ทำไม นั่งสมาธิทีไรต้องง่วงทุกที

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย samusunn, 1 มิถุนายน 2015.

  1. samusunn

    samusunn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    517
    ค่าพลัง:
    +878
    สวัสดีค่ะ

    ดิฉันนั่งคิดถึงตอนเวลานั่งสมาธิค่ะ ทำไมจะมีอาการง่วงทุกครั้ง เวลาเริ่มนิ่ง จะง่วงสับปะหงก แต่ก็ไม่ได้หลับไปเลยนะคะ ไม่เหมือนเวลานอนภาวนา เมื่อนิ่งก็หลับไปเลย แต่ทำไมเวลานั่งภาวนา ถ้านิ่งแล้วไม่หลับไปเลย แต่กลับสับปะหงกแล้วก็ทำให้สะดุ้งตื่นตัวว่ากำลังนั่งสมาธิค่ะ

    ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เป็นปกติครับ ความง่วงเป็นนิวรณ์ธรรมชนิดหนึ่ง อาจจะเจออีกหลายรูปแบบเช่นฟุ้งซ่าน เราก็ต้องสู้ครับ อย่ามุ่งหวังว่ามันต้องเป็นอย่างไร เพราะดยสภาพของธรรมก็ต้องเป็นอนิจจัง เอาแน่ไม่ได้อยู่แล้วครับ
     
  3. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ลองเปลี่ยนเวลาในการปฏิบัติดูครับ ลองเป็นช่วงเช้าๆในวันหยุด ประมาณ 9.00-11.00 น. อาการดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้น และสามารถนิ่งสงบถึงฌานได้ในที่สุด
     
  4. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เดา
    เดาว่าปรกติ มีอาการง่วงซึม เป้ฯปรกติ
    แต่มีอะไรบางอย่างเอาความง่วงไปช่วยใช้ คืออวิชชาจะกินความง่วง
    บางที่คนนอนไม่หลับ อยู่ได้โดยไม่นอนหลายคืน เพราะอวิชชาเอาง่วงไปกินหมด

    พอเรานั่งสมาธิ แสดงว่าทำสมาธิมาถูกทาง
    ควรจะอุทิศกุศลทันที ที่รู้ว่าง่วง
    อุทิศให้พ่อ กะแม่
    คิดในใจว่ากุศลที่ข้าพเจ้าทราบว่าข้าพเจ้าง่วงอยู่นี้ อุทิศให้พ่อ ระบุชื่อไป
    ขอคุณพระพุทธรันต พระธรรมรัตน พระสังฆรัตน โปรดเมตตาให้บุญกุศลนี้ กลายเป็ฯของพ่อข้าพเจ้า สำเร็จแก่พ่อข้าพเจ้า

    ถ้าจะอุทิศให้แม่ก็เปลี่ยนเป็นคำว่า แม่แทน

    นิวรณ์จะมีห้าตัว 1มีพอใจในรูปรสเสียงกลิ่นสัมผัส
    2พยาบาท 3สงสัย 4ง่วง 5ฟุ้งซ่าน

    ปรกติอวิชชาจะกินมันเป็ฯอาหารเราสามารถมีนิวรณือย่างนี้ได้ทั้งชีวิต

    พอทำสมาธิ อวิชชามันกินไม่ได้ กินได้น้อย
    มันเลยแสดงอาการออกมา

    ให้อุทิศกุศลทันทีที่ทราบว่า นิวรณื ตัวใดตัวหนึ่งหรือมากกว่านั้น กำลังแสดงอาการ

    ได้บุญ
     
  5. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เช่นคนสงสัย ชอบคิด
    ปรกติจะคิดหาเหตุหาผลให้กะไอ้โน้นนี่ ได้เสมอ

    พอนั่งสมาธิปุ๊บ กลายเป็ฯคนหาคำตอบอะไรไม่ได้เลย
    ต้องรอให้คนอื่น หาคำตอบให้ทั้งหมด

    เพราะอวิชชา มันกินสงสัยไม่ลงแล้ว
    มันออกมาให้เรารับ เรารู้แล้ว
    ให้อุทิศกุศลแทน

    คำตอบจะอยู่อีกฝั่งของความคิด

    ต้องรอให้มันหมุดด้านที่มีตำตอบมา
    เราจึงจะได้

    ง่วงก็เหมือนกัน ความคึกคักแจ่มใส อยู่อีกฝั่งหนึ่ง
    เหมือนเหรียญมีสองด้าน

    ต้องให้กุศลพา อีกฝั่งหนึ่งของ ง่วงมาให้เราเห็น
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493


    สมาธิกับกิเลสนิวรณ์ เป็นคู่ปรับกัน มีส่ิ่งหนึ่งก็ไม่มีสิ่งหนึ่ง

    มีสมาธิก็ไม่มีนิวรณ์ มีนิวรณ์ก็ไม่มีสมาธิ


    สังเกตตัวอย่าง

    https://www.youtube.com/watch?v=PhQWHz_dmz4
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ให้ทำความเข้าใจธรรมะไปซื่อๆว่า จิตตนหนักไปทาง "โมหะมูลจิต" เยอะ

    พอยกสาเหตุ มูลจิต พิจารณาที่ กองกิเลสแล้ว ก็ พิจารณาต่อว่า พระพุทธองค์
    กล่าวหลักธรรมใด อนุเคราะห์ไว้บ้าง

    ก็จะมี " อุบายแก้ง่วง " 1 พระสูตร ที่สอนพระโมคคัลลานะ ซึ่งหนักไปทาง ทำสมาธิอีก

    เราก็ใช้ปฏิภาณว่า ก็นี่เรา ทำสมาธิอยู่ แต่ก็ง่วง หากใช้อุบายแก้ง่วง แล้วไม่หาย จะมี
    พระสูตรอื่นอีกไหม ที่กล่าวสอน

    ก็จะพบพระสูตรเกี่ยวกับ อินทรีย์5 ซึ่งในที่นี้ ก็จะพบว่า "สติอินทรีย์มันอ่อน" เกินไป

    พอเอาไปผนวกกับ อุบายแก้ง่วง จะได้เรื่อง " อดนอน ผ่อนอาหาร "

    แต่ถ้าเรา ทำงานทำการ ใช้สมองมาก ใช้แรง(พลังจิต)มาก ต้องคิด ต้องจดจำ จะไป
    อดนอน ผ่อนอาหาร ก็จะทำไม่ได้ ไม่เข้ากันกับ ชีวิตการงานปรกติ

