ฝึกกสิณทำให้บรรลุธรรมเพื่อถึงนิพพานได้ไหม ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ลิงเมืองละโว้, 24 มกราคม 2008.

  1. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    อยากทราบว่าเราฝึกกสิณ เพื่อให้ได้ฌาน4 มา แล้วนำฌาน4 มาพิจารณาธรรม เพื่อทำเป็นวิปัสสนา แล้วจะสามารถทำให้เราบรรลุหลักธรรมได้หรือเปล่าครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ เคยอ่านว่า หากเราฝึกสิณ แล้วให้ได้ จตุตถฌาน 4 แล้วมาพิจารณาแล้วสามารถสำเร็จมรรคผลได้
    (smile)
     
  2. นิมิตรธัญญา

    นิมิตรธัญญา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +199
    ควรแล้ว ขออนุโมทนา
    แม้ได้ฌาณ1 ก็ใช้เจริญวิปัสนา สำเร็จตั้งแต่พระโสดาบัน-พระอรหันต์ได้
    หากได้ฌาณ4 ยิ่งสำเร็จเร็ว ดู มหาสติปัฏฐาน เป็นหลักปฏิบัติ
    จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ (good) (good) (good)
     
  3. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    ฌาน4 พิจารณาธรรมไม่ได้ครับ เพราะจิตเป็นสมาธิมากเกินไป ถ้าจะใช้พิจารณาธรรมต้องถอยมาที่อุปจารสมาธิครับ สมาธิช่วงนี้กำลังดี กำลังเห็นสภาพธรรมได้ง่าย เวลาผู้ทรงอภิญญาท่านอธิษฐานฤทธิ์ก็ต้องใช้ในช่วงอุปจารสมาธินี่ล่ะครับ

    การใช้กสิณเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาย่อมสามารถทำให้บรรลุธรรมได้ครับ
     
  4. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    ต้องกำลังของฌานสี่ จึงจะบรรลุอรหันต์ผลได้ครับ แต่เวลาพิจารณาธรรมเขาเริ่มที่อุปจารสมาธิก่อนครับ
    *** ผู้ที่ทำสมาธิได้ถึงฌาน เวลาจะเจริญวิปัสสนา ก็ให้เข้าฌานให้เต็มที่ที่สามารถทำได้ขณะเวลานั้น แล้วลดสมาธิลง ให้พอแก่การพิจารณาได้เพราะในฌานต่างๆไม่สามารถยกจิตขึ้นพิจารณาธรรม หรือสังขาร(การปรุงแต่งทั้งหลาย)ได้ แต่เวลาเกิดวิปัสสนาญาณสูงๆ จิตจะเกิดสมาธิสูงๆแบบเป็นไปเอง เราไม่ได้ไปเจตนาบังคับมันครับ การพิจารณาธรรมในขั้นนี้ก็จะเป็นแบบวิตกวิจารณแบบเป็นไปเองเหมือนน้ำที่ไหลอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เหมือนจิตที่เกิดวิตกวิจารณ์ในปฐมฌานโดยมิได้บังคับจิต จิตจะเห็นการเกิดดับ เกิดสังเวส เกิดปิติความสง่างามแห่งจิตใจเกิดขึ้นเวลานี้พร้อมๆกัน ฯลฯ
    *** เมื่อจะพิจารณาก็ให้ลดสมาธิมาแล้วก็ยกเอาอริยสัจย์ หรือ พระไตรลักษณ์ ก็ได้ขึ้นพิจารณาต่อธรรมทั้งหลายที่อยู่เฉพาะหน้า หรือแม้แต่ฌานหรือ รูปกสินที่เปลี่ยนแปลงไป / ความไม่แน่นอนของการเข้าฌานได้ในแต่ละวัน มาพิจารณาไตรลักษณ์ก็ยังได้ *** หรือ จะพิจารณามรณัสนุสติ กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐานต่อ เพื่อให้อารมณ์พิจารณาเหล่านี้ยกจิตท่านเข้าสู่วิปัสสนาเอง แต่ต้องทำแบบมีอธิษฐานบารมีครับ คือทำไปเพื่อดับกิเลสเพื่อไปนิพพานเป็นเป้าหมายครับ ต้องวางเป้าหมายให้มั่นคง มิฉะนั้นมันจะไปทางอื่น หรือเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาญาณได้ยากครับ..มิฉะนั้นจะได้แค่ญาณเทียบเคียงจิตไม่สามารถเข้าสู่โคตรภูญาณของพระโสดาบันได้
    *** ให้ศึกษาในคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือหลวงพี่เล็ก สุธัมมปัญโญ(ลูกศิษย์ท่านครับ) เป็นหลักคำสอนที่ดีและหากเอาจริงเอาจังก็สามารถปฏิบัติถึงได้จริงครับ
    โมทนาด้วยครับ ที่สนใจปฏิบัติธรรม
    *** ก่อนเข้าฌาน แม้แต่โจรก็ต้องสำรวมในศีลอย่างดี ฌานจึงจะบังเกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  5. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,171
    ค่าพลัง:
    +7,815
    เป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานได้ครับ
     
