ทำยังไงถึงจะเข้าฌาณ 4 ได้ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-กาล, 29 พฤศจิกายน 2014.

  1. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอเรียนถามท่านผู้รู้ครับ จริงๆผมฝึกสมาธิมานานแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่าผ่าน ฌาณ 1 2 แล้วก็มาติดอยุ่ที่ฌาณ 3 มาเป็นเดือนละครับ โดยที่

    ก่อนจะนั่งสมาธิผมจะปฏิบัติตามหลวงพ่อฤาษีท่านสอนนะครับ โดยจะนึกถึงขัน 5 ว่าไม่ดี มันสกปรก มันเต็มไปด้วยทุกข์ นั่งมากก็ทุกข์ นอนมากก็ทุกข์ ทำอะไรไม่พอใจก็ทุกข์ พอใจเริ่มสงบก็เริ่มภาวนา

    อาการที่ปรากฏ คำภาวนาชัดเจน (นะมะพะทะ) ทั้งเข้าและออก มีอาการโปร่งเบา และโล่ง ไม่มีความคิดใดๆมาแทรก ใจยังคงอยู่กับคำภาวนา

    อาการต่อมา คำภาวนาไม่ปรากฏ แบบว่ามันหายไปเอง ไม่มีคำภาวนา ถึงตอนนี้กว่าจะผ่านได้ก็นานครับ เพราะชอบมีความคิดมาแทรก ไปๆมาๆก็นึกถึงคำภาวนาอีก อาการสุขมีครับนั่งได้เรื่อยๆ เสียงยังได้ยินชัด ส่วนอาการโปร่งเบาเหมือนร่างกายมันเบาๆไม่หนักยังมีปรากฏ อีกอย่างพอคล่องและได้ศึกษามาจากคำสอนของหลวงพ่อฤาษี(พระราชพรหมยาน)เลยไม่ใส่ใจอาการไม่มีคำภาวนา ความคิดต่างๆไม่ปรากฏ สนใจแค่อาการเข้าออกของลมหายใจ รู้สึกคล้ายๆ ตรงต่ำกว่าลิ้นปี่ลงไปจะโปร่งๆมีแสงสลัวๆ (ไม่แน่ใจนักว่าจริงแค่ไหนเพราะตอนนั่งผมนั่งหน้าพระพุทธรูปครับ เปิดไฟส่องสว่างองค์ท่านตรงหน้าพอดี ไม่รู้ทำไมถึงสว่างตรงช่วงลิ้นปี่ไปท้องได้ก็ไม่รู้)

    หลังจากนั้นอาการตัวเบาเรานิ่งครับ ว่าไงดีเหมือนกับร่างกายมันค่อยๆเกร็ง แต่ไม่เกร็งนะครับมันแปลกๆเป็นอาการเหมือนเป็นหิน นิ่งลมหายใจเบาบางมา(จริงๆเริ่มเบามาตังแต่ตอนร่างกายมันโปร่งๆละครับ แต่ตอนนี้เบามากกว่า) ที่แน่ๆร่างกายนิ่งเหมือนไม่ขยับแต่ข้างในรู้สึกยังโปร่งๆอยู่ อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน อาการคล้ายๆปล่องแก้วมั้งครับ แบบว่ามันเกร็งแล้วก็โปร่งๆ ลมหายใจเบาๆ เหมือนจะเบาจนไม่หายใจ แต่ก็รู้ว่าหายใจ เสียงยังคงได้ยินบางทีชัด บางทีก็เบา
    แล้วก็เมื่อคืนนี้ล่าสุดที่ผมนั่ง ได้ผ่านอาการทั้งสามข้างบนมาครบ แต่ครั้งนี้หลังจากที่ร่างกายเกร็ง จู่ๆเหมือนทุกอย่างมันรวมกันครับ อาการทางกายรวมกันเป็นแบบไหนละ แบบไม่มีตัวตนก็ไม่ใช่ แต่ก็ไม่ได้รับรู้อาการภายนอกเลย ใช่ไม่รับรู้อาการภายนอก ลมหายใจละเอียดมาก มากกว่าทุกครั้งมันเบาครับ เบาจริงๆบางที่เหมือนไม่มีลมหายใจ แต่ผมรู้นะว่ายังหายใจ เพราะท้องยังกระเพื่อมเบาๆอยู่ อาการสว่างตรงท้องก็สว่างขึ้นครับแต่ไม่จ้าจนแสบตา ที่แน่ๆคือ ไม่มีร่างกายแน่นอน แต่เสียงที่ได้ยินครับเบาลงมาก แต่ยังได้ยิน

