พระกรุฮอดแห่งอาณาจักรล้านนาอายุ 1,300 ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 11 กรกฎาคม 2007.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ตำนานพระเมืองฮอด หรือที่เรียกว่า"พระกรุฮอด"ซึ่งตามตำนานค้นพบทุกวัดในเมืองนี้ก่อนที่จะกลายเป็นเมืองบาดาลไป พระหินสีเมืองฮอด จ.เชียงใหม่ พระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อแก้วผลึกที่ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลางมีแหล่งที่พบมากที่สุดคือเมืองเชียงใหม่เชียงรายและอยุธยาพระแก้วไม่ได้หล่อ หรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามที่เข้าใจกันแต่เป็นแร่รัตนชาติแท้ๆมีสีเขียวสีขาวและสีเหลืองฯลฯแร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือพลอยหินเนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยกหินเขี้ยวหนุมานหินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกุลหินบุษราคัมมีสีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง<O:p</O:p

    ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่าบุษย์น้ำทอง พระแก้วสีขาวเรียกว่าเพชรน้ำต้มหรือเพชรน้ำค้างสันนิษฐานว่าพระแก้วมีการสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ ในปี.. 2502-2503 กรมศิลปากรได้ค้นพบพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบมาเก็บไว้เนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จน้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมดในครั้งนั้นทางการได้ขุดพบพระแก้วมากที่สุดและเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุดแร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระแก้วนี้เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีนหินเขี้ยวหนุมานที่เนื้อดีน้ำงามที่สุดที่เรียกกันว่าจุ๊ยเจียประกายแห่งพลังคนจีนโบราณถือกันว่าแก้วขาวจุ๊ยเจียสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่อต้านอาถรรพณ์ต่างๆได้ด้วยใยพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้จากกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอดที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและเนื้อสีเหลืองที่ทางการได้ขุดค้นรวบรวมไว้รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควรมีขนาดใหญ่มีขนาดหน้าตัก 3 นิ้วเศษขนาดเล็ดสุด0.5 นิ้วพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมีเป็นงานสร้างศิลปะด้วยวัตถุที่มีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็บอนุรักษ์ไว้เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆการสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะ และความสามารถในการวางรูปแบบที่สูงมากเป็นการสร้างที่ทำยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามากพระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะด้วยกันหลายคนเพราะแต่ละองค์มีฝีมือทำได้งดงามมากมีปางสมาธิและปางมารวิชัยปางยืนก็มีบ้างแต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่21-22 อันเป็นยุคทองของเชียงใหม่ที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้วยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์รวมทั้งรูปสัตว์เช่นช้างกวางหมอบนกคุ้มและภาชนะเครื่องใช้สอยจำลองขนาดเล็กอีกจำนวนมาก สันนิษฐานว่าขณะนั้นนิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลองอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาต่อสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยที่เมืองโบราณแห่งอื่นจะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้นเข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูงสร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัวหรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงศาสนา

    พระแก้วกรุเมืองฮอดจะพบในหลายวัดด้วยกันเช่นวัดหลวงฮอดวัดศรีโขงวัดเจดีย์สูงวัดดอกเงินและวัดสันหนองฯลฯแต่กล่าวโดยรวมได้ว่าที่กรุวัดศรีโขงเป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุดเพราะเป็นกรุใหญ่มากเมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา(ปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด)ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุงพงศาวดารโยนกชี้ว่าเมืองนี้คือท่าเชียงทองศูนย์กลางของเมืองคงอยู่ที่วัดหลวงฮอดในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมาสร้างเมืองลำพูนได้แวะพักที่ริมแม่น้ำปิงก่อนได้สถานที่แห่งนี้เป็นทำเลดีจึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปี.. 1203 ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลุกหนึ่งชื่อว่าดอยเกิ้ง (ดอยฉัตร)และได้สร้างวัดรวม 99 วัด วัดพระเจ้าโท้วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวีนอกจากนั้นเมื่อปี.. 2513 มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละเทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้วลำพูนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดก็เก่าถึงสมัยหริภุญไชย

    <O:p</O:pจากหลักฐานในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งหลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูงบอกชื่อจักรพรรดิสี่จงตรงกับ.. 2065-2110 เครื่องถ้วยจีนชิ้นที่เก่าที่สุดพบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักรพรรดิสี่จงปีศักราชซ้วนเต็กตรงกับปี.. 1919-1978 การได้พบสิ่งของอื่นๆอีกจำนวนมากบอกอายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นช่วงที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรืองทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายหรือผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนที่จะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่เชียงรายและพะเยา เมืองฮอดดำรงฐานะเป็นเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนานเมื่อสี่สิบปีก่อนข้าพเจ้าได้ทันเห็นการขุดค้นโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วยเมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลายทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนไปจากผู้คนในยุคนี้เมื่อลมหายใจยังมีอยู่ศิลปะของเมืองฮอดยังคงได้รับการสืบทอดสานต่อ ที่นี่ไปอีกนาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หมายเหตุ:- คำว่าข้าพเจ้า คือลุงดอน หรือUncleDon จาก
    http://www.stonelover.com/db/problem-detail.asp?bid=1561 เป็นผู้ให้ข้อมูล ขอขอบคุณครับ


    พระลีลา อยู่ในพระอริยาบถยืน ยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจรดอยู่กับพื้น(อยู่ในพระอริยาบถพุทธดำเนิน) พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย(บางตำนานว่าพระหัตถ์ขวา) ยกเสมอพระอุระ(อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า บางแบบจีบนิ้วพระหัตถ์

    ความเป็นมาของพระปางลีลา เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยเหล่าเทวดา และพรหมที่ตามมาส่งเสด็จนั้น ขบวนเสด็จได้มาหยุด ณ ประตูสังกัสสนคร เมืองที่พระสารีบุตรจำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธลีลา และพระสิริงดงามยิ่ง บดบังรัศมีของเหล่าเทวดา และพรหมทั้งหลาย เป็นภาพที่งามเหนือคำบรรยาย เป็นที่ชื่นชมโสมนัสแก่พุทธบริษัทที่เฝ้ารับเสด็จ

    พระลีลาทุ่งเศรษฐีดูชดช้อย แต่ละองค์มีพุทธลักษณ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย มีน้ำหนัก และเย็น ชิ้นนี้เป็นอัญมณีสีบุษย์น้ำผึ้ง สีน้ำตาลอ่อน สีเขียวเปลือกแตง


    และอีกพิมพ์เป็นพระเทริดขนนก สีบุษย์น้ำผึ้ง และสีเขียวเปลือกแตง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010322.JPG
      P1010322.JPG
      ขนาดไฟล์:
      234.9 KB
      เปิดดู:
      3,841
    • P1010326.JPG
      P1010326.JPG
      ขนาดไฟล์:
      260.3 KB
      เปิดดู:
      2,936
    • P1010330.JPG
      P1010330.JPG
      ขนาดไฟล์:
      240.2 KB
      เปิดดู:
      2,967
    • P1010333.JPG
      P1010333.JPG
      ขนาดไฟล์:
      246.6 KB
      เปิดดู:
      3,050
    • P1010337.JPG
      P1010337.JPG
      ขนาดไฟล์:
      240.8 KB
      เปิดดู:
      5,421
    • P1010338.JPG
      P1010338.JPG
      ขนาดไฟล์:
      248.9 KB
      เปิดดู:
      3,027
    • P1010339.JPG
      P1010339.JPG
      ขนาดไฟล์:
      242.3 KB
      เปิดดู:
      5,660
    • P1010340.JPG
      P1010340.JPG
      ขนาดไฟล์:
      235.2 KB
      เปิดดู:
      2,912
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2007
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมไม่มีเจตนาจะแข่งกับพี่เม้า หรือบุคคลใดๆครับ ผมรัก และนับถือพี่เม้า ศาสตร์แห่งพลังของหินอัญมณีเป็นเรื่องราวที่ผมศึกษามานาน เรียกว่ารักในการหาความรู้จากแหล่งต่างๆมากกว่าครับ สั่งตำรา text book จากต่างประเทศมาก็มาก ไป shop ดูของร้านนั้นร้านนี้บ้าง ผมคิดว่า ความรู้ด้านนี้ของต่างประเทศล้ำหน้ากว่าบ้านเรา เขาศึกษาทั้งด้านธรณีวิทยา เปรียบเทียบอายุของหินด้วยเครื่องมือทางด้านธรณีวิทยา และด้านศาสตร์การบำบัดในลักษณะของการแพทย์ทางเลือกควบคู่กันไป มากกว่าที่จะเน้นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แต่อยู่ที่ผู้รับนั้นจะนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดกับตนในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นเองครับ...

    คน 2 คนที่สนใจอะไรเหมือนๆกัน ไม่เรียกว่า "แข่ง"ครับ เรียกว่า "แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ที่ไม่มีในตำรา" มากกว่าครับ อีกอย่างประสบการณ์ของผมก็ยังน้อยกว่าพี่เม้าทุกด้านครับ...พี่เม้าเป็นสุดยอดด้านหินสีอัญมณีครับ ผมหมายรวมไปถึง"น้ำใจ"ที่พี่เม้าได้นำเรื่องราวดีๆมาเผยแพร่ให้ได้ทราบกันอย่างไม่ปิดบังถึงแหล่ง หรือสถานที่ที่ผู้คนมักหวงแหนกัน ผมเชื่อว่ามีเพื่อนๆหลายๆท่านได้ประโยชน์จากพี่เม้ามากมาย...
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สมัยก่อนจะสร้างเขื่อนภูมิพล จะต้องทำการขุดค้นพระแทบจะทุกกรุในเมืองฮอด พระที่ขึ้นกรุมาจริงๆจะหาสมบูรณ์ไม่หัก หรือไม่บิ่น มีประมาณ 2-3 หมื่นองค์

    พระกรุฮอดเป็นพระที่มีอิทธิคุณเยี่ยม เด่นดังทาง โชคลาภ เมตตามหานิยม รวมทั้งคงกระพัน ใครมีไว้บูชาจะหวงแหนมาก ว่ากันว่าหากใครมีพระกรุฮอดก็เหมือนมีทองคำฝังเพชรอยู่ในมือ เพราะเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป เป็นศิลปะชั้นสูง ฝีมือช่างหลวงเมืองหริภุญชัย ใครมีต่างก็หวงแหน
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=test align=middle>บันทึกความทรงจำ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    “เขื่อนภูมิพล ประวัติศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยี”
    นายเกษม จาติกวณิช
    อดีตผู้ว่าการ กฟผ. คนแรก
    อดีต รมต.ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
    และ รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ประธานกรรมการบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด
    ประธานและกรรมการอำนวยการบริษัทไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จำกัด

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>จุดเริ่มต้นจริง ๆ แล้ว เรื่องการสร้างเขื่อนนี้ เริ่มจากการที่กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งขณะนั้น ควบคุมดูแลทางด้านนี้อยู่ มีดำริจะสร้างเขื่อนเพื่อการผลิตไฟฟ้าที่แก่งเรียง จังหวัดกาญจนบุรี และผมก็ได้รับทุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยยูท่าห์ ด้านไฟฟ้าพลังน้ำโดยตรง แต่ต่อมาอธิบดีของกรมชลประธาน คือ ม.ล.ชูชาติ กำภู ท่านต้องการสร้างเขื่อนเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเขื่อนเตี้ย ๆ ลักษณะเป็นเขื่อนผันน้ำ สร้างเขื่อนเพื่อประโยชน์ด้านการเกษตร ม.ล.ชูชาติ ท่านอยากได้เขื่อนใหญ่ ๆ เพื่อกักเก็บน้ำ เหนือเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นไปเป็นลำน้ำเดียวกัน ก็คือ แม่น้ำปิง ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็เห็นด้วย ม.ล.ชูชาติได้ขอตัวผมจากกระทรวงอุตสาหกรรมไปอยู่กรมชลประทาน ไปเป็นหัวหน้ากองพลังน้ำ เพื่อสร้างเขื่อนที่ว่าโดยเฉพาะ เนื่องจากเมืองไทยในสมัยนั้น นอกจากอาจารย์บุญรอด บิณฑสัณห์แล้ว ก็มีผมอีกคนเท่านั้นที่ไปเรียนทางนี้มา

    การสร้างเขื่อนภูมิพลซึ่งตอนแรกเรียกว่า เขื่อนยันฮีนั้น ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรม แต่ที่ต้องใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ก็เพื่อหารายได้มาชำระหนี้ธนาคารโลก ซึ่งเราต้องกู้เงินเขามาเพื่อใช้ในการสร้างเขื่อน ไม่อย่างนั้นเราจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เขา จะไปเก็บค่าน้ำจากชาวนาก็ไม่ได้ ต้องหารายได้จากผู้ใช้ไฟฟ้า

    เขื่อนที่แก่งเรียง ซึ่งต่อมาก็คือเขื่อนศรีนครินทร์นั้น สร้างขึ้นภายหลังการสร้างเขื่อนภูมิพล เนื่องจากเห็นกันว่าประโยชน์ทางเกษตรกรรมต้องมาก่อน

    พูดถึงการสร้างเขื่อนใหญ่ขนาดนั้น เทคโนโลยีของไทยยังทำไม่ได้ ต้องจ้างบริษัทรับเหมาฝรั่งมาทำ มีการขนอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นไป เหมือนกับการตั้งเมืองที่นั่นเลย การสร้างเขื่อนภูมิพล เป็นแม่บทของการสร้าง เขื่อนต่าง ๆ ภายหลัง ซึ่งต่อมาคนไทยก็สร้างเองได้
    เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้ง ที่ใหญ่และสูงที่สุดในแถบเอเชียในยุคนั้น แม้ปัจจุบัน ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นเขื่อนสูง แต่ไม่สูงสุดแล้ว เพราะตอนนี้ จีนกำลังสร้างเขื่อนสูงที่สุดในโลก กั้นแม่น้ำแยงซี ต้องย้ายประชาชนเป็นจำนวนล้าน ๆ คน

    เขื่อนภูมิพล เริ่มสร้างในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาจนถึงจอมพลสฤษดิ์ และมาแล้วเสร็จในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้เงินกู้จากธนาคารโลก 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุด ที่ธนาคารโลกปล่อยให้กู้ คิดเป็นเงินไทยตอนนั้นก็ประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท ใช้เงินไทยอีก 700 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายโดยรวม ก็ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถูกโจมตีว่า สร้างหนี้สินแก่ลูกหลานดังกล่าว แต่เราก็ชำระเงินเต็มจำนวนตามงวดที่กำหนดโดยไม่เคยบกพร่อง โดยใช้เงินที่ได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ลูกหลานไม่ต้องเดือนร้อนแต่ประการใด

    เรื่องการกู้เงิน และการชำระคืนของ กฟผ. นั้น ก็กลายเป็นแม่บทในด้านนี้ไปเหมือนกัน ทางธนาคารโลกจะแนะนำผู้กู้ยืมในระยะต่อมา ให้ไปศึกษาการดำเนินการทางด้านนี้จาก กฟผ.

