ประวัติศาสตร์ของพระธรรมคำสั่งสอนในศาสนาพุทธ ที่ควรรู้

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 16 มิถุนายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พระไตรปิฎก

    <DD>เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ

    1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
    2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
    3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ

    ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
    [SIZE=+1] 1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป[/SIZE]
    [SIZE=+1] 2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง[/SIZE]
    [SIZE=+1] 3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่[/SIZE]
    [SIZE=+1] 4. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ[/SIZE]
    [SIZE=+1] ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น[/SIZE]
    [SIZE=+1] ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์[/SIZE]
    [SIZE=+1] ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้[/SIZE]
    [SIZE=+1] ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน[/SIZE]
    [SIZE=+1] ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ[/SIZE]
    [SIZE=+1] 5. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก[/SIZE]
    [SIZE=+1] 6. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า[/SIZE] </DD><DD>การสังคายนาพระไตรปิฎก
    [SIZE=+2]</DD><DD>[/SIZE][SIZE=+1]พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว[/SIZE]
    [SIZE=+1] ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง[/SIZE]
    [SIZE=+1]<DD>การสังคายนาครั้งที่ 1[SIZE=+1] กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก[/SIZE]
    [SIZE=+1]<DD>การสังคายนาครั้งที่ 2 กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก[/SIZE]
    [SIZE=+1]<DD>การสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา[/SIZE]
    [SIZE=+1]<DD>การสังคายนาครั้งที่ 4 กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท[/SIZE]
    [/SIZE]การนับสังคายนาของไทย </DD><DD>ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. 238, พ.ศ. 433, พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587 [SIZE=+1]รวมกันเป็น 7 ครั้ง[/SIZE] <DD>[SIZE=+1]การสังคายนาครั้งที่ 8[/SIZE] ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช
    [SIZE=+1]แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย[/SIZE]
    <DD>[SIZE=+1]การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย[/SIZE] </DD><DD>
    กำเนิดและวิวัฒนาการของมหายาน ระหว่าง การสังคายนาครั้งที่ 4</DD><DD>

    ความจริงเค้าของการแตกแยกออกเป็น ๒ นิกาย เริ่มมีมาตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพานเป็นต้นมา เพราะพระปุราณะไม่ยอมรับผลการสังคายนา โดยพระมหากัสสปเถระที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา และได้แยกตัวออกมาทำสังคายนาต่างหาก แต่นักปราชญทั้งหลายเชื่อว่าพุทธศาสนา ได้เกิดการแบ่งแยกนิกายต่าง ๆ ถึง ๑๘ นิกายหรือมากกว่านั้นในพุทธศตวรรษที่ ๒ ส่วนมากเป็นนิกายเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีบทบาทนัก นิกายที่ได้รับความนับถือและมีอิทธิพลมากที่สุดในระยะ ๕ ทศวรรษแรกได้แก่ เถรวาท ซึ่งยึดถือตามมติปฐมสังคายนาเป็นหลักสำคัญ และนิกายนี้เองยังได้แตกแยกออกเป็นนิกายเล็ก ๆ อีก ๑๒ นิกาย
    ดังนั้นการศึกษาหลักธรรมที่สำคัญที่สุดจึงสามารถค้นหาได้จากคัมภีร์เภทธรรมมติศาสตร์ในฝ่ายสันสกฤตและกถาวัตถุของฝ่ายบาลี ซึ่งเป็นหลักธรรมของฝ่ายสาวกยานหรือนิกายเถรวาท ส่วนนิกายต่าง ๆ ที่แตกแยกออกจากนิกายเถรวาท เราไม่สามารถหาหลักฐานได้อย่างสมบูรณ์เพียงพอ นิกายอื่น ๆ ที่พอจะค้นคว้าหาหลักธรรมได้อย่างละเอียดพอสมควรคือ นิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งส่วนใหญ่คณาจารย์จีนได้แปลจากสันสกฤตและบาลีเป็นภาษาจีนและธิเบต หลักธรรมของนิกายสรวาสติวาทิน เราสามารถได้จากนิกายมหายานเพราะได้รวมหลักธรรมที่สำคัญของนิกายสรวาทินติวาทินอยู่ด้วย นิกายนอกจากที่กล่าวมานั้น ปรากฏว่ามีหลักฐานหลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมาก แม้แต่นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งนับเป็นนิกายหลักของพุทธศาสนาในศตวรรษต้น ๆ ก็มีหลักฐานตกมาถึงปัจจุบันน้อยมากจนไม่สามารถยึดถือเป็นหลักสำคัญได้ แต่นิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แตกฉานแยกออกไป มีบทบาทสำคัญมากในการกำเนิดพุทธศาสนานิกายมหายานขึ้น ในสมัยต่อมาลัทธิมหายานเป็นลัทธิอิสระ และได้เป็นที่รวมหลักธรรมสำคัญ ๆ ของทุกๆ นิกายในพุทธศาสนา จึงนับได้ว่านิกายมหายานเป็นขุมกำลังที่สำคัญมากของพุทธศาสนา

