อานิสงส์การรักษาศีล

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 มกราคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    อานิสงส์การรักษาศีล

    <TABLE cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หลวงพ่อคะ หนูขอทราบอานิสงส์ของ การรักษาศีล กับ การให้ทานค่ะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "จำที่พระบอกในตอนท้ายไหมล่ะ....

    "สีเลนะ สุคติง ยันติ"
    การรักษาศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข สุขทั้งชาตินี้ สุขทั้งชาติหน้านะ


    "สีเลนะ โภคสัมปทา"
    ถ้ามีศีลชาตินี้ทรัพย์สมบัติก็ไม่ฝืดเคือง ชาติหน้าก็มีทรัพย์สมบัติมาก


    "สีเลนะ นิพพุติง ยันติ"
    ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานได้โดยง่าย


    นี่อานิสงส์ของศีล ท่านว่าไว้อย่างนี้

    ส่วนการให้ทาน ท่าน บอกว่า "ทานัง สัคคโส ปาณัง" ทานเป็นบันไดให้เกิดบนสวรรค์ การให้ทานมากก็ตามน้อยก็ตาม ผลของทานทำให้เกิดในสวรรค์ ถ้าหากว่าพ้นจากสวรรค์มาแล้วเป็นคน ก็ไม่ยากจนเข็ญใจ แต่ว่าจะรวยเท่าไรนั้นเป็นเขตของทานนะ ท่านเรียกว่า "ปุญญักเขตตัง" เป็นเนื้อนาบุญ ถ้าเราให้ในเขตที่มีความบริสุทธิ์มากเราก็รวยมาก ให้ในเขตที่มีความ บริสุทธิ์น้อย เราก็มีทรัพย์สินน้อย แต่คำว่าอดตายไม่มีสำหรับคนให้ทาน"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "แล้ว ศีล กับ ทาน อย่างไหนจะอานิสงส์มากกว่าคะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "อ้าว..มันคนละคนนี่หนู ต่างคนต่างแก่ต่างคนต่างกล้า ทานเขาก็ให้ผลไปอย่างหนึ่ง ศีลก็ให้ผลมีกำลังอย่างหนึ่ง แต่ว่าทั้ง 2 อย่างต้องร่วม กันนะ ถ้าแยกกันเมื่อไรก็พังเมื่อนั้นแหล่ะ เรามีแต่ทานอย่างเดียว แต่บกพร่องในศีลทั้ง 5 ข้อ หรือข้อใดข้อหนึ่ง เราก็ตกนรก ต้อนพ้นจากนรกมาก่อนแล้วจึงจะรวย ถ้าเรามีแต่ศีลอย่าง เดียวไม่มีทาน เกิดชาติหน้าอายุยืน หน้าตาสวย แต่อดตาย เอาซิ เอาอย่างไหนล่ะ เอาไงดี..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หมายความว่าต้องทำคู่กันใช่ไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ต้องคู่กันไปหนู หนูไม่มีข้าวกินมาที่นี่ได้ไหม...?
    ร่างกายดี รูปร่างหน้าตาสวยเพราะศีลข้อที่ ๑
    รักษาศีลข้อที่ ๒ ได้ ทรัพย์สินไม่เสียหายเพราะไฟเพราะน้ำ เพราะโจร
    รักษาศีลข้อที่ ๓ ได้ คนที่อยู่ในปกครองว่าง่ายสอนง่าย พวกที่มีลูกดื้อหลานดื้อเพราะพลาดศีลข้อที่ ๓
    ถ้าทรงศีลข้อที่ ๔ ได้ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดแล้วคนอื่นชอบฟัง
    รักษาศีลข้อที่ ๕ ได้ ไม่เป็นโรคเส้นประสาท ไม่เป็นโรคบ้า
    แต่ว่าอด ไม่มีข้าวกินไหวไหม...? ดี ๕ อย่าง แต่ไม่มีอาหารจะกิน ไม่มีผ้าจะนุ่ง มันต้องคู่กันหนู จะว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากันมันก็ไม่ควร ทาน ศีล ภาวนา เป็นบุญกิริยาวัตถุ และ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า สิ่งที่เข้าถึงบุญกุศล ก็คือ
    ๑. การให้ทาน
    ๒. การรักษาศีล
    ๓. เจริญภาวนา
    ภาวนานี่หมายถึง สมถภาวนาหรือ วิปัสสนาภาวนา คือใช้ปัญญาคิดอยู่
    ทานนั้นเป็นปัจจัยตัดโลภะ ความโลภ เป็นก้าวหนึ่งที่จะถึงนิพพาน
    ศีลเป็นเหตุตัดโทสะ ความโกรธ เป็นก้าวที่สองที่จะทำให้ถึงนิพพาน
    ภาวนาเป็นตัวตัดกิเลสตัวสำคัญทั้งใหญ่และเล็ก เป็นปัจจัยให้กิเลสหมดจริง เข้าถึงนิพพานแน่นอน
