สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รวมไว้จะได้ไม่ต้องไปแจมกระทู้ที่ดูวุ่นวาย สุดท้ายทุกอย่างจะถูกเชื่อมโยงมาถึงกันและกัน

    เผื่อใจไว้สักนิดนี่ภาค ปฎิเวธ คือผล และถ้าหากมันเป็นจริง คือ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คือยอมให้ดูว่าเป็นเรื่องที่เป็นเพียงเศษ ๑ หรือเป็นไปไม่ได้เลย ก็อาจทำไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไร? แต่ถ้าเป็นจริง ก็เตรียมตัวเสียใจได้เลย

    ก็ไม่รู้จะแต่งเรื่องสร้างเรื่องโกหก ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นไปทำไม การปรากฎบุคคลผู้ทำให้รู้ในสิ่งที่รู้ได้ยากขนาด.. แต่ธุลีผู้รับรู้รับฟังในดวงตามีมากเกินกว่าจะเยียวยาแก้ไข ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญใดๆ ของการมีอยู่ ก็ต้องทำใจปล่อยให้ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างเป็นไปตามกรรม


    รอเวลาเถอะ! หน้าที่ของผู้นั้น ยังไงก็ต้องจักเกิดปรากฎขึ้น ชนบางหมู่ต้องสลดใจไปจนวันตาย

    http://palungjit.org/threads/ทั้งชีวิตขอเรื่องเดียว.548578/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระอภิธรรมปิฎก
    เล่ม ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    มาติกา
    ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
    [๑]
    ๑. กุสลติกะ
    กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล
    อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล
    อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต
    ๒. เวทนาติกะ
    สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา
    ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
    อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
    ๓. วิปากติกะ
    วิปากา ธมฺมา ธรรมเป็นวิบาก
    วิปากธมฺมธมฺมา ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก
    เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา ธรรมไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก
    ๔. อุปาทินนุปาทานิยติกะ
    อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ
    เข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
    อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ
    ไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
    อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ
    ไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
    ๕. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกติกะ
    สงฺกิลิฏฺสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส
    อสงฺกิลิฏฺสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
    อสงฺกิลิฏฺาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
    ๖. วิตักกติกะ
    สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิตกมีวิจาร
    อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร
    อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
    ๗. ปีติติกะ
    ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ
    สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา
    อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
    ๘. ทัสสนติกะ
    ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
    ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
    เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓
    ธมฺมา ไม่ประหาณ
    ๙. ทัสสนเหตุกติกะ
    ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
    ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
    เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและ
    ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา มรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
    ๑๐. อาจยคามิติกะ
    อาจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ
    อปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
    เนวาจยคามิโน นาปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ
    ให้ถึงนิพพาน
    ๑๑. เสกขติกะ
    เสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของเสกขบุคคล
    อเสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล
    เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของ
    อเสกขบุคคล
    ๑๒. ปริตตติกะ
    ปริตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นปริตตะ
    มหคฺคตา ธมฺมา ธรรมเป็นมหัคคตะ
    อปฺปมาณา ธมฺมา ธรรมเป็นอัปปมาณะ
    ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
    ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ
    มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ
    อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ
    ๑๔. หีนติกะ
    หีนา ธมฺมา ธรรมทราม
    มชฺฌิมา ธมฺมา ธรรมปานกลาง
    ปณีตา ธมฺมา ธรรมประณีต
    ๑๕. มิจฉัตตติกะ
    มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน
    สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน
    อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน
    ๑๖. มัคคารัมมณติกะ
    มคฺคารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์
    มคฺคเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุคือมรรค
    มคฺคาธิปติโน ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี
    ๑๗. อุปปันนติกะ
    อุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเกิดขึ้นแล้ว
    อนุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมยังไม่เกิดขึ้น
    อุปฺปาทิโน ธมฺมา ธรรมจักเกิดขึ้น
    ๑๘. อตีตติกะ
    อตีตา ธมฺมา ธรรมเป็นอดีต
    อนาคตา ธมฺมา ธรรมเป็นอนาคต
    ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปัจจุบัน
    ๑๙. อตีตารัมมณติกะ
    อตีตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต
    อนาคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต
    ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
    ๒๐. อัชฌัตตติกะ
    อชฺฌตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน
    พหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก
    อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก
    ๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
    อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน
    พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก
    อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก
    ๒๒. สนิทัสสนติกะ
    สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้
    อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
    อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
    ติกมาติกา ๒๒ ติกะ จบ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=2


    ผู้ใดทำลายพระอภิธรรม คงรู้กันดีว่าไม่ใช่เราอย่างแน่นอน


    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    การปฎิบัติบูชาอันยิ่ง เมื่อถึงเวลาอันสมควร กระบวนการจัดการ ให้อยู่ ให้มี ให้เป็น ให้ได้ จะเริ่มต้นขึ้น ในกาลสมัย อย่างไม่มีบุคคลใดที่จักสามารถขัดขวางได้



    http://palungjit.org/threads/พร่องใ...ด้สำเร็จผลใดๆ-แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้.548335/

    ผู้ต้องบุพกรรมแล้วก็ต้องดิ้นรนทำตามสภาวะหน้าที่ของตนเอง อย่างไม่สามารถควบคุมวิถีชีวิตให้จักเป็นไปในแนวทางอื่นได้เลย ไม่สามารถแม้แต่จะเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดได้เลยจริงๆ สิ่งใดที่เข้ามาขัดขวาง แม้สิ่งที่จะเป็นสิ่งผูกมัดในโลกียะสุข ก็ไม่สามารถที่จะฉุดจะเหนี่ยวรั้งได้เลย ถึงเวลาก็จะต้องไปตามกาลตามวาระหน้าที่ในอุตริมนุษยธรรมที่มี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปุจฉา
    จากคำถามพระธรรมคัมภีร์แม่บท คืออะไรครับ แล้วอยู่ที่ใหน?
    https://www.facebook.com/num.pakpoom?fref=ufi

    วิสัชนา
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=0&p=1

    นี่แหละ พระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    AGALIGO คือ การเป็นอยู่ การมีอยู่ของ พระสัทธรรมราชา พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม ซึ่งไม่ว่าในภัทร์กับป์หรือยุคพุทธสมัยพระพุทธเจ้าองค์ที่อุบัติผ่านมา ตลอดจนองค์ที่จะอุบัติในภายภาคหน้า หรือห้วงที่เว้นว่างพุทธันดรพระสัทธรรมนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้จางหายไปไหน ยังส่งผลแห่งปริยัติ ปฎิบัติและปฎิเวธ ยังสถิตอยู่ซึ่งตราบนานเท่านานเป็นอจิณไตย

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะเพียงเท่านั้น{O}
    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง ตลอดจนพระอริยะสงฆ์สาวกและอุบาสกและอุบาสิกา ตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง อันสำเร็จด้วยพระพุทธประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สืบทอดด้วยมุขปาฐะและการจารึกตีพิมพ์ กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว

    พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์แม่บท นั้น
    มีลักษณะเป็น ตัวคัมภีร์ทิพย์ บันทึกใว้เป็นภาษาทิพย์เหรอครับ


    เป็นลักษณะ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. ยกเว้นไว้ในกาลอื่นที่ทรงไปโปรด ยังเหล่าเวไนยสัตว์ ในสถานะภาพ ภาษาอื่นๆ ในสหโลกธาตุต่างๆ

    พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"

    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? เพราะฉนั้นแม้เราเอง ก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้มากๆ เพื่อแบ่งเบาภาระกาลของ พระสัทธรรม ผู้เป็น พระธรรมราชา นั้น ไม่ใช่ไม่เรียนจะเอาแต่พึ่งท่าน นั้นไม่สมควรแก่ฐานะเลย สำหรับเรา คิดว่าตนเองเป็นเพียง ทาส ทาสี หรือ บุตรที่เจริญในธรรม ของพระธรรมราชาเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ไปรบกวน "พระธรรมราชา" เพียงอย่างเดียวในการ ศึกษาจาก พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ทิพย์ดั้งเดิม เป็นการไม่สมควรยิ่งสำหรับผู้ที่หวงแหนพระสัทธรรมยิ่งอย่างเรา ที่จะไปรบกวนเวลาของท่าน แม้จะสำเร็จด้วยบุญบารมีของเราก็ตาม บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองเมื่อถึงกาลเวลา ที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระสงฆ์หรือผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ตามมา ยากที่จะเห็นตามและทรงจำได้ทั้งหมด นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา

    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล

    นี่แหละองค์คุณของ ปฎิสัมภิทาญาน อันจักสามารถน้อมนำพระสัทธรรมราชา มาโปรดสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ได้

    อักษรทิพย์ หรือ ทิพยอักษร สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นภาษาต่างๆ ยิ่งกว่า ท๊อคกิ้งดิก สมบูรณ์ ทั้งอรรถพยัญชนะ "พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง"

    ผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาญานที่บริบูรณ์ จะสามารถรู้ถึงการแปรเปลี่ยนแปลงสภาพของภาษาทิพย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลความหมายของภาษาทุกภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษามนุษย์ สัตว์ เทพพรหม หรือ อมนุษย์ ตลอดจนมฤตยู แม้บุคคลหนึ่งบุคคลได้แม้ไม่เคยเรียนไม่เคยรู้มาก่อนในชาตินี้ก็ตาม ว่าจะออกเสียงอย่างไร ทำนองอะไร จังหวะแบบไหนอย่างชัดเจน

