ้อ หรือวัดเขาเอาะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอควรขนุนไปทางทิศตะวันออกตามสายควนขนุน-ทะเลน้อย ประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงตลาดบ้านปากคลอง มีถนนแยกไปทางทิศเหนืออีกประมาณ 2กม.
    วัดเขาอ้อตั้งอยู่ติดเชิงเขาอ้อทางด้านทิศใต้มีคลอง "เขาอ้อ" ไหลผ่านซึ่งเป็นคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ส่วนคลองเดิมไหลผ่านวัดทางทิศตะวันออก ไปรวมกับคลองปากคลองและคลองปากประที่ประตูเรียง ต.มะกอกเหนือ อ.ควรขนุน จ.พัทลุง แล้วไหลออกสู่ทะเลสาปสงขลา เชื่อกันว่าเป็นน้ำโบราณที่ชุมชนบ้านเขาอ้อใช้ติดต่อกับชุมชนอื่นๆ ในบริเวณลุ่มทะเลสาปสงขลา
    ความเป็นมาของสำนัก "วัดเขาอ้อ" อันโด่งดังนี้ แต่เดิมทีเคยเป็นที่บำเพ็ญพรตของเหล่าพราหมณ์ในเมืองพัทลุงมาหลายรุ่น ด้วยเหตุนี้บริเวณถ้ำบนเขาอ้อเป็นทำเลที่ดีมาก ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนา อีกด้านหนึ่งเป็นคลองใหญ่ อันเป็นเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีตระหว่างชุมชนต่างๆ ในบริเวณนั้นคือ สทิงปุระ หรือสะทองพาราณสี ซึ่งคือ.. อ.สทิงพระ จ.สงขลาในปัจจุบัน
    ซึ่งศาสนาพราหมณ์เข้ามาเผยแผ่ในเมืองพัทลุงมาช้านานแล้ว ตามตำนานเล่าว่าในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ปราบปรามแคว้นกลิงคราชในอินเดีย ทำให้ชาวเมืองต่างๆได้รับความเดือดร้อนเพราะภัยสงคราม เป็นเหตุให้ชาวอินเดียส่วนหนึ่งอพยพหนีมายังแหลมมลายู ส่วนหนึ่งขึ้นฝั่งที่เมืองท่าปะเหลียน ซึ่งเรียกชื่อในสมัยนั้นว่า "ปะแลนด้า"
    หรือ "ปะลันดา"
    แล้วเดินทางบกข้ามแหลมมลายูมายังเมืองพัทลุงทางช่องเขาตระ ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง แล้วเดินทางล่องเรือมาทางลำน้ำฝาละมี ขึ้นฝั่งตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่
    "บ้านท่าทิดครู" ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
    ชาวอินเดียเหล่านี้ได้นำศาสนาพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ให้แก่ชาวพื้นเมือง จนแพร่หลายไปทั่วดินแดนลุ่มทะเลสาบสงขลา อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณวัตถุ โบราณที่บ้านท่าทิดครูไม่ปรากฏร่องรอยของศาสนาพราหมณ์ให้เห็นตามตำนาน กลับบกพร่องรอยโบราณวัตถุ โบราณสถานทางพุทธศาสนา อันได้แก่ พระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณพุทธศวรรษที่ 24 พระพุทธรูปปงค์นี้ชาวบ้านได้ย้ายไปไว้ที่วัดควนฝาละมี อ.ฝาละมี อ.ปากพะยูน เมื่อปี 2464
    หลักฐานทางโบราณวัตถุ โบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์ในลุ่มทะเลสาปสงขลา ส่วนใหญ่จะพบ ทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบ หรือบริเวณที่เรียกว่า "คาบสมุทรสทิงพระ" ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพัทลุง

    *ขอบคุณmv นำมาประกอบเนื้อเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2011
  4. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    สวัสดีค่ะคุณลิน....พอดีพี่ก็กำลังศึกษาพระของทางใต้เกจิท่านอื่นด้วย.......บางครั้งได้เหรียญมาไม่รู้ที่มาที่ไปค่ะ เผื่อท่านใดมีประวัติได้นำข้อมูลมาบอกเล่า..จะได้เป็นประโยชน์กับท่านที่มีพระดังกล่าว คุณลินมีข้อมูลมีภาพ...นำเรื่องมาลงได้เลยค่ะ....

    *พระอาจารย์ ปาล ปาลธมฺโม วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    *พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    *พระครูพิพัฒน์สิริธร(คง สิริมโต) วัดบ้านสวน อ.ควรขนุน จ.พัทลุง
    *พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา อ.ควรขนุน จ.พัทลุง ฯลฯ
    และอีกหลายท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2011
  5. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    เทวสถานที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดในคาบสมุทรสทิงพระ ได้แก่ ถ้ำคูหาซึ่งอยู่ที่เขาคูหาใกล้กับวัดพะโคะ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ ซึ่งเป็นถ้ำที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ขุดเจาะเข้าไปในภูเขา มีอายุประมาณพุทธศวรรษที่ 12-14
    นอกจากนั้นทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบได้พบหลักฐานศาสนาพราหมณ์ในบริเวณเขื่อนบางแก้ว อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ได้แก่ โบสถ์ พราหมณ์ ซึ่งยังหลงเหลือร่องรอยของเนินดิน ซากอิฐ ฐานประติมากรรม หินทราย ชิ้นส่วนศิวลึงค์ และฐานโยนิหินทรายจนำนวนหลายชิ้นในบริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า "วัดชีแขก" หรือ "โคกชีแขก"
    จึงสันนิฐานได้ว่าพราหมณ์คงเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระตั้งแต่พุทธศวรรษที่ 12-14 หลังจากนั้น เมื่อตั้งเมืองพัทลุงขึ้นที่โคกเมืองบางแก้ว ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 พวกพราหมณ์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญทางด้านพิธีกรรมในเมืองพัทลุงพราหมณ์เหล่านี้จะเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปตามการย้ายศูนย์กลางปกครองเมืองพัทลุง
    กล่าวสำหรับเขาอ้อในยุคสมัยนั้น เป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์ และได้เป็นสำนึกถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่พราหมณ์ ทั้งในเรื่องการปกครองตามตำราธรรมศาสตร์ และยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยาม การจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดจนถึงไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ
    ตามตำนานสำนักเขาอ้อกล่าวว่ามีวิชา 2 สายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่า 2 คน ซึ่งสืบทอดกันคนละสาย
    สำนักทิศาปาโมกช์ "เขาอ้อ"..แห่งนี้จึงมีพราหมณ์ 2 ท่าน เสมอมา
    การสืบทอดวิชาของพราหมณ์ดำเนินมากระทั่งถึงยุคพราหมณ์รุ่นสุดท้าย และเล็งเห็นว่าอาจไม่มีพราหมณ์สืบทอดต่ออีกแล้ว จึงได้เล็งหาผู้จะสืบทอดสำนักเขาอ้อต่อไปภายภาคหน้า ประกอบกับพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้ามาบริเวณสำนักเข้าอ้อมีวัดอยู่หลายแห่ง วัดที่ใกล้ที่สุดคือ วัดน้ำเลี้ยว พราหมณ์ทั้งสองได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดน้ำเลี้ยวรูปหนึ่งมาจำพรรษายังถ้ำแทนพราหมณ์และมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิของบูรพาจารย์ให้ พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ ตลอดจนวิชาแพทย์แผนโบราณ


    *หากท่านใดมีภาพไปเที่ยววัดเขาอ้อ นำมาลงให้ชมกันได้ค่ะ...
    ตัวเองก็ไม่เคยไปวัดเขาอ้อ....
     