    แล้วทั้ง ๓ อย่างนี้ จะถืออะไรสำคัญกว่ากันไม่ได้เลย ต้องถือว่าสำคัญเท่ากัน ถ้าเราขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะถึงนิพพานไม่ได้ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อาหารการบริโภคมีความสำคัญในการครองชีพ ร่างกายเรา จะทรงตัวได้เพราะศีล ถ้าเรามีแต่อาหาร แต่ไม่มีร่างกายก็ไม่เป็นประโยชน์ใช้ไหม... เรามีร่างกายดี มีอาหารดี แต่ไร้ปัญญาก็เป็นเหยื่อของคนฉลาด เพราะตัววิปัสสนาญาณและตัวภาวนาเป็นตัวทำให้เกิดปัญญา
    รวมความว่า ๑. เรามีอาหาร ๒. มีร่างกาย ๓.มีปัญญา ทั้ง ๓ อย่างนี้ต้องประกอบกัน หนูจะเลือกเอาอย่างไหนโดยเฉพาะล่ะ? เอาแต่ปัญญาดี ไม่มีร่างกาย ไม่มีอาหาร ดีไหม..? แล้วก็มีร่างกาย ไม่มีอาหาร ไม่มีปัญญา ดีไหม..? เอา ๓ อย่างเลยสบาย ๆ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "รักษาศีล ๘ ดู ที.วี. ได้หรือเปล่าคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ดู ที.วี.ได้ แต่ห้ามเต้นตาม ที.วี. "เดี๋ยว ๆ อีหนู เอ้า อย่ารำคนเดียวซิ ข้าจะช่วยรำ" เสร็จ เต้นไปเต้นมา ที.วี. เลิกเมื่อไรก็ไม่รู้ เต้นเพลิน"
    "ดู ที.วี. ความจริงก็ไม่เป็นไร ถ้าเราเป็นนักปฎิบัติกรรมฐาน ดูได้ทุกอย่าง ดูอย่างนักกรรมฐานดูนะ ถ้าเป็นละครชีวิต มีสุขบ้างทุกข์บ้าง ทะเลาะกันบ้าง ก็ดูว่าภาวะอันนี้เป็นความจริงของโลก คนที่เกิดมาในโลก ถ้าเราเกิดมามันต้องประสบอาการอย่างนี้ เวลานี้เขาทะเลาะกันให้เราดู เขาแสดงการทะเลาะ เรายังไม่ได้ทะเลาะ สักวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะทะเลาะกับใครก็ได้ อย่างที่เขาเรียกว่า ดูเป็นกรรมฐาน"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ถ้าเราเดินไปเหยียบสัตว์เล็ก ๆ หรือปัดยุงแล้วไปโดนยุงตาย อย่างนี้ศีลจะขาดไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ถ้าเป็นสัตว์เล็ก ๆ เดินไปเราไม่เห็น บังเอิญเราไปเหยียบตาย อย่างนี้ศีลไม่ขาด หรือสัตว์เล็ก ๆ มันมาเกาะกินเลือดของเรา เราไม่คิดจะฆ่ามัน ถ้ามันเกาะนานเกินไป ก็ค่อย ๆ เอามือลูบให้มันหนีไป แต่บังเอิญมันหนีไม่ทัน ไปถูกมันตาย อย่างนี้ศีลไม่ขาด เพราะไม่มีเจตนาจะฆ่า"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หลวงพ่อคะ คนที่มีศีล ๕ ไม่บริสุทธิ์ ถ้าจะเจริญพระกรรมฐาน จะได้ผลไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ถ้ามีศีล ๕ ไม่บริสุทธิ์เจริญไปก็ไม่มีผล ถ้าถามว่าทำไม ก็เพราะว่า ยังลงนรกอยู่ เจริญสมาธิเท่าไรมันก็ไม่พ้นนรก เพราะศีล ๕ นี่มันปิดทางนรก ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งตัวที่ขาด นี่มันจะเข้ามาขวางเวลาที่เราจะตาย เป็นกรรมที่เป็นอกุศล"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ฆราวาสถือศีล ๖ ได้ไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ได้ ศีล ๑ ยังได้เลย ศีลข้อที่ ๖ อะไรล่ะ?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "วิกาลโภชนาค่ะ แต่ว่าหนูทำงานเลิกเที่ยงแล้วอย่างนี้จะรักษาศีลข้อนี้ได้ไหมคะ...?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ถ้าเที่ยงแล้วเรายังไม่เลิกงาน ก็ถือว่าเราจะกินข้าวไม่เกินบ่ายโมง หรือ บ่ายสองโมง ตั้งเวลาไว้เลยใช้ได้ ไม่ใช่ ๒ ชั่วโมงกิน ๆ ก็ต้องคิดเหมือนกัน"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ถ้าหากเป็นพระ ฉันอาหารเลยเที่ยงได้ไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "เวลาเดิมของพระจริง ๆ ตามวินัยนี่ มันไม่ใช่เลิกฉันเที่ยง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าพระอาทิตย์ตรงศีรษะเริ่มฉันได้ แต่ อย่าให้เงาพระอาทิตย์เลย ๒ นิ้ว ความจริงท่านสั่งฉันเที่ยง แต่เงาเลยไป ๒ นิ้วไม่ได้ ๒ นิ้วไม่ใช่น้อยนะ มาตอนหลังเลื่อนเข้ามาฉัน ๕ โมง เลิกเที่ยง เวลานี้ไปถือตามพระวินัยแบบนั้น ชาวบ้านเขาถือว่าเลยเที่ยงไปแล้วฉันไม่ได้ หาว่าพระกินเลยเวลา"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ที่จริงหนูอยากจะถือเพิ่มอีกหนึ่งข้อ คือ ข้อ นัจจคีตะวา แต่ว่าหนูยังชอบดูที.