ช่วยทีครับผมเป็นคนวิตกจริต

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Bloodeagle, 20 มิถุนายน 2013.

  1. Bloodeagle

    Bloodeagle Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +49
    ผมเป็นคนวิตกจริต เป็นพวกพูดมาก ขี้สงสัย ขี้กังวล ขี้อาย ไม่มีสมาธิ คิดได้ทั้งวี่ทั้งทั้งวัน มองโลกในแง่ร้าย ใครว่าอะไรหน่อยก็โกรธ เดียวก็ไม่ชอบนั่น ไม่ชอบนี่ ขี้ระแวง แม้มีครอบครัวที่อบอุ่น แต่ผมรู้สึกโดดเดี่ยวเพราะเพื่อนน้อย เพราะใครพูดไม่เข้าหูก็โกรธ หรือไม่ชอบขี้หน้า คิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งเอาตัวเองเป็นหลัก และที่แย่คือขาดความมั่นใจในตัวเอง แนะนำหน่อยครับผมอยากเปลี่ยนนิสัย และพฤติกรรม
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ในเบื้องต้น ให้เจริญ มรณานุสติ + อสุภกรรมฐาน + พุทธานุสติ
    ให้หาธรรมะของหลวงพ่อ หลวงปู่ แนวอ่านง่ายๆ อ่านแล้วสงบ อ่านแล้วปลง

    จากนั้น ให้ฝึกเจริญสติ

    การเจริญสติเท่านั้น จะช่วยให้หายได้ อย่าหนักไปทางสมาธิ อาการจะมากขึ้นกว่าเดิม
     
  3. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    ตั้งสมาธิดูลมหายใจเข้าออกไว้ เอาสมาธิมาจับที่ปลายจมูก แรกๆ จิตมันจะคอยโดดจะไปจับที่หน้าอกบ้าง ท้องบ้าง ยุบเข้า พองออก ไปที่แขนขา คล้ายๆจะเป็นการเคลื่อนไหว แบบนั้นอย่าไปคิดว่าดี ช่างมัน เดี๋ยวมันจะกลับมาเอง เอาว่าถ้าเริ่มจับว่ามันไหลเข้าไปถึง ดั้งจมูก นับเข้าออกได้สัก 100 ที แล้วมาคุยกันใหม่นะ
     
  4. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154
    ลองดู..และทำความเข้าใจเรื่องเหตุผลครับ.
     
  5. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    เมื่อก่อนน้าก็เป็นอย่างนี้กว่าจะเป็นผู้เป็นคนได้ก็ใช้เวลานานเกินไป อย่างแรกที่ควรทำให้ได้คือ พูดให้น้อยลงครับ พูดมากทำให้ฟุ้ง เพราะคำพูดของเรามันทำร้ายเราเองค่ะ ตามด้วยดูลมหายใจ หายใจเข้าช้าๆให้ลึกที่สุด แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำสักสิบครั้ง
    ทำให้ได้บ่อยๆนึกได้เมื่อไรทำเมื่อนั้น เอาเท่านี้พอก่อนเยอะไปเดี๋ยวทำไม่ได้
     
  6. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ท่านจขกท สามารถวินิจฉัยตนปัญหาของตนได้เช่นนี้ น่าจะแก้ไขตนได้ไม่ยากนะครับ..

    ความฟุ้งซ่านที่คิดไปเรื่อยเปื่อยนั้น เกิดจากความเคยชิน สั่งสมนิสสัยเช่นนี้มานานมากแล้ว พึงฝึกสติ(ดังที่ท่านอินทรบุตรแนะนำไว้) ด้วยการ"รู้สึกตัว"เมื่อเกิดความคิดขึ้น ทันที่ที่ความคิดปรากฏ ให้รู้ตัวว่า "คิดอะไร" ไม่ช่วยคิด เพียงรู้ความคิดนั้น ท่านจะพบว่าความคิดที่เคยแล่นพล่านไปนั้นยุติลงทันที แต่เดี๋ยวมันจะมีความคิดอื่นโผล่มาอีก ท่านพึงรู้ตัว พิจารณาความคิดที่โผล่มาอีก มันจะยุติการต่อเนื่องไป ทำเช่นนี้บ่อยๆ ในที่สุดจะชำนาญ..ไม่ฟุ้งซ่านกระจัดกระจายทางความคิดอีกต่อไป..นี่เป็นวิธีหนึ่งในการระงับอาการฟุ้งซ่าน..


