สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    สัมมาปฏิบัติไตรสิกขา ตอนที่ 1



    http://youtu.be/u86do2NPwnc
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]


    โอวาทธรรมหลวงปู่สด จนฺทสโร
    ‪#‎ผู้หญิงจะแทนคุณมารดาบิดาอย่างไร‬





    ผู้หญิงจะแทนคุณอย่างไร แทนคุณบิดามารดา อ้าว มารดาบิดาอยู่บ้านอยู่ช่อง ตามปกติของมารดาบิดา ถึงวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำแล้ว ก็เอาหาข้าวหาของ หาเครื่องอุปการะ ของอุบาสกอุบาสิกาเข้า " ไปวัดเถ้อะแม่ ฉันจะไปด้วย " ท่านั้นท่านี้ แก้ไขเสียจนกระทั่งพ่อแม่เคย จึงต้องไปรักษาศีล ให้มีศรัทธาขึ้นแล้ว ให้มีศีลขึ้นแล้ว แล้วก็ให้เลื่อมใสขึ้นแล้ว เมื่อไปรับศีลก็รู้จักบาปบุญคุณโทษขึ้นแล้ว อ้าว ให้มีปัญญาขึ้นแล้ว นี่ลูกหญิงก็ดี ลูกชายก็ดี ถ้าฉลาดเช่นนี้ แทนคุณได้ทุกคน ถ้าว่าไม่ฉลาด แทนคุณไม่ได้ นี้เป็นแง่สำคัญนัก เหตุนั้น การที่จะกล่าวอานิสงส์ ของเจ้าตนผู้บวช ของมารดาบิดา ของผู้อุปถัมภ์ให้บวชน่ะ มากมายนัก
    ท่านกล่าวว่า มารดา ลูกของตัวบวช มารดาบิดา ลูกของตัวบวช ในพระธรรมวินัย ของพระศาสดา เป็นเจ้าภาพให้ลูกของตัว ‪#‎บวชเป็นเณรในพระธรรมวินัยของพระศาสดาได้อานิสงส์๘กัลป์‬ ‪#‎การให้บวชเป็นพระภิกษุได้อานิสงส์๑๖กัลป์‬ ๘ กับ ๑๖ ประสมกันเข้า เป็น ๒๔ กัลป์ เหมือนพระที่บวชใหม่นี้ เจ้าภาพก็ได้ ฝ่ายมารดาก็ได้อานิสงส์ ๒๔ กัลป์
    กัลป์หนึ่งเท่าไหร่ล่ะ ได้เสวยสุขน่ะ ไม่รู้จักได้นานเท่าไร เอากัลป์รวมกัน...กัลป์น่ะ ภูเขากว้างโยชน์สูงโยชน์ ๑๐๐ ปี เทวดาผู้วิเศษ เอาผ้าทิพย์เนื้อละเอียด มาปัดลงไปที่ยอดนั้น ครั้งหนึ่งก็หยุดไป พอครบ ๑๐๐ ปีแล้ว มาปัดอีกครั้งหนึ่ง เพียรปัดไปดังนี้แหละ ภูเขานั้นสึกด้วยผ้าเทวดาปัดนั่นแหละ สึกลงมาเรียบร้อย ลงมาถึงพื้นดินตามเดิม ไม่รู้ว่าภูเขาอยู่ที่ไหน เป็นพื้นดินไปแล้ว เรียบลงมาถึงขนาดนั้น เรียกว่า ได้กัลป์หนึ่ง ได้กัลป์หนึ่ง โอ มันเหลือลึกอย่างนี้ นั่นภูเขา
    อีกนัยหนึ่ง สระกว้างโยชน์หนึ่งลึกโยชน์หนึ่ง ๑๐๐ ปี มีเทพเจ้าผู้วิเศษ เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาด มาทิ้งลงเมล็ดหนึ่ง เทวดาผู้วิเศษก็ไม่ตายเหมือนกัน..๑๐๐ ปี ก็เอามาทิ้งไว้เมล็ดหนึ่ง..๑๐๐ ปี ก็เอามาทิ้งไว้เมล็ดหนึ่ง เอาละ จนกระทั่ง เมล็ดผักกาดนั่นแหละเต็มสระ ที่ลึกโยชน์กว้างโยชน์นั่นน่ะ ๔ เหลี่ยมจตุรัสนั่นแหละ นี่มันเท่าไรกันล่ะ นับกันไม่ไหว ต้องตวงกันด้วยกัลป์อย่างนี้ นี่บุญกุศลน่ะ มันมากมายขนาดนี้
    .......................
    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร
    .......................
    จากเทศนาธรรมเรื่อง
    รัตนะ
    ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๗
    ......................
    เทศนาธรรมในวันอุปสมบทพระบวชใหม่ ซึ่งพระบวชใหม่ในวันนั้นคือ พระวีระ คณุตฺตโม ปัจจุบันท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชพรหมเถร (หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    จิตสงบดีแล้ว เย็นไปทั้งตัว รู้สึกสบาย แล้วรู้สึกลอย หมุน ?



    <!-- /#breadcrumb-->เมื่อจิตสงบดีแล้วอาการเย็นไปทั้งตัวรู้สึกสบาย และลอยเหมือนไม่ได้นั่งอยู่บนพื้น แล้วรู้สึกมีอาการหมุน แต่ไม่ได้เห็นดวงแก้ว รู้สึกกลัวจึงลืมตาขึ้น แล้วลากัมมัฏฐาน ?

    <HR>ตอบ:


    ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อใจค่อยๆ สงบ รวมหยุดนิ่งสนิทระดับหนึ่ง ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ จะทำหน้าที่รับอารมณ์ภายนอกน้อยลงๆ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรม เริ่มเป็นอิสระ ขาดจากรูปธรรม จึงรู้สึกกายเบาเหมือนกับจะลอย และกิเลสนิวรณ์ค่อยๆ ถูกกำจัดให้หมดไปด้วยสมถภาวนานี้ จึงเกิดปีติ รู้สึกมีอาการเย็นไปทั้งตัวและรู้สึกสบาย
    แต่ที่ไม่ได้เห็นดวงแก้วนั้น เพราะใจอันประกอบด้วยเห็น-จำ-คิด-รู้ ยังไม่รวมหยุด เป็นจุดเดียวกันนิ่งสนิทถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ธาตุทั้ง 6 คือธาตุละเอียดของ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม-อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ยังไม่ประชุมกันถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ปฐมมรรคจึงยังไม่เกิด และอายตนะภายในอันเป็นทิพย์ก็ยังไม่เกิดและเจริญขึ้น จึงยังไม่เห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายปรากฏขึ้นตามธรรมชาติที่เป็นจริง
    ที่รู้สึกมีอาการหมุน เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งสนิทได้ถูกส่วนเครื่องธาตุเครื่องธรรม ฝ่ายบุญกุศลจึงทำงานไม่เต็มที่ เพราะถูกต่อต้านด้วยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาปอกุศล เรื่องนี้ลึกซึ้ง เข้าใจเท่านี้ก็พอ แล้วท่านลืมตาจากกัมมัฏฐาน... น่าเสียดาย
    ถ้าท่านกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมต่อไปไว้เรื่อย พอถูกส่วนก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มปรากฏขึ้นมาเอง สบายใจยิ่งกว่าเดิมอีก ดังพระพุทธวจนะว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ (ใจหยุดใจนิ่ง) ไม่มี
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เรียนเชิญ เพื่อนสมาชิก ที่ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย แลกเปลี่ยนประสพการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติ



    ไม่ว่าท่านจะเรียนจากกลุ่มหรือ สำนักไหน วัดไหน







    ........ขอเป็นผู้มีประสพการณ์ตามแนววิชชาฯนะครับ



    เพื่อเนื้อหา ที่เหมาะกับจริต นิสัย



    และ ไม่ก่อเกิดนิวรณ์ธรรม หรือ อกุศลธรรมอันใดเพิ่มเติม จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่นอกประเด็น ออกไปไกล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มกราคม 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]


    "ความดีใจ เสียใจนี่ ...ร้ายนัก"



    ความดีใจ เสียใจนี่ร้ายนัก ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม เห็นธรรมอย่างนี้น่ะ ถึงเวลาเราดีอยู่ อ้ายความดีใจเสียใจนี่แหละที่ทำให้ต้องกระโดดน้ำตาย กินยาตาย ผูกคอตาย ดีใจเสียใจนี่แหละมันเต็มขีด เต็มส่วนของมันบังคับกันอย่างนี้
    เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจเป็นมารร้ายทีเดียว ถ้าว่าใครเข้าไปอยู่ในใจบ่อยเข้าก็หน้าดำคร่ำเครียด ร่างกายไม่สดชื่นล่ะซิเศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก
    เพราะอะไร เพราะดีใจเสียใจบังคับมันมันทำให้เดือดร้อน
    หน้าดำ คร่ำเครียดทีเดียว
    บางคนไม่อ้วน ผอมเป็นเกลียวทีเดียว เพราะความดีใจเสียใจ
    ทั้งหมดอยู่ที่มัน ไม่ปล่อยมัน
    ถ้าว่าทำให้สบายสดชื่นให้ชื่นใจ เย็นอกเย็นใจสบายใจ
    จะมั่งมีดีจนอย่างไรก็ช่าง กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า กายทิพย์ก็ฆ่า กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า ฆ่าทั้งนั้น ทุกกาย
    ความดีใจเสียใจต้องคอยระวังให้ดี
    ท่านจึงได้สอนเขาว่า
    "ให้ทำความดีใจและเสียใจในโลกเสียให้พินาศ"


