ฌาน1นั่งยังไงหรือครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย animejanai, 21 ตุลาคม 2015.

  1. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    คือผมอยากได้ความเห็นทุกท่านครับ

    ปล.เดี๋ยวค่อยถามว่าฌาน2นั่งยังไง
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นั่งให้จิตสงบจากนิวรณ์ 5 ไงครับ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ตอบให้ล่วงหน้าเลย นั่งให้จิตสงบจากนิวรณ์ 5 ไงครับ เป็น ปฐมฌาน

    ตัดวิตก วิจาร ด้วยการปฏิบัติเข้าถึง เป็น ทุติยฌาน

    ต่อ ฌาน3 4 ยังไง อ่าน นี่ http://www.palungjit.org/smati/k40/index.htm ก่อนก็ได้นะ จขกท

    ความเห็นผมครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2015
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    การปฏิบัติธรรม มันจะมี สองแนว

    แนวที่ คนทั่วๆไป ใช้เป็นอันดับแรกคือ " การทำตามๆกันไป " กับ "การฟังให้เข้าใจในปัจจัยแล้วจึงไปพิสูจน์ธรรม "

    การทำตามๆกันไป วิธีบอก วิธีสอน ก็จะ บรรยายสรรเพเหระพาจนเต็มกระโถน แล้ว ผู้ปฏิบัติก็
    ไปทำตามๆนั้น สุดท้ายก็กลับมาถามว่า ฌาณหนึ่งนั่งยังไง ใช่อย่างนี้ เห็นแบบนี้ รู้สึกแบบนี้ ใช่ปะ

    การฟังให้เข้าใจใน "ปัจจัย" ให้เกิด หากไป พิสูจน์แล้ว พบสภาวะ มันจะ จบในตัว ไม่ต้องมาถามฮาอะไรใครทั้งนั้น

    ซึ่ง

    วิธีการสอนให้ทำตามๆกันไป ก็ว่ากันไป เขามีสอนกันเป็นปรกติ

    ส่วน

    สอนให้ทราบปัจจัยแล้วไปพิสูจน์ หากสนใจ ก็พึงทราบแค่ว่า " จิตปราศจากราคะสัญญา "
    เท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่ จิตขณะนั้นไม่ห่างจาก ปฐมฌาณ อีกทั้งเป็น สุญญตา คือ นั่งท่าไหน
    ยืนท่าไหน นอนท่าไหน เห็นอะไร ไม่รู้อะไร ไม่เกี่ยวเลย ขอให้รู้ว่า จิตปราศจากราคะ และ
    ขณะนั้น จิตสงัดจากกามสัญญา(รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ใช่ เรื่องอย่างว่า ) มันจะมี
    ปิติ สุข อุเบกขา ห่างจากโลก ในตัว โดยไม่มี ตัวตน ท่าทาง ไปอุปทานรับ

    ถ้าเข้าใจ ปัจจัยให้เกิด ปฐมฌาณ แล้ว ทราบจิต ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ห่างจากฌาณไหม
    ถ้าไมห่าง มี ปฐมฌาณเป็นที่โคจรของจิต ปฐมฌาณที่เกิดดับจะเป็น ปัจจัยให้เกิดอะไร ก็แล้ว
    แต่จะ ใส่ใจ พิสูจน์ต่อไป ด้วยตัวเอง ไม่ต้องถามฮาอะไรใคร [ คนมีปัญญามาก จะใช้แค่ เห็นจิตปราศจากราคะ
    แค่นี้ก็ใช้พิจารณาการดับสิ้นไปของตัณหา อยู่เนืองๆ เท่านี้ก็ ลาดไปสู่ปัจจัย สิ้นโลก เหลือธรรม ได้ ]