  6. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    พระภิกษุรูปแรกที่มาจำพรรษายัง "เขาอ้อ" มีนามว่า " ทอง " และที่ประน่าประหลาดยิ่งสำหรับเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่สืบต่อกันมาล้วนต่างมีชื่อ " ทอง "
    จนมาถึงพระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันค์บรรพต(พระอาจารย์ทองเฒ่า) รูปสุดท้ายที่ชื่อ "ทอง" เพราะเจ้าอาวาสวัดรูปต่ามาชื่อ "ปาล"
    *เป็นเหตุบังเอิญหรือเปล่าไม่รู้นะคะ ได้รับเหรียญของอาจารย์ทองเฒ่ามาค่ะ

    ในหหนังสือ "สารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้" ที่สถาบนทักษิณคดีศึกษาได้จัดทำขึ้น กล่าวถึงความเป็นมาของวัดเขาอ้อว่า
    "วัดเขาอ้อ เข้าใจว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อภูเขาที่ตั้งวัด ซึ่งมีความสูง 50 เมตร เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 67 ไร่ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ตามตำนานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดเขาอ้อพ่อท่านนอโม จากวัดถ้ำเขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง เป็นผู้สร้างวัดชึ้นตั้งชื่อว่า "วัดคีรีฉัททันต์บรรพต" แล้วมอบหมายให้พ่อท่าน "หูยาน" หรือ"อาจารย์หูยาน" เป็นเจ้าอาวาส เล่ากันว่าอาจารย์ทองหูยานได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดประดู่หอม" แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า
    "วัดเขาอ้อ" ตามชื่อภูเขา ตามหลักฐานในทำเนียบวัดจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร(เอียด) อดีตเจ้าคณะที่จังหวัดพัทลุงระบุว่า วัดเขาอ้อสร้างขึ้น เมื่อพ.ศ. 1651
    หากมีเอกสารหลักฐานที่น่าเชื่อถือถึงความเป็นมาของวัดเขาอ้อที่อย่างน้อยวัดเขาอ้อมีมาแต่สมัยอยุธยา คือ หนังสือสารตราของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีไปถึงพระยาแก้วโกรพพิชัย บดินทรสุรินทรเดชอภัยพิรยะพาหะ เจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา จุลศักราช 1103 (พ.ศ.) 2284 ตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนายลีลาศ ภาวโรจน์อดีตศึกษาธิการอำเภอควนขนุน ได้คัดลอกสำเนาต้นฉบับไว้ก่อนที่สารตรานี้จะสูญหายไปจากวัดเขาอ้อ ดังมีความว่า

    "ด้วยขุนศรีสมบัตินายกองสุรา เข้าไปพ้องว่าเป็นวัดเขาอ้อนี้เป็นวัดสร้างมาก่อนแล้วกลับรกร้าง สิ่งก่อสร้างชำรุดเสื่อมโทรมลงคราวหนึ่ง พระมหาอินทราชมาจากเมืองปัตตานี ได้มาเป็นเจ้าวัดและได้จัดการปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ โดยมีปะขาวขุนแก้วเสนา ขุนศรีสมบัติเป็นหัวหน้าฝ่ายคฤหัสถ์ ช่วยกันซ่อมพระพุทธรูปในถ้ำ 10 องค์ ซึ่งปรักหักพัง เสร็จแล้วดำเนินการสร้างเสนาสนะอื่นๆ จนเป็นที่สงฆ์อยู่อาศัยได้ ต่อมาเมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว พระมหารอินทราชกับคณะดังกล่าว ให้จัดสร้างพระอุโบสถขึ้น ในคราวสร้างพระอุโบสถนั้นปะขาวขุนแก้วเสนา ได้มีหนังสือขอพระราชทานคุมเลขยกเว้นการใช้งานหลวงต่างๆ ถวายแก่วัดไว้ เพื่อช่วยเหลือในการสร้างพระอุโบสถห้าคน คือ นายเพ็ง นายพรหม นายนัด นายคง และนายกุมาร ทำพระอุโบสถเสร็จแล้ว ก็มีหนังสือบอกถายพระราชกุศลให้ทรงทราบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำสำริดองค์หนึ่ง หล่อด้วยเงินองค์หนึ่ง ส่งไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาอ้อ แล้วประมหาอินทราชพร้อมด้วยสัปบุรุษทายกได้จ้างช่างเขียนลายลักษณ์พระพุทธบาททำมณฑปกว่าง 5 วา สูง 7 วาขึ้นที่บนไหล่เขาอ้อ เป็นที่ประดิษฐานลายลักษณ์ที่จ้างช่างเขียนไว้ไม่ถาวร จึงพร้อมด้วยขุนศรีสมบัติเรื่อไรเงินจากผู้ที่ศรัทธาได้เงิน 10 ตำลึงตราสังข์ (40 บาท) จัดซื้อดีบุกจ้างช่างแผ่ยาว 3 ศอก กว้าง 1 ศอกคืบ ให้ช่างสลักเป็นลายลักษณ์พระพุทธบาทประดิษฐานไว้ในมณฑป แทนรูปลักษณ์พระพุทธบาทที่เขียนประดิษฐานไว้คราวก่อนนั้น แล้วจัดการสร้างพระพุทธดสยาสน์ด้วยอิฐปูนขึ้นไว้ในมณฑปพระพุทธบาทองค์หนึ่งด้วย มีขนาด 4 วา และพระเจดีย์ไว้บนไหล่เขาข้างๆ มณฑปนั้นรวม 3 องค์ เมื่อสร้างพระพุทธบาทสำเร็จแล้วนั้น พระมหารอินทราชได้บอกถวายพระราชกุศลให้ทรงทราบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินกัลปนาสำหรับวัดเขาอ้อ คือ ทิศบูราพา 30 เส้น ทิศอาคเนย์ 30 เส้น เพื่อให้อากรค่านามาบำรุงวัด ส่วนพระมหาอินทราชเมื่อได้สร้างพระพุทธไสยาสน์และพระเจดีย์เสร็จแล้วก็ไปเสียจากวัด พระสงฆ์อื่นก็อพยพไปบ้างแลคนวัดทั้งห้า ซึ่งปะขาวขุนแก้วเสนาได้เคยขอพระราชทานคุมเลขไว้ที่ กลับถูกพนักงานกรรมการสัสดีเรียกตัวไปใช้งานหลวงเสียทุกคน ไม่มีผู้ที่จะช่วยเหลือบำรุงวัด วัดเสื่อมลง



     
  7. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ถ้ำฉัททันต์ </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><FORM action=http://khaoaor.thaitourholiday.com/index.php/ถ้ำฉัททันต์.html method=post> </FORM><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]

