สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เข้าโลกุตตระ เห็นพระนิพพานตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วใช่ไหม ? ถ้าไม่ใช่ จะอุปมาการเห็นนั้นให้เข้าใจได้อย่างไร ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถ้าเพียงแต่เข้าถึงรู้เห็นชั่วคราว ชื่อว่าโคตรภูบุคคล เมื่อใดที่จิตจรดอยู่ในความรู้สึกเป็นธรรมกายอยู่ จิตจรดที่ใสละเอียดอยู่ ก็ปราศจากกิเลส ตามระดับของความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่จิตจรดอยู่อย่างนั้น แต่ขณะใดที่จิตออกจากที่สุดละเอียดของธรรมกาย กิเลสก็สามารถทำอะไรได้ เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป

    เพราะฉะนั้นกระผมถึงกล่าวเสมอว่า ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้วอย่าเหิมเกริม ต้องมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ อย่างน้อยต้องคอยพิจารณาดูว่า จิตใจเราขุ่นมัวหรือผ่องใส ถ้าขุ่นมัวก็รีบดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียดถึงความเป็นธรรมกายพระอรหัตในพระอรหัตๆ ๆ หรือถึงธรรมกายในเบื้องต้นก็ดีแล้ว นี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่พิจารณาเห็นเฉย ๆ แต่ให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งที่เป็นสังขารและวิสังขาร ให้เจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 ไปตามระดับภูมิธรรม แล้วดับหยาบไปหาละเอียด ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ถึงพระนิพพาน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วยญาณของธรรมกาย ดำรงอยู่ในที่สุดละเอียดนั้นเสมอ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส โลกุตตรธรรมคือมรรคผลนิพพานก็จะปรากฏมีขึ้นได้เสมือนหนึ่งชาวนาที่ทำหน้าที่ของชาวนาดีที่สุด ปลูกข้าวไขน้ำเข้านาใส่ปุ๋ย ถอนวัชพืชศัตรูข้าว ฯลฯเป็นต้นดีแล้ว เมื่อถึงเวลา ข้าวก็ออกรวงเอง นี้เป็นพระพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

    ธาตุธรรมเมื่อแก่กล้า บุญบารมีเต็ม ก็จะสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งและกำจัดกิเลสอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    แต่ว่าผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ เพราะการอธิษฐานจิตบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกัน เช่นบางคนตั้งใจบำเพ็ญบารมีเป็นผู้บรรลุมรรคผลนิพพานในระดับปกติสาวก ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าเร็วกว่าผู้ที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เพราะพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีจนถึงปรมัตถบารมีตามส่วนของท่านแล้ว จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน และพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

    ถ้าบำเพ็ญบารมีถึงธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคล แล้วกลับประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีศีลสังวรเมื่อใดหรือขาดอินทรีย์สังวร ญาณสังวรก็เป็นอันเสร็จ คือจิตตกต่ำไปด้วยอำนาจของกิเลสได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น กระผมจึงกล่าวเสมอ แม้เมื่อเช้านี้ก็กล่าวกับพระให้ท่านรับคำว่า ต่อแต่นี้ไปผู้ถึงธรรมกายแล้วพึงจะมีอินทรีย์สังวร ศีลสังวร ญาณสังวร เพื่อรักษาตนไปจนถึงธาตุธรรมแก่กล้าบุญบารมีเต็ม สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้แล้วโดยสิ้นเชิงนั่นแหละจึงวางใจได้

    แต่ว่าท่านผู้ใดถึงธรรมกายแล้วเจริญภาวนาให้เกิดปัญญาแจ้งชัดในสภาวธรรมด้วยสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    โลกุตตร มรรคจิต มรรคปัญญา เกิดและเจริญขึ้นให้สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ข้อนี้ไม่มีประมาณ