    ในด้านเกษตรกรรมนั้น เขื่อนภูมิพล ทำให้เกิดการทำนาได้ปีละ 2-3 ครั้ง บางทีได้ถึง 4 ครั้ง จากเดิมซึ่งเคยทำได้ปีละหน และปีใดฝนแล้งก็มีปัญหา ปีใดฝนหนัก น้ำท่วม นาก็ล่ม

    การต่อต้านการสร้างเขื่อน สมัยนั้น ไม่มีการต่อต้านการสร้างเขื่อน จากประชาชน ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อย ในบริเวณที่ต้องโยกย้ายออกไป มีแต่การต่อต้านจากทางการเมือง สมัยนั้นท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีพรรคการเมืองหลายพรรคต้องการล้มท่าน โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคของอาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ซึ่งทำการคัดค้านอย่างแรงมาก อย่างไรก็ตาม เขื่อนก็แล้วเสร็จจนได้ พระราชบัญญัติก็ผ่านออกมาแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลจอมพล ป. ก็ถูกล้มโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ จนต้องหนีไปอยู่ญี่ปุ่น

    การต่อต้านอีกทางหนึ่งมาจากหนังสือพิมพ์ ซึ่งขณะนั้นก็มีไม่กี่ฉบับ มีของจอมพลสฤษดิ์ อยู่ฉบับหนึ่ง ซึ่งทำการต่อต้านรุนแรงมาก โจมตีการสร้างเขื่อน เป็นการสร้างหนี้ให้แก่ลูกหลาน จะต้องใช้หนี้ต่างประเทศไปอีกกว่า 20 ปี

    อีกคนหนึ่งที่คัดค้านมากคือ อธิบดีกรมป่าไม้ หาว่าเราจะทำให้น้ำท่วม ทำลายป่าสัก ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้นไม้ที่ว่านั้นไม่ใช่สัก ไม่มีใครเอาเสียด้วยซ้ำ ต้องไปจ้างคนมาตัด

    ความประทับใจ คือ การสร้างเขื่อนภูมิพลในตอนนั้น เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ แก่ประเทศไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการสร้าง รวมทั้งการนำพลังน้ำ มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกิดรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่อย่าง กฟผ. ซึ่งก่อนนั้น ก็มีเพียงรัฐวิสาหกิจเล็ก ๆ มีการออกกฎหมายใช้เฉพาะ ก็เป็นครั้งแรกที่มีขึ้น และทำให้กิจการรุ่งเรือง เพราะไม่มีการเมืองเข้ามายุ่ง กรรมการจะถูกไล่ออกไม่ได้ นอกจากเขากินเขาโกง หรือหมดวาระ การประมูลทุกครั้งโปร่งใส จะกี่พันกี่หมื่นล้าน ไม่ต้องผ่านรัฐมนตรี ทำกันเอง เสนอรัฐมนตรีแต่เพียงว่า ปีนี้จะใช้เท่าไร

    และจากการที่มีทิวทัศน์ ธรรมชาติสวยงาม และอากาศบริสุทธิ์ สดชื่นตลอดทั้งปี เขื่อนภูมิพลก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปในเวลาต่อมา เที่ยวได้ทั้งทางยกและทางน้ำ ทางน้ำนั้นไปได้ถึงเชียงใหม่ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ได้เป็นที่พักผ่อน พระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะสมเด็จย่า ทรงโปรดที่จะมาประทับแรมที่เขื่อนนี้บ่อยครั้ง

    การสร้างพระตำหนัก และโรงแรมที่พัก ณ เขื่อนภูมิพล ก็เป็นสิ่งที่พวกเราภูมิใจกันมาก เป็นงานที่ต้องทำกันทั้งวัน ทั้งคืน เช่นเดียวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พระนครเหนืออย่างรีบด่วนในขณะนั้น ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ มีบัญชาให้ ก่อสร้างเสร็จก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีนั้น

    การก่อสร้างพระตำหนัก มีสาเหตุจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปเยือนประเทศอิหร่าน ประมุขอิหร่าน ชาห์ปาลาวี เชิญพระองค์ท่านไปชมเขื่อนใหญ่ในประเทศเขา เมื่อในหลวงเสด็จฯ กลับเมืองไทย ทรงมีรับสั่งว่า ชาห์ปาลาวี จะมาเมืองไทย และพระองค์ท่านจะทรงพามาชมเขื่อนภูมิพลของไทยบ้าง ขณะนั้นบริเวณโดยรอบเขื่อนยังเป็นป่าพง หนทางก็เป็นฝุ่นหินดินแดง เราต้องเร่งทำให้เรียบร้อยสมพระเกียรติ ต้องสร้างตำหนักสำหรับประทับแรม รวมทั้งที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร ผู้ติดตามให้ทันกำหนด คือ ภายในเวลา 6 เดือน พวกเราก็ระดมทำกันอย่างตั้งใจ เฟอร์นิเจอร์และผ้าที่นำมาใช้นั้น สั่งทำเป็นพิเศษจากเชียงใหม่ ทุกอย่างแล้วเสร็จ สวยงามทันเวลา เรื่องอย่างนี้ไม่ใช่มีเงินพอก็ทำได้ มันต้องร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะสำเร็จ

    อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีคนถามกันมากในตอนนั้นว่า เรือลำใหญ่ที่ใช้เสด็จฯ ทางน้ำกับพระราชอาคันตุกะนั้น มันไปลอยอยู่เหนือผืนน้ำในเขื่อนได้อย่างไร ในเมื่อตัวเขื่อนนั้นสูงตั้ง 150 เมตร ความจริงก็คือ เราใช้เรือขนส่งซึ่งเราต่อเอง ขนจากกรุงเทพฯ ไปยังเขื่อน เรือนั้นใหญ่และหนักมาก ไม่มีเครื่องมืออะไรจะยกไปได้ทั้งลำ เราจึงต้องตัดเรือออกเป็น 3 หรือ 4 ส่วน บรรทุกขึ้นไปประกอบกันใหม่บนเขื่อน การทำงานแบบบุกเบิกในยุคนั้น เหน็ดเหนื่อยแต่ก็สนุกมาก

    นอกจากชาห์ แห่งอิหร่านแล้ว เขื่อนภูมิพลยังได้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง อีกหลายต่อหลายครั้งเช่น สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธแห่งอังกฤษและประธานาธิบดีหรือผู้นำจากประเทศต่าง ๆ

    เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนแม่บท ที่อำนวยประโยชน์อเนกประการแก่ประเทศไทย ตั้งแต่ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2507 และยังคงเป็นเช่นนั้นจวบจนปัจจุบัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=line></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "ภูมิใจในพระนามชื่อเขื่อนภูมิพล"
    พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์
    องคมนตรี อดีตผู้ว่าการ กฟผ.