    นี่แหละครับอาการจากสมาธิของผม ตามที่ผมได้อ่านของหลวงพ่อฤาษีมา ท่านบอกหากเข้าถึงฌาณ 4 จะมีอาการไม่รับรู้ลมหายใจและไม่ได้ยินเสียง แต่ผมยังได้ยินนะครับ อุตส่าห์ไม่ใส่ใจลมหายใจ ไม่ใส่ใจร่างกายแต่ก็ยังได้ยินอยู่ดี ผมควรทำยังไงต่อดีครับแบบว่าครั้งนี้เหมือนจะดีกว่าทุกครั้งแต่ผมก็ผ่านมันหลายครั้งแล้ว ไปไหนต่อไม่ได้จริงๆ ขอวอนท่านผู้รู้โปรดแนะนำเป็นธรรมทานด้วยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ :'(

    ปล.เวลานั่งสมาธิทุกครั้งผมไม่จับเวลาเตือนนะครับแบบว่านั่งเท่าไหร่เท่านั้น แต่เมือคืนแอบมองดูเวลา 23.17 ตอนออกจากสมาธิก้ 00.17 พอดีเลย แปลกดีนะครับ ส่วนเรื่องนิมิต ผมเห็นเป็นแสงสีครับ สีแดงบ้าง เขียวบ้างหมุนวนเป็นเกลียวบ้าง แว็บไปแว๊บมาบ้าง แต่ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ใส่ใจลมหายใจมากกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2014
  2. zaff

    zaff Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2014
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +56
    ลองไปคุยกับเจ้าของกระทู้ ของกระทู้นี้ดูก็ดีนะครับ เห็นบอกว่าได้บรรลุถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน หรือ ฌาน 8 แล้ว หากแนวทางเข้ากันได้กับคุณ ก็คงจะเป็นประโยชน์มาก

    ตามนี้เลยครับ

    http://palungjit.org/threads/แชร์ผลการปฏิบัติ.532653/
     
  3. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    ขอบอกแบบนี้แล้วกันสภาวะ ฌาน นั้นก็เป็นอะไรที่มีขึ้นมีลงเหมือนกับจิตใจของเราที่คอยฟุ้งซ่านเวลาทำสมาธิ ของแบบนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝนหากอยากควบคุมหรือทรงฌานให้ได้นานๆ หรือพัฒนาฌานขึ้นไปเรื่อยๆ ผมคงบอกได้แค่ว่า จขกท. ก็ทำแบบที่ทำอยู่ต่อไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงเองนั่นแหละครับ

    ปัญหาใหญ่ และเป็นต้นตอแห่งปัญหานั่นก็เพราะ จขกท.ยังเป็นฆราวาสนั่นแหละครับ ผมจะอธิบายให้เข้าใจดังนี้
    1. กิเลสคือต้นตอที่ทำให้จิตไม่นิ่ง ฌานไม่นิ่ง สำเร็จอะไรได้ยาก กิเลสทำให้เราฟุ้งซ่าน ห่วงนั่นห่วงนี่ กลัว กังวล
    2. จิตที่ผ่านการฝึกฝนขัดเกลาเอากิเลสออกแล้ว จะเป็นจิตที่มีคุณภาพ ถูกกิเลสครอบงำและชักจูงได้ยาก
    3. ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการควบคุมจิต ควบคุมฌาน ผู้ที่มีจิตใจที่บริสุทธิ์กว่าย่อมปฏิบัติได้ดีกว่า
    4. การที่จะฝึกฝนจิตใจตนเองให้ห่างไกลจากกิเลสได้ดีนั่นคือการออกบวช อยู่ในศีลในธรรม มีเวลาปฏิบัติธรรมมาก เพราะถ้าตราบใดที่เรายังเป็นฆราวาส มันก็ยากที่จะประพฤติธรรมให้สำเร็จได้

