การบวชเป็นการเปลี่ยนชีวิตจิตใจที่เคยฟุ้งซ่าน

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย ศรทอง, 30 พฤศจิกายน 2012.

  1. ศรทอง

    ศรทอง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +63
    การบวช เป็นกรณียกิจ ประจำชีวิตของพุทธศาสนิกชนมานานแล้ว ถือกันเคร่งครัดมาก เพราะการบวชเป็นการเปลี่ยนชีวิตจิตใจที่เคยฟุ้งซ่าน ซึ่งหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของโลก ให้อยู่ในอาการสงบ
    คำว่าบวช เห็นจะมาจากศัพท์ว่า ปวช อ่านว่า ปะวะชะ แปลว่า “เว้นจากสิ่งที่ควรเว้นทั่วๆไป” หมายความว่าสิ่งใดที่เป็นไปเพื่อความหมกมุ่นมัวเมา หรือฟูกิเลสก็เว้นสิ่งนั้นเสีย นี้เป็นความหมายคำว่า บวช
    ประเพณีไทยของชาวสยามเรา เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีหรือกว่านั้น ซึ่งเป็นอายุอยู่ในเกณฑ์ที่ถือกันว่ามีใจคอหนักแน่นอดทนต่อความหิวกระหายได้ ก็เตรียมตัวบวช เตรียมเครื่องอัฐบริขารคือ สบง จีวร สังฆาฎิ บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคด หม้อกรองน้ำ รวม ๘ อย่างไว้ให้ครบ ก่อนบวชประมาณ ๑๕ วัน หรือหนึ่งเดือน ต้องนำลูกหลานที่จะบวชไปฝากอยู่กับพระเพื่อท่องขานนาค และซ้อมวิธีบวชในเวลาอันสมควร ตอนนี้เรียกว่า นาคตอนเป็นนาคนี้สำคัญ กำลังมีสง่าราศี ไม่ให้เที่ยวเตร่ เพราะถ้าไปมีเรื่องขึ้นไม่ได้บวช พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงกวดขันลูกหลานของตนตอนที่เป็นนาคมาก
    การที่เรียกผู้บวชว่านาคนั้น ท่านกล่าวเป็นตำนานว่ามีพญานาคแปลงเป็นมนุษย์มาบวช แต่พอนอนหลับก็กลับเป็นนาคตามเดิม วันหนึ่งมีภิกษุไปเห็นขณะที่ภิกษุเป็นนาคนั้นนอนหลับมีกายเป็นนาค จึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์เรียกตัวมาถามได้ความว่าเป็นนาคจริง แต่มีศรัทธาอยากบวชจึงได้แปลงเป็นมนุษย์มา พระพุทธองค์ตรัสว่า สัตว์เดียรัจฉานบวชไม่ได้ แล้วสั่งให้สึกเสียกลับเป็นนาคตามเดิม พญานาคนั้นมีความอาลัยมาก จึงทูลว่าถึงจะไม่ได้บวชอยู่ต่อไปก็ขอฝากชื่อไว้ ถ้าผู้ใดจะบวชขอให้เรียกชื่อว่านาคเสมอไป พระพุทธองค์ทรงรับคำพญานาคตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นธรรมเนียมเรียกผู้ที่จะบวชว่านาคสืบมา และคำว่าขานนาคก็คือขนานชื่อนาคนั่นเอง เพราะแต่ก่อนผู้บวชต้องขนานชื่อของตนว่า นาโค ซึ่งแปลว่านาค เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นบอกฉายาไปแล้ว
    อนึ่ง คำว่า นาค นี้ แปลตามศัพท์ว่า ผู้ประเสริฐ ผู้ไม่ทำบาป จะหมายว่าผู้ที่จะบวชเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่ทำบาปก็น่าจะได้ จึงเรียกว่า นาค
    [​IMG]
    ประเพณีไทย การทำขวัญนาค
    เมื่อผู้จะบวชอยู่กับพระพอสมควรแล้ว ครั้นใกล้จะถึงวันบวชมีธรรมเนียมว่าต้องนำดอกไม้ธูปเทียนไปเที่ยวขอลาญาติพี่น้องและผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ เมื่อขอลาแล้วเริ่มพิธีบวชต่อไป ก่อนบวชวันหนึ่งในเวลาเย็น มักมีการทำขวัญ การทำขวัญนั้นนาคต้องโกนหัวแต่งตัวเข้าไปนั่งในที่ที่จะทำขวัญ มีบายศรี และแว่นเวียนเทียน พวกญาติพี่น้องมิตรสหายมานั่งล้อมเป็นวง บริขารต่างๆ เช่น บาตร ผ้าไตรและเครื่องสักการะทั้งปวง ก็นำมาตั้งที่ทำขวัญด้วย แล้วหมอทำขวัญก็ว่าทำขวัญเป็นทำนองเหมือนเทศน์มหาชาติ เมื่อจบก็ตีฆ้องและโห่ ๓ ลา การทำขวัญเป็นการปลูกให้เกิด ปีติ โสมนัส ทั้งแก่ญาติมิตรและผู้บวช บางทีก็ทำให้ญาติและผู้บวชปลื้มใจจนน้ำตาไหลก็มี เมื่อจบทำขวัญก็เบิกแว่นเวียนเทียน เวียนไปจนรอบนาค เป็นเสร็จพิธีทำขวัญ
    รุ่งขึ้นวันที่จะบวช บรรดาญาติพี่น้องและผู้เป็นเจ้าของนาค ก็จัดการแห่นาคไปวัด การแห่นาคนี้ทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนาน ซึ่งสุดแต่นิยมทำกันอย่างไร พาหนะสำหรับนาคนั้นโดยมากขี่ม้าและมีกลดลั้น การที่ให้นาคขี่ม้าจะถือตามอย่างครั้งเจ้าสิทธัตถะ เมื่อออกบวชก็ได้ขี่ม้ากัณฐศวราช แต่ไม่มีพิธีแห่ เจ้าสิทธัตถะนี่ภายหลังได้เป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นจะด้วยเหตุนี้เองจึงนิยมให้นาคขี่ม้าแล้วแห่ไป เมื่อแห่ถึงวัดนาคลงจากม้า ตอนจะเข้าโบสถ์ก็แห่รอบโบสถ์อีก ๓ ครั้ง บางแห่งยังมีการบูชาเสมา หมายความว่าจะเข้าเขตพระพุทธเจ้าต้องบูชาเสียก่อน เป็นการบูชาพระนั้นเอง นัยหนึ่งว่าญาติจูงนาคเข้าโบสถ์เพราะเกรงว่านาคจะประหม่าตกใจไม่กล้าเข้าโบสถ์ ญาติจึงต้องจูงเข้าไป ถ้าพ่อแม่จูง แม่ต้องอยู่ขวา พ่ออยู่ซ้าย นัยหนึ่งว่านาคจูงญาติเข้าโบสถ์เพื่อให้ได้ถึงพระ
    **ยังมีต่อนะครับ**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2012
  2. J47

