ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย <Q>, 19 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อรรถกถานกุลปิตุสูตร

    การเห็นด้วยจักษุและการเห็นด้วยญาณ


     
  2. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้น

    ที่พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบ

    ว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความ

    เป็นพระอริยะ.

    ของคำอธิบายประโยคนี้ ให้ผู้ยังโง่อยู่ผู้นี้ให้ได้ รู้ ด้วยครับ
     
  3. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    สิ่งที่กล่าวยกมานี้ คือความเป็นจริง ที่อยู่พ้นบัญญัติ แห่งความคิดออกไป ใช่หรือไม่

    หรือมันเป็น ความว่างที่แท้ หรืออาจจะ เรียกว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง แค่นั้นเอง ใช่หรือไม่

    สิ่งนี้ไม่สามารถบรรยายด้วยคำพูดหรือความคิดแต่เป็นสิ่งที่รับรู้จากประสบการ์ณโดยตรง ใช่หรือไม่ ครับ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนิจจังลักษณะ เป็น ลักษณะความไม่เที่ยงครับ

    ขึ้นชื่อว่าลักษณะ เป็น ปรมัตถ์ล้วนๆ

    คือเห็นสภาพธรรม โดยความเป็นลักษณะ ด้วยปัญญาญาณ

    คำว่า จักษุในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตาเนื่อ แต่เป็นตาปัญญา


    สรุปว่า พระอริยะล้วนพิจารณาเห็นธรรมแล้วด้วยปัญญา

    ว่าจิต เจตสิก รูป เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง อนัตตา เหมือนกันหมดทุกท่าน

    เพราะฉนั้น แม้ผู้ที่เห็นสภาพธรรมมากมาย แต่ไม่เห็นความไม่เที่ยงโดยปรมัตถ์สัจจะ

    ย่อมไม่กล่าวว่าผู้นั้นเห็นธรรมของพระอริยะ

    ย่อมไม่กล่าวว่าผู้นั้นรู้ธรรมที่พระอริยะวางได้แล้ว

    ย่อมไม่กล่าวว่าผู้นั้นถึงความเป็นอริยะบุคคล
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    สรุป อย่างนี้ เดี๋ยว พี่หลง ก้ โดน ถล่ม อีกหรอก พี่!!! สรุป ซะ แค้บ แคบ:cool:
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ใช่ครับ ความคิดเป็นสมมุตติ

    สมมุตติ รู้ สมมุตติ ได้สมมุตติ

    ปรมัตถ์ รู้ ปรมัต์ ได้ปรมัตถ์


    ตอบ เรื่องความว่าง

    ใช่ครับ ที่จริงมันไม่ได้ว่างอะไร ธรรมชาติก็ทำหน้าที่ต่อไป

    แต่ปัญญามันรู้แล้ว ว่าธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้น


    ตอบ เรื่องบรรยาย

    มันเป็นปรมัตถ์ ที่ไปรู้ปรมัตถ์ มันไม่มีอะไรต้องพูด ไม่ใช่รู้เฉย แต่รู้แล้วเข้าใจ

    ที่พูดได้เพราะสัญญา
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะให้ขยาย มันก็มาม่า

    ที่จริงตั้งใจตอบไม่ให้เกิด ๓ บรรทัด

    เข้าใจหน่อยสิ ผมมัน แค้บ แคบ พูดมากไม่ดีหรอก
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มีอะไรข้องใจไหม แพทริก

    ถ้าไม่มี วันนี้ขอตัว ^^
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขยายประโยคนี่หน่อย

    คำว่าเมื่อไม่บรรลุ ก็ ไม่เห็นพระอริยะนั้น

    ไม่ได้หมายถึง ว่าไปเห็นพระอริยะรูปใด ที่ไหน หรือท่านใดมาปรากฏตัวการรันตรีว่า เจ้าเป็นอริยะแล้วนะ

    แต่หมายถึง อริยะในตัวเรา ความเป็นอริยะโดยภูมิ ที่รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมพระอริยะ ^^
     
  10. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    เกี่ยวกับ คำว่า เพราะสัญญา ที่พื่หลง ยกมา