    อยู่ที่ไหน ? AGALIGO คือ การเป็นอยู่ การมีอยู่ของ พระสัทธรรมราชา พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม ซึ่งไม่ว่าในภัทร์กับป์หรือยุคพุทธสมัยพระพุทธเจ้าองค์ที่อุบัติผ่านมา ตลอดจนองค์ที่จะอุบัติในภายภาคหน้า หรือห้วงที่เว้นว่างพุทธันดรพระสัทธรรมนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้จางหายไปไหน ยังส่งผลแห่งปริยัติ ปฎิบัติและปฎิเวธ ยังสถิตอยู่ซึ่งตราบนานเท่านานเป็นอจิณไตย มีบุญวาสนา ต้องบุพกรรม มีหน้าที่ ก้ได้พบได้เจอ ตั้งความหวังอธิษฐานไว้สิครับ ถ้าอยากเห็น สามัญผลนี้ มีแน่นอน

    เมื่อพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเห็น พระธรรมคัมภีร์แม่บทเหมือนกัน เป็นอักษรทิพย์ มีอยู่ก่อนแล้ว แล้วคัมภีร์นี้ใครเป็นคนสร้างใครบัญญัติไว้ครับ


    อจิณไตย ไม่ควรสงสัยในเรื่อง วิสัยของผู้ได้ญาน ทรงตรัสไว้แล้วครับ
    เหตุ4อย่างไม่ควรคิด ลองพิจารณาดูครับ

    อจินติตสูตร

    [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด
    เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการ
    เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย
    ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
    เป็นบ้า เดือดร้อน ฯ

    จบสูตรที่ ๗

    แม้จะเห็น พระองค์ก็ยังทรงใช้ความตรึกคิดพินิจพิจารณาด้วยพระบารมีธรรมบารมีญานด้วยพระองค์เอง คำสอนในพระพุทธศาสนามีรูปแบบหนึ่งเดียวกันครับ ไม่ว่าจะพุทธสมัยใดก็ตาม. แตกต่างกันที่จะทรงสอนมาก. สอนน้อย. หรือมีดำริไม่ปรารถนาจะสอน ขึ้นอยู่กับสหชาติที่ตามมาเกิดเพื่อบรรลุธรรมด้วยครับ

    ทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุข้อความใน หนังสือหรือคัมภีร์ น่าจะมีคนเขียน จึงจะมีขึ้นได้
    ผมไม่แปลกใจเลย ที่เขานับถือพระเจ้ากัน เพราะเขาคิดว่าทุกอย่างจะเกิดขึ้นมาลอยๆโดยปราศจากเหตุ ไม่ได้


    พระเจ้าที่สร้างนรกสร้างสวรรค์ส่งคนมาเกิดใครเชื่อให้ขึ้นสวรรค์ ใครไม่เชื่อสาปส่งให้ลงนรก สร้างทุกสรรพสิ่งแต่ไร้ความเท่าเทียมเสมอภาคประดุจเหรียญมีสองด้าน ทำลายล้างและเมตตาไปด้วย ผมก็ไม่แปลกใจหรอกครับ. ทำไมศาสนาพุทธถึงสอนให้พึ่งตนพึ่งพาพระธรรม ในกรณีนี้ผมไม่ขอกล่าวถึงสมเด็จองค์ปฐมพุทธะ ญานไม่ถึง ไม่ควรกล่าว ครับ

    แต่ศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ให้ทางรอดจากสวรรค์และนรกที่น่าเบื่อหน่าย และไม่ทรงคิดร้ายและทำร้ายผู้ใด แม้ผู้นั้นจะเชื่อหรือไม่เชื่อคิดทำร้ายพระองค์ก็ตาม. ผมก็รู้สึกยินดีที่มีชาวต่างชาติในยุคนี้แสวงหาสัจธรรมกันมากขึ้นในหลายๆประเทศ พวกเขาได้บุพกรรมอันเป็นพลวปัจจัยอันดีที่จะนำไปสู่อนาคตให้หลีหนีพ้น มายาคติ อย่างภพภูมิต่างๆเพื่อสู่ความเป็นบรมสุขในพระนิพพาน

    ออ หลักธรรมในศาสนาอื่น. พระพุทธเจ้าท่านทรงรู้ดีถ้วนทั่วหมดครับ โดยเฉพาะเหล่าคัมภีร์อสัทธรรมที่หลอกล่อให้มนุษย์หลงเวียนว่ายตายเกิดในโลกียสุข หลงเกิดๆตายๆในวัฎสงสารไม่รู้จบ

    ศาสนาอื่นๆ โดยเฉพาะที่นับถือพระเจ้าที่ท่านว่ามา. ผมเคยเข้ารีดมาก่อนและเคร่งจนเป็นผู้สั่งสอนให้สังหารพระภิกษุและชาวบ้านมาแล้วครับ บาปกรรมที่ผมสร้างมากมายนัก ถ้าไม่ได้พระสัทธรรมราชามาโปรด ผมตายโหงไปแล้ว

    ขอบคุณครับที่ชี้แนะ สาธุ


    ก็คงต้องขอทบทวนความจำให้ว่า ในตอนนี้ ยังไม่มีผู้ใดกล่าวถึง พระสัทธรรม พระธรรมราชา

    " การได้ ปฎิสัมภิทาญาน สำคัญมากในการที่จะล่วงรู้การมีอยู่ของพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม หรือ ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม "

    ได้อย่างเรา ถึงเวลาที่เราสละโลกออกบวชเมื่อใด ในกาลข้างหน้านี้เป็นครั้งสุดท้ายและทำกาลกาละในฐานะสงฆ์ เรื่องนี้จะยังจารึกสู่ชนรุ่นหลังเพื่อความหวังที่จักเจริญในพระสัทธรรมนี้ โดยมีเราเป็นผู้เดินมรรคซึ่งเป็นทางนำอันจักล่วงรู้ในการตรัสรู้เห็นพระสัทธรรม ตาม ปฎิสัมภิทามรรค ดังท่านพระสารีบุตรผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานได้อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อ แสดงเอาไว้ แก่ผู้มีบุพกรรมต้องกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จบเห่ ! พระโสดาแถ สำนักวัดนาป่าพง " พระอริยะ โสดาบันดื่มเหล้าได้ แต่ต้องไม่ผิดสัมมาวาจา"

    "สงสัยไอ้คึกฤทธิ์และพวกลิ่วล้อสำนักวัดนาป่าพง มันคงอยากจะสึกสามเณรที่เป็นพระอริยะบุคคล จึงอ่อนพระวินัยกันจริงๆ"

    สามเณรานํ ปาราชิกวตฺถุ
    การดื่มสุราของสามเณร ถ้ารู้ว่าเป็นสุราก็มีโทษถึงปาราชิก คือขาดจากความเป็นสามเณร”
    เดี่ยวจะบอกว่า สามเณรไม่มีทางได้เป็นพระอริยะ
    ทีนี้ จะแถไปทางไหน ไอ้คึกเอ๊ย ไอ้คึก !


    สามเณรบรรลุอรหันต์ขณะอายุ ๗ ขวบ
    เท่าที่หาได้และปรากฏนามอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีทั้งหมด ๖ รูป
    ๑. พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    - อยู่ในครรภ์ ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน
    - พระพุทธเจ้าให้พร จึงคลอดได้โดยง่าย
    - หลังคลอด มารดาถวายทาน ๗ วัน
    - วันที่ ๗ พระสารีบุตรชวนบวช และเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาให้
    - โกนผมเสร็จบรรลุอรหันต์
    อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
    http://www.84000.org/one/1/16.html
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
    ๒. พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    - เกิดที่เชิงตะกอน
    - ขณะเผามารดา ครรภ์แตก ทารกลอยมาตกที่กองไม้
    - อายุ ๗ ขวบไปฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส จึงขอบวช
    - หลังโกนผมเสร็จบรรลุอรหันต์
    - รับทำภารกิจของสงฆ์ได้ดี พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้
    อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
    http://www.84000.org/one/1/21.html
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php…