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>ในช่วงการก่อสร้างนั้น อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กฟผ. เข้าไปเกี่ยวข้องในช่วงแรกน้อย ในช่วงปลาย ๆ จึงได้เข้าไปใกล้ชิด ประเด็นตอนเปิดเขื่อนกว่าจะผลิตไฟฟ้าได้นั้น ต้องทราบว่าเขื่อนภูมิพลอยู่ไกลจากกรุงเทพฯ การที่จะขนานเครื่องเพ่อให้เข้ากับระบบเดียวกัน นั้น เป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะว่าระบบจ่ายไฟฟ้าที่กรุงเทพ ฯ เป็นระบบที่ได้มาตรฐาน ถ้าจะผลิตจากภูมิพลแล้วส่งมาเลยทีเดียว ในระดับแรงดันที่ปลายทางต้องการ ต้นทางก็จะใช้ไฟฟ้าไม่ได้ เพราะแรงดันสูงเกินไป อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ก็จะพัง ถ้าผลิตให้ระดับแรงดันต้นทางใช้ได้ เมื่อมาถึงปลายทางมีการสูญเสียในระบบ ระหว่างทางรวมอยู่บ้าง เมื่อถึงปลายทางระดับแรงดันจะต่ำลง ปลายทางก็จะใช้ไม่ได้อีกเช่นกัน จึงต้องใช้เวลานานพอสมควร กว่าจะขนานเครื่องได้ แต่ก็ทำได้โดยเรียบร้อย ในส่วนของ กฟผ. คือกรมชลประทานสร้างเขื่อน กฟผ. ก็ไปติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตัวสำคัญอันหนึ่งก็คือ หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใหญ่และหนัก สะพานที่จะไปจากกรุงเทพไปถึงตาก ไปไม่ได้ เพราะข้อจำกัด ที่น้ำหนักของอุปกรณ์ ดังนั้นจึงต้องขนส่งทางเรือ โดยไปได้แค่นครสวรรค์ขึ้นไปถึงกำแพงเพชร น้ำมีมากไม่พอให้เรือเดินได้ จึงต้องใช้วิธีขนส่งทางเรือ ด้วยการต่อเรือเป็นเรือสำราญ เพื่อขนหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นไปแล้ว กฟผ. ก็แยกหม้อแปลงไฟฟ้า ออกเป็น 4 ชิ้น แล้วยกขึ้นไปเชื่อมต่อใหม่ เหนือเขื่อนภูมิพล และใช้ต้อนรับพระเจ้าชาห์ ใช้เป็นเรือสำราญ ความจริงเราใช้ประโยชน์จนคุ้มแล้ว ตนที่ไม่เข้าใจ คิดว่า กฟผ. ไปต่อเรือสำราญไว้เที่ยว ไว้กิน แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ ความสนุกและความตื่นเต้นอยู่ที่ว่า น้ำเราก็ขี้เหนียว แต่ตอนนั้นมีมากพอ พอเรือเกยตื้น ก็ต้องปล่อยน้ำจากเขื่อน ต้องปล่อยจนกว่าระดับน้ำจะสูงพอให้เรือวิ่งได้ ก็ประมาณ 6 โมงเช้า เรือกถึงวิ่งได้ พอถึงค่ำเรือวิ่งไม่ได้ก็ปิดน้ำ พอมืดน้ำก็แห้งพอดี ก็ไปได้จนกระทั่งถึงเขื่อน วิทยุติดต่อตอนนั้นก็ยังไม่ดี บางครั้งก็มีที่นอนกินข้าวลิงก็มี เพราะการติดต่อไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้
    สมัยนั้นก็มีการคัดค้านสร้างเขื่อนเหมือนกัน เช่นอ้างว่าน้ำจะท่วมเชียงใหม่ สร้างข่าวให้ตื่นเต้นน่ากลัวทางหนังสือพิมพ์ ทาง กฟผ. ก็ดำเนินการแก้ไขกันไป ประโยคสามัญในการคัดค้านก็คือ สัตว์ป่าจะถูกทำลาย น้ำจะท่วม ระบบนิเวศน์จะเสียไป พวกนี้ กฟผ. ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจ เสียก็มีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ดี ก็ต้องยอมกัน เพราะเสียมีนิดเดียว แต่พูดกันมากมาย การค้านในสมัยนั้นขึ้นต้นก็หนัก แต่ไม่หนักเท่ากับคัดค้านในสมัยนี้ จ่ายค่าทดแทนแล้วก็เป็นที่น่าพอใจ ในระดับหนึ่ง เพราะเหตุว่าไฟฟ้าเราขาดแคลนมากหลังสงคราม แล้วโรงไฟฟ้าวัดเลียบสามเสนถูกทำลาย ทางกรุงเทพฯ ต้องมีโรงไฟฟ้าดีเซลถึง 7 แห่ง ก่อนจะมีถึง 7 แห่งนี้ ไฟฟ้าต้องดับเป็นจุด ๆ สลับกันดับ วันนี้ดับตรงนี้ พรุ่งนี้ดับอีกที่ ไม่งั้นไฟฟ้าไม่พอ
    สร้างเขื่อนไปแล้วยังมีปัญหา เพราะเขื่อนนี้ไม่ได้สร้างเสร็จตามกำหนด สร้างอยู่นาน การจะสร้างเขื่อนนั้น ขึ้นต้นไม่มีกระแสไฟฟ้า ก็ต้องไปทำโรงไฟฟ้าลิกไนต์ เพื่อจะเอาไฟส่งมาสร้างเขื่อน เพราะฉะนั้น โรงไฟฟ้าลิกไนต์สร้างขึ้นครั้งแรก เพื่อที่จะนำไฟมาสร้างโรงไฟฟ้าที่ภูมิพล แต่ว่าก็ยังไม่ทัน ต้องนำเครื่องดีเซลไปติดตั้งเพิ่ม การสร้างของชลประทานต้องใช้ซีเมนต์ มาก ถึงได้เกิดเป็นชลประทานซีเมนต์ขึ้น เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาของกรมชลประทาน พอสร้างเสร็จแล้วเราติดตั้งมีแรก 2 ยูนิต ก่อนจาก 8 ยูนิต ตัวละ 70 เมกะวัตต์ กว่าจะสร้างเสร็จ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นมากมาย เพราะฉะนั้น 2 ตัว จึงไม่พอ เราจึงมีโครงการที่เรียกว่าโครงการเร่งด่วน คือสร้างโรงจักรพระนครเหนือ เพราะสร้างได้เร็วกว่า เพื่อที่จะให้ไฟฟ้าพอใช้ที่กรุงเทพฯ ฉะนั้นโครงการเร่งด่วนนี้สร้าง 75 เมกะวัตต์ สร้างเขื่อนแล้วก็ยัง ต้องสร้างโครงการเร่งด่วน เพราะตัวนี้สร้างได้เร็ว เสร็จก่อนเขื่อนภูมิพล ไฟไม่พออยู่แล้ว และบางส่วนที่ใช้ไฟ เขามีโรงไฟฟ้าอยู่เองเป็นโรงเล็ก ๆ คนที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้วก็หันมาใช้ไฟฟ้าส่วนกลาง เพราะถูกกว่า มั่นคงกว่า ความต้องการไฟฟ้าก็เพิ่มสูงขึ้น
    ดังนั้นพูดได้ว่า ภายใน 3 ปี ปริมาณใช้ไฟฟ้าเป็น 2 เท่า นี่ก็เป็นปัญหา เพราะฉะนั้น จากเขื่อนภูมิพลมาตรงนี้ โรงเหนือเราก็มีใหม่ เป็นโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำที่ใหญ่ที่สุดและมีเทคโนโลยีสูงนะ หัวค่ำพอคนใช้ไฟเรียบร้อยผ่านช่วงใช้ไฟฟ้าสูงสุด กลางคืนหยุดเลยเพื่อซ่อม รุ่งเช้าก่อนช่วงใช้ไฟฟ้าสูงสุด ก็ต้องนำมาใช้ใหม่ เพราะฉะนั้น เขื่อนภูมิพลเสร็จ 2 ตัวแล้ว ก่อนหน้าเสร็จ 2 อีก 2 ค่อย ๆ ทยอยเข้ามา ทั้งนี้มีกำลังผลิตตัวละ 75 เมกะวัตต์ อีกตัวหนึ่งเราเริ่ม Modify เองเป็น 87 เมกะวัตต์ คือดัดแปลงอะไรให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น เขื่อนอย่างเดียวก็ไม่พอ ต้องสร้างทางนี้ให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นและต้องสร้างคู่ไปกับที่เขื่อนสั่งมาตอนนั้นก็ไม่มีใครว่าอะไร ไม่เหมือนตอนนี้ที่อยากจะให้รื้อเขื่อน
    ความภูมิใจการก่อสร้างในสมัยแรก ก็เป็นของชลประทาน แต่ กฟผ. เป็นผู้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพราะฉะนั้น การขอนของอุปกรณ์ที่หนัก ๆ ขึ้นไปถึงที่นั่น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่เราก็สามารถทำได้ ชลประทานทำเขื่อน เราทำโรงไฟฟ้า จบแล้ว ในแง่ปฏิบัติ การเดินเครื่อง ก็สามารถทำได้ด้วยเทคนิคและทำได้ด้วยดี โดยขึ้นต้น 2 โรง นัยว่าจะพอ แต่มีคนใช้ไฟฟ้ามาก ที่ใช้อยู่แล้วด้วยโรงไฟฟ้า ตนเองที่คุณภาพไม่ดี หรือ ราคาแพง ก็ยกเลิกมาใช้ของเรา และคนก็ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
    ดังนั้น จึงเกิดโรงจักรพระนครเหนือขึ้นมา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่ทันกับความต้องการใช้อยู่ดี เราเองจึงภาคภูมิใจ ที่ว่าได้พระนามของพระองค์ท่านมาเป็นชื่อเขื่อนภูมิพล และเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ และให้ประโยชน์จริง ๆ ก็เพื่อการชลประทานผลิตไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ เราผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ปล่อยน้ำไปตามที่ชลประทานต้องการ ถ้าเขาไม่ต้องการน้ำ เราก็ผลิตกันน้อย แล้วผลิตอย่างอื่นแทน เก็บน้ำไว้ ใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นแทน ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้แต่น้ำเป็นหลักของเกษตรกร แต่ กฟผ. ก็ต้องดูแลทั้งหมด แต่เดี่ยวนี้ การผลิตด้วยน้ำ มีเพียงแค่ 18% ที่เหลือเป็นเชื้อเพลิงอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้า ก็ดูเรื่องน้ำ ว่าชลประทานต้องการเท่าไร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ว่าแต่ละวัน แต่ละเดือนจะใช้น้ำเท่าไร
    หลักอยู่ที่ว่า ถ้าหน้าฝนน้ำมีอยู่แล้ว เราก็ผลิตน้ำน้อยเก็บไว้ใช้อย่างอื่น พอหน้าแล้งน้ำไม่มีก็ปล่อยน้ำออกมาให้เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น จะไปโกรธเขื่อนก็ไม่ถูก เพราะถ้าไม่มีเขื่อนเก็บน้ำ หน้าแล้งไม่มีน้ำ ก็คือ ไม่มีไม่รู้ว่าจะไปเอาน้ำที่ไหน แต่นี่เราเก็บไว้ และปล่อยน้ำให้มีออกมาตลอดเวลา นี่ได้ทั้งน้ำแถมด้วยไฟฟ้าก็ไม่มีใครคาดคิด
    เสด็จฯ ประทับแรมที่เขื่อนภูมิพล พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยแหล่งน้ำมาก และสนพระทัยในประสิทธิภาพการทำงานของคนการไฟฟ้า ท่านจึงได้ไปเยี่ยมตามเขื่อน และเนื่องจากที่พระราชวงศ์ไป เพราะอยู่ในถิ่นกันดาร ห่างไกลเขื่อนทั้งหลายแหล่ สมเด็จย่าออกเยี่ยมราษฎร ออกเยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ท่านจะไปเอาฐานที่ไหน ท่านจึงได้ประทับแรมตามเขื่อน จริงอยู่ แรก ๆ เหมือนท่านเยี่ยมเขื่อน แต่หลัง ๆ ใช้เขื่อนเป็นฐานออกไปทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เราจึงรู้สึกว่ามีบุญมาก ที่ท่านได้ใช้เขื่อนเป็นเสมือนบ้าน เหมือนที่ที่ใช้ทำประโยชน์ ต่อประเทศชาติ เราถือว่าเป็นคนภายในที่รับใช้ท่าน ท่านไม่ได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเขื่อนทุกปี ท่านใช้เป็นฐานทำประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ตชด. ราษฎรยากไร้ก็ตาม พระราชวงศ์อื่น ๆ ก็ไปเช่นเดียวกับสมเด็จย่า แม้แต่องค์พระเจ้าอยู่หัวก็เช่นกัน ไปตรวจเยี่ยม ไปทำประโยชน์ ฐานพระเจ้าอยู่หัวก็มี เชียงใหม่ที่ภูพิงค์ อีสาน ทางใต้ และก็มีฐานของ กฟผ. และของชลประทาน
    ก็ดีใจที่เขื่อนภูมิพล คิดที่จะสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ เป็นเกียรติประวัติของเขื่อนภูมิพล ต่อมาได้พัฒนาว่า จะรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อเขื่อนต่าง ๆ มารวบรวมไว้ ณ ที่นี้ เช่นกันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า เขื่อนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำประโยชน์อย่างมหาศาลกับประเทศชาติ ทั้งในแง่ชลประทานและการผลิตไฟฟ้า


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=line></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "การพัฒนาต้องมีน้ำเป็นพื้นฐาน หากขาดน้ำก็ไม่สามารถทำอะไรได้"
    นายบุญชอบ กาญจนลักษณ์
    อดีตหัวหน้าอุทกวิทยา กรมชลประทาน
    และอดีตนายช่างอาวุโส ฝ่ายอุทกวิทยาประจำธนาคารโลก
    รองประธานชมรมนักอุทกวิทยา ประเทศไทย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>ผมมีประสบการณ์งานในด้านน้ำ เขื่อนนี้จึงอาศัยความรู้เรื่องน้ำว่ามีน้ำ พอจะเก็บกักได้หรือไม่ จึงจะสร้างอาคารใหญ่ ๆ อย่างนี้

    การริเริ่มสร้างเขื่อนภูมิพลขึ้นมาได้คือ มาจากรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ท่านได้ปรารภในที่ประชุมสมัยนั้นว่า รับบาลจะต้องมีการพัฒนาบ้านเมืองใน ด้านอุตสาหกรรม และการที่เราจะพัฒนาได้นั้น เราจะต้องมีพลังงานไฟฟ้าเป็นพื้นฐาน “ท่านนายกรัฐมนตรีได้ปรารภว่า ถ้าจะพัฒนาบ้านเมืองในด้าน อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จะต้องนำไฟฟ้ามาใช้” อธิบดีกรมชลประทานในขณะนั้น มล.ชูชาติ กำภู จึงได้ให้ทรรศนะว่า “เรามีที่ที่จะใช้ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ ท่านนายกก็บอกว่า “เอาซิ ถ้าอย่างนั้นเธอก็ไปทำเลย” ตั้งแต่บัดนั้นมา โครงการก็ได้เริ่มกำเนิดขึ้น

    เมื่อพูดถึงการสร้างเขื่อน อย่างที่รัฐบาลต้องการแล้ว เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ได้คิดกันมาก่อน จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจเบื้องต้น และได้เลือกทำเลที่จะทำการก่อสร้างเขื่อน ย้อนไปประมาณ 40 ปี พื้นที่ดังกล่าวมีแต่ป่าเขา ไม่คิดว่าจะมีผู้คนมาอาศัยอยู่ เวลาที่ไปล่องเรือหาที่สร้างเขื่อน จากตากถึงเชียงใหม่ มีแต่ป่าดงดิบ ไม่มีบ้านคนอยู่เลย จำได้ว่านักวิชาการไปดูที่อำเภอแม่สอด เพื่อจะไปบอกให้เขารู้ว่า จะมาทำอะไรกัน อำเภอแม่สอดสมัยนั้น ก็เป็นบ้านไม้โปเก เราก็ไปบอกให้เจ้าหน้าที่อำเภอทราบว่าเราจะมาทำอะไร เพื่อจะขอความปลอดภัย ท่านก็ได้ให้ความร่วมมืออย่างดี

    เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ มาแล้ว เราก็จะเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อรัฐบาลถามว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างโครงการนี้หรือไม่ ทางกรมชลประทานจึงตอบว่ามีข้อมูลอยู่แล้ว โดยการสำรวจครั้งแรกได้ใช้เจ้าหน้าที่หน่วยสำรวจของกรมชลประทาน ออกไปสำรวจโดยล่องเรือ ทวนน้ำจากจังหวัดตากขึ้นเชียงใหม่ เพื่อที่จะไปดูทำเลในการทำโครงการนี้

    ครั้งที่ 2 ที่ได้ไปสำรวจ ได้ถ่ายรูปทำเลไว้ เมื่อรัฐบาลอนุมัติให้ก่อสร้าง จึงไปสำรวจรายละเอียดครั้งที่ 3 และ 4 ตามลำดับ จนสามารถหาทำเลในการสร้างเขื่อนได้ ในครั้งที่ 2 ผมได้ไปเอง การสำรวจได้เลือกทำเลที่เขายันฮีลงมาถึงเขาวังกระเจา มี 4 แห่ง คือ ช่องเขายันฮี เขาแก้ว ผารูเขาวังกระจก เพื่อจะได้ตั้งสถานีวัดกำลังน้ำ ว่าจะมีน้ำไหลผ่านแต่ละจุดเท่าไร

    ในการสำรวจครั้งสุดท้าย เจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในด้านนี้ จึงตกลงใจเลือกช่องเขายันฮี ซึ่งดูด้วยตาเปล่าแล้วเหมาะที่สุด เพราะหินที่รองรับรากฐานของเขื่อน เป็นหินดานของโลก เป็นหินที่แข็งแรงที่สุดในโลก ที่สามารรับน้ำหนักของเขื่อนนี้ ได้ เราจึงได้เลือกเขายันฮี เมื่อสำรวจแล้วได้ข้อมูลก็นำมาคำนวณต้นน้ำ ปรากฏว่า ใช้ทำเลก่อสร้างที่จุดนี้ สามาระรับน้ำได้ปริมาณที่สูงสุดของประเทศ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานการก่อสร้างคือ หาข้อมูลไปให้ธนาคารโลกเพื่อขอกู้เงิน เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อนำเข้าที่ประชุมรัฐบาล ฝ่ายค้านไม่ยอมให้สร้าง จึงทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองขึ้น จนรัฐบาลต้องล้ม เพราะฝ่ายค้านไม่ไว้วางใจในโครงการนี้