    จิตใจมันจะเป็นนายเราตอนที่มันยังเต็มไปด้วยกิเลส แต่เราจะเป็นนายมันตอนที่กิเลสออกไปจากจิตใจแล้ว ดังนั้นที่เราเห็นๆพระอริยสงฆ์หลายท่านสามารถมีฌานต่างๆนานาได้ นั่นก็เพราะท่านออกจากเพศฆราวาสไปแล้ว ห่างไกลจากกิเลสได้ง่าย จึงสำเร็จฌานได้ง่ายตามไปด้วย
     
  4. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณครับสำหรับข้อแนะนำดีๆและกระทู้ดีดีๆที่แนะนำ ส่วนตัวผมก้พยายามรักษาศีลและใจให้ปกติที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้ รักษาศิล 5 และฝึกอบรมสมาธิ และจิตใจตามสมควร ที่แน่ๆเพื่อหวังพิสูจน์คำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านสอนสั่งเอาไว้ในพระไตรปิฏก อาจจะยังไม่ดีพอก็จะพยายามต่อไปครับ อนุโมทนาครับ
     
  5. zaff

    zaff Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2014
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +56
    "อาการต่อมา คำภาวนาไม่ปรากฏ แบบว่ามันหายไปเอง ไม่มีคำภาวนา ถึงตอนนี้กว่าจะผ่านได้ก็นานครับ เพราะชอบมีความคิดมาแทรก ไปๆมาๆก็นึกถึงคำภาวนา"

    +++ ตรงนี้มันตกจากสมาธิที่ควรจะเป็นในขณะนั้นไป สังเกตง่ายๆ คือ คำภาวนามันหายไป แล้วจู่ๆ คำภาวนามันกลับมาใหม่+++

    "เลยไม่ใส่ใจอาการไม่มีคำภาวนา ความคิดต่างๆไม่ปรากฏ สนใจแค่อาการเข้าออกของลมหายใจ รู้สึกคล้ายๆ ตรงต่ำกว่าลิ้นปี่ลงไปจะโปร่งๆมีแสงสลัวๆ (ไม่แน่ใจนักว่าจริงแค่ไหนเพราะตอนนั่งผมนั่งหน้าพระพุทธรูปครับ เปิดไฟส่องสว่างองค์ท่านตรงหน้าพอดี ไม่รู้ทำไมถึงสว่างตรงช่วงลิ้นปี่ไปท้องได้ก็ไม่รู้)"

    +++ถ้าปฏิบัติด้วยวิธีการจับลมหายใจเข้าออก ควบกับคำภาวนา ท่านว่าไม่ต้องไปสนใจเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้น แสง สี เสียง กลิ่น อะไรก็ตาม หากเกิดขึ้น ให้เพิกไปเสีย แล้วจับลมหายใจกับคำภาวนาต่อไป+++

    "ครั้งนี้หลังจากที่ร่างกายเกร็ง จู่ๆเหมือนทุกอย่างมันรวมกันครับ อาการทางกายรวมกันเป็นแบบไหนละ แบบไม่มีตัวตนก็ไม่ใช่ แต่ก็ไม่ได้รับรู้อาการภายนอกเลย ใช่ไม่รับรู้อาการภายนอก ลมหายใจละเอียดมาก มากกว่าทุกครั้งมันเบาครับ เบาจริงๆบางที่เหมือนไม่มีลมหายใจ แต่ผมรู้นะว่ายังหายใจ เพราะท้องยังกระเพื่อมเบาๆอยู่ อาการสว่างตรงท้องก็สว่างขึ้นครับแต่ไม่จ้าจนแสบตา ที่แน่ๆคือ ไม่มีร่างกายแน่นอน แต่เสียงที่ได้ยินครับเบาลงมาก แต่ยังได้ยิน"

    +++อย่าไปใส่ใจกับอาการไม่มีตัวตนหรืออาการภายนอก หรือลมหายใจว่าจะหนักหรือจะเบา หรือว่าลมหายใจจะดับไปเมื่อไหร่ มีหน้าที่รับรู้ลมหายใจเข้าออก ก็จับไปเรื่อยๆ หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ประคองใจไว้อย่าให้ตกไปจากฐานของกรรมฐานที่กำลังปฏิบัติไว้ให้มั่นคงก่อน แล้วทุกอย่างจะพัฒนาไปได้เอง