    ๓. พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    - เป็นน้องพระสารีบุตร
    - อายุ ๗ ขวบ พ่อแม่กลัวว่าจะบวชตามพี่ชาย จึงจับแต่งงาน
    - หนีการแต่งงาน ไปบวชจนได้
    - ไปอยู่ป่า ๓ เดือนบรรลุอรหันต์
    - พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสารีบุตร พระอานนท์ และพระสีวลี ไปเยี่ยมถึงในป่า
    - ใช้ฤทธิ์สร้างกุฏิให้พระพุทธเจ้าและเหล่าภิกษุที่ตามเสด็จ
    อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
    http://www.84000.org/one/1/26.html
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=17&p=9
    ๔. สังกิจจสามเณร
    - เกิดที่เชิงตะกอน แม่ตายถูกเผา ทารกไม่เป็นอันตราย
    - ถูกสัปเหร่อแทงด้วยหลาวเหล็กที่หางตา(ของทารก)
    - อายุ ๗ ขวบ พระสารีบุตรบรรพชาให้
    - บรรลุพระอรหัตน์ ในเวลาปลงผมเสร็จ
    - แสดงปาฏิหาริย์ให้โจรเห็น จนโจรกลับใจขอบวช
    อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=9
    ๕. สุมนสามเณร
    - อายุ ๗ ขวบ เป็นลูกของเพื่อนพระอนุรุทธะ
    - พระอนุรุทธะบรรพชาให้ บรรลุอรหัตน์ในเวลาปลงผมเสร็จ
    - ปราบพญานาค ที่สระอโนดาต
    - นำน้ำในสระอโนดาตมาล้างพระบาทพระพุทธเจ้า
    - พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้
    อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35&p=12
    ๖. โสปากสามเณร
    - อายุ ๗ ขวบ ทะเลาะกับลูกอา ถูกอาจับมัดกับคนตายในป่าช้า
    - อยู่ในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้า ฟังคาถาแรก บรรลุโสดาบัน
    - แม่มาตาม ทรงใช้ฤทธิ์ปิดบังไม่ให้เห็น (เหมือนยสกุลบุตร)
    - ฟังคาถาที่สองก็บรรลุอรหันต์ แม่บรรลุโสดาบัน
    - พระพุทธเจ้าอุปสมบทให้ โดยการตรัสถามปัญหา ๑๐ ข้อ
    นาสนะ แปลว่า ให้ฉิบหาย ได้แก่ การลงโทษภิกษุ มี 3 วิธี คือ (1) ลิงคนาสนะ ให้สึก (2) ทัณฑกรรมนาสนะ ไล่ออกจากสำนัก (3) สังวาสนาสนะ ยกออกจากหมู่ (วิ.อ.2 / 428 /420-421)
    องค์แห่งนาสนะ ๑๐ ของสามเณร
    ก็โดยสมัยนั้นแล สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อกัณฏกะ ได้ประทุษร้ายภิกษุณีกัณฏกี ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพน-ทะนาว่า ไฉนสามเณรจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ คือ. ๑. ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป. ๒. ถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้. ๓. ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์. ๔. กล่าววาจาเท็จ. ๕. ดื่มน้ำเมา. ๖. กล่าวติพระพุทธเจ้า. ๗. กล่าวติพระธรรม. ๘. กล่าวติพระสงฆ์. ๙. มีความเห็นผิด. ๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ นี้.
    องค์แห่งนาสนะ ๑๐ ของสามเณร
    ก็โดยสมัยนั้นแล สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อกัณฏกะ ได้ประทุษร้ายภิกษุณีกัณฏกี ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพน-ทะนาว่า ไฉนสามเณรจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ คือ. ๑. ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป. ๒. ถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้. ๓. ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์. ๔. กล่าววาจาเท็จ. ๕. ดื่มน้ำเมา. ๖. กล่าวติพระพุทธเจ้า. ๗. กล่าวติพระธรรม. ๘. กล่าวติพระสงฆ์. ๙. มีความเห็นผิด. ๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ นี้.
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
    สามเณร หมายถึงเหล่ากอ หรือเชื้อสายของสมณะ
    สามเณรมีสิกขาบท ๑๐ คือ
    @ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
    @ งดเว้นจากการลักทรัพย์
    @ งดเว้นจากการประพฤติอพรหมจรรย์ (การเสพเมถุน)
    @ งดเว้นจากการพูดเท็จ
    @ งดเว้นจากดื่มสุราเมรัย
    @ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
    @ งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น
    @ งดเว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว
    @ งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
    @ งดเว้นจากการรับเงินทอง
    เมื่อสามเณรก้าวล่วงสิกขาบท ข้อที่ ๑ ถึง ข้อที่ ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อนั้นย่อมขาดจากความเป็นสามเณรทันที (เหมือนปาราชิกของพระภิกษุ) ย่อมควรแก่การนาสนะ คือขับไล่ออกจากวัด แต่เมื่อก้าวล่วงสิกขาบท ๕ ข้อหลัง ควรแก่การลงโทษบางอย่างตามสมควรแก่พระวินัย
    ....คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ สามเณรํ นาเสตุ นี้ เพราะเหตุนั้น ในกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น สามเณรใด ย่อมทำกรรม แม้อย่างหนึ่ง สามเณรนั้น อันภิกษุพึงให้พินาส ด้วยลิงคนาสนาเหมือนอย่างว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นอาบัติ ต่าง ๆ กันในเพราะกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นฉันใด,สามเณรทั้งหลายจะได้เป็นฉันนั้นหามิได้. เพราะว่าสามเณรยังมดดำมดแดงให้ตายก็ดี บี้ไข่เรือดก็ดี ย่อมถึงความเป็นผู้ควรให้พินาสทีเดียว. สรณคมน์การถืออุปัชฌาย์ และการถือเสนาสนะของเธอ ย่อมระงับทันที. เธอย่อม ไม่ได้ลาภสงฆ์, คงเหลืออยู่สิ่งเดียว เพียงเพศเท่านั้น, ถ้าเธอเป็นผู้มีโทษซับซ้อน จะไม่ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป พึงกำจัดออกเสีย ถ้าเธอผิดพลาดพลั้งไปแล้ว ยอมรับว่า ความชั่วข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะทั้งอยู่ในสังวรอีก กิจคือลิงคนาสนาย่อมไม่มี, พึงให้สรณะทั้งหลาย พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิมทีเดียว, ส่วนสิกขาบททั้งหลาย่อมสำเร็จด้วยสรณคมน์นั่นเอง, จริงอยู่ สรณคมน์ของสามเณรทั้งหลายเป็นเช่นกับกรรมวาจาในอุปสมบทของภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ศีล ๑๐ เป็นอันสามเณรแม้นี้ สมาทานแล้วแท้ เหมือนจตุปาริสุทธิศีลอันภิกษุสมาทานแล้วฉะนั้น, แม้เป็นเช่นนี้ ศีล ๑๐ ก็ควรให้อีก เพื่อทำให้มั่นคง คือเพื่อยังเธอให้ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป สามเณรย่อมเป็นผู้มีใช่สมณะ คือย่อมถึงความเป็นผู้ควรนาสนาเสียในเพราะอทินนาทาน ด้วยวัตถุแม้เพียงหญ้าเส้น ๑ ในเพราะอพรหรมจรรย์ด้วยปฏิบัติผิดในมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๓ มรรคในเพราะมุสาวาท เมื่อตนกล่าวเท็จ แม้ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะหัวเราะเล่น ส่วนในเพราะดื่มน้ำเมา เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แม้ไม่รู้ดื่มน้ำเมาจำเดิมแต่ส่า. ฝ่ายสามเณร ต้องรู้แล้วดื่ม จึงต้องศีลเภท ไม่รู้ไม่ต้อง. ส่วน ๕ สิกขาบทนอกนี้เหล่าใด ของสามเณรนั้นบรรดามี ครั้นเมื่อสิกขาบทเหล่านั้นทำลายแล้ว เธออันภิกษุไม่พึงนาสนา พึงลงทัณฑกรรม. แลเมื่อสิกขาบทอันภิกษุได้ให้อีกก็ดี ยังมิได้ให้ก็ดี จะลงทัณฑกรรม ย่อมควร. แต่ว่าพึงปราบด้วยทัณฑกรรมแล้ว จึงค่อยให้สิกขาบท เพื่อประโยชน์แก่ความคงอยู่ในสังวรต่อไป. การดื่มน้ำเมาของเหล่าสามเณร เป็นสจิตตกะ จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก...
    อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=364
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=4
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1433&Z=145



    ทีนี้ จะแถไปทางไหน ไอ้คึกเอ๊ย ไอ้คึก !






    สามเณรบรรลุอรหันต์ขณะอายุ ๗ ขวบ
    เท่าที่หาได้และปรากฏนามอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีทั้งหมด ๖ รูป

         ๑. พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
               - อยู่ในครรภ์ ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน
               - พระพุทธเจ้าให้พร จึงคลอดได้โดยง่าย
               - หลังคลอด มารดาถวายทาน ๗ วัน
               - วันที่ ๗ พระสารีบุตรชวนบวช และเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาให้
               - โกนผมเสร็จบรรลุอรหันต์
         อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
         http://www.84000.org/one/1/16.html
         http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=147&p=8

         ๒. พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
               - เกิดที่เชิงตะกอน
               - ขณะเผามารดา ครรภ์แตก ทารกลอยมาตกที่กองไม้
               - อายุ ๗ ขวบไปฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส จึงขอบวช
               - หลังโกนผมเสร็จบรรลุอรหันต์
               - รับทำภารกิจของสงฆ์ได้ดี พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้
         อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
         http://www.84000.org/one/1/21.html
         http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=17311&Z=17840&pagebreak=0
       

         ๓. พระเรวตขทิรวนิยเถระ  เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
                - เป็นน้องพระสารีบุตร
                - อายุ ๗ ขวบ พ่อแม่กลัวว่าจะบวชตามพี่ชาย จึงจับแต่งงาน
                - หนีการแต่งงาน ไปบวชจนได้
                - ไปอยู่ป่า ๓ เดือนบรรลุอรหันต์
                - พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสารีบุตร พระอานนท์ และพระสีวลี ไปเยี่ยมถึงในป่า
                - ใช้ฤทธิ์สร้างกุฏิให้พระพุทธเจ้าและเหล่าภิกษุที่ตามเสด็จ
         อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
         http://www.84000.org/one/1/26.html
         http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=147&p=4
         http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=17&p=9

         ๔. สังกิจจสามเณร 
                - เกิดที่เชิงตะกอน แม่ตายถูกเผา ทารกไม่เป็นอันตราย
                - ถูกสัปเหร่อแทงด้วยหลาวเหล็กที่หางตา(ของทารก)
                - อายุ ๗ ขวบ พระสารีบุตรบรรพชาให้
                - บรรลุพระอรหัตน์ ในเวลาปลงผมเสร็จ
                - แสดงปาฏิหาริย์ให้โจรเห็น จนโจรกลับใจขอบวช
         อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=9

         ๕. สุมนสามเณร 
                - อายุ ๗ ขวบ เป็นลูกของเพื่อนพระอนุรุทธะ
                - พระอนุรุทธะบรรพชาให้ บรรลุอรหัตน์ในเวลาปลงผมเสร็จ
                - ปราบพญานาค ที่สระอโนดาต
                - นำน้ำในสระอโนดาตมาล้างพระบาทพระพุทธเจ้า
                - พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้
         อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35&p=12