    ถ้ำฉัททันต์ เป็นถ้ำโบราณตั้งอยู่ที่เขาอ้อ ปากถ้ำหันไปทางทิศใต้ สาเหตุที่เรียกว่าถ้ำฉัททันต์ เนื่องจากบริเวณเพดานถ้ำตอนหน้า มีหินปูนคล้ายรูปงวงช้าง ซึ่งคนในสมัยก่อนเข้าใจว่าหมายถึง พระยาช้างฉัททันต์ อดีตชาติของพระพุทธเจ้า จึงเรียกถ้ำนี้ว่า " ถ้ำฉัททันต์ " ถ้ำนี้มีความกว้างประมาณ 7 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร ปากถ้ำเดิมก่อด้วยอิฐถือปูน มีบานประตูทำด้วยไม้ 1 ประตู ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่แล้ว ภายในถ้ำมือสนิท มีค้างคาวอาศัยอยู่มากมาย สภาพถ้ำจึงสกปรกเพราะขาดการดูแลรักษาเท่าที่ควร เมื่อถึงฤดูทำนาชาวบ้านจะเข้าไปขุดมูลค้างคาวตามผนังถ้ำ จึงมีเขม่าไฟตะเกียงติดดำไปหมด ตอนลึกที่สุดของถ้ำมีปล่องอากาศทะลุยอดเขา ทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นในส่วนนี้ของถ้ำ สิ่งที่น่าสนใจภายในถ้ำนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน 11 องค์ พระสาวกพนมมือจำนวน 2 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้ ประดิษฐานเรียงรายไปตามผนังถ้ำด้านซ้ายมือของถ้ำ
    ตามหลักฐานสารตราของเข้าพระยานครศรีธรรมราช มีมาถึงพระยาแก้วโกรพพิชัยบิดนทร เดชอภัยพิริยะพาหะเจ้าเมืองพัทลุง เขียนลงวันเสาร์ เดือน 9 ขึ้น 8 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1103 (พ.ศ.2284) ตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา มีใจความตอนหนึ่งว่า "ด้วยขุนศรีสมบัตินายกองสุราไปฟ้องว่า ที่วัดเขาอ้อนี้เป็นวัดสร้างมาก่อน แล้วกลับรกร้างสิ่งก่อสร้างชำรุดเสื่อมโทรมลงคราวหนึ่ง พระมหาอินทราชมาจากเมืองปัตตานี ได้มาเป็นเจ้าวัด และได้จัดการปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ โดยมีปะขาวขุนแก้วเสนา ขุนศรีสมบัติเป็นหัวหน้าฝ่ายคฤหัสถ์ ช่วยกันซ่อมพระพุทธรูปภายในถ้ำ 10 องค์ ซึ่งปรักหักพังเสร็จแล้ว ดำเนินการสร้างเสนาสนะอื่นๆ จึงเป็นที่ยุติได้ว่าพระพุทธรูปสร้างมาก่อน พ.ศ.2284 แต่ปรักหักพังจึงได้บูรณะขึ้นใหม่ ส่วนรูปพระสาวกทั้ง 2 องค์ กับพระพุทธรูปอีก 1 องค์ เข้าใจว่าจะมาต่อเติมเมื่อภายหลัง ต่อมาคงจะมีการซ่อมแซมใหม่กันหลายครั้ง จนเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิมไปหมด
    ปัจจุบันพระพุทธรูปถูกพอกปูนใหม่ดูไม่สวยงาม แบบฝีมือช่างพื้นบ้าน ตรงกลางถ้ำประดิษฐานรูปปูนปั้นพระอาจารย์ทองเฒ่า หรือพระอาจารย์ทอง อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ สองข้างซ้ายขวามีพระพุทธรูปไม้จำหลักปางมารวิชัย 2 องค์ ฝีมือพื้นบ้านสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยโบราณการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของวัดเขาอ้อ มักนิยมทำกันภายในถ้ำนี้ เพราะถือว่าเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น การปลุกเสกพระ เครื่องรางของขลัง เช่นเดียวกับ การนิยมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง ภายในอุโบสถที่เรียกว่า มหาอุด คืออุโบสถที่มีประตูทางเข้า 1 ประตู ด้านหลังอุดตัน เพราะเชื่อว่าจะทำให้เครื่องรางของขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เป็นคติที่ปฏิบัติต่อกันมาจนปัจจุบัน
    ถ้ำฉัททันต์นอกจากจะเป็นถ้ำที่มีความสำคัญทางไสยศาสตร์แล้ว ยังมีความสำคัญทางด้านศิลปะ โบราณคดี เนื่องจากได้มีการค้นพบ พระพุทธรูปบูชาขนาดเล็กภายในถ้ำพระ โพรงหินหน้าถ้ำจำนวนหลายองค์ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยเงิน และ เงินยวง เท่าที่ค้นพบแล้วมี 2 ปาง คือ ปางเปิดโลกและปางมารวิชัย ปางเปิดโลกชาวบ้าน เรียกว่า " พระทิ้งดิ่ง " ส่วนใหญ่เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน ลักษณะไม่ค่อยสวยงาม มีอายุราวสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างสูง
    อ้างอิง : หนังสือ " วัดดอนศาลา " โดย ธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น จำเริญ เขมานุวงศ์ พ.ศ.2532


    อ้างอิงจาก..ถ้ำฉัททันต์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    พึ่งได้มา สุดยอดควายธนูสายใต้ หลวงพ่อท่านจันทร์ 65O
     
  9. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    ค่ะแล้วจะนำเนื้อหาบางส่วนที่เป็นความรู้มาลงเพิ่มนะคะ
    ออกไปข้างนอกก่อนค่ะ ค่ำๆ จะแวะมาอีก....

    *โบราณวัตถุ และโบราณาสถานของวัดเขาอ้อ หนังสือ"
    สารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ กล่าวไว้

