พระบิณฑบาตร โยมถวายปัจจัยใส่บาตรพระด้วยเงินแล้วจะได้บุญไหม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เนตรอิศวร, 30 ตุลาคม 2012.

  1. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ ผู้ใฝ่บุญทั้งหลาย*****
    .....เมื่อครั้งที่เรานั้นได้บวชในพรรษาแรก ก็ได้ออกบิณฑบาตรตามปกติในยามเช้าหลังจากที่ทำวัตรเช้าแล้ว ก็ได้เดินไปบิณฑบาตรตามบ้านเรือนที่หลวงพ่อท่านได้กำหนดทางไว้ให้ แต่ด้วยเป็นพระบวชใหม่จึงขอหลวงพ่อท่านขอบิณฑบาตรในทางบ้านของตนเองเพื่อหวังใจให้มารดาและญาติพี่น้องได้ใส่บาตรพระ.....แต่เมื่อเดินผ่านบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่งซึ่งเป็นบ้านของอดีตนายตำรวจก็ได้ยินเสียงเรียกตะโกนออกมาจากในบ้านซึ่งเป็นโยมผู้หญิง.
    .....โยมผู้หญิงกล่าว: นิมนต์ก่อนค่ะพระคุณเจ้า
    (พระภิกษุ หยุดรอ)
    .....โยมผู้หญิงกล่าว: พอดีกำลังจะไปกรุงเทพเจ้าค่ะ พอดีเห็นพระผ่านมาก็เลยอยากจะทำบุญ (คุณโยมผู้หญิงก็นำเงินแบงค์ยี่สิบมาวางไว้ที่บนฝาบาตรพระ)
    .....โยมผู้หญิงกล่าว: พระคุณท่านไม่ต้องให้พรหรอกนะค่ะ ดิฉันนั้นได้รับพรมากแล้ว (แล้วโยมผู้หญิงก็เดินกลับไปขึ้นรถ)

    *****เราจึงเรียกลูกศิษย์ให้เข้ามาหยิบเงินบนฝาบาตร แล้วจึงเดินบิณฑบาตรต่อไปในใจก็นึกขำอยู่เหมือนกันกับคำพูดของคุณโยมผู้หญิง .....จนมาถึงวันเข้าพรรษาจึงมีโอกาสได้ขึ้นเทศบนธรรมมาสให้อุบาสกอุบาสิกาและโยมที่ได้มาทำบุญ เราจึงตั้งใจจะบรรยายเรื่องการทำบุญและกุศลของการทำบุญให้กับโยมที่ได้มาทำบุญฟัง เราจึงบรรยายหลังจากตั้งนะโม และพรรณาเสร็จจึงเริ่มบรรยามีเนื้อความว่า.

    *****ขอพิจารณาก่อนเถิดคุณโยมทั้งหลาย อันการสร้างบุญกุศลนั้นเป็นสิ่งประเสริฐแล้วที่จะช่วยยกระดับจิตใจของเรานั้นให้เป็นผู้เบาบางต่อกิเลส เบาบางต่อความทะยานยากด้วยขัดเกลาจิตใจของเขานั้นให้เป็นผู้สละโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งของที่ถูกปรุงแต่ในโลกนี้ อันบุญกุศลนั้นจะสำเร็จลุล่วงได้ส่งผลอันเป็นปิติ ก็ต้องประกอบไปด้วยกาย วาจา และจิตใจ คือ กายของตนเองนั้นเป็นผู้กระทำ๑ วาจาของตนเป็นผู้กล่าวถวาย๑ และจิตใจของตนนั้นเป็นผู้อนุโมทนา๑ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยไม่ทางใดก็ทางหนึ่งใน๓ทางนี้ คือ ไม่ว่าเราช่วยเขายกของถวายพระเราก็ได้บุญ เราช่วยเรากล่าวคำถวายพระหรือช่วยกล่าวชักชวนคนมาทำบุญเราก็ได้บุญ หรือแม้แต่เราเห็นเขาทำบุญแล้วเราบังเกิดจิตใจอนุโมทนากับผู้ที่ทำบุญเราก็ได้บุญคือความอิ่มเอมใจ....แต่ถ้าจะให้เกิดผลดียิ่งก็จะต้องทำให้เกิดพร้อมกันทั้ง๓สิ่งด้วยตัวของเราเอง คือ กายของเราเป็นผู้ถวายของถวายที่เราตั้งใจนำมาถวาย วาจาของเรานั้นเป็นผู้กล่าวคำถวายในของที่เรานั้นนำมาถวาย และสุดท้ายจิตใจของเรานั้นอนุโมทนาในของที่เรานั้นได้นำมาถวาย และที่สำคัญคือจิตใจนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ก็ด้วยของที่เรานั้นได้นำมาถวายนั้นจะต้องประกอบด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นใน๓เวลาคือ มีความตั้งใจที่จะนำของมาถวาย๑ มีจิตใจตั้งมั่นในขณะถวาย๑ และมีจิตใจอนุโมทนาปิติยินดีในสิ่งของที่ได้ถวายไปแล้ว๑ อย่างนี้จึงถือว่าผลของบุญที่ได้ถวายนั้นจึงมีผลมาก.
    .....มีคำกล่าวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงได้กล่าวไว้คือ บุญกุศลจะเกิดขึ้นได้แล้วมีผลบุญมากนั้นก็จะต้องทำในที่จิตใจของเรานั้นศรัทธา หากจิตใจของเรานั้นไม่เกิดศรัทธาแล้วถึงจะทำบุญไปมากเท่าใดก็ย่อมเกิดผลน้อย เปรียบประดุจดั่งการหว่านเมล็ดพืช หากผู้หว่านนั้นหวานไปบนลานหินมีหรือที่เมล็ดพืชที่หว่านลงไปจะได้ยืนต้นออกดอกผลฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น หากเรานั้นหว่านเมล็ดพืชลงในแปลงนาที่เขาคาดไถดีแล้ว เราหว่านเมล็ดพืชลงไปเมล็ดพืชนั้นย่อมยืนต้นแล้วออกดอกผลดี ฉะนั้นการทำบุญทานนั้นก็จะต้องกระทำด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นด้วยศรัทธาแล้วย่อมเกิดผลและได้อานิสงน์หาที่สุดที่ประมาณมิได้.
    .....อันร่างกายของเรานั้นก็ประดุจเรือนที่กำลังถูกไฟแผดเผาที่นับวันจะต้องเสื่อมลงไปทุกๆวัน วันนี้ผมดำวันต่อๆไปผมก็จะต้องขาว วันนี้ผิวพรรณผ่องใสวันต่อๆไปก็จะต้องหย่อนยานหมองหม่น วันนี้ฟันสวย ดวงตาดำคลับวันต่อๆไปฟันก็จะต้องหลุดล่วง ดวงตาก็จะฝ่าฟางหาความงามไม่ได้ อย่างนี้แลที่พุทธองค์ทรงกล่าวว่าร่างกายของเรานั้นกำลังถูกเปลวไฟเผาไหม้อยู่ พุทธองค์ทรงกล่าวว่าของสิ่งใดที่เจ้าของเรือนสามารถนำออกไปจากบ้านเรือนที่กำลังถูกเผาไหม้นี้ได้ ของสิ่งนั้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อเขาในภายภาคหน้า นั่นก็หมายถึงบุญทานที่ท่านทั้งหลายนั้นได้กระทำด้วยการถวายก็ดี ด้วยการบริจาคก็ดี ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินอันเป็นที่รักอยู่ ของทั้งเหล่านั้น ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผลประโยชน์แก่ท่านผู้สละแล้วในภายหน้า นั่นก็คือบุญกุศลที่ท่านทั้งหลายตั้งใจสร้างดีแล้วสละดีแล้วย่อมเป็นผลหนุนนำให้ท่านทั้งหลายนั้นมีจิตใจผ่องใสปิติยินดี ส่งเสริมให้ท่านทั้งหลายไปสู่ภพภูมิที่ดีเมื่อได้ล่วงลับไปแล้ว.
    .....การทำบุญสร้างกุศลนั้นก็จะต้องรู้จักสร้าง รู้จักทำบุญทาน กล่าวคือบุญกุศลจะบังเกิดมากเมื่ออานิสงน์ของบุญนั้นได้บังเกิดขึ้น เช่นหากมีการสร้างโบสถ์วิหารแล้วคุณโยมทั้งหลายร่วมบุญด้วยเงินเพื่อไปซื้อวัสดุอุปกรณ์มาเพื่อเป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการสร้างอย่างนี้ถือว่าได้ประโยชน์ หรือคุณโยมจะถวาย ดิน หิน ทรายมาถมเป็นฐานโบสถ์อย่างนี้ก็ถือว่าได้ประโยชน์ หรือจะซื้อกระเบื้องมาปูพื้นโบสถ ซื้อหลังคากระเบื้องมามุงหลังคาโบสถ์อย่างนี้ก็ถือว่าได้ประโยชน์เมื่อโบสถ์สร้างเสร็จแล้วคุณโยมมาเห็นพระภิกษุใช้ก็จะระลึกได้ว่าโบถส์หลังนี้เราทั้งหลายนั้นได้เป็นผู้ร่วมสร้างก็ย่อมมีจิตใจปิติผ่องใสทุกเมื่อที่เห็นและที่ระลึกได้ ....แต่หากจะสร้างโบสถแล้วคุณโยมถวายผ้าอาบน้ำฝนมาอย่างนี้จะเกิดประโยชน์ไหม หรือคุณโยมถวายเทียนพรรษามาอย่างนี้จะเกิดประโยชน์ไหม ซึ่งมันอาจจะเกิดประโยชน์ได้แต่มันใช้ประโยชน์ได้น้อยเพราะมันไม่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างโบสถ์ ด้วยเหตุนี้ถ้าจะถามว่าได้บุญไหมก็ต้องว่าได้บุญ แต่ไม่ได้อานิสงน์ที่เกิดจากการสร้างโบสถ์ เพราะอานิสงน์ก็คือผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำไปใช้.
    .....ในเรื่องการทำบุญใส่บาตรพระก็เหมือนกัน การบิณฑบาตรของพระภิกษุนั้นก็เพื่อของบิณฑบาตรอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีพ คุณโยมบางคนก็ถวายดอกไม้ปัจจัยมาบ้างก็มี ถวายปัจจัยมาบ้างก็มี ในเรื่องการถวายดอกไม้ภิกษุผู้บิณฑบาตรก็ยังสามารถนำมาบูชาพระในพระอุโบสถ์ได้ แต่ปัจจัยนี้มันยังก้ำกิ่งอยู่นะ ถึงแม้คุณโยมจะบอกว่าถวายไว้เผื่อพระท่านจะจำเป็น ซึ่งหากตามหลักคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพระองค์จะทรงมิให้ภิกษุรับเงินทองนะ
    .....ยกตัวอย่างหากมีพระภิกษุได้ออกเดินธุดงในป่า และตอนเช้าก็ออกบิณฑบาตร แต่พอดีมีคุณโยมได้เอาทองมาถวายใส่เต็มบาตรพระเลย หรือไม่ก็นำเงินมาถวายใส่บาตรพระ อาตมาถามคุณโยมว่าจะเกิดประโยชน์ไหม อาตมาก็ต้องขอตอบว่ามันไม่ได้ประโยชน์เลยเพราะเมื่ออยู่ในป่าเขานั้นไม่ว่าเงินหรือทองนั้นมันก็แค่ก้อนหินหรือสิ่งของธรรมดาที่ไม่สามรถนำมาหล่อเลี้ยงชีวิตได้ เพราะเงินทองภิกษุฉันท์ไม่ได้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกันระหว่างภิกษุออกธุดงในป่าแล้วมีคุณโยมท่านหนึ่งนำน้ำ อาหารมาถวายพระ และก็มีคุณโยมอีกท่านหนึ่งนำทองกองใหญ่มาถวายพระ อาตมาขอถามคุณโยมว่า ระหว่างคุณโยมทั้งสองคนนี้ที่ของของมาถวายคุณโยมท่านไหนได้บุญกุศลมากกว่ากัน
    .....อาตมาก็ต้องขอตอบอย่างนี้ว่าหากจะกล่าวเรื่องเรื่องบุญนั้นก็ได้เสมอกันคือการได้นำของที่ตนเองเห็นว่ามีค่ามาถวายด้วยจิตใจที่ตั้งใจสละแล้ว แต่อานิสงน์ของผลบุญนั้นต่างกันก็คือประโยชน์ที่พระภิกษุนั้นได้นำไปใช้ผลจึงได้จากอานิสงน์ของการใช้
    .....ฉะนั้นเมื่อพระภิกษุออกบิณฑบาตรวัตถุประสงค์ก็เพื่อขอบิณฑบาตรอาหารเพื่อมาหล่อเลี้ยง คุณโยมผู้ที่ถวายอาหารใส่บาตรภิกษุมาจะย่อมได้บุญกุศลมากเพราะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ส่วนคุณโยมที่ถวายปัจจัยมาแทนอาหารย่อมบังเกิดอานิสงน์น้อย นั่นก็ด้วยเพราะพระภิกษุฉันท์ปัจจัยไม่ได้นั่นเอง.
    ****ฉะนั้นในการที่จะสร้างบุญกุศลนั้น ก็ของให้คุณโยมทั้งหลายโปรดพิจารณาถึงความสมควร และความต้องการของพระภิกษุ ไม่ว่าจะอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่ยารักษาโรค เพื่อประโยชน์สูงสุดและตรงความต้องการด้วยประโยชน์ที่ใช้ นั่นก็เพื่ออานิสงน์ของผลบุญที่คุณโยมทั้งหลายจะได้อนุโมทนานั้นแล.(ร่ายจบ ต่อ ยถา)
    .....สรุปวันนั้นขึ้นเทศจบโยมก็ถวายปัจจัยใส่ยามพระมาไม่น้อยเหมือนกัน คุณโยมบางคนถึงขั้นนำของมาถวายถึงกุฎิก็มากอยู่ จนต้องนำไปถวายให้พระรูปอื่นๆ และคนจนที่เขาไม่มีก็มาก. จริงๆแล้วไม่อยากบรรยายมากเพื่อแค่เทศวันนั้นบิณฑบาตรทุกวันคุณโยมก็บอกทุกวันว่า"ให้อยู่เป็นพระครูเลยนะคุณ"เหอๆๆๆส่วนเราก็ได้แต่ยิ้มแล้วตอบว่า"แล้วแต่บุญโยม".
    *****อันเรานั้นจึงขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล*****
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  2. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591
    ท่านอยู่ที่ไหนครับ ผมอยากไปกราบท่าน
     