         ๖. โสปากสามเณร 
                - อายุ ๗ ขวบ ทะเลาะกับลูกอา ถูกอาจับมัดกับคนตายในป่าช้า
                - อยู่ในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้า ฟังคาถาแรก บรรลุโสดาบัน
                - แม่มาตาม ทรงใช้ฤทธิ์ปิดบังไม่ให้เห็น (เหมือนยสกุลบุตร)
                - ฟังคาถาที่สองก็บรรลุอรหันต์  แม่บรรลุโสดาบัน
                - พระพุทธเจ้าอุปสมบทให้ โดยการตรัสถามปัญหา ๑๐ ข้อ
          อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่
          http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=364
          http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=4
          http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1433&Z=145


    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

    สามเณร หมายถึงเหล่ากอ หรือเชื้อสายของสมณะ

    สามเณรมีสิกขาบท ๑๐ คือ

    @ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

    @  งดเว้นจากการลักทรัพย์

    @ งดเว้นจากการประพฤติอพรหมจรรย์ (การเสพเมถุน)

    @ งดเว้นจากการพูดเท็จ

    @ งดเว้นจากดื่มสุราเมรัย

    @ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

    @ งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง  ประโคมดนตรี  และดูการเล่น

    @ งดเว้นจากการลูบทา  ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้  ของหอม  เครื่องย้อม  เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว

    @ งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ 

    @ งดเว้นจากการรับเงินทอง

         เมื่อสามเณรก้าวล่วงสิกขาบท ข้อที่ ๑ ถึง ข้อที่ ๕  ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อนั้นย่อมขาดจากความเป็นสามเณรทันที (เหมือนปาราชิกของพระภิกษุ) ย่อมควรแก่การนาสนะ คือขับไล่ออกจากวัด  แต่เมื่อก้าวล่วงสิกขาบท ๕ ข้อหลัง  ควรแก่การลงโทษบางอย่างตามสมควรแก่พระวินัย  


    ....คำว่า   อนุชานามิ ภิกฺขเว ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ  สามเณรํ  นาเสตุ  นี้ เพราะเหตุนั้น  ในกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น    สามเณรใด  ย่อมทำกรรม  แม้อย่างหนึ่ง  สามเณรนั้น  อันภิกษุพึงให้พินาส  ด้วยลิงคนาสนาเหมือนอย่างว่า   ภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นอาบัติ   ต่าง ๆ  กันในเพราะกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นฉันใด,สามเณรทั้งหลายจะได้เป็นฉันนั้นหามิได้.    เพราะว่าสามเณรยังมดดำมดแดงให้ตายก็ดี   บี้ไข่เรือดก็ดี   ย่อมถึงความเป็นผู้ควรให้พินาสทีเดียว.   สรณคมน์การถืออุปัชฌาย์    และการถือเสนาสนะของเธอ    ย่อมระงับทันที.    เธอย่อม  ไม่ได้ลาภสงฆ์,    คงเหลืออยู่สิ่งเดียว    เพียงเพศเท่านั้น,    ถ้าเธอเป็นผู้มีโทษซับซ้อน   จะไม่ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป  พึงกำจัดออกเสีย  ถ้าเธอผิดพลาดพลั้งไปแล้ว    ยอมรับว่า  ความชั่วข้าพเจ้าได้ทำแล้ว  ดังนี้    เป็นผู้ใคร่จะทั้งอยู่ในสังวรอีก  กิจคือลิงคนาสนาย่อมไม่มี,  พึงให้สรณะทั้งหลาย  พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิมทีเดียว,     ส่วนสิกขาบททั้งหลาย่อมสำเร็จด้วยสรณคมน์นั่นเอง,     จริงอยู่      สรณคมน์ของสามเณรทั้งหลายเป็นเช่นกับกรรมวาจาในอุปสมบทของภิกษุทั้งหลาย     เพราะเหตุนั้น   ศีล  ๑๐  เป็นอันสามเณรแม้นี้ สมาทานแล้วแท้   เหมือนจตุปาริสุทธิศีลอันภิกษุสมาทานแล้วฉะนั้น,   แม้เป็นเช่นนี้  ศีล ๑๐  ก็ควรให้อีก   เพื่อทำให้มั่นคง   คือเพื่อยังเธอให้ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป        สามเณรย่อมเป็นผู้มีใช่สมณะ     คือย่อมถึงความเป็นผู้ควรนาสนาเสียในเพราะอทินนาทาน    ด้วยวัตถุแม้เพียงหญ้าเส้น  ๑    ในเพราะอพรหรมจรรย์ด้วยปฏิบัติผิดในมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๓ มรรคในเพราะมุสาวาท เมื่อตนกล่าวเท็จ  แม้ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะหัวเราะเล่น   ส่วนในเพราะดื่มน้ำเมา   เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แม้ไม่รู้ดื่มน้ำเมาจำเดิมแต่ส่า.      ฝ่ายสามเณร     ต้องรู้แล้วดื่ม   จึงต้องศีลเภท  ไม่รู้ไม่ต้อง.   ส่วน ๕  สิกขาบทนอกนี้เหล่าใด   ของสามเณรนั้นบรรดามี  ครั้นเมื่อสิกขาบทเหล่านั้นทำลายแล้ว   เธออันภิกษุไม่พึงนาสนา  พึงลงทัณฑกรรม.  แลเมื่อสิกขาบทอันภิกษุได้ให้อีกก็ดี   ยังมิได้ให้ก็ดี  จะลงทัณฑกรรม   ย่อมควร.   แต่ว่าพึงปราบด้วยทัณฑกรรมแล้ว    จึงค่อยให้สิกขาบท    เพื่อประโยชน์แก่ความคงอยู่ในสังวรต่อไป.    การดื่มน้ำเมาของเหล่าสามเณร   เป็นสจิตตกะ   จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก...


    นาสนะ แปลว่า ให้ฉิบหาย ได้แก่ การลงโทษภิกษุ มี 3 วิธี คือ (1) ลิงคนาสนะ ให้สึก (2) ทัณฑกรรมนาสนะ ไล่ออกจากสำนัก (3) สังวาสนาสนะ ยกออกจากหมู่ (วิ.อ.2 / 428 /420-421)

      องค์แห่งนาสนะ  ๑๐  ของสามเณร

              ก็โดยสมัยนั้นแล  สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อกัณฏกะ  ได้ประทุษร้ายภิกษุณีกัณฏกี  ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ  ติเตียน โพน-ทะนาว่า  ไฉนสามเณรจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนี้เล่า  แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.           พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์  ๑๐   คือ.           ๑.  ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป.           ๒.  ถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้.           ๓.  ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.           ๔.  กล่าววาจาเท็จ.            ๕.  ดื่มน้ำเมา.           ๖.  กล่าวติพระพุทธเจ้า.           ๗.  กล่าวติพระธรรม.           ๘.  กล่าวติพระสงฆ์.           ๙.  มีความเห็นผิด.         ๑๐.  ประทุษร้ายภิกษุณี.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐  นี้.


    มาฟังคำพระศาสดาคึกแห่งสำนักวัดนาป่าพงด้วยกันนะครับ/ค๊ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำทำนายของ...พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ

    เมื่อสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้วได้ประมาณ 236 ปี พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เล็งญาณดูกาลอนาคตของพระพุทธศาสนาเห็นว่าต่อไปชมพูทวีปซึ่งเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจะไปเจริญรุ่งเรืองในทวีปอื่น จึงได้ถวายพระพรพระเจ้าอโศกมหาราช ขอความอุปถัมภ์ เพื่อจัดส่งพระเถรานุเถระเป็นคณะไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศนอกชมพูทวีป ด้านใต้ถึงเกาะลังกา ด้านตะวันตกถึงเปอร์เซีย ด้านเหนือถึงประเทศแถบเชิงเขาหิมาลัย ด้านตะวันออกถึงสุวรรณภูมิ เหตุการณ์ก็จริงดังคาด พอพระพุทธศักราช ประมาณ 1100 ปีเศษ พระพุทธศาสนาก็อันตรธานจากชมพูทวีป ไปเจริญรุ่งเรืองยังนานาประเทศจริงๆ สุวรรณภูมิ ก็คือแหลมทอง ซึ่งหมายถึงผืนแผ่นดินตั้งแต่อ่างเบงกอลมาจนถึงทะเลญวณ ได้เป็นที่รองรับพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่พระพุทธศักราชประมาณ 236 ปีเศษ มีโบราณวัตถุสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสักขีพยานในโบราณสถานนั้นๆ เช่นพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดใหญ่โตมาก  ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น เพราะยังไม่เกิดประเพณีสร้างพระพุทธรูปที่เมืองเสมา (ร้าง) ในจังหวัดนครราชสีมา ก็มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดเดียวกันกับที่นครปฐม และที่ตำบลฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีภาพแกะสลักศิลาเป็นเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเป็นพยานว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ณ. แหลมทอง โดยเฉพาะที่นครปฐมและนครราชสีมาในสมัยเดียวกัน ประมาณว่าในราวพุทธศตวรรตที่ 4 การที่พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องเป็นระยะไกลถึงเกือบพันปีเช่นนี้ ย่อมต้องมีทิพยจักขุญาณแจ่มใสจริงๆ แน่นอน เมื่อทราบแล้ว ท่านก็ดำเนินการแก้วิกฤตการณ์ไว้ล่วงหน้าทันที
     