    เมื่อก่อนผมมีความเข้าใจว่ามันเป็นกองทุกข์ กองหนึ่ง
    แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไปเพราะในดีมันมีเสีย ในเสียก็ยอมต้องมีดีเช่นกัน และมันก็คือ ลักษณะหนึ่งที่สามารถ
    นำมาใช่ให้เกิดประโยชณ์ได้ ต่อตนเองและผู้อื่นนี่เอง

    คำว่าสัญญานั้น มันไม่จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด แต่เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ด้วยความ
    เป็นเช่นนั้นเอง คือมันเป็นอย่างนั้นเอง

    กรรม คือการกระทำทาง กาย วาจา และใจ เราเป็นผู้รับรู้ผู้รู้สึกดังนั้น
    กรรมเราต้องเป็นผู้กำหนดเอง อย่างให้ใครคนอื่นมากำหนดชะตากรรมแทนเรา
    ดังนี้

    ความเป็นเช่นนั้นเองนี้มันคือความแน่นอนใช่หรือไม่ครับ
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แยกประโยคนี้ก่อน โดยขออนุญาติเรียงใหม่ดังนี้

    แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุที่พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ อันนี้คือ กริยาเห็น

    ส่วน ญาณสัมปยุตที่เป็น ส่วนประกอบของการเห็น อาธิเช่น อนิจจลักษณะ

    ทีนี้ การคัดลอกมีการตัดทอน เพื่อให้ ภิกษุใช้ ญาณแล่นไปแทน (เป็น
    เทคนิคการ ส่งอารมณ์อย่างหนึ่งทางฝ่ายปริยัติ หาก ชำนาญอย่างพระ
    อานนท์ พอเห็นคำว่า อนิจจลักษณ์เป็นต้น ตรงคำว่า เป็นต้น จะระเบิด
    ทิฏฐิปุตตะแล่นไปเป็นจำนวน 20000 แต่ทว่า มันไม่ได้มีมากขนาดนั้น

    ดังนั้น เป็นต้น ก็จะขยายเป็น อนัตตาลักษณะ หาสะลักษณ์ อรรถลักษณะ
    กิจจลักษณะ นิรุตติลักษระ จำไม่ได้แล้ว รู้สึกว่าจะไม่เกิน 500 ประเภท

    ซึ่งการแล่นไปรู้ จะเกิดเพียงเสี้ยววินาที จิตจะรู้อรรถ และ ธรรม เป็น
    จำนวนมาก แต่ จะหยิบจับเป็น บัญญัติตัวไหนมากล่าว ขึ้นกับ สัมมาวาจา
    ซึ่งพอหยิบแล้ว ก็จะเกิดเป็นอาการ นิรุตติ ให้ทราบ

    แต่ถ้า ไม่เห็นกริยาจิตแล่นไปใน ทิฏฐิเลย แต่ หยิบจับเอาสุ่มสี่สุ่มห้า อันนี้
    ก็ไม่ถือว่า มีนิรุตติ เป็นเพียง เดาสุ่มส่งสวดเท่านั้น

    อันนี้ไม่มีอะไรมาก แค่ เป็นการกล่าวถึง "ปัจจเวกขณญาณ" ที่จะมี
    ตามธรรมนิยาม 4 รอบ เห็นรอบใดรอบหนึ่งถือว่า เห็นความเป็นพระอริยะ
    ที่เรียกว่า วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตัวเอง

    * * * *

    อาการ เดาสุ่มส่งสวด คืออะไร หากเคยสวดมนต์ แบบเดี่ยว เราจะ
    เห็นเป็น อาการเปล่งเสียงออกไปแต่มันงงๆอยู่ว่าใช้เสียงนี้ไหม แต่
    เนื่องจากไม่มีใครได้ยิน หรือ ต้องการอำพรางการเห็น ก็จะ งึมๆงำๆ
    แล้วปล่อยผ่าน อย่างนี้คือ เดาสุ่มส่งสวด

    มันจะเหมือนระลึกได้ เหมือนจิตมันแล่นไปในคำ แต่ไม่ถึง สุดท้ายก็
    หยิบสภาพธรรมแปลกๆแทนไปก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ธรรมขันธ์ ไม่ใช่ สัญญาขันธ์