    +++หากเคยผ่าน ฌาน 1 2 3 มาแล้ว อย่างที่บอกไว้ ก่อนจะไป 4 สมควรซักซ้อม 1 2 3 ให้คล่องแคล่วก่อน ทั้งการเข้า ออกฌาน การทรงฌานตามเวลาที่ต้องการ เมื่อคล่องแล้ว การขึ้นไปสู่ ฌาน 4 ก็จะสะดวกขึ้น
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สั้นๆ

    ให้ไปจับกรรมฐาน กสิณ ครับ

    ถ้าได้ ฌาน จริง ปฐมฌานจริง ไม่ได้อุปทานหรือมโนไปเอง

    ให้เข้า ปฐมฌาน แล้วกำหนด นิมิตดวงกสิณ ออกมา

    ให้เรียกนิมิตดวงกสิณในกรรมฐานขึ้นมา แล้วก็เพ่งนิมิตจับเป็นอารมณ์ในการภาวนาครับ

    ปฏิบัติให้ได้ เป็นวสี ไล่ตั้งแต่ ฌาน 1 2 3 ไปให้คล่องตัว ครับ

    ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2014
  7. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...ที่สุดของอารมณ์สมาธิ คือเข้าถึงฌาน4 (อาการสงบถึงที่สุด) พึงมีที่หมายที่มากกว่า นั่นคือหลังจากจิตสงบแล้ว(จะขั้นใดก็ตาม) เราต้องการนำจิตที่สงบนั้นไปทำอย่างไรต่อ เช่น นำไปพิจารณาคำสอนของพระศาสดา(ข้อใดข้อหนึ่ง) ตามกำลัง ถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องสนใจอาการอย่างใดของร่างกาย อารมณ์สมาธิ มันจะดำเนินไปตามปัจจัยพร้อม กล่าวคือ ร่างกายไม่เครียด จิตใจไม่เครียด ก็จะสงบเร็ว(จะขั้นไหน ขอเพียงสงบ และใช้ประโยชน์จากความสงบนั้นให้เป็น เมื่อถึงที่สุดของอารมณ์สมาธิ จะสามารถใช้ฌาน4ได้อย่างแคล่วคล่องเป็นปรกติ) ได้เข้าถึงธรรมมะไปด้วยโดยปริยาย...
     
  8. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    การอธิบายถึง ฌาน4 ด้วยสภาวะรอบด้าน นั้น มันมากเกินกล่าว (ไม่มีความจำเป็นต้องไปสนใจ และจิตก็ไม่ได้สนใจอาการรอบข้างด้วย)

    เอกลักษณ์ของฌาน4 มีสิ่งเดียว คือ เอกอัคคตา หรือ จิตมีอารมภ์เดียว อารมภ์นั้นคือ โล่งๆ ว่างๆ
    (แล้วจะเอาจิตตรงไหนไปดู อาการรอบข้าง ?)


    สามารถอธิบายได้อีกหลายแนว แต่เดว ท่าน จะสับสน

    ประเด็นตอนนี้ คือ ท่านเข้าใจอาการ อารมภ์เดียว หรือไม่?
    ถ้าเข้าใจ คงรู้แล้วฌาน4 เป็นอย่างไร
    ถ้ายังไม่เข้าใจ แสดงว่ายังไม่ถึง

    ท่านถามถึงจะเข้า ฌาน4 จากตรงจุดสุดท้ายที่ท่านกล่าวอย่างไร
    คำตอบ คือ ก่อนนั่งอธิษฐานก่อนถึงอารมภ์เดียว แล้วนั่งไปเรื่อยๆ นั่งไปนานๆ

    (ฌาน4 มีทางเข้าได้หลายทาง ข้างต้นเป็นทางเข้าพื้นๆ และเป็นพื้นฐานที่ดี แต่ถ้าท่านมีวิธีอื่น หรือ บังเอิญเข้าได้ด้วยวิธีอื่น ก็ไม่ผิดแผกอะไร มิต้องกังวล)
     