    ผลดีที่เกิดขึ้นคือ พระพุทธศาสนาแพร่หลายและดำรงอยู่ได้ในนานาประเทศนอกชมพูทวีปมาจนถึงปัจจุบัน ชมพูทวีปคือ ประเทศอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ได้ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนามานานประมาณพันปีแล้ว พึ่งจะมีพระภิกษุจากลังกา พม่า และอาหม เข้าไปทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอีกเมื่อประมาณ 60 ปีมานี่เท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังหวังความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในสมัยพุทธกาลได้ยาก เพราะสภาพการณ์ของบ้านเมืองและประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลัทธิศาสนาอื่นได้ฝักรกรากแทนที่พระพุทธศาสนามานาน บุคคลผู้จะนำพระพุทธศาสนาไปปลูกฝังลงยังอินเดีย ได้อีกจะต้องเป็นผู้มีบุญญาภิสมภารและอิทธิภินิหารเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าเจ้าลัทธิคณาจารย์ในถิ่นเป็นอย่างมาก
     
    มีคำทำนายโบราณชิ้นหนึ่งได้เป็นที่ตื่นเต้นสนใจกัน เมื่อประมาณ 60 ปีกว่ามานี้ มีว่า เมื่อพระพุทธศาสนาอายุถึงกึ่ง 5,000 ปีนับแต่พุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาจะกลับมาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดคล้ายสมัยพุทธกาล แลจักมีผู้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงภูมิพระอรหันต์ เชี่ยวชาญทางอภิญญา พระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภิสมภาร แลถึงพร้อมด้วยบุญญฤทธิ์อิทธาภินิหาร ในสุวรรณภูมิแคว้นประเทศ จักได้เป็นประธานาธิบดีสงฆ์ทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นที่อินเดียไปยุโรปและอเมริกา ประชาชนชาวโลกจะหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนามากมาย คนทั้งหลายจะนิยมในการฝึกฝนอบรมจิตในทางพระพุทธศาสนา ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะร่มเย็นเป็นสุข ด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนา เงาเจริญแห่งพระศาสนาเริ่มปรากฏแล้ว ชาวอัศดงประเทศกำลังหันมาสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น แต่ใครเป็นตัวการตามทำนายนั้น ยังมิได้ปรากฏแก่วงการพระพุทธศาสนา ขอให้คอยดูกันต่อไปว่า จะจริงเท็จแค่ไหน ถ้าคำทำนายเป็นจริงขึ้นก็แปลว่า ชาวพุทธผู้ให้คำทำนายไว้นั้น มีทิพยจักขุญาณวิเศษที่สุดได้แน่ๆ ทีเดียว และตัวการในคำทำนายนั้น จะเป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของโลกสมัยใหม่ด้วย ข้าพเจ้าได้เรียนถามพระอาจารย์ภูริทัตตเถระ (มั่น) ว่า คำทำนายโบราณนี้จะเป็นจริงไหม ท่านว่าเจ้าพระคุณพระอุบาลีปมาจารย์ (สิริจันทเถระ จันทร์) บอกว่าจริง เมื่อข้าพเจ้าถามถึงความเห็นเฉพาะตัวของท่าน ท่านก็บอกว่าเป็นจริง เวลานี้ก็จวนถึงเวลาแล้ว เราคอยดูกันต่อไป เอวัง.............

    ที่มาจากหนังสือ ทิพยอำนาจ แต่งโดยพระอาจารย์ เส็ง ปุสโส ป.ธ.6


    who am i
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,536
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    [​IMG]. เมตตาอัปมาโน .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่จบสักที่ในประเด็นนี้ เพราะอะไร เพราะไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน เพราะไม่รู้จักพระสัทธรรม ก็พระสัทธรรมนั้นมีอยู่จริงและอยู่ที่ไหนคืออะไรหรือ ? ที่สำคัญทุกๆประเด็นต้องมีธรรม ๑๐ ประการ เป็นเลิศดังได้แสดงมาใน ณที่นี้

    *ทำความเข้าใจใหม่*

    ทรงห้ามเพราะเหตุอันใด ทรงอนุญาตเพราะเหตุอันใดในวาระใด ไม่ใช่ว่าทรงตรัสสั่งอย่างไม่ได้พิจารณา เพราะอย่างนั้นเราท่านจึงควรพิจารณาให้ดีๆ

    #‎คึกฤทธิ์วัดนาป่าพงไม่มีคูณสมบัติใน‬ อุพพาหสูตร ก็ไม่ควรวิสัชนาและเพิกถอนธรรมใดเหมือนกัน#


    ****คึกฤทธิ์ไม่มีความสามารถในข้อนี้เพราะเหตุไร? ก็เพราะเป็นผู้ชื่นชอบการสร้างเหตุแห่งอธิกรณ์**** ไม่ใช่ผู้มีความสามารถดับอธิกรณ์
    อธิกรณ์ ในคำวัดใช้หมายถึงสาเหตุ คดีเรื่องราว ปัญหา ความยุ่งยาก กิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
    ๑. วิวาทาธิกรณ์ คือวิวาท ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัยนี้ จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องพระธรรมวินัย
    ๒. อนุวาทาธิกรณ์ คือ ความโจทกล่าวหากันด้วยปรารภพระธรรมวินัยนี้จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิดหรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องอาบัติ
    ๓. อาปัตตาธิกรณ์ คือ กิริยาที่ต้องอาบัติหรือถูกปรับอาบัตินี้จะต้องทำคืน คือทำให้พ้นโทษ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องการปรับอาบัติและวิธีการออกหรือพ้นจากอาบัติ
    ๔. กิจจาธิกรณ์ คือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงสามัคคีร่วมกันทำ เรียกว่า สังฆกรรม เช่นให้อุปสมบทนี้จะต้องทำให้สำเร็จ

    คึกฤทธิ์จึงเป็นโมฆะบุรุษ

    อุพพาหสูตร
    อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแลสงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ฯ
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการแล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
    เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ปาติโมกข์ทั้ง ๒ เป็นอุเทศอันภิกษุนั้นจำดีแล้ว จำแนกดีแล้ว กล่าวดีแล้ว โดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ๑ อนึ่ง ภิกษุนั้นเป็นผู้เคร่งครัดในวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ เป็นผู้สามารถเพื่ออันยังคู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายให้ยินยอม ให้ตรวจดู ให้เห็นเหตุผล ให้เลื่อมใสได้ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ ๑ รู้อธิกรณ์ ๑ รู้เหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้ความดับแห่งอธิกรณ์ ๑รู้ทางปฏิบัติเป็นเครื่องถึงความดับอธิกรณ์ ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม๑๐ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ฯ


    เราผู้เข้าถึงกระแส นิรุตติญานทัสสนะ แม้จะกำลังอ่อนเพราะด้วยวิสัยฆราวาส แม้ยังไม่มีคุณสมบัติดังใน"อุพพาหสูตร"จึงไม่สามารถจะพรรณนาอย่างถึงที่สุดกระจ่างได้
    แต่ก็จักขอวิสัชนาในข้อ สาวกในพระพุทธศาสนาภาษิตหรือสาวกอื่นนอกพระพุทธศาสนา อันพอทำให้เกิดปัญญามรรควิธีดังนี้


    มีหลายๆครั้งหลายหนหลายคราที่พระองค์ทรงมีวาทะกับเจ้าลัทธิอื่นๆและเดียร์ถีย์ผู้โอ้อวดท้าทายโต้วาทีสูตรกับพระองค์ หลายครั้งกลับต้องจนมุมในข้อวัตรลัทธิศาสนาของตนเอง จนทรงมีพระพุทธดำรัส ตรัสถาม ว่าสามารถรู้ยิ่งกว่าพระองค์หรือไม่ เช่น{O} "หากมีข้อใดบกพร่อง ติดขัด ตอบไม่ได้อธิบายไม่ได้ .ในคำสอนของลัทธิศาสนาของท่าน เราตถาคตจักเติมให้สมบูรณ์" {O} นี่หมายความว่าพระองค์ทรงรอบรู้ ทั้งพระสัทธรรมและอสัทธรรมนอกพระพุทธศาสนา รู้เหตุรู้ผลรู้ความเป็นไปรู้จบบทสรุปของทุกๆอย่างด้วยข่ายพระราชปัญญาญานอันเลิศ
    ฉนั้นข้อที่ว่าพระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ฟังหรือใคร่ครวญเนื้อธรรมในภาษิตใดๆจากที่ไหนก็ตามก็เป็นอันตกไป และถ้าไม่รู้เนื้อความไม่รู้ภาษาไม่เข้าใจในธรรมหรืออสัทธรรมใดๆ ก็ไม่มีทางที่จะไปแสดงวาทีสูตรโต้ตอบชี้แจงเหตุและผลแก่เจ้าลัทธิศาสนทูตเดียร์ถีย์อื่นๆได้ ก็จักเหมือนกับคึกฤทธิ์สำนักวัดนาป่าพงอวดอุตริยกตนเองข่มศาสนทูตในการเสวนา ๓ ฝ่าย ที่ผ่านมา ว่าตนทำให้ลัทธิศาสนาอื่นยอมรับได้


    การที่ไม่พิจารณาธรรมให้เป็นไปในหลักอันเป็นทางรอดที่บริสุทธิ์หมดจดคือ ต้องแสดงเนื้อความประโยค ที่ได้ตีความหมายให้รู้ซึ้งถึงเจตนาของอาจารย์ผู้สอน ให้ถูกต้องตามหลักธรรมทั้งมวลฯ โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบรู้ในธรรมของอาจารย์ดีแล้ว โดยนำสรุป เข้าสู่กระบวนการไตร่ตรอง พิจารณาตามหลักธรรมทั้งหลายฯ สรุปผลให้เป็น [สัมมาทิฏฐิ] นั่นคือ การแสดงเป็นอรรถาธิบาย โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ที่ไม่ว่าผู้ใด ก็ไม่สามารถหาเหตุข้อติดขัดใดๆ มาโต้แย้งได้