  6. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ได้ตามนั้น แต่ถ้าจะพิจารณาตอนเป็นฌาน 4 ต้องถอดจิตออกมาก่อน จึงจะคิดได้ หรือถอนลงมาอุปาจาร พิจารณา แล้วขึ้นไปฌาน 4 ใหม่ คล้ายอธิษฐานฤทธิ์ จะเกิดกำลังสมาธิพอ ที่จะตัดประหัดประหารกิเลสได้
     
  7. เทพบุตร

    เทพบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +114
    ผมเคยอ่านเจอในตำราว่า แค่เพียงขณิกสมาธิก็ทำให้ถึงพระนิพพานได้ แต่สำคัญอยู่ที่วิธีปฏิบัติเป็นสำคัญมากกว่าครับ ว่าท่านปฏิบัติได้ถูกต้องหรือไม่ครับ ใช้หลัก"กาลามะสูตร"เข้าพิจารณาครับ โดยส่วนตัวผมใช้"ปฏิจจสมุปบาท"เข้าวัดผลครับ
     
  8. "เหลียง ขงเบ้ง"

    "เหลียง ขงเบ้ง" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +336

    พิมพ์เหมือน...จะถึง แต่อ่านอารมณ์แล้วไม่ถึง ติดศัพท์มากไป แนะนำให้ลดศัพท์ เอาสภาวะจิตตัวเองพิมพ์จะดีกว่า แต่ต้องปฏิบัติให้มากๆกว่านี้จะได้ถึงสิ่งที่ตนพิมพ์

    ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2008
  9. "เหลียง ขงเบ้ง"

    "เหลียง ขงเบ้ง" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +336

    คนนี้ใช่ อ่านอารมณ์แล้วถึง อนุโมทนาครับ
     
  10. อมตนคร

    อมตนคร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +299
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>สิณ แปลว่า นิมิต ในบางที่บางแห่ง แปลว่า สะดึง เป็นนิมิตสำหรับจับ กสิณนี่เป็นกรรมฐานหยาบ มีสภาวะจับได้ง่าย คือมีการทรงฌาน ๔ ทั้งหมด แล้วก็กสิณทั้งหมดเป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ

    การปฏิบัติในกสิณ ๑๐

    กสิณทั้ง ๑๐ แบ่งออกเป็น ๒ พวกด้วยกัน กสิณพวกหนึ่งเป็น กรรมฐานกลางจริตทั้งหมดทำได้โดยไม่ต้องเลือก นี่จุดหนึ่ง อีกพวกหนึ่งเป็นกรรมฐานเฉพาะจริต สำหรับกสิณที่เป็นกรรมฐานกลางนี่มี ๖ อย่างคือ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ อากาสกสิณ และอาโลกสิณ ทั้ง ๖ นี้เป็นกสิณกลาง สำหรับจริต บรรดาพุทธบริษัททุกจริตทำได้โดยไม่ต้องเลือก เพราะเป็นของกลางๆ จะเป็นคนมีจริตไหนก็ตามใช้ได้ทั้งหมด นี่เรื่องกรรมฐานกับจริตนี่มีความสำคัญมาก ต้องจำให้ดี ถ้าจำพลาดไปทำขวางกันเข้า มันไม่ค่อยเดิน มันไปเหมือนกัน แต่ไปช้าๆ ไปขวางๆ

    สำหรับกสิณอีก ๔ อย่างคือ โลหิตกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ ทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นกสิณที่เป็นคู่ปรับกับ โทสะจริต คนที่โมโหโทโสมาก โกรธง่าย เจริญกสิณ ๔ อย่างนี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อกสิณเกิดขึ้นเป็นฌานแล้ว อารมณ์ของโทสะก็จะคลายสลายตัวไป การเจริญกรรมฐานให้เหมาะสมกับจริต คำว่าจริตแบบไหนมันนำหน้า เราก็คว้าแบบนั้นทำเสียก่อน ทำลายใ้ห้พินาศไป แล้วผลที่จะพึงได้ก็คือจิตสบาย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. อมตนคร

    อมตนคร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +299
    ตัวอย่างพระลูกชายนายช่างทอง ในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พระสารีบุตรได้นํา
    พระลูกชายนายช่างทองไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลให้ทรงทราบว่า อยู่กับท่านมา ๓ เดือน คือ ๑ พรรษา สอนอสุภกรรมฐาน กับกายคตานุสสติ ในฐานะที่เป็นคนหนุ่มให้ระงับความพอใจในความสวยสดงดงาม แล้วเธอไม่ได้อะไรเลย พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาแล้วได้ความทราบชัด คือพระพุทธเจ้าไม่ต้องนั่งเสียเวลาภาวนา เห็นเข้าก็รู้เลยว่าคนนี้ควรจะฝึกแบบไหนจึงได้

    ทรงทราบว่าพระลูกชายนายช่างทองไม่ใช่เป็นคนมีราคจริต เป็นคนหนักไปในทางโทสะจริต คือเป็นคนโมโหง่าย ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงให้โลหิตกสิณแทนที่จะให้อสุภกรรมฐาน โดยทรงเนรมิตดอกบัวทองคำขึ้นมาดอกหนึ่ง มีสีแดง กสิณสีแดงนี่เขาเรียกโลหิตกสิณ ต่อมาไม่นานก็ฝึกสําเร้จได้ฌานสี่
    เพราะอาศัยอารมณ์ที่จับอยู่ในฌาน ๔ เกิดปัญญา มันเกิดมาก ความแหลมคมมาก กำลังใจมีกำลังสูง ชั่วครู่เดียวเธอก็สำเร็จอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
     
  12. Sinderking

    Sinderking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +673
    อนุโมทนา ท่านมาถูกทางแล้ว กสิณนั้น หากทำจนได้ณานนั้น สามารถเป็นพื้นฐานต่อมโนมยิทธิได้ ลองใช้มโนมยิทธิเยี่ยมชมวิมารในพระนิพพานจนเป็นอารมย์เคยชิน แล้วพอตายไปถ้ากำลังถึงได้ไปนิพพานแน่นอน


    (สรุปแบบย่อๆ)
    อ่านต่อได้ใน คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำนะครับ ...