    เมื่อย้อนหลังไปดูเหตุการณ์ที่เป็นบ่อเกิดของมหายานนั้น เราก็พอจะทราบความเป็นมาของพุทธศาสนาในยุคต้นพอสมควร คือในระหว่างสมัยที่พวกกุษาณะกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในอินเดียภาคเหนือ และพวกอันธระกำลังเสวยอำนาจ ณ อินเดียภาคทักษิณ (ใต้) ราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ในสมัยดังกล่าว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในพุทธศาสนา นั้นคือการถือกำเนิดของลัทธินิกายใหม่ นิกายนี้เรียกตัวเองว่า "มหายาน" การปรากฏขึ้นของมหายาน นับว่าเป็นวิวัฒนาการการปฏิรูปประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ปัจจุบันนิกายนี้สามารถครองใจประชาชนหลายร้อยล้านคนในจีน ญี่ปุ่น ธิเบต มองโกเลีย เวียดนาม เกาหลี ดังที่เราทราบกันในปัจจุบัน
    สาเหตุที่ทำให้เกิดนิกายมหายานนั้นมีหลายประเด็น แต่พบสรุปย่อ ๆ ดังต่อไปนี้
    </DD><DD>-มหายานเกิดจากบางนิกายใน ๑๘ นิกาย
    ต่างนิกาย ต่างมีอุดมคติทัศนะทางหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่ผิดแผกแตกต่างกันออกไปมากบ้างน้อยบ้าง และต่างนิกายต่างก็มีศูนย์กลางของนิกาย นิกายทั้ง ๑๘ มีดังต่อไปนี้ ๑. นิกายสถวีรวาท ๒. นิกายมหาสังฆิกวาท ๓.นิกายเอกัพโยหาริกาวาท ๔.นิกายโลกุตตรวาทิน ๕.นิกายโคกุลิกวาท ๖. นิกายพหุสสุติวาท ๗. นิกายปัญญัติวาท ๘. นิกายมหิสาสิกวาท ๙.นิกายวัชชีบุตร ๑๐.นิกายสรวาสติวาทิน ๑๑. นิกายธรรมคุปตะ ๑๒. นิกายกัสสปิกวาท ๑๓. นิกายเสาตรนติกะ ๑๔. นิกายเจติวาท ๑๕. นิกายสมิติยวาท ๑๖. นิกายเหมวันตะ ๑๗. นิกายสุตตวาท ๑๘. นิกายอันธกะ
    เหล่านี้ต่อมาแตกเพิ่มออกเป็น ๒๒ นิกาย คือ ๑๙. นิกายปรเสลิยะและอุตตรเสลิยะ ๒๐. นิกายอุตตรปถะ ๒๑. นิกายวิภัชชวาทิน ๒๒. นิกายเวตุลลลกะ ต่อมาบางนิกายย่อยก็ได้พัฒนาการมาเป็นมหายานโดยเฉพาะนิกายมหาสังฆิกะ และบางส่วนก็ยังคงเป็นเถรวาทหรือหินยานเช่นเดิม


    - มหายานเกิดจากพระบุคลิกภาพของพระพุทธองค์
    ในหลักธรรมของนิกายมหาสังฆิกะ จะเห็นได้ว่าทัศนะต่อพระบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดาในส่วนโลกุตตรภาพ แตกต่างจากนิกายเถรวาท ขณะที่ฝ่ายเถรวาทถือว่าพระวรกายเปรียบเหมือนกับสามัญชนทั่วไปย่อมเสื่อมไปเพราะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมแตกดับในที่สุด แต่ที่ไม่ดับคือพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แต่มหาสังฆิกะเห็นว่าพระบุคลิกภาพและชนม์ชีพจะแตกดับลงในอนุปาทิเสสนิพพานนั้น ยังไม่ได้เสียแรงที่พระองค์เป็นอภิบุรุษที่สร้างบารมีมานับอสงไขย จะมาดับสูญโดยไม่เหลืออะไรไม่ได้ พวกเขาถือว่าภาวะของพระพุทธองค์ทั้งนามและรูปเป็นโลกุตตระ พระชนม์ชีพยังยั่งยืนไม่มีขอบเขต สิ่งที่แตกดับเป็นเพียงมายาธรรมเท่านั้น ความคิดเช่นนี้เองที่ก่อให้เกิดลัทธิมหายาน พวกเขาเห็นตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธองค์เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ที่ซาบซึ้งจึงนำเอาโพธิจริยาทั้ง ๑๐ ทัศนั้นมาประกาศเป็นพิเศษและตั้งอุดมคติที่จะให้มุ่งสำเร็จสัพพัญญุตญาณ มีโอกาสสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์และไม่พอใจในการบรรลุพระอรหันต์ เพราะถือว่าคับแคบเฉพาะตน