    ฉนั้น การรอบรู้ และรู้รอบด้านจึงเป็นประโยชน์มาก แต่ในการที่ทรงพระดำรัสตรัสสอนนี่ทรงสอนให้ตรงจริตกับผู้ฟังพระองค์ และพระองค์จึงทรงเคี่ยวเข็ญให้ฟังและรีบปฎิบัติธรรมและเรียนรู้พระปริยัติสั่งสมสุตตะให้มากๆ ไม่ควรจะฟังเงี่ยหูฟังธรรมอื่นๆใดๆที่ไม่ใช่สภาวะที่สมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา นั่นก็เพื่ออนุเคราะห์ในกาลแก่เหตุ แก่เหล่าบุคคลที่มีในสารคุณ รู้แจ้งในมรรคผลเป็นแก่นสาร
    และแก่ผู้เดินตามมาภายหลังอันประกอบด้วยความปรารถนาที่จะรีบเร่งแก่การบรรลุธรรมในกาล และแก้ข้อสงสัยแก่ผู้ที่ยังมีจิตใจไม่มั่นคง และยังไม่ทราบยังพระสัทธรรมอย่างแน่ชัด

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม
    ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดวาจาอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ"

    ชี้ชัดที่สุดของ{พระสัพพัญญู}คือผู้รอบรู้ทุกสิ่ง
    ผู้ที่ไม่รู้จักไม่เข้าใจในศาสนา แต่อยากจะอภิปรายให้ความเห็นที่ไปที่มาของศาสนา เป็นคนพาลพาโลหาใช่เป็นบัณฑิต
    " องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงเป็นพระสัพพัญญูคือเป็นผู้รอบรู้อย่างยิ่ง ทรงล่วงรู้ทั้งหมดแม้แต่เหตุเกิดของทุกศาสนา ทรงทราบที่มาและที่ไปจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกคำสอน รู้กรรม รู้เผ่า รู้พันธุ์ รู้ชาติ รู้ตำรา คำสั่งสอนของทุกศาสนาทั้งในที่ลับปกปิดสูญหายและที่แจ้งเปิดเผยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งไปกว่ามายาคติที่สร้างภพสร้างชาติ ของผู้เป็นเจ้าลัทธิศาสนาชนชาตินั้นๆ "
    ถ้าไม่มีผู้เฝ้าฟังเฝ้าพิจารณาอยู่ ใครจักเป็นผู้บันทึก ใครเป็นผู้พิจารณาบทแห่งเนื้อความ อันจะส่งถึงคุณความหมาย ให้เราได้อ่านได้ศึกษาตามที่พระเถระท่านจารึกพระสูตรเล่าเรื่องราวต่างๆนี้เอาไว้
    ในทุกๆเรื่องที่มีการโต้ตอบ นั้นผู้มีปัญญาอันพระเถระเจ้า เช่นท่านพระอานนท์ และพระเถระรูปอื่นๆ เป็นต้น ย่อมต้องเฝ้าฟังและพิจารณาอย่างแยบคาย ทุกๆเสี้ยวของถ้อยคำอย่างสุขุมคัมภีร์ภาพ ในการนี้ เป็นการอวดภูมิปัญญาอวดเด่นอวดเก่งในทุกๆด้านของผู้มาท้าทายพระบรมมหาศาสดา ซึ่งด้วยพระปรีชาญานย่อมไม่ห้ามพระสงฆ์สาวกหรือชนอื่นใดว่าไม่ให้เฝ้าฟังด้วย พระองค์ไม่เคยปิดกั้นในกรณีนี้ และผู้มาโต้ถามโต้แย้งพระองค์พระองค์ก็ทรงให้เขาทำได้อย่างสุดความสามารถ และอย่าคิดว่ามีแต่มนุษย์ที่ได้ยินได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสพระวาจา เพราะพระองค์ทรงเปิดเผยให้ได้รู้จัก

    เรื่องท้าวสหัมบดีพรหม
    เรื่องของชฎิลสามพี่น้อง
    เรื่องของผกาพรหม
    เรื่องของนางจิญจมาณวิกา
    เรื่องขององคุลีมาล
    เรื่องของอาฬวกยักษ์
    เรื่องผจญมาร
    เรื่องของสัจจกะ นิครนถบุตร
    เรื่องของเวรัญชพราหมณ์
    เรื่องของนายธนิยะคนเลี้ยงโค
    เรื่องของพระมาลุงกยบุตรดำริถึงมิจฉาทิฏฐิ ๑๐
    และอีกฯลฯ

    ฉนั้นข้อที่ทรงตรัสห้ามไม่ให้ฟังไม่ให้พิจารณา ไม่ให้เงี่ยหูฟัง จึงตกไป ย่อมไม่ใช่พระพุทธประสงค์ที่ทรงวางไว้ ตามที่ทรงมอบหมายไว้

    ปฏิสัมภิทามรรค
    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
    ได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มี
    อายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือ ธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล

    "ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่ได้คัดค้าน ภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ"

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่ยังพยากรณ์ให้ถึงพร้อมได้ จักถึงความลำบากแม้อย่างยิ่ง
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญญเดียรย์ปริพาชกนั้นถูกถามในปัญหาอันมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวกของตถาคตนี้ "

    ที่ทรงดำรัสไม่ให้คัดค้านมีอยู่โดยหลักคือ {O}มหาจัตตารีสกสูตร{O}ซึ่งสำนักวัดนาป่าพงละเมิดไปจำนวนนับไม่ถ้วน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง
    บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะเขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิดถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
    ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิดถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิดถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ

    อาณิสูตร
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
    อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


    "อย่าคิดว่าจะรู้อรรถรู้ธรรมได้โดยง่าย ปริยัติยังไม่ดีไม่ผ่านไม่เอา ปฎิบัติก็ไม่ได้ไม่เป็น จะเอาปฎิเวธ คึกฤทธิ์และลิ่วล้อมาร๕สำนักวัดนาป่าพง"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 52_130.jpg
      52_130.jpg
      ขนาดไฟล์:
      200.9 KB
      เปิดดู:
      283
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แด่พระโสดาแถ แห่งสำนักวัดนาป่าพง ดื่มเหล้าได้ ขนาดสามเณรยังศีลขาด ต้องขาดจากความเป็นสามเณร แล้ว พระโสดาบันพระอริยะแห่งสำนักวัดนาป่าพงทั้งหลาย จะมีมาแต่ไหน

    “สุราเมรยปานํ ภิกฺขเว อเสวิตํ ภาวิตํ พหุลีกตํ
    นิรยสํวตฺตนิกํ ติรจุฉานโยนิสํวตฺตนิกํ เปตฺติวิสํวตฺตนิกํ,
    โย จ สพฺพลหุโก สุราเมรยปานสฺส วิปาโก โส มนุสฺสภูตสฺส
    อุมฺมตฺตกสํวตฺตนิโก โหติ”


    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและน้ำเมาต่างนี้
    เมื่อดื่มเสมอๆ ดื่มมากๆ เข้า ดื่มหลายๆ ครั้งเข้า
    ย่อมสามารถนำไปสู่นิรยภูมิ ดิรัจฉาน เปตติภูมิ
    โทษของการดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุดนั้น
    เมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยกุศลกรรมอื่นๆ
    ผู้นั้นก็ย่อมเป็นคนบ้า”


    ยํ เว ปิวิตฺวา ทุจฺจริตํ จรนฺติ
    กาเยน วาจาย จ เจตสา จ
    นิรยํ วชนฺติ ทุจฺจริตํ จริตฺวา
    ตสฺสา ปุณฺณํ กุมฺภมิมํ กิณาถ ฯ


    “ท่านทั้งหลาย ชนทั้งหลายที่ได้ดื่มสุราแล้ว
    ย่อมกระทำทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ อย่างแน่นอน
    เมื่อได้กระทำทุจริตแล้ว ชนเหล่านี้ย่อมไปเกิดในนิรยภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย
    ขอท่านทั้งหลายจงซื้อหม้อที่บริบูรณ์ด้วยน้ำสุราอันมีโทษต่างๆ ดังกล่าวแล้ว”



    “สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ”
    การดื่มสุราและเมรัยเป็นอาบัติปาจิตตีย์


    “อจิตฺตกํ โลกวชฺชํ อกุสลจิตฺตํ, มชฺชปานํ สามเณรานํ ปาราชิกวตฺถุ”
    "การดื่มสุราของภิกษุนั้น จะรู้ก็ตามไม่รู้ก็ตามย่อมเป็นอาบัติปาจิตตีย์
    และมีโทษในทางโลกเกี่ยวด้วยอกุศลจิต
    การดื่มสุราของสามเณร ถ้ารู้ว่าเป็นสุราก็มีโทษถึงปาราชิก คือขาดจากความเป็นสามเณร”


    “ติณฺณํ ภิกขฺเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ กตเมสํ ติณฺณํ?
    โสปฺปสฺส ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ, สุราเมรยปานสฺส
    ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ, เมถุนธมฺมสมาปตฺติยา ภิกฺขเว
    ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ, อิเมสํ ภิกฺขเว ติณฺณํ ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺตีติ”


    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเสพที่ไม่มีการอิ่มนั้น ๓ อย่าง
    ๓ อย่างนั้นคืออะไร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่อิ่มในการนอนอย่างหนึ่ง
    ความไม่อิ่มในการดื่มสุราเมรัยอย่างหนึ่ง
    ความไม่อิ่มในการเสพเมถุนธรรมอย่างหนึ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่อิ่มในการเสพ ๓ อย่างนั้นมีดังกล่าวนี้”