    สำหรับการพูดมากนั้น พึงพิจารณาเห็นโทษของการพูดว่า ที่ตนพูดนั้น มีประโยชน์ใหม ถูกกาละเทศะ หรือไม่..พูดกับใคร และเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า? ถ้าพูดด้วยความคะนอง สนุกสนานไปเรื่อยหรือส่อเสียดเพ้อเจ้อผรุสวาท เป็นอาจิณ เรียกว่าทำเป็นปรกติ ไม่เคยเบรคตนเลยสักครั้ง อย่างนี้ย่อมมีโทษตามมาเพราะพูดแล้วศีลขาดกระเจิง เป็นการแผ้วทางไปทุคติ อบายภูมิได้ง่ายที่สุด เรียกว่าถ้าตายเวลานี้นั้นมิสิทธิ์ไปอบายก่อนเพื่อน และเศษกรรมจะส่งผลให้ได้ยินแต่ถ้อยคำอัปมงคลเป็นอันมาก เราเองคงไม่ปลื้มแน่ที่ต้องได้ยินเสียงเช่นนั้นจึงพึงยุติเสียงที่ไม่น่าปรารถนาของตนมิให้กระทบ โสตประสาทของชาวบ้านโดยเร็ว...หมั่นสมาทานประพฤติศีลบ้างจะช่วยกระตุ้นหิริโอตัปปะ ได้ไม่มากก็น้อย ลองดูครับ..


    ปัญหานี้มีรากฐานจากการขาดปัญญา เพราะไม่ได้สดับหรือเรียนรู้มา ผนวกกับความนิยมล่วงศีลบ่อยๆจึงไม่มีความแกล้วกล้ามั่นใจองอาจ มีแต่ความกลัวขลาดเขลา สงสัยไปเสียทั้งนั้น เพราะไม่อาจตัดสินใจในสิ่งใดได้ด้วยตนเองอย่างแน่แท้..แก้ไขด้วยการใช้เวลาที่มีอยู่เรียนรู้ในเรื่องที่มีประโยชน์ที่ตนสนใจ และประพฤติศีลอย่างมั่นคงให้มาก..ความอายนั้น หากอายต่อการทำบาปชั่วแล้ว เป็นเรื่องที่ดีมากเรียกว่า"หิริ" แต่ถ้าอายในทางดีและกล้าทางบาป ก็ควรแก้ไขโดยไว การศึกษาพระธรรมจะช่วยได้มาก เพราะพระธรรมเป็นทางมาของปัญญาโดยตรงท่านจะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดีหรือชั่ว ความอายของท่านในบางสิ่งเหมาะควรหรือไม่ เพราะเหตุใด..เพราะได้ปัญญา ย่อมเป็นผู้มีความฉลาดคิด ย่อมหมดความกลัวในเรื่องที่ไม่ควรกลัว เพราะท่านจะแยกแยะเป็น..