    1.อุโบสถ
    2.กุฏิทรงเรือนไทย ลักษณะเป็นกุฏิไม้ทรงปักษ์ใต้ เป็นเรือนแฝด 3 หลัง และมีชานต่อกัน อยู่ในแนวขนานตะวันตก จำนวน 2 หลัง และอยู่ในแนวสกัดทางทิศตะวันตก 1 หลัง หน้าบันหรือหน้าจั่วของกุฏิหลังทิศใต้สุดทั้งด้านหน้าและหลัง มีลวดลายปูนปั้นรูปลิง กินรี ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งประณมมือเหนือเศียรช้างเอราวัณ 3 เศียร เหมือนกัน ทั้งสองด้าย เป็นฝีมือช่างท้องถิ่น
    3.ศาลาประดิษฐรูปปั้นพระอาจารย์ทองเฒ่า
    4.เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัยทาน จำนวน 2 องค์ หล่อด้วยสำริด
    *องค์ใหญ่สูง155 เซนติเมตร ชาวบ้านเรียก "เจ้าฟ้าอิ่ม"
    *องค์เล็กสูง 94 เซนติเมตร ชาวบ้านเรียก "เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ"
    พระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ประทับยืนบนฐานบัวหงายรองรับด้วยฐาน 8 เหลี่ยม ลวดลายแข้งสิงห์ พุทธลักษณะเหมือนกันทั้งสององค์ พระพักตร์รูปไข่ พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง เม็ดพระศกละเอียด มีไรพระศกเป็นสันเล็กๆ พระขนงโค้งเป็นรูปปีกกาจดกัน พระเนตรมองต่ำ พระนาสิกงุ้มๆ พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อยพระวรกายสมส่วน เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้แก่วัดเขาอ้อ เมื่อ พ.ศ.2284
    5.ถ้ำฉัททันต์
    6.ร่างแช่ว่านยา ตั้งอยู่บนไหล่เขาอ้อตอนเหนือถ้ำฉัททันต์เล็กน้อยก่อนด้วยปูนซีเมนต์เป็นอ่าง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดยาว 2.15 เมตร สูง 65 เซนติเมตร พระอาจารย์ปาล ปาลธมฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อเป็นผู้สร้างขึ้น เมื่พ.ศ. 2496 รางแช่น้ำว่านยานี้ใช้สำหรับประกอบพิธีแช่ว่านยาตามตำราทางไสยเวทย์ของวัดเขาอ้อที่กระทำสืบต่อกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้แช่ว่านยาอยู่ยงคงกระพันชาตรี และรักษาโรคบางอย่างได้
    7.มณฑปพระพุทธบาท ตั้งอยู่บนเขาอ้อเหนือรางแช่ว่านยาเล็กน้อยปัจจุบันเรียกว่า "บนบาท"
    ด้วยมนฑปเป็นอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาก่อน พ.ศ. 2284 มีขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร สูง 14 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธบาททำด้วยดีบุก ขนาดยาวประมาณ 1.5 เมตร กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร และพระพุทธไสยาสน์ก่อด้วยอิฐถือปูน 1 องค์ ขนาด 8 เมตร ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ถูกทำลายสูญหายไปหมดแล้ว เหลือเพียงซากปรักหักพังของตัวมณฑปบางส่วน
    8. เจดีย์ ตั้งอยู่บนเขาทางด้านทิศตะวันออกของมณฑปจำนวน 1 องค์ตามสารตราของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ระบุว่าสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.2284 พร้อมๆ กับการสร้างมณฑปพระพุทธบาท จำนวน 3 องค์ ปัจจุบันหักพังเหลือแต่ฐานเพียงองค์เดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2011
  10. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    สวัสดีค่ะ...
    นำมาให้ชม....ไม่เคยเห็น...เล่าสู่กันฟังได้ค่ะ...
     
  11. phattharaphong

    phattharaphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +11,459
    เหรียญอันดับ 1 ของ ภาคใต้ ก็ต้องเหรียญพ่อท่านเพชร เกาะพงัน สิครับใครมีเอามาโชว์หน่อยสิครับ อยากเห็นเป็นบุญตา :cool:
     
  12. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    ไม่มีเหมือนกันค่ะ เหรียญพ่อท่านเพชร เกาะพงัน
    อยากเห็นเป็นบุญตาเช่นกัน...
    คุณphattharaphong....มีพระสายเขาอ้อนำมาให้ชมบ้างนะคะ...
     
  13. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    วัดเขาอ้อ นับเป็นวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงโดดเด่นทางด้านไสยศาสตร์มาแต่โบราณ มีพระเกจิอาจารย์เป็นผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างเป็นที่รู้จักเป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป
    พิธีกรรมทางไสยศาสตร์อันเลื่องชื่อของวัดเขาอ้อคือ พิธีหุงข้าวเหนียว เสกน้ำมันงา แช่น้ำว่าน เป็นพิธีกรรมอันสำคัญยิ่ง เป็นที่กล่าวขานมาโดยตลอด


    พิธีกรรมทางไสยศาสตร์

    ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลัก นิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน
    นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอ และการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพร และการรักษาด้วยคาถาอาคม เพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น มาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พิธีแช่ว่านยาให้มีความคลังอยู่ยงคงกระพัน พิธีนี้จะทำกันในเดือน 5 และเดือน 10 โดยผู้ที่ทำการแช่ว่ายยาจะลงนอนแชในรางว่านยา แต่ก่อนที่จะลงแช่ว่านยานั้น ต้องหาฤกษ์ที่จะลงในพิธีกรรม ว่านยาที่ใช้จะต้องนำมลงอักขระเลขยันต์ปลุกเสกตามพิธีกรรม ครั้นได้ฤกษ์แล้วที่แต่งเครื่องบูชามาไหว้ครู จากนั้นจึงทำพิธีเกิดใหม่หรือบริสุทธิ์ให้กับผู้ที่จะลงรางแช่ว่านยา
    ต่อมาเป็นการนิมนต์พระอาจารย์ พร้อมด้วยพระสงฆ์อย่างนั้น 5 รูป มาสวดปลุกเสก
    ถึงเวลาจะลงรางแช่ว่านยา ผู้ทำพิธีจะหาทิศทางวันที่เป็นเดช แล้วจึงนำผู้ที่แช่ว่านยาไปในทิศทางนั้น แล้วให้ยื่นเท้าเหยียบแผ่นเหล็กกล้าง แผ่นหนังเสือ และหนังหมี วางใว้บนศีรษะ ลงอักขระเลขยันต์ที่มือ เท้า หน้าอก หลัง และกระหม่อมให้แล้วพาลงทางทิศที่หาไว้
    เมื่อแช่ว่านยาตามกำหนดแล้วผู้ที่เข้าทำพิธีจะทำพิธีพาขึ้นจากรางว่านยาแล้วป้อนน้ำมันงา ข้าวเหนียวดำ จากนั้นทำพิธีผูกครอบให้เรียบร้อย ทำพิธีบูชาครู หรือไหว้ครูอีกครั้งเป็นการเสร็จพิธีแช่ว่านยา
    กล่าวว่าสำหรับพิธีแช่ว่านยาเป็นพิธีที่ใหญ่ และมีกระบวนการขั้นตอนมากมาย จึงไม่ได้กระทำขึ้นอย่างง่ายๆ แม้กระทั้งในเรื่องของเครื่องบูชาครูหรือไหว้ครู ต้องใช้หัวหมู 3 หัว บายศรีใหญ่ ยอดบายศรีมีแหวนทองคำหนัก 1 บาทสวมไว้ หมากพูล ธูปเทียน ดอกไม้ หนังเสือ หนังหมี เครื่องยาหรือว่านที่ต้องใช้ในพิธี 108 ชนิด
    การแช่ว่านยามี 2 แบบ คือ
    การแช่ยาดิบ และแช่ยาต้ม

    ในการแช้ยาดิบ ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากนัก เพียงนำตัวยาคือว่านทั้งหลายมาทุบให้ละเอียดแล้วนำใส่ในรางแช่ หรือเรือที่เตรียมไว้ จากนั้นจึงเทน้ำธรรมดาลงไป จากนั้นผู้แช่ว่านยาที่ลงไปแช่ในราง แต่มักไม่เป็นที่นิมของนักเลงทางไสยศาสตร์เพราะเกรงว่าไม่เข้มขลังเหมือนการแช่ยาต้ม
    ในการแช่ยาต้ม มีกระบวนการขั้นตอนมาก ก่อนทำการแช่ว่านยาผู้ที่จะลงแช่ว่านยาจะถูกไต่ถามว่าบริสุทธิ์ (อยู่ในศิล 5 ) หรือไม่ ถ้าไม่บริสุทธิ์จะต้องทำพิธีสะเดาะหรือทำพิธีเกิดใหม่เสียก่อนเพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์สิ่งที่นำมาประกอบพิธีคือ ด้ายขาว ด้ายดำ ด้ายแดง และหญ้าคา นำมาฟั่นเป็นเชือกยาวเท่ากับความสูงของคนที่จะแช่ว่านยา เครื่องบูชาประกอบด้วย ธูปเทียน หมากพลู แล้วนำเข้าพิธีโดยผู้ที่จะสะเดาะ หรือทำพิธีเกิดใหม่นั่งลงในท่าของทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา และให้อยู่แต่ภายในขอบเขตของเชือกหญ้าคา.....

