กฎข้อที่ 3 ของนิวตันคล้ายกฎแห่งกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย kittitpx, 5 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. kittitpx

    kittitpx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,000
    กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน (Newton's Third law)
    "ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ" หรือ "แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม"

    แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา

    กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
    ตัวอย่างเช่น ผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน
    ในชีวิตประจำวันเราพบว่า เมื่อออกแรงกระทำกับวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นจะออกแรงตอบโต้กับแรงที่เรากระทำในทันที เช่น เราสวมรองเท้าสเก็ตแล้วหันหน้าเข้ากำแพง เมื่อเราออกแรงพลักกำแพง ตัวเราจะเคลื่อนที่ออกจากกำแพง นั้นแสดงว่า กำแพงต้องมีแรงกระทำต่อเราด้วย
    จากตัวอย่างนี้ เราเรียกแรงที่ เรากระทำต่อกำแพงว่า แรงกิริยา และเรียกแรงที่ กำแพงกระทำต่อเราว่า แรงปฏิกิริยา แรงทั้ง 2 นี้เรียกรวมกันว่า แรงคู่กิริยา - ปฏิกิริยา หรือ action - reaction pairs

    การกระทำซึ้งก็คือ กรรม เมื่อเรากระทำออกไปแล้ว ก็จะย้อนเข้ามาหาตัวผู้กระทำ ตามแรงกรรมที่เรากระทำ ถ้าเราทำกรรมที่รุนแรง ผลที่ได้ก็จะรุนแรงเหมือนกัน ในทางกลับกันถ้าทำกรรมที่เบาบางผลก็จะเบาบาง เช่นเราทำทาน

    ให้ทานไป=ได้รับผลทานมา ​

    ยิ่งให้ไปมากเท่าไหร่ก็ได้รับมามากเท่านั้น มีทิศทางตรงข้าม คือ ให้ไปจึงได้มา

    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เป็นเหตุเป็นผล เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์
    ครั้งหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักฟิสิกส์โลกตลอดกาล http://203.158.100.100/charud/specialnews/...cist/index3.htm
    และได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 )
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%...%B8%99%E0%B9%8C

    ได้เคยกล่าวเห็นด้วยกับ นิวตัน ว่า มีกฎที่ควบคุมสรรพสิ่งอยู่ นิวตันได้นำเสนอความเชื่อนี้ด้วยหลักกลศาสตร์
    แต่ก็ถูกปฎิเสธ ไอน์สไตน์รู้ว่ากฎนี้มีอยู่จริง แต่มันซับซ้อนกว่าหลักกลศาสตร์มาก
    ถ้าถามไอน์สไตน์ ว่าเขานับถือศาสนาอะไร เขาจะตอบว่า เขาไม่นับถือศาสนาอะไร แต่ถ้าถามว่า เขาสนใจศาสนาอะไร
    เขาก็จะตอบโดยไม่ลังเลว่า ศาสนาพุทธ ไอน์สไตน์ มักจะใช่คำเรียกศาสนาพุทธ ว่า "ศาสนาจักรวาล"
    ไอน์สไตน์ได้ไปเจอ กาลามสูตร ที่สอนไม่ให้เชื่ออะไรโดยง่ายโดยไม่ไตร่ตรอง หรือ พิสูจน์ก่อน จึงเกิด ความคิดว่า
    มีอย่างนี้ด้วยหรือ ก้าวข้ามความเชื่อไปโดยใช่ปัญญา ต่างจากศาสนาอื่นที่ให้เชื่อโดยไม่มีเงื่อนไข จึงเกิดความประทับ
    ใจ และเคยได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อศาสนาพุทธว่า

    “ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุ บัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”

    ท่านที่สนใจเรื่องแนวนี้ สามารถหาอ่าน หนังสือ "ไอน์สไตน์ พบเห็น พระพุทธเจ้า" ของ ผู้เขียน :
    ทันตแพทย์สม สุจีรา ได้ ( ไม่ได้มาโฆษนานะครับ) ผมได้อ่านดูแล้วน่าสนใจดี ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น