    ต่อมาการเมืองได้ผันผวนไป ขนาดที่ว่ารัฐบาลใหม่ ที่เข้ามาทำงานมีความเข้าใจว่าโครงการนี้มีความสำคัญต่อประเทศชาติ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้น ในช่วงแรกธนาคารโลกยังไม่มั่นใจว่า เราจะใช้หนีเขาได้ในระยะสั้น แต่เมื่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จ ก็สามารถผลิตไฟฟ้าจำหน่าย ได้ในปริมาณมาก จึงทำให้เขื่อนภูมิพลใช้หนี้ธนาคารโลกได้ในระยะเวลาที่สั้น เร็วกว่าที่ประเมินไว้ 25-30 ปี มีความภูมิใจที่ได้สร้างเขื่อนขึ้นมา ซึ่งเป็นเขื่อนแรกของประเทศ ทุกคนจะต้องเข้าใจและให้ความสำคัญ ในการที่จะพัฒนาแหล่งน้ำต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ถึงแม้ว่าเวลานี้ จะมีน้ำใช้อย่างพอเพียงไม่ขาดแคลน หรือถ้าจะขาดก็เพียงชั่วคราว แต่ดูจากสถิติได้ว่า ปริมาณน้ำ ได้ลดลงทุกปี ไม่มีวันจะมากขึ้น กรมชลประทานวิจัยไว้ว่า ภายใน 20 ปีข้างหน้านี้ น้ำในภาคเหนือจะเหลือศูนย์ ถ้าถึงวันนั้นเราจะไปหาน้ำได้ที่ไหน ถ้าไม่เตรียมพร้อมในวันนี้ เราจะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม ต้องมีการเตรียมการณ์เป็น 10 ปี และต้องกู้เงินต่างชาติมาลงทุนด้วย ยิ่งใช้เวลามาก ปกติการสร้างเขื่อนจะออกแบบไว้ใช้งานประมาณ 100 ปี เพราะถ้าเลยเวลานี้ไป แล้ว อาจมีเทคโนโลยี ที่ดีกว่า ถูกกว่านำมาใช้ เรื่องแผ่นดินไหว เรื่องน้ำซึม ไม่มีปัญหา เนื่องจากที่ตั้งของเขื่อน ตั้งอยู่บนชั้นหินแกรนิต ซึ่งเป็นหินที่แข็งแรงที่สุด และเป็นชั้นหินที่หนา โอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายมี น้อยมาก การออกแบบเขื่อน ออกแบบในลักษณะโค้ง ซึ่งสามารถรับแรงที่มากระทำได้ดี

    สิ่งที่อยากฝากถึงประชาชน และรัฐบาลก็คือ การพัฒนาประเทศ ไม่ว่าอยู่ในสาขาไหน ในทิศทางใด ต้องมีน้ำเป็นพื้นฐาน หากไม่มีน้ำ ก็ไม่สามารทำอะไรได้ ชีวิตก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ดังนั้น หากจะคิดพัฒนาบ้านเมืองในช่วงเวลาใด ก็ต้องพัฒนาแหล่งน้ำไปด้วย จะเห็นได้ว่าทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรจำเป็นจะต้องใช้น้ำทั้งสิ้น....

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=line></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "ประโยชน์ต่าง ๆ ของเขื่อน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับ"
    นายปัญญา ฤกษ์อุไร
    อดีตนายอำเภอสามเงา จังหวัดตาก สมัยก่อสร้างเขื่อนภูมิพล
    อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด และอดีตผู้ตรวจการประจำกระทรวงมหาดไทย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>ในช่วงระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ผมดำรงตำแหน่งนายอำเภอสามเงาในขณะนั้น ถ้าจะพูดถึงปัญหาในตอนนั้น ปัญหาเรื่องงานไม่มี งานเป็นไปตามโครงการ แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ อาชญากรรม ลักขโมย ฆ่ากัน ทำร้ายกัน ตอนนั้นได้มีการจัดสรรที่อยู่อาศัย และที่ทำกินให้กับราษฎรจากตำบลพระธาตุดอย ตำบลธาตุตุ้ม ธาตุพิมาน หินลาดนาไฮ หมู่บ้านใหญ่ ๆ ทั้งนั้นเลย คิดว่าหลังจากเขื่อนภูมิพลก่อสร้างเสร็จ ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากเขื่อนมากมาย เช่น เมื่อก่อนน้ำท่วม ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ กรุงเทพฯ เรียกได้ว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยานี่โดนหมด ตอนหลัง มีเขื่อนแล้วน้ำก็ไม่ท่วม แม่ปิงตอนเดือนเมษายน เดินข้ามน้ำได้สบาย ตอนนี้ก็มีน้ำตลอดทั้งปี

    นอกจากนั้น ก็เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีราคาถูก ประเทศเราอยู่ในร่องมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ เพราะฉะนั้น ทุก ๆ ปี เมื่อถึงหน้ามรสุม ต้นไม้มีหรือไม่มีไม่สำคัญ กรุงเทพฯ ฝนตกได้ทุกวัน มันจะตก ตามฤดูกาล น้ำไม่มีวันหมด เราไปคิดมาว่า เรามีเขื่อนยันฮีมานี่ 36 ปีแล้ว มีปีไหนบ้างที่น้ำหมด น้ำมีแต่ว่าเหลือน้อยลง ปีไหนฝนตกหนัก มีพายุหลายลูกติดต่อกัน น้ำก็เต็มเขื่อน เพราะฉะนั้น น้ำไม่มีวันหมด เราต้องการความเจริญ ต้องการประหยัดค่าน้ำมัน เราต้องการความก้าวหน้า อยากจะใช้ไฟฟ้าแล้ว ต้องการน้ำมาช่วยทำนา เราไม่ต้องการน้ำท่วมบ้าน แต่เราไม่ยอมสร้างเขื่อน

    แต่ก่อนนี้ การผลิตไฟฟ้าของเมืองไทย เราหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้น้ำมันเตา หลังจากนั้นมาก็ใช้น้ำมันดีเซล แล้วน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล เวลาโอเปกขยับตัวนิดหน่อย เราก็แย่ ตลอด 36 ปีมานี่ การไฟฟ้านำความเจริญมาสู่ชนบทอย่างมาก

    สมัยก่อน แม้กระทั่งอำเภอสามเงาก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ จนกระทั่งผมโวยวายนั่นแหละ ไฟฟ้าจึงเข้ามา ผมเข้าไปหาจอมพลถนอม บอกท่านว่า ท่าปุยอยู่ข้างเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงาก็คือที่เขื่อนตั้งอยู่ คนที่ท่าปุยยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เมื่อพูดถึงการคมนาคมในสมัยก่อน ให้ลองคิดดูว่าเป็นอย่างไร ผมออกจากท่าปุย 04.00 น. ถึงปากทางเขื่อน เวลา 08.00 น. ทั้ง ๆ ที่ระยะทางแค่ 19 กิโลเมตรเท่านั้น และจากปากทางเดินทางถึงกรุงเทพฯ เวลา 22.00 น. เรียกได้ว่าเดินทางถึงกรุงเทพฯ หัวแดงเป็นฝรั่งเลย ทางเป็นถนนลูกรัง รถสมัยก่อนก็ไม่ติดแอร์

    สุดท้ายนี้ ผมขอฝากไว้ให้ทุกท่านเห็น ความสำคัญของเขื่อน ที่สามารถเก็บกักน้ำ เพื่อการเกษตร ป้องกันน้ำท่วม ประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับ เพราะฉะนั้นขอให้ทุกท่านป้องกัน ช่วยกันผลักดันให้เขื่อนเกิดขึ้นหลาย ๆ แห่งก็แล้วกัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=line></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "เขื่อนภูมิพล ..............ครูแห่งงานช่าง"
    นายวีระวัฒน์ ชลายน
    อดีตผู้ว่าการ กฟผ.

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>ผมเห็นเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ตอนไปฝึกงานตอนปี 4 คนที่เรียนมาทางช่าง ถ้าหากได้เห็นที่นี่ จะเป็นฝันที่เป็นจริงที่เราอยากทำ เหมือนพวกคาวบอยที่อยากมีม้าขี่ เมื่อผมเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ทำงานที่เขื่อนภูมิพลแห่งนี้

    นับว่าเป็นโชคดีของผู้ว่าการ ที่ได้มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง เขื่อนภูมิพล โรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่องจักรพลังน้ำขนาดใหญ่เครื่องแรกในประเทศไทย

    การเดินทางในสมัยก่อสร้าง ถ้าเดินทางจากกรุงเทพ ต้องใช้เวลาหนึ่งวันเต็ม ๆ สภาพการทำงานไม่ได้สะดวกสบาย เครื่องมือเครื่องใช้ ถ้าไม่มีต้องทำกันเอง หรือดัดแปลง มาใช้ในภาวะที่ มีอยู่ ทำให้เราเกิดความคิดที่ติดตัวมาจนถึงปัจจุบันว่า เราเองต้องเจียมตัว ว่าอยู่ในประเทศที่ขาดแคลน ยากจน ทรัพยากรที่มีต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด

    การที่ได้อยู่ร่วมกันกับคนหลาย ๆ ระดับ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ลูกน้อง ซุปเปอร์ไวเซอร์ ทานด้วยกัน หนาวก็หนาวด้วยกัน ร้อนก็ร้อนด้วยกัน ฝนตก ก็เปียกด้วยกัน ความเป็นอยู่รักใคร่กลมเกลียว ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมีมากกว่าสมัยหลัง ๆ ที่แสวงหาความสุขตามความชอบของตน เมื่อก่อนมีหนังกลางแปลงก็นั่งดูกันเป็นแถว ไม่ใช่ต่างคนต่างดู ทานข้าวตลาดเดียวกัน สร้างเสริมให้เกิดความร่วมมือ นอกเวลาทำงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดสปิริต

    ในสมัยก่อนทำงานสนุก มุ่งแต่งาน พอมีเสียงดังปังก็รู้ว่าไฟดับ เรากินข้าวอยู่ในตลาด พอรู้ก็วางช้อนปุ๊บ ใครอยู่ห้องควบคุมก็วิ่งไปดู ใครอยู่โรงไฟฟ้าก็ไปดู บางครั้งน้ำท่วมโรงไฟฟ้า ก็ไม่ได้กลัวไฟดูด ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ไฟฟ้าสว่างให้ได้

    ตอนที่อยู่ที่เขื่อน ผมเป็นเพียงนายช่างเล็ก ๆ ตอนรับเสด็จในหลวง ตอนนั้นเครื่องที่สองมีปัญหา เยอรมันทำมาไม่ดี ในหลวงเสด็จอยู่ข้างบน ผมก็ดูแลเครื่องอยู่ข้างล่าง พอท่านเสด็จฯ กลับ เราก็รื้อเครื่องมาซ่อม

    เขื่อนภูมิพล เป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ มีประโยชน์ต่อแผ่นดิน ต้องยกเครดิตให้กับกรมชลประทาน ที่ได้ริเริ่มให้ก่อสร้างเขื่อน ตั้งแต่ขออนุมัติจนก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโอนให้การไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าภูมิใจ โดยได้ขยายความสำคัญนี้ต่อมา เมื่อก่อนมีเครื่องผลิตไฟฟ้าแค่ 2 เครื่อง การไฟฟ้ามาสร้างเครื่อง 3 เครื่อง 4 เพิ่มขึ้น สร้างที่พักรับรอง สวนสวย ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ โดยความตั้งใจของผู้บริหารรุ่นเก่า ๆ มาจนถึงรุ่นนี้ว่า
    “เราจะทำสิ่งที่ดีติดไว้ในแผ่นดิน” ดังนั้นการไฟฟ้า จะทำสิ่งที่เป็นสาระและสิ่งที่ดีต่อไป

    เขื่อนอำนวยประโยชน์ในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของน้ำเป็นสำคัญ เขื่อนเป็นที่เก็บกักน้ำ และระบายน้ำในเวลาที่เหมาะสม ก่อนที่จะมีเขื่อนไม่มีใครรู้จัก การทำนาปรัง พอมีเขื่อนสามารถทำนาปรัง 2-3 ครั้งขึ้นมา ข้าวที่ประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ข้าวต้องใช้น้ำมาก ก็ได้น้ำมาจากเขื่อน หน้าแล้งถ้ามีเขื่อนจะช่วยได้มากกว่า บางคนก็มองว่าเขื่อนเป็นสิ่งประหลาด เป็นสิ่งที่ขัดขวางธรรมชาติ แต่จริง ๆ แล้ว ก็ใช้ประโยชน์จากเขื่อนกันทั้งนั้น ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์มีมากมาย น้ำที่เคยไหลบ่ามาจากนครสวรรค์ น้ำท่วมอ่างทองถึงพระนคร แต่หลังจากมีเขื่อนแล้ว น้ำท่วมขนาดใหญ่แบบเดิมไม่มี ความเสียหายไม่เกิด บ้านเมืองก็พัฒนาขึ้น แต่บางครั้งน้ำท่วมเพราะเขื่อนเก็บไม่อยู่ แต่ถ้าไม่มีเขื่อนจะท่วมกว่านั้น

    ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำ ผลพลอยได้นี้ก็นำสตางค์มาใช้หนี้ในการสร้างเขื่อน และก่อให้เกิดการพัฒนาทางภาคอุตสาหกรรม และประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้ ไม่ขาดแคลน ถ้าไม่มีเขื่อนต้องใช้น้ำมัน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและสูญเสียเงินตรา ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการคมนาคมทางน้ำ ประมง และอีกมากมาย