    Credit หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     
  13. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377
    เพิ่งจะตอบให้คนสงสัยเรื่องฤทธิ์เมื่อวาน ขอยกมาอีกทีนะครับ ลองพิจารณาดูนะครับ คุณลิงเมืองละโว้ ว่าฝึกกสิณแล้วจะได้ไหม ดังนี้


    อภิญญานั้น เกิดขึ้นมาจาก การฝึกกสิน10กอง

    ๑. กสิณดิน ๒. กสิณน้ำ ๓. กสิณลม ๔. กสิณไฟ ๕. กสิณสีแดง ๖. กสิณสีเหลือง ๗. กสิณสีเขียว ๘. กสิณสีขาว ๙. กสิณแสงสว่าง ๑๐. กสิณอากาศ ให้ได้ ฌาน๔หมดทุกกอง

    เมื่อฝึกได้ ฌาน๔ หมดทุกกองแล้ว ต้องทำให้คล่อง การทำให้คล่องคือ การเข้าออกฌาน นึกเข้าฌาน๔ ก็เข้าได้ทันที นึกเข้าฌาน ๓ ๒ ๑ ฌานไหน ก็เข้าได้ทันที มีการฝึกฌาน ที่เรียกว่าฌานกีฬา คือการเข้าฌานทั้งไล่ลงไล่ขึ้น และสลับ เช่น เข้าฌาน๑ >๒>๓>๔ และก็ไล่ลงไปใหม่ ๔>๓>๒>๑ หรือจะสลับฌาน เช่น ๑>๔>๒>๓ , ๓>๒>๑>๔ ,๔>๑>๒>๓ ฝึกจนให้คล่องทุกกอง จนเรียกว่า "นวสี" นึกเมื่อไร สถานที่ไหน สามารถเข้าได้ทันที ไม่จำกัดสถานที่ เวลา

    จะยากในการฝึกเพาะกสิณกองแรก เหมือนคุณเริ่มเขียนตัวหนังสือ ถ้าคุณเขียนเป็นเมื่อไร ตอนหลังคุณจะเขียนอะไรก็ได้ กสิณกองหลังๆก็เหมือนกัน

    เมื่อทำได้แล้วก็มาฝึกฤทธิ์ต่อในขั้นนั้นๆ จะไม่ยากเลยก็จะได้ อภิญญา๕ ดังนี้


    1. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้
    2. ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง ​
    3. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ ​
    4. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้ ​
    5. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ ​


    สรุปว่า 5ข้อนี้เรียกว่า โลกียฤทธิ์ = อภิญญา๕

    เมื่อคุณได้อภิญญา๕ ให้น้อมเอา วิปัสสนาเป็นอารมณ์ ด้วยกำลังของอภิญญา๕ที่แรงมากอยู่แล้ว การได้ อาสวักขยญาณ ญานตัดกิเลสก็จะได้โดยไม่ยากเกินไป ดังนี้
    1. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้ ​
    2. ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง ​
    3. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ ​
    4. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้ ​
    5. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ ​
    6. อาสวักขยญาณ ปัญญาที่ขจัดอาสวกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป อภิญญาข้อนี้เองจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ ​
    สรุปว่า การฝึกกสิณสามารถนำคุณบรรลุมรรคผลนิพพานได้ และพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกสายนี้ว่า "ฉฬภิญโญ" ครับ เป็น ๑ ใน ๔ สาย ของพระอรหันต์ ดังนี้



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD></TD><TD>๑. สุกขวิปัสสโก

    อรหันต์แบบไม่มีฤทธิ์,ไม่มีญาณพิเศษอื่นๆ นอกจาก อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป



    ๒. เตวิชโช (วิชา ๓)


    ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
    ๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป


    ๓. ฉฬภิญโญ (อภิญญา ๖)

    ๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆได้
    ๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์
    ๓. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
    ๔. เจโตปริยญาณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
    ๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
    ๖. อาสวักขยญาณ การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


    ๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    แบบมีความรู้พร้อม ทรงคุณธรรมพิเศษกว่าทุกแบบ เป็นพระอรหันต์ขั้นสูงสุดในพุทธศาสนา
    มีความรู้ฉลาดมาก ปฏิสัมภิทาญาณ มีความสามารถคลุมหมด คลุมสุกขวิปัสสโกด้วยเอาไว้ในตัว เอาวิชชาสามเข้าไว้ด้วย แล้วเอาอภิญญาหกเข้าไว้ด้วย แล้วก็ฉลาดมาก คือว่า ฉลาดในธรรมะขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เรียกว่า " ปฏิสัมภิทาญาณ " ดังนี้

    อภิญญา ๖ คือ ความรู้อันยิ่งยวด เหนือความรู้จากการตรองด้วยหลักเหตุผลธรรมดา ได้แก่

    ๑.อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อ-ขยายตัวได้ หายตัวได้ ฯลฯ
    ๒.ทิพยโสต มีหูทิพย์
    ๓.เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
    ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
    ๕.จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุ) มีตาทิพย์
    ๖.อาสวักขยญาณ ทำกิเลสให้สิ้นไปได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ความสามารถพิเศษในการสั่งสอนคนอื่นได้แก่

    ๑.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ เห็นข้อธรรมใดก็สามารถอธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร
    ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถสรุปข้อความได้อย่างกระชับเก็บความสำคัญได้หมด
    ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ แตกฉานเรื่องภาษาทุกภาษาทั้งภาษาของมนุษย์และสัตว์ สาารถเข้าใจได้
    ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบปฏิภาณดี



    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2008
  14. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพ ท่านสอนว่า สมถะภาวนาทั้ง ๔๐ วิธี ดีหมดทุกวิธีครับ

    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่ใฝ่ใจในการทำสมาธิภาวนา
    สาธุ
     
  15. 0..0

    0..0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +779
    [​IMG]

    พระธรรมเทศนาเรื่อง กสิณ๑๐ โดย พระราชพรหมยาน


    เทศน์สอนพระกรรมฐานในพรรษาปี2521

    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_299 onclick=document.all.music.url=document.all.play_299.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=299 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หมวดกสิน 10 ม้วนที่1a.mp3 (3.19 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_300 onclick=document.all.music.url=document.all.play_300.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=300 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หมวดกสิน 10 ม้วนที่1b.mp3 (3.00 MB)</TD></TR><TR><TD width="10%"><INPUT id=play_301 onclick=document.all.music.url=document.all.play_301.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=301 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หมวดกสิน 10 ม้วนที่2.mp3 (6.18 MB)</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เทศน์ทั่วไป

    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width="10%">
    <INPUT id=play_302 onclick=document.all.music.url=document.all.play_302.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=302 name=Music>ฟัง
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD></TD></TR><TR><TD width="10%">
    <INPUT id=play_303 onclick=document.all.music.url=document.all.play_303.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=303 name=Music>ฟัง
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.270726/[/music]

    [​IMG] ที่มาเสียงธรรมทั้งหมด : http://audio.palungjit.org/forumdisplay.php?f=41
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2008
  16. vnoen

    vnoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +827
    เริ่มต้นดีแล้ว...นิพพานพึงหวังได้..อย่าท้อนะครับ..เอาใจช่วย
     
  17. นิมิตรธัญญา

    นิมิตรธัญญา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +199
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก

    ท่านทั้งหลายเข้าฌาน ไม่ว่าจะฌานใดก็ตาม สงบพอควรแล้ว ใช้ปัญญาดังนี้

    สัมมาสติเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    อันนี้เรียกว่าสัมมาสติ

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาณ
    มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาณ มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณ ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาณ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

    อันนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
    แต่สักเพียงว่าเป็นที่รู้ แต่สักเพียงว่าเป็นที่อาศัยละลึก
    เธอเป็นผู้อันตัณหาแลทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆในโลกด้วย
    ดุก่อนภิกญุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่อย่างนี้
    (good) (good) (good)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผุ้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฎฐาน4นี้ อย่างนั้นตลอด7ปี
    ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง2 ผลอันใดอันหนึ่งคือ พระอรหันตผลในปัจจุบันชาตินี้1
    หรือเมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี1
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 7ปียกไว้
    ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฎฐาน4นี้ อย่างนั้นตลอด7วัน
    ผุ้นั้นพึงหวังผลทั้ง2 ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหันตผลในปัจจุบันชาตินี้1
    หรือเมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี1
    (ping) (ping) (ping)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความรำไร
    เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์แลโทมนัส
    เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
    ทางนี้คือ สติปัฏฐาน4อย่าง ด้วยประการฉะนี้
    (smile) (smile) (smile)
     
  18. นาๆจิตตัง

    นาๆจิตตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +412
    ฝึกกสิณทำให้ บรรลุธรรมเพื่อถึงนิพพาน...ได้
    ถ้า ทำถึง ทำจริง หรือ ถูกหลักวิชชา ถ้าทำไม่ถึงหรือทำไม่จริง ไม่ถูกหลักวิชชา
    ก็ไม่ถึงเหมือนกัน กสิณจริงๆแล้วก็อยู่ในส่วนของสมถกรรมฐาน
    แต่ถ้าไม่พลิกไปสู่ภูมิวิปัสสนากรรมฐาน ถึงมีฤทธิ์ มีเดช เหาะ เหิร เดินอากาศได้
    ไม่นำมา ตัดกิเลส ละ รัก โลภ โกรธ หลง บางทีกิเลสมันตีกลับขึ้นมา ไม่พิจารณาหรือ
    เอามันไม่อยู่ (สมถกรรมฐานใช้ดับ แต่ยังไม่ตัด ตัวตัดเป็นตัววิปัสสนากรรมฐาน ก็ใช่ว่า
    พิจารณาแล้วมันจะตัดของมัน ก็ต้องย้ำฝึกฝน จนมันพิจารณาของมันเอง เบื่อหน่าย
    เห็นทุกข์ เห็นภัย จนมันปล่อยวางของมันเอง เป็น ปัจจตัง เหมือนกัน) ลงนรกเหมือนกัน
    (ตัวอย่างที่เห็นๆเช่นพระเทวทัต เป็นต้น) กิเลส วิบากกรรม มันเป็นอัตโนมัติ เราก็ต้องฝึกฝน
    พิจารณา มองเห็น ตัด หรือ ละ วางมัน เป็นอัตโนมัติ เหมือนกันถึงจะเอามันอยู่ สมถกรรมฐาน
    เป็นบาท เป็นบรรทัดฐานให้แก่ วิปัสสนาอยู่แล้ว กำลังดี เครื่องไม้เครื่องมือดี การตัดใน
    เรื่องต่างๆก็หลุด ก็ขาดง่าย กำลังไม่สมบูรณ์ แข็งแรง (บางทีป่วยอีกต่างหาก) แรงหยิบจอบ
    หยิบเสียบยังไม่มี อย่าว่าแต่หญ้าหรือกิ่งไม้เลย บางทีกินข้าวยังต้องให้คนป้อนเลย..............
    กสิณถ้าฝึกได้จริง กำลังก็สูง กำลังแข็งแรง จะทำอะไรก็ได้โดยง่าย โดยเฉพาะ การประหัต
    ประหารกิเลส การละ การวาง การหยุด การนิ่ง มันก็คล่องแคล่ว ก็ฝึกให้ได้จริง เถอะ...
    เป็นได้เรื่องแน่ ๆ พิจารณาเอง ก็ฝึกฝนทั้งสมถ,วิปัสสนา กรรมฐาน (เป็นของคู่กัน)
    ไปเรื่อยๆ (สำคัญต้องเอาจริง...ระวังตัวสงสัย ลังเล ให้ดี มันเป็น นิวรณ์ เรื่องของกิเลส ....
    มันขบกัด เอา.....เป็นแผลเข้า ใส่หยูกใส่ยา บางที นานหายอยู่เหมือนกัน) สมถกรรมฐาน
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงจัดไว้ตั้ง ๔๐ กอง ไม่ต้องฝึกครบทั้ง ๔๐ ก็ได้ เอาให้จริง
    ก็ถึงฟากฝั่งนิพพานได้ (ยกเว้นท่านปราถนาพุทธภูมิคงต้องล่อเข้า ทั้ง ๔๐ กอง....แหละ)
    ภูมิวิปัสสนามีอยู่ ๖ ก็ต้องพิจารณาเลือกเอาตามแต่ถนัด (ศึกษาค้นคว้าตามตำรับ ตำรา
    ได้เลย ส่วนตัวของข้าพเจ้าเป็นนักวิชาเกิน ก็เลยต้องลำบาก ลำบนไปตามเรื่องตามราว)
    โลกนี้มันเป็นทุกข์ ก็อย่าไปจริงจัง เอาอะไรมาก (พอหอมปากหอมคอก็พอ) เราเกิดมาแล้ว
    ก็ต้อง ทำพระนิพพานให้แจ้ง ให้กระจ่าง สะสมบุญบารมี เยอะๆ มากๆ เข้าไว้ (บารมี
    ทั้ง ๑๐ ทัศ หรือจะ ๓๐ ทัศ ตามแต่ถนัด) ฟากฝั่งพระนิพพานคงอยู่แค่เอื้อม ไม่ไกลเกินฝัน
    เกินจริง ตราบใดที่เรายังเป็นคนจริง ของจริง แล้วก็...ทำจริง ก็ขอเป็นกำลังใจให้ ใน
    การฝึกฝนตนเอง กสิณหรือไม่กสิณก็ถึงนิพพานเหมือนกันหมด