  9. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณกับคำแนะนำของทุกท่านจริงๆครับ ถ้าอาการโล่งๆโปร่งๆ นั้นมันเกิดครับและฝึกอยู่ตลอดวันเท่าที่จะนึกได้ เป็นอารมณ์เดียวกับตอนนั่งสมาธิเลย น่าแปลกเหมือนกันว่าทำไมถึงทำได้ทั้งๆที่ไม่ได้นั่งสมาธิ แต่ถ้าเป็นอย่างที่ทุกท่านบอกมา แสดงว่าผมไม่ต้องใส่ใจเรื่องอะไรมาก ให้พยายามปฏิบัติบ่อยๆ และก็นึกถึงแนวทางวิปัสนาด้วยจะทำให้ถึงเร็วขึ้นกว่าเดิมสินะครับ งั้นผมขอรับคำแนะนำไปปฏิบัติเลยนะครับ ขอขอบคุณและอนุโมทนาสาธุกับทุกท่านจริงๆ ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านเลยนะครับ
     
  10. J47

    J47 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +3,405
    จริงๆๆ แล้วในยุคนี้
    ยากที่จะมีใครสามารถอธิบายสภาวะของฌาณแต่ละขั้น ได้นะครับ
    อย่าใส่ใจมันมากนักเลยครับ
    เอาเป็นว่า เวลานั่งสมาธิ สมองปลอดโปร่ง มีสติ คิดอะไรไม่ติดขัด ก็พอนะครับ
     
  11. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    น่าจะกะลังเหยียบเรือสองแคมอยู่นะครับ (เดา)แคมสามกับแคมสี่ หุหุ ทำอย่างที่ทำ
    ต่อไป ละความสนใจส่วนท้องหรือส่วนใหนๆซะกำหนดเพ่งจ่อจุดทีลมผ่านเข้าออก
    ให้แน่วแน่(ถ้าตามรู้ลมจะเปนนกึ่งๆวิปัสนา) เอาให้ดิ่งวูบ ๆๆ...ปิ๊ด..เงียบกริบ..รู้เฉยอยู่
    นอกนั้นไม่มีอะไรเลย ..ถูกเปล่าไม่รู้นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2014
  12. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    คงจะตั้งหวังผลลัพธ์ไว้สูงและเร็วเกินไปครับ
    ของแบบนี้ ไม่ใช่จะถึงได้ง่าย แต่ถ้าถึงแล้ว ก็จะเข้าได้ตลอดไปเหมือนว่ายน้ำหรือพายเรือ ที่เป็นแล้วเป็นเลย
    อดทน อดใจรอ ฝึกไปนานๆ ฝึกจนเคยชิน ฝึกจนล้มเลิกความคาดหวังว่าจะต้องได้ในเร็ววัน ให้คงเหลือแต่ ได้เมื่อไรก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
    แล้วเมื่อนั้นก็จะได้ แต่ได้แล้วก็อย่าหลงนิมิต
     
  13. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    เขาสมมุติกันในช่วงหลังๆ ว่า ฌาน1-4 คือ รูปฌาน
    และ อรูปฌาน 1-4 คือ ฌาน 5-8