    ก็จะเหลือ อุบายแก้ง่วง อีกสองตัวสุดท้าย คือ "สัมปชัญญะบรรพ" คือ เวลาทำอะไร
    ทำการงาน คิดอ่าน ขีดเขียน กวาดบ้าน ถูบ้าน ให้ ตามระลึกถึงการเคลื่อนไหวของกาย
    นี่จะเป็น การฝึกสัมปชัญญะขณะ " ยืน เดิน นั่ง ดื่ม ทำ พูด คิด "

    ส่วน นอน ..นอน พระพุทธองค์แยกมาเป็น พิเศษ นอนแบบ สีหไสยาส คือ ให้นอน
    ตะแคงขวาแล้วกระทำในใจว่าลุกยืนอยู่ นั่งอยู่

    และ ถ้า สัมปชัญญะบริบูรณ์ดี จากการฝึก ระหว่างวัน และ แม้แต่เวลานอน ก็นอน
    อย่างตื่นรู้

    ก็จะเหลือ อุบายแก้ง่วงของ นักเล่นฌาณอีกตัวหนึ่ง คือ การกระทำในใจในการเห็นสภาพแวด
    ล้อมขณะกลางวันให้ระลึกว่า กำลังเป็นกลางคืน หากเป็นกลางคืนให้ระลึกถึงสภาพแวดล้อม
    ในเวลากลางวัน

    ทำได้ทั้งหมด

    จะเห็นเลยว่า สมาธิของเรา ได้ปรับให้มี สติเกิดร่วม สมาธิอินทรีย์ก็เกิด สติอินทรีย์ก็ก่อ
    ทุกแห่งหน จิตเบากายเบาแต่แข็งแรงทรหดอดทน ฮึม ฮึม ฮึม ฮึ่ม ฮึ้ม

    สุดท้าย อย่าลืมยกเห็น ปฏิปทาในการปรับอินทรีย์ มันจะต้องปรับไปตลอด ใช่ว่า หายง่วง
    แล้ว จะไม่ง่วงอีก มันจะ แก้ง่วงได้ สลับกับ ลืมไปเลยวิธีแก้ ....ยกการเห็น การปรับ การ
    แปรปรวนของอินทรีย์ เข้ามา ตรงนี้ จะทำให้ แม้นหลับก็ตื่นรู้ พยากรณ์ได้ในนิพพานใน
    ปัจจุบันธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  8. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    เวลานั่งสมาธิ ต้องตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ถ้านั่งขัดสมาธิสองชั้น ขาขัดกัน เป็นอาการฝืนๆ ขัดกับการนอนเหยียดยาว ท่านั่งสมาธิที่ตั้งต้นแบบนี้ มันหลับยากอยู่ แต่การนั่งสมาธิที่สติเราไม่มั่นคง มันจะควบคุมกายให้ตั้งตรงไม่ได้ เมื่อกายไม่ตั้งตรงเพราะกำลังความตั้งใจเราตกลงไป ร่างกายจะไม่อยู่ในสภาพปลอดโปร่ง เป็นอาการติดขัดออกซิเจนมีผลให้ง่วงนอนได้ (เหมือนทานอาหารหนักแล้วเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณท้องมากกว่าศีรษะ) แต่เนื่องจากใจพยายามฝืนอยู่เลยโหงกเหงก

    ส่วนการนอนสมาธิ ถ้านอนหงายสติจะหายไปเร็ว จิตมันเสพคุ้นกับอาการนอนสบาย พอนอนหงายใจมันเสพคุ้นความสบายในการหลับ กายและจิตจึงมักหลับได้ง่าย ได้เร็ว

    แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นนอนตะแคงขวา ขาข้างหนึ่งให้วางอยู่บนอีกข้างแบบเหลื่อมๆ กัน ถ้าขาดสติ ขาจะหลุด ต้องตั้งใจ(จิตเจตนา) ว่าจะไม่ให้ขาเลื่อนหล่น นอนตะแคงทำสมาธิ นอนยังไงก็ไม่ลืม หรืออย่างอาการหนักสุด คือการหลับไม่สนิท แต่ถ้านอนหงายสติขาดหลับสนิทเลย

    อาการง่วงเกิดจากหลายสาเหตุ ค่อยพิจารณาว่า เรามีสาเหตุจากอะไร ความเหนื่อยกาย ความเพลียใจ อากาศไม่ถ่ายเท อากาศเย็นสบายเกินไป
    ทานอาหารก่อนมานั่งสมาธิ หรือว่ามีความสุขกับชีวิต เป็นคนไม่คิดมาก ร้อนอบอ้าว ฯลฯ พอรู้สาเหตุก็เลี่ยงสาเหตุ เริ่มต้นอย่าทำสมาธิในช่วงเวลาหรือบรรยากาศที่มันเอื้อกับการหลับง่ายก่อนครับ

    ถ้าเป็นประเภทหลับง่ายจริงๆ แนะนำเปลี่ยนกรรมฐาน เป็นเพ่งลูกแก้ว เพ่งกสิณ เดินจงกรม
    นับลูกประคำ นับหนึ่งถึง10ย้อนไปมา พวกนี้ จะต้องทำให้สติเราอยู่กับบริกรรมสูง การนั่งสมาธิแบบดูลมหายใจบางทีมันจะติดสบายก็จะหลับง่าย

    เป็นกำลังใจฝึกต่อไปนะครับ
     
  9. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    อ่านข้อความท่าน เอกวี มามาก เพิ่งรู้สึกว่าอ่านรู้เรื่องก็วันนี้
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พออบรมกาย อบรมจิต รู้อุบายใช้กายอบรมจิต( ผ่อนอาหาร แก้ง่วง ) แบบปฏิโลม
    และ นอนไปเลย แต่นอนแบบสีหไสยาส แบบอนุโลม

    เมื่อ ปฏิโลม และ อนุโลม กับ สภาวะความง่วง เป็น ก็จะเห็นว่า ความง่วงเป็น
    เพียงสภาพธรรม สภาวะธรรม เราจะไม่ไปตั้งแง่ว่า จะไม่ง่วง ไม่ไปตั้งธงจะภาวนา
    เพื่อไม่ง่วง พอไม่สนใจความง่วง แปลกแต่จริง " จิตไม่ตรึกถึงสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่กุมจิต "
    ความง่วงจะเป็น สิ่งแปลกปลอม ที่ถูกยกขึ้นถูกรู้ถูกดู อยู่ห่างๆ ไม่ใช่จิต เป็นเพียง
    อาการอย่างหนึ่ง ของสังขารขันธ์ ทีมีเป็นวิบากมาจากการเวียนว่ายในสังสารวัฏมาอย่าง
    ยาวนาน