  3. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****ขออนุโมทนากับท่านผู้ใฝ่บุญ....พิจารณาก่อนเถิดท่าน อันท่านนั้นจะเกิดศรัทธาในเราด้วยถ่อยคำที่เราบรรยายนั้นอันเราก็ขออนุโมทนา...แต่เราก็ขอปราถนาว่าหากท่านจะศรัทธาก็ขอให้ท่านนั้นศรัทธาในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด ด้วยธรรมที่เราบรรยายมานั้นก็ได้ยกคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสาธยายขยายความ ด้วยเรานั้นมิได้หวังสาธยายธรรมเพื่อลาภการสักการะ หรือให้ผู้ใดมาศรัทธายึดมั่นถือมั่น นั่นก็เพราะธรรมที่เราได้สาธยายไปนั้นมิใช่ธรรมของเรา เราเป็นเพียงผู้ที่หยิบยกมาบรรยายเพื่อหวังให้ได้เห็นธรรมง่ายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น.
    *****หากท่านนั้นจะกราบก็ขอให้ระลึกถึงคุณพระรัตนะตรัยเถิด และที่สำคัญก็คือปฏิบัติตามหลักคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเป็นที่สุด โดยเฉพาะ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทั้ง๔อย่างนี้โปรดทำให้มากให้เป็นนิสัย และสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กันไปนั้นก็คือ ศีล และสมาธิ ศีลนั้นควรพยายามรักษา สมาธิพยายามหมั่นฝึกฝน เมื่อทั้งสองสิ่งดีแล้วเมื่อนั้นย่อมเกิดปัญญา ที่จะนำพาไปสู่หนทางแห่งมรรค๘ได้อย่างแน่นอน ทุกสิ่งเมื่อเกิดขึ้นได้ด้วยสัมมาทิฐิแล้วสำเร็จด้วยสัมมาสมาธิ ทุกสิ่งอันย่อมเป็นสิ่งประเสริฐตามครรลองเสมอ คือเดินในหนทางที่ดีที่ถูกต้องด้วยสติและสมาธิ หนทางนั้นก็ย่อมประสบความสุขและความสำเร็จเสมอ ตามหลักแห่งมรรค๘นั้นแล อันเราขออนุโมทนา.
    *****เมื่อบุญวาสนามาถึงเราทั้งหลายก็จะต้องได้พบเจอกัน*****
     
  4. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    มีบุญเกื้อหนุนกัน ก็ต้องได้เจอ เพียงแต่จะได้เจอเมื่อไหร่เท่านั้นเอง

    แต่ถ้าไม่มีบุญเกื้อหนุนกัน แม้อยากจะเจอ ทำอย่างไรก็ไม่ได้เจอ เพราะไม่มีกรรมสัมพันธ์กัน

    ทำบุญก็ควรกระจายบุญ ให้แผ่ไปทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ให้แผ่กระจายเหมือนแสงอาทิตย์ อย่าไปกระจุกตัว เพราะสมมติสงฆ์ในวันนี้ ย่อมเป็นอริยสงฆ์ในวันข้างหน้า เปรียบเสมือนเราหว่านพืชไปทุกที่ ไปที่ไหนก็ได้เจอพระดีๆ จะเกิดภพไหนชาติไหน ก็ย่อมได้ร่วมสร้างอานิสงส์ผลบุญกับเนื้อนาบุญอันประเสริฐไปทุกภพทุกชาติ
     