วี. อยู่ค่ะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ดู ที.วี. ก็ดูอย่าง พระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร ดูมหรสพซิ ดูไปก็คิดว่าไอ้นี่มันทุกข์ ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์ พยายามพิจารณาบ่อย ๆ ถ้าจะให้ดีก้ถือให้ครบ ๘ ไปเลย เพิ่มข้อ มาลาคันธะ ไปด้วย"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "รู้สึกว่าหนูจะทำไม่ได้ค่ะ เพราะว่ายังแต่งตัวทาหน้าอยู่ค่ะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ก็ให้ถือว่า การเอาแป้งทาหน้า น้ำหอมใส่ตัวนี่เราทำเพื่อสังคม ถ้าในสังคมนั้น ๆ จำจะต้องแต่งตัวกันอย่างนั้น ก็แต่งไป เราไม่แต่งเพื่อกิเลส เราแต่งเพื่อความ เหมาะสมในสังคม เพื่อความไม่เก้อเขิน ถ้าจิตเราตั้งอยู่แบบนี้ ศีลมันไม่ขาด"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "แล้วข้อที่ห้ามนอนที่นอนสูงใหญ่ แต่ว่าพื้นที่นอนเป็นหินอ่อน เราเอาผ้าห่มรองตัวอย่างนี้ได้ไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ได้..ที่นอนสูง ที่นอนใหญ่ยัดด้วยนุ่นและสำลี อันนี้เขาป้องกันความลุ่มหลง ความฟุ่มเฟือย ถ้าจิตมันไม่คิดไปในด้านกิเลส ฉันว่าทำได้ ไม่เห็นแปลก
    ศีล ๘ นี่เป็นตัวธรรมะเสีย ๔ ข้อ เป็นตัวศีลเสีย ๔ ข้อ ถ้าผิดข้อ ปาณา , อทินนา , มุสา ลงนรกแน่ แต่ตัวธรรมะ คือ อพรัหม , วิกาล , นัจจคีตะวา , มาลาคันธะ , อุจจาสยนะ ถ้าพลาดมันไม่ลงนรกนะ
    ข้อ อพรัหมจริยา เวรมณี ถ้าเราละเมิดเฉพาะสามีภรรยาของเรา ไม่ได้ประพฤติลวงเกินสามีภรรยาผู้อื่น ไม่ได้ขาดกาเม ตัวนี้เป็นธรรมะ
    ข้อวิกาลโภชนา เวรมณี ข้อนี้เราได้ฆ่าสัตว์ มันบาปที่ไหนล่ะ
    ข้ออุจจาสยนะ คือ ไม่นอนในที่นอนสูง ที่นอนใหญ่
    ข้อมาลาคันธะ คือ ไม่ทัดดอกไม้และของหอม อันนี้ก็ไม่ได้ทำอะไรใคร"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หลวงพ่อคะ ขโมยเงินพ่อแม่นี่บาปไหมคะ มีคนเขาบอกว่า ขโมยเงินพ่อแม่นี่ไม่บาป เพราะพ่อแม่ต้องจ่ายอยู่แล้วค่ะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ไอ้บาปนี่แปลว่าชั่ว การขโมยเงินมันก็เป็นบาปทั้งหมด ถ้าเราขโมยท่าน ท่านไม่ชอบใจ ท่านก็ทำเฉย การขโมยของพ่อแม่ท่านชอบไหมล่ะ การกระทำอย่างนี้ชั่ว ฉะนั้นจึงบาป"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ถ้าหากท่านเห็นเล่าคะ แล้วเราหยิบไปเลย อย่างนี้บาปไหมคะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ก็สาธุก็แล้วกัน ดีแล้วที่ว่าฉัน"
    "ถ้าเราหยิบไป ท่านเห็นแล้วท่านไม่ห้ามปราม ไม่ว่าอะไรก็ไม่เป็นไร ถ้าหากท่านไม่ให้ ท่านห้ามเราก็ไม่หยิบก็หมดเรื่องไป การขโมยนี่จิตมันเริ่มชั่ว ตั้งแต่ก่อนที่จะกระทำ คิดจะขโมยน่ะ จิตมันชั่วแล้วนะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หลวงพ่อคะ ดิฉันไปซื้อดอกไม้แถวสนามหลวงราคา ๑๕๐ บาท พอกลับมาถึงบ้าน บอกกับสามีว่าต้นไม้ราคา ๕๐ บาท ที่บอกอย่างนั้น เพราะเกรงว่าสามีจะดุเอา ตอนหลังมานึกดูรู้สึกเสียใจค่ะ ไม่น่าโกหกเขาเลย อย่างนี้ศีลจะขาดไหมคะ...?