    เมื่อเอา ง่วง มาจับพิจารณาเป็นสภาวะธรรม เราจะเรียกอีกอย่าง ตามแบบสมัยใหม่ว่า "จับหลับ"

    คือ กายหลับ กายสัปหงก แต่ก็มี จิตผู้รู้ แยกออกมา แลอยู่ ...แบบนี้ก็ฝึกได้ ไม่จำเป็น
    ต้องไปท่าสวย ทำสมาธิแข็งเป็นหิน ...พระบางท่าน จะใช้ ขัดสมาธิเพชร มาร่วมด้วย ก็จะ
    มีการล้มลุก แบบตุ๊กตาล้มลุกไปเลย ท่าก็พอสวยอยู่ ไม่นอนลงไปเหยียด ...แต่แล้วแต่สภาพ
    ของกายนะ หากไม่ใช่นักกีฬาไปฝึกแบบนี้ ก็จะไม่เวิร์กในเชิงสุขภาพกาย


    ที่นี้ พอจับหลับเป็น ยกจิตแยกจิตออกมาจาก กองสังขารทั้งปวงเป็น ก็จะเหลือ
    พวกการปฏิโลมสู้ สภาวะง่วง เช่นการฝึกกสิณแสงสว่าง ตรงนี้ก็จะเป็นผลิกจิต
    วิวัฏจิตไปอีกแบบ

    แต่ก่อนจะฝึก ออกรู้ออกเห็นตัวนี้ จะต้องฝึก สัมปชัญญะ ให้ได้เสียก่อน

    ไม่เช่นนั้น จะ เผลอไปเอา สภาวะหลับฝัน มายกขึ้นเป็น ผลสมาธิ
    [ เนื่องจากจิต หนักไปทางโมหะ อยู่ก่อน ทำให้ ฝึกสมาธิแล้ว โมหะ
    มันมาตลบหลัง ทำให้ ขาดทุนในการปฏิบัติแบบ ล้มละลายทางธรรม ]


    ไปเอา นิมิตฝัน มาละเมอเป็น ผลงานการฝึกฌาณ ตรงนี้จะโดน หลอก
    ให้ฝึกหลับ โดยเอาสมาธิบังหน้า แต่ไปคว้าเอาการละเมอฝัน มาเป็นผลสำเร็จ
    ฝันเห็นพระพุทธเจ้า เห็นสงฆ์ เห็นอะไรแปลกๆ ก็จะเอามา สรุปผลว่า ตนฝึกสำเร็จ
    ตนมีบารมีอย่างโน้น อย่างนี้ เละเทะไปกันเยอะ เพราะ ไม่เอา สัมปชัญญะ ให้
    อยู่ตัวเสียก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    โมหะ สมาธิ ที่นิยมฝึกกันมาก ไม่เอา สัมปชัญญะ มาร่วม

    เช่น การบริกรรมเร็วๆ นะนะนะนะนะนะนะะนะ [ บางเรียกว่า กรรมฐานเปิดโลก ]

    หรือ การทำสมาธิแบบไล่หูตาจมูกปากหู แบบเร็วๆ [ พบการฝึกแบบนี้ ทางภาคเหนือ ]

    หรือ การทำสมาธิหมุน หมุนตัว หมุนความคิด หมุนจิต หมุนนิมิตให้วนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    [ อันนี้ นิมิตมีหลายอย่าง ในทางวิทยาศตาตร์ คือ พวกจิตเภท ย้ำคิดย้ำทำ ตาแข็ง ยิ้มเก่ง ]

    หรือ การสวดมนต์แต่เน้นเคลิ้มไปในการส่งจิตเงี่ยฟังสิ่งข้างนอก คนนำสมาธิ นี่ก็จัด
    เป็นสมาธิมุ่งทำลาย สัมปชัญญะ หรือที่เรียกว่า " สะกดจิต "

    หรือ แม้แต่การฝึกสมาธิ เพื่อจดจำสภาวะขณะฝึก เพื่อเอาไป ถามตอบครู อันนี้ก็
    จะเข้าข่าย โมหะสมาธิ คือ ฝึกด้วยอาการส่งจิตออกนอกแต่ต้น ไม่มีสัมปชัญญะ
    ไม่มีอาการ ตื่นรู้ แบบวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตัวเอง

    สมาธิแบบพุทธ จะเป็น สมาธิที่ตื่นรู้ตลอดสาย

    จิตมีโมหะ ก็รู้
    จิตไม่มีโมหะ ก็รู้

    หรือ

    ง่วง ก็รู้ว่า ง่วง
    ไม่ง่วง ก็รู้ว่า ไม่ง่วง

    เราไม่ได้ฝึกเพื่อจะไม่ง่วง แต่ อะไรเกิดขึ้น เราก็อาศัย ระลึกรู้ไปซื่อๆ
    ฝึกดีๆ จะเกิด จิตแยกออกมาจาก กองขันธ์ชนิดต่างๆ จิตที่แยก
    ออกมาเป็นผู้รู้ นั่นแหละ จิตผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ง่วง ก็ระลึกเห็นว่า ง่วง เนี่ยะ จิตตื่นหน่าคร้าบ จิตมีสมาธิ ไม่เข้าไป
    แทรกแซงความง่วง จิตจะพ้นความง่วงอยู่ แม้กายมันจะแสดงอาการง่วง
    ให้เห็นเป็นเงาของจิต อาการของจิต ก็ตาม........ฝึกแบบนี้ จะเน้นเห็น อริยสัจจแห่งจิต ตรงต่อธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  12. เตหิณรัตน์

    เตหิณรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +476
    อย่าทิ้งลม ทำอะไรทำให้จริง แล้วจะได้ดีเองไม่ต้องสงสัยครับ