    การสร้างเขื่อนในสมัยนั้น มีการวางแผนล่วงหน้าที่ดีมาก ๆ กว่าจะเริ่มสร้างเขื่อนได้ มีการสร้างโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะ และสร้างสายส่งจากลำปางมาป่าเขา เพื่อส่งไฟฟ้ามาใช้ในการสร้างเขื่อน ต้องสร้างปูนซีเมนต์ที่ตาคลี และส่งปูนซีเมนต์มาใช้ ปูนซีเมนต์ส่งมายาก ต้องส่งปูนเป็นเม็ด ๆ มาบดที่เขื่อน บดแล้วเก็บไว้ที่ไซโลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังขาดแคลนเครื่องมือบางอย่าง ในสมัยนั้นถนนไม่ดี เป็นถนนลูกรัง สะพานไม้ การจะขนเครื่อง 100 ตัน ต้องขนทางน้ำ จึงมีการต่อเรือ และต้องมีแผนระบายน้ำเพื่อให้เรือวิ่งได้ มีการคำนวณว่าช่วงไหนจะระบายน้ำดี ส่วนมากจะต้องปล่อยน้ำตอนเช้า เรือจะแล่นมาได้ เมื่อจอดเรือน้ำก็แห้งพอดี แล้วก็ปล่อยใหม่อีก ต้องคำนวณให้ดี

    นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่ใช้ค่อนข้างใหม่ในสมัยนั้น ใหม่สำหรับวิศวกรไทยด้วย เราก็ทำอะไรเองทุกอย่าง ตั้งแต่เขียนแบบ พับสังกะสีทำท่อ ทำเครื่องเขย่าผสมคอนกรีต ทำคอนกรีตบล็อก ต่อท่อน้ำ คิดหาวิธีต่าง ๆ และอาศัยเทคนิคจากต่างประเทศ ที่ฝรั่งสอน ก็จดจำไว้ เช่น วิธียกของ วิธีให้สัญญาณเครน สอนวิธีถักลวดสลิงในการมัดของ ช่างเชื่อมก็หัดเชื่อมจากฝรั่ง มีเรื่องเล่าสนุก ๆ ว่า เมื่อมีประกาศรับช่างเชื่อม ปรากฏว่ามีผู้หญิงมาเยอะ นึกว่ารับเชื่อมกล้วย คนที่จบงานที่นั่น สามารถไปทำงานอื่นได้มากมาย เรียกได้ว่า เขื่อนภูมิพล เป็นจุดเริ่มสร้างงานช่างในประเทศไทย เปรียบเสมือนครูงานช่าง บางคนมีชื่อเสียง ไปทำงานที่ซาอุดิอาระเบีย คูเวต ลิเบียฯลฯ
    เขื่อนช่วยสร้างคน สร้างวิธีการ และการวางแผนที่ดี

    การสร้างเขื่อนนี้ เป็นไปตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านมีความสนพระทัย ในเรื่องน้ำเป็นอย่างยิ่ง และการที่ กฟผ. สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ประชาชนที่ผ่านไปมา จะได้ทรงทราบถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน ซึ่ง กฟผ. เป็นตัวกลางที่จะถ่ายทอดพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านไปยังประชาชน ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=line></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "สิ่งที่ภูมิใจ ประเทศไทยได้น้ำและไฟฟ้ามาใช้"
    นายอำนวย จันทร์โทสด
    หัวหน้ากะคุมงานเจาะอุโมงค์ก่อสร้างเขื่อนภูมิพล

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>ผมได้ร่วมสร้างเขื่อนภูมิพลเป็นรุ่นที่ 2 ต่อจากคุณณกรณ์ ชลวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นวิศวกรจบจากญี่ปุ่น โดยมีคุณอนันต์ สุทธิภาษนฤพล เป็นผู้คุมงาน การเจาะอุโมงค์มีความยากลำบาก เนื่องจากเครื่องมือเราไม่ดี การเจาะระยะแรก จะเป็นการเจาะแบบ 4x4 เจาะเป็นกะ กะแรก 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ถึง 6 ทุ่ม กะดึก 6 ทุ่ม ถึง 8 โมงเช้า แต่ละกะมีผู้ควบคุม ผมเป็นคนหนึ่งที่ควบคุมงานอยู่ และก็เปลี่ยนกันไปตลอด เมื่อเจาะอุโมงค์เสร็จกะใดกะหนึ่ง ก็จะมีหน่วยหนึ่งเข้าไประเบิด และมีหน่วยช่างกลเข้าไปตัดหิน และทำการเจาะ

    การเจาะให้รถ Jumbo ในการเจาะ จะทำการเจาะ 2 อุโมงค์ สลับกันไป ความยากในการเจาะอยู่ในช่วงเหนือน้ำ เพราะเป็นหินผุ จะต้องทำนั่งร้านกันหินตกมา การทำงานนั้นเสี่ยงอันตราย และที่เสียชีวิตก็มี สิ่งที่ภาคภูมิใจคือ ช่วงที่ในหลวงเสด็จฯ มาเปิด โดยนายช่างอนันต์ สุทธิภาษนฤพล เป็นผู้ขับรถพระที่นั่ง และมีเรือนรับรองที่ในหลวงเสด็จมาประทับ เดี๋ยวนี้กลายเป็นที่ทำงานของโครงการปลูกป่าฯ

    การเจาะ จะต้องอาศัยเครื่องมือจากต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือ ใช้เวลาในการเจาะเกือบ 2 ปี เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนแรกที่ผมสร้าง คือเริ่มการก่อสร้างใหม่ ๆ ก็เข้าทำงานเลย พอเจาะอุโมงค์เสร็จ ผมก็มาทำที่พักปูน ช่วงนั้นการขนส่งลำบาก ต้องส่งปูนมาจากตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ส่งมาเป็นปูนผงก็มี เอามาบดผสมที่นี่ ตอนหลังก็มาสร้างเขื่อนลำตะคอง ลำพระเพิง น้ำอูน ผมถูกย้ายไปอยู่ ลำพระเพิง ตอนนั้นเขื่อนภูมิพลสร้างแล้วเสร็จเหลืองานเล็กน้อย

    Spillway (ทางระบายน้ำล้น) บริษัทเป็นผู้ดำเนินการ ผมมาคุมด้านระเบิด สั่งระเบิดเข้า-ออก ในรายงานของการไฟฟ้ามีอยู่ ในช่วงก่อสร้างฐานราก ผมเขียนรายงานเกี่ยวกับการใช้ระเบิด ว่าจะใช้เท่าไหร่ จะใช้ที่ไหน การก่อสร้างใช้เวลาเกือบ 4 ปี ตอนก่อสร้างใช้น้ำแข็งในการ Cooling System (ระบบหล่อเย็น) คือคอนกรีตมีความร้อนในตัว จะต้องใช้น้ำเย็นวิ่งวนตามชั้น

    ในตอนที่สร้างเขื่อน ผมไปคุมงานด้านระเบิด ผมต้องบันทึกรายงานทั้งหมดว่าวันหนึ่งระเบิดกี่ปอนด์ เบิกไปแล้วเหลือเท่าไหร่ ต้องคุมอย่างแน่นหนา เนื่องจากผู้ร้ายมีมาก อุบัติเหตุมีเยอะ ตอนก่อสร้างใช้คนเยอะหลายพันคน เพราะทำงานกันเป็นกะ กะละหลาย ๆ คน ตอนนั้นคนหลั่งไหลมาเยอะมาก

    ส่วนที่อันตรายในการทำงานคือ อุโมงค์ เพราะจะมีอันตรายในส่วนของหินที่จะหล่นลงมา และอีกหลายอย่างคือ อันตรายจากไฟฟ้ารั่ว ซึ่งเดินสายจากปากอุโมงค์เข้าไป และส่วนที่ปลายสุดด้านทางออกเป็นหินผุ ต้องตัดไม้ทำค้ำยัน วันเสร็จมีนายช่างทั้งหลายมาชุมนุมกัน เพราะเป็นอุโมงค์แรกที่ทำ และเป็นครั้งแรกที่วิศวกรคนไทยแท้ ๆ เข้าไปเจาะ จากนั้นพอเคลียร์เรียบร้อย ก็กราบทูลให้ในหลวงทรงเสด็จฯ ตอนนั้นพระองค์ท่านพร้อมสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ทรงรถจี๊บ มีนายช่างอนันต์เป็นคนขับ

    ตอนสร้างเขื่อนมีหมู่บ้านนา ก็ได้ทำการอพยพคนออก ส่วนโบราณวัตถุ ทางกรมศิลป์ ได้เกือบหมด ยังเหลือแต่โบราณสถานเท่านั้นที่ยังคงอยู่ ผมทำที่ลำพระเพิง 5 ปี แล้วย้ายไปกิ่วลม ก็วนเวียนย้ายไปย้ายมาครบ 40 ปี ปีนี้อายุ 60 ปีแล้ว เขื่อนยันฮีเป็นเขื่อนที่ผมภูมิใจที่ให้ประเทศไทยได้ใช้ไฟฟ้า การเกษตรฯ และผมได้นำในจุดนี้มาใช้เก็บน้ำพลิกชีวิตจากราชการมาทำสวน แต่ก็ต้องมีความอดทน

    สิ่งที่ฝากให้รุ่นน้องคือ ให้ทำงานให้เต็มที่ อย่างเห็นแก่ประโยชน์นิดหน่อยที่จะได้รับ บางทีของเรามีค่าอยู่ ถ้าขนเอาไปขาย ผมไม่เห็นด้วย คือคนไทย ทำอยู่ ผลประโยชน์อยู่ที่เราแล้ว คนอื่นมาคว้าไปคุณยอมไหม? เรื่องปลุกป่าผมเห็นด้วย เนื่องจากการสร้างเขื่อนเป็นการทำลายป่าไม้ การปลูกป่าจึงเป็นสิ่งทดแทนส่วนที่เสียไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของแผ่นดิน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=30></TD><TD class=black>ความสำเร็จของ “เขื่อนภูมิพล” ในวันนี้ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นอเนกประการานั้น หากย้อนหลังกลับไป เมื่อกรมชลประทานทำการศึกษา และสำรวจรายละเอียดของโครงการ ที่เรียกกันว่า “โครงการไฟฟ้าพลังน้ำยันฮี” แล้ว จะเห็นได้ว่าการบุกเบิกเขื่อนนี้ ได้ฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ มาอย่างมากมาย จนกระทั่งสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เป็นวันเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อน นับเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นสัญลักษณ์ ของการพัฒนาแหล่งน้ำแผนใหม่ ซึ่งเรียกกันว่าเพื่อนเอนกประสงค์ในประเทศไทย

    และด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงต้องการจะแก้ไขฟื้นฟูสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์ ในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วทุกหนทุกแห่งของประเทศ เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนท้องที่ใด ก็จะทรงศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสภาพภูมิประเทศ เพื่อทรงวางพื้นฐานอาชีพ และแนะแนวการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้มีคุณค่าและเกิดความผาสุก ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล และทรงเล็งเห็นความสำคัญของ
    “แหล่งน้ำ” จึงทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่ เพื่อจะก่อให้เกิดประโยชน์ แก่แหล่งนั้นสืบไป ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง กฟผ. ได้รับสนองพระราชดำริในการพัฒนาแหล่งน้ำ มาดำเนินการ จนสามารถเสริมสร้างความเจริญให้เกิดแก่ชุมชนน้อยใหญ่ต่าง ๆ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกประการ

    จากวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2500 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำยันฮีว่า “เขื่อนภูมิพล” นับเป็นการจุดประกาย ให้กับการพัฒนาแหล่งน้ำแหล่งอื่น ๆ ในรูปแบบของเขื่อนเอนกประสงค์และรูปแบบอื่น ๆ ติดตามมา เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ชนชาวไทย

    นี่คือความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ในแผ่นดิน ผู้ทรงเสียสละเพื่อแผ่นดินและพสกนิกรมาโดยตลอด จนสามารถกล่าวได้ว่า ทุกพระราชดำริของพระองค์นั้น พระองค์ต้องทรงเหนื่อยยากที่สุด มิอาจมีชีวิตใดจะเสียสละได้เท่าเทียมอีก และเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่มีสิ่งใดในแผ่นดินนี้จะสามารถทดแทนได้เลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    17 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิด เขื่อนภูมิพล
    17 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เขื่อนภูมิพล ซึ่งเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของไทย และเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างกั้นแม่น้ำปิง ที่บ้านยันฮี ต. เขาแก้ว อ. สามเงา จ. ตาก เขื่อนแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก ชื่อเดิม เขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า “เขื่อนภูมิพล” วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 สร้างเสร็จปี 2507 เขื่อนภูมิพลมีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุสูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งที่ใหญ่และสูงที่สุดในอุษาคเนย์ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,602 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 8 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 731,200 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,062 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึง อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร ด้านบนเขื่อนเป็นจุดชมวิวที่สวยงามนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ. ตาก แต่ความจริงอีกด้านที่ปฏิเสธไม่ได้คือ การสร้างเขื่อนภูมิพลทำให้พันธุ์ปลาในแม่น้ำปิงลดลงจาก 68 ชนิดเหลือเพียง 34 ชนิด และชาวบ้านท้ายเขื่อนไม่สามารถจับปลาได้เหมือนเดิมเนื่องจากไม่เกิดภาวะน้ำหลาก และตัวเขื่อนได้ดักดินตะกอนที่เคยพัดพามาจากต้นน้ำปิงประมาณ 75 % ซึ่งมีทั้งทรายและปุ๋ยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ (เช่นเดียวกับเขื่อนทุกแห่งในโลก) ไม่ให้ไหลลงไปสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้พื้นที่ใต้เขื่อนและสร้างแผ่นดินใหม่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเกิดปัญาการกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาหลายกิโลเมตรในทุกวันนี้ นอกจากนี้การสร้างเขื่อนทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นท่วมโบราณสถานหลายแห่งที่เคยตั้งอยู่ริมน้ำปิง อีกทั้งต้องอพยพประชาชนจำนวนมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  6. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    งามแต๊หน่อ
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมเองมีเพื่อนๆในเวป และนอกเวปสอบถามด้วยความสงสัยถึงความเป็นไปได้ว่าจะจริงหรือที่ยุค 1,300 ปี นี้คนสมัยนั้นจะสามารถแกะงานที่ดูวิจิตรบรรจงได้ขนาดนี้ เป็นเพราะเครื่องมือสมัยใหม่หรือไม่ ซึ่งท่านก็มีสิทธิ์จะสันนิษฐานไปได้ต่างๆนานาครับ ผมเพียงสืบค้น และเจาะหาข้อมูลมาอ้างอิง มาพิสูจน์อายุ และความเป็นได้ว่าเป็นไปได้แค่ไหน เพราะไม่มีผู้ใดที่มีอายุถึง 1,300 ปี (ขนาดเพียง 400 ปี ยังตอบไม่ได้เลยว่า วัดวรเชตในเมือง(วรเชษฐาราม) หรือนอกเมือง(วรเชต)กันแน่ที่เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)ผมต้องอาศัยการเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์ และการขุดค้นพระเครื่องของกรุฮอดนี้ก็มีจริงในปีพ.ศ. 2502-2503 ก่อนการสร้างเขื่อน เพราะต้องเตรียมบริเวณ บ้านเมืองที่ปลูกสร้างก็มีจริง แต่อยู่ใต้บาดาลมาร่วม 50 ปีแล้ว