    *ภาพประกอบจาก พิธีกรรม ด้านคงกระพัน สำนักเขาอ้อ
    ขอบคุณข้อมูลค่ะ http://fws.cc/nathalenoi/index.php?topic=41.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2011
  14. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    จากนั้นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางไสยเวท จะทำพิธีคลอดให้เหมือนอย่างที่ทารกคลอดจากท้องมารดาทุกประการ หลังจากนั้นก็นำน้ำพระพุทธมนต์มารถผู้ที่ทำพิธีสะเดาะ หรือทำพิธีเกิดใหม่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่ทำพิธีได้เกิดใหม่แล้ว มีความบริสุทธิ์ สะอาดทั้งกายและใจ วาจาหลังจากนั้นจึงให้คนที่จะแช่ว่านยาอาบว่าน นำว่านทั้งหมดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กนำไปต้มส่วนหนึ่ง และใช้แช่ดิบส่วนหนึ่ง
    บริเวณที่ตั้งรางแช่จะวงสายสิญจน์ไปรอบๆ เป็นการกำหนดมณฑลพิธี เสร็จแล้วจึงนำตัวยาที่เหลือไปต้มใส่ในรางยา นำน้ำยาที่ต้มแล้วเทใส่ลงไปต้มหลายๆ ครั้ง จนได้น้ำยาครบตามที่ต้องการแล้วตั้งเครื่องบูชาครู ทำพิธีปลุกเสก ในขณะปลุกเสกนั้น อาจารย์ผู้ทำพิธีจะตบมือลงไปที่รางแช่ยาเรื่อยๆ และผู้ที่เข้าพิธีแช่ยาจะต้องนุ่งขาวหุ่มขาว ผืนเดียว ประณมมืออยู่ใกล้ๆ กับอาจารย์ จนเมื่ออาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกครบ 108 คาบแล้ว พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วอาจารย์ผู้ทำพิธีจะลงอักขระที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และศีรษะของผู้เข้าพิธีแช่ว่านพร้อมทั้งสอนคาถาเวลาลง และเวลาขึ้นจากรางแช่ยา
    ในการลงแช่ว่านยานั้น ต้องเลือกคนที่มีกำลังวันมากกว่าคนอื่นลงก่อนโดยแบ่งตามวันเกิด คือ
    ผู้เกิดวันอาทิตย์ กำลังวัน คือ 6
    ผู้เกิดวันจันทร์ กำลังวัน คือ 15
    ผู้เกิดวันอังคาร กำลังวัน คือ 8
    ผู้เกิดวันพุธ กำลังวัน คือ 17
    ผู้เกิดวันพฤหัส กำลังวัน คือ 19
    ผู้เกิดวันศุกร์ กำลังวัน คือ 21
    ผู้เกิดวันเสาร์ กำลังวัน คือ 10

    ส่วนในการลงแช่ว่านยาในรางแช่ จะลงครั้งละกี่คนก็ได้ตามแต่ขนาดรางแช่ แต่โดยมากไม่เกิน 5 คน โดยขั้นตอนการลงแช่ อาจารย์ผู้ทำพิธีจะนำหนังหมีครอบศีรษะให้กับผู้ทำพิธี และใช้เท้าเหยียบแผ่นเหล็กกล้าที่วางอยู่บนหนังเสือพร้อมกับจับมือของผู้เข้าพิธีส่งลงรางครั้งละ 1 คน จนครบตามจำนวนที่ต้องการ ระหว่างการแช่ผู้เข้าพิธีจะต้องภาวนาคาถาไปตลอด คาถาที่ภาวนา คือ
    "เพ็ดชะคง เพ็ดชะคง มะอึก เพ็ดชะด้าน เพ็ดชะด้าน มะอึก มะ อะ อุ"

    ระหว่างการทำพิธีแช่น้ำว่านนี้ ผู้เข้าพิธีจะต้องกินอาหารอยู่ในเฉพาะมณฑลพิธีเท่านั้น โดยอาหารที่กินจะมีญาตินำมาให้ แต่มีข้อห้ามสำหรับผู้หญิงห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด แม้จะรับของจากมือของผู้หญิงก็ไม่ได้ การขับถ่ายของเสียต้องอยู่ในขอบเขตของปริมณฑล ซึ่งตลอดเวลา 15 วัน อาจารย์ผู้ทำพิธีจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมา และในทุกเช้าจะมีพระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ให้
    ปกติในการแช่ว่านยาแต่ละครั้ง ผู้ที่ต้องการความเข้มขลังอาจต้องแช่อย่างน้อย 3 วัน หรืออาจแช่เพียงวันเดียวก็ได้ แล้วแต่ความอดทนของผู้เข้าพิธี ซึ่งอย่างมากไม่เกิน 7 วัน และผู้เข้าพิธีคนหนึ่งจะแช่ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง
     
  15. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    สวัสดีครับผม มีกระทู้ที่ชวนติดตามอีกหนึ่งกระทู้แล้ว โดยส่วนตัวศรัทธาพระเกจิสายใต้มากครับ

    (*เป็นเหตุบังเอิญหรือเปล่าไม่รู้นะคะ ได้รับเหรียญของอาจารย์ทองเฒ่ามาค่ะ)

    อยากเห็นเหรียญจังเลยครับ เหมือนที่ผมมีหรือเปล่า
     
  16. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    ค่ะเนื้อหาเกือบจะถึงประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่าพอดี แต่ต้องไปออกกำลังกายก่อนนะคะ 2 ทุ่มจะกลับมาค่ะเดี่ยวโพสเหรียญให้ชมค่ะ...
     
  17. phattharaphong

    phattharaphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +11,459
    พระภาคใต้ส่วนใหญ่รับสายพระเวทย์ทางเขาอ้อมาทั้งนั้นครับ โดยเกจิยุคเก่านั้นเขาอ้อเต็ม ๆ วัตถุมงคลสายนี้เป็นสายที่น่าเก็บมากครับ เคร่งครัดมากด้านฤกษ์ยาม มวลสาร พิธีกรรม ฯ
     