    สัญญาขันธ์ จะเกิด ต้องมีเหตุปัจจัย ที่เป็นรูป-นาม หากพิจารณาลงลึกๆ
    รูป-นาม เหล่านั้น จะมีอาการ จับต้องได้ หรือ ปรากฏเป็น ธาตุ

    แต่

    ธรรมขันธ์ ไม่มี เหตุปัจจัย ให้เกิด มันพรึบออกมาเป็นจำนวนมากได้
    โดยไม่ต้องอาศัยผัสสะเป็นตัวล่อ หากพิจารณาลงลึกๆ จะไม่เห็นว่ามี
    รูป-นาม ใดๆเป็น อิมเมจ เป็นตัวกระตุ้น

    ภาษาชาวบ้านที่พบบ่อยคือ "มันออกมาจากความว่าง" "มันไม่ได้ออก
    มาจากขันธ์5" "มันออกมาจากจิต"

    ภาษาพุทธวันจะคือ "ออกมาโดยการกำหนดสมาธิ"

    เหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงเป็น เจ้าของธรรมโดยดุษฏี สาวกไม่อาจทำได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สัญญา มันเป็น ลักษณะกลางๆครับ

    เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้

    สัญญานั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นความคิด เรื่องราวเสมอไป

    บางทีแค่ตากระทบรูป สัญญาเกิด สติเกิด ระลึกได้ในธรรมที่ปรากฏอยู่ก็ได้


    ตอบเรื่องกำหนดกรรม

    ใช่ครับ เมื่อรู้ว่าทุกอย่างเกิดจากปัจจัยแล้วไซร้ ไม่มีสิ่งใดเกิดลอยๆ ไม่มีสิ่งใดบันดาน

    การสร้างปัจจัยดีย่อมควรแก่เหตุที่ดีแล้วครับ

    ส่วนความเป็นเช่นนั้นเอง ถ้าหมายถึงธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้นเอง

    ก็ตอบว่าใช่ครับ
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    .....................เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุและการเห็นด้วยญาณ (ปัญญา)
    ก็ชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

    ดูก่อน วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้.
    ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.

    เพราะฉะนั้น
    แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุ ไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ
    และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ
    เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ.


    ..
    บรรลุธรรม อาจจะหมายถึงเข้าใจ(เห็นธรรมหรือเข้าถึงธรรม) ก็ได้
    ไม่บรรลุธรรม ไม่เห็นธรรม ก็ไม่เข้าใจธรรมหรือกว้างไปถึงไม่เข้าถึงธรรม


    โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [วักกลิสูตร]


     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สาธุนะ อาหลง
    ถ้าตีความว่าบรรลุธรม คือ โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ก็ชัดเจนดี

    โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้
    ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า
    ไม่เห็นธรรมกาย ฯลฯ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.


    แต่ลองทำตรงข้างล่างนี้ให้ชัดเจนอีกหน่อย อนุโมทนาจ๊ะ
    แล้วจะมาใหม่ เพราะยุ่งอยู่
    (อันนี้ยกเอามาเทียบด้วย..
    เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุ ไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ.)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คำว่า แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุ

    แปลว่า เห็นด้วยปัญญาดุจตาเห็น มิใช่ เห็นธรรมด้วยตาเนื้อ


    คำว่า ไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้น ไม่บรรลุธรรม ไม่เห็นธรรม และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ

    นี่ต้องรู้ว่า อะไรบ้างที่เป็นลักษณะ

    ก็ลักษณะนี้ มีลักษณะเฉพาะตัว หรือ ปัจตังลักษณะ

    และ สามัญลักษณะ เป็นลักษณะของไตรลักษณ์

    จะรู้อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะได้นั้น

    ต้องรู้ลงที่รูปนาม รู้ลงลักษณะของธรรมนั้นๆ เพื่อกำหนดรู้ทุกขลักษณะ ในทุกขสภาวะ

    ทุกขสภาวะเกิดเมื่อไร เหตุทุกข์เหตุทุกข์เกิดแล้ว

    ก็อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ มีอยู่ให้ทุกขสภาวะ

    ปัญญาเข้าเป็นเห็นตรงนี้ เห็นความแตกฆนะ สัญญา ความแปร ความไม่เที่ยง ความเป็นปัจจัย ความไม่ใช่คนสัตว์โดยอริยะสัจ