    ผมได้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งว่า ทำไมองค์พระที่ดูเหมือนเครื่องเจีย หรือเครื่องขัดซักอย่างนั้นเป็นแรงงานคนขัด หรือใช้เครื่องมือสมัยใหม่กันแน่ ผมได้ดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการวิเคราะห์ยุคต่างๆกันก่อนจากเวบไซด์นี้ครับ

    http://www.tv5.co.th/service/mod/her...chanaburi2.htm


    <CENTER>
    [SIZE=+2]พัฒนาการทางประวัติศาสตร์[/SIZE]
    [​IMG]</CENTER>

    จังหวัดกาญจนบุรี เป็นดินแดนที่มนุษย์ได้เข้ามาอยู่อาศัย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบหลักฐานในยุคเริ่มแรกของมนุษย์ก่อนการเกษตรกรรมกว่า ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ยังคงดำรงชีพอยู่ด้วยการล่าสัตว์ ในระยะต่อมาจึงได้พัฒนาสู่การดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งชุมชนบนที่ราบใกล้แหล่งน้ำ ต่อมาจึงได้มีการนำเอาโลหะมาใช้ประโยชน์ เกิดการรวมตัวเป็นสังคมขนาดใหญ่
    การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ครั้งแรกในจังหวัดกาญจนบุรี เกิดขึ้นในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ ได้พบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือหินกรวดหน้าเดียว และขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยหินเก่า มีลักษณะคล้ายกับที่พบที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน เรียกเครื่องมือหินที่พบนี้ว่า วัฒนธรรมแควน้อย (Fingnoi or Fingoian)
    ต่อมาจากการขุดค้นของคณะสำรวจไทย - เดนมาร์ค ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๕ และได้มีการดำเนินการต่อมาตามลำดับ พบว่าบางแห่งมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย พอแบ่งออกได้ดังนี้
    ยุคหินเก่า
    มีอายุอยู่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์อยู่ในสังคมล่าสัตว์ ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน พบหลักฐานตามถ้ำเพิงผา และที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย และแควใหญ่ บบเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียว กะเทาะหยาบ พบในเขตตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ฯ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์
    ยุคหินกลาง
    มีอายุอยู่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี พบเครื่องมือหินกะเทาะมีความประณีตมากขึ้น พบเครื่องปั้นดินเผาแบบง่าย ๆ จากหลักฐานที่พบแสดงว่า มนุษย์ในสมัยนี้อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามถ้ำใกล้แหล่งน้ำ มีประเพณีการฝังศพ โดยใส่เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องเซ่นฝังร่วมกับศพโรยดินแดงไว้ทั่วศพ แหล่งที่พบได้แก่ ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค ถ้ำทะลุ ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ฯ
    ยุคหินใหม่
    มีอายุอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญกว่ายุคก่อนมาก หลักฐานที่พบได้แก่ เครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน เครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้รู้จักการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ อาศัยอยู่ตามที่ราบใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเหมาะแก่การเกษตรกรรม มีประเพณีการฝังศพโดยฝังเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องเซ่นไว้ในหลุมฝังศพ แหล่งโบราณคดีในยุคนี้ มีอยู่เป็นจำนวนมากในเขต จังหวัดกาญจนบุรี ที่สำคัญได้แก่ ถ้ำเขาทะลุ บ้านท่าโป๊ะ ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ฯ ถ้ำหีบ บ้านท่าโป๊ะ ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ฯ บ้านเก่า ริมแม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ฯ บ้านกล้วย ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง ฯ บ้านโปร่งกระต่าย ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง ฯ ถ้ำวังกระแจะ ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค ถ้ำตะกั่ว บ้านวังกระแจะ ตำบลวังกระแจะ บ้านลุ่มสุ่ม ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค บ้านหินดาด ตำบลศรีมงคล อำเภอไทรโยค ถ้ำองบะ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ ถ้ำผาแดง บ้านโป่งหวาย ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ บ้านม่องคอย ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ บ้านต้นมะพร้าว ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์

    ยุคโลหะ <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>

    หลักฐานที่พบแสดงความสัมพันธ์กับอินเดีย ที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน พบภาชนะดินเผา ภาชนะสำริดเนื้อบางมีรูปลวดลายต่าง ๆ เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับ มีกำไลสำริด ตุ้มหู แหวน และลูกปัดสี
    ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ พบกลองมโหระทึกสำริด ๒ ใบ ที่ถ้ำแห่งนี้พบหลักฐานต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ จนมาถึงยุคโลหะ มีอายุตั้งแต่ ๑๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบโลงศพไม้อีกด้วย
    ถ้ำรูป บ้านพุหว้า ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค ภายในถ้ำมีภาพเขียนสีแดงบนผนังถ้ำมีรูปคน รูปสัตว์ ภาพมือ และภาพลายเรขาคณิต
    ถ้ำผาแดง บ้านโป่งหวาย ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ มีภาพเขียนสีแดงบนหน้าผา มีความยาวกว่า ๖๐ เมตร มีอยู่ ๕ กลุ่มภาพด้วยกัน เขียนเป็นรูปกลุ่มคน สัตว์ประเภท วัว ควาย
    ถ้ำตาด้วง บ้านปากคลอง ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง ฯ เป็นภาพเขียนอยู่บนเพิงผาใหญ่ อยู่สูงจากพื้นประมาณ ๖ เมตร เป็นภาพกลุ่มบุคคล ทำกิจกรรมคล้ายขบวนแห่ หรือพิธีกรรม ตอนกลางเป็นวัตถุกลมสันนิษฐานว่าเป็นกลองหรือฆ้อง รูปต่อมาเป็นรูปขบวนแห่เป็นรูปลักษณะสี่เหลี่ยม สันนิษฐานว่าเป็นโลงศพ ในขบวนมีภาพคน ๑๘ คน และภาพเดี่ยวเป็นรูปคนขนาดใหญ่เขียนด้วยสีแดง บนศีรษะมีภาพคล้ายขนนกเสียบอยู่ มีภาพคนสามคน กำลังโก่งธนู และมีภาพคล้ายปลา
    สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑ - ๑๙๒๑ )
    ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มิได้กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี ในครั้งนั้นเมืองกาญจนบุรีอาจจะเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ และเป็นจุดที่อยู่บนเส้นทางผ่านไปยังเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น เมืองเมาะตะมะ เมืองมะละแหม่ง เมืองเย เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด เป็นต้น โดยผ่านไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ด่านบ้องตี้ และเส้นทางอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
    สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๙๒๑ - ๒๓๑๐)

    <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>

    เมืองกาญจนบุรีเก่า อยู่ที่บ้านท่าเสา ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง ฯ ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำแควใหญ่ และลำตะเพิน ทิศเหนือจดเขาชนไก่ ทิศตะวันออกจดทุ่งลาดหญ้า ทิศใต้จดวัดนางพิม ทิศตะวันตกจดลำน้ำแควใหญ่ และลำตะเพิน ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๑๘๐ เมตร ยาวประมาณ ๓๖๐ เมตร มีกำแพงล้อมรอบ มีป้อมอยู่สี่มุมกำแพง ใช้คันดินเป็นกำแพงเมือง และอาจมีเสาระเนียดปักตามแนวคันดิน สิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานคือ วัดขุนแผน วัดป่าเลไลย์ ตลาดทางทองประศรี วัดแม่หม้าย วัดนางพิมพ์ ภายในตัวเมืองเก่าไม่มีสิ่งก่อสร้างหลงเหลืออยู่
    สงครามไทยกับพม่าในอดีต กองทัพขนาดใหญ่ใช้เส้นทางด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งอยู่ชายแดนในเขต อำเภอสังขละบุรี ถึง ๑๒ ครั้ง เป็นการเดินทัพผ่านเมืองกาญจนบุรีเป็นอันดับแรก กาญจนบุรีจึงเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก ในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ยกกองทัพขนาดใหญ่ มีกำลังพลมากกว่าหนึ่งแสนคน เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เป็นครั้งแรก
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไทยได้ทำสงครามกับพม่า รวม ๒๔ ครั้ง และได้ทำการรบหรือเดินทัพผ่านในเขตเมืองกาญจนบุรี ถึง ๑๗ ครั้ง

    จากข้อมูลพบว่ายุคหินใหม่ เริ่มเมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว หากนับอายุที่1,300 ปีสุดท้าย นั่นคือปี พ.ศ. 1250 ซึ่งก็ตรงกับเรื่องราวที่ได้นำเสนอไปในข้างต้น ซึ่งมีการใช้"เครื่องมือหินขัด"แล้ว จึงมั่นใจว่าใน"ยุคหินใหม่ตอนปลาย"น่าจะได้นำมาแกะหินอัญมณีกัน จำพวก บุษราคัม ทับทิม มุกดาหาร ไพลิน เพทาย
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครฯ

    พัฒนาการทางประวัติศาสตร์




    <CENTER></CENTER>

    เมืองนคร ฯ มีพัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งรวมตัวกันมาเป็นชุมชนเกษตรกรรม ยุคเริ่มแรกแล้วพัฒนามาเป็นเมืองท่า หรือสถานีการค้ามมีชื่อว่า ตามพรลิงค์ จนกระทั่งกลายเป็นชุมชนเมืองหรือนครรัฐที่รุ่งเรืองมีชื่อว่า นครศรีธรรมราช ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นนครแห่งพระพุทธศาสนา ในคาบสมุทรภาคใต้


    [SIZE=-1]การตั้งถิ่นฐาน [/SIZE][SIZE=-1]
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    หลักฐานทางโบราณคดีสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ในแหล่งที่เป็นถ้ำและเพิงผา ๑๕ แหล่ง ในจำนวนนี้มีสองแหล่งที่คาบเกี่ยวกับสมัยก่อนยุคหินใหม่ และมีหลักฐานที่เป็นแหล่งพื้นที่ราบ ๑๐ แหล่ง ในจำนวนนี้มีอยู่สองแหล่งที่คาบเกี่ยวกับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จึงสันนิษฐานว่า มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองนคร ฯ ตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นถ้ำ ในพื้นที่ป่าเขามาก่อน ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่า และล่าสัตว์เป็นอาหาร ใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย และคงไม่ไกลจากลำน้ำที่ไหลผ่านที่ราบใกล้ภูเขาหินปูน

    ลำน้ำซึ่งเกิดจากแนวทิวเขาใหญ่หรือภูเขาเล็ก ๆ นับเป็นแหล่งสำคัญที่นำเอาวัตถุจากธรรมชาติหรือหินจากภูเขาซึ่งกลายเป็นหินกรวดนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต
    ลำดับการพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในพื้นที่เมืองนคร ฯ อาจแบ่งออกได้เป็นสี่ห้วงเวลาดังนี้
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]ชาวถ้ำหรือมนุษย์ถ้ำ จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้นำมาเปรียบเที่ยบกับเมืองนคร ฯ เชื่อว่าคนก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองนคร ฯ คงไม่แตกต่างกันมากนักคือ พักอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเพิงผา หาอาหารโดยการล่าสัตว์เก็บผลไม้ ใช้เครื่องมือหินประเภทครกและสาก สำหรับบดตำพืชประกอบอาหาร บางครั้งอาจใช้ใบมีดหรือขวานหิน สำหรับปอกลูกไม้หรือเปลือกไม้ ตัดเฉือนเนื้อสัตว์ มีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า เมื่อประมาณ ๖,๕๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว มนุษย์ถ้ำในภาคใต้ประกอบอาหารโดยใช้ความร้อนจากไฟ รู้จักการหุงต้มโดยใช้หม้อดินเผาและมีถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง ภาชนะที่ใช้ประกอบอาหารที่มีใช้โดยทั่วไปคือ หม้อดินเผาก้นกลม และภาชนะแบบหม้อสามขาซึ่งสามารถตั้งคร่อมกองไฟ โดยไม่ต้องใช้เสาหรือก้อนเส้า นอกจากนี้ยังมีภาชนะใส่อาหารเช่น ภาชนะทรงพาน หม้อก้นตื้น หม้อมีสัน ภาชนะประเภททชาม จอก ถ้วย เหยือก แท่นรองหม้อ และแท่นพิงถ้วยสำหรับรองรับถ้วยน้ำดื่มที่อาจทำจากเขาสัตว์ เป็นต้น
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]นอกจากนี้ชาวถ้ำยังรู้จักก่อกองไฟให้ความอบอุ่น รู้จักทำเครื่องนุ่งห่มโดยทำจากหนังหรือขนสัตว์ หรือทำจากเปลือกไม้ พบหินทุบเปลือกไม้หลายชิ้น
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]ชุมชนเกษตรกรรมเริ่มแรก เป็นวิวัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานช่วงที่สองของเมืองนคร ฯ เริ่มจากชุมชนยุคหินใหม่ที่อาศัยบนที่ราบ ปรากฎชัดขึ้นเมื่อรู้จักใช้เครื่องมือโลหะซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการพัฒนาของชุมชนเกษตรกรรม ทำให้สามารถปลูกข้าวได้มากกว่าเดิม เริ่มตั้งถิ่นฐานถาวร มีการเลือกถิ่นฐานในภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ปรากฎชุมชนโบราณตามแนวสันทราย และที่ราบลุ่มแม่น้ำลำคลอง เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ เป็นต้นมา