    เพราะฉะนั้น ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมอาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะกำจัดสัญโญชน์ได้หมดโดยเด็ดขาดแล้ว เป็นวิสุทธิขันธ์เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม แล้วย่อมไม่ดับ ไม่มัวหมอง เพราะธาตุธรรมนั้นไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว แต่สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่ยังตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการยังไม่ได้ ก็ยังเห็น ๆ หาย ๆยังไม่ใช่ธรรมกายมรรค ผล นิพพานที่บริสุทธิ์แท้ ๆ ยังประกอบด้วยเครื่องปรุงแต่งทั้งธรรมที่เป็นบาปอกุศลและทั้งกุศล มีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ มีส่วนประกอบอยู่ แต่ว่ากุศลธรรมที่บริสุทธิ์ มีมากยิ่งกว่าฝ่ายบาปอกุศล จึงสามารถปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายได้ชั่วขณะที่จิตใจยังบริสุทธิ์ ผ่องใส ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถึงธรรมกายโคตรภูบุคคล ฯลฯ ได้เป็นต้น

    ธรรมกายที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว คือกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว นั่นแหละแน่นอนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ถอยคืนกลับมามีแต่จะเจริญงอกงามจนถึงที่สุด คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่าพระนิพพาน นั่นแหละเป็นวิสังขารแท้ ๆ เป็นพระนิพพาน เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมแท้ ๆ ไม่ประกอบด้วยปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งเลย
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เหตุของทุกข์ ( สมุทัย ) คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


    -----------------------------------------------------

    สติปัฏฐานสี่ ที่ปฏิบัติถึงขั้น จะทำให้เห็นเหตุ และ ดับที่เหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มีนาคม 2015
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม....เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือป่วยด้วยโรคภัยภายในร่างกาย สมาธิจะช่วยได้หรือไม่ ?