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "อย่างนี้เป็นการรักษาประโยชน์ไว้ไม่ได้ทำลายประโยชน์ ข้อมุสาวาทจะขาดมันต้องทำลายประโยชน์ของบุคคลอื่น แต่นี่เป็นการพูดเพื่อรักษากำลังใจเขา มันมีประโยชน์แกต่ว่าไปโกหกอย่างอื่น เอาเรื่องนะ อย่างเช่น ของเลวบอกว่าของดี ของราคาถูกบอกของราคาแพง อันนี้มันทำลายประโยชน์"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หลวงพ่อครับ การเป็นตัวแทนจำหน่ายสุรา ศีลขาดไหมครับ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "สุรา เขาห้ามกินนะ แล้วคุณกินหรือเปล่าล่ะ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "เปล่าครับ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ไม่กินก็ยังไม่ขาด พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็น มิจฉาวณิชชา แปลว่า ไม่ควรขายของที่มันผิดศีล"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "และถ้าหากว่า ค้าขายอาวุธ ศีลจะขาดไหมครับ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ถามว่าศีลขาดไหม ก็ขอตอบว่า ศีลไม่ขาด ถ้าเป็นอาวุธเราไม่ได้ไปฆ่าเขา คนอื่นเขาเอาไปฆ่าก็เป็นเรื่องของเขา แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่ควร"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "หลวงพ่อครับ ถ้าหากเอาเหล้ามาผสมเพื่อเป็นกระสายยา ดื่มเข้าไปแล้วศีลจะขาดไหมครับ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "อย่างเอามาผสมเป็นกระสายยานี่ ถ้าไม่ปรากฏรส ปรากฏกลิ่น นี่ไม่มีโทษ แต่ประเภทกินยาดองใช้ยา ๑ ช้อนกาแฟ ผสมเหล้า ๑ ไห อย่างนี้ไม่ผิดศีล ชนศีลพังไปเลย อย่างนี้ให้อภัยไม่ได้"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ถ้าหากว่าผสมตามสูตรเล่าคะ คือว่า ไม่ใช้ยา ๑ ช้อน เหล้า ๑ ไหน น่ะค่ะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "ทำตามสูตรเขาไม่เป็นไร ไม่ผิดโยม พระเขายังไม่ห้ามเลย แต่ว่าต้องไม่ปรากฏรส ปรากฏกลิ่นนะ
    การถือศีล ถ้าเคร่งเกินไปก็เดือดร้อน พระพุทธเจ้าท่าน ให้ปฏิบัติในทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา อย่าให้มันเป็น อัตตกิลมถานุโยค คือ เบียดเบียนตนเกินไป ต้องดูแต่พอเหมาะพอดีพอควร
    ในอุทุมพริกสูตร พระพุทธเจ้าท่านตรัสกับนิโครธปริพาชก บอกว่า "จงอย่างทำลายศีลด้วยตนเอง อย่ายุยงส่งเสริมบุคคลอื่นให้ทำลายศีล และจงอย่ายินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว" ท่านแนะนำอย่างนี้นะ"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ผลที่เห็นชัด ๆ ว่าเราถือได้ ศีลบริสุทธิ์แน่ ๆ เราพอจะรู้ไหมครับ ว่าตอนไหน..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "เมื่อเราตั้งใจเว้นแล้ว เราก็เว้นจริง ๆ ไม่ทำ อย่าง
    ข้อที่ ๑ ปาณาติบาต สัตว์ที่ควรจะฆ่าไม่มีจิตคิดจะฆ่า ถ้าเรารักษาได้จะเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นคนสวย เพราะศีลข้อนี้เราจะรักษาได้ ต้องอาศัย เมตตา เป็นปัจจัย และศีลข้อนี้นี่แหล่ะ จะทำให้เรามีโรคภัยไข้เจ็บน้อย เพราะว่ามันเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์ ที่ว่าน้อยเพราะว่าเราเคยเบียดเบียนกันมาบ้าง เมื่อเข้ามาในเขตรักษาศีล บางทีเราเผลอไปบี้มดเข้าบ้าง นั่นเป็นเรื่องของการเผลอ เป็นอาการของความเคยชิน แต่ว่าอารมณ์ส่วนใหญ่เราระมัดระวังอยู่ในศีล นอกจากดังที่กล่าวมาแล้ว การรักษาศีลข้อที่ ๑ ผู้ที่รักษาได้จะทำให้เป็นคนที่มีอายุยืนยาวนาน อาจจะเต็มอายุขัยหรือเลยอายุขัยไปนิดหน่อย