    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ




    คำสอน พระมงคลเทพมุนี (เสียงจริง)
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=u7LngUEJ7J4]รายการ สุขภายใน 072 ความดีใจเสียใจ - YouTube[/ame]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    อะไรที่เรียกว่าใจ


    ใจของเรา อะไรที่เรียกว่าใจ เห็นอย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิดอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง สี่อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกันนั้นเเละ เรียกว่าใจ



    โดยเสียงพระมงคลเทพมุนี






    <iframe width="640" height="480" src="//www.youtube.com/embed/3X5YQe9G0Q0?rel=0&amp;showinfo=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]











    โอวาทธรรมจากหลวงป๋า



    #ไม่ผูกเวรก็กลายเป็นผู้ไม่มีเวร





    ให้รู้จักวางไม่ผูกเวร ไม่ก่อเวรกับใครๆ เราก็กลายเป็นผู้ไม่มีเวร ผู้ที่มีจิตใจอย่างนี้ เรียกว่า เป็นผู้มีพรหมวิหารธรรม ปรารถนาแต่จะให้ผู้อื่น และแม้แต่ตัวเราเองด้วย อยู่ดีมีสุข ที่มีทุกข์ให้พ้นทุกข์ พลอยยินดีที่ผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตใจอิจฉาริษยากัน วางใจเป็นกลางมัธยัสถ์ วางเฉยเป็นอุเบกขา เมื่อเราเห็นสัตว์ใดๆ หรือทั้งหลาย เต็มไปด้วยความทุกข์ หรือมีความทุกข์แต่เราช่วยอะไรไม่ได้ และเราก็ไม่ซ้ำเติมใคร วางใจเป็นกลางอุเบกขาอย่างนั้นได้ เป็นคุณธรรมชั้นสูง ของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้า ถึงเรายังปฏิบัติไม่ถึงขั้นนั้น ได้ผลถึงขั้นนั้น แม้นั้นก็ตาม แต่ใครผู้ใด มีพรหมวิหารธรรม จิตใจก็สบาย เพราะไม่ผูกเวรอยู่กับใคร อภัยให้เรื่อยไป มีอะไรช่วยเหลือกันได้ ก็ช่วยเหลือกันไป ตามความรู้ความสามารถ และกำลังทรัพย์ ที่เราพอจะเอื้อเฟื้อเกื้อหนุนกันได้ ก็แบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน.........................







    พระเทพญาณมงคล

    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล

    ปฐมเจ้าอาวาส

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    อรูปาวจรภูมิ 4
     
     
     

    อรูปาวจรภูมิ 4 คือ ที่สถิตอยู่ของอรูปพรหม 4 ชั้น ทั้งอรูปพรหมที่เป็นปุถุชนและที่เป็นอริยบุคคล

    เป็นที่เกิดของติเหตุกปุถุชน 1 และอริยบุคคล 7 (เว้นพระโสดาปัตติมัคคบุคคล)

    ผู้ที่ในอดีตชาติได้เจริญอรูปฌานแล้ว ขณะกำลังจะจุติ (เคลื่อนจากภพเก่า คือตาย) จิตยังไม่เสื่อมจากอรูปฌานชั้นใด ก็จะได้มาเกิดเป็นอรูปพรหมในชั้นนั้น

    อรูปพรหมปุถุชน นั้น เมื่อสิ้นอายุแล้ว ก็มีโอกาสไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่าตามกรรมเก่าที่กำลังรอให้ผลอยู่ได้เสมอ

    ส่วนอรูปพรหมอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระอนาคามีบุคคลลงมา ที่สถิตอยู่ในอรูปภพชั้นที่ 1-2-3 เมื่อสิ้นอายุก็มีโอกาสไปเกิดในภูมิที่สูงกว่าได้ แต่จะไม่ไปเกิดในภูมิที่ต่ำกว่าเดิมอีก จนกว่าจะบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ก็จะปรินิพพานในชั้นนั้น

    เฉพาะอรูปพรหมอนาคามีบุคคลลงมา ที่สถิตอยู่ในอรูปภูมิชั้นที่ 4 (ชั้นสูงสุด) คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นั้น เมื่อสิ้นอายุลงก็จะเกิดในภพภูมิเดิมนี้ จนถึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ก็จะปรินิพพานในชั้นนี้

    ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ได้ปฏิบัติตามวิธีเจริญภาวนาที่กล่าวข้างต้นแล้ว น้อมเอาอรูปภพมาเป็นกสิณ คือมาตั้งตรงศูนย์กลางธรรมกาย ธรรมกายเจริญฌานสมาบัติในกสิณ หรือพิสดารกาย ดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียด แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกาย ให้เห็นสุดอรูปภพ ตรวจดูความเป็นไปในแต่ละอรูปภพจากสูงสุด ถึงต่ำสุด คือตั้งแต่ชั้นที่ 4 ลงไปถึงชั้นที่ 1 เป็นชั้นๆ ไป ดังต่อไปนี้

    ชั้นที่ 4 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหมที่เมื่อชาติก่อนได้เจริญอรูปฌาน 4 (รวมรูปฌาน 4 เป็นสมาบัติ 8) แล้วขณะเมื่อก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จึงได้มาเกิดในภพหรือภูมินี้ อรูปพรหมในภูมินี้มีอายุ 84,000 มหากัป

    อุทกดาบส (ที่พระมหาบุรุษคือพระโพธิสัตว์ของเราได้เคยมาเรียนในสำนักของท่านและได้บรรลุสมาบัติ 8 แต่ทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้บรรลุโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกจากสำนักนี้ไปบำเพ็ญสมณธรรมโดยลำพังพระองค์เอง จนได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ) จุติจากมนุษย์โลกแล้วก็ได้มาอุบัติคือเกิดในภพนี้ ก่อนวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่นาน

    ชั้นที่ 3 อากิญจัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ซึ่งเมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากอากิญจัญญายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในภูมินี้มีอายุ 60,000 มหากัป

    อาฬารดาบส (ที่พระมหาบุรุษของเราได้เคยมาเรียนในสำนักของท่านและได้บรรลุอรูปฌาน 3 (รวมรูปฌาน 4 เป็นสมาบัติ 7) แต่ทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้บรรลุโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกจากสำนักนี้ ไปศึกษาต่อยังสำนักอุทกดาบส) จุติจากมนุษย์โลกแล้วก็ได้มาอุบัติในภพนี้ ในระยะเวลาไม่นาน ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ชั้นที่ 2 วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ที่เมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากวิญญาณัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในชั้นนี้มีอายุ 40,000 มหากัป

    ชั้นที่ 1 อากาสานัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ที่เมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากอากาสานัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในชั้นนี้มีอายุ 20,000 มหากัป

    มีข้อสังเกตที่สำคัญว่า เมื่อผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายได้ปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวข้างต้นแล้ว น้อมอรูปภพมาเป็นกสิณ ธรรมกายเจริญสมาบัติในกสิณ แล้วใช้ตาหรือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภูมิ โดยขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้เต็มอรูปภพ พิจารณาดูแต่ละภูมินั้น ต่างได้เห็นอรูปพรหมมีรูปร่างสวยงามมาก วรกายใหญ่ มีเครื่องประดับที่สวยงาม ละเอียดประณีตยิ่งนัก และมีรัศมีสว่างกว่ารูปพรหมทั่วๆ ไป ละเอียดมากจนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันก็ไม่เห็นรูปกายของซึ่งกันและกัน คงติดต่อกันรู้กันได้ด้วยจิต มีแต่ตาหรือญาณพระธรรมกายเท่านั้นที่ละเอียดกว่า และสามารถเห็นรูปกายของอรูปพรหมได้ตามที่เป็นจริง และได้เห็นว่ารัศมีของอรูปพรหมปุถุชนแม้จะมีรัศมีสว่างไสว แต่ก็ยังไม่สว่างไสวเท่ารัศมีของอรูปพรหมอริยบุคคล และแม้เท่ารัศมีรูปพรหมในชั้นสุทธาวาส ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี ผู้ตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้หมดแล้ว และชั้นพระอรหันต์ ผู้ตัดสัญโญชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการได้หมดสิ้นแล้ว เพราะอรูปพรหมอริยบุคคลในอรูปาวจรภูมิและพรหมอริยบุคคลในชั้นสุทธาวาส เป็นพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองกว่าอรูปพรหมปุถุชน จึงมีรัศมีสว่างไสวกว่า ด้วยประการฉะนี้

    มีอาจารย์บางท่านได้แสดงว่า อรูปพรหมเป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ 4 ดังเช่น

    "อธิบายว่า ในอรูปภูมิทั้ง 4 ถึงแม้จะเรียกว่าภูมิก็จริง แต่ภูมินี้ไม่ปรากฏว่ามีรูปร่างสัณฐานอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะเป็นภูมิที่มีแต่อากาศว่างเปล่าอยู่เท่านั้น สำหรับอรูปพรหมนี้ ก็เป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ 4 เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่นนับตั้งแต่ปฏิสนธิมา" (พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่มที่ 1: สนองการพิมพ์, พ.ศ.2535, หน้า 167.)