    เรื่องนี้ มีสาเหตุคือความไม่แยบคายในการคาดหวังในสิ่งต่างๆรอบตัว ไม่อาจพอใจในสิ่งใดได้ด้วยเหตุผลที่ควร...อาจเป็นเพราะถูกเอาใจมากจากคนรอบข้่าง จึงสนับสนุนมานะของตนให้เติบกล้า ต้องการแต่จะให้ได้ตามใจตน..ไม่รู้ความควรไม่ควรหรือไม่สามารถลดมานะตัณหาของตนลงได้..เขาชมก็ชอบ เขาว่าก็โกรธ เขามาก็ดีใจ ไม่มาก็หงิก เขาเอาน้ำแดงมาให้ ตนจะเอาน้ำเขียวฯลฯ..คิดได้แต่ว่า ข้าพเจ้าต้องได้ตามใจเท่านั้น คนอื่นไม่สน...นี่จึงไม่มีใครอยากอยู่ใกล้ แม้มีครอบครัวอบอุ่นแต่ตนเท่านั้นดันปล่อยตนโดดเดี่ยวไปด้วยพฤติกรรมไม่น่ารัก...ถามตนเองดูเถิดว่า เราชอบใจอยากอยู่ ใกล้หรือเสวนากับพวกที่เอาแต่ใจตนใหม?..คงแทบวิ่งหนีไปให้พ้นให้ไกลนั่นเทียวจริงใหม?...

    เราแก้ไขได้ด้วยการคิดเอาใจเขามาใส่ใจเราดูบ้าง ว่า เออ ที่ทำ พูด เช่นนี้ กับคนอื่นนั้น ถ้าเราเป็นเขาเีราจะชอบใจใหม..ลดตัวตนของตนให้เล็กลงได้บ้าง คิดถึงความตาย(อย่างที่ท่านอินทรบุตรแนะนำไว้)ว่าเราและเขาต่างต้องตายจากกันในวันหนึ่งแน่ ควรหรือจะทำร้ายใจกัน..โกรธกัน..เบียดเบียนกันเช่นนี้..ใครจะประกันได้ว่าในชั่วโมงหน้า เราหรือเขาจะไม่ตาย?...เพราะกายของเรานั้น สาธารณะต่อเครื่องมือที่ทำให้ตายได้ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่า คนที่นอนอ่านหนังสือพิมพ์บนถนนจะไม่ใช่เรา?..

    เมื่อเรารู้จักใส่ใจในความรู้สึกของชาวบ้านได้ ความคิดชั่วหยาบย่อมลดลงเพราะความที่ตนเกิดเมตตากรุณาคนอื่น เป็น คนเช่นนี้อยู่ที่ใหนก็มีแต่คนรัก แม้เทวดายังนิยมตามดูแลรักษา การเป็นคนดี ไม่ใช่เรื่องยากเลย หากคิดจะทำ...



    ท่านจขกท บัดนี้พึงทิ้งคราบคนเก่าที่เสียหายไปเสีย เริ่มฝึกตนที่จะไม่ยอมให้กิเลสตัณหามานะมาชักใยลากจูงท่านไปสู่ความวิบัติเถิด เพื่อนๆที่นี่มีกำลังใจให้และต่างหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่่านจะเป็นมนุษย์ที่บริบูรณ์สมกับการได้เกิดมาด้วยบุญอันดียิ่ง เป็นผู้มีสติปัญญา มีศีล รักษาตนไว้ในความสวัสดีได้ในเร็ววัน...สมกับที่ท่านตั้งใจจะมีเเละเป็นนะครับ.
     
  7. I'm da ?

    I'm da ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2011
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +214
    เอาสั้นๆง่ายๆก่อนคือให้รู้เท่าทันความคิดตัวเองมีสติตามรู้ความคิดของเราเกิดอะไรขึ้นกับเราก็หายใจเข้า-ออกยาวๆไว้เริ่มต้นแค่นี้ก่อนchearrjaah
     
  8. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,137
    หยุดสำคัญตนเสีย.. ทุกคนเท่าเทียม เพราะต่างก็เป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมนั่นคือ เกิดแก่เจ็บตาย เหมือนๆกัน เมื่อมีชีวิตอยู่ เราต่างรู้สึกเหนื่อย หิว ร้อน หนาว ง่วง เจ็บไข้ แก่ ดีใจ เสียใจ รัก โำลภ โกรธ หลง ต้องพบกับความสุข ความทุกข์เหมือนๆ กัน พอตายไปแล้ว กายสังขารก็เน่าเปื่อยผุพัง ฉะนั้น ในบริบทของธรรม เราจึงไม่แตกต่างกันเลย