    -มหายานเกิดจากแรงดันของศาสนาพราหมณ์
    ในเมื่อพระองค์ตรัสรู้ และอยู่ระหว่าง การเผยแพร่พุทธศาสนานั้นหลักธรรมของพระองค์สามารถพิชิตใจของปวงชนได้ เนื่องจากคำสอนที่ประกอบด้วยเหตุผลที่เป็นความจริง ดังนั้นพุทธศาสนาจึงแพร่หลายไปในหมู่ชนทุกชั้นอย่างรวดเร็ว เร็วจนลัทธิอื่น ๆ คาดไม่ถึง ลัทธิเหล่านั้นถึงกับเกิดความเสื่อมโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ คณาจารย์ลัทธิพราหมณ์พยายามล้มพุทธศาสนาแต่ไม่สำเร็จ จนมาถึงยุคพระเจ้าอโศกมหาราชพระองค์ทำนุบำรุงพุทธศาสนาจนเจริญอย่างสุดขีด สร้างความเจ็บแค้นในใจแก่พวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก จนโอกาสมาถึงเมื่อยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชผ่านพ้นไป พราหมณ์ชื่อสุงคะยึดอำนาจได้ จึงเริ่มทำลายพุทธศาสนาอย่างขนานใหญ่ ส่วนศาสนาพราหมณ์นั้นก็เริ่มปรับปรุงตัวอย่างขนานใหญ่แต่งมหากาพย์ขึ้นมา ๒ เรื่องคือมหภารตะและรามายณะหรือรามเกียรติเป็นที่นิยมชมชอบมากที่สุด พราหมณ์ยังเลียนแบบฝ่ายพุทธที่มีไตรสรณคมน์ ๓ ประการ จึงสร้างตรีมูรติขึ้นบ้าง คือรวมพระเจ้า ๓ องค์ เข้าไป คือพระพรหม พระศิวะและนารายณ์เป็นที่พึ่งสูงสุด ฝ่ายพุทธมีสังฆาราม เป็นที่อยู่อาศัย ฝ่ายพราหมณ์ก็สร้างสังฆารามขึ้นมาบ้าง ฝ่ายพุทธจาริกแสวงบุญตามสังเวชนียสถาน ฝ่ายพราหมณ์ก็สร้างแหล่งจาริกแสวงบุญเช่นกัน การปรับปรุงของฝ่ายพราหมณ์ครั้งนี้ นับว่าได้ผลมาก ทำให้อิทธิพลขยายไปทั่วชมพูทวีป เมื่อสถานการณ์เช่นนี้ คณาจารย์ฝ่ายพุทธไม่สามารถนิ่งดูดายได้จึงปฏิรูปการเผยแพร่พุทธศาสนาเพื่อแข่งกันศาสนาพราหมณ์ โดยปฏิรูป ๒ แนวคือ ก.แนวแห่งบุคลาธิษฐาน ข.ปฏิรูปตามแนวแห่งธรรมาธิษฐาน

    -มหายานเกิดจากพุทธบริษัท
    เนื่องจากการปฏิรูปลัทธิธรรมดังกล่าว แม้จะเกิดจากพระเถระจาก ๑๘ นิกายก็จริงอยู่ พระเถระเหล่านี้หนักไปในทางการศึกษาปรัชญา ส่วนผู้ที่ปฏิรูปทั้งทางด้านธรรมาธิษฐานและปุคลาธิษฐานคือพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์โดยเฉพาะหนุ่มสาว คณะพุทธบริษัทเหล่านี้พยายามเผยแพร่ศาสนาตามสังคมด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดและสะดวกกว่าพระสงฆ์ เพราะย่อมเคร่งครัดสมณสารูป สามารถเผยแพร่ธรรมได้ทุกกาละเทศะ และคนเหล่านี้ก็ปรารถนาโพธิญาณเช่นกัน

    แนวคิดมหายานที่แตกต่างจากเถรวาท


    ๑. เถรวาทถือว่าการบรรลุพระอรหันต์เป็นสิ่งสูงสุดของจุดหมาย แต่มหายานถือว่าสภาวะการเข้าถึงความเป็นพระโพธิสัตว์สำคัญกว่าพระอรหันต์