  18. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    เมื่อถึงกำหนดที่ต้องขึ้นจากรางแช่ว่าน อาจารย์ผู้ทำพิธีจะนำขึ้นครั้งล่ะ 1 คน จนหมด จากนั้นก็นำธูปเที่ยน ดอกไม้ หมากพลู ผลไม้ต่างๆทำพิธีบูชาครูอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีดดยสมบูรณ์
    เมื่อผ่านพิธีแช่น้ำว่านไปแล้ว ผู้เข้าพิธีจะต้องประพฤติตนเหมาะสมเคร่งครัดตามคำสั่งของอาจารย์ผู้ประกอบพิธี
    มีเรื่องเล่าขานถึงศิษย์ฆราวาสของวัดเขาอ้อชื่อนายพลัด ผู้เป็นศิษย์คนโปรดของพระอาจารย์ทองเฒ่า ซึ่งประกอบการอาบว่านแช่ยา ตลอดจนผ่านการปลุกเสกต่างๆ จากพระอาจารย์ทองเฒ่า แม้กระทั่งการถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้อย่างไม่ปิดบัง ด้วยพระอาจารย์ทองเฒ่า หวังจะได้นายพลัดเป็นผู้สืบทอดวิชาต่อไปในสายฆราวาส ทำให้นายพลัดมีความคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า
    แต่วันหนึ่ง ขณะที่ทุกคนกำลังนั่งพักผ่อนอยู่บนบ้าน ได้มีพวกโจรบุกขึ้นปล้นบ้าน มีการต่อสู้กันนานกลุ่มโจรที่ไม่อาจทำอันตรายนายพลัดได้จนกำลังใจชักถดถอย พากันล่าถอยไป แต่ขณะเดียวกันนายพลัดซึ่งถือว่าตนเองที่เป็นหนึ่งในบ้านประดูเรียงไม่เคยมีใครมากล้าตอแยเช่นนี้ เนื่องเพราะต่างเคยเห็นถึงความอยู่ยงคงกระพันชาตรี ของนายพลัดมาแล้วทั้งสิ้นได้เกิดความโมโหที่ถูกพวกโจรขึ้นบ้านปล้นอย่างหยามเกียรติเช่นนี้ จึงได้ตะโกนด่าพ่อล่อแม่พวกโจรตามหลังไป พวกโจรได้ยินจึงได้กลับไปสู้กับนายพลัดอีแม้ว่าจะไม่อาจทำอันตรายนายพลัดได้ แต่หนนี้นายพลัดได้กล่าวผรุสวาทอันเป็นข้อห้ามทำให้ของขลังเกิดความเสื่อม จึงถูกทำร้ายจนเสียชีวิต เมื่อครั้งพระอาจารย์ทองเฒ่าทราบเรื่อง ยังไม่เชื่อว่าศิษย์รักที่มีความเหนียวคงกระพันชาตรีจะพลาดท่าเสียชีวิตง่ายดายเช่นนี้ จึงเดินทางมาดูด้วยตนเอง....
    น่าเสียดายว่าพิธีแช่ว่านยาในปัจจุบันไม่ได้กระทำอีกเลย ปล่อยทิ้งรางแช่ว่านยาให้รกร้างว่างเปล่าอยู่บนไหล่เขา ให้ผุพังไปตามกาลเวลา.....
     
  19. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    พิธีหุงข้าวเหนียว เป็นพิธีที่ทำขึ้นในเดือน 5 และเดือน 10 หรือในงานทำบุญไหว้ครูประจำปีที่วัดดอนศาลา คือ วันเพ็ญกลางเดือน 5 หรือเดือนเมษายน และในเดือน 10 หรือเดือนกันยายนของทุกปี
    พิธีการหุงข้าวเหนียวดำนั้น มีความเชื่อว่า ทำให้คงกระพันชาตรี ผิวพรรณดี เป็นอายุวัฒนะ กันและแก้คุณไสย ทั้งยังเป็นเมตตามหานิยมไปในตัว

    พิธีหุงข้าวเหนียวดำ

    หุงข้าวเหนียวดำ เป็นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งของสำนักเขาอ้อ โดยนำข้าวเหนียวดำประสมกับน้ำยาว่านต่างๆ หุงจนสุกแล้วปลุกเสกอาคมโดยอาจารย์ผู้ชำนายเวท ใช้รับประทานเพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน เครื่องยาว่านที่ใช้ประสมมีประมาณ 108 ชนิด เช่น ว่านขมิ้นดำ ว่านขมิ้นขาว ว่านขมิ้นเหลือง ว่านสามพันตึง ว่านเอ็นเหลือง ว่านมหาเมฆ ว่านมหานิล ว่านเพชรตาเหลือก ว่านมหากาฬ ว่านมหาปราบ ว่านหนุมานนั่งแท่น ว่านหนุมานสมานกาย ว่านกำลังหนุมาน ว่านสบู่เลือด ว่านเพชรหึง ว่านสากเหล็ก ว่านพระเจ้าคุ้มภัย ว่านเปราะดำ ว่านเขาควาย ว่านพระเจ้า 5 องค์ ว่านนิรพัตร ว่านประกายเหล็ก ว่านกระชายดำ ว่านเพชรน้อย ว่านหอกหัก ว่านไพลดำเป็นต้น

    เมื่อได้ว่านที่ต้องการแล้ว ก็นำมาต้มเอาน้ำยาประสมกับข้าวเหนียวดำ ใส่หม้อนำไปประกอบพิธีในอุโบสถ หม้อและไม้ฟืนทุกอันอาจารย์ผู้ประกอบพิธีต้องลง อักขระกำกับไว้ อาจารย์จะเริ่มปลุกเสกตั้งแต่จุดไฟ จนกระทั่ง ข้าวในหม้อสุก แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ นำมาปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงแจกจ่ายไปรับประทาน เชื่อกันว่า ผู้ที่กินข้าวเหนียวดำแล้วจะสามารถอยู่ยงคงกระพัน และยังเชื่อว่าเป็นยารักษาโรคแก้ปวดหลังปวดเอวได้ด้วย

    ท่านอาจารย์ประจวบ คงเหลือ อาจารย์ผู้ประกอบพิธีหุงข้าวเหนียวดำ สายฆราวาสเพียงหนึ่งเดียวในปัจจุบัน ได้อธิบายให้ฟัง เพิ่มเติมว่า

    การหุงข้าวเหนียวส่วนใหญ่จะเป็นพิธีย่อยในพิธีกินยาแช่ว่าน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องประกอบพิธีกรรมพร้อมกันก็ได้ หากสะดวกจะจัดเฉพาะพิธีหุงข้าวเหนียวดำก็ได้

    กำหนดการ
    กำหนดการที่นิยมจัดให้มีพิธีกินมัน ถือเอาเดือน 5 และเดือน สิบ ส่วนวันก็เลือกเอาวันที่มี ฤกษ์แข็ง เช่น ฤกษ์โจร เพชรฆาตฤกษ์ ราชาฤกษ์ เป็นต้น ซึ่งก็มี อังคาร 9 (วันอังคาร แรม 9 ค่ำ หรือขึ้น 9 ค่ำ ) เสาร์ ห้า (วันเสาร์ แรม หรือ ขึ้น 5 ค่ำ) แต่จะนิยม ข้างขึ้น มากกว่า
    การหุงข้าวเหนียวออกจะยุ่งยากในเรื่องการจัดปะรำพิธี แต่เมื่อเทียบการจัดพิธีกินยาแช่ว่านแล้ว พิธีหุงข้าวเหนียวดำยุ่งยาก น้อย กว่า

    พิธีกรรมมีดังนี้

    1.เตรียมอุปรณ์
    1.1ข้าวเหนียวดำพันธุ์ดำหมอ
    1.2หม้อที่จะนำมาใช้หุง
    1.3ก้อนหินสามก้อน จำเป็นต้องเป็น หินก้อนเสา ที่ยังไม่เคยเป็นก้อนเส้ามาก่อน
    1.4ไม้ฟืน ตามตำรา ใช้ ได้ สองอย่างเท่านั้น คือ ไม้พลับพลา กับไม้ราชพฤกษ์ และ ผู้เฒ่าบางท่านระบุว่า
    จะต้องเป็นไม้จากต้นที่อยู่สูงเหนือหัวคนขึ้นไป อันนี้ไม่ปรากฎชัดในตำรา แต่นิยมปฎิบัติใช้
    1.5ไม้กางหยาง คือใช้เป็นเสาสำหรับวางยันต์ด้าน บน
    1.6ยันต์สิบทิศ สิบผืน สำหรับไว้ปิดผืนละทิศ