    ถ้าเราเห็นจริงตามนี้ มานะที่จะสูงกว่าเขา ย่อมไม่มี เพราะความจริง ไม่มีใครสูงกว่าใคร ทุกคนมีหนึ่งจิต หนึ่งกายเท่าเทียมกัน มีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสพสุขบนสวรรค์ และทุกข์ทรมานในนรกได้พอ ๆ กัน หากถอดความคิดที่ปรุงแต่งเหล่าั้นั้นออกจนหมด ทุกคนก็คือมนุษย์ เหลือแต่เพียงความเป็นสัตว์โลกตาดำ ๆ เท่านั้นเอง ในเมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ เราจึงควรขัดเกลาตนเองให้สอดคล้อง ไม่นึกรังเกียจเดียดฉันท์หวาดระแวงใคร ๆ ลด ละ เลิกความคิดที่เคยมีเคยเป็นต่อคนอื่นลงเสีย โดยการมีสติ "สติ" คือสิ่งที่ต้องอยู่กับใจตลอดเวลา ชีวิตขาดสติเมื่อไร ก็ย่อมพุ่งลงเหวเมื่อนั้น ผู้บรรลุธรรมรู้แจ้งก็ด้วย "สติ" การงานใดจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ด้วย "สติ"

    "คำว่า สตินี้ หมายถึงความรู้ตัวทั่วพร้อม ว่ากายและใจ อยู่แบบไหน อย่างไร จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ควรมีสติกำกับไว้มิให้ขาด"

    คนวิตกจริต ก็เพราะ "ขาดสติ" คนมีปัญญาได้ ก็ด้วย "ความมีสติ" ตราบจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต สตินี่เองคือตัวส่งผ่านเราไปสู่ชีวิตใหม่ ไปสูง ไปต่ำ ก็อยู่ที่มันกำกับ เห็นได้ว่า สตินี่แหละ คือเข็มทิศนำทางแก่เรา

    "ความไม่รู้" นำพาให้เราถือกำเนิด ..พระพุทธเจ้า เรียกความไม่รู้นี้ว่า "อวิชชา" ที่หมายถึง การมองเห็นที่ผิดไปจากความจริง และสิ่งนี้เอง ทำให้เราถูกจองจำอยู่ใน ความทุกข์ที่ไม่รู้จบ"

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย เข้าไปรับสัมผัสในเบื้องต้น จากนั้นจึงหยิบเอารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผสมกับใจ แปรเป็นอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ชอบใจ ไม่ชอบใจ หลังจากนั้น มนุษย์ก็เกิดอุปาทาน คิดว่ามีตัวกูของกูขึ้นมา อธิบายง่ายๆ สิ่งต่างๆ ที่เราหลงว่าเป็นเราเป็นเขานั้น ที่จริงไม่มีอยู่ จะมีก็แต่เพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และจิต ที่ประชุมตัวกันเพียงชั่วคราว เมื่อถึงเวลา ทุกสิ่งก็จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ ส่วนพลังงานที่เรียกว่าจิต ก็เคลื่อนตัวไปสู่ภพใหม่

    การรวมตัวของจิตและธาตุต่างๆ ถ้าเราจับแยกจะพบว่า ชีวิตก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราเห็น ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีของของเรา ไม่มีของของเขา นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และนี่เองคือสาเหตุที่แท้แห่งความทุกข์ทั้งมวล ที่จิตวิญญาณทั้งหลายกำลังเผชิญอยู่