    พอเข้าใจวิธีปฏิบัติ ที่ไม่ใช่ ฟังตามๆกันไป มันจะเลิก สนใจ การประลองเชิง การสร้างคำถาม ฮาๆ ไปวันๆ
    เพื่ออวดว่า ใครรู้กว่าใคร ใครจับความ เทียบไปเทียบมา ใช่ไม่ใช่ ไปด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2015
  5. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ฌาน 1 มีองค์ของ วิตก วิจารย์ ปิติ สุข เอกคัตตา ทั้ง 5 องค์ประกอบครบถ้วน
    สำหรับผม อุปมา การเข้าฌาน 1 เหมือนการแบ่งจิตกับกาย 25%
    การเข้าฌาน 4 เหมือนการแบ่งจิตกับกาย 100%
     
  6. นักบุญภาคอีสาน

    นักบุญภาคอีสาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2008
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +334
    จริงๆแล้วการปฎิบัตินั้น ครูบาอาจารย์ทางสายวัดป่า ท่านจะไม่สอนอะไรมากครับ เพราะว่ามันจะเกิดการคาด การหมายเอา หรือไปวิตกกับสิ่งที่ตนรู้ ตนอ่านมาก่อน จึงมีความอยากให้เกิดนั้นนี้ แซกขึ้นมา ซึ่งแล้วนี้ สติกับคำภาวนา มันไม่ต่อเนื่องกันครับ นอกจากญาณ จะไม่เกิดแล้ว ยังการเป็น อุทธัจจะกุกกุจจะ การคือการคิดปรุง ฟุ่งซานไปเอง

    ดังนั้นครูบาอาจารย์ท่านสอนแค่ว่า

    1.ชอบคำภาวนาอย่างไร(ตามจริตนิสัย)
    2.ให้คำหนดจิตอยู่ที่ คำภาวนานั้น ดูอยู่ที่คำภาวนาอย่างเดียวครับ อยู่กับคำภาวนาอย่างเดียว ทั้งวันได้ยิ่งดี เผลอเมื่อไรก็ดึกกกลับเข้ามาดังเดิม แรกๆหนักหน่อย พอไปจิตเริ่มอยู๋กับคำภาวนาครับ

    แล้วก็อยู่แล้วนั้น หลายงวันหลายเดือนเขา เมื่อจิตอิ่มพอแล้ว ความเป็นญาณก็บังเกิดครับ โดยการเกิดของญาณนั้น จะเปลี่ยนแปลงในจิตแบบเห็นได้ชัด(เกิดความสงบขึ้นนั้นเอง) กว่าแต่เดิมที่จิตอยู่กับคำภาวนาแรกๆ ซึ่งผู้ปฎิบัติจะสามารถรู้ด้วยตัวเองได้ทันที ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

    จากนั้นจิตสงบ หลายครั้ง หลายหนเขาจิตก็จะพัฒนาไปเลื่อยๆตามลำดับ ที่มาญาณ 1 2 3 4 นั้นละครับ
    ส่วนญาณ 1 เป็นเช่นไรนั้นผมอาจจะตอบ แบบปริยัติ ได้ไม่ดีนัก แต่จะตอบตามแบบบ้านๆว่า จิตกับคำภาวนาจะแนบแน่นอยู๋ด้วยกัน จนจิตที่รู้คำภาวนา เป็นอันเดียวกันกับคำภาวนา แม้จะกำหนดคำภาวนาหรือไม่ก็แล้วแต่ ความสงบใน ญาณ1นี้ ก็จะอยู๋เช่นนั้น เพราะตัวรู้นี้ ได้ติดกับความสงบ ที่เรียกว่าระดับญาณนี้แล้วนั้นเองครับ

    ถามว่า ญาณระดับนี้จะได้ยินเสียภายนอก อะไรต่ออะไรหรือไม่ ตอบว่า ได้ยินเป็นปกติครับ แต่จิตจะอยู่กับความสงบตรงนั้นอย่างเดี่ยว เพราะจิตเริ่มติดความสงบตรงนั้นแล้ว เรื่องการรับรู็ภายนอกรู้ปกติแต่จะรู้แบบผ่านๆ อุปมาเหมือนนั่งรถไปที่ต่างๆ ตามองทางเท่านั้น ส่วนอะไรต่ออะไรที่ผ่านๆเขามา รู้อยู่ว่าเห็นแต่ความใส่ใจนั้น ไม่มีเพราะอยู๋กับความระมัดระวัง ในการขับรถอยู่ครับ