    “ยสฺมา ปน มชฺชปายี อตฺถํ น ชานาติ, ธมฺมํ น ชานาติ,
    มาตุปิ อนฺตรายํ กโรติ, ปิตุปิ พุ?ธปจฺเจกพุทฺตถาคต-
    สาวกานมฺปิ อนฺตรายํ กโรติ, ทิฏฐธมฺเม จ ครหํ สมฺปราเย จ
    ทุคคตึ อปราปปริยาเย อุมฺมาทํ ปาปุณาติ”


    “ผู้ที่ดื่มสุราอยู่เป็นนิจ ย่อมไม่รู้จักผล ไม่รู้จักเหตุ
    ย่อมทำอันตรายแก่ทรัพย์หรือชีวิตร่างกายของมารดา บิดา
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย
    ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ย่อมได้รับคำครหาจากบัณฑิตและสัปบุรุษทั้งหลาย
    เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่ทุคติภูมิ
    สำหรับในภพที่ ๓ เป็นต้นไปนั้น ย่อมเป็นผู้ที่มีสติฟั่นเฟือน วิกลจริต”


    “อปิเจตฺถ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานเมว มหาสาวชฺชํ
    น ตถา ปาณาติปาตาทโย กสุมา มนุสฺสภูตสฺสปิ อุมฺมตฺตก
    ภาวสํวตฺตเนน อริยธมฺมนฺตราย กรณโต”


    “เมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ในศีลทั้ง ๕ นั้น การดื่ม
    สุราเมรัยที่เป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อมมีโทษมาก
    ส่วนศีล ๔ ข้อมีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ไม่มีโทษมากเหมือนการดื่มสุรา
    เมรัย เพราะการดื่มสุราเมรัยนี้ย่อมกระทำให้ผู้นั้นเป็นบ้าอันเป็น
    อันตรายต่อมรรค ผล”


    ปฐมสีลสัมปทาสูตร

    สีลสัมปทา เป็นนิมิต แห่งอริยมรรค
    สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ
    จบปฐมสีลสัมปทาสูตรที่ ๒
    วณิชชสูตร


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึง
    กระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การ
    ค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ


    จบสูตรที่ ๗

    สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ก็มีองค์ ๔ คือ (ดื่มน้ำเมา)
    ๑. สุราทีนํ อญฺญตรํ ของมึนเมามีสุราเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ๒. มทนียปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตคิดอยากจะดื่มของมึนเมา
    ๓. ตชฺชํ วายามํ อาปชฺชติ ความพยายามเกิดแต่จิตนั้น
    ๔. ปีเต จ ปวิสติ ดื่มเข้าไปในลำคอ
    ๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในสิกขาบทนี้ คำว่า "สุราและเมรัย" หมายถึง สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่
    สุรา ๕ อย่าง ได้แก่
    ๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
    ๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
    ๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
    ๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
    ๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ
    เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่
    ๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
    ๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
    ๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้ง หรือน้ำดองน้ำหวาน
    ๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
    ๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ
    สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเอง ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ


    พระโสดาบัน กินเหล้าได้ ขอแค่ไม่ผิดสัมมาวาจา วัดคึก
    https://youtu.be/RbkjuL6gJIk
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ช่วงนี้ กำลังพิจารณาเคลียร์การลาออกจากราชการ เพื่อกลับไปดูแลพ่อแม่ที่บ้านสอนธรรมให้ท่านพาท่านปฎิบัติธรรม และจัดการเคลียร์ตนเองเพื่อออกบวช คงไม่มีอะไรที่จะเสวนาธรรมสากัจฉามาก ซึ่งข้อมูลต่างๆก็คงพอทำให้รู้ว่ามากมายเพียงพอที่จะรู้ว่า สำนักวัดนาป่าพงที่นำโดยคึกฤทธิ์จะพาคนไปนรกขุมไหนๆ


    ไม่ได้เป็นคนดีมาตั้งแต่ต้น เคยท่องบ่นสอนคนฆ่าพระรัตนตรัยอาศัยวัตรเดียร์ถีย์ ด้วยสติระลึกถึงความกตัญญูกตเวทีจึงปรารถนาเสียสละขออภัยโทษ จึงพยายามพนมมือก้มกราบให้ได้แต่เมื่อพระธรรมราชามาโปรดชีวิตแล้วสติก็กลับคืนมา จึงพยามหลีกหนีภัยเวรจากโลกียะสุขในฆราวาสวิสัย เพื่อจักเป็นคนดีไม่เป็นคนเลวผู้ประมาทในภายหลัง ต่อแต่นี้ไป


    ขอบุพการีทั้งสองและ{พระมารดา}ผู้มีคุณโปรดสบายใจในภายหลัง



    สถานะธรรมที่เปิดเผยและปิดบังเอาไว้ในวิสัยฆราวาส ผู้มีสติปัญญาในธรรมย่อมรู้และเข้าใจ
    ขอบคุณที่ทุกท่านได้ติดตามอ่าน

    สาธุสวัสดีในธรรมทานฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้ามีบุคคลในโลกนี้หรือโลกไหนๆอ่านพระไตรปิฏกที่ตีพิมจารึกไว้ให้เห็นในยุคปัจจุบัน ตลอดไปจนถึงอนาคตและก็จักคิดว่าตนได้ รู้ได้เห็น อรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตาได้ บุคคลผู้นั้นคิดผิดไปเสียแล้ว

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว



    นี่คือที่สุดแห่งการวิสัชนา ในเรื่องฟังคำสาวกภาษิตหรือภาษิตเจ้าลัทธิสาวกอื่นนอกพระพุทธศาสนา ได้หรือไม่ได้ ผู้ที่พิจารณาอย่างลึกซึ้งจะสามารถเข้าใจ

    "ถ้าไม่รู้ไม่ฟังไม่เข้าใจภาษิตต่างๆของเหล่าจ้าวลัทธิเดียร์ถีย์อื่นๆก็ดีหรือสาวกภาษิตก็ดีจะไปเสวนาที่มาที่ไปได้อย่างไร? จะโต้วาทีสูตรได้อย่างไร? ในเมื่อไม่รู้เขารู้เรา จะแย้งกันได้อย่างไร? ว่าสิ่งนั้นคือเหตุ สิ่งนี้คือผล ถ้าไม่รู้ก็จะมีแต่ถือมานะทิฐถิว่าของตนเท่านั้นเท่านั้นที่ถูก ตนอื่นไม่ถูก อันปัญญาญานทั้งหลายในการล่วงรู้จะมีไปเพื่อเหตุอันใด จะสอนเขาออกจากอสัทธรรมได้อย่างไร? "

    "จาก อาณิสูตร และพระสูตรทั้งหมดที่ทรงตรัสถึงเรื่องให้ฟังหรือไม่ให้ฟังภาษิตจากผู้ใดหรือใครก็ตาม"

    เมื่ออ้างสูตรการพยากรณ์ จึงต้องวิสัชนาให้ถี่ถ้วน ถึงพระสูตรต่างๆที่ทรงพยากรณ์ อย่าฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด อย่างที่คึกฤทธิ์และลิ่วล้อสาวกสำนักวัดนาป่าพงทำ


    เพราะเหตุอันใด เพราะนี่เป็นการวิสัชนาและพยากรณ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่คือการตักเตือนสั่งสอน และสามารถกล่าวให้เป็นไปในทางเดียว การที่ผู้ที่จักรู้จักแสดงธรรมให้ประกอบสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา ต้องเป็นผู้ที่มีที่ได้ในปฎิสัมภิทาญาน และล่วงรู้ในปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นั้นด้วย อันมีอยู่ว่า

    ***พระองค์ทรงตรัสสั่งสอน ตรัสตรงที่สุดคือให้ฟังให้สนใจพระสาวกรูปหนึ่งรูปใดหรือรูปองค์ก็ตาม ที่มีที่ได้ในปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นการฝากยังภาระในการเผยแผ่และรักษาพระธรรมคำสั่งสอนให้คงอยู่ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นอายุพระพุทธศาสนาในพุทธสมัยของพระองค์***

    "การที่ทรงพระดำรัสตรัสสอนนี่ทรงสอนให้ตรงจริตกับผู้ฟังพระองค์ และพระองค์จึงทรงเคี่ยวเข็ญให้ฟังและรีบปฎิบัติธรรมและเรียนรู้พระปริยัติสั่งสมสุตตะให้มากๆ ไม่ควรจะฟังเงี่ยหูฟังธรรมอื่นๆใดๆที่ไม่ใช่สภาวะที่สมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา นั่นก็เพื่ออนุเคราะห์ในกาลแก่เหตุ แก่เหล่าบุคคลที่มีในสารคุณ รู้แจ้งในมรรคผลเป็นแก่นสารและแก่ผู้เดินตามมาภายหลังอันประกอบด้วยความปรารถนาที่จะรีบเร่งแก่การบรรลุธรรมในกาล และแก้ข้อสงสัยแก่ผู้ที่ยังมีจิตใจไม่มั่นคง และยังไม่ทราบยังพระสัทธรรมอย่างแน่ชัด"

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล


    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    และถ้าไม่เข้าใจไม่รู้จักปฎิสัมภิทามรรค ก็จะไม่มีทางวิสัชนาในข้อนี้ได้ เพราะไม่ใช่ว่าจะสามารถเข้าใจในอรรถะ พยัญชนะ ที่มีอรรถะลึกซึ้ง อันประกาศโลกุตระ ได้ง่ายๆเลยจากคัมภีร์หรือหนังสือที่จารึกในบทธรรมหรือจากพระไตรปิฏกเล่มใด เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมรับรู้ด้วยสติปัญญา รับรู้ด้วยจิตใจ "อย่าคิดว่าจะรู้อรรถรู้ธรรมได้โดยง่าย ปริยัติยังไม่ดีไม่ผ่านไม่เอา ปฎิบัติก็ไม่ได้ไม่เป็น จะเอาปฎิเวธ คึกฤทธิ์และลิ่วล้อมาร๕สำนักวัดนาป่าพง"