    โบราณวัตถุของชุมชนสมัยนี้ นอกจากเครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีเครื่องดนตรีซึ่งน่าจะเกิดจากการขัดแต่งหินจากธรรมชาติที่เคาะแล้วมีเสียงดังกังวาน สันนิษฐานว่า เป็นระนาดหิน มีลักษณะคล้ายขวานหินยาวขัดแต่งจนเรียบร้อย ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้ามยาวมากกว่าด้านกว้าง ๓ - ๖ เท่า ด้วยเหตุที่มีขนาดแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดระดับเสียงแตกต่างกัน ระนาดหินนี้พบที่แหล่งโบราณคดีริมคลองกลายตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา
    นอกจากระนาดหินแล้วยังพบกลองมโหระทึกสำริดในภาคใต้ และเมืองนคร ฯ ๑๒ ใบ แสดงพัฒนาการทางด้านโลหะกรรม และการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ กลองมโหระทึกเป็นวัตถุที่นำมาจากชุมชนภายนอก อาจมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนโพ้นทะเลจากจีน หรือเวียดนามตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๓ เป็นต้นมา

    ชุมชนเมืองท่าและสถานีการค้า นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ เป็นต้นมา ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ และชาวโรมัน ได้เดินเรือมาถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกไกลแล้ว คาบสมุทรมลายูจึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทางเดินเรือ จากฝ่ายตะวันตกอันได้แก่ อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ และโรมัน กับฝ่ายตะวันออกได้แก่ จีน เวียดนาม จามปา และเจนละ เรือสินค้ามักต้องแวะเวียนพักเพื่อขนถ่ายสินค้าหรือหาเสบียงอาหาร ระยะแรกของการเดินเรือนั้นต้องอาศัยการเดินเรือเลียบชายฝั่ง ต่อมาได้อาศัยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ดังนั้นาคาบสมุทรมลายู จึงเป็นจุดเหมาะสมสำหรับเป็นสถานีแวะพัก รวมทั้งรอมรสุมสำหรับเดินทางต่อไป โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนคือ

    - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน นักเดินเรืออาศัยเดินทางจากตะวันตกไปตะวันออก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม นักเดินเรือก็อาศัยเดินทางกลับจากตะวันออกไปตะวันตก

    - จากจุดนี้เรือสินค้าจากตะวันตกเข้าเทียบทางบริเวณฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายู ในแนวเส้นรุ้ง ๗ องศาเหนือ และไม่เกินเส้นรุ้ง ๘ องศาเหนือ บริเวณดังกล่าวอยู่ระห่างจังหวัดตรังไปถึงจังหวัดพังงา จากบริเวณนี้สามารถเดินทางบกข้ามคาบสมุทรมลายูไปทางฝั่งตะวันออกที่พัทลุง เมืองนคร ฯ และบ้านดอน โดยเส้นทางตรัง - พัทลุง หรือเมืองนคร ฯ และตะกั่งป่า - ไชยา - บ้านดอน ซึ่งบริเวณเมืองท่าฝั่งตะวันออก ก็เป็นจุดที่เรือสินค้าจากจีน และจากตะวันออกมาเทียบได้พอดี

    - ช่วงเวลาที่รอมรสุมก็อาจเป็นเวลาซ่อมแซมเรือจัดหาเสบียง เมื่อเตรียมการเสร็จก็เป็นเวลาพอดีกับลมมรสุมเริ่มพัดผ่าน ทำให้เดินทางกลับได้พอดี
    มีหลักฐานสำคัญได้แก่ โบราณวัตถุอันเป็นสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินสี เครื่องประดับ เครื่องแก้ว เศษเครื่องถ้วยชามตลอดจนประติมากรรม รูปเคารพทางศาสนาที่ติดมากับเรือเดินทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ เป็นต้นมา เกิดชุมชนอย่างถาวรบริเวณเมืองท่าชายฝั่งทะเลได้แก่ ตะกั่วป่า พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๒ ส่วนชายฝั่งตะวันออกพบหลักฐานจากศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย อักษรปัลลวะ ภาษาสันสฤกต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๒ แสดงถึงชุมชนของกลุ่มผู้นับถือไศวนิกายในเมืองนคร

    นอกจากกลุ่มพ่อค้าและนักแสวงโชคแล้วกลุ่มนักบวชพราหมณ์ และพระภิกษุในพุทธศาสนาคงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแถบนี้ในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะพบประติมากรรมรูปเคารพในศาสนา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ซึ่งเป็นของที่นำเข้าจากอินเดียโดยตรง และมีประติมากรรมท้องถิ่นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา แสดงถึงการรับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากอินเดีย เช่น พระพุทธรูปศิลปะอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ ปาละ เนะ เทวรูปอิทธิพลปัลลวะ และโจฬะจากอินเดียใต้ เป็นต้น

    ชุมชนเมืองและนครรัฐ การเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อชุมชนในภูมิภาคนี้ ในระยะเริ่มแรกศาสนาพราหมณ์ ดูจะเด่นว่าศาสนาพุทธอยู่เล็กน้อย พราหมณ์จึงเป็นบุคคลที่พึงปรารถนาของชนชั้นปกครอง เพราะเป็นผู้สร้างและรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของเทวราชา ชนชั้นปกครองจึงยกตนให้เหนือกว่าระดับหัวหน้าชุมชนเป็นเทวราชา โดยผ่านแนวความคิดของศาสนาพราหมณ์ชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองหรือนคร

    เอกสารจีนตั้งแต่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๘ ได้กล่าวถึงรัฐต่าง ๆ ในเอเซียตะวันอกเฉียงใต้ เช่น ฟูนัน ลินยี่ พงศาวดารราชวงศ์เหลียงในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ กล่าวถึงอาณาจักรชื่อ ลังกาซุน นักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าคือรัฐลังกาสุกะ อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี มีหลักฐานคือ ซากโบราณสถาน ในเขตอำเภอยะรัง อีกรัฐหนึ่งคือรัฐตันมาลิง จากบันทึกของเฉาจูกัวและหวังด้าหยวน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ ซึ่งก็คือรัฐตามพรลิงค์ หรือเมืองนคร ฯ นั่นเอง

    [SIZE=-1]เมืองนคร ฯ เป็นรัฐที่มีพื้นฐานทางการเกษตร สินค้าพื้นเมืองได้แก่ ข้าว การบูร ไม้หอม (ไม้กฤษณา) ไม้ฝาง ไม้จันทน์ ขี้ผึ้ง งาช้าง เขาสัตว์ หนังสัตว์ และดีบุก เป็นเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ พ.ศ.๑๗๗๓ ตามพรลิงคึ์ได้ประกาศตัวเป็นอิสระ จากหลักฐานจารึกหลักที่ ๒๔ ของพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช แสดงว่า เมืองนคร ฯ ได้ดำรงตนเป็นรัฐอิสระ มีความรุ่งเรืองในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นรัฐเอกราช ในระยะเวลาเดียวกันกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ แห่งกรุงสุโขทัย เป็นรัฐที่มั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีพระมหากษัตริย์ทรงพระนาม พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นอาณาจักรที่มีอิทธิพลครอบคลุมทั้งแหลมมลายู บรรดาบ้านเมืองในอาณาบริเวณนี้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรนครศรีธรรมราช โดยเรียกเมืองหลวงนั้นว่า เมืองสิบสองนักษัตร เมืองนคร ฯ เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดประมาณร้อยปีเศษ ก่อนจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐



    [SIZE=-1]สมัยก่อนประวัติศาสตร์ [/SIZE][SIZE=-1]
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]

    ยุคหิน ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์เก่าที่สุดที่พบในภาคใต้ และเก่าที่สุดในประเทศไทย ตรงกับสมัยทางธรณีวิทยา เรียกว่า ไพลสโตซีน ตอนปลาย
    จาการขุดค้นได้พบหลักฐานสมัยแรก ๆ เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณภาคใต้ในพื้นที่ป่าเขาก่อนพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล
    แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบว่าบริเวณนี้มีการใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะสองแหล่งคือ ที่ถ้ำดาหมื่นยบและถ้ำเขาหลัก

    - ถ้ำตาหมื่นยม ตั้งอยู่ที่บ้านวังเหรียง ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง พบเครื่องมือหินกะเทาะคุมรอบปลายแหลม ด้านบนมีรอยโดนตัดคล้ายกับขวานสั้น ที่เคบพบที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และเศษภาชนะดินเผาสีดำ ลายเชือกทาบ

    - ถ้ำเขาหลัก อยู่ในเขตตำบลสิชล พบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสองหน้า ลักษณะเป็นขวานสั้น มีรอยกะเทาะหยาบ ๆ ทำจากหินควอร์ตไซด์ จำนวนหนึ่งชิ้น พบภาชนะดินเผาประเภทหม้อก้นกลมหนึ่งชิ้น หม้อก้นแบนสามชิ้น รวมกับกระดูกสัตว์ประเภทลิงสองชิ้น

    - จากโบราณวัตถุที่พบสันนิษฐานว่า ถ้ำทั้งสองแห่งนี้มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาพักอาศัย แต่ไม่สามารถกำหนดอายุของแหล่งได้ชัดเจน จากการเปรียบเทียบกับแหล่งอื่นพอกำหนดอายุได้ประมาณ ๖,๕๐๐ - ๔,๒๐๐ ปี
    ยุคหินใหม่ ได้พบแหล่งโบราณคดีเป็นจำนวนมาก พบโบราณวัตถุมากชนิดได้แก่ ขวานหินขัด และภาชนะดินเผา ประเภทหม้อสามขา ซึ่งส่วนใหญ่ได้พบตามแหล่งที่เป็นถ้ำหรือเผิงผา ได้แก่

    - ถ้ำช้าง อยู่ที่เขาสำโรง ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ มีทั้งผิวเรียบ แบบลายเชือกทาบ แบบลายกดทับ และเศษหม้อสามขา
    - ถ้ำเขาโพรงเสือ อยู่ในเขตตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี พบเศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ มีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนหม้อสามขาและขวานหินขัด
    - ถ้ำเทวดางวงช้าง อยู่ในเขตตำบลลานสกา อำเภอลานสกา พบภาชนะดินเผา เศษภาชนะดินเผา ขัดผิวด้านนอกเรียบมัน เนื้อค่อนข้างบาง ได้แก่ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบรูปทรงคล้ายขันน้ำ และขวานหินขัดแบบจงอยปากนก
    - [COLOR=#cc0000]เขาปูน[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ที่วัดเขาปูน ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี พบเสษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบตกแต่งผิวด้วยลายกดทับ ลายเชือกทาบ เป็นชิ้นส่วนของภาชนะ ประเภทหม้อสามขา พบบริเวณยอดเขา[/COLOR]
    [COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]ถ้าเขาหินตก[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ พบลูกปัดเปลือกหอย ลูกปัดทำจากกระดูก เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ หม้อสามขา ขวานหินขัด หินทุบ[/COLOR][/COLOR]
    [SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]หุบเขาลานสกาใน[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลลานสกา อำเภอลานสกา พบขวานหินขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขวานหินขัดมีบ่า[/COLOR][/COLOR] [/SIZE]
    [B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]เขาต่อ[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ที่บ้านเขาแก้ว อำเภอลานสกา พบขวานหินขัดหรือระนาดหิน ขนาดหนา ขัดเรียบ[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]เขาพรง[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล พบขวานหินขัดไม่มีบ่า รูปสี่เหลี่ยมคางหมู[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]ถ้ำพรรณรา[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลพรรณรา กิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา พบเศษภาชนะดินเผาสีดำแดง ลายเชือกทาบ ขวานหินขัด ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]ถ้ำเขาแดง[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลนพพิตำ กิ่งอำเภอนพพิตำ พบหม้อสามขา สภาพเกือบสมบูรณ์[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [B][FONT=MS Sans Serif][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]สำหรับแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ใช้แหล่งถ้ำหรือเพิงผา ได้แก่[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]คลองเขาแก้ว[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ที่หน้าวัดชายเขา ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา พบขวานหินขัดขนาดใหญ่ โครงร่างห้าเหลี่ยม คมแบบจงอยปากนก[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]บ้านในแหนบ[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา พบโกลนโครงร่างละเอียดของขวานหินขัด แต่งพอสมควร[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]ห้วยครกเบือ[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลนาดี อำเภอลานสกา พบขวานหินขัด[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]ตลองคลาย[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา พบขวานหินยาว หรือระนาดหินจำนวนหกชิ้น เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]เชิงเขาคา[/COLOR][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ที่เชิงเขาคาด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]สิชล[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตอำเภอสิชล พบมีดทำจากหินทรายสีเทา มีลักษณะเป็นมีดด้ามงอรูปมนรี ส่วนที่เป็นด้ามตอนปลายโค้งขนานกับส่วนคม ซึ่งคอดเล็กกว่าด้าม สีสันร่องแบ่งระหว่างส่วนคมและส่วนด้ามชัดเจน เหมือนมีดมีด้าม[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]ชุมชนใกล้วัดพระเพรง[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม พบขวานหินขัดขนาดกลาง รูปสี่เหลี่ยมคางหมมู ไม่มีบ่า[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]คลองท่าเรือ[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง พบขวานหินขัดและกำไลหิน[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]วัดหัวมีนา (ร้าง)[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่ในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ พบโกลนขวานหินขัด และสะเก็ดหิน[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]