    นี้เป็นคำอธิบายความหมายของอรูปพรหมตามความเข้าใจในตัวอักษรว่า "อรูป" ซึ่งท่านเข้าใจและอธิบายว่าดังนี้

    "ความจริงนั้น อรูปพรหมทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของภาวนาที่ปราศจากความยินดีในรูป (รูปวิราคภาวนา) เพราะเหตุนี้ สถานที่อยู่ของอรูปพรหมจึงไม่มีรูปร่างปรากฏเลย" (อ้างแล้ว  หน้า 169.)

    แต่ผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกาย ต่างได้เห็นอรูปพรหมด้วยญาณพระธรรมกายว่า มีรูปกายที่ละเอียดนัก จนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันเอง ก็ยังมิอาจเห็นรูปกายซึ่งกันและกัน เพราะอรูปาวจรวิบากที่เมื่อเจริญอรูปฌานไม่ยินดีในรูป แต่รูปขันธ์ย่อมต้องเกิดมีพร้อมกับนามขันธ์ 4 ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป (สฬายตนะ ผัสสะ ฯลฯ) เพียงแต่รูปกายของอรูปพรหมนั้นละเอียดนัก เพราะอรูปาวจรวิบาก จนไม่อาจเห็นได้แม้ด้วยจักษุของอรูปพรหมด้วยกัน หรือด้วยจักษุของสัตว์โลกในภูมิที่ต่ำกว่าเท่านั้น

    ถ้าสัตว์โลกที่เกิดด้วยอำนาจของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เกิดขึ้นแต่เฉพาะนามขันธ์ โดย ปราศจากรูปขันธ์ ได้ พระพุทธดำรัสว่าด้วย "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" ก็ไร้ความหมาย และ พระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า

    "ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา."
       "ผู้ใด จักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายเป็นที่อาศัย ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกของมารได้." (ขุ.ธ.25/13/19-20)
    ก็ไม่จริง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่สัตว์โลกจะมีแต่จิตใจ โดยไม่มีรูปกายเป็นที่ตั้งที่อาศัย และเป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธพจน์จะเป็นอื่น (คือไม่จริง) พระพุทธพจน์ย่อมเป็นธรรมที่แท้จริงเสมอ

    จึงควรที่นักศึกษาจะพึงปฏิบัติไตรสิกขา อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 ให้ดี ให้ได้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถรู้-เห็น ด้วยตนเองตามที่เป็นจริง
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ

    ตอบ:

    เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร  เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต 

    และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้  พระคุณเจ้าโปรดทราบ  โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป 

    กระผมอยากจะเรียนถามว่า มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า  ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม !   ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ   ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก   พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย   นี่  หลักทำนิพพานให้แจ้ง

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น   ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว  จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ  เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น  ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว  จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”




    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต  มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต   มันเป็นฐานสำคัญ  นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด   เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน   จะให้ใจหยุด   ถึงได้สอนกัน   บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว   เท่านี้ก็พอแล้ว     ความจริงพอหรือไม่พอ   ให้ดูอริยมรรคมีองค์ 8 : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต   อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5  ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 อยู่ที่ไหน ?   ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน  เพราะฉะนั้น  ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย   มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา  นขา ทันตา ตโจ   ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่   ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ   เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย   จะไปปฏิเสธได้ยังไง  นิมิตมันต้องเกิดด้วย   และถ้านิมิตไม่เกิด   หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร   นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย  ไปเปิดดูได้ทุกท่าน   เป็นพระพุทธวจนะด้วย  ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น  นิมิตนี่เป็นของต้องมี  สมถภูมิ 40 น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ 10 นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่   จริงๆ แล้ว  แม้ อนุสสติ 10 อสุภะ 10 ก็ต้องเห็นนิมิต   แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้   แปลว่า พิจารณาจริงๆ  จะเอาแน่ๆ เช่น   เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน  ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน   แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น   แต่ไม่เห็นก็ได้   ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี   เขาทำกุศลสำคัญ  มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น  เลยไปเกิดเป็นเทพยดา  มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร  กระผมว่าสงบได้นิดเดียว   แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้  โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก   อันนั้นล่ะดีที่สุด  เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ  รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร   อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา   ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ  เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน  ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ 10 อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด   ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย   กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น   ท่านสูดลมหายใจเข้าออก  ท่องพุทโธๆ ไป  พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ  ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ   กระผมเชื่อแน่และรับรอง 100% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส   แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น  กลางของกลางดวงนั้น   แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก   ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง  แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน  พิจารณาเช่นนี้ครับ   ทิพพจักขุ ทิพพโสต  เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น  ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ  นั่งภาวนาก็เห็นครับ   ทำไมจะไม่เห็น  เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป  ไปถามดูก็ได้  แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม   ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม  นึกออกไปเห็น  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ  เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น  แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ?   ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา  มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง 2 คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ  อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์  อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง 2 

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ  วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก   สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน    แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ      ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน  ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง 2 คือ จิตละเอียดหนัก  พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ 3 ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว  แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ   เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย  ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก   แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต    ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มกราคม 2015
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]




    

    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    -------------------------------------------------------



    ตอบ:





    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ ถึงธรรมกายเลยทีเดียว ไม่ผิดครับ ถูก ไม่ต้องกังวลใจ เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด คือว่า



    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย หยุดนิ่งกลางธรรมกาย ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่ โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ให้ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต ขนาดหน้าตักและความสูง 20 วาขึ้นไป ให้ใสสว่างดี พอใสสว่างดีแล้ว นึกชำเลืองดูนิดเดียว นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด เห็นเป็นดวงใส ศูนย์กลางขยายออก เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ ใจหยุดกลางกายทิพย์ หยุดนิ่งเป็นดวงใส ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส รูปพรหมก็ปรากฏ ทำไล่ไปทีละกายๆ อย่างนี้ในภายหลังก็ได้ ไม่ยาก เมื่อทำไล่ไปทีละกาย ถึง 18 กายสุดท้าย ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ ดำเนินต่อไป เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่ กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ ไม่ได้เป็นของใคร ไม่ต้องเป็นห่วง



    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น เมื่อถึง 18 กายแล้วนั้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ 18 กายทุกวันๆ ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู 18 กาย ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย ไม่ต้องสนใจ ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่ เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ ไม่ได้เกิดที่ไหน เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว กระดิกใจดูนิดเดียว เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียด เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย คือไม่ติดอยู่ แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี เป็นสักแต่เป็น นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ



    สำหรับผู้เบื้องต้น เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ 18 กายให้ครบ เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ) เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า สะดวกกว่า



    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ อันเป็นสังขารธรรม เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต” อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ 18 กายนั้นเอง เป็นเถาเหมือนปิ่นโต แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ กลางของกลางซึ่งกันและกัน ศูนย์กลางตรงกัน 18 กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา 18 กายนั้นแล้ว กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี 18 กาย ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ 18 กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน



    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี 18 กาย ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้ นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ” เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ของกายในภพ 3 และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังติดอยู่ เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน จะไม่ถึงนิพพาน ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้



    เพราะฉะนั้น ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด เรื่อยไปจนถึงนิพพาน ทำไปเถิด 18 กายอยู่ข้างในนั้น ไม่มีปัญหา เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ 3 ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ตธ.JPG
      ตธ.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      239
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มกราคม 2015
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    สิ่งที่ปรากฏ ณ ภายใน หลังจากเดินวิชชาแล้ว เช่น
    การเดินวิชชาเพื่อชำระกิเลส อาสวะ ตั้งแต่หยาบๆคือนิวรณ์

    ให้สอบอารมณ์กับตนเองคร่าวๆดู กับ ความรุ้สึก ด้วยใจของกายมนุษย์

    ว่า ขณะเจริญวิชชา หลังจากเดินวิชชาดับกิเลสอาสวะใหม่ๆ และ ผ่านเลยไปสักระยะเวลา กิเลส อาสวะ เราลดลงจริงหรือไม่

    สติสัมปชัญญะ และ ธรรมคู่ปรับของกิเลสนั้นๆ เจริญขึ้นหรือไม่



    ถ้าสอบแล้ว ตรงกัน

    ขอให้มั่นใจ ในสิ่งที่ตนปฏิบัติมาแล้ว
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?