  5. โพธิบัลลัง

    โพธิบัลลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +21
    เรียนถามท่านเนตรอิศวร ในเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไม่ให้ภิกษุรับเงินหรือทองแล้ว แล้วในทุกวันนี้คนทำบุญถวายเงินแล้วภิกษุรับเงินไม่ผิดข้อห้ามของพระพุทธเจ้าที่ถือว่าเป็นบาปหรอครับ
     
  6. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนเถิดหนอท่านผู้เจริญ ความสงสัยของท่านในเรื่องนี้นั้นเปรียบประดุจดังมือที่คว่ำอยู่ได้หงายแล้ว อันภิกษุรับเงินทองนั้นก็คงจะเห็นว่าไม่ผิดธรรมหรอก แต่หากภิกษุครอบครองทรัพย์นั้นย่อมผิด อันจะไม่รับในสิ่งของที่เขานั้นตั้งใจมาถวายก็จะกลายเป็นการขัดศรัทธาผู้หวังบุญด้วยการสละ ครั้นภิกษุห่วงในทรัพย์ก็จะกลายเป็นผู้มักมากในทรัพย์ก็จะทำให้ยากต่อการละทางโลก กรรมด้วยการกระทำทุกสิ่งอันนั้นมีผลอยู่เสมอ ....เมื่อเป็นผู้ออกบวชแล้วก็ควรเป็นผู้สละแล้วในทางโลกโดยหมั่นฝึกบำเพ็ญเพียรในทางธรรมในนานก็จะสำเร็จมรรคผล ประดุจน้ำที่เคยเต็มแก้วเมื่อเรานั้นได้คว่ำแก้วน้ำนั้นแล้วในช่วงแรกอาจจะมีหยดน้ำค้างอยู่บ้างแต่ไม่นานแก้วที่คว่ำแล้วก็จะแห้งสนิท ผู้ที่ลสะแล้วในทางโลกเช่นเดียวกัน ในช่วงแรกอาจจะพอยังมีกิเลสในความอยากมีอยากเป็นอยู่บ้าง แต่หากไม่กลับเข้าไปวกวนในกิเลสทางโลกไม่นานกิเลสที่เคยมีก็จะแห้งสนิทไปนั่นเอง.
    *****อันภิกษุรับเงินนั้นก็อยู่ที่ใจของภิกษุท่านเองว่ารับแล้วจะลำพองทยานอยากหรือไม่ หากภิกษุรับเงินทองแล้วพ่ายแพ้ต่อลาภภิกษุนั้นก็จะเป็นผู้รับผลของความหลงลาภนั้นเอง แต่หากภิกษุรับเงินทองมาแล้วท่านไม่ยึดถือว่าเป็นลาภ ด้วยครองตนตามทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ทางไว้ให้ ไม่นานภิกษุท่านนั้นก็จะได้รับผลตามทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แสดงไว้แล้วอย่างนั้นเองแล (หากจะให้กระจ่างแจ้งในภายหน้าเรานั้นจะแสดงโดยละเอียดนั้นแล)....ขออนุโมทนาบุญมาอย่างนี้แล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    หากได้บวชในพุทธศาสนาเป็นระยะเวลานึง แล้วต้องการทำกิจเพื่อช่วยพุทธศาสนาให้เต็มที่ ในระยะเวลาการบวชนั้น จะทราบได้ด้วยตนเอง ขณะเป็นพระสงฆ์ ว่า การรับเงิน ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง นั้นสำคัญ ในการพัฒนาพุทธศาสนาต่อไป
     
  8. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

    ๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
    เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร


    [๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่
    พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็น
    กุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น.
    เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึง
    แบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้อง
    อ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า. บุรุษสามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจัก
    ซื้อของอื่นถวายท่าน. ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศากยบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร
    เข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
    ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง,
    ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น, ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง,
    จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของ
    พระคุณเจ้าแก่เด็ก, พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ.
    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เรา แล้วหรือ?
    บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว.
    อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา.
    บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ
    ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา.
    ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย
    สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
    ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า
    เธอรับรูปิยะจริงหรือ?
    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
    ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
    ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ
    ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
    ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่
    ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
    ทรงบัญญัติสิกขาบท
    พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส
    โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
    ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
    ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
    การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
    เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ
    นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง-
    *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
    ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
    ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน
    อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.


    ที่มา:http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=2567&Z=2684


    การบวชแล้วไม่ประพฤติตามหลักพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติแล้วด้วยดี มีผลเสียหายร้ายแรงแก่ตน แลผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น...คือ..

    1. ทำลายตนเองด้วยการล่วงสิกขาบท ไม่ยำเกรงหรือมีศรัทธาในองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำตนดุจโจรปล้นศาสนา..

    2. ทำลายศาสนาให้ย่อยยับด้วยการล่วงพระวินัย แทนที่จะปฏิเสธการรับเงิน แล้วสอนญาติโยมให้รู้เรื่องที่ถูกควรกลับไม่ทำ..กลับรับเอาทันที แล้วมากล่าวภายหลังด้วยการอ้อมค้อมทำนองว่าไม่ควรทำบุญด้วยเงิน นี้เป็นอาการของผู้ไม่ซื่อตรงมีสาเถยจิต ไม่นึกละอายในเพศที่ถือครองอยู่ ....

    3. ทำลายคนที่อยากทำบุญแต่ไม่รู้ความควรไม่ควรให้เขลาต่อไปและกลายเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยทำร้ายพระที่ไม่ได้บวชเพื่อขัดเกลากิเลส หรือเพื่อพ้นทุกข์..

    ผู้แสวงบุญที่ให้เงินพระ แม้ได้อานิสงค์แห่งบุญอยู่บ้าง ก็น้อยกว่าิอานิสงค์แห่งบาปในการทำให้พระผู้รับต้องไปนรกเพราะล่วงพระวินัย...ศาสนาพุทธไม่ได้อยู่ที่วัดสวยงามหรือมีโบสถ์ ศาลามากมายทั่วประเทศ.. แต่อยู่ที่ไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญาที่มาจากหรือการเจริญมรรคมีองค์ 8...
    ...ถ้าว่าศาสนาพุทธจะเจริญดีด้วยวัตถุสถานต่างๆเหล่านี้ ก็น่าที่พระพุทธองค์จะตรัสสอนว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงเร่งสร้างวัดวาอารามให้มากเถิด..ท่านอย่าได้ให้เวลาล่วงไปด้วยการนิ่งเฉยจากการก่อสร้างวัดเลย..เพราะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะเป็นไปเพื่อให้ศาสนานี้ดำรงตั้งมั่นอยู่ได้นาน..."."..มีแต่ตรัสว่า.."โน่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง.."ภิกษุทั้งหลายเธอพึงเพ่งเพียรเถิดในสิกขาทั้งหลาย.."ฯลฯ


    หากเป็นชาวพุทธแท้ ย่อมมีความเคารพศรัทธาในพระพุทธเจ้า ไม่คิดในสิ่งตรงข้ามกับที่พระองค์ตรัสสอนไว้ดีแล้ว..หรือดัดแปลงสิ่งที่ทรงตรัสสอนไว้มาเข้ากับกิเลสตัณหาของตน..พึงทราบว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ละได้ซึ่งวจีทุจริตทั้งหมดได้แล้ว..จึงจะไม่ทรงกล่าวเรื่องเหลวไหลหรือเพ้อเจ้อหรือหลอกลวงใครๆในที่ใหนๆเป็นอันขาด.. สิ่งใดที่ทรงกล่าวบัญญัติไว้ ย่อมเป็นแต่เรื่องจริงและประเสริฐเกื้อกูลแก่การพ้นทุกข์ทั้งสิ้น เมื่อจะเคารพใคร ก็พึงเคารพยำเกรงพระพุทธเจ้าให้มาก ย่อมเข้าถึงความเกษมปลอดภัย..เรื่องพระวินัยนั้น แม้พระอรหันต์ทั้งหลายก็คิดหรือบัญญัติเองไม่ได้เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น..ท่านใดที่คิดว่าพระวินัยไม่เหมาะสมกับยุคสมัยหรืออะไรๆที่ตนเห็น พึงเข้าใจว่า นี้เท่ากับประกาศตนว่า เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่แล้ว..แต่เป็นองค์ใหม่ในศาสนาอื่น ไม่ใช่พุทธแน่.. เพราะพระพุทธเจ้า"ทุกพระองค์"ย่อมบัญญัติในสิ่งเดียวกัน เสมอกันไม่ต่างกันเลย


    ชาวพุทธแท้ เมื่อจะบริจาคเงินทอง พึงนำไปถวายแก่ไวยยาวัจจกรคือฆราวาสที่ดูเเลเรื่องเงินทองที่วัด..เมื่อใดที่นึกอยากทำบุญ ไม่มีข้าวผ้าอาหารหรือสิ่งสมควรแก่สมณะในมือในเวลานั้น เพียงยกมือกราบไหว้ท่านด้วยความนอบน้อมนึกถึงสังฆคุณว่า..."สุปฏิปัณโนสาวกสังโฆ.ฯ.."จิตย่อมแล่นไปด้วยมหากุศลยิ่ง หรือนึกอนุโมทนาในการให้ทานของผู้อื่น แล้วคิดว่าเมื่อตนมีโอกาสในภายหน้าจะกระทำทานเช่นนั้นบ้าง..เหล่านี้ล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น เป็นบุญที่ไม่เนื่องด้วยบาปเลย..และ เป็นบุญที่เกิดขึ้นด้วยปัญญา ย่อมเกิดมาเป็นคนฉลาดเฉลียว..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  9. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  10. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    กราบเรียนถามพระคุณเจ้าว่าเมื่อท่านทราบหลักพระวินัยอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ปฏิเสธแต่กลับรับไว้เล่าขอรับ?...และเหตุไรจึงไม่บอกกล่าวความรู้เรื่องพระวินัยแก่หญิงที่ถวายเงินนั้นขอรับ...?