    ตอบ.....ช่วยได้มาก

    เอาแค่เรื่องเจ็บก่อน ทำไมเราถึงเจ็บ เราเจ็บเราปวดเพราะเหตุว่า ใจเรามันไปสัมผัส ไปรับอาการที่เป็นอยู่ เช่นว่า มีบาดแผลหรือมีอะไร มันเจ็บอยู่แล้ว ใจเราก็ไปอยู่ตรงนั้น มันจึงเจ็บ เพราะฉะนั้น
    วิธีที่จะแก้ไม่ให้เจ็บ ใจนั้นไปเจ็บนะ ไม่ใช่ตัวเนื้อเจ็บ ประสาทเส้นนี้เข้าไปสู่ใจ เวทนาอันเป็นธรรมชาติหนึ่งของใจเป็นตัวเจ็บ ที่เราเรียกเวทนามันไปเจ็บ ใจมันไปเจ็บ ไปรับความเจ็บตรงนั้น รับรู้ตรงนั้น ทีนี้วิธีไม่ให้เจ็บ ก็ให้เอาใจไปไว้ตรงศูนย์กลางกายเสีย ก็ไม่เจ็บ เช่นว่าเรากำลังจะถูกผ่าตัดหรืออะไรก็แล้วแต่ หรือมีอะไรที่มันเจ็บๆ ท่านลองทำสมาธิให้ลึก ไม่สนใจที่ตรงจุดนั้น บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ กลางของกลางศูนย์กลาง นิ่งสนิท ความเจ็บจะหายหมด
    แม้แต่นั่งสมาธิ บางคนแหมเมื่อยจังเลย มันปวดแข้งปวดขา เหตุเพราะว่าใจเรามันไปรับรู้อยู่ตามแข้งตามขานั่นเอง แต่ถ้าว่าใจเรารวมหยุดแน่วแน่ นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลาง ไม่รับอารมณ์นั้นแล้วก็ไม่เจ็บ ยิ่งถ้าเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้วนะ ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายมนุษย์ละเอียด แล้วจะไม่เจ็บเลย ถ้าถึงกายทิพย์ ยิ่งไม่เจ็บ เงียบจ้อยเลย สบายอย่างเดียว แต่มันไปเจ็บตอนที่ออกจากสมาธิ ถ้าคนที่ไม่เคยปฏิบัติจะรู้สึกเมื่อยเพราะยังไม่เคยชิน และใจยังไม่รวม เพราะฉะนั้นสมาธินี้ช่วยได้ แก้ความเจ็บได้ จึงขอเจริญพรว่า จงใช้สมาธิเลยทีเดียว พระอริยเจ้าชั้นสูงที่ท่านมีสมาธิดีอยู่แล้วนั้น เวลามีอะไรเกิดขึ้น ท่านข่มเวทนา คือ ข่มความเจ็บปวดด้วยสมาธิหรือสมถภาวนา อันนี้จงจำไว้
    นอกจากนั้นสมาธิยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้อีก อันนี้อาตมาจะแถมหน่อยว่า สมาธิจิต ไม่ใช่แต่เพียงช่วยข่มเวทนานะ ยิ่งถ้าเมื่อเจริญถึงขั้นเป็นวิชชาคือความสามารถพิเศษด้วยแล้ว ยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้มากตามส่วน
    เพราะว่ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ฯลฯ ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน ส่วนนอกที่สุดเป็นธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ที่ขยายส่วนหยาบเป็นดวงกาย แล้วเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นรูปกาย กลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ เป็นนามขันธ์ ๔ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นเห็น-จำ-คิด-รู้ คือใจของเรา เฉพาะธาตุละเอียดของ รูปขันธ์ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ดวงนั้นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม และอากาศธาตุ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย และช่องว่างภายในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แล้วเจริญเติบโตขึ้นเป็นรูปกาย
    เมื่อฝ่ายนามขันธ์ ๔ คือ “ใจ” ออกไปนอกตัว ไปยึดไปเกาะอารมณ์หรือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ณ ภายนอก ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ ก็จะเกิดกิเลสนิวรณ์ประเภทโทสะ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของกิเลสนั้น เช่นประทุษร้ายหรือเข่นฆ่าเขา กรรมชั่วจากปาณาติปาต คือการประทุษร้ายร่างกายหรือชีวิตของผู้อื่นด้วย กิเลสคือโทสะนั้น จะปรากฏ ที่ใจและประทับอยู่ที่ธาตุละเอียดซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมธาตุละเอียดนั้นแหละ กลายเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยอำนาจกรรมและกิเลสนั้น ปรุงแต่งออกมาเป็นผลกรรม รอที่จะให้ผลแก่บุคคลหรือสัตว์ที่กระทำความชั่ว แต่ละอย่างๆ รอที่จะให้ผลเชียวแหละ อย่างเรื่อง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียนสัตว์ ต่อไปจะได้รับผลเป็นคนขี้โรคอ่อนแอ หรืออายุสั้น เช่น การประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสัตว์ใหญ่ หรือผู้ที่มีคุณมากอย่างนี้เป็นต้น กรรมนี้ จะให้ผลปรากฏเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอายุสั้น
    ทีนี้ ถ้าใจเรามาฝึกให้หยุดให้นิ่งบ่อยๆ ใจก็สะอาดบ่อยๆ ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ เมื่อใจใสสะอาดบ่อยๆ เข้าธาตุธรรมนั้นก็พลอยกลับสะอาด เมื่อธาตุธรรมนั้นสะอาดด้วยกรรมดี ก็จะมีผลช่วยผ่อนคลายหรือบรรเทา ผลกรรมที่หนักให้เป็นเบา จากที่เบาหายไปเลย เหตุนี้ที่วัดปากน้ำ สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จึงแก้ โรคด้วยวิชชาธรรมกาย แต่มาถึงสมัยลูกศิษย์คนนี้ไม่เก่งเหมือนหลวงพ่อ จึงบอกญาติโยมว่า จงช่วยตัวเองด้วยการทำสมาธิ ให้เอาใจไปหยุดไว้ตรงนั้นเสมอจะช่วยแก้ปัญหา และช่วยแม้แก้โรคในตัวเราเอง ด้วยตัวของเราเองได้มากที่สุด คือปฏิบัติภาวนาเพื่อช่วยชำระธาตุธรรมที่สุด ละเอียดบ่อยๆ เสมอๆ เข้าจะช่วยได้มาก จากหนักเป็นเบา จากเบาก็หายไปเลย นี้คือคุณค่า ของสมาธิที่เอาใจไปตั้งไว้ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมไว้เสมอ
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มีนาคม 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    กรรมชั่ว เหมือนสุนัขไล่เนื้อ