    ตาม พระธรรมคำสอน มีบอกถึง รูปฌานและอรูปฌาน และอื่นๆ

    ผู้ที่กล่าวพระธรรม คำสอนนี้ คือ พระพุทธเจ้า ในพระธรรมวินัยนี้


    ช่วยสาธยายหน่อยว่า พระพุทธเจ้า เพ้อเจ้อ ณ ตรงไหน ที่ใด
    จะได้ไว้ประดับความรู้
     
  14. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชี้แนะทั้งที่แนะนำตามแนวทางปฏิบัติและผู้ที่เห็นต่าง สำหรับผมคำชี้แนะที่ทุกท่านให้มาล้วนเป็นประโยชน์ต่อผมอย่างยิ่ง ทั้งในด้านกำลังใจและคำเตือนที่เปรียบเสมือนกระจกส่องตน สำหรับท่านที่มองต่างผมไม่ได้กล่าวว่าท่านผิดหรือไม่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นย่อมรู้อยู่กับตน เสมือนการทานอาหาร คนทานย่อมรู้ว่าเค็มว่าหวาน ว่าอิ่ม หรือเกินอิ่ม ผมเชื่อในสิ่งที่ผมพิสูจน์ ท่านเชื่อในสิ่งที่ท่านพิสูจน์ก็ไม่ว่ากัน
    สำหรับทุกท่านที่กรุณา วันนี้ผมมีคำถาม เพราะผมได้ลองปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วเมื่อวานยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร ยังไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ แต่ตอนที่ผมฝึกประคองอารมณ์และฝึกสติตามหลักมหาสติปัฏฐาน เวลาที่ผมนั่งเดินหรือมองรู้สึกแจ่มใสผิดปกติ เป็นอาการที่น่าแปลกมาก ทุกๆครั้งที่ไม่ได้ใส่ใจกับอารมณ์มักมีอาการฟุ้งซ่าน เฝือ เบลอ หรือกระทั่งหลงลืมงานที่ทำอยู่หรือจะทำ ครั้งนี้ไม่มีอาการแบบนั้น ที่จะมีก็คงจะเป็นอาการเชื่องช้ากว่าปกติ ได้ยินชัดกว่าปกติ และหากนั่งอยู่คนเดียว จะนิ่งไม่รำคาญเสียง ตกลงผมเป็นอะไรหรือครับ ถามว่าดีไหมก็ดีมากๆ แต่ก็เกิดอาการกลัวเช่นกัน เพราะไม่มีใครเคยบอกว่าจะเป็นแบบนี้อย่างนี้มาก่อน แม้กระทั่งเวลาขับรถหรือเดิน จะรู้สึกตัวโปร่งๆ ขณะที่คนอื่นร้อนเราจะเฉยๆ แม้เหงื่อก็ไม่ออกเท่าเขา แปลกมาก ท่านผู้รู้ช่วยแจงอาการที่เกิดขึ้นกับผมหน่อยครับ มันดีผมรู้ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับตัวผมกันแน่ อย่างน้อยก็เป็นการสงเคราะห์กระผมจะได้รู้แนวทางปฏิบัติต่อ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
  15. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    นี่คือ การปล่อยวาง

    การปล่อยว่างมี 4 ลักษณะ
    1. ปล่อยวาง ขณะยังไม่เป็นอรหันต์
    2. ปล่อยวาง ขณะที่ยังเป็นปุถุชนก็ไม่ใช่ อรหันต์ก็ไม่ใช่
    3. ปล่อยวาง ขณะที่เป็นอรหันต์แล้ว
    4. ไม่มีอะไรให้ปล่อยวาง เพราะไม่มีอะไรยึดถือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2014
  16. patchara2

    patchara2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +258
    พอได้ฌาณ 3

    เด๋วฌาณ 4 ก็ตามมานิครับ
     
  17. zaff

    zaff Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2014
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +56
    วันนี้ผมมีคำถาม เพราะผมได้ลองปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วเมื่อวานยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร ยังไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่

    +++การปฏิบัติ ต้องอาศัยการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องของทักษะ ความชำนาญ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร แต่เรื่องเวลานี้ จะผันแปรไปตามแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน บางคนช้า บางคนเร็ว ดังนั้น ให้หมั่นปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเข้าไว้จะดีที่สุด+++

    แต่ตอนที่ผมฝึกประคองอารมณ์และฝึกสติตามหลักมหาสติปัฏฐาน เวลาที่ผมนั่งเดินหรือมองรู้สึกแจ่มใสผิดปกติ เป็นอาการที่น่าแปลกมาก ทุกๆครั้งที่ไม่ได้ใส่ใจกับอารมณ์มักมีอาการฟุ้งซ่าน เฝือ เบลอ หรือกระทั่งหลงลืมงานที่ทำอยู่หรือจะทำ ครั้งนี้ไม่มีอาการแบบนั้น ที่จะมีก็คงจะเป็นอาการเชื่องช้ากว่าปกติ ได้ยินชัดกว่าปกติ และหากนั่งอยู่คนเดียว จะนิ่งไม่รำคาญเสียง

    +++การประคองอารมณ์สมาธิ ควรจะกระทำให้มาก ตลอดเวลา ในระหว่างวัน หากนึกขึ้นมาได้ ก็พยายามดึงใจให้กลับมาอยู่กับอารมณ์ที่ตั้งใจไว้ อาจจะมีบางเวลาที่พลั้งเผลอใจไปกับความฟุ้งซ่านบ้างก็ไม่เป็นไร เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อรู้ตัวแล้ว รีบดึงกลับมาทันที ทำอย่างนี้บ่อยเข้า จิตใจก็จะเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้นไปเอง+++