    ข้อที่ ๒ เห็นของที่ควรจะขโมยได้ เราก็ไม่ขโมย ถ้าเรารักษาได้ จะมีอานิสงส์เป็นพิเศษกว่าปกติ หรือ ทรัพย์สินของท่านทั้งหมดที่มีอยู่ จะไม่มีภัยจากไฟไหม้ จากน้ำท่วม จากโจรขโมย แล้วก็หาความยากจนไม่ได้
    ข้อที่ ๓ เห็นโอกาสที่เราจะทำกาเมสุมิจฉาจาราได้ เราก็ไม่ทำ ถ้าเรารักษาไว้ได้ คนในปกครองหรือในคณะทั้งหมดจะเป็นคนที่อยู่ในโอวาท คือ ไม่ว่ายากสอนยาก คนในบังคับบัญชาจะไม่ล่วง ละเมิดในแบบแผน หรือกฎระเบียบที่เรามีอยู่
    ข้อที่ ๔ เราจะโกหกได้ เราก็ไม่โกหก ถ้าเรารักษาได้ตามพระบาลีท่านบอกว่า จะเป็นคนปากหอม ( แต่อย่าไปดมเข้านะ ถ้าแกลืมแปรงฟันละก็ หงายท้องเชียวนะ ) คำว่าปากหอมในที่นี้หมายความว่า พูดแล้วมีคนอยากฟังอยากเชื่อ
    ข้อที่ ๕ มีเหล้ากิน มีสุราดื่ม เราก็ไม่กิน ถ้าเรารักษาได้ ก็จะกลายเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
    เมื่อเราประสบแล้วเราไม่ทำ คือ เว้นได้จริง ๆ ตอนนี้บริสุทธิ์แน่ และจะได้รับอานิสงส์ดังที่กล่าวมาแล้ว"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "ถ้าอย่างนี้ การสมาทานศีล หรือรับศีลเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่บริสุทธิ์ใช่ไหมครับ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "การสมาทานศีล ไม่ได้หมายถึง ศีลบริสุทธิ์นี่คุณ นั่นเป็นคำขอ จะบริสุทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อจิตตั้งใจงดเว้นจริง ๆ ตัวตั้งใจงดเว้นตัวนี้แหละเป็นตัวศีล"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    ผู้ถาม : ​
    <TD>
    "แล้วอย่าง ชาวประมงที่เขามีอาชีพหาปลาโดยตรง จะทำยังไงล่ะครับ..?"
    </TD><TR vAlign=top><TD align=right width=68>
    หลวงพ่อ : ​
    <TD>
    "อาชีพเขาจริง แต่เวลาที่ก่อนจะตาย เขาคิดถึงบุญกุศล อย่าง ท่านสุปติฏฐิตะเทพบุตร เห็นไหม ทำชั่วทุกประตูเลย วันดีไม่ละ วันพระไม่เว้น พอจะตายขึ้นมา นึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมา ไปเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ แล้วก็พบพระพุทธเจ้าอีกทีหนึ่ง ฟังเทศน์จบเดียวเป็นพระโสดาบัน"