    ------------------------------------------



    ตอบ:

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข

    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ

    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน

    ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด 18 กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา 18 กาย รวมเรียกว่ากายเถา

    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด 18 กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ

    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละ



    ที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน

    ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว

    ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา

    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ 8 ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน



    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ



    เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง

    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ 8 ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    
    ที่ว่าวิชชาธรรมกายเป็นทางสายเอก อย่างนี้การปฏิบัติในแนวทางอื่น เช่น พุทโธ ยุบหนอพองหนอ ซึ่งไม่ได้เข้าทางศูนย์กลางกายก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ใช่ไหมครับ ? หรือว่ากระผมเข้าใจผิด
    ----------------------------------------------------------




    ตอบ:


    การบรรลุมรรคผล บรรลุจากธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ณ ภายในนะครับไม่ใช่ภายนอก และธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือใจ นั้นอยู่ตรงกลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม ใจอยู่ที่ไหน? นั้นท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดบอกแล้วว่า“ใจ” มันทำหน้าที่ตาม โรงงานต่าง ๆ โรงงานกาย โรงงานหู โรงงานตา โรงงานลิ้น แล้วก็โรงงานหัวใจก็มี พอไปทำงาน โรงงานต่าง ๆ เสร็จตามออฟฟิซเหล่านั้นแล้วกลับมานอนบ้าน ตื่นเช้าก็ออกจากบ้าน บ้านอยู่ ตรงไหน? อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ภาษาบาลีว่าคุหาสยํ “อยู่ในถ้ำ” ถ้ำก็อยู่ตรงนั้นแหละ ตรงกลางกายกลางพระนาภี เพราะฉะนั้นใจมันอยู่ตรงนั้น เมื่อใจอยู่ตรงนั้น การเปลี่ยนวาระจิต เปลี่ยนภูมิธรรม มันเปลี่ยนที่ไหน? ก็เปลี่ยนที่ใจ ใจอยู่ตรงไหน? ก็อยู่ตรงศูนย์กลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม การเปลี่ยนวาระจิตตามภูมิธรรมก็เปลี่ยนตรงนั้น จะดีจะชั่วก็ตรงนั้น จะไป นิพพานก็ตรงนั้น

    หลวงพ่อวัดปากน้ำน่ะท่านจึงรู้ว่าตรงศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายเอก จะทำอะไร จะถือศีลกี่ร้อยกี่พันข้อ จะนั่งสมาธิ วิปัสสนา จะยุบหนอพองหนอ พุทโธ อะไรก็ตาม มันไป เป็นอยู่ตรงนั้น ใจมันเกิดดับตรงนั้น ไปจนถึงนิพพานก็เป็นตรงนั้น คุณธรรมจะสูงขึ้น ก็เปลี่ยนที่ตรงศูนย์กลางกายนั้นแหละอาตมาจะพูดง่าย ๆ “ใจ” นั้นตั้งอยู่ตรงกลางธาตุ ธาตุเป็น ที่ตั้งของธรรม เมื่อใจสะอาดด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ธรรมก็สะอาด ธรรมคือบุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี อันเป็นธรรมชาติเครื่องชำระจิตใจที่อยู่กับใจและอยู่ในธาตุนั้นก็ เป็นธรรมสะอาด และเมื่อธรรมสะอาด ธาตุนั้นจะสกปรกได้ไหม? มัวหมองได้ไหม? ไม่ได้ เมื่อไม่ได้มันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปเท่าไหร่ ธาตุที่ละเอียดสุดละเอียดนั่นแหละ สุดท้าย เมื่อพ้นจากความบริสุทธิ์ของกายในภพ 3 จึงถึงธรรมกายไม่ว่าจะทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล หรือบารมีสิบ มันไปกลั่นไปชำระกันตรงธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ จากสุดหยาบ ไปสุดละเอียด ถึงธรรมกาย ณ ที่ตรงนั้น เมื่อเป็นตรงนั้นอาตมาจึงกล่าวว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน ก็บรรลุด้วยธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรม ธาตุที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า “วิสังขาร”

    ใจของสัตว์ในโลกในภพ 3 ชื่อว่า “ใจ” ได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบ มาจาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ถ้าสุดละเอียด เป็นใจของธาตุล้วนธรรมหรือ วิสังขารแล้ว ไม่เรียกว่า “วิญญาณ” ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่เรียกว่า “ญาณ” คือความหยั่งรู้ หรือ ความรู้แจ้ง ด้วยการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น

    ที่นี้นี่แหละบรรลุมรรคผลด้วยคุณธรรมตั้งแต่หยาบ เราไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ มันไปเป็นผลที่ธาตุที่ธรรมในที่สุดละเอียดแล้วเบิกบานขึ้น จึงชื่อว่า “พุทโธ” เบิกบาน ตื่น นั่นเบิกบานขึ้นมาธรรมกายก็ดี หรือกายที่ละเอียด ๆ นี่มันโตใหญ่ เพราะไม่ถูกหุ้มด้วยกิเลส อวิชชา ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ ไม่ถูกหุ้ม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำดีอะไร จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มันเป็นอยู่ตรงนั้น นี่แหละตรงนี้แหละที่คนไม่รู้เคล็ดลับ คุณธรรมจะดี เป็นคุณธรรมที่ดี ที่สูง ที่สะอาดบริสุทธิ์ ก็เป็นที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ เพราะฉะนั้นแหละตรงศูนย์กลางกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายและพระนิพพานถึงเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายเอก แม้จะยุบหนอพองหนอ พอใจสะอาดมันก็ไปสะอาดตรงนั้น แต่ผู้ปฏิบัติยุบหนอพองหนอที่ไม่เคย รู้จุดตรงนั้น ก็อาจจะไม่ทราบว่าใจของตนไปสะอาดตรงนั้น หรือจะพุทโธก็แล้วแต่พระอริยเจ้า จริง ๆ แล้วท่านรู้ ไม่ใช่ไม่รู้ รู้ครับ แต่ว่าผู้อื่นที่ยังไม่ถึงอริยเจ้า ท่านไม่รู้ เป็นได้ มีได้ หรือที่รู้ ก็มี เพราะฉะนั้นไม่ว่าปฏิบัติสายไหนนะครับ มันเป็นเรื่องเดียวกัน จึงไม่ต้องมาว่ากัน ดีด้วยกันทุกสาย เพราะมันไปสะอาดที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” เหมือนกัน จะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงมีสิทธิ์บรรลุมรรคผลได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ามรรคผล มันเกิดตรงนั้น ธรรมกายมรรค ผล และนิพพาน เบิกบานขึ้นมาจากตรงนั้น ตื่นขึ้นมาจาก ตรงนั้น เท่านั้นเอง แต่ว่าผู้เป็นพระอริยเจ้าท่านรู้ทุกองค์ ต้องรู้ รู้มากอย่างละเอียดหรือว่า ผู้พอเข้าใจแจ่มแจ้งพอสมควรเท่านั้นเองครับเพราะฉะนั้นไม่ต้องกังขา ปฏิบัติสายไหนดีทั้งสิ้น เป็นทางไปมรรค ผล นิพพาน ได้ทั้งนั้นถ้าใครปฏิบัติไปแล้ว กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ สะอาดบริสุทธิ์ ใจสะอาดบริสุทธิ์ ปัญญาก็บริสุทธิ์ ที่สุดใจก็หมดกิเลสแล้ว ก็ไปหมดกันตรงนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันเพียงแต่จะรู้ หรือไม่รู้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติยังไม่ถึง หมายความว่ายังไม่เป็นมรรคเป็นผลที่แท้จริง ก็อาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ผู้ที่ถึงมรรคผล และพระนิพพานแล้วเชื่อแน่ว่าต้องรู้แน่นอนครับ
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ***แสงสว่าง อันเป็น วิปัสสนูอุปกิเลส ***

    ...มีผู้ปฏิบัติจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าสายไหน ...


    ถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่เท่าทันกิเลสในใจตน แล้วทำให้หลงผิดคิดว่า แสงสว่าง ความผ่องใสอย่างยิ่ง ไม่มีประมาณ ที่กำลังเสพอยู่ นั้นคือที่สุดแห่งกองทุกข์แล้ว หรือ ตนได้รรลุคุณธรรมสูงยิ่งแล้ว ไม่ต้องภาวนาสะสางกิเลสต่อแล้ว ........แสงสว่างนั้นแล คือ ม่านความมืดที่ดูใสสว่างมาก.....


    หากไม่มีครูที่มีญาณทัศนะรู้รอบ ตามความจริง หรือ ฝึกฝนมาดี ก็ติดได้นาน หรือ หลงทำอกุศลกรรมต่อชีวิตอื่น ปรามาสชีวิตอื่น นำตนไปสู่อกุศลกรรม ขวางทางเจริญของตนได้
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    แสงสว่างอย่างยิ่ง แต่ใจยังทำอกุศลกรรมสามคือกาย วาจา ใจ อยู่ ไม่น้อยลงเลย รู้ทันกิเลสได้ช้า .นั้นเป็นเครื่องขัดขวาง ที่มาจากวิปัสสนูอุปกิเลส ไม่ใช่แสงสว่างจากใจทีมีปัญญา
    ตรงกันข้าม ....เมื่อสะสางจนกิเลสลดลง ถูกต้องตามแนวทางแล้ว สว่างหรือมืดจากสิ่งภายนอกจิต ก็ไม่เท่าแสงสว่างของใจที่เป็นธรรมล้วน
    "นัตถิ ปัญญาสมา อาภา" แสงสว่างเสมอปัญญา ไม่มี
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    มองเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ทั้งโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เหมือนที่หลวงป๋าท่านสอนไว้ว่า รู้โลกไม่หลงโลก รู้่ธรรมไม่หลงธรรม
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    กสิณสิบกองตามแนววิชชาธรรมกาย ( ตามแบบดั้งเดิม )

    กสิณ ๑๐ กอง
    (กรรมฐานที่มีอานุภาพมาก)