    ผมก็เคยเป็นแบบนั้น พอจะอธิบายได้ผมเคยได้ปฐมฌานละเอียด5ครั้งเเละเสื่อมลง5ครั้ง ที่คุณเป็นแบบนั้นเพราะจิตไม่ยึดคำภาวนาไว้ให้มั่น คุณจะภาวนาอะไรก็เเล้วเเต่ จะจับแต่ลมเข้าลมออกอย่างเดียว หรือพุทโธก็เเล้วเเต่ หรือคำบริกรรมอะไรในใจก็ได้ตามแต่จะชอบใจ ถ้าหากว่าจิตขณะนั้น คุณยึดคำภาวนาว่าพุทโธไว้ได้มั่น เข้าพุท ออกโธ อาการเเห่งปฐมฌานจะมีลักษณะดังนี้ คำว่า พุท โธ จะไม่ขาดหรือตกหล่นลงไปเลยในขณะเข้าปฐมฌาน และช่องว่างระหว่างคำว่า พุท เเละโธนั้น ระหว่างคำที่คุณบริกรรมอยู่นั้น ในช่องว่างระหว่างคำทุกขณะจิต คุณจะไม่มีความคิดใดๆเเว่บ หรือเกิดขึ้นมาปะปนอยู่เลยในระหว่างคำที่คุณภาวนาอยู่ เมื่อ พุท และโธ เกิดขึ้นต่อกันเป็นสายแบบนี้แนบสนิทดีเเล้วไม่มีอารมณ์ใดๆหรือความคิดใดๆเข้ามาแทรกเลย นั้นสำคัญว่าจิตคุณทรงอยู่ในวิตกและวิจารเรียบร้อยเเล้ว เมื่อวิตกวิจารนี้เกิดขึ้นต่อกันเป็นสายไม่ขาดเลยซักระยะ ปีติจะเกิดขึ้นความอิ่มเอิบใจเกิดขึ้น เมื่อปีติเกิดซํ้าๆกัน บ่อยเข้าๆ จิตคุณจะเกิดสุขขึ้นมาเป็นตัวที่4 เเละเมื่อ4ตัวนี้เกิดขึ้นมาในจิตคุณ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดขึ้นอย่างแนบแน่นเเล้ว เอกัคคตา จะเกิดขึ้นเป็นตัวที่5 ครบองค์5ของปฐมฌานคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ที่นี้เมื่อครบทั้ง5 จิตจะทรงอยู่ในปฐมฌานได้นานเพียงใด หรือจะขึ้นไป ฌาน 2 3 หรือ 4 สิ่งนี้ไม่อาจจะบังคับได้ มันเเล้วเเต่กำลังของจิตผู้เป็นเจ้าของเอง ถ้าคุณทรงจิตได้ดังที่ผมกล่าวมาได้เป็นอย่างดีแล้ว นิวรณ์5ขณะนั้นจะไม่เกิดเลย ความง่วงจะไม่มีเลยในปฐมฌานนั้น ทีนี้ถามว่าแล้วง่วงนะมันเกิด เกิดตอนไหน ก็เกิดตอนคุณเผลอ จิต เผลอละจากคำบริกรรมไปไม่ได้ตั้งสติจับไว้ให้ดีๆ คำบริกรรมเลยหายไปเอง อันนี้ต่างจากฌาน2นะที่คำบริกรรมจะหายไปเอง จะเข้าฌาน2 จิตต้องครบองค์ทั้ง5อย่างก่อน จิตจึงจะละวิตกวิจารออกไปเอง คือคำว่าพุท โธ นั้นหละที่จิตจะละไปเองในฌานที่2 ในฌาน2จิตจะเหลือเเค่ ปีติ สุก เอกัคคตา3ตัวเท่านั้นนะ มันต่างกันอันเเรกที่กล่าวคือ คุณภาวนาอยู่ วิตก วิจารเกิด ยังไม่ทันได้ตัวที่ 3 4 5ที คือ ปีติ สุข และเอกัคคัตตา 3 ตัวหลังนี้ยังไม่ทันได้ ได้แต่วิตก วิจาร ทีนี้มันเกิดเผลอไป เผลอลืมบริกรรม จิตคุณก็ตกภวังค์ตรงนี้เอง ก็คือ ง่วงหรือหลับนั้นหละ (ภวังค์ คือ อาการที่จิตตัดขาดจากการรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) พอรู้สึกตัวอีกทีก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาจากภวังค์ แล้ววิธีแก้มีไหม มี แต่คุณจะทำไหม ไม่ยากนะแต่ก็ไม่ง่าย คือ ในระหว่างวัน ตั้งแต่คุณตื่นยันหลับในทุกๆวัน ทุกอริยาบทของคุณ คือ นั่ง เดิน ยืน นอน ไม่ว่าคุณจะทำอะไรอยู่ ให้คุณจับลมเข้าออกไปด้วย (ไม่ต้องตามลมนะครับว่าลมเข้าไปถึงกลางอกหรือท้องไม่ต้องตาม รู้เเค่ลมเข้าออกก็พอแล้ว จิตจะจับลมฐานที่2คือ กลางอก และฐานที่3อัตโนมัติเองถ้าคุณเข้าปฐมฌาน) จับแต่ลมเข้าเเละออกพอ ทีนี้ถามว่าจับอย่างไร ใช้สติ ใช้ให้มาก แรกๆจะจับได้บ้างไม่ได้บ้างลืมบ้าง ก็ให้ตั้งใจจับเสียใหม่ ล้มเเล้วลุก ๆ ได้บ้างลืมบ้างช่างมันในช่วงเเรกที่ฝึก มีหน้าที่อย่างเดียวคือใช้สติ ตามดูลมที่เข้าเเละออกที่ปลายจมูกเท่านั้น แรกๆจะรู้สึกว่ายากนิดนึงนะ แต่พอทำทุกวันๆไม่ละความพยายามเสียคุณก็จะจับได้ตลอดเลย กระทั้งว่าเวลาคุณคุยกับคนอื่นลมเข้าออกที่จมูกจะหยุดลง เข้าออกบ้างเพียงเล็กน้อยตามคำพูดเท่านั้นที่จมูกคุณ แต่ลมจะออกทางปากและเข้าทางปากแทนตามการพูด ก็ให้คุณตามรู้ลมขณะพูดอีก ใช้สติจับลมที่เข้าและออกทางปากในขณะที่คุณพูดนั้น พอพูดจบคุณก็จะหายใจทางจมูกต่อ ก็ให้ใช้สติตามลมที่จมูกต่อเหมือนเดิม แม้เวลาทานนํ้าขณะกลืนนํ้า ลมหายใจทางจมูกจะหยุดชั่วคราว ลมจะเข้าไปตามนํ้าที่คุณกลืนลงไปแทน ก็ให้รู้แค่ว่าว่านี้ลมเข้าทางปากนะ พอทานนํ้าเสร็จก็จะกลับมาหายใจทางจมูกอีกตามเดิม ก็ให้คุณตามรู้ลมที่จมูกคุณต่ออีก หรือขณะคุณจาม ไอ หรือถอนหายใจเเรงๆ ก็ให้สังเกตุลมเข้าเเละออกที่จมูกและปาก สังเกตุอย่างเดียว แต่อย่าไปกำกับมัน มันจะสั้น ยาว หยาบ ละเอียด ก็ให้ใช้สติรู้ลมเข้า ออกเท่านั้นพอ ไม่ต้องไปกำกับมัน ไม่ต้องไปบังคับให้มัน สั้น ยาว ละเอียดนะ แค่รู้อาการที่มันเป็นเท่านั้นพอ หากในวันนึงๆที่คุณตื่นมายันหลับไปอีก ทุกอริยาบทของคุณ เดิน ยืน นั่ง นอน พูดคุยสนทนากับใครอยู่ หัวเราะ เข้าห้องนํ้า ทำงาน คุณสามารถจับลมได้ 100 เปอเซนต์ ไม่คลาดเลยมี่สติรู้ลมเข้าและออกได้ตลอด ทั้งทางจมูกทางปากได้ซัก 1วัน นั้นคือจิตคุณทรงอยู่ ในอุปจารสมาธิ เรียบร้อยเเล้ว คือ วิตก วิจาร ปิตี ที่นี่พอคุณมานั่งสมาธิก่อนนอนนะ กล้วยมากเลย ตัวที่4 และ5 คือ สุข เอกัคคตา จะเข้ามาจับได้ไวและง่ายมากเลยในขณะคุณนั่งหลับตาได้ไม่นาน จิตคุณจะลงสู่ปฐมฌานได้ไวมาก ครบองค์5 ในเวลาไม่นานเลย ความจริงเท่าที่ปฏิบัติมา เอาตรงๆนะ ถ้าคุณนั่งจับลมอย่างเดียวก่อนนอนซัก 1ชม.2ชม.ทำมันทุกวันเลย แต่ระหว่างวันคุณทิ้งลมหายใจไม่ภาวนาอะไรเลย การทรงปฐมฌานจะยากมากในขณะที่คุณมานั่งก่อนจะนอน เพราะทำแค่วันละ ชม.2ชม. ที่เหลือทั้งวันขณะตื่นยันหลับประมาณซัก15ชม.