    กรรมที่เป็นบาปอกุศลหรือกรรมชั่ว
    หรือที่เรียกว่าทุจริต
    เราอาจจะได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว
    ในอดีตชาติในการเวียนว่านตายเกิด...
    อยู่ในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    กรรมนี้ไม่ได้หายไปไหน
    ติดตามให้ผลเหมือนสุนัขไล่เนื้อ
    ที่เคยยกตัวอย่างนั่นเอง
    ทีนี้มีอยู่ว่า
    เรานี้ถูกสุนัขอย่างนั้นแหละไล่ตามกัด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เข้ามาในภพชาตินี้มันก็เปรียบเสมือนว่า
    กรรมที่เป็นฝ่ายทุจริตหรือบาปอกุศลต่างๆ
    มันเหมือนสุนัขไล่เนื้อหลายประเภท
    หลายตัว ไม่ใช่ตัวเดียว
    มันนับไม่ถ้วน มาเป็นฝูงเลย
    ฝูงนี่ฝูงใหญ่ซะด้วย
    แล้วก็มีทั้งตัวที่มีกำลังมาก
    มีกำลังน้อย
    ฝีตีนเร็ว ฝีตีนช้า
    ดุมาก ดุน้อย
    ทีนี้ถามว่า
    ถ้าอย่างนั้นเราอยู่เฉยๆ
    เกิดมานี้ไม่ทำล่ะ ดีก็ไม่ทำชั่วก็ไม่ทำ
    เป็นยังไง
    เหมือนกับเรายืนอยู่เฉยๆ
    ในเมื่อสุนัขไล่เนื้อมันวิ่งมาที่จะมากัดเรา
    เรายืนอยู่เฉยๆก็แปลว่า
    สุนัขไล่เนื้อตัวใดที่มีกำลังแรงอาจงับทัน
    งับได้มาก ได้น้อย ท่านนึกวาดภาพเอาละกัน
    อยู่เฉยๆเนี่ยถ้าจะมองในแง่ธรรมดา
    ก็คือไม่ดีไม่ชั่ว
    แต่ถ้ามองให้ดีเป็นโมหะ หลง
    เพราะไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง
    ถ้าเรารู้จริงแล้ว เราอยู่เฉยๆไม่ได้
    ต้องละชั่ว ต้องทำดี ทำใจให้ใส
    ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
    ข้อนี้ต้องทำอย่างนี้
    ..........................
    พระเทพญาณมงคล
    (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    (เทศนาธรรมเรื่อง...ความตระหนี่)
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    กำหนดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ 22 ประจำ ปี 2558
    ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    1 เมษายน รับสมัครและมอบตัวอยู่วัด ปฐมนิเทศ
    4 เมษายน พิธีปลงผม
    5 เมษายน พิธีบรรพชา
    6 -15 เมษายน อยู่ปฏิบัติธรรม
    15 เมษายน ไปทัศนศึกษาที่พุทธมณฑล/วัดพระปฐมเจดีย์
    16 เมษายน พิธีรับวุฒิบัตร /ลาสิกขา
    คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
    1.เป็นชาย อายุระหว่าง 10-19 ปี
    2.มีความประพฤติดี มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของวัดได้
    3.มีสุขภาพแข็งแรง และไม่ติดสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ เป็นต้น
    4.ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
    สิ่งที่ต้องเตรียมมา
    1.รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ไม่เกิน 6 เดือน)
    2.เฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้มีเอกสารจากทางแพทย์หรือจากสถาบันศึกษารับรองมาด้วย
    3.เสื้อผ้าชุดขาว 2 ชุด หรือชุดนักเรียน/นักศึกษา (ส่วนเสื้อขาว-ผ้านุ่งสีขาว สำหรับใช้ในเฉพาะวันบวช ทางวัดได้เตรียมไว้ให้แล้ว ไม่ต้องนำมาด้วย)
    4.ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่,ยาสีฟัน,ไฟฉาย, ยาประจำตัว เป็นต้น
    ติดต่อสอบถามได้ที่
    ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.090-5955162 (พระมหาอธิโชค สุโชโต)
    086-3551398 (พระมหาพิเชษฐ์ กนฺตเชฏฺโฐ)




    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------


    ตอบ


    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ


    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ

    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”
    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย
    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว



    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง

    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว

    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง

    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น

    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน

    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ

    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”

    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย

    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้

    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้

    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย

    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป

    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?