    ภูตกสิณ
    ๑.อาโปกสิณ (เพ่งน้ำเป็นอารมณ์)
    ๒.ปฐวีกสิณ (เพ่งดินเป็นอารมณ์)
    ๓.เตโชกสิณ (เพ่งไฟเป็นอารมณ์)
    ๔.วาโยกสิณ (เพ่งลมเป็นอารมณ์)

    วรรณกสิณ
    ๕.นีลกสิณ (เพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์)
    ๖.ปีตกสิณ (เพ่งสีเหลืองเป็นอารมณ์)
    ๗.โลหิตกสิณ (เพ่งสีแดงเป็นอารมณ์)
    ๘.โอทาตกสิณ (เพ่งสีขาวเป็นอารมณ์)

    เสสกสิณ
    ๙.อาโลกกสิณ (เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์)
    ๑๐.อากาสกสิณ หรือปริจฉินนากาสกสิณ (เพ่งอากาศ หรือที่ว่างเป็นอารมณ์)*

    *อากาสกสิณ ต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่กสิณทุกกองจะมีมณฑลกสิณ คือนิมิตเป็นวงกลม จึงต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่อากาสานัญจายตนฌานจะพิจารณาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ ไม่ได้กำหนดมณฑล


    วิธีฝึก

    เตรียมอุปกรณ์ในการเพ่งกสิณในแต่ละกอง ตั้งให้ห่างจากตัวพอเหมาะ อยู่ในระดับสายตา มองเห็นได้ชัด และไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป

    เพ่ง ดูด้วยสายตาอย่างสบายๆ(ไม่ควรเกร็ง) ให้จำภาพนั้นๆได้ชัด โดยใจนึกให้เห็นสิ่งที่เราเพ่ง เป็นมณฑล(วงกลม)เหมือนฉายหนัง เป็นจอกลมๆ ติดใจชัด

    แล้วน้อมบริกรรมนิมิตนั้น มาที่ศูนย์กลางกาย ส่งใจเพ่งไปที่จุดเดียว คือดวงกสิณ ไม่ต้องสนใจอะไรภายนอก ท่องในใจไป กะสิณังๆๆๆ เรื่อยไป สบายๆ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเพ่งหนักเกินไป พอดีๆ จนเกิด อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตา หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็นชัด ใจเริ่มสงบลงมาก ก็บริกรรมต่อไป กสิณังๆๆ จนเกิดปฏิภาคนิมิต ขาวใสสว่างดุจกระจกส่องหน้าสะท้อนแสง แล้วให้นึกขยายให้ใหญ่ก็ได้ และย่อให้เล็กลงก็ได้ตามชอบใจ

    แล้วจึงเข้าฌาน อนุโลม ปฏิโลม ตามแนววิชชาธรรมกาย (อ่านในวิธีเจริญรูปฌาน) หรือจะเดินสมาบัติ ๘ แล้วแต่ชอบใจ


    วิธีตั้งมณฑลกสิณด้วยดวงธรรมในกายมนุษย์และกายทิพย์

    หมายเหต* ศัพท์บัญญัติเฉพาะ (กายโลกีย์)
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ เรียกว่า ดวงทุติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม เรียกว่า ดวงตติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เรียกว่า ดวงจตุตถมรรค

    คราวนี้จะใช้เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ (กายที่ไม่ใช่กายธรรม) เพื่อประกอบโลกียฌาน สับกาย ซ้อนกาย เฉพาะกายโลกีย์ สัก ๗ เที่ยว ให้กายมันใสทุกกาย

    เมื่อ กายใสดีแล้ว เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์(หรือในกายมนุษย์ก็ได้) พอดวงทุติยมรรคใสใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่า ปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ น้อมจิตนิ่งแน่นเลยดินลงไป น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณ ไฟก็ซ้อนอยู่ในน้ำเป็นเตโชกสิณ ลมซ้อนอยู่ในไฟเป็นวาโยกสิณ สีเขียวอยู่ในลมเป็นนีลกสิณ สีเหลืองอยู่ในสีเขียวเป็นปีตกสิณ สีแดงอยู่ในสีเหลืองเป็นโลหิตกสิณ สีขาวอยู่ในสีแดงเป็นโอทาตกสิณ แสงสว่างอยู่ในสีขาวเป็นอาโลกกสิณ อากาศว่างอยู่ในแสงสว่างเป็นอากาสกสิณ แล้วเดินสมาบัติในกสิณนั้น

    หลวงปู่สดท่านเมตตาสอนวิธีการเดินสมาบัติในกสิณ เพื่อตรวจดูภพต่างๆไว้ ว่าเวลาจะเดินสมาบัติในกสิณเหล่านี้ ก็ต้องซ้อนดวงกสิณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามลำดับ แล้วจึงเดินสมาบัติ วิธีเดินสมาบัติต้องใช้ธรรมกายเดิน(ทีนี้ไม่ใช่โลกียฌานแล้ว)


    เวลาจะตรวจดูภพไหนให้เห็นชัด ก็ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายระดับนั้นๆ*เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงธรรมนั้นเป็นกสิณ (ตรวจโลกมนุษย์ *ทวีปทั้ง ๔ ในจักรวาลนี้ ก็ใช้ดวงธรรมในกายมนุษย์ ตรวจภพเทวโลกใช้ดวงธรรมในกายทิพย์ ตรวจพรหมโลกใช้ดวงธรรมในกายรูปพรหม ตรวจอรูปพรหมใช้ดวงธรรมในกายอรูปพรหม) เดินสมาบัติในกสิณ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ ตรวจดูให้รู้ตลอด เป็นอยู่กันอย่างไร ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    กสิณอีกกองหนึ่ง ซึ่งจะมีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ไม่มีปรากฎในวิสุทธิมรรค
    กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรค นำอาโลกกสิณมาแทนที่วิญญาณกสิณ ซึ่งอาโลกกสิณไม่มีปรากฎในพระไตรปิฎก มีแต่การเจริญอาโลกสัญญา


    อาจเพราะว่าวิญญาณเป็นกสิณที่ทำได้ยาก คือการเพ่งธาตุรู้ เป็นอารมณ์ ซึ่งเอื้อต่อญาณทัสสนะได้อย่างดีวิเศษ

    วิธีเจริญวิญญาณกสิณ

    ตามแนววิชชาธรรมกาย ถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมดาอยู่แล้ว กล่าวคือวิธีการเข้าฌานตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คือการเจริญวิญญาณกสิณ


    ข้อที่ว่านั้นเป็นเช่นนี้... กล่าวคือวิญญาณกสิณท่านให้เพ่งธาตุรู้เป็นอารมณ์ ในวิชชาธรรมกายก็ให้ญาณธรรมกายเพ่งดวงธรรม ซึ่งดวงธรรมนั้นก็คือมนายตนะ ประกอบด้วยเห็น(รับ) จำ คิด รู้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในดวงนั้นมีศูนย์ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นธาตุ ๔ ตรงศูนย์กลางนั้นเป็นอากาศธาตุ และกลางของศูนย์กลางนั้นเป็นวิญญาณธาตุ ก็ตรงด้วยส่วนนี้ที่วิชชาธรรมกาย เน้นให้เข้ากลางของกลางถูกตัววิญญาณธาตุ ละเอียดๆเข้าไปทุกที นี้คือการเจริญ วิญญาณกสิณ ไปในตัวพร้อมเสร็จ

    เหตุใดจึงเลื่อนไปเพ่งดวงธรรมกายทิพย์ พรหม อรูปพรหม ตามลำดับองค์ฌานที่ละเอียดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ?
    ก็เพราะว่ากายยิ่งละเอียด ตัวรู้ก็ยิ่งละเอียด (แต่เป็นคนละอย่างกับอรูปฌาน เนื่องจากมีขอบเขตจำกัด) จึงได้องค์ฌานละเอียดๆไปตามลำดับ ถือได้ว่าวิชชาธรรมกายเดินสมาบัติด้วยวิญญาณกสิณเป็นบาทเลยทีเดียว จึงเอื้อต่อการเข้าอรูปฌาน เจริญสมาบัติ ๘ (เพราะวิญญาณกสิณ เป็นกรรมฐานที่ละเอียดที่สุดในกสิณทั้งหมด มีอารมณ์ที่ละเอียดที่สุด และน้อมสู่อารมณ์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นได้ไวที่สุด)


    นี้แหละ คือคุณอีกข้อหนึ่งของวิชชาธรรมกาย ซึ่งหาได้ยาก ในปัจจุบัน... เพราะแทบไม่มีวิธีให้ฝึกกันแล้ว เพราะตัวรู้นั้นกำหนดยากและจะเพ่งไม่ได้ถ้ากำหนดรู้อย่างเดียว ต้อง"ทั้งรู้ทั้งเห็น" ไม่ใช่นึกเอา คิดเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]




    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งเก้าบรรพ 
     
    เมื่อจะพูดถึงเรื่องเวทนาก็จะต้องพูดเรื่องของจิตด้วย กล่าวคือจิตทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงมีชื่อทางบาลีในที่มากแห่งว่า "สังขาร" ส่วนเวทนา ก็ทำหน้าที่รับอารมณ์และเสวยอารมณ์ที่จิตคิดหรือน้อมไปหา และภายในจิตก็มี"วิญญาณ" ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ และภายในเวทนาก็มี"สัญญา" ทำหน้าที่รวบรวมจดจำอารมณ์ ธรรมชาติ ๔ อย่างนี้ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหมด ประดุจข่ายของใยแมงมุม
     