เล่นทิ้งไม่จับลมเลย มันก็เป็นการยากที่คุณจะเข้าปฐมฌานเวลาคุณนั่งก่อนนอนนะ แต่ถ้าคุณทำตามที่ผมบอก คือตั้งแต่ตื่นยันหลับไปอีก ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมอะไรระหว่างวัน ทำงาน เข้าห้องนํ้า คุยกับคนอื่น ทานข้าว หรือทำอะไรก็เเล้วเเต่ แต่คุณหัดจับลมหายใจให้ตลอดเวลา มันจะง่ายมากที่1ชม.หรือ2ชม.ก่อนนอนคุณจะเข้าปฐมฌานได้ในทันที คือ ทั้ง2อย่างนี้ คือ1.จับลมขณะตื่นยันหลับทั้งวัน 2.นั่งสมาธิก่อนนอนซัก 1หรือ2ชม. 2อย่างนี้มันเกื้อหนุนกันนะคุณการนั่งสมาธิก่อนนอนทุกวันจิตจะทรงตัวแนบแน่น มันจะช่วยให้ในระหว่างวันคุณจับลมขณะทำงานได้ง่ายมาก และขณะเดียวกันการจับลมระหว่างวันได้ทั้งวันนั้น เวลาคุณมานั่งสมาธิก่อนนอน คุณจะเข้าสู่ปฐมฌานได้ง่ายเเละเร็วมากๆ มันเกื้อหนุนซึ่งกันเเละกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลย ทีนี้ถามถึงผลเเห่งปฐมฌานที่ได้ และจิตทรงอยู่ในอุปจารสมาธิได้ตลอดระหว่างวัน จิตคุณจะเเจ่มใสมาก สดชื่นยิ้มง่าย ไม่กังวลใดๆ นิวรณ์5ไม่มีเลยตลอดทั้งวัน อารมณ์ทางเพศก็ไม่มีให้เกิดเลย ความรัก ความปรุงแต่ง ใน รูป รส กลิ่น เสียง จะไม่เกิดเลยหากคุณทรงจิตคุณให้ได้ใน2วาระที่กล่าวมาคือ 1.จับลมได้ทั้งวัน 2.เข้าปฐมฌานก่อนนอน อย่าทิ้งลมนะสำคัญมากเลยการจับลมระหว่างวันสำคัญที่สุด คุณลองทำดูนะถ้าสนใจในสิ่งที่ผมบอกกล่าวคุณ ยํ้าว่าเวลาจับลมระหว่างวันคุณไม่ต้องตามลมนะว่ามันจะเข้าไปถึงกลางอกหรือในท้อง ให้รู้เฉพาะที่ปลายจมูกเวลามันเข้าออกพอแล้ว การจับลมฐาน2และ3 มันจะจับเอง รู้เองตอนคุณเข้าปฐมฌานก่อนนอนที่คุณนั่ง จิตจะจับครบ3ฐานอัตโนมัติเอง และถ้าคุณได้ปฐมฌานละเอียดนะ เวลาระหว่างคุณนอนหลับหากคุณรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน ถ้าคุณได้ปฐมฌานละเอียดนะ ลองสังเกตุดูเวลาคุณรู้สึกตัวตื่นระหว่างนอนทุกครั้งไป จิตจะจับลมของมันเองอัตโนมัตินะ แม้ตื่นขึ้นมาตอนเช้าจิตจะจับลมเองเลยทำหน้าที่ของมันเองเลย ทีนี้พอได้ปฐมฌานแบบนี้ก็พยายามรักษาอย่าให้มันเสื่อมนะ หัดซ้อม หัดเข้าให้ไว ให้ชำนาญในการนึก ชำนาญในการเข้า ชำนาญในการออก ชำนาญในการยับยั้งทรงตัวให้ได้ในปฐมฌาน ว่าเข้าให้ได้นานเท่านั้นเท่านี้ตามใจปราถนา มันอยุ่ที่การฝึกนะ ได้เเล้วใช่ว่าจะชำนาญเลยนะครับ จำเป็นต้องฝึกไว้เเละรักษาไม่ให้เสื่อมนะครับ ถ้าได้เเล้วเกิดเสื่อมก็ให้พยายามใหม่อย่าท้อ อย่าทิ้งลมหายใจอย่างเดียวพอแล้ว ชีวิตนี้อะไรๆที่มากกว่าปฐมฌานเดี่ยวก็เเกิดเองไม่ต้องสงสัย ขอให้มีกำลังใจทำไป เพียรไป อย่าท้อ อย่าถอย อย่าหยุด อย่าทิ้งลมนี้ไปจนตายนะครับ สาธุๆๆ
    เพิ่มนิด
    1.ในระหว่างวันที่คุณทรงอุปจารสมาธิอยู่ คือจับลมเข้า ออกได้ตลอด คุณก็สามารถคิดการงานต่างๆได้อยู่ คือความคิดจะซ้อนทับลมหายใจ หรือลมหายใจจะซ้อนทับอยู่บนความคิดคุณนั้นเอง จิตจะมีหน้าที่ต่างจากคนที่ไม่ได้ตรงนี้ คือ จิตจะทำหน้าที่ใช้สติจับลมไปด้วยและซ้อนกับความคิดต่างๆที่กำลังคิดไปด้วยในสมองเรา เเรกๆจะรู้สึกแปลกแต่ทำๆไปเดี่ยวมันจะชินเอง ผมเรียกของผมว่าอุปจารสมาธิไม่เต็มกำลัง คือมันยังมีความคิดซ้อนขึ้นมาได้ระหว่างการทำอานาปานสติคือจับลมแต่ก็ไม่ลืมจับลมไปด้วยในขณะที่ความคิดเกิดขึ้นมา จะเป็นอุปจารสมาธิเต็มกำลังตอนคุณอยู่เฉยๆนั่งเงียบๆหรือไม่สนใจอะไรไม่คุยกับใครไม่ทำอะไร ไม่คิดอะไรจับแต่ลมอย่างเดี่ยว หยุดคิดเรื่องอื่นไป เมื่อเป็นแบบนี้ก็จะเป็นอุปจารสมาธิเต็มกำลัง คือ มีวิตก วิจาร ปีติ ไม่มีความคิดใดๆแทรกระหว่างการใช้สติจับลมหายใจเข้าออกเลย นั้นหมายถึงจิตคุณเตรียมเข้าปฐมฌานเเล้ว
    2.การทำงานที่หนักเกินไป ออกกำลังกายเหนื่อยเกินไป ทำงานกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัดเกินไป คือทำจนสังขารมันเหนื่อยเกินมากไป ก็เป็นสาเหตุที่ฌานจะเสื่อมได้
    3.การมองดูรูปของชายหนุ่มที่สะดุดตา หรือสาวสวยที่สะดุดตา มองแล้วไม่วางไม่เลี่ยงการมอง ถ้าเกิดจิตไปจับมันมาเป็นอารมณ์ของจิต จิตก็จะเผลอปรุงแต่งรูปกายที่มองทีละน้อยๆ ถ้าไม่มีปัญญามาช่วยตัด มากเข้าๆกามราคะก็จะเกิด จิตจะค่อยๆคลายจากปฐมฌานและเสื่อมไป
    4.การพูดคุยที่มากและนาน ถ้าไม่คล่องในฌาน แรกๆควรจะพูดให้น้อยลงหน่อยเพื่อป้องกันการเสื่อมของฌาน(เพราะคุยมากนี้หละเผลอไม่จับอารมณ์ของสมาธิ) หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณจะต้องพยายามประคองลมหายใจ ดูลมเข้าออกที่จมูกและปากไว้ให้มั่นอย่าให้มันเผลอ ต้องสนใจให้มากตรงนี้
    5.การนอนน้อย ตื่นมาเพลียมาก สังขารจะง่วงแต่ใจไม่ง่วงเลยถ้าคุณได้ปฐมฌาน แต่ถ้าสังขารพักผ่อนน้อยมาก ง่วงจัดและต้องฝืนเพราะต้องทำงานหลับไม่ได้เลย มากเข้าๆความง่วงจะค่อยๆมาทำลายให้ฌานเสื่อมได้เหมือนกัน จะไม่เสื่อมในทันทีเหมือนมองรูปหรือภาพลามกแต่จะค่อยๆเสื่อมไปทีละน้อยๆ ฉะนั้นการพักผ่อนให้เป็นเวลา ไม่ฝืนอดหลับอดนอนจนมากเกินไป ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่คิดจะทรงฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เป็นคำพูดของคนผู้ซึ่งยังไม่เข้าป่า คือ ยังอยู่ในห้องบรรยาย พูดได้สารพัด ฯลฯ ครั้นประสบเข้าจริงๆหงายท้องอุจจาระ (หงายท้องขี้ คิกๆๆ) ยกตัวอย่างเทียบ (deejai)ให้ดู เช่นท่องคำพูดว่า "เสือก็รู้ว่าเสือ ไม่ใช่เสือก็รู้ว่าไม่ใช่เสือ" (พูดอยู่ในห้องรับแขกกับเพื่อนๆ) ครั้นเข้าป่าดงดิบ ปะหน้ากับเสือเข้าจริงๆ

