ทำไมชาวพุทธจึงมีความเครียดหนัก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ruangdet, 24 มีนาคม 2007.

  1. ruangdet

    ruangdet Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +49
    เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ สื่อมวลชนฉบับหนึ่ง
    ได้เสนอข่าวชวนให้คิด เชิงจริยธรรม
    ความว่า บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมือง
    และเศรษฐกิจที่ใช้อักษรย่อว่า เพิร์ด แห่งประเทศฮ่องกง
    ได้จัดอันดับความเครียดของพลเมืองประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเซีย
    ด้วยมาตราวัดความเครียดได้สถิติความเครียด ๖ อันดับดังนี้ : -

    มีความเครียดระดับ ๑
    ได้แก่ พลเมืองประเทศเวียดนาม สถิติ ๘.๕

    มีความเครียดอันดับ ๒
    ได้แก่ พลเมืองประเทศเกาหลี สถิติ ๘.๒

    มีความเครียดสูงอันดับ ๓
    ได้แก่ พลเมืองประเทศไทย สถิติ ๗.๘


    มีความเครียดสูงอันดับ ๔
    ได้แก่ พลเมืองประเทศจีน, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น,
    สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สถิติ ๖.๗

    มีความเครียดสูงอันดับ ๕
    ได้แก่ พลเมืองประเทศมาเลเซีย สถิติ ๕.๖

    มีความเครียดสูงอันดับ ๖
    ได้แก่ พลเมืองประเทศไต้หวัน สถิติ ๕.๕

    นอกจากสถิติดังกล่าว เพิร์ดยังได้สถิติ
    ในด้านที่มีความเครียดน้อยที่สุดไว้ด้วยว่า
    ชาวอินเดียมีความเครียดน้อยที่สุด

    หลายคนสงสัยว่า ทำไมชาวอินเดียจึงมีอารมณ์ดี เครียดน้อยที่สุด

    ในปัญหานี้ น่าจะชี้แนะให้เห็นความจริงว่า
    ชาวอินเดียโดยทั่วไปนั้น เขาเป็นคนทะเยอทะยานน้อยที่สุด
    คนวรรณะต่ำสุดของอินเดีย เป็นคนที่ลำบากยากจนมากที่สุด
    คุ้นเคยชินชาอยู่กับความลำบากยากไร้มากที่สุด
    มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารการกินน้อยที่สุด
    อาศัยอยู่ที่อาศัยที่เป็นกระท่อมน้อย ๆ
    หาความสะดวกสบายได้น้อยที่สุด
    ได้รับอันตรายจากภัยธรรมชาติมากที่สุด
    สรุปว่า ย่อมรับรู้ทุกข์ความเจ็บไข้ ความผิดหวัง
    ความร้อน ความหนาว และการเหยียดหยามก้าวร้าวมาบ่อยทุกรูปแบบ
    โดยเห็นว่าทุกข์เหล่านั้น คือ เพื่อนสนิทในชีวิตของเขา

    ด้วยเหตุนั้น น่าจะเป็นผลทำให้เขาเครียดน้อยที่สุด
    ส่วนชาวไทยเรา มีความเครียดมากติดอันดับ ๓ ของเอเซีย
    อย่างไม่น่าเชื่อ

    ไม่น่าเชื่อเพราะอะไร เพราะชาวไทยมีพระพุทธศาสนาประจำชาติ
    มีพุทธธรรม เป็นโอสถยาวิเศษที่ป้องกันบรรเทา
    และแก้ทุกข์ได้ร้อยแปด
    มีพระสงฆ์เป็นครูชั้นยอด คือ แนะนำให้ทำดี ให้หมดทุกข์ได้สิ้นเชิง

    แต่เหตุไรชาวไทย จึงมีความเครียดหนักหนาเช่นนั้น
    คนโดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า เพราะปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า
    ทำให้คนไทยอยู่สบาย ๆ หรือสุขสำราญอีกต่อไปไม่ได้

    แต่ถ้าจะลงลึกไปอีก เราจะเห็นสาเหตุสำคัญยิ่งไปกว่านั้น
    ก็เราไม่ได้ใช้พระพุทธศาสนา เป็นเครื่องจรรโลงใจกันเลย
    ทั้ง ๆ ที่รู้กันดีว่า ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ

    ที่พึ่งทางกาย เรามีกันพอสมควรแล้ว
    คือ เรามีอาหารพอกิน เรามีเครื่องนุ่งห่มพอใช้
    เรามีบ้านเรือนพออยู่ เรามียาแก้โรคทางกาย หลายต่อหลายอย่าง