    พิจารณาขันธ์ ส่วนเห็น จำ คิด รู้
     
    รวม ใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกายมนุษย์ ตรงกลางดวงกำเนิดเดิมนั้นก็จะเห็นดวงกลมใสๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ในใจนั้นแหละ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆข้างใน ใสละเอียดกว่ากันตามลำเอียด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุละเอียดนี้เองที่ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เป็นการทำงานระดับนามธรรม
     
    ดวงเห็น มีขนาดเท่ากับเบ้าตาของกาย ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางดวงเห็น มีหน้าที่รับอารมณ์ หรือเสวยอารมณ์
     
    ดวงจำ มีขนาดเท่ากับดวงตาของกาย ธาตุจำอยู่ในท่ามกลางดวงจำ มีหน้าที่รวบรวมและจดจำอารมณ์
     
    ดวงคิด มีขนาดเท่ากับตาดำ ธาตุคิดอยู่ในท่ามกลางดวงคิด มีหน้าที่คิด หรือน้อมเข้าสู่อารมณ์ ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกล ก็ไปถึงได้
     
    ดวงรู้ มีขนาดเท่ากับแววตาดำข้างใน ธาตุรู้อยู่ในท่ามกลางดวงรู้ มีหน้าที่รู้หรือรับรู้อารมณ์
     
    เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้ที่รวมเรียกว่า "ใจ" เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียว เรียกว่า เอกัคตารมณ์ หรือ ใจมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
     
    พึงพิจารณาต่อไปให้ถี่ถ้วน ก็จะเห็นว่า ในเบญจขันธ์ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่อย่างนี้เจืออยู่ด้วยหมดทุกกอง
     
    และก็ เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ที่ขยายส่วนหยาบออกมาอีก เป็น กาย ใจ จิต วิญญาณ ของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย
     
    อัน ดวงคิด หรือ จิต นั้น ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ(ไม่ใช่มังสหทัยหรือหัวใจเนื้อ) อันใสบริสุทธิ์ มีประมาณเท่าหนึ่งซองมือของผู้เป็นเจ้าของ และจิตนี้ โดยสภาพเดิมของมันแล้ว เป็นธรรมชาติอันประภัสสร จึงชื่อว่า "ปัณฑระ" แต่เนื่องจากจิตมักตกในอารมณ์ที่น่าใคร่ และมักน้อมไปสู่อารมณ์ภายนอกอยู่เสมอ จึงเปิดช่องทางให้อุปกิเลสจรมาทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว สีน้ำเลี้ยงของจิตจึงเปลี่ยนสีไปตามสภาพของกิเลสแต่ละประเภทที่จรเข้ามา เป็นต้นว่า เมื่อจิตระคนด้วยโลภะหรือราคะก็จะเป็นสีชมพู เกือบแดง,  เมื่อจิตระคนด้วยโทสะ ก็จะมีสีเกือบดำ, ถ้าจิตระคนด้วยโมหะ ก็จะมีสีขุ่นๆเทาๆ ขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกิเลสว่าหนักเบาเพียงใด
     
    นอกจากนี้ อาการลอยตัวของจิตในเบาะน้ำเลี้ยง ก็บอกอาการของจิต กล่าวคือ ถ้า จิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงหทัยมาก แสดงว่า ฟุ้งซ่าน, ถ้าลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงเล็กน้อย ก็เป็นสภาพธรรมดา, ถ้าลอยปริ่มพอดีกับระดับน้ำเลี้ยง ก็อยู่ในเอกัคคตารมณ์, ถ้าจมลงไปมาก ก็หลับไปเลย เป็นต้น
     
    "จิต"เป็น ธรรมชาติอันรู้ได้เห็นได้ แต่มิใช่เห็นด้วยมังสจักษุหรือตาเนื้อ หากแต่เป็นทิพยจักษุหรือตาละเอียด อันเป็นผลการเจริญสมถภาวนาอันถูกส่วน
     
     
    การพิจารณาอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
     
    เดิน สมาบัติอนุโลม-ปฏิโลม จนจิตอิ่มเอิบแจ่มใสดีแล้ว รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่  ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วก็ขอให้ใจของธรรมกายพระอรหัตละเอียดเพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกาย มนุษย์ ให้เห็นขันธ์ ๕ ส่วนละเอียด ทีนี้ให้เพ่งลงไปที่กลางวิญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ที่ละเอียดที่สุด ก็จะเห็นธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายตนะทั้ง ๑๒ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน คือ อายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ นี้เป็นธาตุธรรมละเอียดของอายตนะภายใน ๖ กลางอายตนะภายใน ๖ ก็ยังมีธาตุธรรมละเอียดที่ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,อารมณ์ทางใจ อายตนะทั้ง ๑๒
     
    บาลีว่า "สฬายตนะ" สัณฐานเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่ ละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ
     
    ตรง กลางสฬายตนะ ที่สุดละเอียดนี้เอง ยังมีธาตุธรรมละเอียดของธาตุ ๑๘ ซ้อนอยู่อีก คือ ธาตุรับรูป,ธาตุรับเสียง,ธาตุรับกลิ่น,ธาตุรับรส,ธาตุรับสัมผัส,ธาตุรับ อารมณ์ทางใจ รวมเรียกว่าธาตุรับ ๖
     
    ต่อไปก็จะเป็น ธาตุรูป,ธาตุเสียง,ธาตุกลิ่น,ธาตุรส,ธาตุสัมผัส,ธาตุอารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุกระทบ(เร้า) ๖
     
    ต่อ ไปอีกเป็น ธาตุรับรู้การรับรูป,ธาตุรับรู้การรับเสียง,ธาตุรับรู้การรับรส,ธาตุรับรู้ การรับสัมผัส,ธาตุรับรู้การรับรู้อารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุประมวลผลอีก ๖
     
    เรา จะเห็นว่า ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ยังมีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกๆดวง เพราะเหตุนี้ ธาตุธรรมทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะทำหน้าที่ต่างๆกัน แต่ก็สัมพันธ์กันเป็นอัตโนมัติ ฉะนั้น เมื่อมีอะไรมากระทบ ก็จะกระเทือนไปถึง"ใจ"อันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ เป็นต้นว่า เมื่อจิตคิดไปถึงสิ่งที่น่ากำหนัดยินดี และไปยึดมั่นถือมั่น แม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย จะยังมิได้สัมผัสรูป เสียง กลิ้น รส สัมผัส อารมณ์กำหนัดยินดีก็ไม่กระเทือนถึงแต่เฉพาะ"ใจ"เท่านั้น หากแต่จะกระเทือนถึงกายด้วย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า "ดวงเห็น" ซึ่งทำหน้าที่รับและเสวยอารมณ์อันเป็นเปลือกนอกของ "ใจ"ทำหน้าที่เป็น "ดวงกาย"ซึ่งขยายส่วนหยาบ เจริญเติบโตออกมาเป็นกาย ซึ่งเป็นที่อาศัยและยึดเกาะของ"ใจ"นั่นเองอีกด้วย
     
    และเนื่อง จาก"ใจ"ตั้งอยู่อาศัยกับขันธ์ ๕ ทั้งในส่วนที่เป็นธาตุธรรมละเอียด และส่วนหยาบ มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เพราะความไม่รู้แจ้ง หรือ "อวิชชา"ครอบคลุมอยู่ เมื่อมีสิ่งหนึ่งอันจะก่อให้เกิดอารมณ์มากระทบส่วนใดส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ นี้ ก็จะรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ(อทุกขมสุขเวทนา หรือ ไม่สุข ไม่ทุกข์) โดยจะแสดงออกทางดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้นี้เอง กล่าวคือ เวลาที่เป็นสุข ก็จะเห็นเป็นใสๆ เวลาทุกข์ ก็จะเห็นเป็นมัวๆขุ่นๆ ถ้าเวลาเฉยๆ ก็จะไม่ใส ไม่ขุ่น กลางๆ
     
     
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา สติพิจารณาเวทนาขันธ์อยู่เนืองๆ มี ๙ บรรพด้วยกัน คือ
     
    ๑. เมื่อรู้รสสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนา
    ๒. เมื่อรู้รสทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนา
    ๓. เมื่อรู้รสอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งอทุกขมสุขเวทนา (เสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุข)
    ๔. เมื่อรู้รสสามิสสสุขเวทนา(สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๕. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันมีอามิส
    ๖. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๗. เมื่อรู้รสนิรามิสสสุขเวทนา(สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๘. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๙. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันไม่มีอามิส
     
    อามิส แปลว่า เครื่องล่อใจ ดังนั้น เรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ(เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ
    ส่วน สุขเวทนาที่เกิดขึ้น ด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา ทุกขมสุขเวทนาเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส
     
    การเสวยเวทนาโดยมีอามิสหรือไม่ก็ตาม ย่อมเปลี่นแปลงแปรผันตามเหตุปัจจัยเสมอๆ อารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ หาได้จีรังไม่ ย่อมเกิดขึ้น และเสื่อมสลายไป เมื่อเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดดับของเวทนาแล้ว แม้จะรู้ว่าเวทนามีอยู่ ก็จงระลึกได้ว่า "สักแต่เป็นเวทนา" หามีสาระแก่นสารให้ยึดถืออย่างใดไม่ ทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และ สิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ทั้งหลายลง จิตใจก็เบิกบาน เพราะความหลงผิดสิ้นไป กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาย้อมหรือดลจิตให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น นี้คือทางแห่งมรรค ผล นิพพาน อันเป็นความว่างเปล่าจากกิเลส อาสวะทั้งปวง
     