    โมทนา สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  19. manny_tong

    manny_tong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +543
    สาธุ

    <img src=http://dl4.glitter-graphics.net/pub/723/723674kgugek3rlv.gif width=224 height=168 border=0></a><br><a
     
  20. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    แนวทางการปฏิบัติธรรมนั้น ท่านแบ่งผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลไว้ 2 ประเภทคือ 1. เจโตวิมุติ ...2.ปัญญาวิมุติ
    1. เจโตวิมุตินั้น ท่านเจริญในฌานได้สมาธิสูงๆก่อนที่จิตจะตัดกิเลสได้ แสดงว่าจะต้องเข้าออกฌานสี่เป็นว่าเล่น จนมีความชำนาญ และส่วนใหญ่สามารถใช้ทิพยจักขุญาณ หรืออภิญญาไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดได้ เนื่องจากกำลังสมาธิที่สูงนี้เป็นบาทฐานของอภิญญา
    2. ปัญญาวิมุติ เป็นการบรรลุธรรมที่ได้การพิจารณาในสมาธิแบบเบาๆ ไม่เริ่มที่การทำสมาธิมากๆ เพราะส่วนใหญ่มีปัญญามาก อารมณ์ใจจะสงบในสมาธิสูงๆได้ยาก เป็นจริตของท่านที่ได้บรรลุธรรมประเภทนี้

    *** ดังนั้น เราต้องพิจารณาตนเองก่อนว่าถนัดทางไหน ใช้อารมณ์พิจารณานำหน้า หรือเวลาอยากสงบก็เข้าสมาธิได้เลย เป็นพวกที่ไม่คิดมาก ก็จะมีประโยชน์ในการเลือกเจริญพระกรรมฐาน และบางคนปัญญามากแต่จิตใจไม่มั่นคง กลัวง่าย ตกใจง่าย ก็ต้องไปศึกษาธรรมมะมากๆ อ่านมากๆ แล้วจะเป็นพื้นฐานในการยกข้อธรรมขึ้นพิจารณาได้ อย่างอาจหาญในภายภาคหน้าไม่ช้าก็เร็ว เรามาปฏิบัติธรรมกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...