    ขอขอบคุณที่มา[​IMG]http://www.putthawutt.com/html/menu.html​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. อัปลักษณ์

    อัปลักษณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +33
    ศีลข้อกาเม

    อย่างไร จึงจะถือว่าละเมิดศีลข้อ กาเม.... ครับ ละเมิดเพียงภายนอกถื่อว่าผิดศีลข้อนี้หรือปล่าว
     
  3. akaliko

    akaliko Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +88
    เบญจศีล แปลว่า ศีล ๕ ได้แก่..

    ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น

    ๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพ
    ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

    ๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ
    (๑) ภรรยาคนอื่น
    (๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)
    (๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์

    บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ
    (๑) สามีคนอื่น
    (๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์)

    ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู"

    ๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่
    คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง

    ๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ

    ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง
     
  4. akaliko

    akaliko Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +88
    กรรมวิบากของศีล ๕

    ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๑ คือประพฤติปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


    ๑.ย่อมเกิดในนรก
    ๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
    ๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย (แดนแห่งเปรต)
    ๔.ย่อมเป็นผู้มีอวัยวะพิการ
    ๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีอายุสั้น

    ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๒ คือประพฤติทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย/ลักทรัพย์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

    ๑.ย่อมเกิดในนรก
    ๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
    ๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
    ๔.ย่อมเป็นผู้ยากจนเข็ญในไร้ที่พึง
    ๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

    ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่

    ๑.ย่อมเกิดในนรก
    ๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
    ๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
    ๔.ย่อมเป็นผู้มีร่างกายทุพลภาพ ขี้เร่ มากไปด้วยโรค
    ๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีศัตรูรอบด้าน

    ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๔ คือประพฤติมุสาวาท พูดเท็จ ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


    ๑.ย่อมเกิดในนรก
    ๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
    ๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
    ๔.ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
    ๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ


    ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนา คือผู้ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


    ๑.ย่อมเกิดในนรก
    ๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
    ๓. ย่อมเกิดในเปตวิสัย
    ๔.ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ
    ๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า


    อนึ่ง โทษแห่งการดื่มสุราเมรัยและเสพสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งผู้ประพฤติย่อมได้รับโทษในปัจจุบัน ๖ อย่าง คือ


    ๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการทะเลาะวิวาท
    ๓.เกิดโรค ๔.ถูกติเตียน
    ๕.เป็นผู้ไม่มียางอาย ๖.ทอนกำลังสติปัญญา
     
  5. akaliko

    akaliko Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +88
    อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕

    สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่.-

    ๑.มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
    ๒.เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
    ๓.ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
    ๔.เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
    ๕.ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
    ๖.มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
    ๗.ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน


    สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


    ๑.ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
    ๒.แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
    ๓.โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้วย่อมมั่นคงถาวร
    ๔.สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
    ๕.ย่อมได้รับอริยทรัพย์
    ๖.ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า "ไม่มี"
    ๗.อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน


    สิกขาบทที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


    ๑.ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
    ๒.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
    ๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
    ๔.ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
    ๕.เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
    ๖.มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
    ๗.มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก


    สิกขาบทที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


    ๑.มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
    ๒.มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
    ๓.มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
    ๔.มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
    ๕.มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
    ๖.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
    ๗.มีริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง


    สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่


    ๑.รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
    ๒.มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
    ๓.มีความรู้มาก มีปัญญามาก
    ๔.ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
    ๕.มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
    ๖.มีความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ


    อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล


    การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้ไหมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ


    ๑.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
    ๒.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
    ๓.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)


    และเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีลนั้นมี "ความไม่เดือดร้อน" เป็นอานิสงส์ที่สูงสุด
     
  6. olj

    olj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +2,443
    อนุโมทนา
     
  7. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    วันนี้วันพระ อย่าลืมรักษาศีลกันนะครับ

    อามิตตาพุทธ
     
  8. lasomchai

    lasomchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +2,036
    ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว

    ทุกอย่างย่อมสำเร็จด้วยใจ

    ใจเป็นธรรมทุกอย่างย่อมเป็นกุศล

    ขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่งครับผม

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  9. เตือนความจำ

    เตือนความจำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +41
    รักษาศีล

    (555) การรักษาศีเป็นอีหนึ่งวิธีทำให้เรานั้นประสบความสำเร็จ ถ้าเราสามารถรักษาศีลได เราก็จะดำรงชีวิตของเราไปไดพ้อย่างราบรื่น ฉันเองก็พยยามที่จะรักษาศีลอยู่เหมือนกัน เพราะฉันเชื่ออว่าการรักษาศีลนั้นช่วยทำให้ดิฉันนั้นประสบความสุข แม้อาจจะไม่มากแต่ฉันก็คิดว่ามันฉันได้มากเลยทีเดียว เรื่องแบบนี้ถ้าแค่บอกมันจะเห็นได้อย่างไรคุณต้องลองทำเอง แล้วจะรู้ว่าดีจริง
     
  10. ดอกไม้หิน

    ดอกไม้หิน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +18
    (555) [b-hi]การรักษาศีลทำได้ทุกคนเว้นแต่ว่าใครจะทำได้มากน้อยเพียงใดเมื่อทำได้แล้วจะทำให้เรามีความสุขได้อยากให้ทุกคนทำความดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ (verygood)
     
  11. pisamai_3727

    pisamai_3727 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +119
    อานิสงส์การรักษาศิล

    (555)การที่เรารักษาศิลจะทำให้เรามีจิตใจที่ดีเพราะศิลก็คือปรกติถ้าเราไม่มีศิลถือว่าผิดปรกติเรารักษาศิลได้จะเป็นผลดีต่อเราและทำให้เรามีการดำเนินชีวิตที่ดีต่อไป
     
  12. yaynad

    yaynad สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +9
    อานิสงส์การรักษษสีล

    (555) การรักษาศีลเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จและการรักษาศีลนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะทำได้มากน้อยแค่ไหนถ้าเรารักษาศีลได้ก็จะทำให้เรามีความสุข(ping) (555)
     
  13. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    การรักษาศีล
    1. สติไม่วิปลาส
    2. เกิดมาผิวพรรณ หน้าตาสวยงาม
    3. ไม่ถูกกล่าวหาใส่ความ เป็นผู้มีวาจาสัจจ์
    4. รวย รวย รวย
    5. คนในปกครองว่านอนสอนง่าย กตัญญู