     
    วิธีพิจารณาระบบการทำงานของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เห็นเวทนาในเวทนา ตามแนววิชชาธรรมกาย
     
          รวมใจของทุกกายหยุด ณ กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วเพ่งไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุด ตรึก นิ่ง ให้ดวงธรรมสว่างไสวทั่วทั้งกาย แล้วพิจารณาทวารทั้ง ๕ คือ จักขุทวาร(ตา) โสตทวาร(หู) ฆานทวาร(จมูก) ชิวหาทวาร(ลิ้น) กายทวาร โดยเริ่มที่ตาก่อน ตรงกลางแววตาทั้งซ้าย-ขวา พิจารณาให้ดีจะเห็น จักขุปสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็นจักขุอายตนะ สำหรับรับรูป มีสัณฐานกลมสะอาด ตั้งอยู่ตรงกลางแววตา ตรงกลางจักขุปสาทก็มี จักขุธาตุ ซึ่งละเอียดกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับเห็นรูป แล้วที่กลางจักขุธาตุก็มี จักขุวิญญาณธาตุ ละเอียดกว่าจักขุธาตุ ซ้อนอยู่อีก สำหรับรู้ว่าเห็นรูปอะไร และมีสายเล็กๆขาวใส บริสุทธิ์ ทอดออกไปจากตรงกลางแววตาทั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปสมอง ศีรษะ แล้วหยั่งไปในเยื่อพื้นหลัง ลงไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    อะไรทำให้เห็น?
     
    เวลา ที่จักขุอายตนะ กับ รูปายตนะ กระทบกัน (เมื่อสายตากระทบรูป) ก็จะมีดวงใส คือส่วนละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งจะมีจักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดเดิม ขึ้นมาตามสาย ผ่านสมอง มาจรดที่จักขุปสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ซึ่งทำหน้าที่รับรูป แล้วนำรูปนั้นแล่นผ่านสมอง ตามสายกลับมาที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นไปอย่างรวดเร็วมากการเห็นรูปก็เกิดขึ้นตั้งแต่ดวงกลมขาวใส มาจรดที่กลางจักขุปสาท ที่กลางแววตา เพราะที่กลางจักขุปสาทก็มีจักขุธาตุสำหรับเห็นรูป และมีจักขุวิญญาณธาตุ สำหรับรับรู้ว่าเป็นรูปอะไร ซ้อนอยู่ด้วยแล้ว และการเห็นนี้ ไม่เฉพาะแต่ที่ตรงกลางแววตาเท่านั้น หากแต่เห็นไปถึง"ใจ" อันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ เป็นอัตโนมัติ เพราะเหตุที่ดวงกลมใสที่แล่นขึ้นมารับรูปจากตา กลับไปสู่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็คือธาตุธรรมละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งทำหน้าที่รับรูป และจักขุธาตุซึ่งทำหน้าที่เห็นรูป และจักขุวิญญาณธาตุที่ทำหน้าที่รับรู้ว่ารูปอะไร มีลักษณะ สี สัณฐานอย่างไร ซ้อนอยู่ด้วยอีกเช่นกัน
     
    และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ก็ยังมี ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง จึงทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอดเป็นอัตโนมัติ เพราะเมื่อตากระทบรูปนั้น รูปธาตุย่อมผ่านเห็น จำ คิด รู้เสมอ
     
    อนึ่ง ดวงรู้ของสัตว์ที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นมี อวิชชานุสัย ห่อหุ้มหนาแน่น ส่วนดวงเห็นกับดวงจำก็มี ปฏิฆานุสัย ห่อหุ้มอยู่ และดวงคิดก็มี กามราคานุสัย ห่อหุ้มอยู่ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนกายธรรม (จึงทำให้ทัสสนะไม่บริสุทธิ์เหมือนกายธรรม)
     
    เพราะฉะนั้น เวลาที่สายตากระทบรูป ถ้าเป็นรูปที่ถูกอารมณ์น่ายินดี เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ซึ่งกล่าวโดยย่อว่า อวิชชา จิตใจจึงมักเลื่อนลอยตามอารมณ์นั้น ทำให้รู้สึกเป็นสุขตา-สุขใจไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจนั้น เรียกว่าเกิด สุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะใส
     
    แต่ ถ้าเป็นรูปที่ไม่น่าพอใจ และปล่อยใจคล้อยไปตามอารมณ์ที่ว่านั้น ก็จะเกิดความไม่สบายตา-ไม่สบายใจ หรือที่เรียกว่าเป็นทุกขเวทนาหรือโทมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะขุ่นมัว
     
    ทีนี้ ถ้าหากจิตใจไม่ได้รับการอบรมให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง ปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปในอารมณ์ต่างๆนี้มากๆเข้า กิเลสที่สะสมหมักดองอยู่ในจิตใจ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจย้อมจิตย้อมใจให้เป็นไปตามสภาพของมัน ด้วยเหตุนี้ สีน้ำเลี้ยงของจิตซึ่งถูกเจือด้วยกิเลสนั้น เปลี่ยนสีจากที่เคยขาว ใส สะอาด เป็นสีต่างๆตามสภาพกิเลสที่จรมาผสม เป็นต้นว่าจิตที่ประกอบด้วยกามตัณหา และภวตัณหา หรือรวมเรียกว่า โลภะ-ราคะ ก็จะเห็นเป็นสีชมพู จนถึงเกือบแดง, จิตที่ระคนด้วยวิภวตัณหา หรือโทสะ ก็จะเป็นสีเขียวคล้ำ จนเกือบดำ, และจิตที่ระคนด้วยโมหะ ก็จะเห็นเป็นสีขุ่นเหมือนตม หรือเกือบเทา เป็นต้น
     
    นอกจากนี้ อาการที่จิตฟุ้งออกไปรับอารมณ์ภายนอกมากเพียงใด ก็จะเห็นจิต คือ ดวงคิดลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงหทยรูปมากขึ้นเพียงนั้น การเห็นลักษณะของใจตนเองที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี โดยจะเห็นดวงใสหรือขุ่นหรือปานกลางนั้น เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายใน แต่ถ้าเห็นเวทนาของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
     
    ส่วน การเห็นสภาวะของจิตของตนว่าระคนด้วยกิเลส โดยเห็นสีน้ำเลี้ยงที่เปลี่ยนไปตามสภาวะกิเลสที่เข้ามาผสมก็ดี หรือเห็นว่าจิตฟุ้งซ่าน หรือสงบ โดยอาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงหทยรูปในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ดี เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายใน และถ้าเห็นสภาวะจิตของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญจิตตานุปัสสนสติปัฏฐาน
     
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตเป็นทั้งภายในและภายนอก ดังนี้จึงควรที่สาธุชนจะพึงเจริญให้มาก
     
    ในลำดับนี้ จะได้แนะนำวิธีพิจารณาที่โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และมโนทวารต่อไป
     
    สำหรับ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วให้ญาณพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดในหยุด ตรึกในตรึก นิ่งในนิ่ง ให้ดวงธรรมนั้นใสสว่าง ขยายโตขึ้นจนเห็นใสสว่างหมดทั้งกาย แล้วเริ่มพิจารณาที่โสตทวาร(หู)ก่อน
     
    ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งซ้ายและขวานั้น จะเห็นมี"โสตปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "โสตายตนะ" คือ อายตนะหู สำหรับรับเสียง มีลักษณะสัณฐานกลมใส สะอาดบริสุทธิ์ ประมาณเท่าขนจามรี ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น ตั้งอยู่ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งสองข้าง ตรงกลางโสตประสาทก็มี "โสตธาตุ" ซึ่งละเอียดกว่า เล็กกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับฟังเสียง และในกลางโสตธาตุ ก็มี "โสตวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสกว่า เล็กกว่าโสตธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับให้รู้ว่าเป็นเสียงอะไร แลมีสายใยสีขาว ใส ทอดออกไปจากโสตประสาททั้งซ้ายขวา ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพื้นข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่ตรงกลางของขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    ทำหน้าที่ได้ยินเสียง ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการหน้าที่มองเห็นของอายตนะตา กล่าวคือ เมื่อเสียงมากระทบประสาทหูซึ่งทำหน้าที่เป็นโสตายตนะนั้น จะมีดวงกลมขาว ใส คือธาตุละเอียดของโสตายตนะ ซึ่งมีโสตธาตุ และโสตวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรมเดิม ขึ้นมาตามสายสีขาวบริสุทธิ์ มาจรดที่โสตประสาทตรงกลางแก้วหูซ้ายขวาซึ่งทำหน้าที่รับเสียง แล้วนำเสียงนั้นแล่นกลับไปที่กลางขันธ์ ๕ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เพื่อทำหน้าที่ต่อไป
     