    หมายเหตุ ความสงบของญาณนั้น ไม่สงบทุกครั้งเสมอไป(อันนี้ส่วนตัวครับ) บางวันถ้าเจอคนหมู่มากหรือขาดสติเผลอไปมาก กระทบ กระทังมาก ซึ่งอันนี้ก็ต้องอาศัยความชำนาญจนแน่ใจว่า จิตจะไม่เสื่อมจากญาณอีก.........อันนี้พระป่าท่านว่าจิตเริ่มยืนตัวเองได้ พร้อมจะพิจารณาธรรมต่างๆ ซึ่งตรงนี้ก็คือ ญาณ นั้นเองครับ แต่จะระเอียดมากน้อยเป็น ญาณระดับไหนขึ้นอยู๋กับความ เอาจริง เอาจัง ของท่านผู้ปฎิบัติว่าจะมีขอวัติที่จะปฎิบัติตนอย่างไรให้ครองสติอยู่กับจิตได้ตลอดเวลาครับ

    อันนี้ก็ขอโอกาสแสดงความคิดความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ก็รองดูท่านผู้รู้ท่านอื่นๆ แนะนำแจกแจ้งก่อนก็ได้ครับ ส่วนผมผิดพลาดอย่างไรก็อยากขอคำชี้แนะจากท่านผู้รู้เช่นกันครับ..........ขอบคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2015
  7. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    #จุดมุ่งหมายแท้จริงของการปฏิบัติธรรมคือรู้แจ้งอริยสัจ การได้ฌานเป็นเพียงอุบายที่ทำให้จิตสงบแน่วแน่มั่นคงเท่านั้น ซึ่งหากจิตสงบแล้วติดอยู่ในความสงบนั้นก็ยากที่จะเข้าถึงความหลุดพ้นจากพันธะแห่งทุกข์ทั้งหลายโดยแท้จริง#
    ^_^ขอให้เจริญในธรรมครับทุกท่าน ^_^
     
  8. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    ฌาน1นั่งยังไงหรือครับ

    ตอบแบบย่อๆ คือ ๑ คิดดี = วิตก (คิดในสื่อที่สร้างกุศล เช่นคำภาวนา "พุทโธ" แบบสมถะ หรือหัวข้อธรรมอื่นๆ เป็นเรื่องๆ ฯลฯ แบบวิปัสนา เป็นต้น) ๒ ประพฤติดี = วิจาร (มีศีลห้า) ผลปิติ สุข เอกคตา จะตามมาเอง แปลว่า ถ้าทำถูกต้อง จะได้ฌาน ๑ และ ๒ ๓ ๔ ตามมาเอง ดังนี้แล
     
  9. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    จิตเริ่มสงบๆครับอาบด้วยปีตินิดๆ อาจจะมีเผลอบ้าง องค์ฌาณ 1 มีเสียงเป็นศัตรูครับ
    ความฟุ้งซ่านระงับลง รู้ในบริเวณภายใน เเต่ถ้าสติอ่อนจะเผลอบ่อย
    ผิดประการใดขออภัยด้วยครับ
     
  10. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
    คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
    สงบไปโดยฉับพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
    สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
    เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
    ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
    หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
    เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
    สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
    เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
    หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
    พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
    สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
    ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
    แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.

    ปฐมฌาน
    เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
    ทุติยฌาน
    เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.
    ตติยฌาน
    เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
    จตุตถฌาน
    เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส
    ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.​
     

แชร์หน้านี้

Loading...