    [​IMG]

    ยังไม่ทันคิดอะไรเลย เข่าอ่อนทรุดกองอยู่ตรงหน้าเสือ ฉันใด

    คำพูดเป็นต้น เช่นว่า "ง่วงก็รู้ว่าง่วง ไม่ง่วงก็รู้ไม่ง่วง" เป็นการพูดบรรยายในเวทีสัมมนา (พูดในห้องแอร์) ถ้าเป็นพระก็พูดอยู่บนธรรมมาส

    ครั้นคนๆนั้นแหละมาฝึกจิตด้วยการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ขณะถูกกิเลส คือ ความง่วง (ถีนมิทธะ) ครอบงำจิตยึดจิตเอาแล้ว ยังไม่ทันคิดไม่ทันพูด "ง่วงก็รู้ว่าง่วง ไม่ง่วงก็รู้ไม่ง่วง" วิบไปเลยคอพับไปแล้ว ฉันนั้นแล.:eek:


    พอถูกคนข้างๆสะกิต เอ้ย...ตื่นๆๆ ตาโพล่งเลย ...นึกได้ท่องเลย "ง่วงก็รู้ว่าง่วง ไม่ง่วงก็รู้ไม่ง่วง" คิกๆๆ(deejai)

     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มนุษย์ถูกกิเลสครอบงำจิตใจอยู่ทุกขณะ ขั้นหยาบๆที่พอพูดถึงเห็นภาพก็นิวรณ์ ๕ นี่แหละ ขนาด เดินมันยังเล่นงานสะบักสะบอม ไปไม่เป็นเลย ตัวอย่าง ก็

    ถ้ามนุษย์ยังกำจัดมันไม่ได้ คือยังไม่พบวิธีกำราบมัน ก็ป่วยกล่าวถึงปีติสุขเอกัคคตา นิพพานนั้นเลิกคิดไปเลย :cool:
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วางหลักเทียบไว้ด้วย

    ศัตรูของสมาธิ

    สิ่งต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์

    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิขาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

    คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

    "ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"

    นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ พึงระวัง อย่านำมาสับสนกับสมถะ หรือสมาธิ หากพบที่ใด พึงตระหนักไว้ว่า นี้ไม่ใช่สมถะ นี้ไม่ใช่สมาธิ นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น คือ

    ๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

    ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

    ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

    ...............