    ๒. เถรวาทเน้นให้ชาวพุทธพึ่งตนเองเป็นสำคัญ พระพุทธองค์เป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น ส่วนมหายานได้อนุญาตให้อ้อนวอนพระพุทธองค์และพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ได้ บางนิกายมหายานถือว่าเพียงระลึกพระโพธิสัตว์ก็สามารถพ้นทุกข์ได้


    ๓. เถรวาทเป็นอเทวนิยมคือไม่นับถือพระเจ้าเป็นผู้สร้าง เชื่อในกฎแห่งกรรม ส่วนมหายานพัฒนาเข้าใกล้ศาสนาพราหมณ์และเทวนิยมมากขึ้นโดยถือว่าพระอาทิพุทธเป็นพุทธะที่สูงสุด ทรงดลบันดาลให้ทุกสิ่งเป็นไปแม้แต่พระพุทธองค์ก็เป็นภาคหนึ่งของพระอาทิพุทธ


    ๔. เถรวาทรักษาความเดิมของคำสอนทุกประการไม่นิยมเปลี่ยนแปลงคำสอน แม้ภาษาก็ใช้ภาษาเดิมจารึกคือบาลี ส่วนมหายานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามคำสอนไปมาก และแต่งคัมภีร์จับใส่พระโอษฐ์อยู่เสมอภาษาเบื้องต้นใช้สันสกฤต ก่อนจะใช้ภาษาถิ่นของตนในลำดับต่อมา


    ๕. เถรวาทมุ่งช่วยตนเองให้พ้นสังสารวัฏฏ์ก่อนช่วยผู้อื่น แต่มหายานเน้นช่วยผู้อื่นก่อน ส่วนตนนั้นจะตามไปภายหลัง จึงเรียกยานของตนว่ามหายาน เรียกเถรวาทว่าหินยานแปลว่ายานเล็ก หรือยานเลว


    ๖. เถรวาทไม่มุ่งเน้นการฉันมังสวิรัติ คืออาหารเว้นจากเนื้อสัตว์ ยกเว้นเนื้อที่มีพระพุทธองค์ห้ามไว้ เพราะถือว่าทำตนให้เลี้ยงง่าย แต่มหายานถือว่าการทานมังสวิรัติเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง พวกเขาถือว่าที่ผู้ช่วยเหลือสัตว์จะไม่มีเนื้อของเขาในท้องของตนเอง


    ๗. เถรวาทถือว่าพระศากยมุนีพุทธ พระโอรสพระเจ้าสุทโธธนะเป็นองค์สูงสุด เป็นผู้ก่อนตั้งศาสนาพุทธ แต่มหายานได้ยกฐานะพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ให้เทียมเด่นกับพระองค์ และบางพระองค์ก็ดีเด่นยิ่งกว่าเสียอีกพระพุทธเจ้าที่มหายานยกย่องขึ้น เช่น พระอมิตาภพุทธะ พระมัญชุศรี พระอาทิพุทธะ พระไวโรจนะ เป็นต้น


    ๘. ตามปกติแล้ว คนส่วนมากต้องการความอุดมสมบูรณ์ในทางกามสุข ทิพยสุข เป็นต้น คนที่ต้องการพ้นจากทุกข์จำนวนน้อยเท่านั้นมหายานจึงมีสุขาวดีพุทธเกษตรเพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากเป็นแดนบรมสุข คนที่ไปเกิดมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธเจ้าและอาศัยบารมีของพระพุทธเจ้าทำให้สามารถบรรลุพระอรหันต์ง่ายเข้า


    ๙. มหายานก้าวหน้าถึงขนาดสอนอภิปรัชญาตรรกศาสตร์ จนเกิดระบบปรัชญาสำคัญขึ้น ๓ สาขา คือ สุญญตวาท จิตนิยม จิตอมตวาท ถือว่าเป็นผลงานที่เด่นมากของมหายาน จนเกิดคำขวัญว่า มหายานเพื่อมหาชน


    ๑๐. พระพุทธเจ้าในทัศนะของมหายานเป็นทิพยภาวะอันประเสริฐไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด มหายานจึงถือว่า คนเรายังอาจเข้าเฝ้าสดับสุรเสียงของพระพุทธเจ้าได้อยู่ด้วยเหตุนี้ มหายานจึงมี ๓ กาย คือ
    ๑. สัมโภคกาย คือ พระกายที่เป็นทิพยภาวะ ประทับอยู่ ณ แดนพุทธเกษตร
    ๒. นิรมานกาย คือ พระกายที่พระองค์เนรมิตรขึ้นทำนองอวตารลงมา อาการมีทรงพระชวร ประสูติทางพระวรกายนั้นเป็นสิ่งมายาทั้งสิ้น
    ๓. ธรรมกาย คือสุญญตภาวะ หรือ พระนิพพานนั้นเอง

    ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ </DD>
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...