    ตอบ:

    เป็นธรรมชาติของใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่เมื่อตกไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้ว ใจดวงใหม่ก็จะปรากฏลอยขึ้นมาหยุดนิ่ง ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อทำหน้าที่ต่อไปนั้น ตาจะเหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ เช่นเมื่อเวลาสัตว์จะมาเกิด คือมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่ขั้วมดลูกของมารดา ตาของทั้งบิดาและมารดาก็จะเหลือบกลับเอง เพราะใจตกศูนย์ และแม้เวลาที่สัตว์จะ ดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น และแม้เวลาที่ใจจะหยุดนิ่งสนิท เป็นสมาธิแนบแน่นตรงศูนย์กลางกาย แล้วก็ตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 และปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ตาของสัตว์หรือบุคคลนั้นก็เหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก คนส่วนมากจะไม่เคยได้สังเกตเห็น ให้สังเกตดูตัวอย่างเด็กทารกเวลาที่เธอนอนหลับ ใจกำลังตกศูนย์นั้น จะเห็นตาของเธอเหลือบกลับเหมือนคนที่กำลังชักจะตาย พ่อแม่บางคนเมื่อเห็นถึงกับตกใจนึกว่าลูกตนกำลังชัก แต่แท้ที่จริงเธอกำลังนอนหลับปุ๋ยสบาย

    โดยเหตุนี้แหละ เวลาที่ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิ หลับตาโดยเม้มเปลือกตาให้ปิดแน่นสนิทมากๆ เพราะความที่ตั้งใจมาก และไม่ทราบกลอุบายนี้ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ตาเหลือบกลับเองได้สะดวกตามธรรมชาติในเวลาที่ใจจะเป็นสมาธิ ใจจึงพร่าไม่สามารถรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน (เอกัคคตารมณ์) ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้สนิท จึงเห็นเป็นแต่ความมืดหรือเห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ นี้แหละ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงแนะนำเวลาฝึกเจริญภาวนาสมาธิในเบื้องต้นว่า ให้เหลือบตากลับ เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย ความเห็น (ด้วยใจ) จำ คิด รู้ ที่มักจะพล่านออกไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกนั้นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้กลับเข้าข้างในไป หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้โดยง่าย

    ส่วนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิที่ปิดเปลือกตาเบาๆ แต่พอให้ใจเป็นอิสระ คือไม่เห็น และยึดเกาะอยู่กับรูปหรืออารมณ์ภายนอก และพอให้ตาเหลือบกลับเองได้โดยสะดวก ใจจึงสามารถรวมลงหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นได้โดยง่าย และเมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงศูนย์กลางฐานที่ 7 นั้น ก็จะสามารถเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาอย่างแน่นสนิท

    เพราะฉะนั้น ผู้ลืมตานิดๆ แค่พอประมาณ หรือแม้ผู้เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และลืมตามองลงชั่วแอก เจริญภาวนา จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว และสามารถเห็นดวงธรรมในธรรม และกายในกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาที่แน่นสนิท เพราะกดเปลือกตาจนเกินไป
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    แชร์ความเห็น จากคุณ "หยุดไปด้วยกัน"

    --------------------------------------


    ถ้าจะกำหนดใจเราที่กลางท้อง อย่าพยายามมองหาตำแหน่ง center ด้วยตา ไม่ว่าจะมองด้วยสายตา หรือนึกว่าตาของเราพยายามมอง เพราะจะมองเห็นลำบาก หรือกำหนด center แล้วรู้สึกว่าไม่เป๊ะ ต้องเลื่อนกันตลอดกว่าจะตรง

    แต่ประสบการณ์ส่วนตัวบอกมาว่า ถ้าจิตเราเริ่มละเอียดถึงระดับหนึ่ง เราจะสามารถกำหนดจิตได้ตรง center พอดีเป๊ะ ๆ แบบไม่ต้องขยับ ซึ่งขั้นต่อ ๆ ไปก็คงไม่ยากเกินความพยายามแล้วครับ

    อีกอย่างหนึ่ง เวลากำหนดตำแหน่ง center ที่ชัดเจน ผมว่าใช้ลมหายใจผ่าน center ไปหยุดที่ระดับสะดือ แบบที่หลวงป๋าท่านสอน จะชัดเจนกว่า

    เท่าที่ผมมีประสบการณ์มา ถ้าจิตเรายังหยาบอยู่ จะยังเห็นการกระทบไม่ค่อยชัดเจน แต่ถ้าจิตเราละเอียดขึ้น จิตเรามันจะเห็นชัดเจนมาก เห็นลมหายใจเป็นลำ ผ่าน center ถ้าเรากำหนดดวงใสตรงนั้น เราก็จะเห็นลมหายใจผ่านกลางดวงใสพอดี หยุดอยู่กลางดวงใสนั้น นิ่งสนิทแล้ว ก็จะเห็นดวงธรรม แล้วก็ไปต่อจากนี้ได้เลย ง่ายแล้ว