    เมื่อท่านถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งจริง ท่านย่อมทราบว่าตัวอย่างที่ท่านยกมาเพื่อเสริมรับรองการรับเงินของพระเป็นสิ่งที่ไม่ผิดพระวินัย...นั้นเป็นเรื่องที่ถูกหรือผิด..

    ท่านน่าจะแยกออกว่าสิ่งใดถูกหรือไม่...แม้แต่การทำกิจแห่งการรักษาโรคก็ยังมีพระวินัยห้ามไว้... ท่านคงทราบ..

    ท่านอยู่ในเพศภิกษุ ท่านควรแต่จะเห็นคุณแห่งพระวินัยบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติด้วยพระมหากรุณาอันยิ่ง..ไม่ใช่การออกมาชี้ชวนว่าประโยชน์จากเงินทองมีอะไรบ้าง ซึ่งชนทั้งหลายที่สติไม่ฟั่นเฟือนย่อมทราบอยู่เองแล้ว..หรือตัวอย่างเรื่องลิงแลช้างก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการรับเงินทอง แต่ท่านกลับนำมาสรุปตีความเอาประโยชน์รองรับการละเมิดพระวินัย.. .กระผมเห็นว่า สิ่งนี้ไม่สมควรเลยขอรับ แม้บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเมื่อได้อ่าน..

    ท่านศรัทธาในคำตรัสของพระพุทธเจ้าหรือไม่ว่า....

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

    [๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
    ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว
    พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัย
    อันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็น
    ศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..



    http://84000.org/tipitaka/read/?10/141/178

    ปุถุชน เมื่อยังมีกิเลสอยู่ การประพฤติตามพระวินัยย่อมเป็นเรื่องยาก อย่างยิ่ง..แต่ก็มีอยู่แ้ม้ในยุคนี้ที่มีพระที่เคร่งครัดในพระวินัย ที่ชัดเจนเ่ช่นหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ท่านประกาศไม่รับเงินทอง ..ผู้คนยิ่งอยากถวาย จนบัดนี้ ด้วยความเป็นพระสุปฏิปัณโนของท่าน จึงเกิดวัดสาขาหนองป่าพงมากมาย แพร่ไปไกลถึงต่างประเทศด้วยความขวนขวายของฆราวาสในการจัดสร้างด้วยศรัทธาแรงกล้า..เป็นเครื่องรับรองว่า หากพระปฏิบัติชอบตามพระวินัยแล้ว ต่อให้หลบไปไกลกลางป่า ผู้คนก็จะดั้นด้นค้นหาเพื่ออุปปัฏฐากท่านมากมายทีเดียว...

    หรือท่านว่าไม่จริงขอรับ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  11. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนเถิดหนอท่านผู้เจริญ สมดั่งคำกล่าวของท่านอันเรานั้นก็มีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่เราก็จักขอแสดงทางไว้เพื่อให้ท่านทั้งหลายพิจารณาดังนี้.
    *****ด้วยสิ่งที่เรานั้นได้บรรยายมาในข้างต้น หาได้ต้องการยกธรรมมาเพื่อช่วยยกความถูกต้องให้กับการรับเงินของภิกษุ หรือหวังให้สะอาดปราศจากมลทิน แต่สิ่งที่เรานั้นกล่าวก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งอันนั้นอยู่ที่จิตใจ จิตใจของผู้บำเพ็ญนั้นแลคือสิ่งสำคัญ การจะรับหรือไม่รับไม่ใช่เหตุและผลสำคัญ สมดั่งคำของท่าน joni_buddhist ที่กล่าวประมาณว่า แม้จะอยู่ใกล้สังฆฏิขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังเหมือนอยู่ไกลจากพระองค์ แม้จะอยู่ไกลจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมื่นโยชน์ก็เปรียบเสมือนอยู่ต่อหน้าพระพัตร์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    *****ด้วยเหตุนั้นหากเราแสดงอย่างนี้ว่า ไวยาวัชกรนั้นก็เปรียบประดุจแขนขาร่างกายของภิกษุ พระภิกษุนั้นเปรียบดั่งจิตใจของแขนขา เมื่อจิตใจต้องการสิ่งใดก็จะสั่งงานไปที่แขนและขาของร่างกายให้เป็นผู้สนองความต้องการให้เป็นไปดั่งที่ตั้งใจ.
    *****ด้วยเหตุนี้นั้นอันเราจึงขอถามท่านผู้เจริญอย่างนี้ว่า ระหว่างแขนขาร่างกายกับจิตใจ ในการบำเพ็ญเพียรในหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพุทธศาสนานี้สิ่งใดสำคัญที่สุดกันหรือ?
    .....ในเมื่อท่านผู้เจริญเห็นว่าหากมีผู้ใดถวายปัจจัยแล้วก็ให้ไวยาวัชกรเป็นผู้รับ และภิกษุต้องการประสงค์สิ่งใดก็ขอให้บอกกว่าแก่ไวยาวัชกรนั้น .....อันเราขอถามท่านผู้เจริญอย่างนี้ว่า หากด้วยเหตุนี้แล้วจะสามารถบรรลุธรรมตามทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้แสดงไว้ได้หรือไม่?.
    *****ฉะนั้นการที่ภิกษุจะเป็นผู้รับปัจจัยเองหรือไม่รับเองนั้นก็เป็นเพียงเพื่อหลีกเลี่ยงโลกัชวัชชะ คือหลีกเลี่ยงให้ผู้ศรัทธาได้คายศรัทธา หลีกเลี่ยงผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อว่าภิกษุให้ผู้ศรัทธาเกิดความเสื่อมศรัทธา แต่สิ่งนั้นก็ไม่ใช่หัวใจของหลักคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุอย่างนี้.
    .....อันเราขอแสดง เปรียบเสมือนท่านผู้เจริญ จิตใจท่านต้องการประสงค์สิ่งใดด้วยความต้องการ จิตใจของท่านก็จะสั่งให้ร่างกายของท่านผู้เจริญนั้นกระทำให้เป็นไปตามที่จิตใจของท่านนั้นปราถนา อันเราขอถามว่าหากเป็นเช่นนี้แล้วหากภิกษุที่มีไวยาวัชกรหากต้องการสิ่งใดแล้วก็ให้บอกแก่ไวยาวัชกรให้ไวยาวัชกรเป็นผู้ได้หาความต้องการของภิกษุในสิ่งนั้นมาให้ ด้วยเหตุนี้แล้ว จิตใจ กับร่างกาย และภิกษุ กับ ไวยาวัชกรนั้นแตกต่างกันหรือไม่?
    .....หากท่านผู้เจริญนั้น เกิดหิวอยากทานข้าว ความอยากนั้นก็เกิดจากจิตใจ จึงสั่งให้ร่างกายไปหยิบข้าวมาเพื่อรับประทาน จิตใจเป็นเพียงผู้อยาก ร่างกายเป็นเพียงผู้ถือ อย่างนี้แล้ว อันเราขอถามท่านผู้เจริญว่าสิ่งนี้จะหาความสงบระงับได้จากสิ่งใด *****เฉกเช่นเดียวกัน ภิกษุเป็นผู้ปราถนา ไวยาวัชกรเป็นผู้จัดหามาถวาย แล้วสิ่งนี้ต่างจากท่านผู้เจริญถือจานข้าวด้วยความอยากในข้าวได้อย่างไร?
    *****ฉะนั้นจากสิ่งที่เรานั้นได้แสดงมานี้ก็เพื่อจะชี้ให้ท่านผู้เจริญนั้นได้คลายยึดมั่น ด้วยไม่ว่าจะเมีไวยาวัชกรหรือไม่นั้นก็ไม่ได้ก่อให้เกิดมรรคผลนิพาน หรือทำให้ตนเองอยู่ใกล้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย....แต่สิ่งที่ทำให้เราอยู่ใกล้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือจิตใจของเรา ว่าจิตใจของเรานั้นเข้าถึงกระแสแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่.
    .....เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า เคยกล่าวอย่างนี้ว่า เปรียบดั่งภิกษุผู้ออกธุดงในป่าเพื่อฝึกตนบำเพ็ญเพียร หากมีผู้หนึ่งนำเงินทองมาถวายภิกษุจนเต็มบาตรแล้วจากไป ภิกษุผู้รับแล้วหากเป็นผู้มีจิตใจยึดมั่นในหลักคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วท่านนั้นก็จะเททองในบาตรกองไว้แล้วเดินจากไปโดยไม่รู้สึกในทองนั้น แต่สำหรับผู้ที่เข้ามาเพียงเพื่อจุดประสงค์อื่นแล้ว เมื่อมีผู้นำทองมาถวายจนเต็มบาตรแล้วจากไปภิกษุหมู่ที่ไม่มีใจในมรรคผลนิพานแล้วเขาย่อมจะยอมเปลื้องไตรจีวรและเข้าสู่ความสำราญในชีวิตปุถุชน.
    *****ด้วยเหตุนี้เราจึงแสดงอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหลายที่มีผู้ตั้งใจสละมาถวาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารเลิศรส ไตรจีวรไหมล้ำค่า หรือสิ่งของต่างๆนานาที่ผู้ถวายเห็นว่าเลิศประเสริฐแล้วถึงท่านทั้งหลายไปแสวงหามาจากแดนสวรรค์ชั้นฟ้า ของทั้งหลายเหล่านั้นเมื่ออยู่ในสายตาหรือดวงจิตแห่งผู้แสวงหามรรคผลนิพานตามคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ของทั้งหลายเหล่านั้นก็ย่อมไม่แตกต่างอะไรไปจากดิน หรือ กรวดหินเท่านั้นเอง.
    *****ฉะนั้นเราจึงแสดงอย่างนี้ว่า ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะถวายปัจจัยด้วยจะใส่ในบาตร ในถุงหย้าม หรือว่างแม้แต่วางไว้บนฝาบาตรแล้ว ถึงแม้เราจะถือบาตรนั้นอยู่ ถือหย้ามนั้นอยู่ เงินทองปัจจัยเหล่านั้นย่อมไม่มีค่าแก่ภิกษุผู้เข้าสู่ห้วงแห่งนิพานนั้นเลย.
    .....ถึงแม้ว่าจะมีไวยาวัชกรเป็นผู้รับของจัดหามาให้ แต่หากจิตใจของภิกษุยังเป็นผู้อยู่ในความอยากแล้ว เขาย่อมสั่งไวยาวัชกรด้วยความต้องการในสิ่งนั้นในสิ่งนี้ ...หากจะดับสิ่งทั้งหลายก็ควรดับที่จิตใจให้หมดความอยากมิใช่หรือ.