    ทีนี้ให้พิจารณาต่อไปที่ขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา จะเห็น"ฆานปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "ฆานายตนะ"ทำ หน้าที่รับกลิ่น มีลักษณะสัณฐานเหมือนกีบกวางหรือปีกริ้น ใสสะอาดบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ตรงกลางขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา แล้วตรงกลางประสาทจมูก ก็มี "ฆานธาตุ" ซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ และเล็กกว่าประสาทจมูก สำหรับทำหน้าที่ดมกลิ่น และที่ตรงกลางฆานธาตุก็มี "ฆานวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานอย่างเดียวกัน แต่ใส สะอาด และเล็กกว่าฆานธาตุ สำหรับทำหน้าที่รู้ว่าคุณสมบัติกลิ่นเป็นอย่างไร และมีสายใยสีขาวทอดออกจากตรงกลางฆานปสาททั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงภายในพื้นเยื่อพังผืดข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    แล้วต่อไปก็ให้พิจารณาที่ลิ้น จะเห็น"ชิวหาปสาท" กระจายอยู่ทั่วลิ้น มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัวหรือกลีบบัว ขาวใส ทำหน้าที่เป็น "ชิวหายตนะ"สำหรับทำหน้าที่รับรส และตรงกลางชิวหาปสาทก็มี "ชิวหาธาตุ"ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาปสาท ซ้อนอยู่ภายในเข้าไป สำหรับทำหน้าที่ลิ้มรส แล้วก็ตรงกลางชิวหาธาตุก็มี "ชิวหาวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติรส แล้วก็มีสายใยสีขาว ใสสะอาด ทอดออกไปจากตรงกลางชิวหาปสาททั้งหลาย ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพังผืดพื้นหลัง แล้วไปจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    ทีนี้ให้พิจารณาดูหมดทั่วสรรพางค์กาย จะเห็น"กายปสาท" มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัว ขาว ใส สะอาด ตั้งอยู่ทั่วทั้งกาย ทุกขุมขนทีเดียว ทำหน้าที่เป็น "กายายตนะ" ทำหน้าที่รับสัมผัส และตรงกลางกายปสาททั้งหลาย ก็มี "กายธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่เล็กกว่า ใสสะอาดกว่ากายปสาท สำหรับทำหน้าที่สัมผัสสิ่งที่มาถูกต้องทางกาย และมี "กายวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานนเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่ากายธาตุ ซ้อนอยู่ชั้นในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้องทางกาย ว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร แล้วก็มีสายใยสีขาวใส ทอดออกไปจากกายปสาททั่วทั้งกาย ขึ้นไปสู่สมองศีรษะ แล้วไปรวมจรดที่ขันธ์ ๕ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    ที่ตรงกลางหทยรูป(ไม่ใช่มังสหทยรูป แต่เป็นของละเอียด) หรือที่เรียกว่ามโนทวาร ก็มี "มนายตนะ" มีลักษณะสัณฐานเป็นดวงกลมใส ขนาดประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร ซึ่งทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ และที่ตรงกลางมโนทวารนี้เองเป็นที่ตั้งของ "มโนธาตุ" มีลักษณะสัณฐานกลมใสยิ่งกว่า เล็กกว่ามนายตนะ ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับรู้ธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ และตรงกลางมโนธาตุ ก็มี "มโนวิญญาณธาตุ" ซึ่งใส สะอาดกว่า และเล็กละเอียดกว่ามโนธาตุ ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปอีก สำหรับรู้คุณสมบัติอารมณ์ที่มากระทบ และมีสายใยสีขาวใสหยั่งลงไปจรดรวมอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม แต่สายของมนายตนะนี้ ไม่ผ่านขึ้นสู่สมองศีรษะเหมือน ๕ สายข้างต้น
     
    การรู้กลิ่น รู้รส รู้การสัมผัสทางกาย และรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางใจ ก็เป็นลักษณะเดียวกันกับการเห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกที่มากระทบนั้น เป็นสิ่งที่น่าพอใจ ยินดี ก็จะรู้สึกเป็นสุข เรียกว่า "เสวยสุขเวทนา" และในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" มีลักษณะใส แต่ถ้าอายตนะภายนอกที่มากระทบทวารทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เป็นที่น่าพอใจ ยินดี ก็เป็นทุกข์ใจ เรียกว่า "เสวยทุกขเวทนา" ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" ทั้งดวงมีลักษณะขุ่นมัว
     
    ทีนี้ถ้าหากไม่รู้เท่าทันในสภาวะจริงตามธรรมชาติของเวทนา ไม่รู้ข้อดี ข้อเสียของเวทนา และไม่รู้ทางออกจากเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น แล้วปล่อยให้จิตใจเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ จนถึงกับต้องสยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก น่ายินดี หรือจนถึงกับเคียดแค้น ชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจยินดี กิเลสอนุสัยต่างๆ เป็นต้นว่า กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน อันเป็นทางให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนตามมาได้
     
    แต่ถ้ารู้เท่าทันในสภาวะของเวทนาตามที่เป็นจริง ว่าอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ และรู้เท่าทันเวทนาว่า ถ้าปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยตามอารมณ์ที่มากระทบแล้ว ก็จะเป็นทางให้กิเลส ตัณหา อุปาทานเข้ามาครอบคลุมจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้แล้ว ก็รู้วิธีออกจากเวทนานั้นๆ โดยรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ให้ละเอียดหนักเข้าไป ไม่ถอยหลังกลับ เมื่อใจไม่น้อมไปสู่อารมณ์และหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดหนัก เข้าไป(หยุดปรุงแต่ง ส่งจิตส่งใจไปตามอารมณ์) ก็พ้นอำนาจของอนุสัยที่เคยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน กิเลส ตัณหา อุปาทานก็ไม่มีทางที่จะเข้ามาย้อมจิตย้อมใจ ทุกข์จะมีมาแต่ไหน จิตใจก็กลับใส สะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เป็นสุขจากความสงบรำงับด้วยประการฉะนี้แล
     
    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ - สุขอื่นยิ่งกว่า กาย วาจา และใจ สงบ ไม่มีอีกแล้ว
    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ - จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
     
     
     
    จงพิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของเวทนาที่เป็นจริงต่อไปอีกว่า เวทนานั้นเกิดแต่จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใจอันมีอวิชชา ความไม่รู้สภาวะจริงนั้นเอง ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ เรียกว่า จิตสังขาร อันเป็นเหตุให้เกิดการรับรู้อารมณ์จากภายนอกที่สัมผัสกับทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวาร แล้วจิตนั้นเองก็เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา แล้วแต่กรณี
     
    เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เกิดเวทนาทั้งหลาย นับตั้งแต่อวิชชาเอง ก็ไม่เที่ยง มีการเกิดดับไปพร้อมกับจิต ซึ่งไม่เที่ยงอีกเช่นเดียวกัน ทั้งอวิชชาและจิต จึงต่างก็หามีตัวตนแท้จริงไม่ ต่างก็เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น นี้ข้อหนึ่ง
     
    อาการปรุงแต่งอารมณ์ของจิต นั้นอีกเล่า ก็ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลง แปรผันอยู่เสมอ, วันนี้เห็นบุคคล รูปร่างอย่างนี้ แต่งกายอย่างนี้ มีกิริยาอาการอย่างนี้ว่า น่ารัก น่าพอใจ แต่พอภายหลัง กลับไม่ชอบ ไม่ยินดี หรือขัดหูขัดตาไปก็มี ดังนี้เป็นต้น มันไม่เที่ยงอย่างนี้ หากยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีแก่นสารให้ยึดถือ อาการปรุงแต่งของจิตจึงเป็นอนัตตา นี้ก็อีกข้อหนึ่ง
     
    ทวารต่างๆ หรือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ คือ อายตนะภายนอกเอง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสกาย และอารมณ์ทางใจ ก็ไม่เที่ยงอีกเหมือนกัน รวมตลอดทั้งสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกในรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม ๘ ประการ ไม่ว่าจะเจือด้วยอามิสหรือไม่ก็ตาม เป็นต้นว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือการได้กำเนิด เสวยวิบากกรรมจากผลบุญ-บาปในภพภูมิใหม่ใดๆก็ตาม ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยงทั้งสิ้น มีเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยนเสมอ ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะต่างก็ไม่มีแก่นสารตัวตนให้ยึดถือได้ตลอดไป มีเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายดับสิ้นไปเป็นธรรมดา นี้เป็น อนัตตา อีกข้อหนึ่ง
     
    ก็เมื่อเหตุ-ปัจจัยที่เกิดของเวทนา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยเวทนาทั้งหลายต่างก็ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้ จึงเป็นอนัตตาไปหมด ดังนี้แล้ว เวทนาเองก็จึงหาได้มีแก่นสารแต่ประการใดไม่ อีกเช่นกัน มีเกิดดับเป็นธรรมดา หากผู้ใดยึดมั่นถือมั่นในเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ได้ อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี, ด้วยความเห็นผิดว่าเป็นของเรา หรือว่า เราเป็นตัวเวทนา เวทนามีในตัวเรา หรือตัวเรามีในเวทนา ซึ่งเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ๔ แล้วย่อมเป็นเหตุแห่งความทุกข์ เพราะสภาวะจริงของเวทนานั้น ก็สักแต่เป็นเวทนา หาใช่เป็นของผู้ใดไม่ เป็นอนัตตาแท้ๆ
    
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2015
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...