    แล้วที่สำัคัญคือ "อย่าคาดหวังกับผลการปฏิบัติ" พูดง่าย ๆ ก็ "อย่าอยากได้" ครับ (ตรงนี้เป็นตอที่คนที่ทำไม่ถึงดวงธรรมเกิน 60% ติดอยู่ครับ) ถึงเวลามันก็ถึงเอง บทมันจะเห็น ก็เห็นกันง่าย ๆ เลย จริง ๆ ครับ ผมกล้า confirm เพราะเจอมากับตัวแล้ว ถ้าไม่เจอก็ไม่เข้าใจหรอกว่ามันง่ายยังไง
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ 4 นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยว่าอริยสัจ 4 ก็มีอริยมรรคมีองค์ 8 และอริยมรรคมีองค์ 8 เล่า ก็มีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน

    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ 5 (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8 และทั้งสติปัฏฐาน 4 อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่

    1.จรณะ 15 ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน 4


    2.โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า

    "จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ..." (สํ.มหา.19/1666-1669/529-530)
    "จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ..."








    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2588 ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.2543) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ 12 และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง




    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3 (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้




    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน

    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ 4 ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า

    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ

    1. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)

    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ

    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้

    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป

    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที

    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง

    ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ 4, ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)

    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์

    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3

    2. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ

    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ

    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ 5 ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง

    โดยเหตุนี้ กายทั้ง 8 คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง

    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น

    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสังโยชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง






    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒







    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส
    “ปฏิจจสมุปบาทธรรม” คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น ๑๒ ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.๑๒/๔๔๘, ๔๕๐/๔๘๒-๔๘๓, ๔๘๕)
    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ

    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี

    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ
    สังขารก็ดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    ตรัสนัยแห่งความดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ
    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้
    “ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส” (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.๒๕๒๘, หน้า ๓๗-๓๘.)
    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้
    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย “ตา” หรือ “ญาณ” พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า
    “อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ

    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส
    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ” (อ้างแล้ว. หน้า ๓๘-๓๙)
    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี “อนุสัย” ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง ๘ อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง ๘ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย
    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป
    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม” นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง ๘ นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า “พระนิพพานธาตุ” อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า “ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ” ด้วยประการฉะนี้
    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ ๔ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด
    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้
    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้
    กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
    ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
    ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกาย ๑ “ดวงศีล” ๑ ธาตุละเอียดของ “ทุกขสัจ” ๑ “สมุทัย” (ตัณหา) ๑ และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) ๑ อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น “ทุคคติภพ” พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น “ทุกข์” ไม่เป็น “สันติสุข” และ
    ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “มนุษยธรรม” กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “เทวธรรม” คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พรหมธรรม” คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พุทธธรรม” ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป “ธรรมกาย” ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
    ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
    พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี “สันติสุข”
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน
    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 เมษายน 2015
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง..........โดย หลวงปู่สด<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง
    ๔ มีนาคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นเบื้องปลาย ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ทีเดียว เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง สมาธิเป็นเบื้องปลายไป ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่
    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ พร้อมกัน พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาอย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล ๘ จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด เป็นสาวกชั้นปุถุชน เรียกว่า ปุถุชนสาวก สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่ เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้ เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู
    เพราะว่า ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน ปญฺญวา โหติเป็นผู้มีปัญญา ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้ เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญานี้ประสงค์อะไร ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง ๓ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่ ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก ในปิฎกทั้ง ๒ คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ เป็นทางปัญญา วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ
    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้จะเคลื่อนมิได้เลย เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้ ให้กายสะอาดผ่องใส ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็ ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้ ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ แก้ไขให้ใจมั่นคง ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ ไม่ครั่นคร้าม ๓ อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ
    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ ๓๗ พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปญฺญวา โหติย่อมเป็นผู้มีปัญญา อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ ปัญญาน่ะมีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น ปัญญาที่เป็นแต่รู้ แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่ ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น
    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น ๔ อย่างนี้แหละ ๔ อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ ๑ ความเห็น ๒ ความจำ ๓ ความคิด ๔ ความรู้ ๔ อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้ ๔ อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้ เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายมี ๔ อย่างเท่านี้ มี ๑) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ ๒) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด ๓) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้ ๔) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ
    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้มาจากไหน ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็ กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็ มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ ต้องดับกัน ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส ดวงนั้นเป็นสำคัญ ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างนอก ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง ๔ ดวงอยู่นั่น ต้นเหตุอยู่นั่น ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย นี่เป็นรากเง่า อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ
    อ้าย ๔ ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็ เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ นี่ได้แสดงมาแล้ว สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน มีปัญญาไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญ เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ปัญญาเป็นดวงอยู่ ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น จะต้องพูดให้กว้าง แสดงให้กว้างออกไป จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ ปัญญาเป็นดวงปลาย
    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๕ ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี ๑๐ ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ ๑๐ คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ ๘ องค์แล้ว สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ ๙ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ ๑๐ นี่มี ๑๐ อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี ๑๐ องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ ๑๐ อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ๘ องค์ย่อลงเป็น ๓ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ ๑๐ ย่อลงเหลือ ๕ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ
    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น ตลอดขึ้นไป ๑๘ ดวง
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ๘ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] ๑๐ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] ๑๒ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๔ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๖ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] ๑๘ กาย
    มีดวงธรรมทั้งนั้น ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต พระอรหัตหน้าตัก ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใส ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้ ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กัน ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้ ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็ จนกระทั่งถึงพระอรหัต ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร
    เมื่อรู้จักดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง ๑๘ กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่ ไม่ใช่ธรรมนี่ บอกเป็นหนทางนี่ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโคหนทางมีองค์ ๘ ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป ไปนิพพานไม่ถูก ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก ดวงปัญญานั้นขนาดไหน ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว ความเห็นมัวไม่ชัดนัก คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น พอทำเป็นแล้วจึงเห็น ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า ดวงโตเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ใช้ถูกทีเดียว ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่ ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น มีเกิดกับดับ ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นกับรู้ ตรงกัน แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม เห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว นี้เรียกว่าปัญญา
    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ ก็รู้เรื่องเหมือนกัน จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว ไม่ชัดทีเดียว เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้ เห็นความสิ้นไป สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้ นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา รู้อย่างชนิดนี้ เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งก้อน พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว ทุกข์แท้ๆ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล ทำอะไรไม่ได้ เป็นทุกข์แท้ๆ ทั้งก้อนร่างกายนี้ เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว กามตัณหา ความอยากได้ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี อยากได้อะไรเล่า ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี เมื่อได้ แล้วเอามาทำไม เอามาเลี้ยงน่ะซี เมื่ออยากได้สัก ๑๐๐ คนเล่า ให้เสีย ๑๐๐ คนเทียว เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว ๑๐๐ ร้อยคน ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว นี่ทุกข์แท้ๆ อยากได้ลูกนี่ อยากได้เมียสักคน อ้าวได้มาแล้ว เอามาทำไม อ้าวให้สัก ๑๐๐ คนเชียว เอาอีกแล้ว เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว เห็นทุกข์อีกแล้ว อ้าวอยากได้ไปซี เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่อื่น เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา ไม่แปรไม่ได้ ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ได้ฝืนกันล่ะ ได้ขืนกันล่ะ รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ
    ที่จะหมดไปสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้า ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด อย่างหยาบหมด เข้าถึงกายทิพย์ อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด
    • เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    • เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    • เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 เมษายน 2015
  17. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่านนักรบเงาครับ มีครั้งหนึ่งผมเคยนั่งฝังเสียงตามสายที่เขาอ่านจากพระสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านสนทนากับพระอานนท์ พระพุทธเจ้าท่านก็เล่าให้พระอานนท์ว่าท่านเข้าฌาน1-2-3-4-5-6-7-8จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และท่านก็ดับกิเลสตรงนี้ มันพอจะลงตัววิชาธรรมกายที่ท่านได้ศึกษาหรือเปล่าครับท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2015
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    รวมสวดมนต์เสียงพระวัดหลวงพ่อสด

    My Files


    *********************************************








    [​IMG]




    หนังสือ " อริยสัจ 4 " โดยหลวงป๋า  

    ดาวน์โหลดได้ที่
    อริยสัจ 4
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...