    คึกฤทธิ์วิสัชนาแปลงภัยที่ ๕ และใน อาณิสูตร ผิดพลาด นี่ขนาดจาก {O}มหาปัญหาสูตร{O} สูตรใหญ่ ที่สำคัญที่สุด ที่เกิดวาทะขึ้นระหว่างอัญญเดียรถีย์ปริพาชก แบบชนิดท้าทายโอ้อวดตรงๆ แล้วพระองค์ทรงห้ามไหม? ว่า อย่านะภิกษุทั้งหลายฯ เธออย่าไปฟังที่เขาเปรียบเทียบกะเราอย่างนั้น โดยทั้งๆที่ ภิกษุทั้งหลายนั่นกล่าวกับพระบรมมหาศาสดาว่า

    " ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่ได้คัดค้าน ภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ"

    ถามว่า " พระสาวกกล่าวขนาดนี้ พระองค์ยังไม่ได้ทรงตรัสคัดค้านในประการใดทั้งปวง

    และเมื่อมาพิจารณาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ต่อเนื่องโดยยก {O}ธรรมทายาทสูตร{O}ขึ้นมาพิจารณาโดยหลัก ด้วยภาษิตของพระอัครสาวกสารีบุตร ก็สรุปผลเป็นที่สุดดั่งพิจารณามา ว่าสามารถที่จะฟังภาษิตของพระสงฆ์สาวกของพระองค์ได้




    {O}"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
    ได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า

    ***ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือ ธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล***

    #####"ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่ได้คัดค้าน ภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ"####

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่ยังพยากรณ์ให้ถึงพร้อมได้ จักถึงความลำบากแม้อย่างยิ่ง

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญญเดียรย์ปริพาชกนั้นถูกถามในปัญหาอันมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวกของตถาคตนี้
    "{O}


    "ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์"
                  ดูกรมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

    ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ ดูกรมาลุงกยบุตรทิฏฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ เราไม่พยากรณ์.

    ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น.

    ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่า ที่เราพยากรณ์ ดูกร มาลุงกยบุตร ความเห็นว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เราพยากรณ์.

    ก็เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์


    ข้อนั้น. เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
    จบ จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร


    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
    เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้งฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทหากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเราข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


    ภาษาบาลี ไม่ใช่" อักษรทิพยภาษา " ที่มีความหมายละเอียดอ่อนลึกซึ้ง อย่างที่ทรงตรัส ภาษาบาลีนั้นจริงๆแล้ว เป็น อรรถถาธิบาย ต่อจาก อักษรทิพยภาษา นั้นอีกที และ ถ้าคิดว่า พระสัทธรรมเป็นภาษาบาลีเป็นภาษาที่เป็นพุทธวจนะโดยตรง ด้วยปกรณ์ อรรถพยัญชนะ รูปเสียง ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จากพระสัทธรรมจริงๆ เป็นความเข้าใจที่ผิด และจะขัดกับ ปฎิสัมภิทามรรค ทันที นี่จึงเป็นเหตุให้ สำนักพุทธวจนที่ไม่รู้จักองค์คุณของปฎิสัมภิทาญานดีพอ จึงทำผิดพลาดอย่างมหาศาล

    เรื่องนี้น่ะ เข้าใจผิดกันทั้งโลก ตราบใดที่ไม่มีผู้ประกาศตนโดย สามารถใน ปฎิสัมภิทาญาน และถ้าท่านไม่แสดง{O}อักษรทิพยภาษา{O} เราจะไม่มีทางรู้ อักขระ พยัญชนะในพระสัทธรรมนั้นอย่างแท้จริง สิ่งที่คึกฤทธิ์ ทำคือการทำลายอรรถกถา จึงเป็น พุทธวจนะปลอม คือแปลบาลีไม่ให้เป็น บาลี ทำลายอรรถะภาษาที่ทรงรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ

    เพราะไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ๔ และเข้าใจว่า พระไตรปิฏกทั้งหลาย ล้วนสืบทอดมาจากการจารึกบันทึกทรงจำของพระสงฆ์สาวก ว่าด้วยสาวกจดจำมาจากพระดำรัสตรัสสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่ออีกทอดหนึ่ง นี่จึงแสดงให้เห็นว่าคึกฤทธิ์ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔ อันมี นิรุตติทัสสนญาน และ วิมุตติทัสสนญาน ควบคู่อยู่ด้วยเป็นต้น ฉนั้นหมดสำนักวัดนาป่าพง หรือสำนักใดๆก็ตาม เปิดตำราหนึ่งล้านบท อธิบายสามล้านหน้ากระดาษ เพียงพุทธภาษิตเดียวก็ไม่สามารถแสดงได้เทียมเท่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันต์ผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานได้เลย

    จะเอา บาลี มาตรวจสอบ ทิพยภาษา ซึ่งเป็นแม่แบบ ต้นแบบ ไม่ใช่ฐานะที่จะทำกลับกันได้

    ไม่มีปฎิสัมภิทาญาน อย่าคิดว่าจะเห็น " พุทธวจนะ " แท้ๆ ได้โดยตรง ไม่ใช่ฐานะเลย ที่เห็นเป็นของง่าย ที่ใครเลยก็เห็นได้ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดนั้น คิดว่า พุทธวจนะแท้ๆ เป็นสภาพ เป็นสถานะ คือตัวอักษร เป็น ภาษาบาลี โดยตรง บุคคลเหล่านั้น คิดผิดไปเสียแล้ว

    {O} ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้{O}


    "ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ จักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน."

    "ภิกษุ ท. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ”ดังนี้ ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้."


    {O}พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า{O}

    อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.

    ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้นของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

    ก็บัณฑิตพึงทราบปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕.

    ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒ เป็นไฉน?

    คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.

    ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระเถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ, พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในอเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่านจิตตคฤหบดี, ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่งประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.


    ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2016
  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    คิดว่าในโลกนี้ไม่มีเลยหรือค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    ถ้าเธอเห็นพยัญชนะนั้น เธอก็ได้ก็มีในปฎิสัมภิทาญาน

    ถ้าเธอไม่เห็นเธอก็ได้สภาวะธรรมอันเข้าถึงทิพยภูมิของพระอริยะตามลำดับขั้น ดังที่มีมาในพระอรหันต์มี ๔ หมวด


    เพราะไม่ใช่ว่าจะสามารถเข้าใจในอรรถะ พยัญชนะ ที่มีอรรถะลึกซึ้ง อันประกาศโลกุตระ ได้ง่ายๆเลยจากคัมภีร์หรือหนังสือที่จารึกในบทธรรมหรือจากพระไตรปิฏกเล่มใด เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมรับรู้ด้วยสติปัญญา รับรู้ด้วยจิตใจ "อย่าคิดว่าจะรู้อรรถรู้ธรรมได้โดยง่าย ปริยัติยังไม่ดีไม่ผ่านไม่เอา ปฎิบัติก็ไม่ได้ไม่เป็น จะเอาปฎิเวธ คึกฤทธิ์และลิ่วล้อมาร๕สำนักวัดนาป่าพง"

    วิสัชนาให้ยิ่งขึ้นไปอีก เราไม่กล่าวว่าเฉพาะเพียงในโลกนี้เท่านั้น! แต่ทั้งหมดทุกภพภูมินั้นด้วย

    เธอเห็นพยัญชนะนั้นแล้วหรือยัง?
    https://youtu.be/fh3KuBS6AqA
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,536
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ..............................
    รูปในนี้ทําไมจีวรเปิดไหล่ซ้าย งงๆๆ(youtube)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คิดว่าเป็นภาพมุมกลับครับ นำมาประกอบ และอีกกรณี การนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล ยังมีแบบอย่างอื่นอีกมากในหลายๆนิกาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    [o]{O}[o]ซ่อนเมฆ ไว้ตรงที่ แม้จ้าวลัทธิเดียร์ถีย์แม้สาวกเหล่าอื่นใดก็สามารถฟังและพิจารณาพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาที่ทรงตรัสได้ นี่จึงไม่ใช่เหตุผลของการตีความอย่างคึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพง หรือใครก็ตาม ที่หมายจะทำให้สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงมีใจคอที่คับแคบ ทำพระสัทธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง[o]{O}[o]

    https://youtu.be/-nLdd1knKGs
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    วันนี้ ผมดีใจที่มีผู้ยืนยันในปฎิสัมภิทามรรคเพิ่มมากขึ้น ก็ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญฯนั้นด้วย ในที่สุดก็มีผู้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

    จะเอาแต่พุทธพจน์เท่านั้นหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ดิฉันไม่เห็นหรอกค่ะ พยัญชนะที่ว่า แต่ดิฉันเห็นสภาวะสุญญตาใครจะเชื่อไหมล่ะค่ะ
     
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ถ้าบอกยากเกินไปที่จะเห็นสภาวะนิพพานชั่วคราว เพียงแค่ชั่วคราวไม่มีใครเห็นกันได้ ธรรมที่ทวนกระแส หากทุกคนปฏิบัติกันจริงทำไมจะมิได้
     
  20. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ก็จริง แต่ถ้าใช้ความพยายามพากเพียรบากบั่นลองทวนกระแสโลกชั่วคราวเข้าไปเห็นสภาวะนิพพานกันจริง ๆ สักตั้งเป็นไร อะไร ๆ เธอปฏิบัติได้ถึงขั้นไหนถามแต่เรื่องแบบนี้ ทำไมไม่ถามเธอทวนกระแสโลกแล้วรึ เธอจึงเห็นได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...