    *****ฉะนั้นในอดีตถึงปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ว่า พระภิกษุผู้ที่ไม่รับเงินทองไม่จับเงินทองที่เขานำมาถวายยังไม่สามารถเข้าพระนิพานได้อยู่ก็มี๑ พระภิกษุที่รับเงินทองที่จับเงินทองที่เขานำมาถวายก็ไม่สามารถเข้าพระนิพานได้อยู่ก็มี๑ พระภิกษุที่ไม่รับเงินทองไม่จับเงินทองที่เขานำมาถวายก็สามารถเข้าพระนิพานได้อยู่ก็มี๑ พระภิกษุที่จับเงินทองที่จับเงินทองที่เขานำมาถวายก็สามารถเข้าพระนิพานได้๑ ด้วยเหตุอย่างนี้ที่ว่าการเข้าพระนิพานได้นั้นอยู่ที่จิตใจเป็นอารมณ์ด้วยปล่อยวางทุกสิ่งแล้วนั่นเอง ...อันเรานั้นขอแสดงชี้ไว้อย่างนี้แล ขออนุโมทนา.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  12. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    เข้าใจผิดมากไปใหญ่แล้วขอรับ..การคิดเองเออเองเช่นนี้นับว่าเสี่ยงมากขอรับ..

    มาดูความเห็นของพระพุทธเจ้าดีกว่านะขอรับ ว่าพระองค์บัญญัติพระวินัยข้อนี้เพราะเหตุไร....

    เงิน - ทองไม่ควรถวายภิกษุ พระไตรปิฎก เล่ม 3 หน้า 940

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
    พระบัญญัติ

    อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง - เงิน หรือ ยินดีทอง - เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป จึงจะพ้นโทษได้)




    ในมณีจุฬาสูตร ได้แสดง
    ปัญหา ราชบริษัทในเมืองราชคฤห์สนทนากันว่า เงินและทองเป็นสิ่งควรแก่ภิกษุ พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง และย่อมรับเงินและทองได้ นายบ้านนามว่ามณีจูฬกะได้ยินเช่นนั้น จึงปฏิเสธคำกล่าวหานั้น แล้วภายหลังได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องนี้ให้ทราบ และทูลถามว่าที่เขาปฏิเสธไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ?
    พุทธดำรัสตอบ "ดีละนายคามณี เมื่อท่านตอบอย่างนั้น เป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และกล่าวตอบธรรมถูกต้องเหมาะสม...เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีในเงินและทอง...ห้ามเสียซึ่งเพชรนิลจินดาและทอง ปราศจากเงินและทอง
    "ดูก่อนนายคามณี กามคุณทั้ง ๕ ควรแก่ผู้ใด เงินและทองย่อมควรแก่ผู้นั้น ท่านพึงจำข้อนี้ไว้อย่างเด็ดขาดเถิดว่า ข้อนั้นไม่ใช่สมณธรรม ไม่ใช่ธรรมของสมณศากยบุตร

    นายคามณี เรากล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการหาเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษจึงแสวงหาบุรุษ แต่เรามิได้กล่าวโดยปริยายใด ๆ เลยว่า พระศากยบุตรพึงยินดีและแสวงหาเงินและทอง"


    ไม่เห็นพระพุทธเจ้าตรัสไว้ตรงใหนเลยว่า ..

    "การที่ภิกษุจะเป็นผู้รับปัจจัยเองหรือไม่รับเองนั้นก็เป็นเพียงเพื่อหลีกเลี่ยงโลกัชวัชชะ..."

    กระผมไม่ทราบว่าพระคุณเจ้าคิดอย่างไรจึงกล้ากล่าวสิ่งที่ตรงข้ามกับพระพุทธประสงค์ไปได้ไกลเพียงนี้...


    ขอยกคำแนะนำจากพระสุปฏิปัณโนที่เป็นพหูสูตรทั้งทางคัมภีร์พระไตรปิฎกและเป็นผู้ปฏิบัติเยี่ยงพุทธบุตรที่น่าเคารพเลื่อมใสยิ่งแก่ชนทั่วไปมาแสดงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้..

    "ความเห็นจากท่านพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    เรื่อง: ถ้าจะถวายปัจจัยแก่พระ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง?


    โดยพระวินัย พระไม่รับเงินทอง และโดยนโยบายของวัดก็ไม่มีการเรี่ยไร หรือตั้งตู้รับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น พระเดชพระคุณฯ เคยกล่าวไว้ว่า เรื่องสร้างวัดเป็นเรื่องของโยม (คือไม่ใช่งานที่พระจะต้องไปหาเงินหาทองมาสร้าง มาซ่อม โยมทำให้อย่างไรก็อยู่ได้) ดังนั้นคณะกรรมการวัดที่เป็นญาติโยมจึงทำหน้าที่ในการดูแลวัด ซ่อมแซมอาคารสถานที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม และจัดการงบประมาณส่วนหนึ่งมา ใช้ในการจัดทำสื่อธรรมะต่างๆ เพื่อแจกแก่ญาติโยมที่มาวัด รวมทั้งดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมวันสำคัญ การดูแลพระอาพาธ การถวายทุนการศึกษาเล่าเรียนแก่พระภิกษุสามเณร เป็นต้น ดังนั้นถ้าท่านต้องการร่วมทำบุญเพื่อกิจเหล่านี้ก็ให้เห็นเป็นเรื่องที่ญาติโยมมาจัดการกันเอง (อย่างเปิดเผย โปร่งใส) เพื่อเกื้อกูลแก่พระสงฆ์ในการทำกิจอันเป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนโดยส่วนรวม โดยไม่จำเป็นต้องถวายแก่พระสงฆ์ หรือหากมีเจตนาต้องการถวายปัจจัยเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์เพื่อใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่ควรแก่สมณะ ก็มีพุทธบัญญัติให้มอบปัจจัยนั้นแก่ไวยยาวัจจกรแล้วแจ้งให้พระสงฆ์ทราบด้วยวาจา หรือเขียนเป็นตัวหนังสือลงในใบปวารณาก็ได้ และก็ควรเน้นย้ำว่า มีหนทางอีกมากที่ชาวพุทธจะทำบุญที่ยิ่งไปกว่าเพียงการถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์หรือแก่วัด ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็น หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ต้องกระทำแต่อย่างใด"..

    ที่มา:..

    ถ้าจะถวายปัจจัยแก่พระ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง? - วัดญาณเวศกวัน


    หากพระคุณเจ้าใช้เวลาที่เข้าเน็ตมาแสดงอุบายที่เป็นไปเพื่อความไม่เอื้อเฟื้อต่อพระวินัยแล้ว ก็ใคร่กราบนิมนตร์ขอให้พิจารณาเห็นคุณของญาติโยมที่ถวายปัจจัยเพราะหวังบุญอันยิ่งให้มากด้วยขอรับ พวกเขาเหล่านั้นคงไม่ทราบว่าท่านกำลังปฏิบัติกิจที่ควรแก่สมณะหรือไม่ ใครถวายอุปกรณ์เพื่อการเข้าเน็ต และค่าใช้จ่ายนี้มาแต่ใหน..ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ท่านพึงพิจารณาด้วยดีว่ามีคุณแก่ใครอย่างไร ..