    [B][FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][SIZE=4][COLOR=#000099]จากโบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ แสดงถึงการกระจายตัวของการตั้งชุมชนมายังบริเวณนี้ พื้นที่ราบเชิงเขา ที่ราบริมน้ำและที่ราบแนวสันทราย โดยมีแม่น้ำลำคลองอันเกิดจากภูเขาทางตอนกลาง ไหลลงสู่ที่ราบทั้งทางด้านตะวันออก และด้านตะวันตก เป็นเส้นทางการเชื่อมโยงการเคลื่อนย้าย และการกระจายตัวของกลุ่มชนกสิกรรม ต่อเนื่องจนเข้าสู่สมัยเริ่มประวัติศาสตร์ ได้กำหนดอายุชุมชนโบราณยุคหินใหม่ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่ามีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ - ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว[/COLOR][/SIZE][/FONT] [/FONT][/B]


    [FONT=MS Sans Serif]
    <CENTER>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][B][IMG]http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/nakhonsithammarat09.jpg[/IMG][/B][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]</CENTER>

    [FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099][COLOR=#cc0000]ยุคโลหะ[/COLOR][COLOR=#000099] ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๓ เป็นช่วงที่ได้รับวัฒนธรรมจากดินแดนภายนอก โดยเริ่มติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเลเช่น จีน อินเดีย และอาหรับ ทำให้ชุมชนพื้นเมืองเดิมเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนในลักษณะใหม่ มีการตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมือง หลักฐานทางโบราณคดีสมัยนี้ที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ โบราณวัตถุที่ทำจากโลหะ ทั้งที่เป็นสำริดและเหล็ก ได้แก่กลองมโหระทึกกับเครื่องมือสำริดและเหล็ก[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]กลองมโหระทึก[/COLOR][COLOR=#000099] เป็นกลองสำริด พบแหล่งผลิตครั้งแรกที่เมืองธันหัว ประเทศเวียดนาม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๐ - ๓๐๐ กลองมโหระทึกที่พบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน สี่ใบคือ[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]

    [B][FONT=MS Sans Serif][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]ใบที่หนึ่ง พบที่บ้านเกียกกาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ ส่วนกลางและฐานหายไป เหลือความสูงเพียง ๓๘ เซนติเมตร ส่วนหน้ามีสภาพสมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๐.๕ เซนติเมตร ตรงกลางมีลวดลายเป็นดวงอาทิตย์สาดแสง จำนวนสิบสองแฉก ระหว่างแฉกมีลวดลายรูปสามเหลี่ยม ฐานโค้งซ้อนกัน ถัดมาเป็นลวดลายคล้าย z แล้วจึงเป็นลายขีดและวงกลมสลับกันไป กลางกลองเป็นรูปนกปากยาวและหางยาวจำนวนหกตัว บินทวนเข็มนาฬิกา แล้วเป็นลวดลายขีดและวงกลมสลับกับไหบริเวณรอบนอกสุด มีประติมากรรมลอยตัวรูปกบ จำนวนสี่ตัว หันหน้าไปทางทิศทวนเข็มนาฬิกา กลองใบนี้มีอายุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [B][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]ใบที่สอง พบที่คลองคุดด้วน ในเขตอำเภอฉวาง เป็นส่วนของหน้ากลอง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๒.๓ เซนติเมตร พบเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]ใบที่สาม พบที่บ้านนากะชะ ตำบลนากะชะ อำเภอฉวาง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]ใบที่สี่ พบที่คลองท่าทูน (บ้านยวนเท่า) ตำบลเทพราช อำเภอสิชล เป็นส่วนของหน้ากลอง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๒ เซนติเมตร ตรงกลางมีลวดลายเป็นดวงอาทิตย์สาดแสงสีสบแฉก ถัดไปเป็นลายขีดและวงกลมสลับกัน แล้วเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีน ที่เชื่อมต่อเนื่องกันไปโดยรอบ บริเวณกลางหน้ากลอง เป็นรูปนกปากและหางยาว[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/B]

    [B][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]กลองมโหระทึกในภาคใต้ ที่พบจนถึงปัจจุบันมีอยู่เก้าใบ พบที่จังหวัดชุมพรสามใบ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีห้าใบ และจังหวัดสงขลาหนึ่งใบ กลองมโหระทึกส่วนใหญ่ในภาคใต้ พบในแหล่งโบราณคดีริมทะเลฝั่งอ่าวไทย แสดงว่าภาคใต้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมยุคโลหะ กับชุมชนโพ้นทะเลจากจีน และเวียดนาม[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/B]

    [B][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]แหล่งโบราณคดียุคโลหะในภาคใต้ยังไม่มีแหล่งใดที่สามารถแบ่งยุคของสำริด และเหล็กออกจากกันได้เด็ดขาด เนื่องจากมีกพบร่วมกัน[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]แหล่งโบราณคดีสำคัญที่มีหลักฐานว่า เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ แหล่งโบราณคดีกลุ่มคลองท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ ซึ่งประกอบด้วย[/COLOR][/FONT] [/SIZE][/B]

    [FONT=MS Sans Serif][B][SIZE=4][COLOR=#000099]- [COLOR=#cc0000]แหล่งโบราณคดีบ้านเกียกกาย[/COLOR][COLOR=#000099] ตำบลท่าเรือ พบเครื่องมือสำริดขนาดเล็ก ขวานเหล็กมีป้องที่สัน คล้ายกับที่พบในแหล่งโบราณคดียุคโลหะที่จังหวัดกาญจนบุรี พบร่วมกับโบราณวัตถุอื่นเช่น ภาชนะดินเผาแบบไหก้นกลม เนื้อหยาบและบางมาก ชายปากบาน ก้นตัด หม้อขนาดเล็กก้นกลม ขวานหินขัด เครื่องประดับต่างหูทองคำ เศษภาชนะดินเผา เนื้อดินเผา เผาด้วยอุณหภูมิต่ำเป็นจำนวนมาก ชั้นดินทางโบราณคดี แสดงกิจกรรมการอยู่อาศัยของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ มีอายุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปี หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑[/COLOR][/COLOR] [/SIZE][/B][/FONT]

    [B][FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=4]- [COLOR=#cc0000]แหล่งโบราณคดีบ้านพังสิงห์ [/COLOR][COLOR=#000099]ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ พบเครื่องมือเหล็กรูปเคียว และ[COLOR=#cc0000]ปะหญ้า[/COLOR][COLOR=#000099] ลักษณะเป็นแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคมด้านหนึ่งคล้ายจอบ เมื่อใช้งานด้ามจะอยู่ในแนวตั้ง ส่วนคมอยู่แนวนอน ด้ามเป็นแท่งเหล็กเรียงคล้ายคางหมู สำหรับเสียบเข้าด้ามไม้ บางท้องถิ่นเรียก [COLOR=#cc0000]ป้ายหญ้า[/COLOR][COLOR=#000099]และ[COLOR=#cc0000]ไตร[/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/FONT][/B][/FONT][/FONT]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  9. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    [​IMG][​IMG]

    พิมพ์นี้คล้ายๆกับที่มีอยู่ เดี๋ยวลองค้นหาดู
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระสังกัจจายน์บุษย์น้ำทอง และบุษย์น้ำผึ้ง...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010394.JPG
      P1010394.JPG
      ขนาดไฟล์:
      237.6 KB
      เปิดดู:
      2,341
    • P1010396.JPG
      P1010396.JPG
      ขนาดไฟล์:
      235.4 KB
      เปิดดู:
      1,698
    • P1010397.JPG
      P1010397.JPG
      ขนาดไฟล์:
      253.8 KB
      เปิดดู:
      1,878
    • P1010398.JPG
      P1010398.JPG
      ขนาดไฟล์:
      247 KB
      เปิดดู:
      1,410
    • P1010399.JPG
      P1010399.JPG
      ขนาดไฟล์:
      262.1 KB
      เปิดดู:
      1,489
    • P1010401.JPG
      P1010401.JPG
      ขนาดไฟล์:
      225.1 KB
      เปิดดู:
      1,599
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระพุทธปางถวายเนตร อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนหลื่อมอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวร ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์


    ความเป็นมา:- หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์ได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข(สุขที่เกิดจากความหลุดพ้น) ณ ใต้ร่มต้นพระศรีมหาโพธิ์ 7 วัน จากนั้นเสด็จไปทรงยืนอยู่กลางแจ้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรงทำอุปหาร คือ ยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน โดยไม่กระพริบพระเนตรเลย เพื่อบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ที่เสด็จมาทรงยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นได้นามว่า"อนิมิสเจดียสถาน"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010354.JPG
      P1010354.JPG
      ขนาดไฟล์:
      255.2 KB
      เปิดดู:
      1,219
    • P1010357.JPG
      P1010357.JPG
      ขนาดไฟล์:
      242.8 KB
      เปิดดู:
      1,352
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระพิมพ์เทริดขนนกนี้มี 2 พุทธลักษณ์คือ แบบขนนก กับทรงคล้ายเครื่องประดับรูปสามเหลี่ยมโค้งแบบทรารวดีครับ

    เทริดขนนก" นั้น เรียกตามลักษณะของ พระเศียรซึ่งประดับมงกุฎ ที่เรียกกันว่า "เทริด" (อ่านว่าเซิด)ส่วนคำว่า "ขนนก" มาจากลักษณะที่เป็นแฉกคล้ายขนนกเสียบเรียงกัน จึงรวมเป็น "เทริดขนนก"

    พระเศียรทรงเทริด ลักษณะเป็นรูปมงกุฎ มีกรอบกระบังหน้าลักษณะคล้ายขนนก ฉลองพระศอแบบสร้อยสังวาล ต้นพระพาหาทั้งสองข้างประดับพาหุรัด

    พระเทริดมักพบในพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ศิลปะลพบุรี พระพักตร์เป็นเหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง ฯลฯ เหล่านี้คือศิลปะในสมัยนั้น แต่พิมพ์นี้มีลักษณะที่แตกต่าง แต่พระพักตร์ออกไปทางสุโขทัย จึงสัณนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระสร้างจัดสร้างในสมัยสุโขทัย คือพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐


    ส่วนของเทริดขนนกนี้เปราะมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2010
  13. SERAPHIM

    SERAPHIM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +884
    ลองแลกเปลี่ยนกันชมบ้างนะครับ
    ภาพที่โพสให้ดูนี้ เปนของสร้างยุคหลัง ไม่ถึงยุคนะครับ
    ลองดูตัวอย่างครับ

    พระที่สร้างในยุคหลัง ไม่เกิน๕๐ปีเหล่านี้ โดยส่วนมากในปัจจุบัน
    มักมีที่แกะจากก้อนแก้วหล่อสำเร็จจากญี่ปุ่น และพวกแก้วรัสเซีย
    ซึ่งใช้ทำพวกคริสตัลนั่นแหละครับ ลองดูเอานะครับ
    แต่ว่าถ้านำไปให้ครูบาอาจารย์อธิษฐานจิตบรรจุพุทธคุณแล้ว ก็ไม่เปนไรหรอกครับ
    สำเร็จเปนพุทธปฏิมาแทนองค์ศาสดาแล้ว มิควรปรามาสครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001 (4).jpg
      001 (4).jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.9 KB
      เปิดดู:
      19,223
    • buddha77f.jpg
      buddha77f.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139.8 KB
      เปิดดู:
      1,124
    • p277_17_8.jpg
      p277_17_8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.1 KB
      เปิดดู:
      1,326
    • Pic_429_1.jpg
      Pic_429_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.9 KB
      เปิดดู:
      1,434
    • Pic_6807_0.jpg
      Pic_6807_0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133 KB
      เปิดดู:
      2,301
    • Pic_22471_1.jpg
      Pic_22471_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.8 KB
      เปิดดู:
      4,053
  14. SERAPHIM

    SERAPHIM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +884
    คราวนี้มาลองดูองค์ครูที่ว่าถึงยุคกันบ้างะครับ
    ชมกันในแง่ศิลปะแล้วกันครับ

    ปล.ยืมภาพท่านอื่นมานะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    จะรับข้าวหนียวส้มตำด้วยมั๊ยครับ(b-oneeye)
     
  17. triangle-w

    triangle-w เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    3,417
    ค่าพลัง:
    +21,412
    ของโบราณทำได้สวยมากครับ พุทธคุณดีสมคำร่ำลือครับ
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สวยงามมากครับ...(verygood)
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    มานั่งปูเสื่อรอชมต่อครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอเป็นชาร้อน กับข้าวโพดคั่วดีกว่าครับลุงเม้า

    .
     
  20. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +3,165
    เคยเห็นเหมือนกันแต่ส่วนใหญ่ปลอม
     

แชร์หน้านี้

Loading...