    J47 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +3,405
  3. ศรทอง

    ศรทอง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +63
    ประเพณีไทย การทำขวัญนาค

    [​IMG]
    เมื่อผู้จะบวชอยู่กับพระพอสมควรแล้ว ครั้นใกล้จะถึงวันบวชมีธรรมเนียมว่าต้องนำดอกไม้ธูปเทียนไปเที่ยวขอลาญาติพี่น้องและผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ เมื่อขอลาแล้วเริ่มพิธีบวชต่อไป ก่อนบวชวันหนึ่งในเวลาเย็น มักมีการทำขวัญ การทำขวัญนั้นนาคต้องโกนหัวแต่งตัวเข้าไปนั่งในที่ที่จะทำขวัญ มีบายศรี และแว่นเวียนเทียน พวกญาติพี่น้องมิตรสหายมานั่งล้อมเป็นวง บริขารต่างๆ เช่น บาตร ผ้าไตรและเครื่องสักการะทั้งปวง ก็นำมาตั้งที่ทำขวัญด้วย แล้วหมอทำขวัญก็ว่าทำขวัญเป็นทำนองเหมือนเทศน์มหาชาติ เมื่อจบก็ตีฆ้องและโห่ ๓ ลา การทำขวัญเป็นการปลูกให้เกิด ปีติ โสมนัส ทั้งแก่ญาติมิตรและผู้บวช บางทีก็ทำให้ญาติและผู้บวชปลื้มใจจนน้ำตาไหลก็มี เมื่อจบทำขวัญก็เบิกแว่นเวียนเทียน เวียนไปจนรอบนาค เป็นเสร็จพิธีทำขวัญ
    รุ่งขึ้นวันที่จะบวช บรรดาญาติพี่น้องและผู้เป็นเจ้าของนาค ก็จัดการแห่นาคไปวัด การแห่นาคนี้ทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนาน ซึ่งสุดแต่นิยมทำกันอย่างไร พาหนะสำหรับนาคนั้นโดยมากขี่ม้าและมีกลดลั้น การที่ให้นาคขี่ม้าจะถือตามอย่างครั้งเจ้าสิทธัตถะ เมื่อออกบวชก็ได้ขี่ม้ากัณฐศวราช แต่ไม่มีพิธีแห่ เจ้าสิทธัตถะนี่ภายหลังได้เป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นจะด้วยเหตุนี้เองจึงนิยมให้นาคขี่ม้าแล้วแห่ไป เมื่อแห่ถึงวัดนาคลงจากม้า ตอนจะเข้าโบสถ์ก็แห่รอบโบสถ์อีก ๓ ครั้ง บางแห่งยังมีการบูชาเสมา หมายความว่าจะเข้าเขตพระพุทธเจ้าต้องบูชาเสียก่อน เป็นการบูชาพระนั้นเอง นัยหนึ่งว่าญาติจูงนาคเข้าโบสถ์เพราะเกรงว่านาคจะประหม่าตกใจไม่กล้าเข้าโบสถ์ ญาติจึงต้องจูงเข้าไป ถ้าพ่อแม่จูง แม่ต้องอยู่ขวา พ่ออยู่ซ้าย นัยหนึ่งว่านาคจูงญาติเข้าโบสถ์เพื่อให้ได้ถึงพระ
     

แชร์หน้านี้

Loading...