    กระผมคงไม่อาจแก้ไขความเห็นผิดจากคลองธรรมของใครได้ จึงใคร่ยุติความลำบากของตนไว้เพียงนี้..
     
  13. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดจึงพิจารณาคำกล่าวของเรานั้นดังที่ได้แสดงแล้วในข้างต้นดังนี้ .
    .....*****ฉะนั้นเราจึงแสดงอย่างนี้ว่า ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะถวายปัจจัยด้วยจะใส่ในบาตร ในถุงหย้าม หรือว่างแม้แต่วางไว้บนฝาบาตรแล้ว ถึงแม้เราจะถือบาตรนั้นอยู่ ถือหย้ามนั้นอยู่ เงินทองปัจจัยเหล่านั้นย่อมไม่มีค่าแก่ภิกษุผู้เข้าสู่ห้วงแห่งนิพานนั้นเลย.***** อันคำกล่าวนี้นั้นแล เรากำลังชี้สิ่งใดแก่ท่านหรือ?๑
    .....*****เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า เคยกล่าวอย่างนี้ว่า เปรียบดั่งภิกษุผู้ออกธุดงในป่าเพื่อฝึกตนบำเพ็ญเพียร หากมีผู้หนึ่งนำเงินทองมาถวายภิกษุจนเต็มบาตรแล้วจากไป ภิกษุผู้รับแล้วหากเป็นผู้มีจิตใจยึดมั่นในหลักคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วท่านนั้นก็จะเททองในบาตรกองไว้แล้วเดินจากไปโดยไม่รู้สึกในทองนั้น แต่สำหรับผู้ที่เข้ามาเพียงเพื่อจุดประสงค์อื่นแล้ว เมื่อมีผู้นำทองมาถวายจนเต็มบาตรแล้วจากไปภิกษุหมู่ที่ไม่มีใจในมรรคผลนิพานแล้วเขาย่อมจะยอมเปลื้องไตรจีวรและเข้าสู่ความสำราญในชีวิตปุถุชน.*****อันคำกล่าวนี้นั้นแล เรากำลังชี้สิ่งใดแก่ท่านหรือ?๑
    .....*****ด้วยเหตุนั้นหากเราแสดงอย่างนี้ว่า ไวยาวัชกรนั้นก็เปรียบประดุจแขนขาร่างกายของภิกษุ พระภิกษุนั้นเปรียบดั่งจิตใจของแขนขา เมื่อจิตใจต้องการสิ่งใดก็จะสั่งงานไปที่แขนและขาของร่างกายให้เป็นผู้สนองความต้องการให้เป็นไปดั่งที่ตั้งใจ.*****อันคำกล่าวนี้นั้นแล เรากำลังชี้สิ่งใดแก่ท่านหรือ?๑
    .....พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ ทั้ง๓ หัวข้อที่เราได้ยกมาแล้วท่านนั้นพิจารณาแล้วเห็นเป็นเช่นใด ..... จากทั้ง๓หัวข้อที่เราได้แสดงมานี้ นั่นแหละคือคำตอบของเรา ท่านจะบอกว่าให้ภิกษุจำต้องอยู่ป่าเพื่อบำเพ็ญเพียร แล้วนั้นจะมีภิกษุใดออกมาโปรดปวงชน ดอกบัวทั้ง๔เหล่าได้เกิดขึ้นแก่หมู่มนุษย์ฉันท์ใด บัวทั้ง๔เหล่าก็ย่อมเกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุฉันท์นั้น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่ในโคลนตรม อยู่ในน้ำ อยู่บนน้ำ หรือเบิงบานดุจดอกบัว .....แต่สิ่งที่เรานั้นกำลังยกแสดงก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ชนหมู่หนึ่งอยู่ในน้ำภิกษุหมู่หนึ่งก็กำลังทำหน้าที่เพื่อชักนำด้วยความเหมาะสมกับหมู่ชนที่อยู่ในน้ำ ชนหมู่หนึ่งเปรียบลอยอยู่เหนือน้ำ ก็จำต้องมีภิกษุหมู่หนึ่งที่จำต้องทำหน้าที่เพื่อชักนำด้วยความเหมาะสมกับหมู่ชนที่ลอยอยู่เหนือน้ำ ชนหมู่หนึ่งเป็นผู้เบิ่งบานแล้วก็จำต้องมีภิกษุหมู่หนึ่งที่เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเป็นผู้ชี้นำ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น.
    .....พิจารณาก่อนเถิดหนอท่านผู้เจริญ ถึงท่านจะยกมาว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าภิกษุจำต้องอยู่ป่า ภิกษุจำต้องอยู่โคนไม้ ภิกษุจำต้องอยู่ในบ้านเรือนที่ร้างแล้วผู้คน สิ่งที่ท่านนั้นได้กล่าก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงชี้ไว้แสดงไว้ สิ่งนั้นย่อมถือว่าเป็นหนทางอันประเสริฐ.
    .....พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ แต่สิ่งหนึ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงตัดไว้ก่อนปรินิพานแก่พระอานนท์เถระ ที่พระองค์ทรงกล่าวว่า สิ่งใดควรยึดขอให้ยึดไว้ สิ่งใดควรปล่อยวางก็สมควรปล่อยวาง มิใช่หรือด้วยสิ่งนั้นพระองค์ทรงกล่าวเพื่อให้ครองตนง่ายแก่สิ่งที่เปลี่ยนแปลง.
    .....พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ เมื่อครั้งหนึ่ง พระเทวทัต ก็แสดงตนอย่างเข้มแข็งโดยขอองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๖อย่างจนภิกษุแยกออกจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงชี้สิ่งเหล่านั้นเป็นการที่ตรึงเกินไป.
    .....พิจารณาก่อนเถิดท่านผู้เจริญ มีคำกล่าวในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงกล่าวว่า ผู้ที่ฉันท์อาหารมื้อเดียวนั้น ก็อย่าได้เห็นว่าตนเองนั้นเหนือกว่าภิกษุหมู่อื่น.
    *****พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ พระวินัยบัญญัติในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงประเสริฐแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวแก่พระอานนท์ก่อนปรินิพานก็มีอยู่ คือ พระอานนท์เถระกล่าวถามองค์พระสัมาสัมพุทธเจ้าเรื่องการถูกเนื้อต้องตัวอิทสตรี สิ่งนี้ย่อมเทียบเคียงกับเรื่องภิกษุรับปัจจัยได้เป็นอย่างดี ขอท่านโปรดลองไปศึกษาพิจารณาดูเถิด
    *****พิจารณาก่อนเถิดท่านผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงกล่าวเปรียบประดุจดั่งเรือ เรือที่เราอาศัยข้ามฟากไปถึงฝั่งแล้ว เมื่อเราขึ้นฝั่งแล้วเรือลำนั้นก็หาเป็นประโยชน์ต่อเราไม่ อันเราจะแบกหามไปก็จะเป็นการรุงรังแก่เรา.
    *****พิจารณาก่อนเถิดท่านผู้เจริญ รูปแบบขนมทำเนียมนั้นมีไว้สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในกาปฏิบัติ แต่เมื่อผู้ใดเข้าถึงจนเจนจบแล้วเมื่อในธรรมทั้งหลายย่อมว่างเปล่าไร้รูปแบบนั้นแล.
    *****พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ อันเรานั้นเมื่อครั้งหนึ่งก็เคยได้สนทนากับท่านผู้ใฝ่ธรรมที่ชื่อว่า เพชรกร ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ เราทั้งสองนั้นต่างก็ยกธรรมกันมาพิจารณา.
    *****พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ ด้วยองค์พระสังฆราชท่านพระองค์ก็ทรงมิได้เป็นผู้อยู่ป่า อันภิกษุหมู่หนึ่งอยู่ป่าก็จงอย่าได้หาไปอวดตนว่าปฏิบัติเหนือกว่าองค์พระสังฆราช ด้วยธรรมและกิจของพระองค์ท่านก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าภิกษุผู้อยู่ป่าเลย.
    .....วัตถุทานทั้งหลายที่ชนทั้งหลายได้นำมาถวาย ก็หาได้เป็นสิ่งของมีค่าอันใดแก่ภิกษุผู้หวังในมรรคผลนิพานเลย.
    *****กสิณทั้ง๖ ผู้ใดชำนาญทางใด เขาย่อมจะเป็นผู้สำเร็จและชำนาญในทางนั้น ไม่มีผู้ที่สำเร็จทางหนึ่งทางใดเหนือกว่ากัน หรือแม้แต่พระนิพานเองผู้ที่สำเร็จก็ย่อมมีจิตใจที่หลุดพ้นแล้วไม่มีผู้ใดเหนือว่าผู้ใดฉันท์ใดก็ฉันท์นั้นแล.*****เมื่อพระเทวทัตยึดมั่นตนด้วยหวังอยู่เหนือกว่าพระศาสดาด้วยเห็นว่าตนเองปฏิบัติตนเคร่งครัดกว่า แต่ผลสุดท้ายพระเทวทัตก็มิอาจเข้าสู่พระอรหันต์ได้ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้นแล. คนหมู่หนึ่งก็เห็นว่าตนเองนั้นเป็นเลิศด้วยสำคัญว่าตนเองยึดมั่นในอักษรที่จารึกมา แต่ผู้ที่สำเร็จได้ก็คือผู้ที่สามารถใช้อักษรที่จารึกมาให้เกิดประโยชน์เหมาะสมกับกาลด้วยการยึดหลักเป็นแนวทาง. ขออนุโมทนา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  14. โพธิบัลลัง

    โพธิบัลลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +21
     
  15. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การติ นั้นควรติเพื่อก่อ การติ บอกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ดี ไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีเหตุผลมาสนับสนุน ติลอยๆ นั้นไม่พึงประสงค์

    ขอเรียนถามผู้ที่ไม่เห็นด้วยในข้อนี้ว่า
    มีความคิดเห็นอย่างไร ทำไมจึงไม่เห็นด้วย

    แล้วหากไม่สามารถรับเงินได้แล้ว จะพัฒนาพุทธศาสนา ช่วยโปรดสัตว์ ในชั้น ทาน ศีล ได้อย่างไร?
     
  16. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระองค์ที่10 ท่านยังรับเงินที่ญาติโยมนำมาทำบุญเลย

    รู้มั้ยพระองค์ที่10 ท่านคือใคร ไปหาอ่านเอาเองนะครับ
     
  17. โพธิบัลลัง

    โพธิบัลลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +21
    ////////////////////////////////////////////////////////////////
    ท่าน ddman ครับ ผมเห็นว่าสิ่งที่ท่านนำมาอธิบายโดยอ้างอิงจากที่มานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องครับ แต่ผมก็อ่านของ ท่านเนตรอิศวร ก็วิเคราะห์แล้วว่า ท่านเนตรอิศวร ก็พูดไว้ได้อย่างถูกต้องครับ เพราะว่าใจความของ ท่านเนตรอิศวรท่านไม่ได้บอกว่าท่านยินดีรับเงิน ท่านเนตรอิศวร พูดเป็นนัยว่าท่านเป็นเพียงผู้ที่สนองอนุโมทนาโดยไม่ขัดศรัทธา และที่ผมชื่นชมท่านเนตรอิศวรก็เพราะว่าท่านบรรยายมาก็เป็นวิทยาศาสตร์ดีสามารถพิสูจน์แล้วเห็นผลได้ด้วยเวลาปัจจุบัน และที่ผมไม่เห็นด้วยกับท่านก็เพราะว่าคำพูดของท่านมันแฝงไปด้วยโทสะพยาบาทความต้องการเอาชนะซึ่งเนื้อหาของท่านที่อ้างอิงมามันก็ไม่แตกต่างจากคำบรรยายไปจากท่านเนตรอิศวรเลยครับ และที่ผมไม่เห็นด้วยอีกเรื่องครับ ผมอยากให้ท่านเนตรอิศวรมาบรรยายอีกผมเห็นว่าเป็นประโยชน์
    พระพุทธเจ้าของเราพระองค์ก็ทรงมีเวลาโปรดมนุษย์ เทวดา เป็นเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน โดยพระองค์พักผ่อนน้อยนิดไม่ถึง5ชั่วโมงต่อวันครับ
    นายหลวงของเราพระองค์ท่านก็ออกมาทำงานในเวลากลางคืนที่ประชาชนหลับแล้วเช่นกันครับ
    ผมจึงอนุโมทนากับท่านเนตรอิศวรครับ หากท่านจะออกมาโพสบทความก็แล้วแต่ท่านจะกรุณาตามศรัทธาของท่านครับ พระผมเห็นมีอยู่ก็เยอะทั้งที่ปฏิบัติดีและไม่ดี แต่ผมเห็นว่าการกระทำของท่านเนตรอิศวรก็ไม่เกิดผลเสียครับดูแล้วยังได้ประโยชน์มากกว่าครับ สุดท้ายผมเห็นว่าท่านddmanท่านยึดมั่นถือมั่นจนเหมือนเป็นอคติมากเกินไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2012
  18. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เรื่องนี้คำตอบของผมก็เดิมๆ
    คือ... ใครทีสงสัยว่าพระรับเงินได้มั้ย
    เขาผู้นั้ันเป็นไวยาวัจกรหรือไม่
    พร้อมจะขวนขวายทุกอย่างเพื่อวัดและพระหรือไม่

    หรือเป็นเพียงผู้ที่อ่านพระวินัยมา แล้วบอกว่าพระห้ามรับเงินๆ

    อ่านพระวินัยพึงเข้าใจในตัวบทของพระวินัยนั้นด้วย

    ดั่งที่ท่านเนตรอิศวรว่าไว้ ไวยาวัจกรก็เหมือนแขนขานั่นแหละ
    ให้เขาเก็บเงินไว้ แล้วก็ใช้จ่ายตามใจพระ... มันต่างอะไรกันเล่า
    ที่มันต่างก็คือ พระให้ใช้เงินเพื่อสงฆ์เพื่อศาสนา หรือเพื่อตัวเอง

    ให้ไวยาวัจกรเก็บไว้ สักพักมันก็หายไปจากวัด...
     
  19. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    การสร้างพระพุทธปฎิมากรเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ คือการสร้างพระเจดีย์ การสร้างพระเจดีย์ได้บุญอย่างไรบ้าง การสร้างพระเจดีย์ก็ดี ผู้ร่วมสร้างพระเจดีย์ก็ดี หรือผู้มีส่วนในการสร้างพระเจดีย์ก็ดี จะได้บุญอย่างไร หรือเกิดบุญอย่างไร ศรัทธาญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย การสร้างการร่วมสร้าง หรือมีส่วนในการสร้าง อันนี้เป็นบุญที่หาได้ยาก เป็นบุญที่หาได้ยากก็เพราะว่า เป็นบุญอันยิ่งใหญ่นั่นเอง กล่าวง่ายๆก็คือการสร้างพระเจดีย์นั้น ไม่อาจที่จะสร้างได้ทุกปี หรือตลอดทั่วไป ไม่เหมือนกับการทำทานอย่างอื่นๆ การทำทานอย่างอื่นๆก็ทำได้ทุกปี ทุกเดือน ทุกวัน หรือไม่เลือกโอกาส แต่การสร้างพระเจดีย์ ไม่อาจทำได้ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้ชีวิตหนึ่งบางคน เกิดมาก็ไม่มีโอกาสที่จะได้สร้าง หรือมีส่วนที่จะประดิษฐาน ไว้เหนือแผ่นดินนี้ได้ สมัยก่อนมีผู้สร้าง อย่างพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างพระเจดีย์ถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ ท่านพระเจ้าอโศกนั้นก็รู้ว่า เป็นการสร้างเพื่อสืบพระศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พระพุทธศาสนาอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี ก็เพราะฉนั้น ผู้สร้างพระเจดีย์จึงเท่ากับว่า ช่วยดำรงค์สืบพระศาสนาจนถึง ๕,๐๐๐ พรรวษา และเป็นรากฐานอันสำคัญ ที่อยู่ในโลกนี้ บุญที่เกิดจากการสร้างพระเจดีย์ หรือมีส่วนร่วมในการสร้างพระเจดีย์นี้นั้น ก็เป็นบุญอันยิ่งใหญ่นั่นเอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และบุญอันนี้ก็จะกล่าวได้เป็น ๒ อย่าง คือบุญเพื่อไปสู่สุขคติ สวรรค์พระนิพพานอย่างหนึ่ง และพร้อมกันนี้ก็เป็นการไถ่บาป ล้างบาป ชำระบาปไปในตัวด้วยอย่างหนึ่ง คนที่ทำบาปมาก หรือมีบาปมาก ถ้าได้สร้างพระเจดีย์ หรือมีส่วนร่วมในการสร้างพระเจดีย์ ก็จะเป็นการพ้นจากบาปที่ได้กระทำไว้ แม้มากก็จะเป็นการไถ่ถอนจากบาป ที่ได้กระทำไว้ถ้าไม่ใช้อนันตริยกรรม ถึงแม้ว่าจะเป็นบาปอนันตริยกรรม คือกรรมที่หนักที่สุด แน่นอน ที่จะต้องไปตกนรก ก็ยังไถ่ถอน ออกมาได้ แต่ก็ยังใช้บาปอีกน้อยหนึ่ง คือบาป อนันตริยกรรมนั้นเป็นกรรมที่หนักมาก จะไถ่ถอนออกหมดเลย เสียทีเดียวนั้นไม่ได้ การสร้างพระเจดีย์ เป็นการไถ่ถอนจากบาปหนัก ที่ได้กระทำไว้ให้น้อยลง คือคนที่จะไปรับบาปมาก ก็เหลือนิดเดียว ศรัทธาญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย เพราะฉะนั้น โบราณกาลจึงถือว่าการสร้างพระเจดีย์ พระบรมธาตุนั้นไถ่ถอนจากบาปได้ และเป็นบุญอันสูงสุดในโลกนี้ เมตตาธรรมโดยท่าน พระคุณเจ้าดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • prakk.jpg
      prakk.jpg
      ขนาดไฟล์:
      757.6 KB
      เปิดดู:
      82
  20. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ผมมีความศรัทธาในท่านอินทรบุตรจากหลายความเห็นที่แสดงตรงแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน..จึงใคร่จะอัญเชิญพระพุทธดำรัสมาให้ท่านอินทรบุตรพิจารณาอีกครั้ง..หากท่านเข้าใจพระพุทธประสงค์ จะไม่ถามคำถามข้างบนเป็นแน่..