    ดังนั้น ท่านจขกท.คะ หนทางแห่งการรู้แจ้ง ไม่มีอะไรมากไปกว่า การพิจารณาให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงแห่งชีวิตดังที่กล่าวมาทั้งหมดเลยค่ะ โดยใช้เครื่องมือสำคัญที่เรียกว่า "สติ" ตามรู้ ตามดู อยู่ทุกขณะ การทำความเข้าใจซ้ำ ๆ เช่นนั้นอยู่ทุกเมื่อเชืี่่อวันด้วยความพากเพียร ไม่ช้านานเราอาจได้กลับบ้านที่แท้จริง พระพุทธเจ้าทรงเรียกบ้านหลังนั้นว่า "นิพพาน"
     
  9. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    [​IMG]


    รับกรรมฐานให้ถูกกับจริตของตน

    จริต หรือ จริยา หมายถึง พื้นเพของจิต ลักษณะนิสัยความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง คนที่มีจริตแบบใดลักษณะนิสัยจิตใจก็จะเป็นไปในทางนั้น จริตแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ มี ๖ คือ

    ๑.ราคจริต นิสัยหนักไปทางราคะ รักสวย รักงาม ยืน เดินเยื้องย่างละมุนละไม ไม่รีบร้อน รักสะอาด พิถีพิถันเรื่องของใช้เครื่องแต่งตัวเครื่องประดับ ชอบบริโภคอาหารรสกลมกล่อม ประณีตและหวาน ทำการใดๆ ก็ทำอย่างเรียบร้อยมีระเบียบสวยงาม

    ๒. โทสจริต นิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อนหงุดหงิด อารมณ์รุนแรง ทำการงานสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย ตึงตัง โครมคราม ชอบอาหารรสเปรี้ยว รสจัด รับประทานอาหารเร็ว เดินเร็ว ฝีเท้าหนัก ชอบวิวาท

    ๓. โมหจริต นิสัยหนักไปทางโมหะ ค่อนข้างเขลา เชื่อง่ายงมงาย เซื่องซึม ไม่กระปรี้กระเปร่า เหม่อลอย ท้อถอย ไม่เข้มแข็ง ทำงานใดก็ทำอย่างหยาบๆ ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย ชอบเผลอสติ

    ๔. สัทธาจริต นิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเลื่อมใสได้ง่าย ไม่มีมารยาสาไถย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย บิดา มารดา ครู อาจารย์

    ๕. วิตกจริต
    นิสัยหนักไปทางวิตกกังวล ย้ำคิด ฟุ้งซ่าน วาดวิมานในอากาศ กลัวไปล่วงหน้าทั้งที่เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น


    ๖. พุทธิจริต นิสัยหนักไปทางชอบใช้เหตุผล สติปัญญา ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบศึกษา ครุ่นคิด

    คนแต่ละคนจะมีจริตอย่างเดียว อาจมีจริตผสมกันได้ เช่น เป็นคนราคจริตและโทสจริตในคนๆเดียวกัน เป็นคนโทสจริตและโมหจริตด้วย เป็นต้น

    บุคคลที่เกิดมาในโลก มีจริตนิสัยแตกต่างกันไป แม้พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน ก็มีอัธยาศัยจิตใจผิดแผกกันไป ทั้งที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูเหมือนๆกัน

    พุทธศาสนาได้อธิบายสาเหตุ ของความแตกต่างกันของนิสัยนี้ว่า มาจากกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่บุคคลผู้นั้นได้สั่งสมมาในชาติปางก่อนๆ ไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในชาติปัจจุบัน หรือ การอบรมเลี้ยงดูเพียงอย่างเดียว เหตุจากชาติปางก่อนมีส่วนด้วยและการเลี้ยงดูความประพฤติการปฏิบัติตนในชาตินี้ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน

    ทั้งนี้พุทธศาสนาเห็นว่าคนสามารถพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้ แก้ไข ปรับปรุงตนเองได้ มิใช่ยินยอม ถูกกระทำหรือยอมรับทุกสิ่ง หรือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกระแส

    แต่คนมีศักยภาพ (potential) ที่จะเป็นผู้ฝ่าฟัน ชนะสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ ในใจของตน และสร้างสรรค์พัฒนาสิ่งที่ดีงามให้งอกงามผลิบานได้ ในจิตใจและชีวิตของตนเอง จริตนิสัยเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ เช่น คนโมหจริต โง่เขลา ด้อยปัญญา ก็สามารถแก้ไข หรือปรับปรุงตัว โดยหมั่นไต่ถามผู้รู้ ขยันศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ สนทนาธรรม เป็นต้น การแก้ไขจริตนิสัยที่ไม่ดีไม่งามต่างๆ นั้น

    ถ้าบุคคลผู้นั้นเห็นโทษของมันและมุ่งมั่นจะเปลี่ยนแปลง ก็สามารถบรรเทาหรือทำให้ดีขึ้นได้ เช่น เห็นโทษของโทสะ ก็หาอุบายวิธีระงับ หรือบรรเทาไม่ให้โทสะกำเริบ หรือแสดงออกมาให้เกิดผลเสียทั้งแก่ตนเองและผู้คนรอบข้าง การเจริญเมตตาภาวนาซึ่งเป็นการเจริญสมาธิอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่สามารถช่วยให้จิตใจอ่อนโยนและบรรเทาโทสะลงได้


    [​IMG]


    การเลือกกรรมฐานให้เหมาะกับจริต
    ต้องพิจารณาว่าอุปนิสัยของเราโน้มเอียงหรือหนักไปทางใด มีหลักพิจารณาดังต่อไปนี้

    ๑. คนราคจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อสุภะ ๑๐ (พิจารณาซากศพ)
    และ กายคตาสติ (พิจารณากาย คือ พิจารณาอาการ ๓๒ ของกาย)


    ๒. คนโทสจริต
    กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ พรหมวิหาร ๔ (อัปปมัญญา ๔)
    วรรณกสิณ ๔ ได้แก่ กสิณสีแดง กสิณสีขาว กสิณสีเขียว และกสิณสีเหลือง

    ๓. คนโมหจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อานาปานสติ (การดูลมหายใจเข้าออก)

    ๔.คนสัทธาจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อนุสสติ ๖ (พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ
    สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ)

    ๕.คนวิตกจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อานาปานสติ

    ๖.คนพุทธิจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

    ส่วนอรูปฌาน ๔ และมหาภูตกสิณทั้ง ๔ คือ ปฐวีกสิณ (กสิณดิน) อาโปกสิณ (กสิณน้ำ) เตโชกสิณ (กสิณไฟ) และวาโยกสิณ (กสิณลม) เหมาะกับคนทุกจริต

    เมื่อเจริญสมาธิแบบใดแล้วเห็นว่าเหมาะกับจริตของตนเอง ก็ไม่ควรโลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำวิธีโน้นบ้าง ทำวิธีนี้บ้าง จนท้ายที่สุดสมาธิก็ไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นเรื่องเป็นราว เมื่อได้สมาธิที่เหมาะกับจริตก็ควรตั้งใจปฏิบัติไปจนถึงที่สุดแห่งวิธีการหรือสมาธินั้นๆ

    คัดลอกมาจาก บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๙ เรื่องสมถกรรมฐาน
    บรรณานุกรม
    ๑) ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท : พระสัทธัมมโชติกะ : อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์ ; พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๙
    ๒) วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา
    พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ
    และพระเขมินทเถระ
    ๓) วิสุทธิมรรค ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
    ๔) พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑- ๒
    ๕) การเจริญสมาธิ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา BUDDHIST MEDITATION ผศ.ดร.นฤมล มารคแมน
    สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๔
    ที่มา รับกรรมฐานให้ถูกกับจริตของตน
     