    นี้เรียกว่า ผู้มีปัญญาเห็นธรรม


    ก็ธรรมนี้ เป็นการเห็นถูกต้อง เห็นคลายทิฏฐิ เห็นของงามเป็นของไม่งาม เห็นของเที่ยงเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ

    นั้นแล ธรรมกาย กายคือธรรม

    กายในที่นี้ นามกาย และ รูปกาย


    พระอริยะเบื้องต้นขึ้นไปล้วนประจักษ์ธรรมนี้ ด้วยตาปัญญา

    จึงกล่าวว่า เมื่อเห็นธรรม ย่อมเห็นพระอริยะ

    พระอริยะนี้ ก็คือ ผู้เห็นถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาชี้อะไร

    เพราะตนรู้ด้วยตน ธรรมนั้นก็อยู่ในนี้ รู้ธรรมก็รู้อยู่ในนี้ พระอริยะทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

    ล้วนเห็นสิ่งนี้ เมื่อพุทธองค์เป็นผู้ชี้ เพราะประจักษ์มาก่อน

    จึงกล่าวว่า พุทธองค์มี พระธรรมมี พระอริยะสาวกมี

    หรือ ธรรมมี ผู้ชี้ธรรมมี ผู้เห็นธรรมย่อมมี

    นั้นแล ปัญญาญาณ คือ อริยะทรัพย์


    ไม่รู้ว่าตอบตรงคำถามรึเปล่า ^^
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไม่มีอะไรหรอกพอดีสะดุดข้อความนี้

    โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็นธรรมกาย ฯลฯ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.

    ก็เลยคิดไปไกล(ก็ไม่รู้คิดเหมือนกันไหม)
    ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา จะหมายถึงความไม่มีตัวตน
    เพราะเห็นธรรมนี้เองคือเห็นพระพุทธองค์(ธรรมไม่ใช่พระธรรม)
    (วักกลิสูตร)
    ..พ. อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ
    ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ
    เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เธอจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ว. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    ว. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ว. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    ว. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอน ท่านพระวักกลิ ด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ทรงลุก
    จากอาสนะ เสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ.

    (อันนี้ยกเอามาเทียบด้วย..
    เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุ ไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ.)

    ...ที่นี้มันก็กลับมาว่า
    เรารู้ไหมว่าใครเป็นพระพุทธเจ้า ใครเป็นพระอริยะ
    ช่วงนี้ยุ่ง .... เดี๋ยวจะไปคิดต่อนะ.....

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ หลงเข้ามา [​IMG]
    คำว่าเมื่อไม่บรรลุ ก็ ไม่เห็นพระอริยะนั้น
    ไม่ได้หมายถึง ว่าไปเห็นพระอริยะรูปใด ที่ไหน หรือท่านใดมาปรากฏตัวการรันตรีว่า เจ้าเป็นอริยะแล้วนะ
    แต่หมายถึง อริยะในตัวเรา ความเป็นอริยะโดยภูมิ ที่รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมพระอริยะ ^^

     
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ..หากเราเห็นว่าใครคือพระพุทธเจ้าโดยรูปโดยขันธ์ห้า ยังชื่อว่าไม่เห็น
    เราเห็นว่าใครเป็นพระอริยะโดยรูปโดยขันธ์ห้า ยังชื่อว่าไม่เห็น

    หากเราเห็นพระพุทธเจ้าโดยธรรม เห็นพระอริยะโดยธรรม (คือเราเข้าถึงธรรม)
    แล้วจะเห็นว่า ใครเป็นพระพุทธเจ้าใครเป็นพระอริยะโดยธรรมของท่านไหม
    การเห็นโดยสมมุตินี้ ถือว่าอย่างไร

    ของอาหลงก็น่าสนใจ
    ส่วนคุณเพื่อนให้ความเห็นว่า เห็นทั้งตา และเห็นทั้งธรรม
    เห็นโดยจักษุ และรู้ชัดในธรรมนั้น ก็แปลกดี
    (คือคนนี้ชอบตอบทันควันเสมอ) แต่เรายังคิดอยู่
     
  20. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ เจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะ ไม่ใช่ พระพุทธเจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...