    ปัญหา ราชบริษัทในเมืองราชคฤห์สนทนากันว่า เงินและทองเป็นสิ่งควรแก่พระภิกษุ พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง และย่อมรับเงินและทองได้ นายบ้านนามว่ามณีจูฬกะได้ยินเช่นนั้น จึงปฏิเสธคำกล่าวหานั้นแล้วภายหลังได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ และทูลถามว่าที่เขาปฏิเสธไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดีละ นายคามณี เมื่อท่านตอบอย่างนั้นเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และคราวตอบธรรมถูกต้องเหมาะสม ... เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีในเงินและทอง ห้ามเสียซึ่งเพชรนิลจินดาและทอง ปราศจากเงินและทอง
    “ดูก่อนนายคามณี กามคุณทั้ง ๕ ควรแก่ผู้ใด เงินและทองย่อมควรแก่ผู้นั้นท่านพึงจำข้อนี้ไว้อย่างเด็ดขาดเถิด ว่า ข้อนั้นไม่ใช่สมณธรรม ไม่ใช่ธรรม ของสมณศากยบุตร นายคามณี เรากล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการหาเกวียนพึงแสวงหาเวียน ผู้ต้องการบุรุษจึงแสวงหาบุรุษ แต่เรามิได้กล่าวโดยปริยายใด ๆ เลยว่า พระศากยบุตรพึงยินดีและแสวงหาเงินและทอง....”

    มณีจุฬาสูตร สฬา. สํ. (๖๒๓-๖๒๖)
    ตบ. ๑๘ : ๔๐๑-๔๐๓ ตท. ๑๘ : ๓๕๕-๓๕๗
    ตอ. K.S. ๔ : ๒๓๐-๒๓๒


    415

    ผมมีสรณะคือพระพุทธเจ้า จะำไม่กล่าวแสดงในสิ่งที่ต่างจากที่ทรงบัญญัติไว้ครับ..แม้เรื่องที่นิยมกันในชนหมู่มากโดยเข้าใจว่าสื่งนั้นเป็นเรื่องดีหรือถูก หากขัดแย้งกับสิ่งที่ำพระพุทธเจ้าทรงชี้แนะแล้ว ผมก็นิยมที่จะเห็นต่างครับ..

    ความเพียรของใครๆที่จะชี้ชวนว่า เงินทอง"ควร"แก่พระสงฆ์ แม้ถึงกับเลยเถิดไปถึงอธิบายคุณของพระอริยะว่ามิได้ติดข้องในเงินทองอะไรๆนั้น ผมก็ไม่เห็นเป็นสาระ เพราะในความจริง พระอริยะบุคคลแม้ระดับพระโสดาบัน ก็มั่นคงในไตรสรณคมอย่างยอมตายถวายชีวิต เมื่อท่านเหล่านี้ทราบว่าสิ่งใดพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้การที่ท่านจะล่วงสิกขาบทแม้เล็กน้อยด้วยเจตนาย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้เลย มิพักต้องกล่าวถึงพระปัจเจกหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย...

    ท่านอินทรบุตร ไม่พึงกังวลว่าพระจะทำการแพร่พระธรรมได้อย่างไรหรือจะบำรุงวัดวาอารามอย่างไรถ้าไม่มีเงินหรือไม่รับเงิน..

    สิ่งที่พึงถามคือ "ท่านบวชทำไม"? และพระพุทธเจ้าประสงค์สิ่งไรในการที่กุลบุตรมาบวชในพระศาสนานี้ ..

    ถามว่าท่านอินทรบุตรเคยกระตือรือร้นในการบริจาคปัจจัยเพื่อการสร้างวัตถุสถานบำรุงวัดแลกิจกรรมของวัดหรือไม่?..เข้าใจว่าคงเคยมานับครั้งไ่ม่ถ้วน แม้ผมก็ทำเช่นนั้น..แต่ไม่ได้ถวายแก่พระสงฆ์เพราะผมเคารพในพระวินัย..และเอื้อเฟื้อแก่พระไม่ให้ต้องล่วงพระวินัยอันจะมีโทษตามมา..

    ท่านอินทรบุตร คงไม่คิดว่าพระพุทธเจ้าจะทรงหลงลืมตรัสสอนว่า " วินัยบัญญัตินี้ มีข้อยกเว้นคือ.."พระอรหันต์รับเงินทองได้ไม่อาบัติ...หรือรับก็ได้แต่ต้องใช้ทำประโยชน์อื่นๆเช่นสร้างวัด..etc.."..หากท่านเกิดความคิดเช่นนี้ขึ้นมาว่าพระองค์น่าจะทรงลืมไปก็ให้รีบระงับเสียเถิด เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีพระอสาธารณญานที่ไม่มีแม้ในหมู่พระอรหันต์ทั้งหลาย..ท่านย่อมทรงทราบว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์แก่ใครเพราะอะไรเพื่ออะไรชนิดที่แม้พระอรหันต์ก็คิดไม่ได้..เพราะเป็นเรื่องในพระพุทธวิสัยเท่านั้น..

    พระภิกษุผู้ประพฤติตามแนวทางแลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ย่อมเป็น อาหุไนยบุคคล เป็นทักขิไนยบุคคลอย่างแท้จริง ท่านเหล่านี้คือผู้จะโปรดสัตว์ได้อย่างแท้จริง..เพราะเมื่อท่านไปปรากฏที่ใด แม้การยกมือไหว้กราบเคารพก็ยังมหาวิบากให้เกิดขึ้นได้ทันที ไม่ต้องกล่าวถึงกุศลอย่างอื่น...ภิกษุผู้มั่นคงในพระวินัย เคารพในพระพุทธเจ้า แม้ญาติโยมนำปัจจัยมาใส่บาตร ท่านจะกล่าวปฏิเสธและแนะนำเรื่องพระวินัยแก่ญาติโยมตามจริง เพราะท่านคิดถึงการรักษาพระศาสนาให้ดำรงอยู่อย่างแท้จริง..เพราะเคารพในพระพุทธปัจฉิมโอวาทว่า..

    "...ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ
    บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป
    แล้ว"

    หากพระภิกษุประพฤติเช่นนี้ ก็ย่อมชื่อว่าถูกตรงตามพระพุทธประสงค์ ย่อมสามารถกล่าวธรรมที่แท้จริงไม่บิดผันไปจากที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้แน่ ท่านเหล่านี้ย่อมมีศีลคุ้มครองตนอย่างยิ่ง แม้สาธุชนย่อมเลื่อมใส ยิ่งนัก ครั้นเลื่อมใสอยู่ย่อมเงี่ยโสตสดับพระธรรม ยังศรัทธาให้แล่นไปได้ การประพฤติศีลสมาธิเเละปัญญาที่ถูกตรงย่อมเกิดขึ้น ก็ชนเหล่านี้ ย่อมมีญาติแลบริวารอยู่ ที่เขาจะไม่ป่าวประกาศบอกต่อคนอื่นๆในสิ่งดีๆ ที่ตนพบเห็นมาย่อมไม่มี เมื่อตนศรัทธาแล้วในพระภิกษุเหล่านั้น ก็ย่อมสอดส่องดูแล หาวิธีวิถีที่จะบำรุงอุปปัฏฐากอย่างดีเลิศอยู่...คราวนี่ เขาก็ย่อมชักชวนกันสร้างบ้าง แพร่คำสอนบ้างฯลฯโดยภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมอะไรๆ ..มีแต่เพ่งเพียรปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ไปถ่ายเดียว..." ..ท่านพอจะเห็นอานิสงค์ของพระวินัยบ้างหรือไม่ครับ?

    http://www.84000.org/tipitaka/picture/f76.html



    ยุคนี้เป็นยุคขาลง ที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมลงมาก ท่านจะสังเกตุเห็นความที่บุคคลส่วนมากนิยมกระแสต้านพระวินัยบัญญัติด้วยการอ้างเหตุผลโลกๆ ตามอำนาจตัณหาที่ตนคุ้น..แต่ไม่เอื้อเฟื้อเอ็นดูผู้ที่บวชอย่างแท้จริง ..
    หรือท่านเห็นว่าชนเหล่านี้เอ็นดูผู้บวชจริงยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า ครับ?..

    ด้วยความเคารพครับ..ท่านอินทรบุตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...