    2.สถานที่
    แต่เดิมตำราจริงๆ ไม่ระบุว่าเป็นที่ไหน ปัจจุบันนิยมทำในวัด วัดที่ทำบ่อยที่สุดก้คือวัดดอนศาลา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่
    สมัยพระครูสิทธิยาภิรัต ศิษย์รูปหนึ่งของสำนักเขาอ้อเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ปัจจุบันก็ยังนิยมประกอบพิธีกรรมกันภายในวัดดอนศาลา
    3.อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม
    ในตำราไม่ระบุว่า ว่าจะต้องเป็น พระ หรือ ฆราวาส แต่ นิยมประกอบพิธี ร่วมกัน ระหว่างอาจารย์ที่เป็น พระและเป็นฆราวาส
    4.ผู้เข้าร่วมพิธีกรรม
    พิธีกินเหนียวดำนี้ เป็นพิธีที่ผู้หญิง สามารถเข้าร่วม แต่ร่วมได้เฉพาะตอนกินข้าวเหนียวเท่านั้น ผลของพิธีนี้ ที่มีต่อผู้หญิง ก็ได้
    รับเท่ากับผู้ชาย แต่หากหุงด้วยน้ำยา ที่เอามาจากรางยา ที่ใช้ในพิธีกินยาแช่ว่าน ก็จะทำให้ผู้หญิง มีสุขภาพดียิ่ง ขึ้น ล้างโรคาพยาธิ
    เกี่ยวกับระบบโลหิตได้ดีชะงัด



    ขั้นตอนการประกอบพิธี มีดังนี้

    อันดับแรกก็ตั้งที่บูชาครู ทำการบูชาครูตามธรรมเนียมอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอบารมีทวยเทพเทวา แล้วก็เริ่ม เสก ข้าวเหนียว

    คาถาบูชาครูมีว่า
    "ข้าจะเสกสารเหนียว สำหรับบดเคี้ยวกินเป็นอาหาร กินแล้ว อยู่คงคลาดแคล้วทุกประการ ขอครูอาจารย์ช่วยรักษา ข้าจะขอถวายข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนชวาลา เชิญครูเสด็จมารับมาเอาไปแต่งบายศรีปากชาม (ซ้ายขวา) หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้"

    ทำพิธีบูชาครูเสร็จแล้ว ก็ปิดยันต์กันภูตผีปีศาจ และเทวดา คนธรรพ์ ทั้งสิบ โดยปิดยันต์เพดานไว้เหนือเพดาน ซึ่งอยู่เหนือไม้กางหยางอีกที จากนั้นก็ลงคาถาที่ตัวคนทำพิธีกรรม โดยลงผ้ายันต์ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ข้อต่อ หน้าผา ศีรษะ หัวแม่มือ

    จากนั้นก็ลงยันต์ที่ก้อนหินที่นำมาเป็นก้อนเส้าทั้งสาม ยันต์ที่ลงมีชื่อว่า "พระแม่ธรณีกางแผ่นดิน"
    "ยันต์ลงลูกหิน" ลงยันต์ที่ก้อนเส้าเสร็จแล้วก็มาลงยันต์ที่ข้างหม้อ โดยลงที่ก้นหม้อ ข้างหม้อ และฝาหม้อ ยันต์เหมือนกัน

    ลงยันต์ที่หม้อเสร็จ ก็เอาข้าวสารข้าวเหนียวดำที่เตรียมไว้ ซึ่งเสกเตรียมไว้เรียบร้อย (เสกไว้ก่อน) คาถาเสกมีว่า
    "โอมนะตะรึง นะตะรัง มะหาจังงัง สิทธิสวาโหม,พุทธังคงเนื้อ,ธัมมังคงหนัง,สังคังคงกระดูก"

    เสกข้าวสารเสร็จ ก็เอาข้าวสารใส่หม้อ โดยจะต้องปฎิบัติ ดังนี้
    อันดับแรก หยิบใส่ 3 หยิบ จากนั้นก็กำใส่ 3 กำ แล้วก็กอบใส่ 3 กอบ ขณะที่เอาข้าวเหนียวใส่หม้อ ก็ท่องคาถาว่า "ไสยะ ทมะ พุธทะสะ กุสลา ธัมมา อกุสลาธัมมา" เมื่อใส่ ตามกำหนด 3หยิบ 3 กำ 3กอบแล้ว จะใส่เท่าไรอีกก็ได้ แต่ ส่วนมากจะให้พอกับผู้มาร่วมพิธี

    ต่อไปก็นำน้ำยาที่เตรียมไว้ น้ำยานี้หากจัดในพิธีใหญ่ คือให้มีการแช่ว่าน เสกมันงา หุงข้าวเหนียวดำ ก็เอาน้ำยาที่ใช้สำหรับใส่รางแช่ยาเท่านั้นเอง แต่หากไม่ได้จัดพิธีใหญ่ก็ต้องเสกแบบเดียวกับที่ทำพิธีกินยาแช่ว่าน แต่ใช้คาถากำกับน้อยกว่า
    ส่วนผสมของว่านยา ที่เอาน้ำทามาเป็นน้ำหุงข้าวเหนียวดำ มีดังนี้
    หนังนุ้ย
    หนังใหญ่
    หนังขน
    โคกสูน
    ไอ้ด้าน
    หัวหยอง
    เจ็ดตะมูลหย่าน
    แก่นขี้เหล็ก
    แก่นตำเสา(เคาเกลา)
    บอระเพ็ด
    การใส่น้ำยาต้องให้พอดีกับข้าวสาร คือหุงโดยไม่ต้องรินน้ำ เสร็จแล้ว ก็เริ่มก่อไฟ ซึ่งก่อนหน้านั้น จะต้องเสกไม้ฟืนเตรียมไว้เรียบร้อย ไม้กวนหม้อก็ต้องเสก เตรียมไว้
    ขณะก่อไฟก็ต้องเสกคาถาว่า
    " กอ นอ อัง อะ"

    ขณะหุงข้าวเหนียวดำ ก็จะมีการ สวดคาถา สวดกลับไปกลับมา จนข้าวเหนียวสุก

    เมื่อข้าวเหนียวสุกแล้ว ก็ต้องเสกอีก
    คาถาเสกมีดังนี้ว่า
    "อิ อะ เอ็ก ตับกูเป็นเหล็ก กระดูกกูเป็นทองแดง เนื้อหนังกูเป็นกรอบเหล็ก โอมเพชชะตัง โอมเพชชะตึง, โอมเพชชะหน้าทั่ง, เพชชะทาน, เพชชะทน, เพชชะมงคล สวาหะ.
    โอม เพชชะสิลาแลง, เนื้อกูแห็งคือกรอบเหล็ก, โอมเพชชะตึง, โอมเพชชะตัง, เพชชะหน้าทั่ง, เพชชะทาน, เพชชะทน, เพชชะมงคล, สวาหะ อิติโสหา มะอะอุ"