    +++อาการที่เกิด คือการกระทำของใจจะมีสติมากำกับมากขึ้น อาการจะช้าลงไปบ้าง เพราะกลไกมีการหน่วงเวลา จากเดิมอาการออกเป็นแบบอัตโนมัติ คือทำไปเลย แต่ตอนนี้ มีสติมา กรองอาการไว้ก่อน ทำให้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น จึงทำให้มองว่ามีอาการเชื่องช้า แต่จะเป็นในระยะแรกๆ ต่อไปหากกลไกต่างๆ เคยชินกับการที่มีสติมากรองอาการก่อน การปฏิบัติก็จะรวดเร็วขึ้น+++

    แต่ก็เกิดอาการกลัวเช่นกัน เพราะไม่มีใครเคยบอกว่าจะเป็นแบบนี้อย่างนี้มาก่อน

    +++กลัวเพราะเป็นอาการไม่เคยพบเจอ แต่เมื่อเจอแล้ว เมื่อเกิดความเคยชิน ก็จะรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น+++

    จะรู้สึกตัวโปร่งๆ ขณะที่คนอื่นร้อนเราจะเฉยๆ แม้เหงื่อก็ไม่ออกเท่าเขา แปลกมาก

    +++อารมณ์ของเอกัตคตารมณ์ คือความเป็นหนึ่งเดียวในอารมณ์ทางสมาธิ จะหมายถึงการจรดจ่อกับสิ่งที่ใช้เพ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิตามข้อกรรมฐานนั้นๆ ซึ่งเป็นคนละเรื่อง คนละราวกับความรู้สึกโปร่งๆ โล่งๆ ตรงนี้คือจุดที่ต้องระวัง ในการแยกแยะอารมณ์ของสมาธิให้ดี การที่มีความรู้สึกร้อนหรือเย็น บางทีก็เกิดจากสภาพจิตใจเป็นสำคัญ ผู้มีใจสงบ ระงับ จัดว่าใจไม่รุ่มร้อน ก็มักจะทำให้ใจเพิกเฉยต่อสภาพความเร่าร้อนของอากาศภายนอกที่มากระทบผิวกายได้เช่นกัน+++
     
  18. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ไม่ได้เข้ามาพอสมควรได้เห็นทุกท่านที่เมตตามาตอบผม ผมก็ดีใจมากแล้วและขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่อุตส่าเห็นใจผู้ด้อยปัญญาผู้นี้
    อย่างที่ผมเคยบอกไปในคราวก่อน อาการสงบจากการระลึกถึงอารมณ์ที่เคยผ่านทำให้หลายๆอย่างที่เกิดขึ้นกับสัมผัสต่างๆของผมดีขึ้นจริงๆ แต่ก็ไม่ใช่ตลอดเวลาหรือตลอดทั้งวัน นั่นเพราะบางคราวผมหลุดออกจากสติที่ระลึกทันอารมณ์อาการที่แห่งความสงบก็พลันหายไปแทบจะทันทีเช่นกัน นี่เป็นเพียงอาการของผู้ด้อยปัญญาอย่างผมพอจะนำมาบอกเล่าได้ ที่จริงผมคิดว่าอาการที่เกิดขึ้นกับผมนี่น่าจะเป็นอาการสารธารณะที่เกิดขึ้นได้กับทุกๆคน แต่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับมันนัก ทั้งนี้ก็เพราะมันเป็นเหตุที่สังเกตได้ง่ายหากเรามีสติที่จะรับรู้ถึงมัน และแน่นอนว่ามันอาจเป็นอาการเฝือของผมอย่างหนึ่งก็ได้เช่นกันเพราะผมยังเป็นเพียงลูกไก่ที่พึ่งได้แง้มมองออกนอกเปลือกเพียงนิด ไม่ได้ก้าวข้ามเปลือกออกมาได้เลยแม้แต่น้อย ขอท่านที่เข้ามาอ่านโปรดเห็นใจด้วยนะครับ
    หากท่านใดสงสัยว่าอาการทันรู้อารมณ์ของผมเป็นยังไง อาการนี้ที่จริงจะเกิดตอนที่ผมพยายามรับรู้เกี่ยวกับลมหายใจ เข้าและออกเท่านั้น อาการเข้าและออกของลมหายใจที่ไม่ได้ฝืนหรือบังคับ เพียงเท่านี้ครับที่ผมฝึก อาจจะมีบ้างบางครั้งที่ผมได้รับความทุกข์ใจ โกรธ หรือน้อยใจที่ทำให้จู่ๆอาการณ์สงบห่างหายไปจากใจ กว่าจะตามอารมณ์เหล่านี้ทันก็แทบแย่
     
