อริยะเจ้ายังอยู่..

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 10 มกราคม 2008.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แนะนำอริยะสงฆ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นักบุญล้านนา

    หลวงปู่ทอง พระเทพสิทธาจารย์ ฉายา สิริมงฺคโล อายุ ๘๐ พรรษา เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์ หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ

    บรรพชาเมื่อ ขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๒ วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๗๗ (อายุ ๑๑ปี) ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น

    อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระชัยวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์สมัยเป็นสามเณรได้ติดตามอุปัฏฐาก ครูบาศรีวิชัย อย่างใกล้ชิด และได้ติดตามไปในการสร้างวัดบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์สถานในที่ต่างๆ และทั้งร่วมสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพอุปสมบท อุปสมบทเมื่อ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗ ณ วัดบ้านแอ่น อำเภอฮอดจังหวัด เชียงใหม่ โดยมี พระครูคัมภีรธรรม พฺรหฺมปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระชัยเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์พระอธิการญาณรังษี วัดหัวทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    [​IMG]


    หลวงปู่ท่านเก่งทางวิปัสสนากรรมฐานครับ
    ไปปฏิบัติธรรมวิปัสสนาแนวสติปัฏฐานสี่กับท่านได้ หลวงปู่ท่านเมตตาสอบอารมณ์ให้ทุกคน

    ทางสายเอก​
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ทางสายเอกของศาสนาพุทธ
    ทางที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และใช้เป็นวิธีการปฎิบัติสำหรับพระภิกษุสงฆ์และ พุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา

    --------------------------------------------------------------
    ในอดีตกาล นับแต่โลกอดีต มาจนถึงโลกปัจจุบัน
    มีสิ่งที่มาคู่โลกมากมาย
    พระพุทธเจ้า พระมหาสมณโคดม ได้ทรงกล่าวว่า องค์ประกอบกหลักของมนุษย์ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    ธาตุนอกเหนือจากนี้ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อโลกกุตรธรรม

    ก่อนสมัยพุทธกาล มีนักบวชมากมาย ทั้งสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ และ หลอกลวงด้วยคำพูด

    การทำสมถกัมมฐาน 40 แบบ โดยอาศัย ธาตุทั้งสี่เป็นตัวตั้งสมาธิ เช่น เตโชกสิณ วาโยกสิณ หรือ อสุภ(ซากศพ) สามารถทำให้ใจเป็นสมาธิ ได้หลายระดับ จนถึงขั้นสูงสุด คือ อัปปนาสมาธิ เมื่อตั้งจิต สามารถเรียกลม เรียกฝน ได้ตามที่ได้ฝึกมา

    พระพุทธเจ้า ได้ศึกษากัมมฐานเหล่านี้อย่างถ่องแท้ และทรงเล็งเห็นว่า มิได้มีประโยชน์อันใดกับการหลุดพ้น

    จีงบำเพ็ญเพียร เพื่อหาทางสายเอก และ ในที่สุด พระองค์ทรงตรัสรู้ ด้วย วิปัสสนากัมมฐาน

    วิปัสสนากัมมฐาน ประกอบด้วยการใช้ สติปัฎฐาน ๔
    ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม

    เพื่อให้มีสติในการกระทำตลอดเวลา ณ.ปัจจุบันกาล เพื่อไม่ให้สร้าง อกุศลกรรมใดๆ

    การฝึกปฏิบัติสามารถทำได้ทุกเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่มน้ำ ล้างหน้า ยกมือ ....

    กาย กายานุปัสสนา คือ การมีสติสัมปชัญญะ มีความเพียร กำหนดรู้กายตามสภาวะเป็นจริง เช่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาเดิน นั่ง นอน รู้ลักษณะของธาตุทั้ง 4 ในกายเรานี้มี ผม ขน เล็บ เป็นต้น ตามเป็นจริงว่า เป็นสักว่ากายเท่านั้น

    เวทนา เวทนานุปัสสนา คือ การรู้เท่าทันตัวที่เสวยอารมณ์ เช่น เสวยสุขก็รู้ว่าสุข เสวยทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ มีสติรู้

    จิต จิตตานุปัสสนา คือ การมีสติพิจารณาความเป็นไปของจิตว่า ขณะนี้จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีความฟุ้งซ่าน กำหนดรู้อย่างนี้ มีสติตั้งมั่นไม่เอนเอียงไปตามอารมณ์ของจิต ย่อมจะรู้เท่าทันว่าจิตก็เป็นเพียงสักว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นต้น

    ธรรม ธรรมานุปัสสนา คือ การมีสติกำหนด พิจารณาธรรมซึ่งเกิดกับจิตเป็นอารมณ์ ธรรมในที่นี้ท่านหมายเอานิวรณ์ 5 เมื่อธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ก็มีสติรู้เท่าทันความเป็นไป

    พระพุทธองค์ทรงใช้กุศโลบายต่างๆ แต่ยึดหลักในการใช้ วิปัสสนากัมมฐาน สำหรับการปฎิบัติเพื่อมุ่งสู่นิพพาน

    มิได้ทรงให้คิดถึงผลว่าจะได้ไปอยู่วิมานชั้นใด เกิดใหม่เป็นพระราชา มหาเศรษฐี
    บำเพ็ญเพียร เพื่อ สำเร็จมรรคผล และ หลุดจากวัฏสงสาร...

    แม้แต่ก่อนจะปรินิพพาน ทรงมีพระ ปัจฉิมโอวาท คือ
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเตือนท่านทั้งหลาย สังขารมีความเกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลา ท่านทั้งหลายจงพิจารณาสังขารที่เจริญขึ้นแล้วเสื่อมไป หรือเกิดแล้วดับไป ด้วยความไม่ประมาทเถิด!
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คำว่า " วิปัสสนา " แปลว่า เห็นแจ้ง คือเห็นแจ้งในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎถูกต้อง
    ตามความเป็นจริง เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติเพื่อถึงการดับทุกข์ อันได้แก่
    การเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ การเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง ซึ่งเป็นทางสายเอก ทางเดียว
    เท่านั้นไม่มีทางอื่น ส่วนสมถคือการเจริญความสงบ โดยให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ทำให้จิต
    สงบเป็นกุศลตามกำลังของสมาธิหรือฌาน แต่ไม่ได้ขัดเกลากิเลส เพียงแต่ข่มไว้ได้เท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...