    เสกคาถาดังกล่าว 108 ครั้ง ซึ่งปกติข้าวเหนียวจะเย็นพอดี



    เสกคาถาเสร็จก็เอาน้ำมันงาที่เสกเตรียมไว้ มาเสกใส่หม้อกวนให้เข้ากัน ระหว่างนั้น ก็เสกคาถาด้วยอักขระ 16 ซึ่งเลือกเฉพาะตัวผู้ มีดังนี้

    "นะ มะ นะ อะ นู กู นะ อะ กะ อัง"

    เสร็จแล้วก็ปั้นเป็นก้อน ขณะปั้นก็มีคาเสกกำกับ

    "ไสยะทะนะ พุทสะ กะอะมะสะ กุสะลาธัมมา"

    เสกให้ได้ 108 คาบแล้วเอาไปหุงกินคงทนนักแล

    เมื่อหุงเสร็จเสกด้วยคาถานี้ 108 คาบ

    "โพชณังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตถาวิริ ยัมปิติ ปัสสันธิ โพชณํงคา จะตถาปะเร สะมาธุเปกขะ โพชณังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีคะตา สังวัต ขันติ อะภิญญายะนิพพานายะ จะโพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเต โหตุ สัมนาทา
    เวลาป้อนว่า มะ กินว่า อะ กลืน ว่า อุ ผูกว่า พุธังรัตนังอึ ธัมมังรัตนังอึ สังฆังรัตนังอึ โอมเพชรคงๆ มะอึ โอมเพชรต่านๆ มะอึ โอมเพชรทานๆ มะอึ จิตติมิ ตติอึ พุทธะมะอะอุ อูมขึ้น อึ อำ อึอะอือ ก่อนจะทำสิ่งใดก็ดีให้ชุมนุมครูและสัพศิษย์ อะ มา หา อิ อิมาหา อะนะ โสโส โมอะ"

    พิสูจน์ก่อนป้อน

    ข้าวเหนียวที่หุงเสร็จแล้ว และผ่านพิธีมาแล้ว ก่อนจะนำไปป้อนให้ลูกศิษย์ จะต้องมี การพิสูจน์ก่อน ว่า คงทนพอหรือยัง โดยมีวิธีดังนี้

    ให้เอาข้าวเหนียวที่ปั้นเป็นก้อนแล้ว เขวี้ยงข้ามต้นไม้ หรือ หลังคาบ้าน หรือ หลังคาโบสถ์ให้ตกลงมา แล้วไปดูว่า แตกจากกันหรือเปล่า หรือมีการเปลี่ยน รูปทรงหรือไม่ หากตากหรือมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าคุณเวทย์ยังไม่ถึง ต้องเสกใหม่ แล้วพิสูจน์ จนกระทั่งข้าวเหนียวไม่แตก หรือไม่เปลี่ยนรูปทรง จึงจะเอาไปป้อนให้ลูกศิษย์กินได้
    ข้าวเหนียวที่ปั้นต้องปั้นให้ได้ตามจำนวนผู้เข้าร่วมพิธี โดยให้กินคนละ 3 คำ เตรียมข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการป้อนให้ผู้เข้าร่วมพิธี ซึ่งพิธีตอนป้อนข้าเหนียวดำ ก็เหมือนกับตอนป้อนน้ำมันงาทุกประการ (วกกลับไปดูพิธีกินน้ำมันงาได้คร้าบ)
    ข้อห้ามต่างๆหรือวิธีปฎิบัติของผู้กินเหนียวดำ ก็ถือปฎิบัติเหมือนๆพิธีต่างๆของสำนักเขาอ้อ

    display=content&id=14751&name=content7&area=

    * ภาพประกอบจากเวปhttp://www.taifudo.com/productsDetail.php?productID=163
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มกราคม 2011
  20. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    * เพิ่มเติม จากหนังสือ...
    หาฤกษ์ที่เป็นทางมหาอำนาจ เช่น เพชรฤกษ์ แล้วนำกระดานชนวนมาแต่งเครื่องบูชาครูบาอาจารย์ บูชาพระรัตนตรัย แล้วสวดมนต์ ตั้งธาตุให้ครบบริบูรณ์ แล้วเอาดินสอพอง กับกระดานชนวนมาลงผงต่างๆ ตามตำรา มีผงพระนอโมสำเร็จ ผงคาบสำเร็จ ผงพระปิติ ผงพระทรหด ผงพระเจ้า 16 องค์ เมื่อได้ผงตามต้องการแล้วนำผงพระทรหด ผงพระเจ้า 16 องค์ เมื่อได้ผงตามต้องการแล้ว นำผงเหล่านั้นมาปลุกเสกซ้ำแล้วเก็บไว้
    ในวันที่จะหุงข้าวเหนียวให้เตรียมไม้ฟืน และก้อนเส้ามาเตรียมไว้ให้พร้อม แล้วแต่งเครื่องบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ครูบาอาจารย์ เสร็จแล้วปลุกเสกข้าวสารและน้ำว่านที่จะใช้ผสมข้าวสาร เอาไม้ฟ้นที่จะใช้หุงข้าวเหนียวดำมาลงยันต์ ไม้ฟืนที่ใช้นั้นเป็นไม้ชับพลา ไม้กวนข้าวเหนียวเป็นไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ทั้งสองต้องลงยันต์ กำกับไว้ด้วย

    ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หุงข้าวเหนียว ต้องลงยันต์ที่ฝ่าเท้า หน้าอก สะดือ และกระหม่อม
    นอกจากนั้นจะต้องลงยันต์ที่แผ่นดินที่จะทำพิธี ลงยันต์ที่ก้อนเส้าทั้งสามแล้วเอาไม้ 3 อัน ทาทำจางหยางวนสายสิญจน์จากพระประธานมายังบริเวณที่หุงข้าวเหนียวดำ
    เมื่อถึงเวลาหุงแล้ว ผู้ทำพิธีจะต้องนั่งบริกรรมปลุกเสกไปจนข้าวเหนียวสุกดีแล้ว หลังจากนั้นเอาข้าวเหนียวไปตั้งบนเหล็กกล้า หนังเสือ หนังหมี แล้วปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะป้อนให้กิน

    ผู้ที่จะกินข้าวเหนียวดำ ผู้ทำพิธีจะทำน้ำมนต์ไว้สำหรับพรมให้ผู้กินข้าวเหนียว เพื่อทำความบริสุทธิ์ตัวให้กับผู้จะกินข้าวเหนียวดำ ตอนเข้าไปกินผู้ที่จะกินต้องหาดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ไปถวายให้กับผู้ทำพิธีเป็นการบูชาครู

    ถึงขั้นตอนที่กิน เมื่อทำตัวบริสุทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ทำพิธีจะให้นั่งบนหนังเสือ เท้าทั้งสอบเหยียบบนเหล็กกล้า บนศีรษะตั้งหนังหมีไว้แล้วป้อนให้กิน ตอนกินผู้ทำพิธีจะกำกับคาถาอาคมไปจนเสร็จ เมื่อเสร็จแล้วก็จะผูกด้วยคาถาอาคมอีกครั้งเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนพิธีกรรมกินเหนียวดำของสำนักเขาอ้อ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...