  19. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    สำหรับคุณส่องตน ผมขอบคุณท่านจริงๆที่อุตส่าเข้ามาตอบกระทู้ของผมแบบนี้ ทั้งยังทำให้ผมรู้สึกเหมือนมีกระจกบานใหญ่คอยตรวจสอบความจริงว่าที่กระผมทำมานั้นเป็นจริงหรือแค่การหลอกลวงตน ทั้งมันก็ดูง่ายไปจนน่าแปลกใจว่านี่มันจริงหรือเท็จ นี่คือการหลอกลวงตนเองหรือไม่ จนทำให้คนอื่นเขาเข้าใจผิดหรือไม่ นี่อาจเป็นความผิดของผมจริงๆที่ตั้งกระทู้ถามเช่นนี้
    ในมุมมองของท่าน การเข้าสู่ฌาณ แม้ลำดับที่ 1-3 มันคือการยากที่จะเข้าได้ ปัจจุบันหากไม่มีบุญมาก่อนก็อาจเข้าไม่ถึง ส่วนใหญ่ที่มาบอกมาเล่าที่มีอาการโปร่งโล่ง เบา สบายจึงเป็นเพียงผลพวงเล็กๆของสมาธที่สงบก็ได้ ขอบอกตามตรงความคิดนี้เคยเป็นความเดียวกับผมมาก่อน จนทำให้ผมคิดแค่เพียงหวังฝึกสมาธิเพื่อความสงบเท่านั้น แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าฌาณจริงๆแล้วนั้นคือแบบไหน จึงไล่หาความรู้มาตลอด กว่าจะรู้ว่าแท้ที่จริงตามพระไตรปิฏกกล่าวยังไงก็เสียเวลามามาก ทั้งยังไม่รู้เลยว่าอาการต่างๆที่ได้อ่านมานั้นคืออะไรกันแน่ จนกระทั้งได้มาอ่านบทความที่หลายๆท่านผู้หวังดีได้โพสเกี่ยวกับการฝึกสมาธิของหลวงพ่อฤษี ที่ท่านได้กล่าวเอาไว้และตรงกับพระไตรปิฏกอย่างเข้าใจง่าย และเป็นเหตุให้ผมได้มาตรึกตรองและพิสูจน์ตรวจสอบตามจนได้อาการอย่างที่เคยได้เล่าไปนั้นเอง
    ส่วนอาการของฌาณ 4 ที่หลายๆท่านได้กล่าวเอาไว้ คือการไม่รู้สึกถึงร่างกาย ไม่ได้ยินแม้เสียง เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้จริงๆหรือ ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นได้ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะคนเราทุกคนสามารถนอนหลบได้ ในขณะที่หลับทุกคนไม่มีอาการได้ยินเสียงภายนอก และไม่รับรู้แม้ตอนตัวเองขยับจริงไหมครับ จึงไม่แปลกหากจะมีใครสักคนสามารถมีสติรู้ตัวโดยที่ไม่รับรู้อาการภายนอกและไม่ได้ยินเสียงคล้ายกับอาการคนหลับ แต่มีสติต่างจากคนที่หลับอยู่ และนั่นคือเป้าหมายจริงๆที่ผมอยากจะพิสูจน์ให้ได้เป็นอันดับแรก ถ้าหากผมสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าท่านสอน แล้วไปถึงอาการที่ผมบอกไว้จริง นั่นหมายความว่าอะไร นั่นหมายถึงว่าอาการฌาน 1-3 ที่ผมได้กล่าวออกมาไว้แล้วนั้นเป็นจริงไม่ใช่อาการหลอกลวงตัวเองทั้งสิ้น
    ต้องขอภัยทุกท่านจริงๆที่ผมอาจกล่าวอะไรดูไร้สาระเกินไปเสียจนอาจมีหลายๆท่านรำคาญ จึงต้องขออภัยทุกท่านด้วย และขอบคุณที่ทุกท่านเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกันครับ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปทุกท่านเลยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...