    อภิชฌา = กามฉันท์ เช่น ปฏิสํ.อ.213

    อภิชฌา = โลภะ เช่น อภิ.สํ.34/691/273

    คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก (สง.คณี อ. ๕๓๖)
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    กั๊กๆๆๆๆๆ

    เรียนธรรมะ แบบตรรกศาตร์ ลอกคนนั้นที ลอกคนนี้ที ลอกไปลอกมา ไปลอกเอา นิวรณ์
    ธรรมของพวกเดียรถีย์ มาสมอ้างว่า รู้ธรรมะปฏิบัติ

    นิวรณ์ของพวกเดียรถีย น้องๆ หนูๆ โดยเฉพาะเจ้าของกระทู้ จำไว้เลยนะว่า นิวรณ์ที่
    เป็นเงื่อนไขสำเร็จฌาณ ต้องข่มนิวรณ์ก่อน แล้วค่อยมาพูดเรื่องฌาณ อันนี้ เป็นธรรมะ
    ของคนนอกศาสนา เขาปลอมเข้ามาหลอก ไอ้คนก๊อปปี้ไม่เคยปฏิบัติ มันก็เลยไม่รู้ว่า
    ลอกตำรา คนนอกศาสนา มากล่าวว่า ข้ารู้ ข้าย่ำยี

    น้องๆ หนูๆ โดยเฉพาะเจ้าของกระทู้ ให้กระทำไว้ในใจให้ดี แล้ว จะสามารถ ทนต่อการ
    ชักชวนในการพิจารณา นิวรณ์เงื่อนไขของฌาณ แบบบุคคลนอกศาสนาได้

    สิ่งที่ควรกระทำไว้ในใจคือ " นิวรณ์บรรพะ " เป็น ธรรมปฏิบัติในกลุ่ม " ธรรมานุปัสสนา "

    ถ้าพูดแบบ ตรรกศาตร์ แบบ สัทธรรมปฏิรูป ธรรมานุปัสสนา ก่อนจะทำได้ ต้องสำเร็จ
    ฌาณ ต้องสำเร็นอนาคามี ถึงจะทำ ธรรมานุปัสสนา .........

    จริงๆ เปล่าเลย ปุถุชน ก็ยก ธรรมานุปัสสนาได้ ใช่ว่าจะต้องสำเร็จฌาณ แฌณ ฮาเฮวอะไร


    มาดูตัวอย่าง


    พระอานนท์ของเราไง พระอานนท์ท่านเป็นโสดาบันแล้วนะ แล้ว ยังเป็น พหูสูตอีก
    แต่ทว่า พอจะมาปฏิบัติธรรม ก็ เผลอไปเหมือนกัน เผลอไปหยิบจับ ฌาณ แฌณ
    มานั่งปั้น ทั้งคืนทั้งวัน ไม่หลับ ไม่นอน ไม่จำวัด ไม่นั่งห้องน้ำ .....เร่งความเพียรด้วย
    " กายคตาสติ " ลุกเดียว ................

    แล้วไง

    ไปสำคัญว่า ความโงกง่วงเป็นธรรมตื้นๆ มุ่ง กำจัดด้วยอำนาจ ฌาณ

    ที่ไหนได้ ทำกายคตาสติด้วย " โมหะ " เลี้ยง "โมหะ" ไว้จนอ้วน จน ภพใหญ่
    ของมันอิ่มแปร้ พระอานนท์ก็ถูกโมหะลากไปนอน

    พูดซื่อๆ ทำฌาณแทบตายฮา เพื่อขจัดความถ้อถอย โงกง่วง สุดท้าย มันหายไปที่ไหนเล่า

    มีแต่ ไปเลี้ยงมันจนอ้วน มันกำลังลากไปเชือดอยู่แล้ว

    พอเอนตัวเท่านั้น ไอ้หย๋า " ง่วงก็รู้ว่าง่วง " ยกธรรมานุปัสสนา คลิ๊กเดียว วาระจิตเดียว
    ฌาณ แฌณ ไม่ได้นั่งปั้นอยู่เลย [ พวก ดูหนังจีนมาก มักสำคัญว่า จะต้อง นั่งปั้นขี้ ทำ
    ฌาณแล้วสำเร็จเก้าอิม ทะลุพรวด สำเร็จอริยะ ] .......พิจารณา นิวรณ์บรรพะ โดยหยิบ
    ถีนมิททะ มาพิจารณา โมหะมูลจิต ตัวเดียว ฤทธิทั้งหลายทั้งมวล ก็รวมประชุมลง ด้วยอำนาจ
    แห่งการเห็น นิวรณ์บรรพะในฐานธรรมานุปัสสนา นั้น

    ........ชะวิ้ง ชะแวง ครืนๆๆๆๆๆๆ [ เอฟเฟคท่านไปโผล่เอากลางที่ประชุมสงฆ์ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  17. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    จิตตกภวังค์รึเปล่าครับ
    ที่เรียกกันว่าพรหมลูกฟักน่ะ
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ไม่มีอะไรมากครับ จิตตกภวังค์ง่ายคล้ายๆครึ่งหลับครึ่งตื่นนั่นหละครับ
    ปกติถ้าเป็นแบบนี้เวลานอนสมาธิ ส่วนมากมักจะกลายเป็นนอนสมาหลับคร๊อกฟี่ๆ
    เนื่องจากความเคยชินของตัวจิตนั่นเองครับ..
    และกำลังสมาธิสะสมมันไม่พอในการยกระดับสมาธิเฉยๆครับ
    และกำลังสติทางธรรมมันไม่พอในการรักษาอารมย์เราเลยจะ
    อยู่ในอาการภวังค์แบบไม่รู้ตัว จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมักจะลืมตาแล้วครับ
    แก้ง่ายๆ ด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำความรับรู้
    ว่ามีลมหายใจเข้าและออกสัมผัสที่ปลายจมูก หายใจให้ลึกๆถึงท้อง
    แต่ไม่ต้องไม่ตามลม เพื่อสร้างกำลังสติตรงนี้เอามาหนุนตอนนั้งสมาธิ
    จะทำให้รักษาอารมย์ช่วงที่ตกภวังค์แบบที่เราจะรู้ตัวได้ มันงั้นจะไม่รู้ตัวครับ..
    และจะได้กำลังสมาธิสะสมเพียงพอเพื่อหนุนการไต่ระดับฌานไปในตัว
    และถ้ามีเวลา ก็งีบๆทำสมาธิแบบเนียนๆเหมือนเราพักผ่อน ไม่ต้องนาน
    เอาแค่จิตใจสงบก็พอครับ แต่ทำบ่อยๆครั้งหน่อย ก็จะหนุนกำลังสมาธิสะสม
    ในการไต่ระดับได้เองครับ..