    นี่แหละ ชอบจริงๆ ชอบจริงๆ ชอบจริงๆ
     
  14. moooky

    moooky สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +16
    กราบอนุโมนทนาทุกท่านที่มีใจรักษาศีล.
    ขอความตั้งใจดีของทุกท่านจงมาบังเกิดใน กมลสันดาน ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ. สาธุ
     
  15. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    รักษาศีลคือผู้รักตน
    คำว่า “ศีล” ในที่นี้ ผู้เขียนหมายรวมไปถึงกรรมบถ ๑๐ ด้วย เพราะในกรรมบถ ๑๐ นั้น มีทั้งศีลและธรรมรวมกัน นี่ว่าเฉพาะที่รู้ๆ แล้ว ไม่ว่าศีล ๕ ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล ท่านก็เรียกว่า “ธรรม” เหมือนกันหมด​
    เหตุใดผู้รักษาศีลจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตน ?
    ประเด็นนี้ เป็นจุดที่น่าให้ความสนใจมาก เพราะถ้าใครเข้าใจประเด็นนี้ได้อย่างถูกต้องแล้ว เขาจะสนใจศีลและหมั่นรักษาศีลไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่ศีล ๕ อุโบสถศีล จนถึงกรรมบท ๑๐ ซึ่งมีครบทั้งกายวาจาและใจเลย เรามาดูกันง่ายๆ ไม่ต้องไปใช้วิชาคำนวณคำเนินอะไรให้มันเมื่อยมือ หรือเมื่อยสมองหรอก เอากันที่ศีล ๕ ก่อน
    การไม่ฆ่าคน เป็นเหตุให้เราไม่มีเวร ไม่ต้องคอยหลบซ่อนตัว กลัวเขาจะมาฆ่าตอบ หรือญาติมิตรของผู้ถูกฆ่าจะมาฆ่าตอบ จะไปไหน ? จะกินจะนอนมันก็สบายไม่ต้องคอยหวาดระแวงภัย
    การไม่ลักขโมยของคนอื่น ก็เป็นเหตุให้ไม่ต้องมีเรื่องฟ้องร้องขึ้นโรงศาล หรือถูกใส่ความเพราะความเป็นคนหัวขโมย ไม่ต้องถูกจับใส่คุกเพราะเหตุอทินนาทาน
    การไม่เป็นคนเจ้าชู้ประตูดิน ไม่เป็นคนเที่ยวสำส่อนไม่ว่าผัวเขาหรือเมียใครไชไม่เลือก ก็จะไม่ต้องคอยระวังว่าผัวหรือเมียเขาจะมาฆ่าแกง เพราะเหตุว่าไปแย่งหรือล่วงเกินของรักของหวงของเขา อันเป็นเหตุให้ไม่มีเรื่อง “ศึกในมุ้ง” ให้ขายหน้าไปทั่วแผ่นดิน และครอบครัวก็ไม่ปกติสุขถึงต้องฆ่ากันตายด้วย
    การไม่พูดปด ก็จะไม่เป็นเหตุให้ต้องถูกใส่ความหรือถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาท ทำให้คำพูดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ น่าเคารพ เป็นที่ไว้วางใจของคนทั่วไปในเรื่องคำพูด
    การไม่ดื่มน้ำนรก นอกจากจะไม่เป็นต้นเหตุให้ก่อกรรมทำชั่วต่างๆ ได้มากมายแล้ว ยังไม่เป็นเหตุให้บั่นทอนกำลังกาย และกำลังสติปัญญาของตนอีกด้วย แถมยังจะปลอดโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมาจากการเป็นคนขี้เหล้าได้อีกมากมายด้วย
    ท่านยังพอจะมองเห็นหรือยังว่า ศีลแต่ละข้อนั้นนอกจากจะไม่ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน อันเป็นทางไหลมาของเวรกรรมต่างๆ แล้ว ตัวเราเองก็จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ปิดภัยและเวรต่างๆ เสียได้อย่างสิ้นเชิง ที่จะแสดงออกมาทางกายและวาจา ด้วยเหตุดังกล่าวมา ผู้ที่รักษาศีลจึงได้ชื่อว่ารักตน
    นี่เป็นอานิสงส์ของศีล ๕ เรามาดูอานิสงส์ของศีล ๘ หรืออุโบสถศีลกันสักหน่อยเป็นไร ?
    ความจริงศีล ๘ นี้ สำหรับชาวบ้านก็ไม่มีความจำเป็นอะไรมากนักที่จะต้องรักษา โดยเฉพาะคนที่ยังอยู่ใน “วัยงาน” คือ ยังต้องประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวอยู่ โดยเฉพาะก็คนที่ยังไม่หมดในเรื่องของเพศหรือกามคุณ ถ้าผัวหรือเมียยังหนุ่มหรือสาวอยู่ ใครขืนรักษาศีล ๘ เป็นประจำ ถ้าเมียหรือผัวไม่มีชู้ และยังอยู่ด้วยกันได้ ก็ต้องจัดว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ยกเว้นแต่ท่านผู้นั้นจะสำเร็จธรรมขั้นสูง คือ เป็นพระอนาคามีบุคคลไปแล้วเท่านั้น
    แต่สำหรับคน “วัยงอม” คือ วัยที่ปลดระวางแล้ว ก็สมควรที่จะรักษาศีล ๘ ได้แล้ว เพราะจะเป็นเหตุให้อายุยืนยาว ถ้างดเว้นเรื่องการกินให้น้อยลง หรือกินให้ถูกต้องตามวัย และงดเว้นกามกิจเสียได้ แต่ว่าศีลอุโบสถนี้ มีความสำคัญและจำเป็นแก่ทุกคนในแง่ของการพัฒนาชีวิต ถ้ามีโอกาสจะรักษาได้แม้นานๆ ครั้งก็ยังดี เพราะอุโบสถศีลเป็น “วัตร” ชนิดหนึ่งที่ช่วยฝึกหัดขัดเกลานิสัยส่วนเกินได้อย่างดี เมื่อเราได้รักษาศีล ๕ แล้ว ลองรักษาอุโบสถศีลแล้ว ก็น่าจะชิมลองรักษา “กรรมบถ ๑๐” ดูบ้าง ว่ามันจะมี รสชาติเป็นอย่างไร ? มันจะยากง่ายแค่ไหน ?
    ที่ผู้เขียนให้ความสนใจแก่กรรมบถ ก็เพราะในกรรมบถนั้นมีกระบวนการ “พัฒนาชีวิตครบวงจร” กล่าวคือ มีการพัฒนากาย วาจาและใจไปพร้อมกัน ไม่ต้องไปแยกทำทีละหนคนละคราว (ท่านที่สนใจการรักษากรรมบถ ๑๐ ขอให้อ่านจากหนังสือ “สุขสันต์วันเกิด” ของผู้เขียนได้ เพื่อประหยัดกระดาษจึงไม่นำมาลงให้ซ้ำกัน)
    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ผู้อ่านบางท่านคงเห็นแล้วว่าการล่วงละเมิดศีลนั้น มิได้จะทำให้คนอื่นหรือสัตว์อื่นเดือดร้อนเท่านั้น แต่ตัวเองนั่นแหละเดือดร้อนก่อน เมื่อตัวเองสร้างเหตุด้วยการนำเวรภัยมาสู่ตนเอง หรือหาสิ่งมึนเมามาประทุษร้ายสติสัมปชัญญะของตนเองให้เกิดความเดือดร้อนเช่นนี้แล้ว คนที่ล่วงศีลจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รักตนเองได้อย่างไรกัน ? เพราะโดยปกติคนทั่วไป มักทำอะไรๆ ก็เพื่อจะให้ตัวเราสบายและสนุก ไม่เคยคิดถึงหัวอกของคนอื่นว่าเขาจะระทมขมขื่น หรือปวดร้าวหัวใจสักเพียงไหน ? ถ้าไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็รู้ได้ยาก
    นี่ว่าเฉพาะเหตุผลในปัจจุบัน ยังไม่ได้ว่าถึงผลแห่งกรรมที่ข้ามภพชาติ ที่เราจะต้องไปเสวยอีกนับไม่ถ้วนและยาวนาน ซึ่งมีอยู่แน่ๆ แต่เราไม่รู้ เพราะเราไม่มีญาณพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าวมา การรักษาศีลนอกจากจะไม่เป็นการประทุษร้ายตนเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแล้ว ยังจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตนเองและรักผู้อื่น (คือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะตน) อีกด้วย
    ดังนั้น ผู้รักตนจึงควรรักษาศีล ๕ อุโบสถศีล กรรมบถ ๑๐ ตลอดจนการเจริญธรรมต่างๆ มีสติ สมาธิ และวิปัสสนา เป็นต้น อยู่เป็นประจำเถิด แล้วท่านจะพบกับความประเสริฐทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
    [​IMG]อนุโมทนาสาธุ[​IMG]



     
  16. DD.

    DD. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    556
    ค่าพลัง:
    +103
    [​IMG] อนุโมทนาด้วยครับ สาธุ สาธุ [​IMG]
     
  17. เด็กอ๊าม

    เด็กอ๊าม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +45
    บทความนี้ดีจริงๆ ชอบมากค่ะ
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  18. TKP969

    TKP969 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +34
    (smile)อนุโมทนาสาธุ

     
  19. Neo-Freeman

    Neo-Freeman Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +50
    สาธุครับ

    เพิ่มเติมครับ

    อานิสงส์ ของการรักษาศีล จนถึงขณะที่ตายไป (ตายคาศีล)

    - มั่นใจได้เลยว่า ขั้นต่ำของภพหน้า คือ มนุษย์อย่างน้อย อย่างสูงเทวบุตร เทวดา ครับ

    ถ้าอยากเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็อย่าลืมรักษาศีล 5 นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...