    หลังจากไอน์สไตน์ เสียชีวิตคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ (McMaster Universtity) เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ได้เสนอรายงานผลการวิจัยสมองของไอน์สไตน์ ในวารสาร ทางการแพทย์ The Lancet เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบสมองของไอน์สไตน์กับสมองคนฉลาดปกติทั่วไป เป็นชาย 35 คน หญิง 56 คน พบว่า บริเวณส่วนล่าง ของสมองด้านข้าง (inferior parietal region) ของไอน์สไตน์ ใหญ่กว่าของคนปกติธรรมดาถึง 15 เปอร์เซ็นต์ สมองบริเวณดังกล่าว อยู่ในระดับเดียวกับหู มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
    นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกด้วยว่า ร่องสมองของไอน์สไตน์ หายไปบางส่วนโดยที่สมองของคนทั่วไปจะมีร่องสมองจากส่วนหน้า ต่อเนื่องไปยังสมองส่วนหลังซึ่งร่องที่หายไปบางส่วนนี้ อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่แสดงความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์ เนื่องจากทำให้เส้นประสาทและเซลล์สมองบริเวณนั้น สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
    http://www.elib-online.com/doctors/gen_einstein.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2008
  2. "เหลียง ขงเบ้ง"

    "เหลียง ขงเบ้ง" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +335
    ผมเคยคิดมานานแล้วครับ เรื่อง Action -Reaction และเคยเขียนบทความเกี่ยวกับจิต ภาคปฏิกิริยา Fiction และ Fusion ลงในเนทแล้วครับ


    และผมให้พวกเราตั้งข้อสังเกตเรื่อง เรื่องดึงดูดของโลก ของท่านด้วย ว่า มันก็คือ กิเลสหน่วงเหนี่ยวจิตเราไว้ อีกอย่างหนึ่งนั่นเอง
     
  3. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    อะไรที่เป็นสัจธรรมความเป็นจริง คือเป็น fact มันจะโยงใยสัมพันธ์กันตลอด และกลมกลืน แล้วแต่ปัจเจกบุคคลจะพิจารณาเห็นแต่ละแง่มุมหรือเห็นแบบยกแผง เช่น ธรรมะคือธรรมชาติของสรรพสิ่ง(เน้นที่กาย) กับจิต ลองโยงความสัมพันธ์ดูมันเชื่อโยงสัมพันธ์กันเหมือนใยแมงมุมแบบไม่มีเส้นขาดเลย
     
  4. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    จริงๆแล้วการทำกรรมไม่ใช่แต่เป็น action = reaction นะเพราะมีปัจจัยเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นกรรมที่ทำลงไปไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมเลวย่อมให้ผลแบบยกกำลัง ดังนั้น reaction น่าจะเท่ากับ action exp ut คือเวลายิ่งนานที่จะหมดเวรหมดกรรมจะยิ่งต้องรับวิบากมาก เช่นทำกรรมเลวครั้งนึงต้องชดใช้ที่เรียกว่าห้าร้อยชาติ เช่นกันทำบุญกุศลก็จะได้รับห้าร้อยชาติ ที่ว่าห้าร้อยนี้น่าจะมีความหมายว่าภพชาตินับไม่ถ้วน มิหนำซ้ำอาจจะต้องเจอดอกเบี้ยสะสมด้วย เช่นโกงเขาหนึ่งร้อยอาจจะต้องเสียทรัพย์เป็นแสน ๆ เพราะเจอดอกเบี้ยข้ามภพข้ามชาติตามเวลาที่ผ่านไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2008
  5. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ลองพิจารณาดุกฎแห่งกรรมกับกฎ Thermodynamics ข้อที่ 1 ดูบ้าง อาจจะใช้ได้บางส่วน คือส่วนของการเปลี่ยนรูปพลังงานแต่มวลสารไม่เท่าเดิม เพราะเวลาผ่านไปผลบุญผลกรรมที่ตอบสนองมันมากกว่าที่ทำไว้เมื่อครั้งไหน ๆ การเปลี่ยนรูปเช่น เคยตักบาตรไว้ ไม่ใช่ว่าชาติถัด ๆ ไป จะได้ของเหมือนเดิมที่เคยทำไว้ บุญมันเปลี่ยนรูป เช่น บุญเดียวกันนี้อาจทำให้ไปเกิดในที่อุดมสมบรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร

    สิ่งที่ทำไว้ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตามมันมีความเฉพาะเจาะจงกับเจ้าของสูงมาก ของใครก็ของคนนั้นแม้เวลาจะผ่านไปข้ามภพข้ามชาติก็ยังบาปบุญยังจำเจ้าของได้และก็กลับมาให้ผล อันนี้ไม่รู้จะอะธิบายว่ายังไง
    ...
    เขียนไปเขียนมาเข้าข่าย สงสัยเรื่องอะจินไตย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนไว้ว่าไม่ควรคิดหรือสงสัยเรื่องของกรรม (1 ในอะจินไตย 4 อย่าง) มันเป็นก็เป็นอยู่อย่างนั้น
     
  6. bridge

    bridge เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,252
    ค่าพลัง:
    +1,814
    สุดยอด จ๊าบๆ ถูกใจมาก มีอีกเอามาอีกนะ หนิงจะเอาไปเผยแพร่ต่อในบล็อกเขาให้คนทำงานได้รู้กัน
     
  7. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    เอาที่เห็นกันชัด ๆ นะ กฎ Thermodynamicห ข้อที่ 1 พลังงานต้องไม่สูญหายไปไหนคือต้องมีปริมาณเท่าเดิมแต่อาจเปลี่ยนรูปได้ เอาพลังงานในรูปคลื่นก่อน เสียงพูดของคนที่เปล่งออกไปแล้วหายไปเลยไหม? ความคิดคือกระแสไฟฟ้าที่วิ่งไปตามเซลล์ประสาท พอคิดแล้วพลังงานมันหายไปไหน? การกระทำการใด ๆ ลงไปมันได้ออกแรงมันเป็นงานมันเป็นพลังงานมันหายไปไหน ถ้าตามหลัก Thermo. I มันต้องมีที่ไปไม่หายไปเปล่า ๆ แล้วไปไหน
    ผมคิดเอาเองนะว่า ใบไม้ตกกระแทกพื้น 1 ใบ สะเทือนทั้งจักรวาลอันเนื่องมาจากพลังงานการตกกระทบพื้น แล้วพลังงานนี้ไปไหนเนื่องจากมันไม่ได้หายไปเลย (เคยอ่านของใครก็ไม่รู้ที่ว่าผีเสื้อกระพือปีกแล้วกระเทือนทั้งจักรวาล) แนวคิดเดียวกัน ต่างคนต่างคิด

    ดังนั้นใครที่ได้ทำอะไรไว้ก็ตามอย่าได้คิดหนี เพราะสิ่งที่ได้ทำลงไปแล้ว ด้วยกาย วาจา ใจ มันเกิดจากจิตสั่ง และเป็นพลังงานด้วย และไปตามรูปแบบของการอนุรักษ์พลังงานตามกฏ Thermo I จึงอย่าได้หนีเพราะมันไม่ได้หายไปไหนเลย

    คลื่นเสียงจากการพูดของเราได้ยินไปถึงขอบจักรวาลถ้าพรหมจะฟังหรือผู้ที่มีอภิญญาจะฟังจากหูทิพย์จากอีกซีกโลกหนึ่ง

    สิ่งและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วในอดีตมันมีระบบบันทึกซ้อน ๆ ๆ ๆ เหมือโปรแกรมวินโดว์ เวลาจะผ่านไปกี่ภพชาติ ถ้าผู้มีอภิญญาอจาจะมาพลิกดู

    ที่เขียนนี่เพื่อให้เราทั้งหลายตระหนักว่าสิ่งที่ได้ทำลงไปแล้วด้วยกาย วาจา ใจ มันมีที่มาที่ไปแต่ไม่สูญหายไปไหน มันจะกลับไปหาเจ้าของเสมอโดยไม่จำกัดกาลเวลาสถานทีไม่ว่าภพชาติใด ๆ ก็ตาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2008

แชร์หน้านี้

Loading...