    และถ้าพัฒนาต่อจากนี้เมื่อนั่งสมาธิครั้งต่อไปยังเผลอสัปหงก
    ก็ให้เราแผ่เมตตาทุกครั้ง หรือภาวนาไปเป็นชุดๆก่อนแล้วแผ่เมตตา...
    ก็จะแก้อาการเบื้องต้นตรงนี้ได้ครับ...ต่อไปจะนั่งได้นานและไม่สัปหงก
    แต่ว่าอาจจะนั่งให้จิตนิ่งไม่ได้ในอนาคต เพราะจะมีเรื่องผุดขึ้นมารบกวนจิตใจ
    ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ ให้เดินจงกลมก่อนแล้วค่อยนั่งครับ..
    หรือลุกขึ้นไปหาอะไรอย่างอื่นๆทำก่อน แต่ให้รักษาระบบหายใจ
    ให้เป็นปกติแล้วถึงกลับมานั่งสมาธิต่อครับ..
     
  19. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    คนไทยเรียกสองด้านของเหรียญ ดวงอีแปะหนะว่า
    หัว กะ ก้อย
    ฟรั่งเรียก head กะ tail

    นิวรณ์ห้าตัว ก็เหมือนเหรียญต่างสกุลเงินกัน ห้าเหรียญ
    ตามปรกติเราไม่ทำสมาธิ
    เราไม่รู้ อวิชชา คือเหรียญ อาจจะปริกด้านนิวรณื
    มีเหรียณพอใจในรูปรสเกลิ่นเสียงสัมผัส
    เหรียญพยาบาท
    เหรียญง่วง ขี้เกียจ
    เหรียญลังเล สงสัย
    เหรียญฟุ่งซ่าย รำคาญญญญญญญ คนจะทำสมาธิ รำคาญญญ

    อย่างผมเนียะปรกติคือผมขี้เกียจ แสดงอาการในโลกจริงคือผมจะง่วงโงก ผมไม่อยากทะยานอยากจะไม่ทำโน่นทำนี่หาข้ออ้างที่จะไม่ขันแข็งได้ทั้งวัน

    พอผมนั่งสมาธิไอ้เหรียญอื่นๆ ก็พลิกเอาด้านนิวรณ์ขึ้นมาแต่กุศลที่ผมทำมาในอดีต เข้าเกาะกุม ผมมีความสุขที่ได้ทำสมาธิ ก่อนทำ กำลังทำ หลังเลิกทำมีความสุขดี

    แต่ไอ้ง่วง มันไม่โดนกุศลอะไรเลยเข้าดล
    ผมเลยกำหนดรู้ว่าผมมีนิวรณืที่ชื่อง่วงดลอยู่ ผมรู้อยู่
    เป็นการทำธรรมวิจายะในโพชฌงคบรรพ ในพระมหาสติปัฐฐานสูตร
    เป็นการทำธรรมานุสติในกรรมฐาน 40
    เป้ฯการบูชาพระธรรม
    อุทิศกุศลให้พ่อกะแม่ แนะนำให้อุทิศทีละคน ทำบ่อยๆๆ ซักหลายๆๆวันจนเรามั่นใจในผลบุญ
    การอุทิศให้พ่อแม่เห็นผลเร็วมาก
     
  20. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เหรียญสองด้าน
    แต่กว่าจะพลิกอีกด้าน จากอีกด้านไปอีกด้าน
    มันมีโป้ง ชี้ นาง กลาง ก้อย
    เหรียญสองด้านแต่มีการปรากฏ ข้อมูลบนหน้าเหรียญสองด้านได้มากมาย
    รู้แต่ว่าอีกด้านหนึ่งอยู่นอก
    ด้านที่หันเข้าหาเราอยู่ใน

    เช่นบางคนทำสมาธิก็ระงับนิวรณืได้เกือบหมดเหลือแต่สงสัย
    พอสงสันก็ไปงัดเอาองค์ฌานขึ้นมาวิจัย

    ก็มีความสุขในชีวิตดี ทั้งก่อนทำสมาธิ ขณะกำลังทำ และเลิกทำสมาธิก็ดี

    แต่แปลกมาพอออกจากสมาธิ
    จากที่เคยหาคำตอบให้กะชีวิตได้ ตามปรกติ
    หลังจากทำสมาธิแบบนี้
    เวลาอยากได้คำตอบอะไรจะไปคาดคั้นเอาที่คนอื่น ซะงั้น

    เพราะเหรียญที่ชื่อว่าลังเลสงสัย และการไปเององค์ฌานขึ้นมาวิจารณ์
    ยังไม่ได้อุทิศกุศล กุศลไม่ดล

    พอกลับมาที่โลกจริง
    หาคำตอบได้แล้ว มีคำตอบกะคำถามได้หลากหลายมาก
    แต่ยิ่งได้คำตอบจะยิ่งสงสัย

    เหมือนกะง่วงยิ่งทำสมาธิจากปรกติเป็ฯคนขยัน แจ่มใส ขันแข็ง อาสา
    พอทำสมาธิมา ชอบอู้ หาเหตุมาอู้ได้ทุกเรื่อง

    เพราะในโลกจริงเหรียญ มันไม่ยอมพลิก

    มันผ่าน หัว ชี้ กลาง นาง ก้อย
    ปัญญามันแล่น คำตอบมันเยอะ
    เลยสงสัยหนักกว่าเดิม
    เลยพยาบาทกว่าเดิม เลยฟุ้งกว่าเดิม เลยขี้เกียจกว่าเดิม เลยพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสกว่าเดิม

    ให้อุทิศกุศลดู กุศลเดินเราจะเห้ฯการดับไป
    เห็ฯนิโรโธในนิวรณ์ โดยที่ไม่ต้องทำสมาธิจะเห้ฯขึ้นมาเพราะกุศลดล
     

แชร์หน้านี้

Loading...