    แต่ที่พึ่งทางใจ เราขาดแคลนอยู่เป็นประจำ
    ทำไมจึงขาดแคลน ก็เพราะเราไม่ค่อยอยากใช้ธรรมะ
    ไม่อยากสนใจ ทางพ้นทุกข์หรือทางระงับดับความเร่าร้อนใจในชีวิต
    โดยเราเห็นว่า ไม่จำเป็น และไร้สาระ ช่วยอะไรไม่ได้
    โดยปล่อยธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ให้เป็นของไร้ค่าไปเสียเฉย ๆ


    ถ้าเราจะมาสนใจกันหน่อย ศึกษา
    และอบรมตามหลักธรรมสำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนา

    ให้รู้ว่าอะไร คือ ทุกข์
    อะไร คือ เหตุแห่งทุกข์
    อะไร คือ ความดับทุกข์
    และอะไร คือ วิธีทำให้สิ้นสุดความทุกข์

    และหลักธรรมประกอบอื่น ๆ อีกไม่กี่ข้อ
    เช่น เรื่องโลกธรรม ๘ เรื่องสันโดษ
    เรื่องกฏแห่งกรรม เรื่องการแผ่เมตตา
    และเรื่องไตรลักษณ์ เป็นต้น
    เราก็จะไม่ต้องพ่ายแพ้แก่ความเครียด
    ซึ่งมันเป็นเรื่องทางกายมากกว่า

    บางที เพียงเรื่องโลกธรรมเรื่องเดียว
    ถ้าเรารู้ซึ้งจนยอมรับไปคิดพิจารณาอยู่บ่อย ๆ
    เราก็สามารถระงับยับยั้งทุกข์ระทมที่โหมโรมรันเราได้สำเร็จง่าย ๆ


    ในโลกธรรม ๘ นั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้ความจริง
    หรือธรรมชาติที่ทุกชีวิตจะต้องได้รับเสมอเหมือนกัน
    ไม่มีผู้วิเศษอยู่เหนืออำนาจโลกธรรม ๘ กล่าวคือ
    ๑. มีลาภ แล้วก็ ต้องเสื่อมลาภ
    ๒. มียศศักดิ์ แล้วก็ ต้องเสื่อมยศศักดิ์
    ๓. มีสรรเสริญ แล้วก็ ถูกนินทา
    ๔. มีสุข แล้วก็ ต้องมีทุกข์

    - เป็นไปไม่ได้ที่จะมีแต่ลาภร่ำรวยล้นไม่หยุด
    - เป็นไปไม่ได้ที่จะมีแต่ยศศักดิ์อัครฐาน ไม่เสื่อม
    - เป็นไปไม่ได้ที่จะมีแต่คำยกย่องสดุดี ไม่ถูกด่าว่า
    - เป็นไปไม่ได้ที่จะมีแต่สุขสนุกสนาน ไม่ทุกข์
    อยู่ว่าง ๆ ณ ที่สงบสงัด ทำใจให้เป็นสมาธิ
    คิดพิจารณาตามที่ว่ามา จิตที่ผิดหวัง มีทุกข์
    จะค่อย ๆ มั่นคงมีเหตุผล คลายความทุกข์ได้


    พระพุทธองค์ทรงสอนชาวโลกไว้แจ่มแจ้งแล้ว
    แต่ผู้เครียดทั้งหลาย มิได้ใส่ใจสนใจ
    มิได้นำมาพินิจพิจารณา จึงต้องเครียดหนัก

    ผู้ที่จะอยู่ในโลกได้อย่างสุขสบายไม่เครียด
    จะต้องเป็นผู้ยอมรับรู้ ยอมรับทราบ
    ยอมให้ตนได้รับทุกข์ โดยไม่มีการปฏิเสธ
    (กายจะทุกข์ก็ให้เขาทุกข์)

    คล้าย ๆ ว่า แสวงหาสุขบนกองทุกข์ของตน
    คือ เห็นทุกข์เป็นเพื่อนคู่ชีวิต
    เห็นความลำบากเป็นทางแห่งเกียรติยศ
    เห็นความโศกสลดเป็นรสชาติของชีวิต
    ชีวิตที่เกรียงไกรเลิศล้ำ ต้องมีสีสัน
    ต้องสามารถแสดงบทบาทโลดโผนได้อย่างดี

    มิใช่ชีวิตที่ล่องลอยมาสบาย ๆ ดังพระราชนิพนธ์
    ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...