  10. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465

    แนะนำให้หาครูอาจารย์สอบอารมณ์ครับ ไม่ควรคิดและสรุปเอาเอง การอ่านข้อธรรมต่างๆแล้วปฏิบัติอาจหลงทางได้ ลองคลิกเข้าไปที่ลิงค์นี้ ขึ้นพระกรรมฐานใหญ่ ครั้งที่ ๒๓๑ (ปี๒๕๕๖) | Somdechsuk.org
     
  11. Kiai

    Kiai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +36
    อ่านแล้วคิดว่า ลูกแม่ปลีกตอบเรื่องนี้ได้ถ่องแท้ที่สุดแล้วครับเพระาคนเรานั้นแตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้จักหน้าที่ว่าตัวเองเป็นใครมีหน้าที่ทำอะไรหากเรียงลำดับความสำคัญกับสิ่้งที่ทำและใช้พละสี่และิอิทธิบาทสี่(ไม่ใช่อิทธิพลนะครับ)เข้าตริตรอง ความรู้สึกดังกล่าวน่าจะหมดไป
    คิดในสิ่งที่เป้นเรื่องที่ควรคิดหรือไม่ การใดที่ืคิดไม่ดีทำไม่ดีในเมื่อย่อมรู้ผลของกรรมเหล่านั้นอยู่แล้วก็ไม่ควรจะลองดีกับกรรมและธรรมะที่เป็นของจริง ส่วนเหตุปัจจัยที่เข้ามายั่วยุนั้นมันเป็นเหตุของมันอยู่แล้วหากปล่อยให้มันเป็นไปมันก็จะเป็นไปเช่นนั้น เหมือนที่มันเคยเป้นมาซึ่งก็ไม่เคยทำอะไรเราได้ไม่ใช่เหรอครับ ไม่งั้นเหตุยั่วยุที่ทำให้จิตใจเกิดข้อกังขาแบบนี้คงไม่เกิดกับคนแบบท่านอย่างต่อเนื่อง ผมเคยใช้ได้ผลมาแล้ว ลองดูนะครับอย่าไปใส่ใจกับสิ่้งที่เราคิดว่าไม่ได้เปิดเผยเก็บไว้ในใจหรือที่ส่วนตัว แม้่มารจะเข้ามาผจญด้วยวิธีต่างๆบอกถึงรู้ถึงเห้นสิ่งที่เราเป้นไปจนคบหาใครๆไม่ได้ นั่นเป้นวิธีผจญของเขาครับ การโทษตัวเองจะทำให้ความมั่นใจของเราลดลง ซึ่งเป้นสิ่งที่เหตุเร้าบางอย่างต้องการเช่นนั้น ที่พูดเช่นนี้เพระาเห้นว่าคนส่วนใหญ่ยังมีกิเลสกันอยู่ การให้ความสำคัญกับตัวเองก่อนก็สำคัญเช่นกัน พิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอะไรเป้นอุปสรรคมากน้อยและมันสำคัญแค่ไหนกับคำว่าหน้าที่ที่เรามี เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือหน้าที่เมื่อสนใจในหน้าที่ที่ตนมีแล้วเรือ่งอื่นก็จะไม่สามารถเข้ามาในจิตใจของเราได้ เมือ่ถึงพร้อมด้วยจิตใจที่มั่นคงความมั่นใจก็จะเกิดตามมา หลังจากนั้นสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น หรือ สิ่งเร้าอันอุบาทว์ทั้งหลายก็จะทำอะไรเราไม่ได้ ส่วนการโทษตัวเองที่ว่าไม่ดีซะทีเดียวนั้นต้องขอบอกไว่้เลยครับว่า คนเรานั้นมีทั้งดีและไม่ดี คนหรือสัตว์บาางชนิดมีนิสัยสันดานชอบเห้นความล้มเหลวหรือเจ็บปวดจากคนอื่น ยิ่งทำเช่นนั้นเขายิ่งชอบ และทนไม่ได้จะทุรนทุรายหาเหตุผลต่างๆนาๆเพื่อให้เราอยู่ในสภาพแย่ๆต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...