เรื่องเด่น ประเภทของกฐิน

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 30 กันยายน 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,601
    ค่าพลัง:
    +26,453
    007.jpg

    ประเภทของกฐิน


    ในส่วนของกฐินนั้นเป็นบุญสังฆทานและเป็นบุญพิเศษ เพราะว่าจำกัดด้วยเวลา ปีหนึ่งมีเวลาทำได้แค่ ๒๙ วันเท่านั้น จึงมีอานิสงส์มากเป็นพิเศษ

    สำหรับกฐินหลวงนั้นมีทั้งกฐินต้น คือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดด้วยพระองค์เอง มีกฐินพระราชทานที่พระองค์ท่านพระราชทานผ้าให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปทอดแทน

    ในส่วนของกฐินราษฎร์นั้นมีจุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องเตรียมการให้เสร็จภายในวันเดียว โดยเก็บฝ้าย ดีดฝ้าย ปั่นด้าย ทอและย้อม ตัดเย็บเป็นจีวรหรือสบงผืนใดผืนหนึ่ง ซึ่งจุลกฐินนี้แสดงออกซึ่งความสามัคคีในหมู่ศาสนิกชน ต้องใช้กำลังคนมากเป็นพิเศษ คนปั่นด้ายและคนทอแต่ละคนต้องมีความคล่องตัวมาก ชนิดที่ว่าอย่างน้อย ๆ ระยะเวลาครึ่งวันต้องทอผ้าได้ประมาณ ๒ ศอก เมื่อคนเป็นจำนวนมากช่วยกันทอผ้าได้คนละ ๒ ศอกแล้ว จึงนำมาตัดเย็บเป็นผ้าจีวร ผ้าจีวรนั้นจะประกอบขึ้นมาจากผ้าหลายชิ้นรวมกัน แล้วจึงถวายเป็นผ้ากฐินให้พระสงฆ์กรานและอนุโมทนาในวันนั้น

    จุลกฐินปัจจุบันนี้หายากแล้ว ในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่ถึง ๑๐ แห่งที่ยังทำอยู่ เพื่อนของอาตมาคือ พระครูภัทรกิจพิศาล วัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ยังทำอยู่เป็นประจำ เพราะว่าแถววัดไผ่หูช้างนั้นมีชาวไทยทรงดำ หรือเรียกว่าลาวโซ่ง อยู่มาก ท่านทั้งหลายเหล่านี้มีพรสวรรค์พิเศษในการทอผ้า ยังสืบทอดกันอยู่โดยไม่ได้ทอดทิ้ง เมื่อท่านทั้งหลายเหล่านี้สามารถที่จะทอผ้าได้เก่งก็สามารถที่จะจัดจุลกฐินได้ แต่ว่าจุลกฐินของวัดไผ่หูช้างนั้น ทอดด้วยผ้าสบง ๑ ผืน แต่เป็นสบงที่ถูกต้องตามพุทธานุญาต คือ ประกอบขึ้นมาจากผ้าหลายชิ้น ถ้าทอเป็นจีวรกลัวว่าจะเสร็จไม่ทัน กฐินหลวงบางแห่งก็ถวายเป็นผ้าขาว แล้วให้ไปย้อมเพื่อทำเป็นผ้ากฐินในวันนั้น

    ส่วนกฐินราษฎร์อีกแบบหนึ่ง ก็คือ กฐินสามัคคี อย่างที่พวกเราทำกัน บางท่านก็เรียกเป็นมหากฐิน

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม ดร.
    เก็บตกงานกฐิน ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒


    ที่มา https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=6736
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...